1.ปตอ.Bofors 40L70 สามารถยิงสกัดกั้น Cruise Missile ได้หรือไม่ครับ
2.ปตอ.Bofors 40L70 สามารถยิงสกัดกั้น พวกอาวุธ Projectile ได้มั้ยครับ Projectile หมายถึง อาวุธที่มีวิถีการเดินทางเป็นวิถีโค้ง โดยขับเคลื่อนมาจากแรงส่งเบื้องต้น เช่น ลูกปืนใหญ่,ปืนครก,จรวดหลายลำกล้อง
ภาพนี้เป็นภาพจาก ปตอ.พัน5 ครับ Bofors 40L70 จะติดวัตถุรูปทรงกระบอกที่ลำกล้อง มันคืออะไรครับ?
1.ปตอ.Bofors 40L70 สามารถยิงสกัดกั้น Cruise Missile ได้หรือไม่ครับ
-ถ้ายิงโดน(ย้ำว่าถ้ายิงโดน)กระจุยกลางอากาศแน่นอนครับ กระสุน40มม.รุนแรงเอาเรื่อง ซึ่งระบบควบคุมการยิงต้องดีพอด้วยแต่บรรจุกระสุนด้วยมือ(กระสุนตับ)อาจไม่ทัน
2.ปตอ.Bofors 40L70 สามารถยิงสกัดกั้น พวกอาวุธ Projectile ได้มั้ยครับ Projectile หมายถึง อาวุธที่มีวิถีการเดินทางเป็นวิถีโค้ง โดยขับเคลื่อนมาจากแรงส่งเบื้องต้นเช่น ลูกปืนใหญ่,ปืนครก,จรวดหลายลำกล้อง
-อันนี้ต้องว่ากันที่ กระสุนมีคุณสมบัติพิเศษด้วยครับ ถ้าทางเรือจะมีกระสุน 3P ที่ตั้งระยะระเบิดอัตโนมัติเหมือน35มม. มิลเลเนียม-เออริคอน น่ะครับ แน่นอนว่าระบบควบคุมการยิงและตรวจจับต้องดีอีกเช่นกัน
ถ้าเป็นแท่นยิง ออโต้เบรด้า ทวิน40มม. อาจจะจัดจ้านหน่อยเพราะใช้สายกระสุน
3P ammunition มีคุณสมบัติเหมือน AHEAD 35 mm ของ Oelikon เหรอครับ อย่างน้อยการยิงสกัดกั้น Projectile ได้ยังช่วยสร้างความอุ่นใจในพื้นที่ซึ่งสุ่มเสี่ยงต่อการถูกยิงด้วยปืนใหญ่ หรือ จรวดหลายลำกล้องแบบชายแดนเขมรครับ
กระสุน1นัด มีเม็ดทังสเตน ราวๆ1พันเม็ด
กระสุน AHEAD 35mm มีเม็ดทังสเตนแค่ 152 เม็ดเอง
กระสุน40มม. 3Pใช้เม็ดทังสเตนขนาด3มม. ครับ
Bofors 40mm 3GP ammunition demonstration
จำไม่ได้ว่าอ่านเจอที่ไหนแต่เคยอ่านเจอว่า โปรเจ็คท์ที่จะทำ40/70 ให้เป็นระบบC-RAM นั้นมีอยู่ แต่ล้มเลิกไปเพราะระบบปืน40มม.ของโบฟอร์สนั้น มีความแม่นยำต่ำกว่าระบบ30/35มม. สมัยใหม่ เนื่องจากการออกแบบที่เป็นดีไซน์ยุคเก่า มีการสะบัดของลำกล้องสูง
40มม.ยุคใหม่เลยเป็นChain Gun ยิงด้วยไฟฟ้าแทนระบบทางกล เช่นCT40 ที่ใช้กระสุน40มม.แบบTelescope (ลูกกระสุนอยู่ในปลอก ล้อมด้วยดินส่งกระสุน) ,Bushmaster II /Mk44ขนาด30มม.ซึ่งเปลี่ยนลำกล้องใช้เป็นลำกล้อง40มม.ได้ แต่ใช้กระสุนที่เรียกว่าSuper 40 (ขนาดปลอกเท่ากับ30มม. แต่หัวกระสุนมีขนาด40มม.เพื่อให้ใช้ได้กับระบบป้อนกระสุนของMk44) และBushmaster IV ขนาด40มม. ที่ใช้กระสุน3P ได้ แต่ทั้งหมดล้วนเป็นปืนสำหรับIFV ทั้งนั้น ยกเว้นCT40 มาทำเป็นระบบRapidfire ของThales http://www.thalesgroup.com/Markets/Defence/Documents/RAPIDFire/ รูปของท่านmig31 นั่นแหละ
แต่เรื่องสกัดกั้นอวป.คุรยส์นั้น 40/70 ทำได้แน่นอน ถ้าระบบคคย.เจ๋งจริง
ตอนนี้ระบบปืนต่อสู้อากาศยานดูเหมือนจะได้รับความนิยมสูงขึ้น โดยเฉพาะขนาด35x228 (ชื่อง่ายๆคือ35มม.Oerlikon) มีทั้งระบบSkyrangerอัตตาจร(ปืนรีโวลเวอร์แบบเดียวกับมิลเลนเนียมหรือระบบ35x1000) Korkut จากตุรกี (อัตตาจรบนแชสซีส์ACV30 -AIFVขนาดจัมโบ้ ใช้ปืนGDF007 กระบอกคู่) ระบบทวิประสงค์C-RAM/ปตอ. อย่างMANTIS .....จนระบบเลื่องชื่ออย่างGepard, Marksman .....
