ข้อเสนอคือให้ภาคเอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องมาร่วมลุงทุนเช่นโรงงานเหล็ก ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ บริษัทการเขียนโปรแกรม เป็นต้น น่าจะสอดคล้องกับสถานบันป้องกันประเทศที่นักศึกษาจบไปแล้วมีงานรองรับต่อ รวมถึงการจัดซื้ออาวุธจากต่างประเทศที่ต้องมีการถ่ายถอดเทคโนโลยีกับบริษัเอกชนที่รองรับ การสร้างนิคมไม่ต้องรีบสร้างขนาดใหญ่โต แต่ต้องมีพื้นที่ในการเติบของนิคมในอนาคต
ไตรมาสแรกปีหน้า รัฐบาลมาเลเซียเริ่มโปรเจ็กต์ใหญ่ ตั้งนิคมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ดึงต่างชาติร่วมทุนกว่า 47.3 ล้านล้านบาท ตั้งเป้าอีกปีเริ่มผลิตยุทโธปกรณ์ สำนักข่าวเบอรีตาฮารียัน รายงานว่า ดาโต๊ะ ซือรี ดร.อะห์หมัดซาฮิด ฮามีดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มาเลเซีย เปิดเผยว่า ในไตรมาสแรกของปี พ.ศ.2555 รัฐบาลมาเลเซีย จะเริ่มดำเนินการสร้างนิคมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศที่เมืองซุงไก รัฐเปรัค โดยดึงเงินลงทุนจากต่างชาติเป็นเงิน 4.73 ล้านล้านริงกิต (ประมาณ 47.3 ล้านล้านบาท) ดาโต๊ะ ซือรี ดร.อะห์หมัดซาฮิด เปิดเผยว่า นิคมอุตสาหกรรมดังกล่าว เป็นการร่วมลงทุนจากนักลงทุนทั่วโลก โดยเป็นบริษัทจากยุโรป 15 บริษัท สหรัฐอเมริกาและอเมริกาเหนือ 8 บริษัท และเกาหลีใต้ 2 บริษัท ดาโต๊ะ ซือรี ดร.อะห์หมัดซาฮิด เปิดเผยอีกว่า กระทรวงกลาโหมยังได้รับพิจารณาข้อเสนอจากบริษัทในจีนและอินเดียที่สนใจจะร่วมลงทุนในโครงการนี้ด้วย “นิคมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศจะเริ่มผลิตสินค้าได้ในปี พ.ศ. 2557 ซึ่งรัฐบาลมาเลเซียมีความเชื่อมั่นว่า หลังจากดำเนินการไปแล้ว 5 ปี นิคมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศแห่งนี้ จะสามารถดึงเงินลงทุนได้เพิ่มเป็น 15.3 ล้านล้านริงกิต” ดาโต๊ะ ซือรี ดร.อะห์หมัดซาฮิด กล่าว ที่มา http://www.bharian.com.my/bharian/articles/PusatindustripertahananpertamanegaradiSungkaitarikpelaburan
แหล่งข้อมูลนี้น่าจะเป็นการโฆษณาชวนเชื่อจากทางฝั่งมาเลย์แต่ฝ่ายเดียวซะมากกว่า
