คือผมลองหาข้อมูลแล้วมันก็ยังไม่เข้าใจ รบกวนท่านผู้รู้ช่วยไขข้อสัยให้หน่อยนะครับ ขอขอบพระคุณล่วงหน้านะครับ
มีคำถามอีกนิดหน่อย ข้อสองข้อฝากตอบให้ผมอีกนิดนะครับ อิอิ
1.กองพลพร้อมรบอันดับ1มีกองพลไหนบ้าง( ผมไม่ใช่สปายนะ ) แล้วอันดับรองลงมาคือกองพลไหนครับ
2.ต่ายสุรสีห์นี่ทุกกรมอยู่ในค่ายเดียวกันหมดรึป่าวครับ
3.ยามสงครามทำไม พล.นย ต้องขึ้นกับ ทภ.3 ทำไมไม่ขึ้นกับ ทภ.1หรือ ทภ.2 ที่อยู่ใกล้กว่า
4.ถ้าเกิดสงครามเค้าจะใช้ RDF หรือ รพศ. ก่อนครับ
5.ชื่อค่ายตากสินนี่ มีทั้งของ ทบ. กับ ทร. ทำไมเค้าไม่เอาชื่ออื่นที่ไม่ซ้ำกันคับ
ปล.ปีนึงตั้งกระทู้ครั้งนึงเมตตาตอบเด็กน้อยหน่อยครับ ขอบคุณคร๊าบบบบบบบบ ^__^
1.กองพลพร้อมรบอันดับ1มีกองพลไหนบ้าง( ผมไม่ใช่สปายนะ ) แล้วอันดับรองลงมาคือกองพลไหนครับ
ถ้าของ ทบ. เขาจัดให้พล ร.9 เป็นกองพลเตรียมพร้อมอันดับหนึ่งน่ะครับ
ส่วน ถ้านับ ทร ด้วย ที่มีกองพล นย กองพลเดียว ก็เลยต้องจัดกองพลนั้น เป็นกองพลที่พร้อมรบที่สุดอีกกองพล
ส่วนนับ อันดับรองลงมา ที่มีขีดความสามารถ และ งบไม่ต่าง ก็ พล.ร.15 กับ พล.ร.2 ที่สแตนบายเอาไว้พร้อม
2.ต่ายสุรสีห์นี่ทุกกรมอยู่ในค่ายเดียวกันหมดรึป่าวครับ
ข้อนี้ไม่แน่ใจ แต่ว่าหน่วย ที่อยู่ไกล้ๆตรงนั้น เขาก็เรียกค่ายสุรสีทั้งหมด หลักๆน่าจะมี พวก บก พล บก กรม แล้วก็กองพันทหารปืนใหญ่
3.ยามสงครามทำไม พล.นย ต้องขึ้นกับ ทภ.3 ทำไมไม่ขึ้นกับ ทภ.1หรือ ทภ.2 ที่อยู่ใกล้กว่า
เรื่องนี้มันย๊าาาวยาว ต้องย้อนกลับไปกบฏแมนฮัตตัน แล้วก็อันที่จริงต้องขอบคุณเมกา ที่มีคอมเม้นเล็กน้อย
เลยทำไห้ นย. ยังเหลืออีกกองพล
4.ถ้าเกิดสงครามเค้าจะใช้ RDF หรือ รพศ. ก่อนครับ
เทียบกับฝาหรั่ง RDF ก็เหมือนเรนเจอ เป็นทหารราบเบาเคคลื่อนที่เร็ว จะไปถึงก่อน ทหารราบทั่วไปไว้เปิดงานที่หน้าแนว
ซึ่งจะไปหลัง รพศ ที่อาจเข้าพื้นที่ไปก่อนตอนไหน ก็ไม่รู้เพราะ รพศ จะมี หน้าที่คือแอบเข้าไปทางหลังแนว ไม่สแดงตัว ทำงานเงียบๆ
ลอบโจมตีสเบียง ลอบสังหารบุคคล บางที รพศ อาจเข้าไปแฝงตัวตั้งแต่งานยังไม่เริ่ม
5.ชื่อค่ายตากสินนี่ มีทั้งของ ทบ. กับ ทร. ทำไมเค้าไม่เอาชื่ออื่นที่ไม่ซ้ำกันคับ
ไม่รู้
ปล.ปีนึงตั้งกระทู้ครั้งนึงเมตตาตอบเด็กน้อยหน่อยครับ ขอบคุณคร๊าบบบบบบบบ ^__^
