สงสัยครับว่าเรือฟริเกตบางลำออกแบบโรงเก็บให้ใส่ ฮ.Super Lxyn 300 ได้ 2 ลำ ซึ่งเป็น ฮ.ขนาดเล็ก
แต่ส่วนใหญ่ก็จะเป็นใส่ ฮ.ขนาดกลางได้เพียง 1 ลำ เช่น พวก Sea hawk หรือ NH-90
ก็เลยสงสัยว่าแบบไหนประสิทธิภาพดีกว่ากัน อย่างเช่น ภารกิจปราบปรามเรือดำน้ำ
น่าจะอยู่ที่ ประเทศนั้น กำหนด ให้ ฮ.แบบใด เป็น ฮ. ASW หรือ เฮลิคอปเตอร์ต่อต้านเรือดำน้ำ ครับ...
อย่าง เกาหลี เขาใช้ เฉพาะ ฮ.ซุปเปอร์ ลิงซ์...โดย สเปคเรือ ก็รองรับ เฉพาะ ซุปเปอร์ลิงซ์...
สิงคโปร์ ใช้ S-70B เป็น ฮ.ปราบเรือดำน้ำ ก็ รองรับ S-70B..
ส่วนของประเทศอังกฤษ แต่เดิมใช้ Lynx ปัจจุบัน เปลี่ยนเป็น EH-101...
หรือ อิตาลี่ แต่เดิมใช้ Bell-212 ก็กำลังเปลี่ยนมาใช้ NH-90..
ส่วนของ ทร.ไทย...จะมี ฮ.ปด. ประกอบด้วย ฮ. จำนวน 2 แบบ คือ Super Lynx กับ S-70B...
ถ้า ทร. จะมีเรือฟริเกตแบบใหม่ ผมว่า ก็น่าจะควร ทำไว้รองรับ ฮ.แบบ S-70B ได้เป็นขั้นต่ำ...แม้จะ กำหนดให้ ฮ.Super Lynx เป็น ฮ.ประจำเรือฟริเกต...
เพื่อให้ เรือฟริเกต ไม่มีข้อจำกัด ในการใช้ อาวุธทุกระบบที่มี ของ ทร. ในการ ปราบเรือดำน้ำ...
ในความคิดของผมนะผมว่า ใช้ ฮ.ลำใหญ่แบบ 1 เครื่องไปเลยดีกว่า อย่างเช่น Eurocoptor หรือ UH-53 เพราะลาดตระเวนได้ไกลบินได้นานกว่ามาก+เรด้าห์ไกลกว่า+บรรทุกอาวุธได้เยอะกว่า ฮ.แบบLxyn 300 แต่สำหรับเขตน่านน้ำของไทยเรานั้นไม่ได้กว้างขวางมาก + กับขนาดเรือรบของเราแล้ว สำหรับ Lxyn 300 และ sky sea hawk ก็น่าจะเพียงพอแล้ว
EC225 SUPER PUMA
รูปด้านล่างสุด เป็น UH-53
EC-225 SUPER PUMA
เห็นด้วยกับท่าน Obeone ครับ คืออย่างน้อยต้องให้รองรับ ฮ.ขนาด 10 ตันอย่าง S-70 ได้ไว้ก่อนครับ แม้ว่าจะกำหนดให้ฮ.ประจำเรือเป็น Super Lynx 300 แต่หากในบางสถานการณ์หรือบางภารกิจที่อาจต้องใช้ฮ.ลำใหญ่กว่า ก็จะสามารถนำเจ้า S-70 หรือ MH-60 ไปแทนได้ทันที
ฮ.ขนาดช้างแบบ ch-53 มันเป็นฮ.ลำเลียงขนาดหนักแล้วครับนั่น ไม่ได้เอาไว้ปราบเรือดำน้ำ
เท่าที่ทราบมา ฮ.รุ่นนี้เกิดก่อน sea hawk(ก่อนปี1982) และใช้ในภาระกิจไล่ล่าเรือดำน้ำพลังงานไฟฟ้านิวเคลียร์ในยุคของโซเวียตมาก่อนนะครับ และใช้ขนลูกระเบิดนิวเคลียร์น้ำลึกเอาไว้ใช้ปราบ เรือดำน้ำขนาดใหญ่และดำได้ลึกมากๆของโซเวียตอีกด้วย
ผมว่าไม่น่าใช่นะครับ หิ้วระเบิดนิวเคลียร์ไปปราบเรือดำน้ำเนี่ยนะ
มีให้อ่านไหมครับ ฟังแล้วสงสัย เผื่อจะได้รู้อะไรใหม่ๆที่ไม่เคยรู้
เรือชั้น น็อคซ์ ของเรา เจ้าแอสร็อค สามารถยิง หัวรบหัวรบนิวเครียส์ต่อต้านเรือด้ำได้ ฮ.หิ้วระเบิดนิวเครียส์ จึงไม่ไช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด
จะอธิบายให้คล้าวๆนะครับ คือ โครงการนี้เป็นอาวุธปราบเรือดำน้ำในยุคแเรกๆ ของสงครามเย็น ก่อนจะมี RUM-5 หรือASROCK ออกมา ในช่วง 1960 แต่ระเบิดน้ำลึกหัวรบนิวเคลียร์
นี้จะใช้ทำลายเรือดำน้ำที่ต้องสงสัยว่าเป็นเรือด้ำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ เพราะเรือด้ำน้ำนิวเคลียร์มีความเร็วสูงมากและขนาดใหญ่ดำได้ลึกและกบดานอยู่ใต้น้ำได้เป็นปี และถือเป็นเรื่องใหม่ในยุคนั้น ถ้าจะปราบให้อยู่มัด ต้องใช้แรงระเบิดหรือแรงทำลายล้างมากกว่าระเบิดทั่วๆไป นั้นก็คือนิวเคลียร์ ทิ้งลงไปในทะเลบริเวณที่คาดว่าเรือดำน้ำจะแล่นอยู่หรือกบดานอยู่แถวๆนั้น และถึงแม้จะมี asrock แล้วก็ตามก็ยังถูกใช้เป็นหัวรบติดที่หัวจรวด RUM-5 ขนาดหัวรบนิวเคลียร์ 10 กิโลตัน (ระเบิดที่ลงใส่เมืองฮิโรชิม่าแรงระเบิดแค่ 1 กิโลตันเท่านั้น)
