ในที่สุด กองทัพเรือก็ตกผลึกได้อนาคตนักดำเรือดำน้ำรุ่นใหม่ ที่จะเดินทางไปฝึกอบรมหลักสูตร International Submarine ณ ดินแดนกิมจิ ประเทศที่มีขีดความสามารถในการต่อเรือดำน้ำชั้น 209 รุ่น Chang Bogo ที่ได้รับลิขสิทธิ์จากประเทศเยอรมนี กองทัพเรือได้ทำการคัดเลือกนายทหารเหล่านี้อย่างเข้มข้น ผ่านการสอบข้อเขียน สอบภาษา ทดสอบสภาพร่างกาย ความพร้อมในการปฏิบัติงานในเรือดำน้ำ และทำการทบทวนภาคปฏิบัติกับเครื่องฝึกเรือดำน้ำจำลอง โดยนักดำหนุ่มเหล่านี้กำลังทำการเรียนภาษาเกาหลี กับสถาบันภาษาเกาหลี ประจำประเทศไทย และจะเดินทางไปฝึกอบรมในเดือน ก.ค. นี้ ขอให้แฟนเพจเป็นกำลังใจให้กับอนาคตนักดำรุ่นใหม่ เหล่านี้ด้วยครับ
ข่าวจาก https://www.facebook.com/media/set/?set=a.546142202090465.1073741830.222887361082619&type=1
เราเกือบได้เทคโนโลยีเยอรมันนี มาประจำการ ถึงแม้ตอนนี้จะเป็นลูกครึ่ง ( เกาหลี + เยอรมัน ) ก็น่าสนใจไม่แพ้กัน
สู้ๆ ต่อไปครับ กองเรือดำน้ำ
มีแววจะได้สาวลูกครึ่งเยอรมัน + เกาหลีหรอครับ ??
พ่อตาเกาหลี อนุญาติให้นายทหารเรือรูปหล่อเข้าออกนอกใน ถึงในบ้านได้ขนาดนี้
ไม่แคล้ว คงได้เจ้าสาวเป็น เกิร์ลกรุ๊ฟ เกาหลีชัวร์ๆ ..
เมื่อครั้งสงครามอินโดจีนและสงครามโลกครั้งที่ 2 เรามีเรือดำน้ำญี่ปุ่น
มาคราวนี้ เห็นทีจะหวยออกที่เรือดำน้ำเกาหลีใต้ ก็ยังดีครับ
Chang Bogo-class submarine
เครดิตรูปจาก http://en.wikipedia.org/wiki/File:Korean_submarine_LEE_CHUN.JPEG
Sailors onboard the Korean submarine Lee Chun stand at the ready, as they prepare to go pier-side in Apra Harbor, Guam. The Koreans are joining by other allied forces in Guam to participate in Exercise TANDEM THRUST 99.
"เรือดำน้ำตระกูลเยอรมันเชื้อเกาหลีครับ"
Type 209 1400T (แต่เอ้ะ.. ไหนๆก็จะต้อง ลุ้นกันยาวๆกับแบบฉบับหนังซีรี่เกาหลีแล้ว)
ผมว่าเรามาลองลุ้นกับ KSS-II Type 214 1860Tons กันจะดีกว่าไหมครับ
Displacement: | 1,690 t (surfaced), 1,860 t (submerged) |
Length: | 213 feet 3 inches (65.0 m) |
Beam: | 20 feet 8 inches (6.3 m) |
Draught: | 19 feet 8 inches (6.0 m) |
Propulsion: | Diesel-electric, fuel cell AIP, low noise skew back propeller |
Speed: | 12 kt surfaced 20 kt submerged |
Range: | 12,000 miles (19,300 km) surfaced 420 nmi (780 km) @ 8 kt 1,248 nmi (2,311 km) @ 4 kt |
Endurance: | 84 days |
Test depth: | 250m (400m theoretical) |
Complement: | 5 officers + 22 crew |
Armament: | (8) 533 mm torpedo tubes, (4) subharpoon-capable |
ตามกระทู้ หัวข้อหลัก เรื่องเรือฟริเกตสมรรถนะสูง
ที่ท่าน ccguy ได้ให้ความเห็นไว้ว่า ตามที่ได้พูดคุย ทหารเหล่าเรือดำน้ำ แล้ว แบบเรือดำน้ำ จะอยู่ประมาณ 209 หรือ 210 mod หรือ 206A โดยการซ่อมสร้างเอง ส่วนขนาด 214 หรือ แบบอื่น ๆ จะไม่เหมาะกับ อ่าวไทย...
ตอนนี้ ผมเลย เขม่นตาข้างซ้ายว่า....
โครงการ เรือดำน้ำ จะมี ดีล แบบนี้ ไม๊...
จัดหา DW1400T จาก แดวู จำนวน 2 ลำ + การร่วมทุน Daewoo กับ อู่เรือรัฐวิสาหกิจไทย ทำการซ่อมสร้าง U-206A อีก ในประเทศไทย อีก จำนวน 2 ลำ จากเยอรมัน...(ซากที่เหลืออีก 4 ลำ นำมาซุบชีวิต 2 หรือไม่ ก็สร้างใหม่)
เหมือนกับ ดีล ที่ DSME ให้กับ ประเทศ เปรู...ที่ให้ Daewoo ให้ออฟชั่น พิเศษ คือ ต่อเรือ LPD จำนวน 2 ลำ เรือ OPV จำนวน 4 ลำ และ เรือตรวจการ จำนวน 6 ลำ และ เรือฝึก จำนวน 1 ลำ รวม 13 ลำ ที่ประเทศเปรู โดย Daewoo จะลงทุน ขยายอู่เรือ ของ เปรู...
เหมือนกับที่ Daewoo ให้ ดีล กับ อินโดนีเซีย คือ ซื้อเรือดำน้ำ 3 ลำ แต่ต่อที่ เกาหลี จำนวน 2 ลำ อีก 1 ลำ ต่อที่ อินโดนีเซีย...
Peru To Build 13 New Naval Vessels
By AMI INTERNATIONAL INC.
The Peruvian Ministry of Defense has signed a $300 million contract with Peru’s government shipyard SIMA for the construction of 13 naval vessels. The vessels will be built at SIMA’s main shipyard in Callao and small vessel facility at SIMA Iquitos. South Korea’s Daewoo Shipbuilding and Marine Engineering (DSME) and Samsung Thales are
providing technical support.
The 13 ships include two 7,000-ton logistic support ships, one sailtraining ship, four offshore patrol vessels (OPVs) and six coastal patrolboats. All of these vessels are believed to be of South Korean designs as DSME signed a memorandum of understanding (MoU) with the Peruvian government in April to build and modernize its naval vessels.
The big question for Peru is if it can actually build all 13 vessels within the $300 million contract. While construction costs are relatively cheap in Peru when compared with Korea, a second cash infusion of up
to $300 million may be needed to complete all 13 units as planned. The new patrol boats could begin delivering by 2014, the OPVs by 2016 and the first logistic support ship in 2018.
Although new submarines were part of the original MoU, they were not part of this agreement as the submarines will have to be built in South Korea. SIMA Peru has never built submarines.
http://www.seapower-digital.com/seap...302?pg=42#pg42
Daewoo modernize Peruvian
2013-01-30
Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering of Korea (DSME) is said to proceeding modernization of largest shipyard in Peru, Servicios Industriales de la Marina S.A. (SIMA), with the Peruvian government.