เอ่อ ที่ถามว่า ทำไม พล. นย. ต้องไปขึ้นกับทัพภาค3 ที่ถูกต้องคือ กปช.จต. (กองกำลังป้องกันชายแดน จันทบุรี ตราด) ของ นย. ต่างหาก ที่ ไป ขึ้นยุทธการ กับทัพภาค 3 เมื่อเกิดเหตุการ ประกาศสงครามอะไรก็ว่าไป ก็จะกลายเป็น กองกำลัง นย. ก็เพราะมันเป็น ภาคตะวันออก ผมว่าไม่ได้เกี่ยวกะ กบฏ แมนฮัตตัน หรือ เมกาคอมเมนท์ไรนะ เช่นเดียวกัน นย.ภาคใต้ ก็ขึ้นยุทธการทัพภาค 4 เมื่อเกิดเหตุการณ์ ข้อนี้ ตอบพอสังเขป ใคร คิดว่า ไม่ใช่ ก็แย้งมา
ที่เมืองกาญจน์นั้นแบ่งเป็นหลายๆส่วน แยกสถานที่ออกไปตรงเขตอื่นก็มีแล้วแต่งาน เรียกว่าเมืองกาญจ์เป็นเมืองทหารเลยก็ว่าไ้ด้ ยังไม่รวมค่าย ตชด.ที่หนองขาวอีก ตอนมาอยู่เมืองกาญจน์ใหม่ๆ เคยได้ยินสถานที่ที่เป็นของทหาร ชาวบ้านย่านเมืองกาญจน์เรียกว่า "กองผสม" ผมก็เข้าใจมาตลอดว่า เป็นกองผสมระหว่างทหารกับ ตชด. และไม่เคยผ่านไปที่นั่นสักครั้ง จนวันหนึ่งขับรถผ่านไปทางนั้นกับแฟนซึ่งเป็นคนเมืองกาญจน์ ก็เลยถามแฟนว่า ค่ายกองผสมนี่มันค่ายอะไร แฟนผมก็ตอบแบบสีหน้าปกติว่า "กองผสมพันธุ์สัตว์" ผมเงิบทันตา แล้วก็ปล่อยก๊ากเดี๋ยวนั้นเลย แฟนผมก็งงว่าผมขำอะไร พอผมบอกว่าผมเข้าใจว่าเป้นกองผสมทหารกับ ตชด. เท่านั้น เธอหัวเราะงอหายเลย จนผ่านเข้าไปจึงเห็นป้าย "กองการสัตว์" ของ พล.ร.9 ยังขำกันรอบสอง
อืม....เพื่อจะได้สะดวกตอบกันง่ายๆนะครับ ผมเลยขออธิบายว่าผมสงสัยตรงไหนอย่างไรนะครับ
1.คืออยากรู้ว่า ทบ. เค้าเน้นชายแดนด้านไหน ก็เลยอยากรู่ว่ากองพลพร้อมรบที่สุดคือกองพลไหนอ่ะครับ และด้านรองลงมาคือด้านไหน อันนี้พอจะกระจ่างแล้วครับ
2.พล.ร.9 คือกองพลพร้อมรบอันดับ1ก็เลยสงสัยว่าเพื่อความสะดวกในการรวมพล เค้าให้ทุกกรมในกองพลรวมอยู่ในค่ายสุรสีห์ที่เดียวเลยรึป่าว
3.นย. ส่วนใหญ่อยู่ตะวันออกกับใต้เลยสงสัยว่าทำไมยามสงครามเค้าให้ไปขึ้นการบังคับบัญชากับ ทภ.3 ที่ดูแลภาคเหนือ ไม่ขึ้นกับ ทภ.1 หรือ ทภ.2 หรือ
ทภ.4 ที่อยู่ใกล้กว่า
4.คือสงสัยว่า RDF กับ พัน.จจ. ของ รพศ.นี่เค้าภารกิจหน้าที่คล้ายๆกันรึป่าวเลยถามว่าเค้าใช้หน่วยไหนก่อน
5.คือชื่อค่ายทหารถ้าจะตั้งตามพระนามของพระมหากษัตริย์หรือพระบรมวงษานุวงศ์ถ้าจะเอาชื่อพระองค์เดียวกันก็จะตั้งให้ตางกัน อย่างเช่น ค่ายนเศวรกับค่ายสมเด็จพระ นเรศวร ค่ายกรมหลวงชุมพรกับค่ายเขตอุดมศักดฺิ์ แต่ค่ายตากสินนี่ซ้ำกันสองที่ เลยสงสัยว่าทำไมเค้าไม่เอาชื่ออื่น