เอาง่ายๆ ยกตัวอย่าง อย่างจีน และอินเดีย ในเมื่อ สองประเทศนี้มีขีดความสามารถที่จะเปิดสายการผลิตอาวุธในราคาต้นทุนต่ำภายในประเทศของตนเองอยู่แล้วจะมาลงทุนในมาเลย์เพื่ออะไรให้สายการผลิตของตนเองสะดุดหัวทิ่มหรือครับ บรรดาประเทศผู้ผลิตอาวุธทั้งหลายแหล่พยายามขายอาวุธเพื่อจะได้สร้างงานให้กับคนในประเทศตนเองและดึงเม็ดเงินเข้าประเทศด้วยกันทั้งนั้น
ชั่วโมงนี้บรรดาค่ายบริษัทผู้ผลิตอาวุธทั้งในยุโรปและอเมริกาเค้าพากัน safe ค่าใช้จ่ายตามนโยบายรัดเข็มขัดของรัฐบาลประเทศตน
นอกจากนั้นความเป็นไปได้ของโครงการนี้ ยากมากๆ ที่บรรดาค่ายบริษัทผู้ผลิตอาวุธจะมาบ้าจี้ด้วยกับมาเลย์ เพราะการจะมีโรงงานผลิตอาวุธมาตั้งรวมอยู่ในพื้นที่นิคมเดียวกัน มันมีโอกาสและความเสี่ยงในเรื่องการรั่วไหลหรือจารกรรมข้อมูลและเทคโนโลยีด้านอาวุธสูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีจีนเข้าร่วมด้วย ถามว่าค่ายจากยุโรปและอเมริกาจะเอาด้วยไหมละ
***ปล.น่าจะเป็นการปล่อยข่าวนโยบายขายฝันหาเสียงเลือกตั้งของมาเลย์ช่วงโค้งสุดท้ายก่อนการเลือกตั้งใหญ่ที่จะมาถึงของพรรครัฐบาล อัมโนโน ของมาเลย์ เพราะเท่าที่ทราบการเลือกตั้งหนนี้ไม่หมูเหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา พรรคฝ่ายค้านกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นมาก****
มาเลเป็นประเทศอิสลามครับ การตลาดคงเน้นประเทศอิสลามเป็นหลัก
มูลค่าการซื้อขายอาวุธในประเทศอิสลามนั้นมากมายมหาศาลเลยนะครับ
สมมุตินะครับถ้าคุณเป็นประเทศเศรษฐีน้ำมันถ้ามีมีเงินเหลือเฟือจะซื้ออาวุธดีๆมาใช้ คุณจะเลือกซื้ออาวุธที่ประกอบในมาเลย์หรือครับ เลือกซื้ออาวุธที่ประกอบจากประเทศผู้เป็นเจ้าของโดยตรงไม่ดีกว่าเหรอ ทั้งคุณภาพและการันตี (ต่อให้เป็นประเทศมุสลิมด้วยกันก็เถอะขนาดรถโปรตอนแท้ๆแขกอาหรับมันยังไม่ซื้อเลย แค่รู้ว่าประกอบจากไหนเท่านั้นละโดยส่วนใหญ่จะซื้อรถยุโรปกับอเมริกันกันเยอะ ลองลงมาก็รถญี่ปุ่น)
มันเป็น นิคมอุตสาหกรรม ไม่ใช่เหรอครับ...
หมายถึง บริษัทฯ ที่ผลิตอาวุธต่าง ๆ มาตั้งโรงงานประกอบ ในบริเวณพื้นที่ นิคมฯ นี้...
เหมือน นิคมอุตสาหกรรมอิเลคโทรนิค หรือ นิคมอุตสาหกรรมโรงงาน ในประเทศไทย หรือเปล่าครับ...
ไม่ใช่ว่า มาเลย์ฯ ร่วมลงทุนการผลิตอาวุธ...
ซึ่ง รูปแบบนีคมฯ อาจจะมีระบบการรักษาความปลอดภัย และ บุคคลากร ไว้รองรับ อาจจะรวมถึง สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ...
เช่น บริเวณทดสอบอาวุธต่าง ๆ...
