ปัญหาความขัดแย้งของเชชเนีย
เชชเนียเป็นสาธารณรัฐของสหพันธรัฐรัสเซีย มีประชากรก่อนสงคราม 1.2 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมนิกายสุหนี่ ตั้งอยู่ทางทิศ ตะวันตกเฉียงใต้ของรัสเซียบริเวณเทือกเขาคอเคซัส มีอาณาเขตติดต่อกับจอร์เจีย ในปี 2534 หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ขบวนการชาตินิยมกลุ่มมุสลิมหัวใหม่ในรัสเซียต้องการที่จะผนวกดินแดน 4 สาธารณรัฐคือ สาธารณรัฐอิงกูเชเตีย, คาร์บาดีโน-บัลคาเรีย, ดาเกสถาน และนอร์ทออสซีเชีย เข้าด้วยกันเรียกว่า "สหพันธรัฐอิสลามคาลีฟัด" ภายใต้การสนับสนุนจากประเทศในตะวันออกกลาง ปัญหาของเชชเนียเกิดขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2535 นายพลดูดาเยฟ ประธานาธิบดีเชชเนียประกาศให้สาธารณรัฐเป็นเอกราช แต่รัสเซียยอมไม่ได้ที่จะปล่อยให้ดินแดนในปกครองเป็นอิสระ นอกจากนี้กรุงกรอซนืยเมืองหลวงของเชชเนีย ยังเป็นแหล่งน้ำมันขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของรัสเซียอีกด้วย
สมัยประธานาธิบดีเยลต์ซินของรัสเซีย
ได้มีการส่งทหารจำนวน 40,000 นาย เข้าไปยังเชชเนีย เพื่อปราบปรามการแบ่งแยกดินแดน ทำให้เกิดการสู้รบยืดเยื้อเป็นเวลาเกือบ 2 ปี (พ.ศ. 2537–2539) แต่ได้สิ้นสุดลง เมื่อรัสเซียตกลงให้สิทธิปกครองตนเองชั่วคราวแก่กลุ่มกบฏและยอมถอนทหารออกจากเชชเนียทั้งหมด และสนับสนุนให้นายอัสลาน มาสคาดอฟ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเชชเนียในเดือนกรกฎาคม 2540 สืบแทนประธานาธิบดีโซคคาร์ ดูคาเยฟที่เสียชีวิตไปในช่วงสงคราม ต่อมาอำนาจของประธานาธิบดีมาสคาดอฟได้ลดลงเป็นลำดับ เนื่องจากอดีตหัวหน้ากลุ่มกบฏแบ่งแยกดินแดน ซึ่งกระจายอยู่ตามดินแดนส่วนต่าง ๆ ของเชชเนีย เริ่มตั้งตนขึ้นมามีอำนาจอย่างเป็นเอกเทศ และจากการที่ประธานาธิบดีมาสคาดอฟได้ดำเนินนโยบายแยกตัวเป็นเอกราชจากรัสเซียในภายหลัง ทำให้รัฐบาลรัสเซียต้องการจับกุมตัวประธานาธิบดีมาสคาดอฟ ในฐานะหัวหน้ากลุ่มกบฏแบ่งแยกดินแดน
สงครามเชชเนียครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2542)
เริ่มขึ้นเมื่อนายพลชามิล บาซาเยฟ หัวหน้ากลุ่มกบฏเชชเนียซึ่งมีอำนาจมากที่สุด นำกำลังเข้ายึดสาธารณรัฐดาเกสถาน ทางตะวันออกของเชชเนีย พร้อมประกาศจะปลดปล่อยดินแดนทางตอนเหนือของเทือกเขาคอเคซัสออกจากรัสเซีย และเปลี่ยนให้เป็นรัฐอิสลามทั้งหมด ทำให้รัสเซียต้องส่งทหารเข้าโจมตีที่ตั้งของนายพลบาซาเยฟในเชชเนียตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคม 2542 โดยสามารถยึดพื้นที่ไว้ได้ทั้งหมด รวมทั้งกรุงกรอซนืยเมืองหลวงของเชชเนีย เหลือแต่เพียงบริเวณเทือกเขาตามแนวชายแดนเท่านั้น ที่มักเกิดการสู้รบกับกลุ่มกบฏในลักษณะการซุ่มโจมตี ในการนี้ รัสเซียได้แต่งตั้งนายอัคมัด คาดีรอฟ ขึ้นเป็นผู้นำเชชเนียคนใหม่
