หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


แว่วๆมาแล้วครับว่าครม.ต้องการเรือจีน3ลำต่อในไทยทั้งหมด+ออฟชั้นต่อเพิ่มเองในภายหลัง

โดยคุณ : Batnight เมื่อวันที่ : 24/04/2013 12:47:00

พรรคพวกนายเวรวงในเล่าให้ฟังครับ(แต่ยังไม่ชัวร์นะครับ)ว่าครม.พอใจข้อเสนอจีนที่ยื่นมาใหม่คือเรือ3ลำต่อในไทยทั้งหมด+แบบเรือที่สามารถต่อเพิ่มเองในภายหลังได้และจะลงทุนในไทยคือสร้างอู่ต่อเรือขนาดใหญ่ในไทยครับพร้อมให้ทุนทหารเรือไทยส่งเจ้าหน้าที่ไปฝึกเรือดำน้ำปีละ100ทุนเป็นเวลา5ปีครับ

**อันนี้ผมได้ยินมานะครับยังไม่ได้กรองใดๆทั้งนั้นเลยมาบอกเล่าให้คนที่สนใจพอรับทราบบ้างครับ





ความคิดเห็นที่ 1


โดยส่วนตัวไม่ค่อยชอบเรือจีนเลยครับ...! แต่้ข้อเสนอมันช่างยั่วน้ำลายเป็นยิ่งนัก ไม่รู้ว่าจะรู้สึกยังไงดี ถ้าเป็นเรื่องจริงจะดีใจหรือว่าจะเสียใจดี ถ้าต่อในไทยก็เท่ากับว่าเราสามารถควบคุมคุณภาพของเรือได้ ได้องค์ความรู้ใหม่ ได้ท่าเรือขนาดใหญ่ แบบเรือที่สามารถต่อเพิ่มเติมเองได้ เรื่องทุนไปศึกษาเกี่ยวกับเรือดำน้ำนี่คงไม่น่าสนใจเท่าไหร่เพราะยังไงมั่นใจว่าทร.คงมุ่งไปทางยุโรปมากกว่า แต่ติดใจเรื่องระบบอาวุธที่จะติดกับเรือจะมีสมรรถนะสู้เรือจากฝั่งยุโรปได้หรือเปล่า

โดยคุณ funmode77 เมื่อวันที่ 18/04/2013 21:45:05


ความคิดเห็นที่ 2


สงสัยหนังสือสมรภูมิคงเเม่นเหมือนเจ้าปลาหมึกพอร์ลซะเเล้วละครับ..ถ้าเป็นอย่างที่เจ้าของกระทู้ว่าจริงมันก็ประจวบเหมาะกับที่เรามีเเผนการขยายอู่มหิดล เเต่ว่าถ้าต่อในไทยทั้งหมดคงใช้เวลานานเพราะต้องสร้างอู่ก่อนจึงจะต่อเรือใหญ่ขนาดนั้นได้ขนาดเรือหลวงกระบี่ยังซอยบล๊อคจากเเบบเดิมซะละเอียดยิบเลย..ส่วนระบบปฏิบัติการกับอาวุธคงเป็นยุโรปตามเคย ความคิดส่วนตัวผมคิดว่าถ้าเป็นจริงก็เข้าท่าดีนะถ้าเรามีอู่ที่พร้อมต่อเรืออยู่เเล้วเเต่นี่อู่เรายังไม่พร้อมเลย ส่วนเครื่องยนต์ในสมรภูมิบอกว่า 4 เครื่องดีเซล ถ้าเราต่อเองหวังว่าคงปรับเป็น 2 ดีเซล 2 เทอร์ไบล์ หรือไม่ก็เครื่อง 1วอเตอร์เจ็ทด้วยเห็นจะดีเพราะเป็นเรือปราบเรือดำน้ำต้องอาศัยความเงียบ....

โดยคุณ กลับสู่สามัญ เมื่อวันที่ 18/04/2013 21:51:27


ความคิดเห็นที่ 3


เราได้เยอะมากครับ ถ้าได้ตามนี้จริงผมก็ ok 

แต่คงต้องขอดูรายละเอียดเรื่องระบบอาวุธว่าจะบังคับเราให้ใช้ของจีนเท่านั้นหรือไม่ ถ้าใช้ของจีนคงโดน Down grade แน่นอน เพราะเราเป็นพันธมิตรที่ดีกับ US แถมฝึกร่วมกันบ่อยด้วย  คงไม่ปล่อยตัว Top ออกมานอกประเทศ case  คล้าย ๆ เรือดำน้ำ ที่สุดท้ายจีนเสนอตัว  Down grade  ให้เรา 

โดยคุณ Logieng เมื่อวันที่ 18/04/2013 21:59:55


ความคิดเห็นที่ 4


นี้มันม้ามืด  อีกแล้วเหรอเนี้ย    ถ้าข้อเสนอนี้ผมก็ไม่กล้าปฏิเสธ นะครับ  แต่ต้องขอดูรายละเอียดพวกเรื่องอาวูธกับเรดาก่อนนะครับ   ถ้ามันเป็นของพวกแบบใหม่แล้วก็ทัดเทียมก็ว่าไปอย่างนึง

โดยคุณ kok129 เมื่อวันที่ 18/04/2013 22:09:26


ความคิดเห็นที่ 5


จะokเลยถ้าจีนยอมแถมc803หรือc805+เรือดำน้ำ+ช่วยพัฒนาเรือดำน้ำ

แต่ถ้าได้c803หรือc805ก็okแล้ว

โดยคุณ boatxp เมื่อวันที่ 18/04/2013 22:11:44


ความคิดเห็นที่ 6


ได้ทั้งปริมาณและคุณภาพแถมได้องค์ความรู้ด้วย และในอนาคตก็จะมีเรือดำน้ำ(จีน)มาประจำการในเร็ววัน อดีตเป็นยังงัยอย่าไปมองมันก้าวต่อไปข้างหน้าอย่างสดใส

งานนี้คงจะถูกจัยเหล่าแฟนบอยโปรจีนกันเลยทีเดียวแล้วก็ยินดีกับทหารเรือด้วยครับ

โดยคุณ YUKIKAZE เมื่อวันที่ 18/04/2013 22:14:38


ความคิดเห็นที่ 7


อย่างพึ่งสรุปเลยดีกว่าครับ  รอให้เป็นมติ ครม. ออกมาอย่างเป็นทางการจะดีกว่า ตอนนี้แค่เป็นการคาดการณ์หรือคาดเดาฝ่ายเดียวครับ

 

ป.ล.สำหรับพวกที่จงใจพิมพ์ผิดครั้งหน้าผมไม่ไว้หน้าแล้วนะครับ  เวปบอร์ดนี้สนับสนุนการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องครับ ระบบแก้ไขคำ เวปมาสเตอร์ ก็ทำไว้ให้แล้วครับ

โดยคุณ nok เมื่อวันที่ 18/04/2013 22:30:17


ความคิดเห็นที่ 8


ปกติผมอ่านอย่างเดียวแต่เที่ยวนี้ขออนุญาติแสดงความเห็นครับ

มองโดยภาพรวมเห็นด้วยนะครับแต่ผมว่าถ้าเรื่องนี้จริงรอรายละเอียดออกมาซักหน่อยก็ดีครับ กลัวว่าจะมีการยัดไส้หรืออะไรที่ไม่ชอบมาพากลครับ ผมมองว่าเค้าไม่แถมอะไรให้เยอะๆโดยที่ไม่มีอะไรแอบแฝงหรอกครับ ลองคิดเล่นๆทีละประเด็น

-ต่อในประเทศ ถ้าอู่ที่จีนจะสร้างให้ต้องใช้เวลากี่ปี เอาแค่ขั้นก่อสร้างอู่ทำให้EIA HIA ตกลงกะชาวบ้านในพื้นที่ และอื่นๆ กว่าเรือฟรีเกตใหม่จะได้ใช้งานไม่กินเวลามากกว่า5ปีหรอครับ
-3ลำราคาเท่าเดิม เราจะได้เรือที่มันมีประสิทธิภาพจริงๆหรือเปล่า จะได้อะไรมาบ้างตามข้อมูลที่อ่านๆมา จีนไม่ขายระบบVLSให้ใคร

ถ้าเรื่องนี้จริง รายละเอียดที่จีนเสนอคงจะแสดงถึงความจริงใจของมิตรประเทศนี้ได้ดีในระดับนึงครับ


ปล.
ผมไม่อยากให้มีการยัดไส้เหมือนโครงการรถไฟความเร็วสูงที่จีนเสนอตัวเข้ามาทำ มองผิวเผินทุกอย่างดูดี แต่พอมาอ่านรายละเอียดกลายเป็นว่าโครงการนี้จีนแค่ต้องการเส้นทางรถสินค้าและแสดงถึงการแผ่ขยายอิทธิผลในภูมิภาคเราเท่านั้นครับ

โดยคุณ lozenge เมื่อวันที่ 18/04/2013 22:42:30


ความคิดเห็นที่ 9


ข้อเสนอลักษณะนี้น่าสนใจแน่นอนครับ แต่ทั้งนี้ต้องดูผลการคัดเลือกจากกองทัพเรือครับ เพราะข่าวนี้ผู้ตั้งกระทู้ก็แจ้งแล้วว่าข่าวไม่ได้กรองนะครับ 

โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 18/04/2013 23:04:02


ความคิดเห็นที่ 10


ข้าพเจ้าเห็นด้วยกับพี่ท่าน lozenge  ครับ  เเต่อย่างที่ท่านเรารู้ๆกันในประสิทธิภาพของเรือรบจีน นั้นเป็นอย่างไร เเละเเน่นอนว่าทาง ทร. หรือคณะกรรมการที่มีส่วนในการตัดสนิใจคงรู้ดีกว่าเราท่านทั้งหลายเเน่นอน

ประการต่อมา หลักฐานหรือข้อเสียหายในมาตรฐานต่างๆเกี่ยวกับเรือรบจีน เราคงทราบกันดีอีกนั่นล่ะ เเละก็คงได้รับบทเรียนกันมามากพอสมควรแล้ว

ด้วยเหตุนี้ข้าพเจ้าคิดว่า การตัดสินใจในครั้งนี้คงจะดีกว่า ในหลายๆครั้งที่ผ่านมา...มองถึงความคุ้มค่า ประสิทธิภาพ เเละองค์ความรู้ใหม่ๆ ทางทร.คงรู้ดีกว่าใคร 

โดยคุณ konthai2 เมื่อวันที่ 18/04/2013 23:10:41


ความคิดเห็นที่ 11


ดูจากข้อเสนอแบบแพกเกจนี้ของจีนแล้ว ท่าทางจะมีจุดประสงค์ที่ไม่ใช่การค้าขายตามปกติ คือไม่ได้มีเป้าหมายเรื่องเงิน แต่ต้องการเปิดช่องทางแผ่ขยายอิทธิพลเพิ่มมากขึ้น เพราะช่วงนี้โดนอเมริกาล้อมกรอบมากขึ้นเรื่อยๆ เพียงแต่จีนคงต้องระมัดระวังมากเป็นพิเศษ เพราะเราใกล้ชิดอเมริกามาก ซ้อมรบกันบ่อยๆ ข้อมูลระบบต่างๆ สามารถรั่วได้เยอะและง่ายมาก จีนคงไม่ปล่อยอาวุธขั้นสูงรุ่นล่าสุดมาให้ แต่ก็น่าจะต่อรองเอาตัวที่สมรรถนะไม่ห่างมากได้ หรือไม่ก็ใส่ระบบตต.แทนไปเลย เพราะระยะหลังจีนก็ซื้อเทคโนโลยีจากฝรั่งเศสและอิสราเอลไปเยอะมาก อีกอย่างจีนน่าจะอยากแลกเปลี่ยนแนวคิด การออกแบบเรือตามแนวทางของทร.ไทย เพราะจากการต่อเรือชุดนเรศวรและปัตตานี จีนก็เอารูปแบบไปใช้ในการต่อเรือรุ่นใหม่ๆ ด้วย ส่วนที่หลายคนบอกว่าจีนคงจะเอาของ Down Grade มาขายให้นั้น น่าจะบอกว่าจีนขายตัวที่เป็นรุ่นรองให้มากกว่า และในความเป็นจริงก็เหมือนกันกับทุกประเทศทึ่ขายอาวุธ จะไม่ขายรุ่นสูงสุดที่กองทัพตัวเองมีใช้อยู่ให้ใครง่ายๆ ยิ่งอเมริกาน่ะตัวดีเลยจะขอซื้ออะไรทียากเย็น ซื้อมาแล้วจะทำอะไรก็ยังต้องขออนุญาตอีก ว่าแต่แพกเกจนี้มี Z-9 รวมมาด้วยรึเปล่า เพราะข้อเสนอเดิมมีด้วย 6 ลำแบบอุปกรณ์ครบชุด
โดยคุณ TWG เมื่อวันที่ 18/04/2013 23:44:23


ความคิดเห็นที่ 12


รอดูกันต่อไป 

{#emotions_dlg.cool}

โดยคุณ InFerNo เมื่อวันที่ 19/04/2013 00:00:42


ความคิดเห็นที่ 13


   เต็ง 2 จะแซงเต็งหนึ่งจากเกาหลีซะแล้ว  

การขยายอู่ราชนาวีผมเพิ่งเอาข่าวมาจากท่าน penguin ในกระทู้ข้างล่างนะครับ   คือ   อู่ต่อเรือกรุงเทพจะทำการร่วมทุนกับ Oakwell จากสิงคโปร์เพื่อทำการก่อสร้าง  Slipway จำนวน 2 คาน  ยาวไม่น้อยกว่า 120 เมตร และสามารถรองรับการซ่อมสร้างเรือได้ขนาดไม่ต่ำกว่า 3000 ตัน   พร้อมโรงงาน 1 โรง

  นอกจากนี้จะก่อสร้าง  Shiplift และ ship transfer พร้อมลานจอดเพื่อซ่อมเรือจำนวน 2 ลำ พร้อมกันได้  

โดยใช้พื้นที่ 44 ไร่ (แต่ตรงไหนไม่รู้)   และมีอู่ยูนิไทยมาร่วมแจมด้วย

ทางอู่ต่อเรือกรุงเทพจะทำการย้ายสำนักงานทั้งหมดมาในวันที่ 1 พค. ที่จะถึงนี้ครับ

 

   ผมว่า  slipway และโรงต่อนั้น  ไม่น่าจะใช้เวลานานในการก่อสร้างเหมือนกับ อู่แห้งขนาดใหญ่ หรือ dry dock  ซึ่ง dry dok น่าจะใช้เวลานานเกินกว่า 2 ปี ถึงจะเสร็จ   ดังนั้นถ้าโครงการของทางอู่กรุงเทพเร่งมือและได้รับการสนับสนุนจาก BOI เต็มที่   น่าจะใช้เวลาไม่นาน   แต่ไม่แน่ใจว่าโรงต่อจะเสร็จทันในการต่อเรือลำแรกหรือไม่นะครับ   แต่ลำที่ 2  3  น่าจะทัน 

 

