i-mast คืออะไรหรอครับใช้ระบบเรดาห์หรือเป่ลาแล้วมีดียังไง
https://www.youtube.com/watch?v=5YgxCTd1pyo
i-mast พัฒนาโดยt thales เป็นระบบเซ็นเซอร์ต่างๆทุกอย่างที่จำเป็นสำหรับเรือเอาไปอัดรวมกันเป็นชิ้นเดียวอยู่ในเสากระโดง (mast) ก็ไอ้เสาโด่เด่ๆบนเรือเกาหลีที่กำลังฮ็อตๆนั่นแหละครับ
ข้อดีของระบบนี้คือระบบบูรณาการณ์เป็นอันเดียว ถ้าดูอย่างเรือรบทั่วๆไปจะมีเรดาร์หรือเซ็นเซอร์ต่างๆติดรุงรังไปหมด ทั้งเรดาร์ตรวจการณ์อากาศ ตรวจพื้นน้ำ ควบคุมการยิงปืน ควบคุมระบบต่อต้านอากาศยาน ระบบพิสูจน์ฝ่าย ระบบสื่อสาร ฯลฯ
ข้อดูของระบบไอมาสก็คือเซ็นเซอร์ทุกอันรวมกันอยู่ตรงกระโดงหลักซึ่งเป็นจุดที่ดีที่สุด ไม่มีอะไรมาบัง 360 องศา เรือรบรุ่นเก่าๆ เรดาร์บางตัวอยู๋ข้างหน้า บางตัวอยู่ข้างหลัง เสาบังกันเอง นอกจากนี้ระบบต่างๆก็ถูกอินติเกรทกันหมดทำงานร่วมกันได้ไม่มีปัญหา ข้อดีอีกอย่างคือลูกค้าสามารถเลือกด้วยต้องการให้แต่ละระบบเป็นของยี่ห้อไหน ก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นของ thales เช่นเราอยากได้เรดาร์ควบคุมการยิงปืนของเจ้าอื่นก็เอามาใส่ได้ ทำการอินติเกรทกัน แล้วก็เอาเสาไปวางบนเรือ ต่อสายซัพพลายไฟฟ้า สายเชื่อมข้อมูลกับเรือ จบ เหมือนเอาระบบสำเร็จรูปมาวางบนหลังคาเรือ
เป็นระบบที่มีแนวคิดใหม่มากๆ ขนาดพวกเรือเริ่ดๆอย่าง ตระกูล meko, fremm หรือ type 45 ยังมีเสาสื่อสาร เรดาร์ตรวจการณ์ เรดาร์ควบคุมอวป. แยกกัน สองสามอัน ระบบจิ๊บจ๊อยอย่างเรดาร์ควบคุมปตอ. ยั้วเยี้ยไปหมด
ปล.ระบบนี้ไม่มีโซนาร์นะครับ อันนั้นต้องไปอยู่ใต้แนวน้ำ
เป็นระบบเรดาห์ 3D แบบ multifuction
ครับ รวมทุกอย่างในตัวเดียวกัน
มี 3 SERIES คือ I-MAST 300 เป็นรุ่นเล็กสุด,I-MAST400 เป็นรุ่นขนาดกลาง และ I-MAST500
เป็นรุ่นใหญ่สุด (เท่าที่ทราบรุ่นนี้ยังไม่ปรากฎคุณสมบัติของมัน)
ข้อดีของมันก็คือ รวมระบบเรด้าห์ต่างๆเข้ากับตัวแท่นอันเดียวซึ่งมันจะช่วยประหยัดพื้นที่ในการติดตั้งบนเรือที่มีขนาดจำกัด จัดการการซ่อมบำรุงก็สะดวกและง่ายกว่า มีความกระทัดรัดกว่ามาก ซึ่งเรด้าห์ระบบ multifuction กำลังเป็นที่นิยมกันมากของบรรดาค่ายผู้ผลิตเรด้าห์เพราะมีราคาต้นทุนที่ถูกขายได้ในราคาถูก และดีต่อผู้ซื้อเพราะการซื้อระบบเรด้าห์แบบแยกต่างหากมาติดตั้งบนเรือมีราคาค่อนข้างสูงและยุ่งยาก
ระบบเรด้าห์หลักๆของรุ่น I-MAST400 คือ
Radar ตรวจจับอากาศยานและจรวด ระบบ E/F band 3D Range 250 km.
