ถามผู้รู้คับ ตะแกรงเหล็กที่กั้นรอบรถ มีไว้ทำไมหรือคับ และทำไมรถถัง รถเกราะของกองทัพเราไม่มีบ้างหรือคับ
ไว้กันจรวดต่อต้านรถถังพวกชนวนกระทบแตกครับ มันจะระเบิดก่อนถึงตัวรถ แต่กันพวกหัวรบเจาะเกราะหรือหัวรบสองชั้นคงไม่รอด
จรวดRPG ใช้piezo fuse เกราะกรงนก(Cage Armor)นี้ให้ผล2อย่างกับฟิวส์แบบนี้
1.RPG ต้องทิ้งระยะจากจุดยิง11เมตร เพื่อให้ฟิวส์ทำงาน เพราะฉะนั้น หากเจอนัดระยะประชิด เจ้านี่ก็ช่วยให้จรวดไม่จุดระเบิดได้ เพราะมัจะร่นระยะให้น้อยกว่า11เมตร (โชคดีสุดๆ)
2. หากฟิวส์ทำงานแล้ว RPGชนเกราะนี้ จะทำให้มันทำงาน แต่ทำงานก่อนที่จะถึงเกราะหลัก/ตัวรถ ทีนี้หลักการของอาวุธแบบRPG คือShaped Charge ซึ่งจะพ่นเจ็ททองแดงหลอมเหลวเพื่อเจาะเกราะ ลำเจ็ทนี้ไปได้ดีในตัวกลางอย่างเหล็กแต่ลำเจ็ทนี้จะไปได้ไม่ไกลหากสัมผัสอากาศ และจะกรจายตัวอย่างรวดเร็ว จนไม่มีอำนาจเจาะเกราะเพียงพอ
เกราะแบบนี้บางทีก็เรียก Stand-Off Armor เพราะบางครั้งไม่ใช่กรงแบบนี้ อาจจะเป็นตาข่ายเหล๊ก โซ่ หรือแผ่นยาง แผ่นเหล็ก แต่ที่สำคัญคือต้องตั้งห่างจากตัวรถ
เกราะแบบนี้มีครั้งแรกเมื่อสงครามโลกครั้งที่2 จะเห็นติดกันบ่อยๆก็ยานเกราะเยอรมัน ทั้งPanzer 3 4 Tiger และปืนจู่โจมต่างๆ ซึ่งต้องให้กูรูนาซีเยอรมันมาตอบ
อันนี้ต่างหูเหล็กของเมอร์คาว่าแบบที่หลวงพี่ได้กล่าวเอาไว้
ผมไม่ใช่กูรูเยอรมันแต่ขอตอบเท่าที่ทราบ รถถังเยอรมันอย่างไทเกอร์คันนี้จะติดตั้งเกราะไว้สองแบบ คือSpace Armorไว้ที่ป้อมปืนและStand offไว้ที่ด้านข้างตัวรถ เพื่อรับมือกับบาซูก้าของฝ่ายมะกัน บางคันก็จะฉาบปูนเรียกกันว่าเกราะซัมเมอริท(ที่เห็นเป็นริ้วยาวๆ)ไว้ด้วยเพื่อป้องกันทุ่นระเบิดต่อต้านรถถังแบบแม่เหล็ก
ส่วนของไทยมีไหมตอบว่าน่าจะมีอย่างM113ที่เอาแผ่นไว้กระดานหรือไว้ซุงมาติดไว้ หรือรสพ.58ที่เสริมแผ่นไม้+ทราย นั่นและ Stand-off Armor
จะว่าไปการนำแผ่นเหล็กมาเสริมกันหัวระเบิดอะไรทำนองนี้ในสมัยสงครามโลกครั้งที่2 ก็ไม่ได้มีแนวคิดอะไรมากมายแค่เปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์
รถถังแพนเซอร์3และ4 รวมถึงรถถังอื่นๆที่ใช้ตัวรถเดียวกันต้องนำแผ่น Skirt มาแปะข้างรถหรือที่เรียกว่าSchürzen ตามรายงานกระทรงกลาโหมสหรัฐ
ช่วง ธันวาคมปี1943 เยอรมันบุกรัสเซียไปแล้วเจอปืนต่อสู้รถถัง ขนาด57-76มม. หัวระเบิดแรงสูง รถถังที่ตัวรถด้านข้างเปราะเป็นทุนเดิมอย่าง แพนเซอร์3-4 และรถถังอื่นๆที่ใช้ตัวรถเดียวกันเจอเจาะด้านข้างเดี้ยงไปตามๆกัน
แผ่นเหล็กหนา 4-6มม. ติดตั้งห่างจากป้อมและตัวรถ18นิ้ว ทนแรงเจาะของกระสุนเจาะเกราะ 7.92 และ20มม. จากปืนไรเฟิลต่อสู้รถถังได้ รวมถึงATไรเฟิลตัวแรงของรัสเซียอย่าง14.5มม.
และยังงกันอยู่ว่า มันใช้ตาข่ายหรือแผ่นเหล็ก หรือทั้งสองอย่างมาเสริมตัวรถกันแน่
ข้อเสียแน่ๆคือ การติดตั้งให้เสมอกันลำบาก พอลุยดิน ลุยโคลน ป่าหญ้า ก็เข้ามาติดมาอัดอยู่ในซอกแผ่นเกราะเหล็กกับตัวรถ แต่ใช้ได้ดีคือกันหัวระเบิดแรงสูงได้พอประมาณสำหรับ หัวระเบิดปืน76มม.
อย่างภาพที่มีทหารอเมริกันยืนข้างรถที่ใช้ตาข่ายเสริมตัวรถกันหัวระเบิด
ภาพนี้รถถังสตั๊ก-3 โดนยิงระหว่างรอยต่อพอดี รูใหญ่สุดคือโดนหัวระเบิดแรงสูงจังๆ ส่วนรูกลมอื่นๆคือโดนเจาะเกราะ
Stug-3
ข้อมูลของทุกท่านละเอียด ชัดเจนดีคับ ขอบคุณมากๆคับ
สรุปคล้ายๆการหลอกการกระทบของจรวดให้ได้มากที่สุดก่อนจรวดจะถึงตัวเป้าหมาย เข้าใจแบบนี้ถูกหรือเปล่าครับ
[img]http://4.bp.blogspot.com/-Vx56aqhrE-Q/UYp_X0z244I/AAAAAAAAnp4/zCiEdG9rYE0/s640/465740_256217064523867_1601084610_o.jpg[/img]