ข้อเสนอคือให้ภาคเอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องมาร่วมลุงทุนเช่นโรงงานเหล็ก ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ บริษัทการเขียนโปรแกรม เป็นต้น น่าจะสอดคล้องกับสถานบันป้องกันประเทศที่นักศึกษาจบไปแล้วมีงานรองรับต่อ รวมถึงการจัดซื้ออาวุธจากต่างประเทศที่ต้องมีการถ่ายถอดเทคโนโลยีกับบริษัเอกชนที่รองรับ การสร้างนิคมไม่ต้องรีบสร้างขนาดใหญ่โต แต่ต้องมีพื้นที่ในการเติบของนิคมในอนาคต ***ตอนแรกที่คุณ SAM เอามาลงไม่มีข้อความนี้ครับ****
ไตรมาสแรกปีหน้า รัฐบาลมาเลเซียเริ่มโปรเจ็กต์ใหญ่ ตั้งนิคมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ดึงต่างชาติร่วมทุนกว่า 47.3 ล้านล้านบาท ตั้งเป้าอีกปีเริ่มผลิตยุทโธปกรณ์ สำนักข่าวเบอรีตาฮารียัน รายงานว่า ดาโต๊ะ ซือรี ดร.อะห์หมัดซาฮิด ฮามีดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มาเลเซีย เปิดเผยว่า ในไตรมาสแรกของปี พ.ศ.2555 รัฐบาลมาเลเซีย จะเริ่มดำเนินการสร้างนิคมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศที่เมืองซุงไก รัฐเปรัค โดยดึงเงินลงทุนจากต่างชาติเป็นเงิน 4.73 ล้านล้านริงกิต (ประมาณ 47.3 ล้านล้านบาท) ดาโต๊ะ ซือรี ดร.อะห์หมัดซาฮิด เปิดเผยว่า นิคมอุตสาหกรรมดังกล่าว เป็นการร่วมลงทุนจากนักลงทุนทั่วโลก โดยเป็นบริษัทจากยุโรป 15 บริษัท สหรัฐอเมริกาและอเมริกาเหนือ 8 บริษัท และเกาหลีใต้ 2 บริษัท ดาโต๊ะ ซือรี ดร.อะห์หมัดซาฮิด เปิดเผยอีกว่า กระทรวงกลาโหมยังได้รับพิจารณาข้อเสนอจากบริษัทในจีนและอินเดียที่สนใจจะร่วมลงทุนในโครงการนี้ด้วย “นิคมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศจะเริ่มผลิตสินค้าได้ในปี พ.ศ. 2557 ซึ่งรัฐบาลมาเลเซียมีความเชื่อมั่นว่า หลังจากดำเนินการไปแล้ว 5 ปี นิคมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศแห่งนี้ จะสามารถดึงเงินลงทุนได้เพิ่มเป็น 15.3 ล้านล้านริงกิต” ดาโต๊ะ ซือรี ดร.อะห์หมัดซาฮิด กล่าว ที่มา http://www.bharian.com.my/bharian/articles/PusatindustripertahananpertamanegaradiSungkaitarikpelaburan
จากแทบสีเหลืองพวกคุณคิดว่ามันตีความหมายได้ว่าอย่างไร งั้นขอความคิดเห็นจากหลายๆท่านหน่อยก็แล้วกันครับ