Radar ตรวจจับเรือผิวน้ำ ระบบ I/J band Range 40 km.
Sensor ระบบสงครามอิเล็กทรอนิกส์ ESM
Sensor ระบบเตือนภัยและบ่งชี้ที่มาของแหล่งเตือนภัยจากการถูกโจมตี
IFF ระบบเชื่อมต่อบ่งชี้ระบุพิกัดและตัวตนของฝ่ายเดียวกัน
ระบบ CDS ควบคุมการทำงานจากศูนย์บัญชาการ (เทียบเคียงกับระบบ Aegis ขนาดเล็ก)
ตัวอย่างรูปเป็นโบชัว รุ่น I-MAST400 ลองแปลที่เหลืออ่านดูครับ
111
I-MAST400
222
SERIE I-MAST 400
imast ไม่มีรุ่น 300 นะครับ มีแต่ 50, 100, 400, 500
i-mast นี่เป็นมากกว่า multifunction radar (mfr)ด้วย เพราะมีการรวมเอาระบบต่างๆ(นอกเหนือจากระบบเรดาร์)เข้าไว้ด้วยกัน thales จะเรียกว่า integrated mast เสมอ ไม่เรียกว่าเรดาร์ เพราะนั่นเป็นคอนเซปของเขา คือรวมระบบอิเล็คโทรนิคเกี่ยวกับการรบแทบทั้งหมดไว้ในเสากระโดง เวลาสร้างเรือก็สร้างเสากระโดงไปด้วยติดอุปกรณ์ต่างๆเสร็จ แทนที่จะไปติดตั้งหลายชิ้นบนเรือก็ติดเอาอุปกรณ์มาติดใน i-mast ก่อน หลีงจากนั้นก็ยก i-mast ทั้งชิิ้นไปติดเรือ
เรือลำอื่นๆที่มี mfr แทบทั้งหมดก็ยังมีเสาอากาศ สำหรับสื่อสารหรือรับสัญญาณดาวเทียมแยกอยู่ดี
mfr นี่หมายถึงเรดาร์ตัวเดียวซึ่งทำหน้าที่ได้แทนเรดาร์แบบเก่าหลายๆประเภทพร้อมๆกัน ซึ่งก็ได้แก่ electronically scanned phased array radar ไม่ว่าจะเป็น pesa หรือ aesa
อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ
เปิดกระทู้ว่าด้วยเรด้าร์ I-MAST ซีรี่ย์ของ Thales ที่ใช้ใน DW-3000H
http://www.thaifighterclub.org/webboard/16707/เปิดกระทู้ว่าด้วยเรด้าร์-I-MAST-ซีรี่ย์ของ-Thales-ที่ใช้ใน-DW-3000H.html
ว่าแต่ I-MAST 500 ต่างจาก 400 ยังไงนินอกจากเสาอากาศใหญ่ขึ้น
ขอประทานโทษครับผมจำผิด ไม่มีseries I-MAST 300 ครับ เพราะผมใส่ใจแต่ รุ่น 400กับ 500 รุ่นต่ำกว่า 400 เลยจำไม่ค่อยได้
ผมอยากทราบว่า i-mast 500 เป็น aesa หรือ pesa แล้วมันใช้ร่วมกับ sm-2 ได้ไหมในอนาคต
ไม่ได้เข้ามาตอบ ดีใจที่เห็นความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน.....จขกท.ได้แนวทางแล้วก็ลองค้นคว้าเพิ่มเติม จะได้มีอะไรมาถกกันยาวๆ
ถ้าเผอิญเสากระโดงถูกยิงหรือโจมตีได้รับความเสียหาย ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็แล้วแต่ ก็เจ็งทั้งระบบเลยใช่ไหมครับ
ผมว่าต่อให้เป็นะระบบอะไรโดนโจมตีกระโดงหลักซึ่งติดเรดาร์และเซ็นเซอร์ต่างพรึบอยู่ก็คงพังหมดละ เพราะเรือรุ่นอื่นถึงจะไม่ได้รวมเป็นชิ้นเดียวแต่ก็ติดตั้งไว้เต็มบนกระโดงหลักและสะพานเดินเรือ โดนยิงก็เจ๊งไม่ต่างกันเท่าไหร่
i-mast มันคล้ายกับระบบ เอจิส หรือปล่าวอ่ะครับ
ไม่ถึงกับคล้ายมากแต่เทียบเคียงครับ เพราะเพราะระบบคลืนสัญญาณเรด้าห์คนละย่านความถี่
คือ Aegis เป็นระบบ S-band,X-band เรด้าห์ (SPY-1,SPY-3) ส่วน I-MAST ใช้ E/F-band เรด้าห์