   สำหรับผม   ถ้า  F-40T  ใช้แบบเรือจีน (จะ type 054 หรือ 054A ก็เถอะ)  แต่ระบบอาวุธและระบบตรวจจับทั้งหมดน่าจะเป็นของตะวันตก   และถ้าต่อในนี้ทั้งหมด  น่าจะตัดปัญหาเรือคุณภาพที่โดนโจมตีบ่อยๆด้วยครับ      แต่ต้องขอดูในรายละเอียดก่อนว่าได้ตามนี้จริง   และแบบเรือเราน่าจะเป็นคนโมดิฟายด์เองเต็มที่   สิทธิการต่อได้แบบที่เราต้องการ    และมีแนวโน้มจะได้อู่แห้งขนาดใหญ่ในอนาคต  แบบนี้ผมเอา  

 

  แต่แปลกใจเป็นอย่างมากนะครับ   ผมนึกว่าจีนจะขอแลกกับโครงการรถไฟความเร็วสูงกว่า 300,000 ล้านบาท   แต่ไหงกลายเป็นแลกกับโครงการอู่ต่อเรือขนาดใหญ่   ซึ่งเดิมจีนทิ้งไปแล้ว   ไปทุ่มกับนิคมอุตสาหกรรมต่อเรือขนาดยักษ์ในประเทศของตนเอง

 

  สำหรับผม  ถ้าเรื่องนี้เกิดจริงขึ้นมา   ผมดีใจมากกว่าการได้เรือ  MEKO-A200  เรือฟรีเกตในดวงใจผมซะอีกครับ  

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 19/04/2013 00:22:59


ความคิดเห็นที่ 14


   ถ้าโครงการนี้สำเร็จ  มีโรงต่อเรือในร่มพร้อม slipway  2 คาน    shiplift  ship transfer พร้อมลานซ่อมทำเรือได้ 2 ลำ พร้อมกัน  งานซ่อมสามารถใช้ shiplift  ship  transfer และลานซ่อมเพื่อทำการซ่อมเรือใต้แนวน้ำได้นะครับ      ส่วน slipway พร้อมโรงต่อ  น่าจะเป็นการเน้นงานต่อเรือใหม่เป็นหลักเท่านั้น   ดังนนั้น  อู่แห้งหมายเลข 1  น่าจะว่างมากขึ้นและน่าจะมีการปรับปรุงในส่วน เครน ให้ดีกว่านี้   ซึ่งถ้าทำได้  ก็จะมีความสามารถต่อเรือฟรีเกตขนาด 4000 ตันได้พร้อมกัน 3 ลำเลยทีเดียว    ผมว่าการเปลี่ยนเครน หรือ ปรับปรุงระบบเครน  ไม่น่าจะเป็นเรื่องยากเย็นและใช้เวลานานแต่อย่างใดครับ

 

  ถ้าโครงการนี้เกิดได้จริง   เมื่อทำการจัดหาเรือดำน้ำอีกครั้ง   เรือดำน้ำอาจจะทำการต่อเองในประเทศเป็นครั้งแรกเลยก็ได้ครับ  โดยลำแรกอาจจะต่อในประเทศผู้ผลิต   และลำที่เหลือจะต่อในประเทศไทย

  แบบนี้จะเป็นการก้าวกระโดดทางอุตสาหกรรมต่อเรือและพานิชย์นาวีครั้งสำคัญมากๆของประเทศเลยทีเดียวครับ 

สำหรับเรือดำน้ำ  ผมสนับสนุนแต่เรือเกาหลีกับเยอรมันเท่านั้นครับ    เรือจีนขอผ่าน   เพราะถือว่าทร.ได้อู่ต่อเรือมาแล้ว......5555.......จะยังไงก็ได้   รัฐบาลไม่มีอะไรมาต่อรองกับทร.ได้อีก   และผมเชื่อมือเทคโนโลยีเรือดำน้ำจากเยอรมันเท่านั้น


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 19/04/2013 00:40:22


ความคิดเห็นที่ 15


   โอ๊ะ....ลืมภาพประกอบ   โรงต่อเรือ 1 โรง พร้อม slipway 2 คาน  แบบอู่ต่อเรือของจีน   มี type 054A จอดอยู่ข้างๆอู่



โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 19/04/2013 00:43:20


ความคิดเห็นที่ 16


ท่าเป็นอย่างที่ด้านบนว่าจริงผมว่า้้เจ้าอื่นๆึุึุ คงไม่ยอมน้อยหน้าแน่ๆ แต่ก็นะครับรอดูคำยืนยันที่แน่ชัดและขอเสนอของเจ้าอื่นด้วยอยู่เหมือนกันครับผม

โดยคุณ Nazgul เมื่อวันที่ 19/04/2013 00:48:35


ความคิดเห็นที่ 17


ถ้าโปร่งใสก็เห็นด้วยเลยครับ
"จ่ายเงินเรียนรู้วิธีจับปลาดีกว่าจ่ายเงินซื้อปลามากิน"
ซื้อแต่เรือมาต่อให้ทันสมัยแค่ไหนแค่สิบปีก็ตกรุ่นกลายเป็นเศษเหล็ก ซื้อองค์ความรู้มาต่อยอดพัฒนาได้เป็นร้อยเป็นพันปี

เราไม่มีภัยคุกคามทางทะเลใหญ่ๆอะไรที่ต้องจัดหาอาวุธที่ทันสมัยสุดๆเร่งด่วนเหมือนประเทศอื่นๆ ดังนั้นการได้เรือที่คุณภาพไม่Topแต่Packageเสริมดีๆน่าจะคุ้มค่าในระยะยาวกว่ามากๆโดยเฉพาะเรื่องอู่ต่อเรือ 

โดยคุณ MagicD เมื่อวันที่ 19/04/2013 01:52:32


ความคิดเห็นที่ 18


ก็คงอยู่ที่ว่า กองทัพเรือ จะเอาอะไร ครับ...

จะเอา เรือฟริเกตสมรรถนะสูง รองรับเทคโนโลยี่สมัยใหม่ ทั้งปัจจุบัน หรือ ในอนาคต...ไว้ ป้องกันประเทศ ในระยะยาว...รวมถึง ระบบขับเคลื่อนสมัยใหม่ (ไฟฟ้า) ซึ่งมีความประหยัดกว่่า เครื่องยนต์ดีเซลและก๊าซเทอร์ไบน์ ในระยะยาว....และในอนาคต แนวโน้ม เรือฟริเกต จะปรับมาใช้ระบบขับเคลื่อนแบบนี้ (อ้างอิง วารสารของกรมอู่ทหารเรือ ที่อ้างถึง ระบบขับเคลื่อนของเรือฟริเกต ชั้น Meko-D ที่มีความประหยัดกว่า และค่ารักษาซ่อมบำรุงต่ำ)

หรือ จะเอา เรือฟริเกตธรรมดา ๆ...ที่ กองทัพเรือเอง ก็ยังไม่สามารถ จะจัดหา OPV ที่ตัวเอง ต้องสร้างเอง ได้ครบจำนวน...

แล้วจะยังมารับภาระ มาสร้างเรือฟริเกต ที่มีความจำเป็น และเป็น ยุทธศาสตร์สำคัญ อีก...

เงื่อนไขที่ จีน เสนอมา ถ้าเงื่อนไขเป็นไปตามข่าววงใน...ก็คง ต้องสงสัย ในประสิทธิภาพ ว่า กองทัพเรือ ต้องการ ปริมาณ หรือ คุณภาพ...

โดยเงื่อนไข การสร้างอู่เรือของ จีน และได้เรือจำนวน 3 ลำ...น่าจะเป็นการ ออฟเซต โครงการ...คือ อู่เรือ และ อุปกรณ์ทั้งหมด คงต้องจัดหามา จาก ประเทศจีน เท่านั้น....และคงจะรวมถึง ระบบอาวุธ ทั้งหมดด้วย...ซึ่ง จีน ก็ได้ เงินครบ แถม ยังมี อู่เรือ อยู่ในต่างประเทศอีกด้วย...

ประเทศไทย คงได้เพียง ประสบการณ์การต่อเรือ กับ ประหยัดค่าแรงต่อเรือ เท่านั้นเอง...ที่จะเกิดจาก โครงการ นี้...และ อู่เรือ ก็คงเป็นการร่วมทุนกับ จีน...ประเทศไทย ก็คงไม่ได้มีอิสระ ที่จะใช้ประโยชน์ หรือ หาประโยชน์ ได้เต็มที่หรอกครับ...แถม ได้ที่ดิน ตั้งอู่เรือ ให้อีก...

ถ้า กองทัพเรือ ต้องการ ปริมาณ...การใช้ความต่อเนื่องจาก โครงการ OPV ชั้น กระบี้่ น่าจะตอบปัญหาได้ อยู่แล้ว...

แต่ถ้า กองทัพเรือ ต้องการ คุณภาพ...ก็ควรจะจัดหา ของ คุณภาพ มา...เพื่อนำมาเป็นต้นแบบ...แล้วนำมาเลียนแบบประยุกต์ กับ โครงการต่อเรือ OPV...สร้างความต่อเนื่อง และ สั่งสมประสบการณ์แบบ รู้จริง โดยสนับสนุน ร่วมทุน กับบริษัทฯ ในประเทศ แบบเป็นขั้นตอน...ซึ่ง เทคโนโลยี่ การต่อเรือของ จีน คงไม่ได้มีความทันสมัย หรือ มีการวางแนวคิดในการออกแบบเรือ ที่ กองทัพเรือ มีความขาดแคลน แต่อย่างใด...กองทัพเรือ ดูจะมีความทันสมัย มากกว่า จีน ด้วยซ๋ำไป...

ดูแล้วเหมือนพอจะเปรียบเทียบให้เห็นง่าย ๆ ว่า ไทย จัดหา รถเมล์ หลายพันล้านบาท จากประเทศจีน โดย จีน เสนอเงื่อนไขจะมาตั้งโรงงานประกอบที่ ประเทศไทย...ทั้ง ๆ ที่ โรงงานในประเทศไทย ก็มีความสามารถผลิต รถเมล์ ได้อยู่แล้ว...ซึ่ง คุณภาพ ก็ดูจะดีกว่า ด้วยซ้ำไป...

ไม่อยากให้ กองทัพเรือ จัดหาแบบหลงประเด็น หลงหลักการ เพื่อ ต้องการของแถม แค่นั้น ครับ...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 19/04/2013 09:13:34


ความคิดเห็นที่ 19


   โครงการอู่ต่อเรือขนาดใหญ่ที่จีนแลกกับ ข้อเสนอในเรือคราวนี้จะคนละส่วนกับของอู่ราชนาวีครับ    โดยโครงการของจีนจะเป็นนิคมอุตสาหกรรมต่อเรือและอยู่ไม่ไกลจากโครงการโรงงานถลุงเหล้กของ SSI    ที่ทางทักกี้เคยวางแผนเอาไว้

    แต่การขยายขีดความสามารถของอู่ราชนาวี   จะเป็นโครงการเดิมของทางท่านชวลิตครับ   และใช้พื้นที่ของทางอู่ราชนาวี   ถ้าอู่ราชนาวีมีการขยายอย่างที่ว่าจริงๆ    แค่อู่นี้  เราก็ทัดเทียมเพื่อนบ้านอย่างเวียตนามและสิงคโปร์แล้ว   แถมอู่ยังอยู่ภายใต้การควบคุมของทร.ด้วย    ไม่ได้ขึ้นกับต่างชาติแต่ประการใดๆทั้งสิ้นครับ

   ส่วนอู่ต่อเรือขนาดใหญ่ของจีนในนิคมอุตสาหกรรมต่อเรือที่ภาคใต้ของไทย   ก็จะเป็นการเสริมให้พลังอุตสาหกรรมต่อเรือของไทยขึ้นมาติดระดับโลกทันทีครับ     น่าจะทัดเทียมเกาหลี  จีน  ญี่ปุ่นได้  ไม่ยากเย็น

  แบบนี้ถึงจะดีครับ   เพราะอุตสาหกรรมนี้จะไม่โดนผูกขาดโดยชาวต่างชาติ   เพราะมีอู่ที่กองทัพและรัฐบาลควบคุมด้วยอีก 1 อู่    และหวังว่าฐานทัพเรือที่พังงาคงจะได้รับการพัฒนาอู่ขนาดใหญ่ขึ้นภายหลังนะครับ  เพราะแผนพัฒนาอู่ที่ท่าเรือพังงา  มันเป็นอู่สำหรับเรือขนาดต่ำกว่า 1000 ตัีน  

 

  จีนดิ้นจะเข้ามาก่อสร้างอู่ต่อเรือขนาดใหญ่ที่นี่่อีกครั้งหลังจากทิ้งไป    สงสัยญี่ปุ่นคงจะมาเสียบจริงๆน่ะแหล่ะ   เพราะคู่แข่งสำคัญอย่างเกาหลีใต้ก็ย้ายมาที่เวียตนามแล้ว    ถ้าญี่ปุ่นย้ายมายึดหัวหาดที่เมืองไทยอีก (ซึ่งทำเลดีมากๆ)   ไม่น่าจะเป็นการดีกับจีน    และเป็นการขยายอิทธิพลของตนลงมาในอาเซี่ยนด้วย

   สำหรับเรา   ถือเป็รการดีครับ    จะได้ไม่ถูกญี่ปุ่นผูกขาดแต่ผู้เดียวในทุกอุตสาหกรรม    และอุตสาหกรรมต่อเรือและพานิชย์นาวีก็จะกลายเป็นดาวรุ่งพุ่งแรงในอนาคตแข่งกับอุตสาหกรรมยานยนต์   

 

   สำหรับผมได้พลังทางอุตสาหกรรมมาก่อน   สามารถทำเองได้ทุกอย่าง    แม้ตอนนี้จะเป็นเรือฟรีเกตธรรมดาก็ตาม    แต่วันข้างหน้า   ถ้าต้องการเทคโนโลยีชั้นสูง   ก็ทำตามคำแนะนำของน้อง Top  ได้ครับ   คือ  เช่าเรือชั้นเยี่ยมมาใช้งาน   หรือไม่ก็ซื้อแบบเรือชั้นเยี่ยมมาทำการต่อในประเทศเอาเองได้ทีหลัง


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 19/04/2013 10:14:12


ความคิดเห็นที่ 20


    หวังว่าทางรัฐบาลซีกนี้จะไม่ล้มโครงการโรงงานถลุงเหล็กของ TATA เขานะครับ    แม้ว่าทาง TATA ใช้เส้นจากทางฝ่ายการเมืองฝั่งตรงข้ามของรัฐบาลชุดนี้    ลองคุยกับเขาดีๆ  พ่อค้านั้นไม่เป็นพวกของฝ่ายใดชัดเจนครับ   เงินไม่มีสีเหลืองแดงฟ้าน้ำเงิน  เพราะมีสีเดียวกลิ่นเดียว   น่าจะคุยกันได้  

   เหตุผลเพราะ  กลุ่ม  TATA  มาจากอินเดีย  และได้ลงหลักปักฐานชัดเจนแล้ว  รออนุมัติเฟสแรกมาหลายปีแล้ว  ถ้าผ่าน   ก็เท่ากับว่าอุตสาหกรรมถลุงเหล็กจะไม่ถูกผูกขาดโดยญี่ปุ่นแต่ฝ่ายเดียว

  ปล. โครงการของสหวิริยาจะเป็นการร่วมทุนกับยักษ์ใหญ่ระดับโลกจากญี่ปุ่นครับ   เพื่อซับพอร์ตกลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้างและยานยนต์ที่มีบริษัทญี่ปุ่นร่วมทุนอยู่ด้วย    แค่นี้อุตสาหกรรมยานยนต์ก็ถูกผูกขาดสนิทจากกลุ่มทุนจากญี่ปุ่นแล้วครับ  

  ถ้าอุตสาหกรรมต่อเรือถูกจีนแทรกเข้ามา    แถมไทยเองก็มีอู่ขนาดใหญ่ค้ำอยู่ด้วย     และอุตสาหกรรมถลุงเหล็กมียักษ์ใหญ่ระดับโลกจากอินเดียแทรกเข้ามาคานอำนาจกลุ่มทุนยักษ์ใหญ่ระดับโลกจากญี่ปุ่น    จะถือว่าเป็ารแก้ข้อผิดพลาดเดิมในอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ฉลาดมากครับ

 

  อย่าลืมอุตสาหกรรมถลุงเหล็กนะครับ   เพราะเป็นต้นน้ำสำคัญจนถึงสำคัญที่สุดสำหรับอุตสาหกรรมต่อเรือโดยตรง

งานนี้เรือจีนเต็มกองเรือ (แต่ต่อโดยเราเอง) เลยวุ้ย..... 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 19/04/2013 10:27:04


ความคิดเห็นที่ 21


โอย ยังไงก็ไม่เอาเรือจีน ออฟเซตคุ้มเเค่ไหนคิดระยะยาว ก็ไม่คุ้มอยู่ดี ผูกขาดกับจีนไม่ได้ลืมตาอ้าปากกันพอดี มีเเต่ประเทศอยากหนีจากอิทธิพลจีน นี่เราจะวิ่งเข้าไปเอง ตกก. ก็มีปัญหาเยอะในตอนเเรก  ยังไม่เข็ดเหรอครับ

โดยคุณ parachutes เมื่อวันที่ 19/04/2013 10:56:21


ความคิดเห็นที่ 22


+1 ครับ ป๋า Judas
โดยคุณ janus เมื่อวันที่ 19/04/2013 10:58:30


ความคิดเห็นที่ 23


ก็นั่นแหล่ะครับ...ที่ผมว่า...ตกลง จะซื้อ เรือรบสมรรถนะสูง เพื่อความมั่นคง หรือ จะสร้าง อู่เรือ เพื่อประกอบอุตสาหกรรม...