แต่ในความคิดของผม ก็จะเป็นไปตามเหตุผลที่ผมให้ไว้ ตามตอบกระทู้ที่2 นั้นแหละ โอกาสเป็นไปได้น้อยมากที่จะมีบริษัทผู้ผลิตอาวุธจะมาลงทุนในธุรกิจด้านนี้แบบเป็นล้ำเป็นสันจริงๆจังๆมูลค่ากว่า 47.3 ล้านล้านบาทเนียะ (อุตสาหกรรมยานยนต์+อิเล็กทรอนิส์ รวมกันยังได้ไม่ถึง 1/4 ในประเทศเราเลย ทั้งๆที่ฐานการผลิตในประเทศของเราใหญ่กว่าของมาเลย์เกือบเท่าตัว)ที่ต้องใช้เงินลงทุนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว แล้วอีกอย่างธุรกิจแบบนี้ไม่ได้ว่าจะมียอด order สั่งซื้อกันตลอดทั้งปีแบบต่อเนื่อง มันไม่เหมือนผลิตชิ้นส่วนรถยนต์กับอิเล็กทรอนิกส์เหมือนที่เห็นๆอยู่ในบ้านเรานะครับ
บริษัทผู้ผลิตอาวุธไม่ได้มีนโยบายว่าจ้างวิศวกรและแรงงานในรายผลิตแบบเป็นพนักงานประจำโรงงานถาวรนะครับ เพราะเท่าที่ทราบมาบริษัทผู้ผลิตอาวุธส่วนใหญ่มักจะว่าจ้างวิศกรและแรงงานเป็นแบบสัญญาจ้างชั่วคราวทั้งนั้น ส่วนใหญ่ที่บริษัทเลี้ยงไว้ก็แค่เฉพาะส่วนออกแบบวิจัยและพัฒนา คือเมื่อมี order ก็เปิดรับสมัครคนเข้าทำงานในสายการผลิต
***ถ้าธุรกิจนี้มันมั่นคงถาวรจริงและคู่ควรกับการลงทุนเยอะๆกันในต่างประเทศแล้ว จะมีบริษัทผู้ออกแบบและผลิตอาวุธหลายๆเจ้าจะพาปิดตัวหรือควบรวมกิจการกันเยอะหรือครับ*** )
เมื่อไม่มีคำสั่งซื้อบ่อยๆ ก็ต้องตั้งเป็นบริษัทกองทัพไทย จำกัดมหาชน บังคับขายกองทัพไทยซะเลย 555 เน้นผลิต ปืนประจำกาย ประจำหน่วย รถลำเลียง หรือรถเกราะเบาอะไรไปก่อนก็ได้นะครับ อาจมีออฟชั่นเล็กๆไว้ให้ประชาชนรู้จักเช่น ผลิตเสื้อผ้า-อุปกรณ์เดินป่า กระเป๋าเป้ ประมาณนี้ ไว้คอยเอาใจขาโจ๋ ขาท่องทริปต่างๆ โดยรับรองคุณภาพจากโรงงานผลิตอาวุธของไทย ที่พูดนี่หมายถึงวันหน้าเรารวยนะ รัฐหาเงินมาตั้งโรงงานเพื่อผลิตใช้ในครัวเรือนเราก่อน และอาจขายให้ประเทศเริ่มพัฒนา เพราะปืนเล็ก รถสนับสนุนการรบ ราคาไม่สูง เราอาจหาตลาดได้เยอะนะครับ พอเทพค่อยไปรถถังเล็กๆ ไปเครื่องบิน ขยับไปเรื่อยๆ ซื้อของดีก็ซื้อไป แต่ของสนับสนุนก็เริ่มผลิตเอง ผมเชื่อว่าเราใกล้รวยแล้ว สาธุ....
อ่านครั้งแรกผมก็เกือบเชื่อแล้วน่ะ
พอดูความเป็นเหตุเป็นผลตามที่ท่าน โอบีวัน กล่าว
แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย ..
และ ถ้าเป็นไปได้จริงๆ โอกาศที่ความลับทางเทคโนโลยีทหาร
จะรั่วไหลมีสูงมาก .. หากความลับนี้ตกไปอยู่ในมือก่อการร้ายสากล
แถบตะวันออกกลาง คงจะเป็นภัยคุกคาม ยุโรป อเมริกา อิสราเอล
อย่างแรง