** อย่าว่าผมมาสงสัยอะไรน่อมแน้มเลยนะครับ มันอยากรู้จริงๆ **
ทบ. (เชียงใหม่)
คือผมก็ไม่เคยได้ยินนะครับ กองพลอาวุธเบา มีแต่กองร้อยอาวุธเบา พองพลอาวุธเบามันอยู่ที่ไหนหรอครับ มีแต่กองพลที่1 2กับกองพลที่2 ถ้าเป็นร้อยอาวุธเบา ก็จะมช้อาวุธปืนเล็กเป็นหลัก เคลื่อนที่เร็ว ผมว่ากองพลทหารราบที่9ต้องเป็นกองพลพร้อมรบอันดับ1ก็เพราะว่าเราเล็งเห็นว่าพม่าเป็นประเทศที่มีศักยภาพเพียงพอที่จำสงครามกับเรามากกว่าทุกประเทศ และเมืองกาญจน์ก็เป็นจังหวัดแรกที่ติดกับพม่าและเป็นพื้นที่สำคัญตั้งแต่อดีตดังนั้นจึงเป็นพื้นที่สำคัญที่สุด แล้วแนวรบก็หนักที่สุดถ้าเกิดอะไรขึ้นมา ไม่ใช้แต่พม่า แม้แต่ชนกลุ่มน้อยก็ถือเป็นภัยคุกคามสำหรับเราแล้ว ดัอีกอย่าปัญหาเขตแดนเรากับพม่าก็ยังไม่เสร็จสิ้น จึงไม่น่าแปลกใจที่ทางกองทัพบกจะเน้นแนวชายแดนด้านนี้สำคัญสุด รองลงมาก็คือด้านตะวันออกที่ กองทัพภาคที่2ดูแลอยู่ แต่ด้านนี้ไม่ค่อยมีอะไรน่าห่วงเพราะเพื่อนบ้านยังไม่มีความสามารถที่อยู่ในระดับคุคามเราได้
ส่วน RDF กับ รบพิเศษ มันต่างกันมั๊ย เท่าที่ผมรู้มา RDF คือหน่วยทหารลาดตระเวณระยะไกล เคลื่อนที่เร็ว สามารถเข้าสู่ทุกพื้นที่ได้ในเวลารวดเร็ว ผมว่ามันคล้ายๆรีคอนนะ ลาดตระเวณระยะไกลเหมือนกัน เป็นส่วนหนึ่งของกรมรบพิเศษเหมือนกัน แต่หน่วยรบพิเศษ คือหน่วยที่ใช้แทรกซึมเข้าสู่แนวหลังข้าศึกจากการแฝงตัว หรือแทรกซึงทางอากาศเบื้องสูงเข้าหาข่าว บ่อนทำลาย ก่อวิจาศกรรม ซุ่มโจมตี รวมถึงลองสังหารบุคคลสำคัญของฝ่ายตรงข้าม จะไม่ปะทะถ้าไม่จำเป็น ไม่รู้ว่าเวอร์หรือเปล่า แต่ครูฝึกเขาบอกว่า รบพิเศษหนึ่งคนจะยอมตายได้ก็ต่อเมื่อสังหารข้าศึกได้อย่างน้อย500คน อันนี้ครูเขาเล่ามา
ส่วนในสงครามเขาจะเรียกใช้หน่วยไหนก่อนระหว่าง รพศ.กับ RDF เขาต้องส่ง รพศ.เข้าแทรกซึมหาข่าวในแดนข้าศึกก่อนด้วยการแทรกซึงทางอากาศและทางพื้นดิน แล้ว RDF จะเป็นหน่วยพร้อมรบแรกที่เข้าพื้นที่การรบด้วยการเคลื่อนกำลังทางอากาศและทางพื้นดิน ที่จริงทุกกองทัพภาคจะมีหน่วย RDF เหมือนกันหมด แต่ตัวย่อจะต่างกัน RDF นี่อยู่ที่ลพบุรีครับ
มาตอบข้อ 4 ครับ
ทั้ง สองหน่วยมีหน้าที่คล้ายกันคือเป็นไดเรคแอคชั่น หรือปฏิบัติการโดยตรงต่อที่หมาย
แต่ RDF จะเป็นหน่วยเคลื่อนที่เร็ว ทำการรบตามแบบ ทหารราบ แต่ถูกวางเอาไว้เพื่อบุกเปิด ให้หน่วยอื่น