SIMA was established in 1950 as a state-owned shipbuilding company (succeeding the Naval Factory founded in 1845) and is well known as a leading company specializing in building and repairs, targeting the Peruvian Navy and domestic/international shipowners.
DSME is said to sign a contract soon on the modernization of the shipyard. Also, DSME is allegedly known to be considering the depot maintenance for submarine with the Peruvian government.
http://www.globmaritime.com/news/shi...rnize-peruvian
ไม่เป็นไรครับ Type 214 อาจจะดูใหญ่เกินกว่าอ่าวไทยจริงๆก็ได้แล้วนอกจากนั้นก็คงจะติดปัญหาทางด้านเทคนิคกับเยอรมันและยังเรื่องการเมืองอีก...... เฮ้อน่าเสียดาย
งั้น เชียร์TPYE 209/1400T ก็ได้ครับ แต่ถ้าเป็น Type 209/1400T ของเกาหลีตอนนี้ราคา 300 M.USD
แล้วแผนจัดหา 2 ลำแน่แล้วใช้ไหม 300x2 = 600 M.USD x30 18,000 ล้านบาท งั้นแสดงว่าในอีก 2 -3 ปี ข้างหน้านี้มีเฮแน่ๆ
ท่านใดพอจะมีข้อมูล เชิงลึกเกี่ยวกับระบบสงครามของเรือ type 209/1400 รุ่นนี้มาแชร์บ้างไหมครับ ผมไม่ค่อยมีข้อมูลเชิงลึกแบบละเอียดเกี่ยวกับเรือรุ่นนี้ซักเท่าไรครับ
เช่น1. ระบบโซน่า passive ,active เรด้าห์ ผิวน้ำทั้งหมดเหล่านี้มีระยะตรวจจับเท่าไร
2. มี ทุ่นใต้น้ำลวงเป้า(depth buoy decoy ทั้ง passive /acive) หรือเปล่าแล้วสามารถบรรจุใช้ได้กี่ลูก
3. มีระบบ ESM หรือไม่
เพราะผมต้องการเอาเปรียบเทียบกับเรือชั้น kilo ของเวียดนาม และ scopene ของมาเลเซียครับ
ถ้าโครงการนั้น มาจริงละก็ ตอนนี้ผมคิดออกเหมือนว่า ถ้าทำเหมือนประเทศอินโดนีเซียก็ดีเหมือนกันนะครับ แต่ไงก็ขอให้มันเป็นจริงสักกาทีเหอะจริง ก่อนมันจะสายเกินไป
ถ้าเป็นอย่างที่คุณJudas ว่า ทร.จะได้สมใจซะที ถึงเป็นลูกครึ่งเกาหลี-เยอรมัน ถ้าพ่อตาปลูกเรือนหอให้ด้วยก็เอานะ
คือว่าเราส่งบุคลากรไปฝึก International Submarine เฉยๆครับ ยังไม่ลงรายอะเอียดอะไรเกี่ยวกับการจัดหาเลยนะครับ เขาแค่บอกว่าเกาหลีใต้มีขีดความสามารถในการผลิตเรือดำน้ำชั้น 209 เท่านั้นเองครับ สุดท้ายแล้วอาจจะออกมาเป็นรุ่นอื่นก็ได้ครับ แต่ผมคิดว่าหวยก็คงจะออกเป็นเจ้านี่แหระครับ
เรือชั้น chang bogo ของเกาหลี ตอนออกจากอู่เยอรมนี ทางเยอรมนีกำหนดแบบเป็น type 209/1200 ครับ ส่วนตัวขอเติม MOD ไปข้างท้ายชื่อด้วยเพราะมีรูปร่างต่างกับเรือแบบเดียวกันแต่ต่อก่อนอย่างชั้น atilay ของนาวีตุรกีซึ่งของตุรกีรูปร้างจะคล้ายๆกับชั้น 206 ....ส่วนการทำตลาดตอนนี้ก็ดูเหมือนเยอรมนีกับเกาหลีจะแบ่งๆแบบเรือไปทำ โดยเยอรมนีจะเสนอ type209/1400 ที่มีขนาดใหญ่กว่า+เครื่อง AIP ถ้าต้องการ ส่วนเกาหลีก็จะเป้น type209/1200mod chang bogo ครับ
อันนี้เรือชั้น atilay เห็นได้ชัดว่ารูปทรงเรือจะแนว โบราณๆ
อีกอย่างนึง ขอเห็นต่างกับท่าน juldas การที่เราว่างเว้นจากการประจำการ เรือ ส. มานาน อีกทั้งงบจำกัดไม่ได้มากแบบประเทศอื่น ข้อเสนอเงื่อนไขต่อเกาหลีเรื่องช่วยซ่อมสร้างเรือ 206 เป็นการเพิ่มแบบเรือ เพิ่มภาระในระยะยาวเสียมากกว่านะครับในความเห็นส่วนตัวผม.....
อย่าคิดมากครับ กองเรือดำน้ำ ขณะนี้ ส่งกำลังพลไปฝึกและเรียนรู้เกี่ยวกับเรีอดำน้ำในหลายประเทศครับ ทั้งจากจากประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.528750777162941.1073741825.222887361082619&type=1
และ กำลังจะส่งไปอีกชุดที่ ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี และอาจจะส่งไปที่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และปรเทศอื่นๆ ที่มีเทคโนโลยีเกี่ยวกับเรือดำน้ำครับ
ฝากถึงคุณ Johnny_Thunders ครับ เรือดำน้ำรุ่น chang bogo-class submarine ถ้าคุณเข้าไปเช็คในวิกีแล้วคุณจะรู้ว่าเกาหลีใต้ได้ทำการ modify type 209 จาก 1,200 ตัน เป็น 1,400 ตัน ในปี 2009 ครับ
ระวางขับน้ำของเรือดำน้ำชั้นนี้ (chang bogo-class submarine)ในปัจจุบันจะอยู่ที่ 1,400 ตัน ถูกต้องแล้วครับ
และรวมไปถึงเรือที่อินโดนีเซียซื้อจากเกาหลีก็ขนาด 1,400 ตันด้วยครับ
เลขตามหลัง type209/xxxx ไม่ได้หมายถึงระหว่างขับน้ำหรอกครับท่าน obeone ดูอย่างระวางขับน้ำเรือ type 209/1400 กับ 209/1500 ที่มีระวางถึง 1586 ตัน และ 1810 ตัน ตามลำดับครับ...ส่วนเลขรุ่นที่อู่เกาหลีกำหนด DW-1400T ก็อีกเรื่องนึงครับ
เป็นการ เดา เล่นสนุก ๆ น่ะครับ...
ส่วนเรื่องเพิ่มภาระ ผมคิดว่า ไม่ได้แตกต่างจากปัจจุบันครับ...
จำนวนเรือดำน้ำ 2 ลำ คือ จำนวนยอดขั้นต่ำ ครับ...ไม่ใช่ ขั้นสูงสุด...