การเสียชีวิตของนายอัสลัน มาสคาดอฟ เมื่อ 8 มีนาคม 2548
ระหว่างการล้อมจับของกองกำลังรัสเซียในเมืองตอลสตอยยุร์ต (Tolstoi Yurt) ของเชชเนีย หลายฝ่ายมองว่า เป็นการสิ้นสุดกระบวนการเจรจาเพื่อสันติภาพระหว่างเชชเนียกับรัสเซีย เนื่องจากนายมาสคาดอฟ ซึ่งเป็นผู้นำกลุ่มกบฏเชชเนียสายกลาง กำลังต้องการเจรจาสันติภาพกับรัสเซีย โดยเป็นฝ่ายเสนอการหยุดยิงฝ่ายเดียวในเชชเนีย ขณะที่รัสเซียกลับมองว่า เป็นการสิ้นสุดผู้นำสูงสุดของกลุ่มกบฏเชชเนียสายกลาง ซึ่งจะทำให้ไม่มีตัวเชื่อมโยงทางการเมือง รวมถึงการขอรับการสนับสนุนด้านอาวุธและการเงินจากต่างประเทศ การสังหารนายชามิล บาซาเยฟ ผู้นำกลุ่มกบฏเชชเนียสายหัวรุนแรง เมื่อ 10 กรกฎาคม 2549 ถือเป็นชัยชนะครั้งสำคัญของประธานาธิบดีปูตินที่ดำเนินนโยบายแข็งกร้าวในการแก้ไขปัญหาเชชเนียมาตลอด ซึ่งไม่เพียงส่งผลให้การแพร่กระแสเรียกร้องเอกราชไปยังดินแดนอื่น ๆ ของรัสเซียต้องหยุดชะงักลงบ้าง แม้จะไม่สามารถหยุดยั้งกระบวนการเรียกร้องเอกราชให้แก่เชชเนียได้ เพราะยังคงมีผู้นำกบฏคนใหม่ก้าวขึ้นมาแทนที่ แต่ยังจะช่วยให้การบริหารดินแดนเชชเนียโดยคณะบริหารที่รัฐบาลรัสเซียสนับสนุนอยู่เข้มแข็งขึ้น ปัจจุบันรัฐบาลรัสเซียได้ส่งกองกำลังและเจ้าหน้าที่เข้าไปประจำการอยู่ในเชชเนียประมาณ 40,000 นาย โดยไปจากกระทรวงกลาโหม หน่วยความมั่นคงกลาง (FSB) และกองกำลังของกระทรวงมหาดไทยเป็นหลัก
ทั้งนี้ นายบาซาเยฟเป็นผู้นำกลุ่มกบฏเชชเนียที่ทางการรัสเซียต้องการตัวมากที่สุด และเป็นผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ความรุนแรงหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการจับตัวประกันในโรงละครใจกลางกรุงมอสโก การก่อวินาศกรรมเครื่องบินโดยสารของรัสเซีย การลอบวางระเบิดสถานีรถไฟใต้ดินในกรุงมอสโก รวมถึงเหตุการณ์ครั้งรุนแรงที่สุด คือ การจับนักเรียนและครูเป็นตัวประกันที่โรงเรียนในเมืองเบสลันในปี พ.ศ. 2547 ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 335 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็ก และก่อนที่นายบาซาเยฟจะถูกสังหารนั้น หน่วย FSB สืบทราบว่า นายบาซาเยฟมีแผนที่จะก่อการร้ายครั้งใหญ่ในช่วงที่รัสเซียจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก (G-8) ที่เมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ในระหว่าง 15-17กรกฎาคม 2549 ด้วย