ต้องชัดเจน ตรงนี้ครับ...

การจัดหา เรือฟริเกตสมรรถนะสูง นี้...เนื่องจาก ประเทศไทย มีภัยคุกคามจาก เรือดำน้ำ สูง....แล้วถูกกีดกันไม่ให้ จัดหา เรือดำน้ำ เข้าประจำการ...

กองทัพเรือ จึงต้องการ เรือรบ มา ปราบเรือดำน้ำ...นั่นคือ วัตถุประสงค์หลัก...ของการจัดหา....ส่วน เรื่องอื่น ๆ นั้น คือ ประเด็นรอง หรือ ประเด็นปลีกย่อย ที่จะมามีน้ำหนัก ตัดสิน การแพ้-ชนะ เฉพาะแบบเรือ ที่มีคุณสมบัติเรือ เท่าเทียม กัน เท่านั้น...

ถ้าต้องการ อู๋เรือ เป็นอุตสาหกรรม...ก็ แยกต่างหากไป...ใช้งบประมาณการ ลงทุน ได้...และวางแผน ให้ รอบคอบ ชัดเจน...ซึ่งมูลค่า การลงทุน อู่เรือ ผมว่ามันไม่เท่าไหร่หรอกครับ...ไม่ควรจะมาผูก กับการจัดหาอาวุธเพื่อความมั่นคง ที่มีความสำคัญในการอุดช่องโหว่ ของ สงครามใต้น้ำ ที่มีแนวโน้ม จะด้อยกว่าประเทศเพือนบ้าน หรือตามหลังไปเรื่อย ๆ...

ไม่ใช่ว่า เอา ของแถม มาตัดสิน เลือก แทน เรื่องสมรรถนะและคุุณสมบัติ เรือ...ที่ผิดวัตถุประสงค์หลักไป...

 

 

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 19/04/2013 11:04:19


ความคิดเห็นที่ 24


ถ้าโปรประมาณ เรือนเรศวร ที่ คลอบคลุมกว่าก็โอนะ 

เหล็กญี่ปุ่น ระบบเมกา เรด้าสวีเด็น เครื่องยนเยรมัน ต่อที่ไทย แต่ยี่ห้อจีน อะไรแบบนี้

 

แต่ก็อดสงสัยไม่ได้ว่า ถ้าทำยังงั้น แล้วจีนจะได้อะไร

โดยคุณ fulcrum37 เมื่อวันที่ 19/04/2013 11:12:19


ความคิดเห็นที่ 25


ผมมองอย่างนี้ครับสำหรับเรือจีน 3 ลำ คือ

ในแง่ความไปได้ ระหว่างสร้างอู่เรือ ทำให้เรือลำแรกต่อในจีน  ส่วนลำอื่นต่อในไทย ระบบต่างๆเกือบทุกอย่างเป็นจีนแล้วเพิ่มไทย link เข้าไป หรือถ้าเป็นของตะวันตกก็ต้องมีสวีเดนเป็นคนช่วยเชื่อมโยงระบบ (ตรงนี้คือประเด็นที่จีนสนใจ)

จีนได้อะไร  จีนได้ฐานการต่อเรือและเปิดตลาดในไทยและอาเซียน  ได้มีโอกาสรับรู้เทคโนโลยีเรือผิวน้ำและเรือดำน้ำตะวันตกทั้งแบบลับๆและแบบเปิดเผยผ่านทางไทยและสวีเดน (ตรงนี้สหรัฐคงไม่ชอบ)  ปลดแอกการปิดล้อมทางทะเลทางอ่าวไทยและอันดามัน

ไทยได้อะไร  ไทยได้เรือ 3 ลำที่ทันสมัยและสามารถต่อเองได้ไม่จำกัดรวมทั้งรองรับการดครงการขนาดใหญ่ในอานคต เช่น เรือ LHD , เรือดำน้ำ    นอกจากนี้ไทยยังได้ฝึกในเรือดำน้ำจีนจนมั่นใจว่ามีคุณภาพน่าพอใจและสั่งซื้อในที่สุด (แผนของจีนในการทำให้ไทยเชื่อมั่นในคุณภาพว่ายอมรับได้น่ะ) และปีล่ะ 100 คน 5 ปี  แสดงว่าเรียนรู้ทุกแขนง ปฏิบัติการ ซ่อมบำรุง สร้างเรือดำน้ำ

สรุปรวมๆไทยคุ้ม  จีนก็ยิ่งคุ้ม อยู่ที่ว่าใครจะแสวงหาประโยชน์มากกว่ากัน แต่ก็นั่นแหละครับมีประเทศที่ไม่พอใจไม่น้อยเหมือนกัน ดังนั้นไทยต้องระวังและดำเนินการด้านต่างๆให้ดีๆ จนเป็นที่พอใจของทุกฝ่าย ไม่หนักไปฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งครับ

โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 19/04/2013 11:14:11


ความคิดเห็นที่ 26


ขอต่ออีกนิดใด้ด้านคุณภาพและประสิทธิภาพ  ผมมองรวมๆว่าเรือ 3 ลำที่ได้ถือว่าคุณภาพและประสิทธิภาพอยู่ในระดับไม่ด้อยกว่าใคร แต่ก็ไม่ถึงกับแซงหน้าเพื่อนบ้าน  ประมาณดีกว่าเรือชั้นนเรศวรปรับปรุงเล็กน้อย  แต่ที่ผมสนใจคือโอกาสที่จะมีเรือดำน้ำของ ทร. จะเร็วขึ้น เพราะจีนเค้ามองออกว่าเราอยากได้มากจึงให้ option นี้แก่เรา และรู้อีกว่าไทยคงไม่มีเงินมากมายสุดท้ายไทยอาจขอจ่ายบางส่วนเป็นสินค้าต่างตอบแทนจำพวก ข้าว ยางพารา  ลำไย  งานนี้ผมว่าเค้ามองเราทะลุแถมอาจมีคนของเราให้คำปรึกษาอีกต่างหาก แต่สรุปเป็นประโยชน์ทั้งจีนและไทย ครับ

ปล. ผมค่อนข้างหัวโบราณนิดนึง เอาว่าความคิดผมแบบเดียวกับรัฐบาลประมาณรุ่น พ.ศ.2530-2540 ที่มองในภาพรวม ไม่จำเป็นต้องดีที่สุด แต่ต้องมีสมดุลในแง่คุณภาพ  ปริมาณ และความยั่งยืน (คือพึ่งตัวเองได้) ครับ

โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 19/04/2013 11:32:08


ความคิดเห็นที่ 27


สมมุตินะครับ ว่าถ้าหากเรือจีนชุดนี้สามารถที่จะเกิดในไทยได้ ตามเงื่อนไขคือ ต่อในไทยทั้งหมด 3 ลำ นั่นหมายความว่า ถ้าจะตั้งอู่ต่อเรือสำหรับต่อเรือชุดนี้คงต้องรออีกสองถึงสามปีกว่าอู่ต่อจะสร้างเสร็จ นอดเสียจากว่า ลำแรกต่อที่อยู่ราชนาวีมหิดลก่อน ส่วนลำถัดมาค่อยมาต่อที่อู่ใหม่นั่นย่อมเป็นไปได้มากกว่า แต่ทั้งนี้ถ้าเรือเป็นระบบจีนทั้งหมดย่อมมีปัญหายุ่งยากในการอินทิเกรตระบบสื่อสารหรือดาต้าลิงค์ที่กองทัพเรือกำลังดำเนินการอยู่ เพราะระบบการเดินสายไฟและอุปกรณ์ที่แตกต่างจากบ้านเรา นอกเสียจากว่าจีนยอมให้เราสามารถติดตั้งระบบตามต้องการได้แบบที่เราคุ้นเคย แต่จีนจะยอมหรือไม่ ถ้าไม่ยอม ภาระจะเกิดกับกองทัพเรือหรือไม่ และตัวเรือจากสร้างค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษามากกว่าของจากประเทศอื่นหรือเปล่า อย่าลืมมองถึงตรงนี้  เดี๋ยวไปๆมาๆ เรือถูกแต่ค่าใช้จ่ายบำรุงรักษาแพง ประสบการณ์ของกองทัพเรือกับจีนจีนมันมีมาแล้วให้พิจารณาครับ

โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 19/04/2013 11:34:14


ความคิดเห็นที่ 28


ในวงเงิน 30,000 ล้านบาท...มันไม่ได้ มากมาย ครับ...

เรื่อง เรือจีน ระบบอาวุธตะวันตก นี่...ผมว่า ไม่มี โอกาส เกิดครับ...สำหรับเรือ จำนวน 3 ลำ...(ตกลำะ 10,000 ล้านบาท)

เรือ 3 ลำ นี้...ทั้งตัวเรือ และ ระบบอาวุธ วัสดุอุปกรณ์คงต้องเป็นของ จีน ทั้งหมด ครับ...

ดังนั้น สิ่งที่ จีน จะได้ คือ อุตสาหกรรมต่อเรือ ที่ขยายสู่ภูมิภาค ASEAN...โดย ประเทศไทย เป็น ผู้ลงทุนให้ส่วนหนึ่ง...

ภาพ ความสัมพันธ์ ไทย-จีน ที่มี ความแน่นแฟ้น...หรือ ภาพที่ว่า ไทย เลือกข้าง แน่...

จีน จะสามารถ ควบคุม ศักยภาพของกองทัพเรือไทย ได้...มากขึ้น...

เพราะ ระบบอาวุธ กองกำลังหลัก จะอยู่ภายใต้ การควบคุมของ จีน...กรณี เกิดความขัดแย้งขึ้น ในกลุ่มประเทศ ASEAN กับ จีน...

ผมถึง ไม่เห็นด้วย ในการจัดหา ระบบอาวุธหลัก จาก ประเทศจีน...ไม่ว่า จะเหล่าทัพไหนครับ...

ประเทศไทย ต้องคำนึง เผื่อความขัดแย้ง ที่ ไทย อาจจะต้องมีกับ จีน อยู่ด้วยครับ...

เพราะ ประเทศจีน อยู่ใกล้กับ ไทย มีเพียงประเทศ ลาว กั้น แค่นั้น ครับ...

อนาคต แม้แต่ความเสี่ยง สัก 1% ก็ควรจะต้องคำนึง ครับ...เพราะ มัน ไม่ใช่ เรื่องยาก ของ จีน ถ้าจะรุกเข้าไทย เพื่อรักษาผลประโยชน์ของ จีน ในภูมิภาค ASEAN นี้...โดย จีน สามารถจะใช้อาวุธของ จีนเอง ที่มีประจำการอยู่ใน กองทัพไทย ได้ โดยสะดวก...

อาจจะต้อง มองประวัติศาสตร์ ในอดีต คือ สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็น บทเรียน ครับ...

ที่ กองกำลังหลัก อาวุธูของ กองทัพไทย ส่วนใหญ๋จะเป็น ของ ญี่ปุ่น เกือบทั้งหมด โดยเฉพาะ กองทัพเรือ...

กรณี ถ้า ไทย ไม่ยอมเป็น พันธมิตร กับ ญี่ปุ่น...อาวุธ เหล่านี้ ก็จะถูกควบคุม และ ใช้งาน โดย ญี่ปุ่น แน่นอนครับ...