สิงคโปร์ ประเทศเล็ก ๆ อย่าง สิงคโปร์ ก็มีเรือดำน้ำ 2 แบบ คือ ชั้น challanger กับ Archer
อินโดนีเซีย ก็มีเรือดำน้ำ 2 แบบ คือ U-209/1300 กับ Deawoo ซึ่งน่าจะเป็น DW1400T
เวียดนาม จัดหาครั้งเดียว จำนวน 6 ลำ แบบ Kilo ลองคิดถึงว่า เวียดนาม ต้องใช้ เรือดำน้ำ ระดับ Kilo ในการฝึกนักเรือดำน้ำ และเวียดนาม ไม่เคยมีประสบการณ์เรือดำน้ำ มาก่อนเลย ดังนั้น การมีเรือดำน้ำแบบเดียว ไม่ใช่คำตอบว่า ภาระจะน้อยกว่า การมีเรือดำน้ำ หลายแบบ แต่จัดภาระกิจให้เหมาะสม
ถ้า ทร. จัดหาเรือดำน้ำ มาได้เพียงจำนวน 2 ลำ ก็หมายถึงว่า ทร. จะเสียเรือดำน้ำหลัก อย่างน้อย 1 ลำ เป็นเรือดำน้ำเพื่อฝึก ซึ่งจะมีภาระการซ่อมบำรุงสูงมากขึ้น เพราะจะมีชั่วโมงการปฏิบัติงานมากขึ้น
แต่ถ้า สมมติ ที่ผมยกตัวอย่างนั้น...
ทร.จะมีเรือดำน้ำ เพื่อฝึก และศึกษา รวมถึงการพัฒนา คือ จำนวน 2 ลำ (U-206A) และในภาวะสงคราม ก็สามารถใช้ทำการรบได้ และอาจจะหมายถึง กองทัพเรือสามารถพัฒนาออกแบบสร้างเรือดำน้ำชายฝั่ง ขึ้นเองได้ แบบเดียวกับ เรือตรวจการณ์ แบบต่าง ๆ โดยจำนวน 2 ลำ จะหมายถึง เรือมีความพร้อมใช้งานเพื่อฝึก จำนวน 1 ลำ และเข้าซ่อมทำ จำนวน 1 ลำ
ส่วนเรือดำน้ำอีก 2 ลำ (DW1400T) ก็เป็นเรือดำน้ำโจมตีหลัก ซึ่งจะหมายถึง พร้อมรบ จำนวน 1 ลำ และเข้าซ่อมทำ จำนวน 1 ลำ
โดยใน กรณี เบื้องต้น อาจจะใช้งบประมาณ ประมาณ 25,000 - 27,000 ล้านบาท (DW1400T จำนวน 20,000 ล้านบาท และ U-206A จำนวน 5,000 – 7,000 ล้านบาท ซึ่ง U-206A หมายถึงการร่วมทุนกับ Daewoo)
เมื่อเปรียบเทียบกับ การจัดหา จำนวน 3 ลำ จะใช้งบประมาณขั้นต่ำ ไม่ต่ำกว่า 30,000 ล้านบาท
นั่นหมายถึง ทร. จะต้องใช้ DW1400T จำนวน 1 ลำ เพื่อใช้ฝึก และอีก 1 ลำ มีลักษณะพร้อมรบทางยุทธวิธี และอีก 1 ลำ เข้าซ่อมทำ
แต่สมมติ ทร. จัดหามาได้เพียง 2 ลำ ก็จะหมายถึง จำนวน 1 ลำ เพื่อใช้ฝึกและพร้อมรบ ไปพร้อม ๆ กัน และอีก 1 ลำ เข้าซ่อมทำ
ก็จะเปรียบเทียบให้เห็นค่าใช้จ่ายในการฝึก เพื่อให้ได้นักเรือดำน้ำ ที่ต้องผลิตบุคลากรเข้ามาอย่างต่อเนื่อง เพื่อทดแทนกำลังพลที่สูญเสียทั้งจากอายุราชการ สุขภาพ และอุบัติเหตุ ซึ่งแตกต่างจาก เรือรบผิวน้ำ เพราะเป็นลักษณะเฉพาะ ผมลองคิดคร่าว ๆ แบบนี้ U-206A ควรจะมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่า การใช้เรือดำน้ำหลัก คือ DW1400T และจะไม่ส่งผลกระทบกับ กำลังทางยุทธวิธี
ซึ่ง U-206A ที่ผ่านมา ข้อมูลก็ปรากฏว่า อายุประจำการของเรือชั้นนี้ ขึ้นอยู่กับ อายุของแบตเตอรี่ ไม่ใช่ตัวโครงสร้างและวัสดุของตัวเรือ ซึ่งถ้า ทร. สามารถแก้ปัญหานี้ได้ จะทำให้ U-206A ยังใช้งานได้อีกนาน...และ ปัจจุบัน ทร. ก็กำลังวิจัยและพัฒนา ยานใต้น้ำ ไกรทอง....การมี U-206A น่าจะช่วยส่งเสริมได้ ทั้งในแง่ลักษณะการพัฒนาตัวเรือ และ การพัฒนาพลังงานแบตเตอรี่ ซึ่งน่าจะอยู่ในความสามารถของ ทร. ที่จะทำได้ดีและประสบความสำเร็จ
อินโดนีเซีย จัดหาเรือดำน้ำจาก แดวู มูลค่า 1.2 ล้านล้านวอน หรือประมาณ 1,025 ล้านเหรียญสหรัฐ จำนวน 3 ลำ
Daewoo Shipbuilding and Marine Engineering has been awarded exclusive negotiator status to sign a W1 trillion export contract for diesel submarines with the Indonesian Defense Ministry and Navy, the company said Monday (US$1=W1,170).
Korea was in competition with Russian, French and German firms. It became a priority negotiator alongside a French company in June.
The winning bidder will build three 1,400-ton subs worth W1.2 trillion, making it Koreas single biggest arms export.
Korea will join the group of submarine exporters only 20 years after it took over submarine technology from Germany.
Only four countries -- Russia, Germany, France, and China -- export diesel subs. The U.S. and Japan build them for their own use.
According to market researcher ICD Research, a total of 154 subs worth $180 billion are expected to be built around the world over the next decade, including some 100 diesel subs.