เข้าตีเพื่อ ยึด หรือทำลายที่หมาย
แต่ กองพันจู่โจม จะเป็น คล้ายๆกับทหารราของรบพิเศษที่มีเพื่อเข้าตีโดยตรงกับเป้าหมายที่สำคัญทางยุทธวิธี
อย่างเช่น ฐานเรด้า สนามบิน หรือกองบัญชาการ ซึ่งพวกนี้ส่วนมากจะอยู่ไกลแนวรบ และมีการระวังภัยสูง
การแทรกซึม จะแตกต่างจากรบพิเศษตรงที่ รบพิเศษ จะแทรกซึมทีละน้อยๆ แอบไป แล้วอยู่เงียบๆ
แต่กองพันจู่โจม จะไปกันทีทั้งบาง ขาเข้า ก็ต้องไปเงียบๆแบบ รบพิเศษ แต่ จะเข้าตี แบบหนักหน่วงรุ่นแรง และเปิดเผย ตำแหน่งตัวเอง
โดยไม่มีการส่งกำลังบำรุง หรือส่งกลับคนเจ็บ แล้วก็แอบหนีเองเงียบๆอ่ะคับ
ถ้าถามว่าหน่วยใหนก่อนก็คงจะแล้วแต่ ผู้บัญชาการ
เหมือนตอนกุเต็งนาโยง กองพันจู่โจมก็ถูกสั่งเข้าไป เข้าตีเพื่อผลักดันกองกำลังไม่ทราบผ่ายก่อน
แต่คราวเขมรเผาสถานฑูต พวกที่ไปกับ ปพ.อย. ก็เป็น RDF อ่ะครับ
สำหรับกองพลเบาน่าจะเริ่มจัดตั้ง เมื่อประมาณปี ๒๕๓๐ โดยมีมีการจัดตั้ง พล ร.เบา (พล ๙) พร้อม พล ร.ยานเกราะ (พล ๒) แนวความคิดน่าจะคำนึงถึงความเสี่ยงต่อภัยคุกคามจากเพื่อนบ้าน ทั้งทางด้านตะวันตกและตะวันออก พร้อมทั้งลักษณะภูมิประเทศที่หน่วยทั้งสองต้องรับหน้าที่หลักในการดูแล
หลัก ๆ เลย สำหรับ พลฯ เบา คือ เอารถสายพานที่มีอยู่ในกรม ร. ไปให้ พลฯ ยานเกราะ แล้วเพิ่มอำนาจการต่อสู้รถถังเข้าไป เพิ่มขีดความสามารถในการส่งกำลังทางอากาศ ช่วงนั้นกำลังพล หลัก ๆ ต้องไปเรียนร่ม จู่โจมกัน แล้วเพิ่ม ภาระกิจหลัก ให้รับผิดชอบมากขึ้น (โดยให้ไปช่วยในพื้นที่ต่างกองทัพ) อย่างในกรณีของบ้านร่มเกล้า หน่วยนี้ก็เริ่มเก็บสัมภาระเตรียมเดินทางแล้ว แต่มีการจารจากันเสียก่อน
หลังจากนั้น มีการเปลี่ยนนโยบายสำหรับหน่วยส่งกำลังทางอากาศไปใช้ทางลพบุรี แทน
ส่วนคำว่ากรมผสม อาจมาจากชื่อหน่วย ตอนฝึกและไปรบในสงครามเวียดนาม เมื่อจบสงครามเวียดนาม ทางอเมริกาก็มอบอาวุธเครื่องมือเพื่อมาใช้ในการจัดตั้งกองพล
ที่แตกต่างจากหน่วยอื่นอย่างเด่นชัด คือ พล ร.๙ มีหน่วยสนับสนุนอยู่ในหน่วยเลย จึงทำให้มีความพร้อมกว่าหน่วยอื่น ๆ ในการปฏิบัติการรบ
หากเห็นว่าข้อความเหล่านี้ไม่เหมาะสมที่จะเผยแพร่ รบกวนผู้ดูแลลบได้เลยครับ
เมื่อมี สงคราม หน่วยที่จะต้องทำการรบเป็นอันดับแรกคือหน่วยกองพลหลัก ๆ ที่รับผิดชอบ เพื่อจะตั้งรับ หรือเข้าตีขัดขวางตรงหน้า (เน้นยึดพื้นที่) ส่วนกำลังรบพิเศษจะใช้ใการตัดทอนกำลังโจมตีในแนวหลังข้าศึกเป็นหลัก หรือเมื่อเกิดความไม่สงบ