อาจจะใช้ระเบิดห่างจากตัวเรือพิฆาตซักประมาณ 20 กิโลเมตรขึ้นไป(เพื่อให้เรือพิฆาตปลอดภัยด้วย) โครงการนี้ถูกใช้จนถึงช่วงปี 1989 และได้ถูกลดจำนวนลงมามากอันเนื่องมาจากสนธิสัญญาลดอาวุธนิวเคลียร์
และเนื่องด้วยในยุคหลังๆเข้าประจำการ ฮ.ปราบเรือดำน้ำบนเรือรบ +กับเทคโนโลยี ASW สมัยใหม่และระบบโซน่าที่ถูกพัฒนามากขึ้น มันจึงถูกปลดประจำการในหลายๆประเทศมหาอำนาจ ***เรื่องนี้ผมเคยอ่านเจอในหนังสือสงคราม เมื่อสมัยก่อนซัก 20 ปีก่อนได้แล้วมั้ง***
After a surface ship, patrol plane or anti-submarine helicopter detects an enemy submarine by using sonar or other sensors, it could relay the subs position to an ASROC-equipped ship for attack. The attacking ship would then fire an ASROC missile carrying an acoustic homing torpedo or a Nuclear Depth Bomb (NDB) onto an unguided ballistic trajectory toward the target. At a pre-determined point on the missiles trajectory, the payload separates from the missile and deploys a parachute to permit splashdown and water entry at a low speed and with minimum detectable noise. The water entry activates the torpedo, which is guided by its own sonar system, and homes in on the target using either active sonar or passive sonar.
In cases where the ASROC missile carried an NDB, the unguided bomb would sink quickly to a predetermined depth where it would detonate. The nuclear-armed ASROC was never used beyond one or two tests in 1961-62. Eventually the Limited Nuclear Test Ban Treaty banning underwater nuclear tests went into effect. The nuclear weapon was never used in combat. An ASROC missile could hypothetically carry a 10 kiloton W44 nuclear warhead, although the W44-armed nuclear weapons were retired by 1989, and all types of nuclear depth bombs were removed from deployment.[2]
The first ASROC system using the MK-112 "Matchbox" launcher, was developed in the 1950s and installed in the 1960s. This system was phased out in the 1990s and replaced with the RUM-139 Vertical Launch ASROC, or "VLA".[2]
ลองเข้าไปอ่านเพิ่มเติมในเวปลิ้งค์นี้ดูครับ
ตระกูล ch-53 ประจำการบนเรือฟริเกตไม่ได้ครับ ลำน้องๆ ชินุก เส้นผ่าศูนย์กลางใบพัดหลักกว้างกว่าความกว้างของ ticonderoga class อีกครับ หลักๆ ออกแบบมาเป็น heavy lift กินน้ำมันแหลกลาน ถ้าไปประจำการบนเรือ frigate หรือ destroyer ผมมองว่าเป็นการสิ้นเปลืองโดยไร้เหตุผล เทียบกับ sh-60 แล้วมีดีกว่าอย่างเดียวคือบินไกล แต่สมรรถนะคนละเรื่องเลย แถม ณ ปัจจุบันตระกูล h-60 ยังมี configuration หลากหลายภารกิจกว่าเยอะ
ของไทยผมว่าอย่าไปใหญ่มากเลย ขนาดลิงซ์หรือซีฮอว์กก็น่าจะกำลังดี
ปล. คุณ obeone ไม่ทราบว่า skyhawk นี่หมายถึงอากาศยานรุ่นไหนครับ
ประทานโทษทีครับ ผมมันแก่แล้ว จำฉายา ฮ.ผิดๆถูกๆ จริงๆคือ Sea hawk ครับ ส่วน sky hawk นั้นเป็นเครื่องบินรบ A-4 รุ่นเก่าครับ
ผมเองก็เพิ่งจะรู้นะเนียะว่าในสมัยก่อนเขาใช้ หัวรบนิวเคลียร์ระเบิดเรือดำน้ำ กันเลยทีเดียว โหดแท้... !!!