ระบบเรด้าห์ของ SPY-1,SPY-3 จะมีการประมวลผลวิเคราะห์วัตถุหรือเป้าหมายได้ละเอียดกว่ามาก
I-MAST แค่ระดับน้องๆ Aegis เท่านั้นครับ แต่ถ้านำมาใช้กับไทยเราในย่านอาเซียนด้วยกันแล้ว ก็เหนือกว่าพอสมควร
ขอสนับสนุน ความคิดเห็นของคุณ toeytei ครับ
และขอเสริมเพิ่มเติมด้วยว่า
1. ถ้าเรือรบปล่อยให้เรือศัตรูยิงปืนใหญ่เข้ามาถึงตัวระบบเรด้าห์ได้แล้วก็แสดงว่าระบบอาวุธป้องกันอื่นๆภายในเรือลำนั้นก็คงเจ้งไปก่อนหน้านี้แล้ว ทั้งปืนใหญ่ ตอปิโด และจรวดล่อน ถ้างั้นก็เตรียมสละเรือได้เลย
2. แต่ถ้าโดนจรวดยิงใส่ ก็แสดงว่าระบบการทำงานระหว่าง I MAST+VLS MK41+ESSM และ Phalanx มีข้อบกพร่อง อย่างมากเลยเลยทีเดียว
เรื่องเรดาร์Sea Master กับSPY-1 นั้น เป็นคลื่นย่านเดียวกันคือ
S Band ซึ่งเป็นย่านความถี่มาตรฐานIEEE หรือเป็นย่านE/F Band ของนาโต้ หรือ 2-4GHz เหมือนกัน
ส่วนSPY-3 เป็นย่านS-Band กับX-band/นาโต้ I/J Band
Giraffe เป็น C-band หรือ นาโต้ G/H-band
APAR เป็นX band
SMART-L เป็น L Band (นาโต้D Band )
ARABEL เป็นX-Band
Herakles เป็น S Band
ความถี่ยิ่งมาก (อย่างX band) จะมีความละเอียดสูง เหมาะกับระบบควบคุมการยิง เพราะระยะไม่ไกล .....ส่วนใหญ่ใช้กับระบบที่มีความสามารถต่อต้านขีปนาวุธ(เช่นSPY-3 หรือ APAR หรือ ARABEL หรือ AN/TPQ -36ของทบ. STIR ของทร. )
L Band คือย่านความถี่ต่ำ ไปไกล แต่ไม่ละเอียดมากนัก ใช้กับเรดาร์ตรวจการณ์ระยะไกลอย่าง LW08 SMART-L
C Band คือย่านตรงกลางระหว่างXและS Band ความละเอียดสูง ไปไม่ไกลเท่าSแต่ไกลกว่าX เช่น Giraffe AMB และ MW08
S Band ย่านทางสายกลาง ความละเอียดพอใช้ ไปได้ไกล (เท่าที่เห็นคือ200+กม.) เช่น SMART-S SeaMaster400 SPY-1
ยังมีย่านแปลกๆอีกเช่นKu Band /นาโต้ J Band ของ Ceros 200 ที่ความถี่สูงกว่าX Band
หรือ Lirod Mk2 ของรล.กระบี่ ที่ นาโต้ K Band (IEEE K band -Ka Band )
ข้อมูล I-MAST-500 ยังไม่ทราบครับ เห็นออกมาเปิดเผยแค่ 100/400 รออยู่เหมือนกันครับว่า 500 จะเป็นอย่างไร ถ้าเป็น AESA และเป็นความถี่ระดับ X band จริง มันก็เป็นระบบเรด้าร์ที่ดีกว่า SPY-1 F/K ด้วยซ้ำครับ และน่าจะดีกว่า CEA-FAR ที่เป็น AESA เหมือนกันครับ
แต่เพื่อประสิทธิภาพสูงสุด เรือที่ติดตั้ง I-MAST-400/500 ควรมีระบบรองอย่าง SMART-L อย่างน้อยก็ SMART-S mk-2 พร้อมเรด้าร์ควบคุมการยิงอย่าง STIR 1.8/2.4 HP หน้าหลังครับ และจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมลูกอาวุธนำวิถีได้จำนวนลูกมากยิ่งขึ้นครับ
ถ้าทร.จัดหาเรือเกาหลีที่ติดตั้ง I-MAST-400/500 จริงๆ ผมก็จะงงว่าจะจัดหาเรือฟรีเกต ASW หรือเรือฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศ เพราะสเปกระบบเรด้าร์ขนาดนี้ แค่ติดตั้งเรด้าร์ควบคุมการยิงเพิ่มเติมอีก 2 ตัว อย่าง STIR 1.8/2.4 HP มันก็จะมีประสิทธิภาพในการต่อต้านอากาศยานสูงกว่าเรือชั้น Formidable แล้วครับ