เคยอ่านบทความเรื่องนึง..เมื่อประมาณปี2542 เกี่ยวกับการจัดตั้งหน่วย RDF ของไทย
ในบทความตีความหน่วย RDF เอาไว้ ประมาณว่า
"RDFจะเป็นหน่วยที่เน้นการเคลื่อนที่เข้าสู่พื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว..เพื่อช่วงชิงความได้เปรียบ
ในการดำเนินกลยุทธ์...ก่อนที่กำลังหลักจะมาสมทบ
ในบทความเค้ายังให้คำนิยามไว้ว่า RDFเป็นหน่วยที่จัดตั้งขึ้นเพื่อ
"ป้องกันการเสียหน้า"
ซึ่งน่าจะหมายถึง หากเกิดกรณีพิพาทขึ้น...RDFเป็นหน่วยที่จะเข้าถึงและยึดครองชัยภูมิที่ได้เปรียบอย่างรวดเร็วที่สุด
ก่อนจะถูกฝ่ายตรงข้ามชิงตัดหน้าเข้ายึดครองซะก่อน
ขอบคุณทุกท่านครับผม ไขข้อสงสัยได้เยอะเลย ^___^
อืมแล้ว ข้อ3 กับ ข้อ5 นี่พอจะอธิบายเพิ่มให้เค้าใจอีกนิดได้ไหมครับ ที่บอกว่ากองกำลังป้องกันชายแดน จันทบุรี-ตราด อยู่ภาคตะวันออกแล้วทำไมไปขึ้นกับ ทภ.3 อ่ะครับ
ส่วนชื่อค่ายผมคิดเอาแบบเด็กๆนะว่าเค้าคงเกทับกันระหว่าง ทบ. กับ ทร. ( ประมาณว่าชื่อซ้ำแต่ตูจะตั้งอ่ะมีไรป่าว ........+555 )
เพื่อไม่ให้เสียเปล่าอีกนิดแล้วกัน เจ้า"Oplot"สุดเท่นี่เค้าจะบรรจุลงหน่วยไหนครับ
กองพลทหารราบเบา หรือ ทหารราบเบา เป็นแบบการจัดของทหารราบแบบหนึ่งของ ทบ.(ทหารราบมี 3 แบบ คือ ทหารราบมาตรฐาน(ยานยนต์),ทหารราบยานเกราะ และทหารราบเบา) ทหารราบเบามีอัตราการจัดเพื่อสนองตอบขีดความสามารถหนึ่งที่ชัดเจนและต่างไปจากทหารราบแบบอื่นคือ
-สามารถทำการรบได้ 72 ชั่วโมงโดยไม่ต้องส่งกำลัง หรือพูดง่ายๆคือ ต้องมีเสบียง ข (อาหารกึ่งสำเร็จรูป) และเสบียง ค(อาหารสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน หรือที่เรียกกันง่ายๆว่า เรชั่น,MRE) ติดตัว 9 มื้อทุกคน และในทุกระดับหน่วยต้องมีการสะสมเสบียงดังกล่าวไว้ให้เพียงพอในการแจกจ่ายตามภารกิจ พูดง่ายๆเข้าไปอีกคือ “ที่บ้าน(ทหารราบเบา) ไม่เน้นเสบียง ก(อาหารสด) ครับ” 555555
-ขีดความสามารถดังกล่าวเพื่อ ทำการรบในภูมิประเทศยากลำบาก(เช่นป่าภูเขา) กับทหารราบมาตรฐานหรือทหารราบหนักฝ่ายตรงข้ามได้เต็มประสิทธิภาพ แต่ถ้าเปลี่ยนเป็น ภูมิประเทศบางเบาสบายคล้ายที่โล่ง กับหน่วยฝ่ายตรงข้ามข้างต้น ก็จะรบได้ในขอบเขตจำกัด ต้องมีการเพิ่มเติมกำลัง