 

 

 

 

 

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 19/04/2013 11:38:21


ความคิดเห็นที่ 29


ผมขอตอบในแง่อุตสาหกรรมน่ะครับ ว่าด้วยสเปคและการติดตั้งระบบ  ในการสั่งสร้างผู้ซื้อสามารถกำหนดเงื่อนไขในสัญญาว่าให้ใช้มาตรฐานของใคร เช่นมาตรฐานญี่ปุ่น มาตรฐานอเมริกา มาตรฐานเยอรมัน มาตรฐานไทย มาตรฐานจีน  ซึ่งกรณีที่เจ้าของแบบผู้ก่อสร้างเป็นคนล่ะประเทศ เช่น ไทยซื้อ แบบของเยอมัน ผู้สร้างเป็นจีน ในการเขียนแบบครั้งแรกจะมีการระบุเลยครับว่าให้ใช้มาตรฐานเยอรมันเท่านั้น เช่น สายไฟสีอะไร สายวัญญาณสีอะไร ท่อสีอะไร ขนาดเท่าไหร่ วัสดุต้องเกรดไหน  ซึ่งท่ี่เคยผ่านมาก็ได้ตามสเปค แต่ต้องยอมรับอย่างนึงว่า ถ้าผู้สร้งเป็น จีน ไต้หวัน จะเป็นสเปคต่ำสุดของมาตรฐานที่กำหนดและตำแหน่งที่ติดตั้งอาจมีคลาดเคลื่อนจากแบบบ้างเล็กน้อย เวลาใช้งานก็ปัญหาในรซ่อมบำรุง และการหาอะไหล่บ้าง ครับ แต่ส่วนใหญ่ช่างไทยมีมารถทำได้สะบายมากครับ เพราะมาตรฐานช่างไทยถือว่าดีกว่า ครับ เผลอดีกว่าของเกาหลีด้วย

โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 19/04/2013 12:02:32


ความคิดเห็นที่ 30


   เมื่อเทียบกันระหว่างการได้เรือทันสมัยมากแค่ 2 ลำ    กับการได้ขีดความสามารถทางอุตสาหกรรมระดับสูง   สามารถทำรายได้มหาศาลในภายหลังแบบอุตสาหกรรมยานยนต์   พึ่พาตนเองได้ในระยะยาว        และในอนาคตสามารถเลือกแบบเรือทันสมัยสุดๆทุกแบบทุกรุ่นในโลกใบนี้เพื่อมาทำการต่อในประเทศและรับเทคโนโลยีมาเข้าตนเอง    การได้ขีดความสามารถทางอุตสาหกรรมน่าจะเป็นการดีกว่าเป็นอย่างมากเลยครับ     

    ไม่มีความจำเป็นใดๆครับที่จะต้องแยกวัตถุประสงคฺในการจัดหายุทโธปกรณ์กับการพัฒนาขีดความสามารถทางอุตสาหกรรม   มันสามารถทำไปพร้อมๆกันได้   และเป็นทางเลือกที่ฃาติสำคัญในภูมิภาคนี้ทำทุกประเทศครับ

    สิงคโปร์    จัดหาเรือฃั้น formidable 6 ลำ  พร้อมการต่อเรือและเรียนรู้เทคโนโลยี   แต่เขามีโรงงานสำหรับต่อเรือพร้อมแล้ว  ขาดแต่เทคโนโลยี   ซึ่งมาถึงวันนี้  สิงคโปร์จึงกล้าที่จะเสนอแบบเรือแข่งขันในคราวนี้    ซึ่งเรือฟรีเกตที่สิงคโปร์เสนอ  ก็คงไม่พ้นยืนพื้นบนเรือชั้น  Lafayette  ซึ่งถือว่าทันสมัยมาก

   มาเลย์  กำลังวิ่งตามสิงคโปร์   ต่อเรือฃั้น  Gowind  6  ลำ   พร้อมกับการต่อเรือลำที่เหลือในประเทศ   จะทำใก้มาเลย์มีความพร้อมทางอุตสาหกรรมและได้รับเทคโนโลยีชั้นสูงในการต่อเรือมาด้วย

  จะเห็นว่าโครงการทางทหารของเพื่อนบ้าน   จะทำพร้อมกับโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อการยกระดับขีดความสามารถในเวลาเดียวกันไปเลย    ซึ่งเป็นการใช้เงินและเวลาคุ้มค่ามากครับ  

   ถ้าโครงการนี้สำเร็จ   เราต่อเรือฟรีเกตเองได้   มี แบบเรือฟรีเกตอยู่ในมือ    มีอู่ต่อเรือขนาดใหญ่มากที่ทั้งรัฐบาลและ ทร. ควบคุมโดยตรงดูแลโดยตรง 1 อู่   ที่เหลือเป็นของเอกชนจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ  

 

  การพึ่งพาจมูกหายใจจากชาวบ้านเขานั้น    ถ้าเขาไม่ให้ใช้เมื่อไร    ขาดใจตายครับ.......พึ่งพาตนเองได้ดีที่สุดแล้วครับ   แถมสร้างรายได้สร้างงานจำนวนมากให้แก่ทุกคนในประเทศ    ดีจนไม่รู้ว่าจะบรรยายยังไงแล้วครับ


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 19/04/2013 12:55:28


ความคิดเห็นที่ 31


ขอถามท่าน Juldas ทำไมเราต้องขัดแย้งกับ "จีน" ครับ ผมติดตามอ่านกระทู้และการตอบของท่านมานานแล้ว ชื่นชมท่านมากนะครับ แต่สังเกตุว่าท่านมีอคติกับจีนมากเหลือเกิน ก่อนหน้านี้ก็ว่าจีนไม่รับต่อเรือแล้วใช้ระบบตต.บางทีก็บอกว่าจีนไม่ให้มาต่อเรือในประเทศไทย ซึ่งทั้งหมดก็แค่"การคาดเดา"ของท่านเองเท่านั้น จากข่าวที่ได้มาผมเห็นด้วยกับท่าน rayong และ neosiamese2 นะครับ ว่าเราจะได้ประโยชน์มากมายมหาศาล ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ทั้งนี้ก็อยู่ที่นโยบายของรัฐบาลเราเองครับ ว่าจะเหมาะสมต่อเนื่องมากน้อยแค่ไหน อันที่จริงหากท่านติดตามดูการพัฒนาของจีนโดยเฉพาะด้านการทหารและอาวุธ ผมว่าน่าทึ่งมากครับ โดยเฉพาะช่วงสองสามปีที่ผ่านมา ทั้งเรือ ทั้งเครื่องบิน หลายๆอย่างทำเอาฝรั่ง อึ้ง-ทึ่ง-เสียว ได้เลยครับ จีนฉลาดหลักแหลมเอาทุกวิถีทาง ซื้อ ลอกแบบ จารกรรม ฯลฯ ให้ได้มาไม่ต้องเสียเวลาค้นคว้าวิจัยลองผิดลองถูก โดยเฉพาะเทคโนโลยีจาก ฝรั่งเศส และ อิสราเอล ที่สำคัญเราเป็นตัวเชื่อมที่ดีมากสำหรับจีนที่จะเปิดสู่โลกภายนอก โดยเฉพาะประเทศที่มีความขัดแย้งกับจีน ยิ่งเป็นประเทศในอาเซียนยิ่งดี เพราะเราจะำได้ประโยชน์จากทั้งสองทางไป-กลับ เพียงแต่เราต้องกำหนดจุดยืนที่เหมาะสม และมีนโยบายที่ชัดเจนหนักแน่น เป็นตัวของตัวเองให้มากที่สุด อย่าไปอิงมหาอำนาจชาติใดชาติหนึ่งมากเกินไปครับ

โดยคุณ TWG เมื่อวันที่ 19/04/2013 12:55:29


ความคิดเห็นที่ 32


   จากกระทู้ปักหมุดข้างบน   ขอเสนอของจีนคราวนี้ยืนพื้นบนแนวคิด  F-25T  หรือ  เรือชั้นนเรศวรครับ    นั่นคือ  แบบเรือฟรีเกตจีน   แต่ทำการโมดิฟายด์โดยฝ่ายไทย   และระบบอาวุธของตะวันตกครับ    โดยทางจีนให้ชื่อระกัสโครงการมา คือ  F-40T  ไม่ใช่หรือครับ     ดังนั้นแนวข้อเสนอของจีน  จึงต้องเป็นแบบเดิม  คือ  แบบเรือจีน  โมดิฟายด์โดยทร.ไทย   และระบบอาวุธตะวันตก

 

  ส่วนข้อที่ว่า  ลำละ 10,000 ล้านบาท  ไม่น่าจะพอสำหรับ  แบบเรือจีน  ต่อในไทย  และระบบอาวุธระบบตรวจจับตะวันตก

ผมว่าพอนะ    จะกระทู้ปักหมุดข้างบนเรือ่งเรือฃุดนี้    ถ้าทร.ต้องการเรือฟรีเกต ASW  โดยยืนพื้นบนเรือฟรีเกตชั้นนเรศวร  แต่ขยายขีดความสามารถในการต่อต้านเรือดำน้ำให้สูงมากขึ้น    ผมว่ามันพอ   

 เพราะราคาระบบอาวุธและระบบตรวจจับของเรือชั้นนเรศวรที่ทำการปรับปรุง  ตกลำละ 3700 ล้านบาท    ไม่มี CIWs  ไม่มีโซน่าร์ลากท้ายชั้นดี   ไม่มี ASW suit ซึงสำคัญเพื่อการเฃื่อมต่อกับ ฮ. ปราบเรือดำน้ำ (ที่ใช้ระบบ LAMP-3)

   ดังนั้นถ้ามีเพิ่มเติมในส่วนนี้   ผมให้เพิ่มอีก 2000 ล้านบาทเลยเอ้า    ก็ไม่ถึง 6000  ล้านบาทหรอกครับ    ที่เหลือเอามาเป็นค่าต่อเรือได้    ถ้าต่อในไทยตกตันละ 1 ล้านบาท   เรือ 4000 ตันก็น่าจะพอนะครับ     แต่จะต้องจัดหาลูกอาวุธนำวิถีทุกแบบทีหลัง

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 19/04/2013 13:07:42


ความคิดเห็นที่ 33


แต่ผมเห็นด้วยกับคุณ juldas นะ กองทัพเรือไทยมีประสบการณ์ไม่ดีกับเรือจีน ซึ่งระบบไม่เข้ากับเราตามมาตรฐานนาโต้ แถมยังต้องนำมาปรับปรุงเองอีกหลายจุด จากประสบการณ์ที่ซื้อมา ไม่ว่า จะ นเรศวร เจ้าพระยา ปัตตานี แม้ครั้งนี้จีนจะให้ ออฟเชต มาประกอบในไทยก็ตาม แต่การให้ของจีนก็มีวัตถุประสงค์แอบแฝง กะจะลากยาวไปถึงเรือดำน้ำ ก็คงไม่แคล้วจะได้เรือดำน้ำจากจีนอีก อยากให้จะดูข้อเสนอของประเทศต่างๆ นอกจากจีนไว้ด้วย เผื่อเราอาจจะได้อะไรดีๆ เพิ่มขึ้น เช่น ถ้าซื้อเรือเยอรมัน จะขอให้มาประกอบในไทยสักลำได้มั้ย และอาจจะแถมให้ยืมหรือให้เราเช่าเรือดำน้ำ u206a มาฝึกกำลังพลก่อนจะได้มั้ย หรือ ข้อเสนอจากประเทศอื่นๆ ก็ได้ ไม่อยากให้ฟันธงว่าควรจะเป็นจากจีนอย่างเดียว (กลัวผู้ใหญ่จะมีธงไว้แล้ว) ก็คงต้องต่อรองกัน มองในแง่ดี ไม่แน่การเปิดข้อมูลนี้อาจจะเป็นแผนปั่นราคา ให้ประเทศอื่นๆ กล้าเสนอออฟเชตเพิ่มมากขึ้นก็ได้   

โดยคุณ tommy เมื่อวันที่ 19/04/2013 13:51:20


ความคิดเห็นที่ 34


ในเรื่องอุตสาหกรรม ต่อเรือนั้น .... ปัจจุบัน ทร. ไทย มี่ ปริมาณ ที่รออยู่แล้ว คือ OPV ชั้น กระบี่ จำนวน 4 ลำ...ซึ่ง ปัจจุบัน สร้างไปแล้ว จำนวน 1 ลำ ครับ...

ดังนั้น ถ้าจะพูดถึง อุตสาหกรรม การพึ่งตนเอง โครงการ OPV นี้ จะเป็น จุดเริ่มต้น ของ กองทัพเรือไทย ที่ต้องต่อยอด และเป็นกำหนดโครงการให้เติบโตอย่างเป็นระบบ ไม่ใช่ แบบ ดีลขายเรือ เพียงเพื่อ จะได้ยอดต่อเรือ แค่นั้นครับ...

ส่วน สิงค์โปร์ และ มาเลเซีย รวมถึง อินโดนีเซีย เขาจะใช้ ปริมาณ ในการเริ่มอุตสาหกรรม...

เช่น สิงคโปร์ เดิม ต่อเรือ คอร์เวต ชั้น วิคตอรี่ จำนวน 6 ลำ แล้ว ขยายการสร้างมาเป็น Formidable จำนวน 6 ลำ

มาเลเซีย เดิม ต่อเรือ OPV แบบเรือจาก เยอรมัน จำนวน 6 ลำ แล้ว ขยายการสร้างเรือขนาด ฟริเกต Gowing จำนวน 6 ลำ

อินโดนีเซีย เริ่มต้น ต่อเรือ OPV จากแบบเรือของ เนเธอร์แลนด์ โดยจำนวน 6 ลำ ต่อในประเทศ จำนวน 2 ลำ แล้ว ขยายแบบใหม่ อีก 2 ลำ

จะเห็น การพัฒนาการ อุตสาหกรรม การต่อเรือ มีที่มา ที่ไป อย่างเป็น ระบบ เริ่มจาก เรือที่มีเทคโนโลยี่ ไม่สูงมาก ไปเป็น เรือเทคโนโลยี่ที่สูงขึ้น...

และ ต้นทุน การต่อเรือ OPV ชั้น กระบี่ ปัจจุบัน...รวมทั้งหมด ตก ตันละ 2 ล้านบาท หรือ ประมาณ 2,700 ล้านบาท ต่อ  1 ลำ...เรือขนาด 1,700 ตัน เท่านั้น...และไม่ได้มีระบบอาวุธอะไรเลย นอกจาก ปืนเรือ...

ผมถึงมองว่า ลำละ 10,000 ล้านบาท คงไม่ใช่ เรือฟริเกต สมรรถนะสูง ขนาด 4000 ตัน หรอกครับ...

และ ประวัติการจัดหาเรือ จากประเทศจีนที่ผ่านมา...ก็มีประวัติ การล็อบบี้ เพื่อให้ได้ ดีล เท่านั้น...ความจริงใจ ที่ จีน มีต่อ ไทย ไม่ได้เลิศเลอ อย่างที่อ่านความเห็นกันมาหรอกครับ...จากเท่าที่อ่านมาตลอดหลายปี ก็ยังมีแนวคิดสิ่งที่ อ้างว่า จีน ช่วยไทย ก็ล้วนแต่ เป็น ความเห็นที่อ่านกันแล้วยกกันมา เท่านั้น ยกตัวอย่าง ความเห็นเกี่ยวกับ พล.อ.ชวลิต กดปุ่ม สงครามสั่งสอนเวียดนามแล้วครับ...ซึ่งก็เป็นความเห็นยกเมฆจากค่าย นสพ. ฉบับหนึ่งเท่านั้น...

และถ้าลอง ศึกษา จากโครงการเรือ OPV ชั้นปัตตานี ก็จะเห็น การทำลายความก้าวหน้าการต่อเรือของไทย จาก จีน อย่างชัดเจน...ไม่ใช่การ คาดเดา...เพราะ TOR ออกมาว่า ให้ต่อในประเทศ จำนวน 2 ลำ...แต่ ดีล ก็ถูกล้ม...สุดท้าย TOR ดังกล่าว ก็ถูกยกเลิก เป็นการจัดหาซื้อเรือ จากการพิจารณาความสัมพันธ์เป็นหลัก...ข้อมูลก็ปรากฎจาก เว๊ปกองทัพเรือ เอกสารกองทัพเรือ...ส่วน เรือทีต่อจากจีน ข้อมูลก็ปรากฎว่า เรือชั้น เจ้าพระยา จีนไม่รับต่อเฉพาะตัวเรือ ต้องรวมระบบอาวุธ...ข้อมูลก็ปรากฎตามหนังสือในอนุสรณ์ของ อดีต ผบ.ทร. ไม่ใช่ การคาดเดา...ส่วน เรือชั้น นเรศวร เป็นแบบเรือที่ กองทัพเรือไทย ออกแบบ...สร้างแบบจำลอง นำไปทดสอบ และแก้ไข ที่ กองทัพเรือสหรัฐ...โดย จีน แค่ รับจ้าง ต่อเรือ เท่านั้นครับ...ไม่ใช่การคาดเดา ก็เป็นข้อมูลจาก กองทัพเรือ เช่นกัน...ลองหาอ่านในกระทู้ เก่า ๆ ดูครับ...