chang bogo-class จากวิกิพีเดียบอกว่าทางเกาหลี mod มันจากรุ่น type 209/1200 ให้มีขนาดใกล้เคียง type-209/1400 ครับ ก็เลยเปลี่ยนเป็น DW-1400T ด้วยเหตุนี้มั๊ง จะได้แยกจากกันว่าคนละรุ่น ระวางจะใกล้เคียงกันมากทั้ง DW-1400T และ type-209/1400
สำหรับผม ถ้าข่าวออกแนวๆทางอู่แดวูของเกาหลีจะให้ข้อเสนอร่วมทุนในการขยายอู่ต่อเรือ แล้วมีการพัฒนาสร้างอู่แห้งหมายเลข 2 และจัดหาเครื่องไม้เครื่องมือเพิ่มเติม ผมจะพอใจยิ่งกว่าได้เรือฟรีเกตอีกครับ ถ้าได้แบบนี้ค่อยคุ้มค่ามากพอๆกับกับดีลจีน......ok. เลยครับ
และจากกระทู้ก่อนเรื่องที่อู่ Oakwell จะจับมือกับอู่ต่อเรือกรุงเทพในการสร้างโรงต่อเรือ สลิปเวย์ shiplift shiptransfer และถ้ามีการลงทุนจากอู่แดวูในการสร้างอูาแห้งหมายเลข 2 จะถือว่าอู่ราชนาวีจะมีความพร้อมสูงแข่งขันกับเวียตนามและสิงคโปร์ได้ครับ
สำหรับความคิดเห็นผม ในกรณีที่ทร.เกิดได้งบประมาณมาสัก 30,000 - 33,000 ล้านบาทจริงๆสำหรับเรือดำน้ำ (ต้องเผื่อภาษีด้วย....) และการจัดหาจะมาจากเกาหลีอีก อยากให้แบ่งเป็นการจัดหาเรือดำน้ำ 2 แบบ จำนวน 4 ลำครับ
1. เรือดำน้ำโจมตีหลัก ก็ควรเป็น DW-1400T ที่มีระบบ AIP จำนวน 2 ลำ น่าจะใช้เงินราวๆ 20,000 ล้านบาท ต่อในเกาหลีใต้ 1 ลำ และทำการต่อเองในประเทศ 1 ลำ พร้อม option สำหรับต่อใช้งานเองอีกอย่างน้อย 2-6 ลำ
2. เรือดำน้ำชั้น KSS-500A ทำการ mod ให้ตรงตามความต้องการของเรา จำนวน 2 ลำ ใช้เงินประมาณ 10,000 ล้านบาท(คาดเดาราคา) อาจจะขยายขนาดขึ้นอีกเล็กน้อยเป็น 600-800 ตัน ต่อในเกาหลีใต้ 1 ลำ แล้วทำการต่อในประเทศ 1 ลำ และขอ option การต่อเพิ่มเติมภายหลังอีก 2-6 ลำ
DW-1400T/AIP ควรจะเป็นเรือโจมตีหลักและสามารถตามกองเรือบรรทุกบ.ออกไปนอกบ้านได้ และมีขนาดใหญ่พอสำหรับฝั่งอันดามันด้วยครับ
ส่วน KSS-500A ที่ทำการ mod ควรจะรับหน้าที่เป็นเรือฝึกหลัก เพราะมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าและมันออกแบบให้มีพื้นที่สำหรับหน่วยซีล ดังนั้นจึงสามารถนำพื้นที่นี้ไปใช้เป็นที่พักของลูกเรือใหม่ที่เข้ารับการฝึกได้เป็นอย่างดีครับ
และเป็นกองเรือดำน้ำสำหรับเฝ้าอ่าวตอนใน เป็นหมาเฝ้าบ้านหลักที่ดุโคตรๆครับ ควรจะมีสามารถทำการขึ้นมาชาร์ทไฟแค่ 1-2 ครั้งเท่านั้นในระหว่างปฎิบัติงาน 21 วัน จึงไม่จำเป็นต้องติดตั้งระบบ AIP แต่ประการใด และควรสามารถโหลดตอร์ปิโด 533 ได้ 6 ลูก มากกว่าแบบเดิมที่โหลดได้แค่ 2 ลูก และ เป็นตอร์ปิโดเบา 4 ลูกครับ จะเหมาะสมกว่าในยามสงคราม
ผมว่าแบบ design ของ KSS-500A มีความทันสมัยกว่า Type-206A อยู่มาก และทร.เกาหลีใต้ออกแบบมันมาพร้อมและดีทีเดียว เพราะต้องเผชิญหน้ากับเกาหลีเหนือและ Midget submarine ของเกาหลีเหนือที่สร้างความเจ็บปวดไม่น้อยมาแล้วครับ
และคาดว่าราคาไม่น่าจะแพง เพราะเรือมีขนาดเล็กและเกาหลีใต้เป็นผู้แผนแบบเรือเองทั้งหมด จึงไม่น่าจะมีค่าโสหุ้ยเรื่องคา่สิทธิบัตรจากเยอรมันแต่ประการใด ดังนั้นน่าจะสามารถทำราคาในช่วง 3000-5000 ล้านบาทได้ ขึ้นกับสเปกระบบตรวจจับ และทางเกาหลีก็ต่อเข้าประจำการขั้นต่ำที่ 5 ลำไปแล้ว
แต่ type-206A มีข้อได้เปรียบตรงที่มันมีการพิสูจน์ตัวเองมาแล้วว่าดีจริง เชื่อถือได้สูงครับ
ท่าทางเรือเกาหลีมาเต็มกองเรือแทนเรือจีนซะแล้ว ขอดู offset ทางอุตสาหกรรมว่าจะมีการร่วมทุนขยายอู่ราชนาวีอย่างไร ถ้าเป็นลงทุนสร้างอู่แห้งหมายเลข 2 ผม...เฮ....สนั่นครับ แบบนี้เรือเกาหลีก็ได้ และเป็นการจัดหาที่ชาญฉลาดสุดๆ เพราะไม่ต้องลงทุนขอเงินจากรัฐบาลสักกะบาทในการขยายอู่เลย เสนาธิการกองทัพเรือเราลาออกไปเป็นพ่อค้า รับรองว่ารวยเป็นพันๆล้านแน่ๆเลยครับ เก่งมาก
ถ้าเป็นแบบนี้จริงๆ ทร.จะเป็นเหล่าแรกที่มีความพร้อมในโครงสร้างพื้นฐานที่สมบูรณืที่สุดและสามารถพึ่งพาตนเองได้ในการสร้างเรือทุกชั้นทุกแบบ พร้อมกับเป็นหัวจักรใหญ่ของประเทศในภาคอุตสาหกรรมต่อเรือที่ีทัดเทียมชาติเจริญแล้วครับ ถือว่าเป็นการใช้เงินซื้อยุทโธปกรณืคุ้มค่าสุดๆ
เรื่องการเมืองนี่ทำให้วุ่นวายปวดหัวมากเลยนะครับ แทนที่ทร.จะได้เรือดำน้ำมือสองมาใช้ฝึกกำลังพล ทั้งที่ปฏิบัติการในเรือ และส่วนสนับสนุนซ่อมบำรุง ใช้ช่วงเริ่มต้นอย่างที่ควรจะเป็นด้วยเงินไม่มากมาย แต่ก็เอาเถอะไหนๆ ก็ไหนๆ มากันขนาดนี้แล้ว ผมค่อนข้างเห็นด้วยกับท่าน Juldas มากครับ เพราะทร.เราไม่ได้มีงบประมาณมากพอที่จะจัดหาเรือดำน้ำใหม่ได้หลายลำ เพื่อเอามาใช้ฝึกกำลังพล และจำนวนขั้นต่ำ 2 ลำนั้นหากลำหนึ่งถึงวงรอบการซ่อมบำรุง เราก็จะมีเรือดำน้ำออกปฏิบัติการแค่ลำเดียว อีกอย่างการพ่วงเรือดำน้ำเก่าอย่าง U-206A เข้าไปในโครงการจัดหาเรือดำน้ำใหม่เพื่อนำมาใช้ฝึก น่าจะเป็นเหตุผลที่ดีมีน้ำหนักป้องกันข้อกล่าวหาที่เคยเจอได้เป็นอย่างดีครับ แต่ที่ผมสงสัยก็คือ เรือดำน้ำของเกาหลี DW1400T ตัวนี้มีระบบ AIP มาด้วยตั้งแต่แรกหรือเป็นการเพิ่มเติมลงไปในภายหลัง