ข่าวกรอง ไม่กลอง โต๊ะ หม้อ อะไรก็ไม่รู้นะครับ แต่ที่เห็นๆ ประเทศที่จะมีอุตหกรรมผลิตอาวุธได้ ไม่น่าจะใช้ประเทศไทยแน่นอน ไม่ใช่เพราะขาดทรัพยากรในการผลิต หรือไม่มีตลาด แต่เป็นที่คนไทยนี้แหละครับ นอกจากดูถูกตัวเองแล้วยังไปดูถูกชาวบ้านคนอื่นอีก เรื่องการลงทุนข้ามชาติมันมีมาตั้งนมตั้งนานแล้ว จะเอาฟิวว่าต้องทำในบ้านตัวเองสิดี เด๋วบ้านไม่รวย ตลอดไป มันไม่มีแล้วอะครับ แค่เค้าไม่นิยมทำกับสิ่งที่เกี่ยวข้องกับความมั่งคงของชาติเท่านั้นเอง ส่วนมาเลถ้าเค้าทำก็ต้องถือว่าดีครับ เพื่อนบ้านกัน อาเซียนกัน ซื้อกันเองดีกว่า ยกเว้น ถ้าเราจะทำอุตสาหกรรมประเภทนี้ด้วย แต่บอกได้เลยว่ายาก ก็เพราะสติปัญญาของคนไทยนี้แหละ
กด LIKE ให้ท่าน Obeone 1 ล้านครั้ง
ขึ้นโครงการแบบโน้นแบบนี้ ประเทศไหนก็ทำได้ มาเลย์สร้างสนามบินนานาชาติแห่งใหม่ ตอนนั้นก็ฝันหวานว่าจะเป็นศูนย์กลางการบิน ก็จบเห่ ฝันจะเป็นศูนย์กลางการเป็นท่าเรือ สิงคโปร์ก็เอาไปกิน
การจะทำเรื่องพวกนี้นั้น แต่ละประเทศต้องดูความเหมาะสมเรื่องสถานที่ตั้ง เรื่องอุตสาหกรรมที่มาลงทุนกันไว้ก่อนหน้า สเกล ตลาด การขนส่ง และยิ่งอุตสาหกรรมด้านนี้ สิงคโปร์มีสถานที่ตั้งในเรื่องท่าเรือที่เหมาะสม เทคโนโลยีที่ดี ยังไม่ประสบความสำเร็จเลย ................
เวียตนามฝันว่าจะเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมขนาดหนัก ลงทุนอุตสาหกรรมต่อเรือแล้ว อยากให้กลุ่มทุนญี่ปุ่นทิ้งประเทศไทยมาก่อตั้งโรงงานถลุงเหล็ก โรงงานผลิตอากาศยาน ตอนนี้ญี่ปุ่นก็แค่มองแล้วบอกว่าน่าสน แต่กลับมาไล่บี้รัฐบาลไทยชุดนี้ว่า เมื่อไหร่จะอนุมัติโครงการสักที่ ฉันรอจนเบื่อแล้ว
ไม่ง่ายครับ ฝันนะฝันได้ แต่ลงมือจริงๆแล้วมีเงื่อนไข 108 เมื่องไทยมีความพร้อมเหมาะสมสูงมาก แต่ก็ดันมีพวกไดโนเสา ถ่วงขาอยู่ ไม่งั้นโครงการนิคมอากาศยานน่ะ เฟสหนึ่งผ่านไปนานแล้ว พร้อมขึ้นเฟสสองสำหรับการผลิตชิ้นส่วน แต่ตอนนี้ต้องมานั่งเริ่มใหม่หมด แต่เห็นว่าเร่งสุดๆเลย หวังว่าภายใน 1 ปี คงชัดเจนว่า โคราชหรือ ระยอง นะครับ พวกญี่ปุ่นมันรออยู่
โรงงานถลุงเหล็ก พร้อมทำทุกเมื่อ ทั้งญี่ปุ่น ทั้งอินเดีย แม้แต่จีน(แต่แทรกเข้ามาไม่ได้) แต่จะเซ็นอะไร พวกไดโนเสารออยู่ ไม่ง่ายเพราะคนไทยด้วยกันเองนี่แหล่ะ
พวกโปรมาเลย์ มีเยอะแฮะ ประเทศตัวเองดูถูก ตลก......จะไม่เจริญก้เพราะพวกดูถูกคนไทยกันเองนี่แหล่ะ ไม่ทำอะไรแต่คอยขัดแข้งขัดขา กลัวคนอื่นได้หน้า