ผมถึงให้ความเห็นว่า ถ้าจะสนับสนุนการพึ่งพาตนเอง ก็ควรจะพัฒนาต่อยอดจาก โครงการ OPV เป็นหลัก....และให้ เติบโต อย่างเป็นระบบ และมั่นคง...

ส่วนเรื่อง ความมั่นคงทางทะเล ก็ต้องให้แยกจากกันให้ชัดเจน...

และตามความเห็นที่ว่า อย่าพึ่งพาประเทศใด ประเทศหนึ่ง เกินไป...การที่ เราจะใช้ระบบอาวุธหลักจากประเทศจีน นี่แหล่ะครับ...เป็นการ พึ่งพาประเทศใด ประเทศหนึ่ง จนเกินไป...เพราะ ระบบอาวุธจากจีน ไม่สามารถจะ ปรับเปลี่ยน ไปใช้อาวุธจากสัญชาติอื่นได้เลย...ไทย ก็ต้องจัดหา จากประเทศจีน อย่างเดียว...มีทางเดียว คือ ต้องรื้อทิ้งทั้งหมด แบบเรือชั้น นเรศวร...

และในอนาคตถ้า จีน ไม่สามารถจัดส่งอาวุธ ให้ไทยได่้...จาก กรณี ความขัดแย้งกับกลุ่มประเทศอื่น ๆ...และ ไทย จะทำอย่างไร...ซึ่งก็เห็น ๆ กันอยู่ครับ ทั้ง ญี่ปุ่น ไตหวัน เวียดนาม และ หมู่เกาะ สเแปชรี่ย์...

ความที่ ประเทศจีน เป็น ประเทศมหาอำนาจ ประเทศหนึ่ง ที่อยู่ใกล้ ไทย มาก...ไทย ควรจะระวังตัวให้ มาก ครับ...ความสัมพันธ์ในแง่ เศรษฐกิจ เป็นกันได้ ไม่มีปัญหาหรอกครับ...แต่ในแง่ ความมั่นคง...ไทย ไม่ควรจะพึ่งพา จีน เป็นหลัก...แม้แต่ พม่า ยังไม่ทำ...

แยก วัตถุประสงค์ให้ชัดเจน....ว่า ดีล เรือนี้ เราต้องการอะไร...ต้องการ เรือรบที่มี่ความสามารถสูง เพื่อรักษาผลประโยชน์ทางทะเล โดยในขณะนี้ คือ ภัยคุกคามจาก เรือดำน้ำ...

และแบบเรือ F-40T นั้น ก็เป็นแบบเรือของ จีน โดยแก้ไข สเปค คุณสมบัติเรือ เท่านั้นครับ...แบบเรือเป็นยังไง ยังไม่มีข้อมูลเลยครับ...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 19/04/2013 13:52:30


ความคิดเห็นที่ 35


สวัสดีครับ

เป็นสมาชิกใหม่ครับ

อ่านบทความในเว็บนี้มาได้ปีกว่าแล้วครับ

ขอแสดงความคิดเห็นในกระทู้นี้เป็นครั้งแรกนะครับ

เกี่ยวกับเรื่องการก่อสร้างอู่ต่อเรือจะมีผลทางอุตสากกรรมไดบ้างนั้น

ผมคิดว่าน่าจะเป็นเรื่องดีครับ แต่จำเป็นที่จะต้องศึกษารายละเอียดสัญญาให้ดีก่อนว่า

จีนจะใช้งบประมาณในวงเงิน30000ล้านนี้หรือไม่ ถ้าใช่ผมว่าไม่ดีแน่ครับ

เพราะจะลดทอนปริมาณหรือคุณภาพของเรือที่เราควรจะได้รับ

หรือถ้าใช้งบที่แยกต่างหากนั้น จีนจะนำเงินตัวเองมาลงทุนหรือครับ ถ้าไม่ใช่ขอกู้เงินจากแบงค์ไทยเอง

ถ้าอย่างนี้ ก้ไม่ควรทำสัญญาครับ สู้ลงทุนเองดีกว่า

การสร้างอู่ต่อเรือขนาดใหญ่ใช่ว่าจะ high technologyอะไรมากมาย

งานcivilวิศวกรไทยทำได้ครับ

โดยคุณ doosongkla เมื่อวันที่ 19/04/2013 13:57:33


ความคิดเห็นที่ 36


ของฟรีไม่มีในโลกครับ ผมคิดว่าดีลนี้เราจะได้ไม่คุ้มเสียนะครับ ความคิดผมจะเหมือนคุณJudasคือการที่จีนจะมีอิทธิพลทางทหารต่อไทยมากเกินไป ถ้ามีอู่เรือจีนเชื่อว่าในอนาคตการต่อเรือของทร.อาจจะโดนอิทธิพลของจีนดึงเอาโครงการทั้งหมดไปแน่นอน เรายังไม่เห็นรายละเอียดดีลนี้แต่พอจะเดาได้ว่าเราคงได้แต่ต่อตัวเรือ ส่วนระบบและอุปกรณ์ต่างๆยังคงเป็นของจีน อาจจะมีระบบตะวันตกบางส่วนเหมือนต่อเรือหลวงนเรศวรแยกชิ้นแล้วมาประกอบที่ไทย แล้วเราได้อะไรครับนอกขากประหยัดค่าแรงเหมือนอุตสาหกรรมรถยนต์หรืออุตาหรรมอื่นๆทีาเรสได้แค่ค่าแรง เราอยากพึ่งตนเอง อยากต่อเรือเองการต่อเรือหลวงกระบี่เป็นแนงทางที่ถูกต้องแล้วสำหรับทร. อาหารจายแรกที่ทำเองคงจะไม่เพอร์เฟคเหมือนซื้อ แต่ต้องค่อยๆเรียนรู้และปรับปรุง การเรื่มจากต่อเรือหลวงกระบี่จึงเป็นสิ่งที่ถูดต้องแล้ว เราต้องคิดให้รอบคอบครับอย่ามองของแถมมากกว่าสิ่งทีาเราต้องการครับ
โดยคุณ RAF เมื่อวันที่ 19/04/2013 14:32:46


ความคิดเห็นที่ 37


TOR ในการจัดหา เรือ OPV (ชั้น ปัตตานี)

จะเห็นว่า ให้ทำการ ต่อเรือภายในอุตสาหกรรมในประเทศ....โดยโครงการนี้ ก็ คลุกฝุ่นกันน่าดู...จนออกข่าวถึงความโปร่งใสต่าง ๆ นา ๆ...สุดท้าย อู่เรือ จีน ก็ได้ ออร์เดอร์ ในครั้งสุดท้าย...โดย รมว.กลาโหม ออกเงื่อนไข...ให้พิจารณาคัดเลือก จากความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แทน ครับ...ไปค้นหา กระทู้เก่า ๆ ดูครับ...ผมขี้เกียจพิมพ์ซ้ำแล้ว...

บทเรียน เยอะแยะครับ...อาวุธจีน กับ กองทัพไทย...ซึ่ง มันก็ควรที่ ผม จะมี อคติ...ซึ่งผลมาจากการอ่าน แล้ว ลองวิเคราะห์ ด้วยตัวเอง แล้วออกมาเป็นความเห็นส่วนตัวของผม...โดยไม่ได้ใช้ การอ้างอิงความเห็น จากท่านใด ท่านหนึ่ง แล้วใช้เป็นหลักวิเคราะห์ ครับ...

 

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 19/04/2013 14:34:39


ความคิดเห็นที่ 38


ไร้ความเห็น นั่งรอเก็บเกี่ยวความรู้ กับต้มน้ำรอมาม่า 

หมายเหตุ......เจ้าของกระทู้หายตัวไปอย่างรวดเร็ว ทิ้งระเบิดไว้กลับมาอธิบายด้วย บางคนเค้าเข้าใจว่าทร.เลือกเรือไปแล้ว 

โดยคุณ icy_CMU เมื่อวันที่ 19/04/2013 14:56:30


ความคิดเห็นที่ 39


ตอนยังไม่มีรายละเอียดก็ดูดีละครับ  ข้อเสนอโครงการจากจีน

พอเจรจารายละเอียดลงไปแล้ว  อยากวิ่งหนีไปไกลๆ แน่ๆ ครับ

ตัวอย่างโครงการรถไปความเร็วสูงจีนที่ดังระเบิดไปทั่วโลก

เอาเข้าจริงกลับเป็นโครงการผลประโยชน์ผูกขาดระยะยาว

ที่มีเงื่อนไขที่เป็นประโยชน์ของผู้เสนอเองแบบด้านๆ เนียนๆ

ผลสุดท้ายเรื่องก็ต้องจบแบบด้านๆ เนียนๆ คือไม่เอา รับไม่ได้

เราจัดการเองของเราดีกว่า มันไม่ได้ยากอะไร จะยุ่งกับอีแกทำไม

โดยคุณ airy เมื่อวันที่ 19/04/2013 15:22:10


ความคิดเห็นที่ 40


ครับ ตามที่หลวงพี่ไอซ์ ข่าวนี้เล่นเอาฮ็อท แต่ก็คือข่าวที่พูดคุยกันเอง ยังไม่มีข้อมูลข่าวที่แท้จริงที่ยืนยันได้ออกมาแต่อย่างใด

โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 19/04/2013 16:21:09


ความคิดเห็นที่ 41


แล้วเมื่อไร หวยมันจะออกซะทีเนียะ ลุ้นนานๆ หัวใจจะวาย

ชักเริ่มอารมณ์เสีย

ขอเป็นเยอรมันหรือ แดจังเกิมก็ได้ สาาาาาธุ......

อยากได้ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ



โดยคุณ ObeOne เมื่อวันที่ 19/04/2013 16:47:43


ความคิดเห็นที่ 42


จากประสบการณ์ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมมานะครับ พบว่างานโครงการขนาดใหญ่

มักได้บริษัทรับเหมาและรวมทั้งที่ปรึกษาจากสัญชาติเกาหลี พอทำเสร็จ operation มักบอกว่า ระบบไม่ค่อย เสถียร และแม้แต่ GADrawingยังผิด

 แต่ก็เดาได้ว่ามีสาเหตุจากการชนะประมูลงานด้วยราคาที่ต่ำที่สุดนั่นเองซึ่งของดีไม่มีถูกในโลก

ไม่อยากให้เรือ2ลำนี้เป็นทั้ง เกาหลี รวมถึงจีนด้วยเลยครับ

โดยคุณ doosongkla เมื่อวันที่ 19/04/2013 16:48:04


ความคิดเห็นที่ 43


กว่าหวยจะออก ก็ปลายปี หรือปีหน้า มั่งครับ

ผมว่าช่วงนี้นายหน้าวิ่งกันตีนขวิด ท.ร.ไม่ควรซื้อจาก บริษัท ที่มีนายหน้ามีเอียวด้วย

ควรคัดเลือกจากบริษัทที่มาเองโดยตรง  เพราะนายหน้าเองก็ต้องพยายามมีมือมีเท้าอยู่ใน ท.ร.

เพื่อให้ได้เปรียบคู่แข่ง เวลามีนายหน้ามันก็ต้องมีการใส่ร้ายกัน สร้างข่าวสร้างประเดนขึ้นมา 

มันยุ่งวุ่นวายเพราะนายหน้ามาไม่รู้เท่าไหร่แล้ว กับการซื้ออาวุธของไทยเรา

งานนี้รู้สึกว่าจะพยายามเป่าเยอรมันทิ้ง เอาจีนมาป่วน เพื่อให้จบลงที่เกาหลี....

ผมคิดไปเองละครับ..  คิดดังไปหน่อย..

โดยคุณ airy เมื่อวันที่ 19/04/2013 17:48:45


ความคิดเห็นที่ 44


ยังไม่ได้หายไปไหนครับท่านไอซ์พอดีผมติเวรครับเลยไม่ได้เข้ามาครับและตกใจเช่นกันครับที่กระทู้ขึ้นไวมากครับ

ส่วนข้อมูลแหล่งที่มาเป็นการพูดคุยกันเองจริงๆครับซึ่งผมได้เรียนแจ้งไว้แล้วตั้งแต่ต้นครับเพียงแต่ว่าเป็นข้อมูลที่พอเชื่อได้ครับเนื่องจากผู้ที่พูดคุยมีหน้าที่เป็นผู้ติดตามผู้ที่เกี่ยวข้องและมีอำนาจอนุมัติครับ ซึ่งระหว่างพูดคุยผู้ที่ให้ข้อมูลผมได้แจ้งให้ทราบว่าทางจีนเสนอดีลนี้มาและคณะผู้พิจารณาดูมีแนวโน้มพอใจครับ

และจริงๆแล้วผมไม่ได้ยินดีในการที่เราจะได้เรือจากจีนแต่คนที่มีอำนาจอนุมัติแน่นอนว่าไม่ใช่กองทัพเรือแน่นอนครับดังนั้นจึงเพียงแต่นำเรื่องที่ได้ยินมามาบอกเล่าพูดคุยให้หลายๆท่านที่สนใจได้ลองเสนอความเห็นเกี่ยวกับดีลนี้เพื่อที่อาจจะมีส่วนในการตัดสินใจของผู้ที่มีอำนาจอนุมัติครับเพราะตราบใดที่ยังไม่เซ็นต์สัญญาสิ่งใดๆก็เกิดขึ้นได้ครับ

โดยคุณ Batnight เมื่อวันที่ 19/04/2013 19:13:41


ความคิดเห็นที่ 45


                HOT จัง.....  สมมติว่าจริงนะ  ผมว่างานนี้ ประเทศไทย (หมายถึง รัฐบาล+กองทัพเรือ+เสธ.+ฯลฯ )  คงไม่เต็ง...ไม่กั๊ก....  คงแทงโต็ดอย่างเดียว (ใจถึง) กะได้เยอะ  คหสต.ผมว่าน่าเสี่ยงน่าสนนะ  หากมีปัญหาในอนาคต (ซึ่งมีแน่นอน... ไม่ว่าเรือใคร/สถานการณ์ใด ...เราไม่รู้อนาคต) คนไทยมีพรสวรรค์ในการแก้ปัญหานะ....