เคยฟังสัมภาษณ์ ผู้ใหญ่ในกองทัพที่มีส่วนตัดสินใจ ไม่ต้องการเรือกระดาษโครงการที่ไม่เคยมีใครใช้ ดูท่า KSS-500A ต้องคิดหนัก
ไม่ทราบว่าข่าวนี้ update หรือไม่
สนใจตรงราคาจัดหาเรือ U-209 ของอินโดนีเซียอยู่ที่ 3 ลำ มูลค่าโครงการรวม 1.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ
South Korea May Win Indonesian Contract For Thee Submarines
chang bogo-class ไม่มีระบบ AIP ครับ ทางเกาหลีเพิ่งพัฒนา AIP แล้วเสร็จ และก็ออกมาเป็นรุ่น DW-1400T ที่ทางท่าน Juldas เอาโบรชัวร์ให้พวกเราดู มีระบบ AIP แล้ว
ผมว่าถ้าต้องขอซื้อแผนแบบ type-206A มาทำการต่อในประเทศเอง 1-2 ลำ หรือซ่อมคืนสภาพ 2 ลำ อะไหล่ 2 ลำ ผมว่าทางแดวูน่าจะเสนอแบบเรือชั้น KSS-500A มาเป็นตัวเลือกให้ทร. ตัดสินใจ และอาจจะมีข้อเสนออื่นที่ดึงดูดใจทร.เพื่อให้ทร.เลือกเรือจากเกาหลีทั้งหมดในราคาที่ยอมรับได้ แต่เราคงเป็นลูกค้ารายแรกในเรื่องระบบ AIP ของเกาหลีกับ KSS-500A แน่ๆครับ
ในเรื่องที่เราจะกลายเป็นผู้ใช้ต่างประเทศรายแรกของ KSS-500A และอาจจะเป็นข้อโต้แย้งที่ทำให้มันถูกตีตกไป ผมว่าน่าจะชดเชยได้ตรงที่มันไม่ใช่เรือรบหลักครับ ตัวหลักคงเป็น DW-1400T ที่มาจากแผนแบบเรือ type-209 ที่มีผู้ใช้จำนวนมากทั่วโลก ในเมื่อไม่ใช่เรือรบหลัก แต่มีภาระกิจฝึกเป็นหลัก และคงมีข้อเสนอในเรื่องราคาและอื่นๆชดเชย รวมทั้งก็เป็นแผนแบบเรือจากอู่ค่ายเกาหลีเหมือนกัน และทางทร.เกาหลีใต้ก็เพิ่งสั่งต่อใช้งานแล้ว 5 ลำ แบบนี้ก็มีสิทธิลุ้นไม่น้อยนะครับ
ไหนๆก็ไหนๆแล้วครับ เสียดาย type -206A เหมือนกัน ถูกและดี แต่ในเมื่อเลยเถิดกันมาขนาดนี้แล้ว เล่นเรือใหม่ไปทั้ง 4 ลำเลยดีกว่าครับ งบน่าจะอยู่ในราวๆ 30,000-33,000 ล้านบาทแบบคราวจัดหาฟรีเกตใหม่คราวนี้น่ะครับ
ปล. ขอบวกเผื่อภาษีด้วยเลย 3,000 ล้านบาท....55555...
เรือดำน้ำนี่ผมไม่ค่อยมายด์เท่าไรนะไห้มันดำน้ำได้ก้พอ ผมเชื่อมั่นในการตัดสินใจของ ทร. มากกว่าทบ.+ทอ.อีกนะ ขอได้ราคาเหมาะสมก็พอใจแระ
OK งั้นผมจะใช้ DW1400T แทน type209/1400 ก็แล้วกัน
ผมสนับสนุนแนวคิดของท่าน Judas ครับที่เรา จะมี DW1400T 2 ลำ+U206 เอาไว้ใช้ฝึก 1-2 ลำ แต่คิดว่างบประมาณจัดซื้อไม่น่าจะถึง 30,000 ล้านหรอกครับ เพราะเรือDW1400T 2 ลำราคาแค่ 600 M.USD แล้ว U-206 ก็ควรจะเป็นเรือเก่าแล้วซ่อมมาใช้ใหม่ ไม่ควรเป็นเรือสร้างใหม่ครับ ราคาไม่ควรเกิน 100 M.USD (อันนี้ต้องลองถามทางเกาหลีว่าเขามีเรือดำน้ำเก่าไว้ใช้สำหรับฝึกหรือไม่ ถ้ามีก็ซื้อมาด้วยเลยในราคาถูก)รวมๆกันแล้วงบไม่ควรเกิน 700-750 M.USD (25,000 ล้านบาท เมื่อรวมภาษีแล้ว) ถ้างบเยอะมากไปกว่านี้เกรงว่าการจัดหาเรือดำน้ำของกองทัพเรือ อาจแป้กหรือแท้งไปอีกก็ได้เหมือนเมื่อตอนรัฐบาลชุดที่แล้ว
เช่นนี้ ก็ต้องรอดูว่าเกาหลีจะดีลอะไรมา ถ้าหากเป็น DW-1400T ติด AIP มาด้วย....ก็หวังว่าเกาหลีจะอัพเกรดเรือตัวเอง กับระบบดังกล่าวด้วยก่อนที่จะเสนอขายต่างประเทศนะครับ
ผมขอมองในอีกมิตินึงครับ ผมสังเกตจากการจัดซื้อเรือ เครื่องบิน ของ ทร. หลังๆมาหลายๆโครงการพบว่าส่วนใหญ่จะจัดหามาอาวุธแต่ล่ะอย่างจะมีการแบ่งเป็นเฟสๆ เช่น ต้องการ ฮ. 4 ลำ แต่จัดหามาเฟสแรก 2 ลำ แล้วรอเฟสสองในอนาคต ซึ่งส่วนใหญ่จะเงียบไปไม่มีโอกาสจัดหาอีกเพราะโยกงบไปใช้โครงการอื่นๆ
คราวนี้ผมเดาใจว่าสมมุติ ทร. คำนวนแล้วพบว่าใน 5 ปี จะมีเงินจัดซื้ออาวุธได้ 30,000 ล้าน แต่มีโครงการเร่งด่วน 2 โครงการคือเรือฟริเกต 2 ลำ กับเรือดำน้ำ 2 ลำ ราคารวม 60,000 ล้าน ด้วยที่ว่าจำเป็นต้องมีทั้ง 2 อย่างแต่เงินไม่พอก้อาจจะต้องแบ่งเป็น เฟสย่อยๆดังนี้
โครงการเรือฟริเกตเฟสแรก 1 ลำ 13,000 ล้านบาท (เฟสสองรออนาคตแต่จัดหาแน่นอน)
โครงการจัดซื้อเรือดำน้ำเฟสที่หนึ่ง 1 ลำ 10,000 ล้านบาท (เฟสสองรออนาคตหลังใช้งานลำแรกไปแลเวระยะหนึ่ง)
รวมแล้วใช้เงินไป 23,000 ล้านบาท
เหลือเงินอีก 7,000 ล้านบาทสำหรับ การจัดเตรียมความพร้อม อะไหล่ สถานที่ ฝึกอบรม สิ่งอำนวยความสะดวกของกองเรือดำน้ำ
ถ้าทำอย่างนี้ใน 5 ปี เราจะมีเรือฟรีเกตและเรือดำน้ำตามแผนที่วางไว้ แต่ขาดในเรื่องจำนวน
(ส่วนใหญ่ของ ทร. จะเป็นประมาณนี้ คือ มีอาวุธครบทุกแบบ แต่ขาดเรื่องปริมาณ)
ผมขอมองมุมใหม่เลยแล้วกันนะครับ
กองทัพเรือไทยมีแผนจะซื้อเรือดำน้ำมือสองชั้น209จากเกาหลีใต้2ลำ ชื่อ Chang Bogo และ Lee Chun ในอีก2-4ปีข้างหน้า