เรื่องโรงถลุงเหล็ก ผมของมองต่างจากคุณ neosiamese2 นะครับ จริงอยู่ครับว่าใครๆก็อยากให้มีอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำในประเทศเพื่อความเข้มแข็งของอุตสาหกรรมครับแต่ว่าปัญหามันอยู่ที่อะไรบ้างผลขอเอาขอมูลที่ผลมีแชร์นะครับ
-วัตถุดิบสำคัญในการถลุงเหล็กประกอบด้วยแร่เหล็ก,ถ่านโค้ก(ถ่านหินที่ผ่านการแปรรูป มาจากถ่านหินคุณภาพดี),lime stone เมืองไทยไม่มีสองอย่างแรกต้องนำเข้าครับ
-ทุกวันนี้ความต้องการเหล็กในเมืองไทยอยู่ที่ประมาณ15ล้านตันต่อปี ดุเหมือนเยอะครับแต่ ก็ไม่มีโรงงานไหนเดินเครื่องเต็มการผลิตครับ ถ้ามีโรงถลุงจริงๆกำลังการผลิตคงพุ่งขึ้นอีกมหาศาลครับ ซึ่งจะทำไปสู่ปัญหาต่อไปครับคือผลิตแล้วไม่รู้จะไปขายใครครับ
-เรื่องอินเดียนี่ผมไม่มั่นใจเท่าไหร่เพราะว่าtata เคยลองตั้งเตาถลุงขนาดเล็กที่ชลบุรีครับ สุดท้ายก็ปิดไปครับกลับไปผลิตด้วยเศษเหล็กเหมือนเดิม
-ประเทศไทยมีNGOที่เข้มแข็งครับเตาถลุงต้องตั้งขนาดใหญ่ๆครับถึงจะคุ้มยิ่งใหญ่ยิ่งเด่นยิ่งโดนเพิ่งเล็ง
สำหรับมุมมองผมอุตสาหกรรมนี้มาได้ขนาดนี้ผมว่าก็เก่งมากแล้วครับ
ยังไงรัฐบาลซีกปัจจุบันก็ต้องการดันโครงการนี้ขึ้นมาให้ได้ครับ เพราะมีการตกลงกันกับกลุ่นจากญี่ปุ่นไปเรียบร้อย คอยตามข่าวเหมือนกันครับ ดูเหมือนทางญี่ปุ่นไม่ได้ตอบรับเวียตนามในการย้ายมาตั้งโรงงานทั้งหมดในเวียตนามนะครับ ก็ยังคงเลือกเราเป็นหลักอยู่ แต่การเมืองของเรายังไม่นิ่งเลยทำอะไรมากไปกว่านี้ไม่ได้ แต่ทิศทางการเมืองก็เริ่มมีความชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆและเริ่มมองออกว่าใครจะเป็นผ๔้ชนะแล้วครับ
เท่าที่ทราบ จากปัญหาการเมืองของไทยคราวนี้ ทางญี่ปุ่นจะกระจายความเสี่ยงไปประเทศในอาเซี่ยนที่มีกำลังซื้อสูงในอนาคต จะไม่ฝากกำลังการผลิตทั้งหมดไว้ที่เราอีกต่อไปครับ 30 ล้านตันนี่ทางนั้นกะว่าให้เราเป็นฐานการผลิตให้ญี่ปุ่นเพื่อผูกขาดตลาดทั้งหมดในอาเซี่ยนครับ แต่ 13-14 ล้านตันนี่จะเป็นการป้อนความต้องการในประเทศไทย ดังนั้นทางญี่ปุ่นอาจจะมีการก่อตั้งโรงงานถลุงเหล็กทั้งใน ไทย เวียตนาม และอินโดนีเซียครับ โดยเฉพาะอินโดนีเซีย เห็นว่าทางญี่ปุ่นต้องการขยายโรงงานอุตสาหกรรมยานยนตืเพื่อรองรับอำนาจซื้อที่เพิ่มอย่างรวดเร็วในอินโดนีเซียครับ
NGO ทานการเปลี่ยนแปลงไม่ไหวหรอกครับ ...... ผมกล้ารับรอง ไม่เคยเห็น NGO ชนะที่ไหนเลย ได้แค่ถ่วงเวลาให้ช้าลงหน่อยเท่านั้น