โดยคุณ nui-714 เมื่อวันที่ 19/04/2013 19:15:55


ความคิดเห็นที่ 46


ขอลุ้น ให้เป็นเยอรมันเถอะครับ สาธุ

โดยคุณ kritchai เมื่อวันที่ 19/04/2013 19:24:35


ความคิดเห็นที่ 47


บทวิเคราะห์ส่วนตัว ข้อมูลส่วนตัว "ดิบ"แบบเจ้าของกระทู้ที่สูญหายไปเลยนะครับ

 

โอกาสที่จะได้เรือจากเยอรมันยากมากเลยครับเพราะเรื่องราคาและเรื่อง"สมรรถนะที่ไม่น่าพึงพอใจ"

 

ต้นเหตุมาจากระบบขับเคลื่อนไฟฟ้านั่นแหละ มันจะสร้างปัญหาใหญ่มากให้กองทัพเรือไทยในอนาคต ทั้งในด้านการใช้งานและการซ่อมบำรุง

 

เรือฟริเกตุของเราไม่ได้ใช้งานเยอะตลอดเวลาแบบ OPV หรอกครับงานหลักของมันคือจอดรักษาการอยู่ในท่าเรือเป็นส่วนใหญ่ นี่คิอหลักการที่ทั่วโลกทำกันแบบนี้แล้ว

 

สมรรถนะที่ไม่น่าพึงพอใจคือ มันทำได้ไม่ดีเท่าที่คุยไว้ในกระดาษ ดีกว่าคนอื่นจริงแต่ไม่มากตามสเป็ก ใครไม่เชื่อผมลองไปถามทหารเรือมาเลย์ดูนะครับ

 

เราจะซื้อเรือเยอรมันแต่อาวุธหลักๆอ้างอิงอเมริกาทั้งหมด ผมว่าซื้อเรืออเมริกาที่ไม่มีระบบไฟฟ้านั่นไปเลยดีกว่าไหม ใหญ่กว่าทนทานกว่าด้วย นิดนึงก้เอาฟระ

 

เรือจีนกับข่าวนี้เพิ่งเคยได้ยิน แต่ดูแล้วเกิดยากมาก รัฐบาลทั้งสองประเทศจะต้องช่วยดันจริงๆเท่านั้นจึงจะเกิดได้

 

อะไรที่จะทำให้รัฐบาลเรากล้าทำ จีนต้องซื้อข้าวจากเราทั้งหมดที่มีเก็บอบู่ในโกดังนั่นแหละ อะไรที่รัฐบาลจีนจะกล้าทำ !@$%^&*  ผมยังหาไม่เจอครับ

 

แล้วเรือที่กำลังมาแรงหละคือลำไหน  เขาก็ว่าเกาหลีใต้มาแรงมาก ต่อจากนั้นก็เป็นสิงค์โปร์

 

ให้ดิ้นตายเถอะครับพี่น้อง อุตสาหกรรมหนักของเกาหลีใต้น่ากลัวมาก เพราะมันจะลดออปชั่นการผลิตให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ ผมไม่เห็นด้วยเลยที่เราจะเอาเงิน3หมื่นล้านไปแลกกับเรือ2ลำจากประเทศนี้

 

นาทีนี้ผมยอมรับเรือจากสิงคืโปร์มากกว่า แต่เขาต้องแก้แปลนให้ดีและปรับปรุงแก้ไขทุกอย่างให้เรียบร้อยก่อน อู่ต่อเรือในไทยไม่มีนี่นาก็ต้องพึ่งเขาสิ

 

ใช่ครับบรรดาประเทศที่พูดมาสิงคืโปร์น่าคบหามากที่สุด ทั้งที่เราชอบด่าเขามากกว่าประเทศอื่นๆด้วย

 

ผมกาชื่อเยอรมันออกเพราะราคาที่แรงเกินไปไม่ใช่คุณภาพ

 

ผมกาชื่ออเมริกาออก เพราะไม่รู้แกตั้งใจจริงจะขายหรือเปล่า ถ้าเอาจริงจะกากลับเป็นตัวเลือกแรกทันที เราสามารถต่อเรือจากอเมริกาได้ในราคาที่เหมาะสมครับผมนั่งยันนอนยันได้เลย

 

เรื่องความขัดแย้งหรืออนาคตอุตสหกรรมในไทยผมไม่พูดถึงนะครับ มันยังไม่ชัดเจนพอจะพูดอะไรได้เลย

 

แต่ข่าวนี้มั่วมาก โอกาสเกิดน้อยมากแม้จะยังมีก็ตาม เพราะมันไม่ใช่กองทัพเรือซื้อแล้วแต่เป็นรัฐบาลจัดหา แล้วใครจะเอาอนาคตการเมืองตัวเองมาเสี่ยง

 

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 19/04/2013 20:06:07


ความคิดเห็นที่ 48


ขอโทษทีไม่ทันดูจขกท.กลับมาแล้ว

 

ฝากไปบอกคนนั้นให้ไปบอกคนนั้นด้วยนะครับ ถ้าเป็นจริงอย่างที่ว่า คุณเซ็นเมื่อไหร่พรคคฝ่่ายค้านมาแน่นอน และมันอาจพลิกผันสถานะการณ์ที่กำลังเป็นอยู่นี้ให้ตรงกันข้าม

 

ตอนนี้รัฐบาลกำลังต้องการ2ล้านล้านบาทเป็นจุดขาย คงไม่มาตายน้ำตื้นกับ3หมื่นล้านหรอก ผมเป็นคนอนุมัติจะทำตามที่กองทัพเรือต้องการอย่างเดียว อย่าทำพลาดเด็ดขาดคนจากแดนไกลกำชับมา

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 19/04/2013 20:11:46


ความคิดเห็นที่ 49


ผมคงขอยืนยันเหมือนเดิมว่าอย่างไงไทยเราก็ควรมองถึงความสามารถในการพึ่งพาตนเองเป็นลำดับแรกก่อน

ไม่มีประเทศใดพัฒนาเป็นประเทศพัฒนาแล้วได้หากยังต้องคอยซื้อสินค้าจากต่างประเทศอย่างเดียว
งบประมาณสร้างอู่ต่อเรือเราอาจจัดหาเองภายในประเทศได้ไม่ยาก แต่องค์ความรู้ต่างหากที่เป็นปัญหา
ถึงแม้อู่จะเป็นของจีนแต่คนงานก็เป็นของไทย ความรู้ที่ได้ตกกับคนไทยทั้งหมด(ถึงมันจะเป็นของจีนด้วยก็เถอะ)

ถ้าประเทศอื่นให้ข้อเสนอที่ดีทัดเทียมกับจีนก็น่าสนใจครับ แต่ถ้าให้มาแค่เรือก็ถือว่าแย่ เพราะถ้ามีปัญหาอะไรเราก็ต้องวิ่งไปขอความช่วยเหลือจากเขา ถ้าขัดแย้งกับชาติพันธมิตรเขาแล้วเขาหยุดสนับสนุนเราก็เตรียมเอาไปถมทะเลได้
อีกอย่างการพึ่งพาตนเองนอกจากมีประโยชน์ระยะยาวในด้านความมั่นคงแล้วยังช่วยสร้างทั้งงานทั้งเงินให้กับประเทศ ในขณะที่การสั่งซื้อ"สินค้าสำเร็จรูป"จากต่างประเทศล้วนๆมีแต่สร้างเสริมประเทศเขา ส่วนเราจนลงเรื่อยๆ ต้องพึ่งพาเขามากขึ้นเรื่อยๆ

ช่วงนี้เราไม่มีปัญหาทางทะเลกับต่างประเทศรุนแรงก็ควรรีบๆเน้นเพิ่มการพึ่งพาตนเองให้มากที่สุด พัฒนาพื้นฐานอุตสาหกรรมไว้เยอะๆในยามสงบ
เพราะเวลาเร่งด่วนขึ้นมาจะหมดโอกาสโดยสิ้นเชิง ทรัพยากรทั้งหมดคงต้องทุ่มไปกับสิ่งที่ใช้ได้เร็วที่สุดลำดับแรก(สินค้าสำเร็จรูปนั่นเอง)
"You can fight a war for a long time or you can make your nation strong. You can do both." - ซุนวู

ไม่ใช่ว่าผมโปรจีนนะ ผมไม่ค่อยชอบจีนด้วยซ้ำ แต่Packageนี้มันโอเคจริงๆเทียบกับของประเทศอื่นๆที่ไม่ได้ให้ประโยชน์อะไรระยะยาวกับเราเลย 

โดยคุณ MagicD เมื่อวันที่ 19/04/2013 20:35:44


ความคิดเห็นที่ 50


ใจเย็นครับ เรื่องซื้อเรือจีนหรือจีนเสนอมาแบบนี้หรือเปล่า เราชาว web ไม่มีใครรู้ครับ แต่ถ้ามีประเทศใดเสนอ option นี้จริงถือว่าน่าสนใจมากๆ ซึ่งอาจเป็นจีน เกาหลี สิงค์โปร์ ก็ได้ ซึ่งจะเลือกใครก็มีข้อพิจารณาหลายๆอย่าง เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  คุณภาพ  ประสิทธิภาพ ราคา ข้อแลกเลี่ยนอื่น เช่น การถ่ายทอดเทคโนโลยี หรือ สินค้าต่างตอบแทน และอีกอย่าง คนมีอำนาจตัดสินใจเค้าไม่ชำนาญด้านการทหารแต่ส่วนใหญ่จะชำนาญด้านธุรกิจ การค้า ฉะนั้นมุมมองอาจแตกต่างกับฝ่ายทหารก็ได้ครับ  ตรงนี้ถ้า ทร. เห็นว่าสเปครับไม่ได้จริงๆต้องออกแรงอธิบายให้ผู้มีอำนาจเข้าใจจริงๆ ก่อนตัดสินใจครับ

โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 19/04/2013 21:05:25


ความคิดเห็นที่ 51


กว่าจะ log in ได้
เรียนท่านแอดมินนก เว็บบอร์ด ครับ ไม่ใช่ เวปบอร์ด 
มีปัญหาการใช้ภาษาไทย สอบถามได้ที่ www.royin.go.th หรือ 1111 ครับ

โดยคุณ kittikun0846012158@hotmail.co.th เมื่อวันที่ 19/04/2013 21:33:38


ความคิดเห็นที่ 52


ฝีมือการต่อเรือของจีนก็ไม่ได้ขี้เหร่อะไรนะครับ อย่างลำนี้ขนาดอเมริกายังต้องมาจ้างจีนทำเลย ... (5555 ขำๆนะครับ อย่าเครียดกันมากมาย)

2012


โดยคุณ sanchai0045 เมื่อวันที่ 19/04/2013 21:43:59


ความคิดเห็นที่ 53


คาดว่าจะมีไอดีพลีชีพ1ไอดี 

เว็บนี้เป็นระบบ Res Judicata ...ห้ามอุทธรณ์  

โดยคุณ icy_CMU เมื่อวันที่ 19/04/2013 21:58:41


ความคิดเห็นที่ 54


ถ้าผมผิด ผมยอมรับผิดครับ เข้าใจนะครับ  แต่ถ้ามาป่วนละก้อผมไม่เอาไว้ครับ ขอบคุณครับที่ท้วงติงจะได้นำไปปรับปรุงแก้ไขในครั้งต่อไปครับ

โดยคุณ nok เมื่อวันที่ 19/04/2013 22:07:15


ความคิดเห็นที่ 55


ขอลงชื่อหน่อยงดออกความเห็น

โดยคุณ Akula เมื่อวันที่ 19/04/2013 22:11:04


ความคิดเห็นที่ 56


      สิงคโปร์  เริ่มโครงการทั้งสองโดยที่มีโครงสร้างพื้นฐานครบ   ทั้งอู่ต่อเรือที่ทันสมัย   เครื่องไม้เครื่องมือในอู่ต่อเรือพร้อม   แรงงานที่มีฝีมือพร้อม   ขาดแต่เทคโนโลยี 

   ส่วนมาเลย์มีโครงสร้างพื้นฐานแล้วระดับหนึ่ง  มีโรงต่อเรือแล้วนี่ครับ   แม้อู่แห้งและแผนการสร้างอู่ต่อเรือไม่ได้ยิ่งใหญ่ขนาดเวียตนาม  และเรา(ที่ทำอะไรก็ครึ่งๆกลางๆ)    แต่แรงงานมีฝีมือยังต้องพัฒนาต่อ

   ส่วนเราน่ะครับ   โครงสร้างพื้นฐานพวกเครื่องไม้เครื่องมือยังมีไม่ครบพอเลย   โรงต่อในร่มที่จำเป็นสำหรับการต่อเรือเพราะป้องกันเรื่องความชื้นจากฝนก็ยังไม่มีเลยด้วยซ้ำ   อู่และเครื่องไม้เครื่องมือก็อยู่ในสภาพครึ่งๆกลางๆ   เหมือนคุณมีโรงงานที่เครื่องมือและสถานที่ไม่เอื้ออำนวยเลยด้วยซ้ำ   แล้วจะไปพัฒนา OPV  ต่อยอดไป ฟรีเกต..... อืดเป้นเรือเกลือแน่ๆครับ   แม้ว่าแรงงานมีฝีมือจะพร้อมก็ตาม

 

   อันดับแรกก็น่าจะเป็นการได้เครื่องไม้เครื่องมือและโรงงานสถานที่ให้พร้อมก่อนไม่ใช่หรือครับ     และไอ้ดีลนี้รัฐบาลพีงพอใจ     ถ้าทร.ใช้มันเป็นเครื่องมือต่อรองเพื่อให้ได้มาซึ่งการสนับสนุนเงินทุนเพื่อจัดหาเครื่องไม้เครื่องมือและอู่แห้งขนาดใหญ่ที่มีความพร้อมสูง    มันก็น่าจะเอาไว้ก่อนใช่ไหม

  ถ้าดึงดันมากเกินไปแบบว่า   ฉันจะเอา  ฉันจะเอา  ฉันจะเอา  .....   คราวหน้าขอเรือดำน้ำ   อาจจะเงียบหายเข้ากลีบเมฆไปเลยอีกก็ได้   แถมจะขอขยายอู่ในภายภาคหน้า  ของงบเรือใหม่  สงสัยจะยากแบบโคตรๆต่อไป    ไม่ฉลาดเลยนะครับแบบนี้

 

 

เท่าที่อ่านจาก  TAF  เอาเป็นว่าข่าวลือเล่าอ้างจากกองทัพเรือ  คือ  จบที่เต็ง 1   เกาหลีใต้

จากกระทู้นี้  และท่าทีของรัฐบาลตั้งแต่กระทู้ปักหมุดข้างบนแล้ว   เล่าลือเล่าอ้างว่า  เต็ง 2 จากจีนจะถูกเซ็นอนุมัติโดยรัฐบาล

 

 

ที่เหลือเป็นการพูดจากันระหว่างรัฐบาลและกองทัพเรือ  จะต้องมีการเจรจาต่อรองกันเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่พึงพอใจและยอมรับได้กันทั้งสองฝ่ายครับ    ที่มันช้าก็คงเพราะแบบนี้     รอฟังผลดีกว่าครับ

 

   ทำใจสำหรับเรือเยอรมันเผื่อไว้ได้เลยนะครับ   คงแห้วค่อนข้างแน่นอน


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 19/04/2013 22:24:59


ความคิดเห็นที่ 57


จุดประสงค์ของADMINคือต้องการให้ใช้ถาษาไทยที่ถูกต้องแทนการใช้คำวิบัติโดยเจตนาครับ แต่ถ้าเกิดจากการผิดพลาดบางครั้งบางคราวก็ไม่ถือสาว่าความ เว้นแต่ว่าผิดพลาดจนเกิดการเข้าใจผิดเพียนจากผู้อ่านก็ติติงแนะนำกันไป แต่ถ้าพยายามล็อกอินเพื่อกวนADMIN โดยไม่ได้ต้องการออกความเห็นในกระทู้เลยเหมาะสมหรือไม่ครับ ขอเตือนก่อนนะครับ

โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 19/04/2013 22:38:05


ความคิดเห็นที่ 58


ผมต้องขออภัยแอดมินทั้ง 2 ท่านด้วยครับ ผมไม่ได้มีเจตนาจะก่อกวนอะไรทั้งสิ้นครับ ผมต้องออกตัวไว้ก่อนครับที่ผมไปแสดงความคิดเห็นมันเป็นความต้องการของคุณป้าของผม ซึ่งท่านเป็นครูภาษาไทยที่ค่อนข้างเคร่งครัด ป้าผมคงไม่ชอบเห็นภาษาไทยที่ผิด ซึงผมได้บอกป้าผมไปว่าบอร์ดนี้เกี่ยวกับการทหารไม่ใช่ภาษาไทยอาจจะมีข้อผิดพลาดบ้าง แต่ป้าของผมบอกว่าไปบอกหน่อยก็ยังดีผมเลยไปแสดงความคิดเห็นดังกล่าวตามที่ป้าผมบอก หากแอดมินเห็นว่าผมไปรบกวนผมก็ต้องขออภัยครับ ผมไล่อ่านแล้วทำให้ผมได้ทราบว่าความคิดเห็นของผมเสียบรรยากาศของกระทู้ รบกวนแอดมิน ลบความคิดเห็นหรือตามแต่เห็นสมควร
สุดท้ายที่บอกว่า กว่าจะ log in ได้เพราะผมลืมรหัสเก่าที่สมัครไว้นานมาแล้ว แต่ป้าผมอยากบอกให้ได้ผมจึงสมัครใหม่มา
ผมไม่ได้ตั้งใจจะรบกวนแอดมิน จริงๆต้องขออภัยด้วยครับ

โดยคุณ kittikun0846012158@hotmail.co.th เมื่อวันที่ 19/04/2013 23:29:02


ความคิดเห็นที่ 59


และผมขออภัยแทนคุณป้าของผมด้วยหากไม่เหมาะสม ขออภัยสมาชิกทุกท่านที่ทำให้เสียบรรยากาศกระทู้ ขออภัยท่านเจ้าของกระทู้ ด้วยครับ

โดยคุณ kittikun0846012158@hotmail.co.th เมื่อวันที่ 19/04/2013 23:35:35


ความคิดเห็นที่ 60


ระบบขับเคลื่อนพลังงานไฟฟ้า บทความของ กรมอู่ทหารเรือ คัดมาเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้อง

เยอรมัน ก็ยังเป็นของที่มีคุณภาพ เสมอ...ราคา ก็เป็นไปตามคุณภาพ ของเขา เท่านั้น...ไม่ได้ ลด แจก แถม จนไม่รู้ว่า จะเอา เรือฟริเกตสมรรถนะสูง หรือ จะเอาอู่เรือ...