โดยจะมีการปรับปรุงเรือทั้งหมดที่DSME ทั้งระบบAPI และแบตเตอรี่ มีการก่อสร้างฐานทัพสถานที่ฝึกกำลังพล มุลค่ารวม2ลำทั้งโครงการรวมตอร์ปิโดใหม่ลำละ6ลูกเท่ากับ300ล้านดอลล่าร์
ส่วน206ลืมมันไปเถอะครับ
แนวคิดของท่าน superboy ก็น่าสนใจนะครับ เรือมือสองซ่อมคืนสภาพและ upgrade ให้สามารถติดตั้งระบบ AIP ในราคาแค่ครึ่งเดียวของเรือใหม่ที่ไม่มีระบบ AIP พร้อมอุปกรณ์และสถานที่ฝึก ถ้าได้ราคานี้จริงก็ถือว่าไม่แพง เพราะผมว่าราคาอาจจะไม่หนี KSS-500A มือหนึ่งสักเท่าไร
แต่รู้สึกว่าทร.ทำการก่อสร้างอาคารและสถานที่ฝึกรอไว้แล้วนี่ครับ รูปข้างบนมันฟ้องอ่ะ ถ้าได้แบบนี้ถือว่าไม่เลวนะครับน่าสนใจ เอาไว้ใช้ในสถานะเรือฝึกก็ได้ เหมือนสิงคโปร์และมาเลย์ ที่จัดหาเรือมือสองมาทำหน้าที่เรือฝึก และในยามสงครามก็นำมาใช้รบได้
ในแผนพัฒนาของ ทร. รู้สึกว่าถ้าจำไม่ผิด ข้อกำหนดหนึ่งในการจัดหาเรือดำน้ำ คือ ต้องการระบบ AIP ด้วยนะครับ ดังนั้นจึงน่าจะได้รับการพิจารณาในอันดับแรกๆ
ถ้าเป็นเรือมิอสองเพื่อมาทำการฝึกก่อนคงไม่พ้นลำนี้ ตามข้อสังเกตของสมาชิกข้างบน
(เรือ class นี้ที่ประจำการใน ทร.เกาหลีมี 9 ลำ แต่เรือลำแรกนี้ต่อที่เยอรมันซะด้วย)
ROKS Chang Bogo (SS-061) is a submarine of the Republic of Korea Navy, and was the first submarine to serve with that navy. She is one of the Type 209 submarines built for export by Germany
At the end of the 1980s South Korean navy started to improve its overall capability and began to operate more advanced vessels. South Korea purchased its first submarines, German U-209 class in its Type 1200 subvariant, ordered as the Chang Bogo class. These boats are generally similar to Turkeys six Atilay-class submarines, with German sensors and weapons.
The first order placed late in 1987 covered three boats, one to be completed in Germany and the other two in South Korea from German-supplied kits. There followed by two additional three-boat orders placed in October 1989 and January 1994 for boats of South Korean construction. The boats were commissioned from 1993 to 2001.
The older boats were upgraded, it is believed that the modernization included a hull stretch to the Type 1400 length, provision for tube-launched Harpoon missiles and the addition of a towed-array sonar.
http://en.wikipedia.org/wiki/ROKS_Chang_Bogo_(SS-061)
Country | Class name | Pennant | Name | Commissioned |
---|---|---|---|---|
South Korea | Chang Bogo class | SS-061 | Chang Bogo | 1993 |
South Korea | Chang Bogo class | SS-062 | Lee Chun | 1994 |
South Korea | Chang Bogo class | SS-063 | Choi Museon | 1996 |
South Korea | Chang Bogo class | SS-065 | Park Wi | 1996 |
South Korea | Chang Bogo class | SS-066 | Lee Jongmu | 1996 |
South Korea | Chang Bogo class | SS-067 | Jeong Un | 1998 |
South Korea | Chang Bogo class | SS-068 | Lee Sunsin | 2000 |
South Korea | Chang Bogo class | SS-069 | Na Daeyong | 2000 |
South Korea | Chang Bogo class | SS-071 | Lee Eokgi | 2001 |
http://en.wikipedia.org/wiki/Chang_Bogo-class_submarine
ROKS Chang Bogo (SS-061) :
Career | |
---|---|
Class and type: | Type 209/1200 |
Name: | ROKS Chang Bogo (SS-061) |
Ordered: | August 12, 1976 |
Builder: | Howaldtswerke Deutsche Werft AG |
Laid down: | 1987 |
Launched: | September 1991 |
Commissioned: | October 1992 |
General characteristics | |
Displacement: | 1,180 t surfaced 1,285 t submerged |
Length: | 55.9 m |
Beam: | 6.4 m |
Draft: | 5.9 m |
Propulsion: | 4 MTU Type 12V493 AZ80 GA31L diesel engines 1 Siemens electric motor 1 shaft 4,600 hp |
Speed: | 11 knots (20 km/h) surfaced 21 knots (39 km/h) submerged |
Range: | 11,300 nmi (20,900 km) surfaced at 4 knots (7.4 km/h) |
Endurance: | 50 days |
Complement: | 5 officers, 26 enlisted |
Armament: | 8 × 21 in (533 mm) torpedo tubes 14 SST-4 torpedoes |
ROKS Chang Bogo (SS-061)
อันนี้เป็นข้อมูลเก่าที่เคยมีการพูดกันในเวปเพื่อนบ้าน ชอบความเห็นของท่าน juldas ที่มองการณืไกลได้แม่นยำ ขออนุญาตท่าน juldas คัดลอกบางส่วนนำมาลงให้สมาชิกอ่านกันอีกครั้งนะครับ
"ในแนวทางเดียวกัน เรือดำน้ำของ ไทย....