ส่วนแหล่งแร่เหล็กก็คงนำเข้าจากออสเตเรีย และแหล่งถ่านหินชั้นดีสำหรับถลุงเหล็กคงนำเข้าจากอินโดนีเซียครับ แต่เราจะได้จากการที่เปลี่ยนแร่เหล็กมาเป็นสินค้าที่มูลค่าเพิ่มขึ้นมาก เหมือนกับการกลั่นน้ำมันครับ นำเข้ามากลั่นเพิ่มมูลค่าเกือบ 10 เท่า แล้วขายภายในประเทศและส่งออกบางส่วน จะมีส่วนต่างมากมายสร้างกำไรมหาศาลครับ
ยังไง ทำเลของเราก็ดีกว่าจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ครับ เพราะแหล่งแร่เหล็ก แหล่งถ่านหิน อยูาบ้านข้างๆเราเอง ได้เปรียบต้นทุนค่าขนส่งและค่าแรงเยอะครับ ไม่งั้นญี่ปุ่นไม่ตั้งความหวังกับเราสูงขนาดนี้
สำหรับอุตสาหกรรมทหารนั้น อยากให้จับตามอง อินโดนีเซีย เป็นอันดับแรกเลยครับ และน่าจับตามองก็มีเวียตนามกับไทย
อินโดนีเซียตอนนี้ภาคอุตสาหกรรมกำลังบูมสนั่นเลยนะครับ ยอดความต้องการยานยนต์พุ่งกระฉูด และรัฐบาลอินโดนีเซียดูจะทุ่มเทให้อุตสาหกรรมผลิตอาวุธเป็นอย่างมาก และมีการผลิตหลายแบบออกมาแล้ว ทั้งออกแบบเอง ซื้อแบบ รับจ้างผลิต และถ้าภาคอุตสาหกรรมพื้นฐาน เช่นอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมถลุงเหล็ก อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเลคทรอนิค อุตสาหกรรมต่อเรือมีการพัฒนาในระดับสูงเรื่อยๆ อินโดนีเซียจะเป็นชาติที่ทรงพลังทางเศรษบกิจสำคัญชาติหนึ่งในเอเซียทีเดียวนะครับ
สิงคโปร์ มาเลเซีย ก็คงตกชะตากรรมเดียวกันครับ ที่กำลังโดนเพื่อนบ้านอย่าง เวียตนาม อินโดนีเซีย พม่า(มาแรงมาก) แซงในวันข้างหน้าครับ
ส่วนเรานั้น ผมอยากให้การเมืองชัดเจนแบบแจ่มแจ้งไปเลยว่าใครชนะขาด แต่ตอนนี้จะเริ่มเห็นว่าแรงอีกฝ่ายตกลงไปอย่างมากแล้ว ก็คงอีกไม่นาน ถ้าการเมืองจบปัญหา เราจะก้างไปอย่างรวดเร็วแบบก้างกระโดด เพราะเรามีทำเลที่ตั้งดีที่สุดในอาเซี่ยนครับ อำนาจซื้อก็ไม่น้อย มีโครงสร้างทางอุตสาหกรรมที่ค่อนข้างพร้อมและมีสเกลดีเพียงพอทีเดียว
และที่สำคัญที่สุด แหล่งน้ำมันและก๊าซขนาดยักษ์ที่รอการสำรวจขุดเจาะขึ้นมาทันทีที่เรากับเขมรรอมชอมและตกลงกันได้ครับ จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญมาก เพราะกระทบต้นทุนการผลิตอย่างจังเบอร์เลย
ยืนยันว่าแหล่งถ่านหินในอาเซียน อินโดนีเซียที่นึงล่ะที่ใหญ่ เพราะญาติไปเป็นวิศวกรเหมืองอยู่ที่นั่น เป็นของบ.อิตาเลียน-ไทย ที่จ.กลิมันตัน (เขียนถูกไหมหว่า) มาแค่นี้แหละ ที่เหลือไม่รู้เรื่อง เคี๊ยกๆ