ราคา อู่เรือ ไม่ได้ มากมาย...ถ้า กองทัพเรือ อยากได้ อู่เรือ ก็ สร้างอู่เรือ แล้ว พัฒนาเรือชั้น OPV แล้ว ขยายแบบ อย่างเป็น ขั้นตอน...ศึกษา วางแผนพัฒนา...

ผมถึงให้ความเห็นว่า...จะเอา อะไร..

1. เอา เรือฟริเกต สมรรถนะสูง

หรือ

2. เอา อู่เรือ (ที่มี จีน เป็นเจ้าของ)

 

 







โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 20/04/2013 07:12:32


ความคิดเห็นที่ 61


จากข้อมูล ที่มา หาให้อ่าน...(ไม่ได้ คิดเอาเอง)

นำมา ประมวลผล...

ทร. จึงควรจัดหา ของ มีคุณภาพ มา...ซึ่ง วัตถุประสงค์หลัก คือ การที่ไม่สามารถจัดหาเรือดำน้ำได้...จึงต้องการ เรือฟริเกตสมรรถนะสูง ที่สามารถปราบเรือดำน้ำ ได้ สำหรับอุดช่องโหว่ รู เบ้อเริ้ม ในขณะนี้...

นำมา ประยุกต์ พัฒนา ต่อยอดจาก เรือ OPV ชั้น กระบี่...ซึ่ง เทคโนโลยี่ การต่อเรือของ ไทย ไม่ได้ ด้อยกว่า ประเทศจีน อย่างไร...แนวคิด การออกแบบ ก็เหนือกว่า ประเทศจีน...เห็นได้จาก เรือชั้น นเรศวร...ส่งผลให้ จีน นำไปประยุกต์ เป็นแบบเรือต่าง ๆ...

กองทัพเรือ ก็ สร้าง อู่เรือเพิ่มเติม...หรือ รัฐ ให้การสนับสนุน ในเรื่อง BOI หรือ มาตรการภาษีต่าง ๆ ให้กับ อู่เรือภายในประเทศ...

แล้วจะสร้างความ ยั่งยืน การพึ่งพาตนเอง อยางเป็นระบบ...ไม่ใช่ การพึ่งพาตนเอง โดยมี ประเทศจีน เป็น เจ้าของอู่เรือ...

ซึ่ง สิงคโปร์ มาเลเซีย และ อินโดนีเซีย รวมถึง พม่า...ก็เป็นเจ้าของอู่เรือ ตัวเอง ทั้งนั้น...ลงทุน ด้วย ตัวเอง...พวกเขา เพียงแต่ ซื้อแบบ และถ้าเรือที่ไม่เคยมีการสร้างมาก่อน...ก็ให้ ประเทศเจ้าของแบบ สร้างเป็นตัวอย่างก่อน เพื่อขจัดปัญหาที่จะเกิดขึ้นให้เรียบร้อยก่อน...แล้ว จึง นำมาสร้างที่ อู่เรือ ของประเทศตัวเอง...ก็คือ ถ้า เรามีนโยบายการพึ่งพาตนเอง...ก็ต้องแยกให้ชัดเจน ไป...อย่า หลง ประเด็น หลัก...ว่า เราต้องการอะไร...ถึงมี โครงการ เรือฟริเกตสมรรถนะสูง ขึ้นมา...

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 20/04/2013 07:26:15


ความคิดเห็นที่ 62


เห็นด้วยกับคุณ juldas ครับ

เราต้องการเรือฟริเกตปราบเรือดำน้ำนิครับ

สุดท้ายถ้าได้เรือที่ไม่มีคุณสมบัติครบตามที่ ทร ต้องการ ก็ไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้ ทร ได้ครับ

แทนที่จะไปไล่ล่าเรือดำน้ำ กลับโดนเรือดำน้ำสอยนิ่มๆ

โดยคุณ doosongkla เมื่อวันที่ 20/04/2013 08:07:29


ความคิดเห็นที่ 63


ง่ายๆนะครับ ถ้าหากคนไทยยึดถือแนวทางหรือหลักการที่ถูกต้องอย่างที่ท่าน Juldas คิดและพยายามถ่ายทอดออกมาแล้วล่ะก็ ป่านนี้เราคงจะนั่งรอให้เยอรมันซ่อมเจ้า U-206A กันอย่างใจจดใจจ่อแล้วล่ะครับ ส่วนเรือ ตกก. แบบ รล.กระบี่ ผมมองว่าน่าเป็นห่วงอนาคตมากครับ ที่ผ่านมาความพยายามของคนในกองทัพที่จะพัฒนาการสร้างอาวุธเอง โดนคนในกองทัพนี่แหละสอยร่วงไม่เป็นท่ามานักต่อนักแล้ว เสียทัั้งเงิน เสียเวลา เสียของ ไปเปล่าๆ เหมือนบ.ฝึก Fantrainer เป็นต้น
โดยคุณ TWG เมื่อวันที่ 20/04/2013 08:41:49


ความคิดเห็นที่ 64


โยนหินถามทางแค่นั้นเองครับ อย่าได้ตกใจกัน ขอให้รอ ผลอย่างเป็นทางการ รวมถึงเหตุผลและเงื่อนไข จากทางกองทัพเรือดีกว่าครับ แต่ประเด็นเรื่องการสร้างอู่ต่อเรือใหม่ ยอมรับครับว่า ที่ผ่านมากองทัพเรือต้องการขยายอู่ต่อเรือเพิ่ม โดยเฉพาะอู่แห้งขนาดใหญ่ อีกทั้งหากหลายท่านจำได้ ในอดีต ประเทศไทยเคยมีแนวคิดเรื่องการจัดตั้งกองเรือสินค้า แต่โครงการนี้โดนพิษ ปี 49 ไปก่อน ดังนั้นอะไรๆมันก็เข้าทางข้อเสนอข้างบนครับ หากมันไม่ใช่เป็นเพียงข่าวปล่อยหวังผล 2 ทาง

โดยคุณ FatBoy เมื่อวันที่ 20/04/2013 08:43:31


ความคิดเห็นที่ 65


สำหรับความเห็นของผมต่อเรื่องนี้นะครับ เป็นความเห็นส่วนตัว

 

หากรัฐบาลต้องการให้อุตสาหกรรมการต่อเรือมีความก้าวหน้า รัฐบาลต้องใจถึงพอที่จะทำเรื่องนี้ให้ได้ครับ โดยการเปิดโครงการใหม่ หรือเพิ่มเงินขึ้นมา

 

งบประมาณสองล้านล้านบาทที่จะกู้มานั้น หากจะแบ่งเอามาเสริมอุตสาหกรรมการต่อเรือในประเทศเพื่อขยายอุตสาหกรรมแล้วล่ะก็ ไม่ใช่เงินมากมายเทียบผลที่ได้รับ

 

อู่ต่อเรือขนาดใหญ่ หรือโรงต่อเรือพร้อมเครนขนาดใหญ่ ราคาจากการคาดเดาของผมคงไม่น่าเกิน 1 หมื่นล้านบาท

 

ซึ่งในขณะเดียวกัน อุ่ต่อเรือนี้ทั้งใหม่และเก่า ก็จะทำให้การต่อเรือรบได้เองมีความพร้อมสูงขึ้น อย่างน้อยเรือชั้น กระบี่ ก็จะได้ต่อออกมาได้ครบตามความต้องการ เพราะดูแล้ว จากปัจจุบันนี้ ภาระงาน 4 ลำที่เหลืออยู่นั้น กับอุ่เรือแค่อุ่เดียว ดูยังไงก็ต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปีกว่าจะเข้าประจำการได้หมด ไม่ทันกินแน่่ ๆ 

 

ยังไงอู่ต่อเรือก็ต้องทำครับ เป็นโครงการที่สมควรเปิดใหม่ ไม่ใช่เอางบประมาณจากฟริเกตสมรรถนะสูงมาทำ 

 

ส่วนงบประมาณของฟริเกตสมรรถนะสุงนั้น ก็คัดเลือกแบบเรือพร้อมข้อเสนอที่ดีที่สุด โดยน่าจะเป็นการต่อจากต่างประเทศ 1 ลำ และต่อในประเทศอีก 1 ลำ ซึ่งควรทำ เพราะ 1 ลำที่ต่อในประเทศนั้น จะเป็นการสร้างประสบการณ์การต่อเรือฟริเกตให้เรา ซึ่งเราไม่เคยมี

 

และในอนาคต เมื่ออู่เรือเสร็จเรียบร้อย ขั้นต่อไป ก็คือการซื้อแบบเรือจากต่างประเทศมาต่อเองในประเทศแบบที่ทำกับชั้นกระบี่ ซึ่งผมว่า เราทำได้ครับ

โดยคุณ krubannok เมื่อวันที่ 20/04/2013 11:10:34


ความคิดเห็นที่ 66


เรียนคุณ krubannok ผมเพิ่มคะแนนความน่าเชื่อให้ครับ
โดยคุณ nok เมื่อวันที่ 20/04/2013 11:45:31


ความคิดเห็นที่ 67


เมื่อวานหน่วยงานของผมเข้าประชุมหารือกับอู่กรุงเทพ แต่เป็นเรื่องที่ดินไม่ได้เกี่ยวกับการต่อเรือนะครับ

คนของอู่กรุงเทพได้พูดออกมาช่วงหนึ่งว่า "กำลังดำเนินการจัดซื้ออู่ลอยใหม่" ผมจึงคาดเดาว่าเรื่องอู่แห้ง

ทางอู่กรุงเทพคงไม่ได้สร้างเอง ถ้าจะเกิดคงเป็นของกองทัพเรือดำเนินการ แต่อู่กรุงเทพน่าจะจัดซื้ออู่ลอย

ที่มีขนาดใหญ่กว่าอู่ลอยเดิมที่มี ผมก็หวังว่าถ้าของใหม่นี้มันขนาดใหญ่พอที่จะต่อเรือฟรีเกตระวาง 3000+ได้

คงจะดีมาก

โดยคุณ Piyokub เมื่อวันที่ 20/04/2013 14:58:41


ความคิดเห็นที่ 68


ปกติ ผมเป็นแฟนคลับของท่าน  judas  มาตลอด ได้ความรู้เรื่องเรือรบ

จากท่าน judas มากมาย มีข้อมูลเพียบ

 

... แต่ ในกระทู้นี้ เป็นกระทู้แรก ที่ผมมีความเห็นตรงข้ามกับท่าน judas

ผมอ่านๆหลายๆความเห็นแล้ว  ทั้งท่าน neo, rayong , krubannok

มีความเห็นตรงกับในใจผม คือ ออฟเซ็ต ที่จีนเสนอมา มันยั่วยวนจนปฏิเสธไม่ลง

 

แต่ เราต้องระวัง ตามที่ท่าน judas กล่าว เรื่องความสัมพันธ์กับอเมริกา

หากหวยไปออกที่จีนจริงๆ อเมริกาคงไม่ค่อยสบอารมณ์ซักเท่าไหร่

ยังไง เราก็ต้องดำเนินการให้ดูดีที่สุด อย่าให้กระทบความสัมพันธ์กับอเมริกา

 

.. โดยส่วนตัว คำถามที่ว่า " จะเอาเรือ หรือ จะเอาอู่ต่อเรือ "

ผมก็สะอึกเหมือนกัน .. แต่ ขอกลั้นใจตอบเบาๆว่า " ผมเอาอู่ครับ "

โดยคุณ soda77 เมื่อวันที่ 20/04/2013 17:00:31


ความคิดเห็นที่ 69


แต่สุดท้ายก็ต้องกลับมาดูที่ผมบอกไว้แต่แรก ยังเป็นแค่ข่าวลือ,ข่าวปล่อยครับ ทุกอย่างจะเป็นจริงต่อเมื่อมีการอนุมัติจากคณะ รมต.อย่างเป็นทางการแล้วเท่านั้นครับ
โดยคุณ nok เมื่อวันที่ 20/04/2013 17:08:05


ความคิดเห็นที่ 70


เฮ้อ ถ้าจะเอาอู่ก็ไม่ต้องมาผูกกับงบฟรีเกต ง่ายๆเเค่นั้นเเหละครับ เปลี่ยนเป็นงบอู่30000ล้าน เเล้ว การป้องกันภัยทางอากาศกับใต้น้ำก็โล่งต่อไปอีก 5ปีรองบหน้า

โดยคุณ parachutes เมื่อวันที่ 20/04/2013 17:48:00


ความคิดเห็นที่ 71


ความเห็นส่วนตัว    อยากได้เรือที่ปราบเรือดำน้ำจริงๆครับ จะได้มาอุดช่องโหว่ของเรือดำน้ำก่อน  อุตสาหกรรมต่อเรือให้เป็นอีกส่วนครับ

โดยคุณ qwertyuiop เมื่อวันที่ 20/04/2013 18:11:14


ความคิดเห็นที่ 72


ก็เป็น แสดงความเห็น ดักคอ กันไว้ก่อนครับ...ท่าน nok...

ถ้า สมมติ ดีล เรือฟริเกตสมรรถนะสูง ผู้ชนะ...ชนะ เพราะ ออฟชั่น...เป็นหลัก...โดยไม่ได้ ชนะ  จากแบบเรือ และคุณสมบัติ เป็นหลัก...โดย ออฟชั่น ควรเป็นแค่ส่วนเสริม แค่นั้น...

จะต้องมีข้อมูล โต้แย้ง เหตุ ผล กัน...ว่า ได้เพราะอะไร...