ประเทศไทย น่าใช้เวลาฝึก กับ เรือดำน้ำเก่ามาตรฐาน Type-209/1200 UP ในเวลาที่ใกล้เคียงกัน คือประมาณ 6 ปี ( ปี 2013 - 2019 )
ในขณะเดียวกัน ทร. มีเรือดำน้ำแบบพร้อมรบสูงกว่ามาตรฐาน Type-209/1200 MOD ทำการฝึกไปพร้อมกัน หลังจากผ่านการรับมอบเรือลำแรกแล้วประมาณ 3 ปี ( ปี 2016 )(ทหารเรือดำน้ำพร้อมรบชุดแรก) น่าจะใช้เวลาในการฝึกความชำนาญพร้อมรบ 3 - 4 ปี ( ปี 2019 - 2020 ) รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 10 ปี ( ปี 2010 - 2020) จะทำให้ความห่าง ระยะเวลาพร้อมรบ ระหว่างไทย กับ มาเลเซีย อยู่ประมาณ 5-6 ปี แต่ ทร.ไทย จะมีระยะเวลาใกล้เคียงกับ เวียดนาม เพราะระยะเวลาการรับมอบน่าจะใกล้เคียงกัน"
http://www.thaiarmedforce.com/distribution/viewtopic.php?f=6&t=739&start=195
ขออภัยระบุวันโพสต์ข้อมูลของท่าน juldas ผิดไปครับ ลงแก้ให้แล้วครับ
ผมมองรูปการณ์ด้วยความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ ที่ผ่านมากองทัพเรือส่งคนไปฝึกที่เยอรมันสม่ำเสมอและปัจจุบันก็ยังส่งไปอยู่ ซึ่งหมายความว่ากองทัพเรือนั้นมีพื้นฐานเกี่ยวกับเรือดำน้ำนั้นจะเป็นระบบเยอรมันเป็นหลัก แต่ปัจจัยหลายๆอย่างรวมทั้งงบประมาณนั้นไม่เอื้ให้กองทัพเรือพอจะจัดหาเรือดำน้ำจากเยอรมันได้ ซึ่งการส่งบุคคลากรไปฝึกที่เกาหลีนั้นก็ยังเป็นระบบอิงมาตรฐานเยอรมันซึ่งความแตกต่างจากเยอรมันคงไม่มากนักเพราะเกาหลีใช้เรือดำน้ำแบบของเยอรมันที่ต่อเองในประเทศ ดังนั้นหากแนวโน้มการจัดหาเรือดำน้ำในอนาคตหากมีโครงการ คาดว่าเรือที่น่าจะมีแนวโน้มสูงสุดนั้นส่วนตัวคาดว่าเกาหลีมาแรงครับ
ส่วนตัวน่ะครับ ในอีก 2 ปีข้างหน้าผมฝันอยากเห็นภาพข่าวหน้าหนึ่ง การเดินทางจากเกาหลีสู่ประเทศไทยของเรือสองพี่น้อง เรือฟริเกตแล่นคู่มากับเรือดำน้ำ 209 mod ของกองทัพเรือไทย ครับ
ขอฝันต่ออีกหน่อย คือ ทร. ประจำการด้วย U209 mod (มือสอง) 4 ลำ นาน 15-20 ปี เพื่อรอการปลดประจำการของเรือ U212 เยอรมัน จำนวน 4 ลำ ครับ (เรือมือ 1 ด้วยงบประมาณที่มีคงไม่สามารถทำได้)
รุ้สึกว่าทางเกาหลีใต้จะปลด u 209 ก่อนอายุนะครับ เพราะจะเร่งประจำการ u 214 ตอนนี้ประจำการ u 214 แล้ว 4 ลำ จาก 9 ลำตามแผน
ผมเลยคิดว่า เราอาจมีลุ้น u 209 เกาหลี 3ลำ |
ฝึก 1 ลำ
ต่อที่เยอรมัน อายุเรือ 20 ปี
South Korea | Chang Bogo class | SS-061 | Chang Bogo | 1993 |
ประจำการ 2 ลำ
เกาหลีต่อเอง อายุเรือ 17 ปี กำลังหนุ่ม
South Korea | Chang Bogo class | SS-063 | Choi Museon | 1996 |
South Korea | Chang Bogo class | SS-065 | Park Wi | 1996 |
เพราะผมกำลังคิดว่าเกาหลีคงไม่ขายลำนี้เพราะเกาหลีต่อเองกับมือลำแรก
South Korea | Chang Bogo class | SS-062 | Lee Chun | 1994 |
Country | Class name | Pennant | Name | Commissioned |
---|---|---|---|---|
South Korea | Chang Bogo class | SS-061 | Chang Bogo | 1993 |
South Korea | Chang Bogo class | SS-062 | Lee Chun | 1994 |
South Korea | Chang Bogo class | SS-063 | Choi Museon | 1996 |
South Korea | Chang Bogo class | SS-065 | Park Wi | 1996 |
South Korea | Chang Bogo class | SS-066 | Lee Jongmu | 1996 |
South Korea | Chang Bogo class | SS-067 | Jeong Un | 1998 |
South Korea | Chang Bogo class | SS-068 | Lee Sunsin | 2000 |
South Korea | Chang Bogo class | SS-069 | Na Daeyong | 2000 |
South Korea | Chang Bogo class | SS-071 | Lee Eokgi | 2001 |
http://en.wikipedia.org/wiki/Chang_Bogo_class_submarine
เรื่อง เรือดำน้ำ กับอ่าวไทย อย่าไปบอกใครเชียวว่า ต้องใช้ เรือรุ่นโน้น รุ่นนี้ เพราะ อ่าวไทยตื้น
เรือดำน้ำนิวเครียชั้น ลอสแองเจลีส ของ ทร อเมริกา ยังมาโผ่ลที่อ่าวไทยได้เฉย ลำนึงก็ใช่ว่าเล็กซะที่ไหน
เลิกความคิดว่า อ่าวไทยตื้นไม่เหมาะกับ เรือดำน้ำได้แล้ว ^^
เรือชั้นนี้ทั้ง 9 ลำ เป็นอะไรที่น่าสนใจนะครับ ถ้าไม่คิดมากเรื่องว่าเป็นของมือสอง และถ้าราคาน่าสนใจมากสัก 4000-5000 ล้านบาท เมื่อทำการซ่อมคืนสภาพแล้ว ควรเหมามาใช้งานในทร.ไทยเรานะครับ ระวางไม่มากเหมาะกับอ่าวไทย
เรือสำหรับฝึกก็ไม่ต้องทำการ upgrade อะไรมากมาย ส่วนเรือที่ใช้รบหลัก ก็อาจจะทำการ upgrade ติดตั้ง AIP ได้ อายุเรือก็ไม่ได้มากขนาด type-206A