ถ้าทบ.คิดจะไปต่อกับ40/70 ต้องคิดหนัก ระบบปตอ.สมัยใหม่ทันสมัยกว่ามาก
ใจจริงอยากให้ใช้ระบบแนวๆ35มม.นี่แหละ อนาคตดีทีเดียว หรือไม่ก็ไปที่30x165 ที่ใช้กับBTR-3 ซึ่งใช้ร่วมกับระบบPantsir ได้ด้วย
ภาพประกอบ 1.ปืนCT40 2.กระสุนแบบCT 40มม. 3.ขนาดกระสุนยุคใหม่
ที่เชียร์ระบบ35มม. เพราะ หากทบ.เปลี่ยนใจ ไม่ใช้BTR-3 แล้ว ระบบปืน35มม.สำหรับIFV อย่างBushmaster III ซึ่งใช้กระสุนAHEAD ได้ แถมเปลี่ยนลำกล้องเป็น50มม. ยังใช้กระสุน 50มม.Supershot ซึ่งในอนาคตอาจใช้เป็นระบบปตอ./C-RAMได้อีกต่างหาก
อ่านเพิ่มเติมที่เล่ามาได้
http://www.dtic.mil/ndia/2010armament/WednesdayLandmarkAArthurAeberli.pdf
http://www.dtic.mil/ndia/2011gunmissile/Tuesday11641_Luciano.pdf
http://www.dtic.mil/ndia/2009gunmissile/7961leslie.pdf
http://www.dtic.mil/ndia/2012armaments/Thursday13673Voorde.pdf
มันยิงกระสุนปืนใหญ่ทันด้วยเหรอ? ยกตัวอย่าง ป. 105 มม. ยิงที่ระยะ 7 กม. เวลาแล่น( เวลาที่กระสุนออกจากปากกระบอก ถึง เป้าหมาย) 20 กว่า วินาที คงต้องกลับมาถามว่า ระบบเรดาร์ ของ 40l70 แทร็กเป้า กระสุนปืนได้ทันมั้ย
กระสุน ct40 นี่เห็นแล้วทำให้นึกถึงปืน HK-G 11 ขึ้นมาซะงั้น.....
g11 ใช้กระสุนcaseless ไม่มีปลอก
ส่วนCT40 ยังมีปลอก แต่หัวกระสุนเข้าไปอยู่ในปลอก
แต่ก็ดูคล้ายๆกัน แต่ปัญหากระสุนCaseless คือ มันเก็บรักษายากเพราะไม่มีปลอกให้การปกป้องดินขับด้านใน
แต่ก็ไม่แน่ในอนาคตอาจจะมีการใช้โพลิเมอร์มาทำปลอกกระสุนให้เผาไหม้ในรังเพลิงได้เหมือนกระสุนรถถังขนาด120/125มม. (แต่ก็ยังไม่ถือว่าเป็นCaseless แท้ๆ เพราะยังมีstub หรือส่วนท้ายของกระสุนซึ่งเป็นทองเหลือง สำหรับprimerของกระสุนอยู่)
อีกปัญหาของกระสุน Caseless ที่ยังแก้ไม่ได้คือ ด้วยความที่ไม่มีผนังปลอกมากั้น ทำให้ตัวดินส่งสัมผัสกับรังเพลิงโดยตรง เมื่อยิงต่อเนื่อง ดินส่งกระสุนจะเกิดการจุดระเบิดเองในรังเพลิงจากความร้อนสะสมในรังเพลิง