งานนี้สงสัย K-VLS มาด้วยแหง๋ๆ และอาจะมีการเตรียมพื้นที่ไว้ 32 cell แต่ติดตั้งมา 16 cell ก่อน ถ้ามี K-VLS ในวันข้างหน้าจะสามารถเลือกจรวด cherlomae-2 รุ่นระยะยิง 150 กม. มาแทน SM-2 ก็ยังได้ แต่ตอนนี้ยังพัฒนารุ่นระยะยิง 150 กม ยังไม่เสร็จครับ และตัวจรวดจะเป็นแบบ hit to kill แบบ ASTER-30 ด้วย
ใช่ครับท่าน Navy ถ้าเสาเรด้าร์รวมแบบนี้ถูกยิงด้วยจรวดต่อต้านระบบเรด้าร์จากฝูงบินข้าศึก ที่มีระยะยิงไกลๆ 100 กว่ากิโลเมตร โป้งเดียว ล่มทั้งระบบครับ จึงควรมีระบบรองด้วย กรณีที่ใฃ้ I-MAST-400 ก็ควรมี SMART-S mk-2 และเรด้าร์ควบคุมการยิง STIR 1.8/2.4 HP มาเสริมด้วยครับ เผื่อเสาเรด้าร์อำนวยการรบหลัก(i-mast-400) โดนยิงเดี้ยง ระบบรองก็ยังคงสามารถทำให้เรือทำการรบต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพครับ
เรื่องโดนจรวดโป้งเดียวจบ ..........
ไม่ต้องถึงมือจรวด โดนRPGเรือตังเกก็แย่แล้ว
ปัญหาคือ ........มีเรือลำไหน ที่ไม่มีเรดาร์บนเสากระโดง ?????? และแทบทุกลำในโลก ต้องจำระบบมารวมไว้บนเสา อาจจะอย่างมากคือ3เสา แต่โดยทั่วไปคือ1เสาหลัก เท่านั้น
เรื่องของRebundancy ไม่ผิดที่จะมีระบบสำรอง แต่งบประมาณคือปัญหา ......
ระบบนี้ไม่ต้องการSTIR ในการillumination .....ตัวเรดาร์สามารถทำได้ น่าจะใช้เทคนิคเดียวกับSPY-1
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับย่านความถี่ของเรด้าห์แต่ละระบบครับ
From http://en.wikipedia.org/wiki/X-band_radar#Radar
Other microwave bands
The microwave spectrum is usually defined as electromagnetic energy ranging from approximately 1 GHz to 100 GHz in frequency, but older usage includes lower frequencies. Most common applications are within the 1 to 40 GHz range. Microwave frequency bands, as defined by the Radio Society of Great Britain (RSGB), are shown in the table below:
L band | 1 to 2 GHz |
S band | 2 to 4 GHz |
C band | 4 to 8 GHz |
X band | 8 to 12 GHz |
Ku band | 12 to 18 GHz |
K band | 18 to 26.5 GHz |
Ka band | 26.5 to 40 GHz |
Q band | 30 to 50 GHz |
U band | 40 to 60 GHz |
V band | 50 to 75 GHz |
E band | 60 to 90 GHz |
W band | 75 to 110 GHz |
F band | 90 to 140 GHz |
D band | 110 to 170 GHz |
Footnote: P band is sometimes incorrectly used for Ku Band. "P" for "previous" was a radar band used in the UK ranging from 250 to 500 MHz and now obsolete per IEEE Std 521.[5][6] For other definitions see Letter Designations of Microwave Bands