ยังไงอีกไม่นานพม่าต้องประจำการด้วยเรือดำน้ำเช่นกัน สภาพแบบนี้ ทร.ไทยเราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดหาเรือดำน้ำประจำการทั้งฝั่งอันดามันและอ่าวไทยด้วย 2 กองเรือ เพราะเรายังไม่มีคลองกระ ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนย้ายกองเรือข้ามฝากทะเลได้สะดวก ทุกอย่างก็คงต้องจัดหามาสองกองเรือ รวมถึงเรือฟรีเกตขนาด 3000-4000 ตันในฝั่งอันดามันด้วยครับ
9 ลำ นี่เป็นจำนวนที่มากเกือบพอสำหรับ 2 ฝั่งทะเล
ยกเว้นต้องการเรือรบหลักที่ทันสมัยมากและมีขนาดใหญ่กว่าเพื่อตามกองเรือบรรทุกบ.ออกไปได้ด้วย แบบนี้คงต้องจัดหา DW-1400T/AIP มาใช้งาน เรือ type-209/1200 mod เก่าอาจจะจัดหามาเพียง 2-4 ลำ สำหรับฝึกและใช้งานในอ่าวไทยตอนใน ถ้าจะไม่เอา KSS-500A mod
ยังไงก็มีทางเลือกเยอะขึ้นมากแล้วครับ
ผมว่าทร.น่าจะได้บทเรียนจาก U-206A เยอะมากแล้วนะครับ การจะชงเรื่องขอซื้อเรือดำน้ำครั้งต่อไป น่าจะเป็นงานที่ต้องทำโดยใช้ความรอบคอบมากที่สุด การขอซื้อเรือดำน้ำมือสองแม้อายุจะไม่มากเท่าครั้งก่อน แต่ก็คงหนีไม่พ้นเรื่องเก่าประเด็นต่อต้านเดิม ดังนั้นเชื่อว่าจะเป็นโครงการจัดซื้อของใหม่เลย แต่อาจใช้กลวิธีพ่วงของแถมหรือเช่าเรือมือสองมาใช้สำหรับการฝึกการเตรียมบุคคลากรมากกว่าครับ และจำนวนก็ไม่น่าจะมากกว่า 2+2 ลำ ซึ่งในทางปฏิบัติเรือที่ใช้ฝึกก็สามารถออกปฏิบัติภารกิจได้แทบไม่ต่างกัน เท่ากับทร.ได้เรือดำน้ำเข้าประจำการ 4 ลำเลยเชียวนะครับ 555
ท่าน neosiamese2 คิดได้ตรงใจผมเลย คือ ถ้าเค้าโล๊ะ U209 ทั้งหมด 9 ลำ ถ้าซื้อมาแล้ว upgrade รวมแล้วลำล่ะไม่เกิน 6,000-8,000 ล้าน ก็น่าจะเอามาสัก 7 ลำ ( อันดามัน 3 อ่าวไทย 4) ตีว่ารวมแล้ว 7 ลำ 56,000 ล้าน บวกค่าเตรียมความพร้อม อาคาร สิ่งอำนวยความสะดวก อะไหล่ อาวุธสำรอง ก็ตีประมาณ 60,000 ล้าน บาทใช้งบประมาณผูกพัน 10 ปี แล้วใช้ได้ 20 ปี ผมว่าคุ้มค่ามากครับ ดีกว่ารอของมือ 1 ราคา 60,000 ล้าน คงได้ไม่เกิน 3-4 ลำ
ในประเด็นที่ท่าน TWG เป็นห่วง ผมก็ห่วงเหมือนกัน ผมจึงเสนอแนวคิดซื้อเรือฟริเกตใหม่ 1ลำ พ่วงเรือดำน้ำเก่า 1 ลำ ไงล่ะครับ เรื่อฟริเกตใหม่ 13000 ล้าน บวกเรือ U209 mod 8,000 รวมก็ 21,000 ล้านบาท ทยอยจ่ายใน 3 ปีงบประมาณ ก็ตกปีล่ะ 7,000 ล้าน บาท คิดว่าด้วยงบ ทร. คงพอรับไหว ครับ และกระแสต่อต้านคงน้อยลงเนื่องจากเป็นขายพ่วง เป้าหมายหลักคือเรือฟริเกต
วิธีของผม 12 ปี จะได้เรือฟริเกต 4 เรือดำน้ำ 4 ครับ
ตามแผนกองทัพเรือเกาหลีใต้จะตั้งเป้าว่าจะมีเรือดำน้ำประการ ๒๖ลำภายในปี 2025 ครับ
ซึ่งปัจจุบันกองทัพเรือเกาหลีใต้มีเรือดำน้ำชั้น Chang Bogo (U209/1200) ๙ลำ ตามโครงการ KSS-I (ได้รับการปรับปรุงไปแล้วและมีอายุการใช้งานเหลืออีกมาก)
KSS-II ชั้น Son Won il (U214) ยังต่อไม่ครบตามจำนวนที่ต้องการ (ประจำการแล้ว ๓ลำ กำลังต่อ ๓ลำ สั่งจัดหา ๓ลำ รวม ๙ลำ)
และ KSS-III ขนาด 3000tons ซึ่งยังอยู่ในขั้นตอนการออกแบบ
ตรงนี้มองว่ากองทัพเรือเกาหลีใต้คงจะยังไม่ปลดเรือชั้น Chang Bogo ในเร็วๆนี้ครับ
เพราะจะต้องจัดหาเรือดำน้ำโจมตีให้ครบตามจำนวนที่ต้องการก่อน
โดยเรือชั้น Chang Bogo เองน่าจะใช้งานไปจนมีอายุตัวเรือไม่ต่ำกว่า ๓๐ปีหรือราวปี 2020 ขึ้นไปครับ
ขอบคุณครับท่าน AAG_th1 สำหรับข้อมูล และผมก็กังวลเรื่องเดียวกับท่าน TWG ด้วยครับว่าการนำเอาเรื่องเรือมือสองห่วยมาเล่นอีกครั้งเพื่อล้มโครงการมีความเป็นไปได้สูงครับ
ดังนั้นถ้าทร.เกาหลีใต้ไม่ขายเรือชั้นนี้เป็นมือสองออกมา
หรือ ถ้าขายออกมาให้แต่โดนตีอย่างหนักโดยใช้วิธีเดียวกับ type-206A
ดังนั้นผมถึงเสนอทางเลือกเผื่อไงครับ คือ KSS-500A ทำการ mod ให้ตรงตามความต้องการของทร.ไทย
ส่วนเรือมือสองจากชาติอื่นๆในยุโรปที่เศรษฐกิจกำลังย๊อบแย๊บและอาจมีการปลดประจำการเร็วกว่าที่คาด และเป็นเรือจากค่ายเยอรมัน อันนี้ผมว่าราคาน่าจะสูงเอาเรื่องทีเดียว แต่ก็เป็นทางเลือกที่ดี
แต่สำหรับผม คิดว่าทางเกาหลีคงจะดูงบประมาณของเราก่อน ถ้าได้งบพอๆกับการจัดหาเรือฟรีเกตคราวนี้ ทางเกาหลีคงจะไม่ปล่อยหลุดมือทั้งเรือฝึกและเรือสำหรับรบหลักครับ คงจะมีข้อเสนอดีๆน่าสนใจออกมาแน่ๆ
สาธุ KSS-500A mod ราคาแค่ 4000-5000 ล้านบาทเถอะ หรือ tpye-209/1200 mod มือสองเถอะ
จำได้ว่า เคยมีกระทู้เรื่อง เรือดำน้ำนี่แหละ แล้วก็มีคนไปแสดงความเห็น ประมาณว่า จะมีไว้ทำไม เดี๋ยวนี่ เค้าเน้นการสนับสนุนทางอากาศ ถ้ามีเรือผิวน้ำหรือดำน้ำข้าศึกมา ก็แค่เอา เครื่องบินออกไปบอม.... แค่เอามาเล่าครับ ให้ท่านๆได้คิดต่อ
( " เน้นการสนับสนุนทางอากาศ ถ้ามีเรือผิวน้ำหรือดำน้ำข้าศึกมา ก็แค่เอา เครื่องบินออกไปบอม " )
ถ้าประเทศไทยมีคนความคิดตื่นเขินแบบนี้ก็เตรียมตัวเป็นขี่ข้าหรือสุนเสียเอกราชได้เลยคับ