-จากคุณลักษณะและขีดความสามารถที่แตกต่างข้างต้นจึงส่งผลให้การจัดหน่วยมีความต่างไปจากหน่วยทหารราบแบบอื่นในทุกระดับหน่วย หลักๆ เช่น ใน 1 หมู่ ปล.จะมีเพียง 9 นาย ,ใน บก.ร้อย.อาวุธเบาจะไม่มีสูทกรรม,ในกองพันจะไม่มี ร้อย.สนับสนุนการรบและร้อย.สนับสนุนการช่วยรบ (แต่ในหน่วยระดับ ตอน/มว.ที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนการรบและช่วยรบยังคงมีเหมือนราบอื่นๆเช่น มว.ค.81,มว.ลว.มว.เสนารักษ์ฯลฯ แต่ทั้งหมดจะอยู่ใน ร้อย.กองบังคับการ) ที่จัดเช่นนั้นเพื่อลดความอุ้ยอ้ายเพิ่มความคล่องตัวของหน่วยในการปฏิบัติภารกิจในภูมิประเทศยากลำบาก รวมไปถึง ตอบสนองในเทคนิคการรบของทหารราบเบาในการรบตามแบบในภูมิประเทศยากลำบากโดยเฉพาะ เช่น เทคนิคการแทรกซึมในการเข้าตี เทคนิคการตั้งรับแบบลาดหลังเนิน,แบบใยแมงมุม,แบบเป็นพื้นที่ ถ้าพูดง่ายๆกว่านั้นคือ ในทุกเทคนิค ทหารราบเบาจะเน้นวิชาพื้นฐานของ นทล.(หน่วยทหารขนาดเล็ก) มาใช้เป็นพื้นฐานเพื่อการรบในภูมิประเทศยากลำบากโดยเฉพาะ
ในส่วนคำถามขอตอบดังนี้ครับ
ข้อ 1 จริงๆต้องบอกว่า ทุกกองพลหน่วยดำเนินกลยุทธหลัก พร้อมรบทุกกองพลครับ เพียงแต่ว่า กองพลทหารราบที่ 9 ถูกจัดให้เป็น กองหนุนหน่วยระดับ กองพล ของ ทบ. พูดง่ายๆก็คือ ต้องเตรียมการในการบรรจุรายชื่อยอดกำลังพลพร้อมเคลื่อนย้ายหน่วยระดับกองพลเข้าที่รวมพลขั้นต้นเพื่อเข้าทำการรบได้ทุกที่ทั่วประเทศไทยตามที่ ทบ.สั่ง ตลอดเวลา ดังนั้นจึงต้องมีการตรวจสภาพความพร้อมรบทุกครั้งเมื่อมีโอกาส
ข้อ 2 ที่ถูกคือ ทุกหน่วยระดับทั้งกองพลอยู่ในที่ตั้งบริเวณเดียวกันอยู่ในชื่อค่ายเดียวกัน
ข้อ 3 ตรงนี้ไม่ทราบข้อเท็จจริงครับ
ข้อ 4 ถ้าเกิด “สงคราม” คงไม่มีแค่ รพศ. กับ RDF เท่านั้นที่ใช้ครับ คงต้องใช้ทั้งกองทัพไทย ครับ แต่ถ้าเป็นการกระทบกระทั้งด้วยกำลังในแต่ละระดับขั้นก็อีกเรื่องหนึ่ง ในภาวะปกติ รพศ. มีหน้าที่เตรียมสนามรบในพื้นที่เฝ้าระวัง(พื้นที่ที่อยู่นอกเขตประเทศไทยทั้งหมด) อยู่แล้วครับ จริงๆใน นสศ.เองก็มีหน่วยหลายๆแบบเพื่อคลอบคลุมทุกภารกิจหลักของเขาครับ, ส่วน RDF ถ้าเป็นที่เข้าใจก็คือ กองหนุน ทบ. ในระดับ กรมผสม โดยทบ.มอบให้ ร.31รอ. เป็นผู้จัดกำลังดังกล่าว(เพิ่มเติมกำลังด้วยการสมทบหน่วยสนับสนุนการรบ,ช่วยรบ,สนับสนุนการช่วยรบ อื่นๆเข้ามา) จะใช้คู่กับ กรม.ร.ฉก.(จริงๆมันก็กรมผสมเหมือนกันนั่นแหละ) ของหน่วยเจ้าของพื้นที่