การแก้ไขปัญหาเชชเนียของรัสเซียถูกประณามจากชาติตะวันตกว่า ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง เนื่องจากใช้วิธีการกวาดล้างแบบราบคาบ ไม่เลือกเฉพาะพื้นที่ตั้งของฝ่ายกบฏ โดยเน้นการโจมตีทางอากาศเป็นหลัก แม้กระนั้น การก่อการร้ายในรัสเซียยังคงเกิดขึ้นและขยายตัวทั้งในแง่ของพื้นที่ปฏิบัติการและความรุนแรง ทำให้ประธานาธิบดีปูตินดำเนินนโยบายที่แข็งกร้าวมากขึ้น โดยประกาศจะใช้นโยบายชิงโจมตีก่อนต่อผู้ก่อการร้าย ด้านสภาดูมาได้เสนอร่างกฎหมายเพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตรการต่อต้านการก่อการร้ายเพื่อสนับสนุนนโยบายดังกล่าว โดยอนุญาตให้เจ้าหน้าที่รัฐใช้มาตรการฉุกเฉินในการสืบสวน แม้จะยังไม่มีการยืนยันว่า กำลังจะมีการก่อการร้ายก็ตาม ซึ่งมาตรการดังกล่าวครอบคลุมการดักฟังโทรศัพท์ การตรวจสอบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์และเอกสาร การจำกัดการจราจรและการเดินทาง รวมถึงการจำกัดเสรีภาพของสื่อมวลชนในการเสนอข่าวในพื้นที่ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้าย
ปัญหาการก่อการร้ายในประเทศ
สร้างความชอบธรรมให้กับประธานาธิบดีปูตินในการเปลี่ยนรูปแบบการปกครองจากการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นเป็นการรวมศูนย์อำนาจ โดยเปลี่ยนวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากทั้งแบบแบ่งเขตและแบบสัดส่วน เป็นการเลือกตั้งแบบสัดส่วนทั้งหมด พร้อมกับเปลี่ยนวิธีการเลือกตั้งผู้ปกครองสาธารณรัฐและเขตปกครองตนเองทั้ง 89 แห่ง เป็นการเสนอชื่อโดยประธานาธิบดีและขอความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติท้องถิ่นแทน ซึ่งวิธีการดังกล่าวถูกชาติตะวันตกโจมตีอย่างหนักว่า จะทำให้การพัฒนาประชาธิปไตยในรัสเซียไม่คืบหน้า
คาดีรอฟ วัย 34 ปี ขึ้นปกครองเชชเนียในปี พ.ศ. 2547 แทนบิดา อัคฮฺมัด คาดีรอฟ ซึ่งถูกกลุ่มแบ่งแยกดินแดนสังหาร รัมซานถูกกลุ่มสิทธิ์กล่าวหาว่าเกี่ยวข้องกับการฆาตกรรม และการหายตัวของนักข่าว และสมาชิกกลุ่มเฝ้าระวังด้านสิทธิหลายคน
นับตั้งแต่สหภาพรัสเซียล่มสลายในปี พ.ศ. 2534 รัฐบาลกลางได้ทำการต่อสู้ปราบปรามกลุ่มแบ่งแยกดินแดนในเชชเนียระหว่างปี 2537 – 2539 แต่หลังจากสงครามจบสิ้นลงในปี พ.ศ. 2543 กลุ่มกบฏกลับกระจายไปปฏิบัติการณ์ยังเขตอื่นๆ อาทิ ดาเกสถาน อินกูเชเตีย และคาบาร์ดิโน-บัลแกเรีย
เครดิต วิกิ
ปัจจุบัน รัสเซียเริ่มทำสงครามกับเชชเนียน้อยลง อาจะเป็นเหตุผลที่ว่าประชาชน
ชาวรัสเซียเริ่มเห็นว่ามันไม่คุ้มที่จะส่งทหารไปตายเพื่อแลกกับกับยึดดินแดนคืน
เพราะในเมื่อดินแดนตรงนั้นกลายเป็นชาวมุสลิมหมดแล้ว ยึดกลับมาก็เท่ากับชักศึกเข้าบ้าน
เท่าที่ผมลองสอบถามเพื่อนๆที่เป็นชาวรัสเซีย เขาก็ไม่ได้รู้สึกเสียดายกับพื้นที่ตรงนั้น
อยากจะแยกประเทศไปซะให้พ้นๆด้วยซ้ำ เพราะในอดีต เค้าก็เสียดินแดนไปมากกว่านี้อีก
เช่น อุชเบ ทาจิ เบลารุส คาซัค ฯลฯ
แต่ ..ทีนี้ เริ่มกลายเป็นปัญหาใหญ่ เมื่อทางรัฐบาลของ สาธารณรัฐเชชเนีย ไม่มีความสามารถ
ที่จะบริหารประเทศได้ ประชาชนส่วนใหญ่อดอยาก ไม่มีงานทำ เพราะพื้นที่ของประเทศก็ไม่ได้
อุดมสมบูรณ์อะไร มีแต่แหล่งน้ำมันจึ๋งนึงที่คนรอบๆตัวของ คาดีรอฟ ร่ำรวยเพียงไม่กีคน
ส่วนมากต้องดิ้นรนไปหางานทำในรัสเซีย
ในที่สุด ผู้นำประเทศอย่าง คาดีรอฟ ก็ออกมาพูดว่า .. อ่า ..ประเทศของเรา เป็นแค่เขต
ปกครองพิเศษของรัสเซีย หรือเรียกเต็มๆว่า " สาธารณรัฐเชชเนีย แห่งสหพันธรัฐรัสเซีย "
ไอ้ที่คิดว่า เราจะแยกประเทศจากรัสเซีย ไม่มี๊ และก็เป็นไปไม่ด๊ายยยย อิอิ
ดังนั้น พวกที่คิดจะแบ่งแยกประเทศ คงได้เห็นตัวอย่างจาก เชชเนีย ว่ามันไม่ใช่ของง่ายๆ
เหมือนเด็กเล่นขายของ ..ถ้าไม่มีบ่อน้ำมันใหญ่ๆอย่าง บรูใน ก็จบเห่
ทุกวันนี้ดูเหมือนฝ่าย รัสเซียถือไพ่เหนือกว่าเชชเนีย คาดีรอฟได้แต่ร้องก๊าบๆตามปูติน
ประมาณว่า เอ็งอย่าหือ เดี๋ยวอั๊วประกาศแยกประเทศให้ลื้อ แล้วลื้อจะเดือดร้อน ฮ่าๆๆ
ดังนั้น ที่เราไม่ค่อยเห็นข่าว รัสเซียรบกับเชเชน ก็เพราะเหตุนี้แหละ
ผมว่า ยังไง รัสเซีย ก็ไม่ปล่อยให้เชชเนีย แยกตัวออกไปหรอก เพราะมันมีผลกระทบต่อรัฐอื่นเหมือนกัน-เพราะในรัสเซีย มีหลากหลายเผ่าพันธุ์-ที่พร้อมที่จะขอตัวแยกได้ตลอด
เรื่องดินแดน เป็นสิ่งที่สำคัญและแย่งกันจะเป็นจะตายอยู่แล้ว ก็เพราะการจะรบพุ่งเพื่อขยายอาณาเขตพื้นที่เหมือนในโลกโบราณ มันไม่มีและทำไม่ได้แล้วในยุคปัจจุบัน ทุกประเทศ จึงหวงแหนแผ่นดินที่ยังมีอยู่
ดูตัวอย่างสงครามจอร์เจียและการแย่งชิงหมู่เกาะคูริล-ที่รัสเซียและญี่ปุ่น แย่งชิงกันถึงทุกวันนี้, เชชเนีย ถ้ารัสเซียปล่อยไป NATO ก็จะเข้ามามีอำนาจแทน เชชเนีย-ซึ่งมีพรมแดนติดกะรัสเซีย มันง่ายมาก สำหรับปฏิบัติการทางทหารและที่ร้ายแรง มันจะเป็นแรงผลักดันให้รัฐและเขตแดนเหล่าอื่นๆ เอาเป็นตัวอย่าง ก็เพราะในรัสเซีย มีมนุษย์หลายเผ่าพันธุ์ พูดต่างภาษาจำนวนมาก (แล้วคิดว่า รัสเซีย จะยอมเหร้อ) ผลกระทบ มันมากมายและเป็นวงกว้าง ส่วนผลประโยชน์ในพื้นที่ ก็เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น