การใช้กำลังก็จะว่ากันที่ระดับของภัยคุกคามที่เกิดไล่ขึ้นมาจากเล็กไปใหญ่ครับ หน่วยระดับ กองทัพภาค ก็จะมี ร้อย.ร.,ร้อย.ป. เตรียมพร้อมของทัพภาคและ กรม.ร.ฉก., ทบ.มี กรม.ผสม RDF และ1 พล.ร. เป็นกองหนุน ถ้าใหญ่กว่านั้นก็ ต้องใช้ทั้งกองทัพไทยละครับ
ข้อ 5 ไม่ทราบข้อเท็จจริงครับ
เรียนท่านเด็กทะเล
สนใจอยู่ กองผสม ไหมครับ 55555555
เมื่อก่อนไปตกปลาหน้ากองผสมบ่อยครับ อยู่ใหม่ๆ คนเท่านั้นเรียกปลายี่ห้อหนึ่งว่า ปลาซีพี ตอนแรกก็งงๆว่า ปลา เชี่ยไรวะ ปลาซีพี สุดท้ายถึงบางอ้อ เมื่อมีคนตกได้ ปลาซีพีแล้วไซร้คือปลาทับทิมนี่เอง 555555
เรียนท่านเด็กทะเล
ตกมันข้างกระชังนั่นแหละครับ แต่ไม่ใช่ในกระชังนะ(ถ้าเขาไม่เผลอ5555) ตีเหยื่อไปกลางร่องน้ำครับ แต่นั่งข้างกระชัง ปลารับแขกคือ ตระโกรก ขึ้นน้ำมาร้อง โอ๊กๆๆๆๆ แต่ปลาตือก็พอมีครับ แต่เดี๋ยวนี้ไม่ได้ตกปลานานแล้วครับ(หันไปตกเบ็ดแทน 5555) เมื่อก่อนเย็นๆไปสองที่ ไม่หน้ากองผสม ก็บนสะพานทางไปศาลากลาง แต่บนสะพานอันตราย กลัวรถพ่วงเฉี่ยวตรูดดด กับวัยรุ่นขโมยเบ็ด ขโมยกันดื้อๆ ขี่มอไซด์ดูลาดเลา ถ้าเจ้าของห่างเบ็ด พวกหยิบรวบตัดสายเบ็ด แล้วขี่หนีเลย ไอ้เคสหลังไม่ได้กลัวมันขโมยนะครับ แต่กลัวอดใจไม่ไหว ซัดด้วย .45ACP ละเดี๋ยวเป็นเรื่อง
พูดถึงปืนวัยรุ่นสมัยนี้ก็ไว้ใจไม่ได้ มีของตลอด ตกปลาที่หน้ากองผสม เคยมีอยู่ครั้ง มีวัยรุ่นมาดู(มาคนเดียว) สักพักจู่ๆพวกควัก 1911 มาเสนอขายเราเฉยเลย ผมก็ งง มันต้องอะไรของมันหว่า เลยแกล้งทำเป็นเอามาค้างสไลน์ส่องดูลำกล้อง แล้วก็เดินไปที่รถหยิบ 1911 ของเรามาบ้าง(กะให้มันรู้ว่ากรูก็มีเหมือนกันนะ) แล้วก็ปลดแม็ก(ให้รู้ว่าลูกกรูเต็มแม็ก แถมบวกพ่วงอีก 2 แม็ก)ต่อหน้าค้างสไลน์ แล้วให้ส่องดู(ผมถือปืนผมนะ) แล้วบอกว่า ปืนน้อง เกลียวมันไม่เหลือแล้ว สภาพไม่ดี นี่ดูของพี่นี่ สภาพดีๆมันต้องอย่างนี้ พี่ไม่ซื้อหรอก พูดเสร็จก็ยัดแม็กปลดสไลน์เข้าเซฟแล้วเหน็บเอวเลย พวกเปิดแน๊บ
ปล. ขออภัย จขกท. จากพล ร เบา กำลังจะกลายเป็น กองผสม 55555
โห....ขอบคุณผู้กอง FW190 มากเลยครับ แต่แหมพอมีภาษาทหารเข้ามาด้วยผมหละงงเป็นไก่ตาแตกเลย
ไม่เป็นไรครับผมจะพยายามอ่านทำความเข้าใจ อ่านที่ผู้กองตอบหลายกระทู้แล้วทั้งใน TFC และ TAF
ชอบครับได้อารมย์ทหารจิงๆ...........!!!