การสู้รบกัน ไม่จำเป็นต้องมีข่าวเสมอไปหรอกครับ นานๆที จะมีข่าวสักครั้ง แต่การสู้รบ ก็ดำเนินต่อไปเรื่อยๆ การจัดการของรัสเซีย จะชอบทำเงียบๆ มากกว่านะผมว่า โดยใช้หน่วยข่าวกรองทั้ง FSB และ SVR ในการจัดการกะพวกนี้
การเสียดินแดน เป็นเรื่องร้ายแรงของแต่ละประเทศ เพราะมันสามารถส่งผลถึงการเปลี่ยนขั่วรัฐบาลได้เลยในการเลือกตั้งแต่ละครั้ง ดูตัวอย่างใกล้ๆเรา เขาพระวิหาร รัฐบาลยุคไหนๆ ก็ไม่อยากเข้าไปยุ่งหรอกครับ เพราะมันดำเนินลำบากมาก ถ้าก้าวพลาด มันสามารถเปลี่ยนขั่วรัฐบาลใหม่ได้ ฉะนั้น ถ้าเลี่ยงได้ รัฐบาลในยุคไหนๆ ก็พยายามเลี่ยงตลอดในข้อพิพาทเรื่องดินแดนต่างๆ
ในขณะที่การพุ่งรบกัน เรายังไม่เห็นประโยชน์ในพื้นที่นั้นๆหรอกครับ พอการรบพุ่งสงบเส็จเรียบร้อยแล้วและเข้าสู่สภาวะปกติ ทีนั้นแหละ การลงทุนและการสำรวจพื้นที่+สำรวจทรัพยากรธรรมชาติต่างๆเหล่านั้น ก็จะได้รับการสำรวจและมีผลตามมา ผลประโยชน์ ก็มีให้เห็นแน่นอน
ตรงไหนที่รัสเซียจะปล่อยครับ ไม่มีทาง
ให้มีอำนาจปกครองตัวเองนิดหน่อย แล้วเอาคนของรัสเซียไปปกครองอีกที
แต่สิ่งที่ทำให้ชาวเชเชนพอใจ คือความเจริญที่รัสเซียส่งให้ ทั้งถนน ทางหลวง โรงเรียน โรงพยาบาล โรงงาน สวัสดิการต่างๆ
ตรูมีงานทำ มียศ ลูกเมียอยู่ดีกินดี มีงานทำ ได้ปกครองตนเอง แล้วตูจะจับปืนเข้าป่าทำไมฟะ
http://www.militaryphotos.net/forums/showthread.php?158022-New-Chechen-Ministry-of-Internal-Affairs
ถล่มทั้งเมืองสุดท้าย ก็ต้องมาเจรจาสร้างกันไหม่อีก ผมอยากไห้สามจ.ภาคใต้เราออกมาแนวลักษณะ เชเชน เนี้ยแหละครับ เป็นแบบปกครองพิเศษไม่แยกตัวออกไปเป้นประเทศไหม่ วินๆทั้งสองฝ่ายน่ะครับ อันดับแรกต้องแก้ที่การเมืองก่อน
ครับ มันต้องแก้ที่การเมืองนะ ทุกคน
ถูกใจความเห็นของคุณYukikazeก็วันนี้แหละ +1like
การเมือง ต้องนำการทหาร
การทหารแก้ปัญหาไม่ได้ทุกอย่าง
แต่ที่สำคัญฝั่งการเมืองต้องเข้มแข็งไม่เป็นไม้หลักปักขี้เลน
ปูตินนั้น ถือว่าเป็นเผด็จการคนหนึ่ง ......แต่บอกตรงๆ สถานการณ์รัสเซียยุคที่ปูตินมามีอำนาจเมื่อ10กว่าปีก่อนนั้น ประเทศรัสเซียแทบจะล่มจม กลับมาพลิกบทบาทเป็นมหาอำนาจอีกครั้งในเวทีโลก เพราะบารมีแกนี่แหละ คนรัสเซียจึงยังพอใจปูติอยู่มาก แม้จะมีบางส่วนเริ่มเบื่อหน้าแล้วก็ตาม
ครับ การเมือง ต้อง ชั่ง ทั้ง ซ้ายและขวา ครับ.. แต่ตัวแปร คื่อ เรื่องปากท้อง ครับ.. ปัจจัย 4 นี่แหละ บริหาร ยากที่สุด.
แต่ ที่สำคัย ที่สุด ก็คือ การบริหารอำนาจ