ซึ่ง ผมก็ยังสงสัยว่า...การมี อู่เรือ สัญชาติ จีน...เนี่ย...มันดียังไง ? ถ้า เรือฟริเกต จีน จะชนะด้วยเหตุผล นี้...

แต่ถ้า ดีล เรือฟริเกต จีน ชนะ เพราะคุณสมบัติของเรือ จริง ๆ ที่เมื่อเทียบกับแบบเรือชาคิอื่น ๆ ก็คงเป็นอีกเรื่องหนึ่ง...แล้วส่วน ออฟชั่น เป็นเพียง ส่วนเสริม เท่านั้น...ถ้าแบบเรือ ฟริเกตจีน มีคุณสมบัติ ใกล้เคียงกับอีกแบบเรือหนึ่ง แล้วคะแนนเรือ มันก้ำกึ่งกัน...ตัว ออฟชั่น ถึงจะเป็นส่วนเสริมที่จะมา ตัดสินใจ...ผมถึงให้ ความเห็นไว้ครับว่า...ตกลง เราคัดเลือกแบบเรือฟริเกตสมรรถนะสูง ใช่หรือไม่...

แล้ว เรื่อง อู่เรือ โดยหลัก มันควรจะเป็น อู่เรือ สัญชาติไทย ที่ลงทุน โดยภาครัฐ...หรือ เอกชน ไทย...ซึ่ง ปัจจุบัน มันก็ไม่ได้ลำบาก ถ้า ประเทศไทย ต้องการสร้างเรือฟริเกต เอง...มันมีหลายวิธี ทั้ง สร้างอู่เรือใหม่ กับ การส่งเสริม อู่เรือเอกชน ที่มีทั้งอยู่ใน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ รัฐวิสาหกิจ...ไม่จำเป็น ต้องใช้ ดีล การจัดหาอาวุธ ซึ่งเป็นระบบอาวุธสำคัญ ในการปราบเรือดำน้ำ ที่จัดหามาไว้เพื่อใช้ ทดแทน โครงการ เรือดำน้ำ ในขณะนี้...โดยไม่ควรจะละทิ้ง พิจารณาจากคุณสมบัติ ที่สำคัญนี้ออกไป...

และเมื่อ พิจารณาถึง ที่่ว่า เราต้องสนับสนุน โครงการเรือ OPV ก่อน เรือฟริเกต...เพราะ ยุทธศาสตร์ การจัดหาเรือรบของ ทร. ไทย มัน จบ จำนวน เรือฟริเกตใหม่ ที่แค่ 2 ลำ เท่านั้น...เสร็จจากโครงการนี้ มันจะต่อด้วย โครงการเรือดำน้ำ...มันไม่ได้มี จำนวนเรือฟริเกตใหม่ ที่จะมากไปกว่านี้แล้ว ครับ...

ดังนั้น โครงการต่อเรือ OPV มันจึงมีความสำคัญกว่า โครงการต่อเรือฟริเกต ในการสนับสนุนอุตสาหกรรมการต่อเรือรบของไทย ในขณะนี้ ครับ...เพราะมันยังมี จำนวนเรือ ที่ยังมีคววมต้องการอยู่อีก 3 ลำ เป็นอย่างน้อย...หรือ อาจจะถึง 5 ลำ ในอนาคต ถ้า โครงการมีความล่าช้า ด้วยสาเหตุ การทะยอยปลดประจำการของเรือฟริเกตที่ปฏิบัติหน้าที่ ตรวจการณ์ไกลฝั่ง ในปัจจุบัน..กองเรือรบไทย ควรจะเริ่มจากจุดนี้ แล้วขยายแบบออกไป เป็นเรือฟริเกต เมื่อ โครงการจัดหา เรือดำน้ำ เสร็จสิ้น...แล้วมีความต้องการ เรือฟริเกต เพิ่มขึ้น...

ซึ่ง โครงการ OPV ที่ปัจจุบัน ดูเหมือนจะช้า แต่มันเป็นเรือลำแรก ที่ต้องใช้เวลามากอยู่แล้วเป็นปกติ...แต่หลังจากนี้ มันจะสามารถผลิตได้เร็วขึ้น...และเรือ OPV นี้ ยังมีตลาดที่มีความต้องการอยู่หลายประเทศ...และ ร.ล.กระบี่ ก็ไม่ได้ใช้เวลามากมายอะไร เวลาการก่อสร้างเรือ ก็อยู่ประมาณ 3 ปี เป็นระยะเวลาปกติ...ซึ่งเป็นเรือลำแรก...ถ้า รัฐ จะสนับสนุนอุตสาหกรรมการต่อเรือจริง ๆ...ก็เริ่มจาก สนับสนุนการจัดหา OPV ให้ครบจำนวน โดยใช้อู่เรือภายในประเทศ ให้รองรับปริมาณการผลิตให้ได้ จากการสนับสนุนของภาครัฐ...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 20/04/2013 18:25:26


ความคิดเห็นที่ 73


มีใครพอจะช่วยผลักดันท่าน Juldas ให้เข้าไปเป็นที่ปรึกษา รมต.กลาโหม หรือ รองนายกฝ่ายความมั่นคง ได้บ้างไหมครับ เพราะสุดท้ายแล้วเรื่องทั้งหมดมันไม่ได้จบที่ทร.อยู่ดี มันขึ้นอยู่กับพวกที่นั่งประชุมลงคะแนนกันในที่ประชุมครม. อ้อ..หรือไม่ก็ลองพาไปพบคนจากแดนไกลที่สามารถสไกป์มาสั่งการครม.ได้โดยตรง เลยดีกว่าครับ

โดยคุณ TWG เมื่อวันที่ 20/04/2013 18:40:30


ความคิดเห็นที่ 74


ก่อนอื่นผมขอขอบคุณ ท่าน Jul ครับ  ที่เอาความรู้ด้านเครื่องยนต์ไฟฟ้ามาชี้แจง ในที่นี้ครับ

ความจริงการใช้เครื่องยนต์ไฟฟ้าแบบนี้มีใช้อยู่ในประเทศไทยมา 40 ปี แล้วครับ

ก็คือ หัวรถจักร "ดีเซลไฟฟ้า" ของการรถไฟไงครับ  เรามีตั้งหลายสิบหัวจักรครับ

กล่าวคือ เครื่องจักรดีเซลใหญ่มุ่งใช้ในการผลิตไฟฟ้าเพื่อป้อนให้เครื่องยนต์ไฟฟ้าที่ใช้เป็นตัวกำลัง

แทนที่จะนำไปใช้ฉุดกำลังให้หัวจักรโดยตรง  ที่ทำอย่างนี้ก็เพื่อความประหยัดปริมาณการใช้น้ำมันดีเซลลง

ซึ่งประหยัดลงได้ประมาณ 25% แต่ราคาหัวจักรแบบนี้ก็ต้องแพงกว่า แบบส่งกำลังไปใช้โดยตรง

แต่ผลดีก็คือมันกลับดูแลบำรุงรักษาได้ง่ายกว่า แต่ในหัวรถจักรนั้นน้ำหนักมันกลับมากกว่าในเรือ..ครับ

แล้ว...ยังจะไม่ให้ความสนใจมันได้ยังไง ครับ ในยุกค์ที่ต้องการความประหยัดอย่างนี้

 

โดยคุณ airy เมื่อวันที่ 20/04/2013 18:54:05


ความคิดเห็นที่ 75


ในฐานะที่ผม ทำงานในภาคอุตสาหกรรมมานาน (ขอคุยหน่อย ไม่ว่ากันนะ)

การสร้างอู่ต่อเรือไม่ได้มีปัญหาอะไรที่ไทยจะทำเองไม่ได้  ปัญหามันอยู่ที่มีอู่แล้วไม่มีคนมาจ้างต่อเรือนี่ซิครับ

มันคือปัญหาที่แท้จริง  ปัจจุบันไทยมีอู่ต่อเรือภาคเอกชน ที่สามารถต่อเรือที่ทันสมันอยู่ 6 แห่ง ครับ

แห่งที่เล็กที่สุดก็คือ บริษัท อู่กรุงเทพ วิสาหกิจของกองทัพเรือนี่แหละครับ ปัญหาของทุกแห่งคือ

มีลูกค้าจ้างต่อเรือน้อย งานส่วนใหญ่เป็นการรับจ้างซ่อมเรือเป็นส่วนใหญ่ครับ การต่อเรือมีไม่ถึง 20%

ด้วยซ้ำ เมื่อ 2 ปีก่อน อู่ "UNITHAI" ได้ว่าจ้างจีนต่ออู่ลอยชุดใหม่มูลค่า 2,600 ล้านบาท

คาดว่าคงเสร็จแล้วและคงลากมาถึงเมืองไทยแล้ว(ไม่แน่ใจนักว่าเสร็จแล้วยัง)อู่ลอยที่ยาวเกือบ 300 เมตรขนาดนี้

สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการต่อเรือรบได้พร้อมกันตั้งหลายลำเลยครับ  ไม่ต้องพะวงเรืออู่ต่อเรือมากนักครับ

ปัญหาคือ  ผมกลัวมันจะว่างงานเสียเปล่า ครับ...

โดยคุณ airy เมื่อวันที่ 20/04/2013 19:22:28


ความคิดเห็นที่ 76


ทุกคนก็รู้อยู่เเล้ว ว่าอำนาจสุดท้ายคือ ครม เเต่ก็เเลกเปลี่ยนเเนวคิดกันเท่านั้น ถ้าคิดว่า สุดท้ายไม่ใช่เราตัดสิน เเล้วจะเงียบรอดูผล

อย่างเดียวหรือ ?

โดยคุณ parachutes เมื่อวันที่ 20/04/2013 19:22:59


ความคิดเห็นที่ 77


เห็นดีด้วยกับความเห็นของท่าน Juldas และท่าน Airy ครับ

โดยคุณ เสือใหญ่ เมื่อวันที่ 20/04/2013 19:59:14


ความคิดเห็นที่ 78


ผมว่าจริงๆแล้ว ก็อย่างหลายๆความเห็นท่านว่านะครับ ถ้าเป็นข้อเสนอจริงๆของจีน แล้ว ทร.ตกลงรับดีลนี้จริงๆ ผมว่า มั่วได้ที่เลย บนพื้นฐานความคิดผม คือ ต้องการให้ผึ่งพาตัวเอง แน่นอน ครับ แต่เราควรแยกเยอะให้ออก ไม่มั่วกันเกินไป จนหาดีไม่ได้เลยสักอย่าง  อยากต่อเรือรู้ว่าอู่ไม่ดีไม่พอ ของบ ทำอู่ใหม่ ซิครับ ไม่ใช่ปนกันมั่วไปหมด แล้วมาบอกอยากเรียนรู้เทคโนโลยีชั้นสูงดีๆ  ผมถามหน่อยว่าเรือจีนนี้เทคโนชั้นสูงหรอ ครับ ต้องแยกแยะให้ออกนะครับ แน่นอนซื้อเรือชั้นเทพ มาใช้ นั้นแหละคุณถึงจะเรียนรู้การสร้างเรือขั้นเทพได้ ปล.เอารถเบนซ์มาแกะ กับ เอา มู่หลิง มาแกะ เรียนรู้ อันไหน จะทำให้เราพัฒนาการสร้างของดีๆกว่ากัน +1 ป๋าจู ท่านครูบ้านนอกนะครับ 

 

 

 

โดยคุณ SeriesVll เมื่อวันที่ 20/04/2013 22:02:26


ความคิดเห็นที่ 79


ผมคิดว่าการเข้ามาตั้งอู่ของจีนในดีลนี้(ถ้าเลือกจีนนะครับ) อาจจะเป็นหายนะสำหรับธุรกิจต่อเรือไทยมากกว่าได้นะครับ ลองคิดดูให้ดีทุกวันนี้อู่ต่อเรือก็ไม่ได้มีงานล้น เพราะมืการต่อเรือใหม่แค่ 20% อบ่างที่คุณAiryบอก แล้วอู่จีนซึ่งมีความสามารถ(พิเศษ)เข้ามาเป็นคู่แข่งอีก โอกาสในการพัฒนาการต่อเรือเพื่อพึ่งพาตนเองของทร.จะยิ่งลิบหรี่ลง เพราะเชื่อว่างานน่าจะถูกโยกย้ายมาลงอู่จีนแน่นอน ของฟรีไม่มีในโลกครับ ทุกอย่างต้องแลก แต่ถ้าแลกแล้วเราจะได้หรือเสียมากกว่ากัน

โดยคุณ RAF เมื่อวันที่ 20/04/2013 22:43:52


ความคิดเห็นที่ 80


เปลี่ยนรูปประจำตัวเถอะครับจะได้ไม่เป็นภาระของคนอ่าน

โดยคุณ Akula เมื่อวันที่ 20/04/2013 22:57:28


ความคิดเห็นที่ 81


ด้วยความเคารพนะครับ เรื่องรูปนี้เข้าไปแก้ยังไงครับ จะว่าโง่ก็ยอมรับนะครับ หรือยังไงรบกวน ท่านผู้ดูแลระบบลบ รูปประจำตัวผมออกก็ได้ครับ จะได้ไม่รบกวนเพื่อนๆ ท่านอื่นๆ  ขอบคุณครับผม

โดยคุณ SeriesVll เมื่อวันที่ 20/04/2013 23:20:40


ความคิดเห็นที่ 82


ผมอยากให้เรือฟรีเกตไฮเอนลำแรก  ต่อขึ้นในประเทศไทยครับ

ถ้า ท.ร. ซื้อ LCS ขนาด 127 เมตร จะมีโอกาสที่จะต่อขึ้นในประเทศไทยในเปอร์เซนต์ที่สูงนะ...ผมคิดเอาเอง

ลองอ่านข่าวนี้จากหนังสือพิมพ์บางกอกโพสดูซิครับ รู้สึกว่ามีการขยับตัวของผู้ต่อเรือ LCS ลำแรก บริษัท Autral

ในเมืองไทยเราบ้างแล้ว....(เกี่ยวกันหรือเปล่า นี่... แต่อยากให้เกี่ยว นะ....ฝันๆๆๆๆ)

Unithai joins hands with Australian firm

Published: 2 Apr 2013 at 03.04Newspaper section: Business

The Thai shipyard operator Unithai has formed a partnership with Austal, the Australia-based vessel specialist focusing on defence and commercial vessels operating in Asia-Pacific.

Unithai Shipyard and Engineering will share expertise and provide ship repair services for defence and commercial vessels in the region.

The two companies signed a memorandum of understanding (MoU) for the cooperation yesterday.

Unithai will be Austals preferred repair shipyard for US-owned commercial and defence vessels, such as the US Navys littoral combat ships (LCS) and joint high-speed vessels (JHSV) that require repairs when operating near Thailand.

Austal is currently contracted to build ten 103-metre JHSVs under a US$1.6-billion contract and six 127-metre LCSs, four of which are part of a 10-ship, $3.5-billion contract. Austal has already delivered one LCS and one JHSV.

``We recognise that Unithai Shipyard is one of the largest integrated ship repair facilities in Southeast Asia, with a world-class reputation based on its high standards covering health, safety and the environment, and timely delivery,\ said Charles McGill, Austals chief operating officer for service and systems.

Unithai Shipyard managing director Teerapon Udomkanjananan said the MoU is a milestone allowing Unithai to step forward and exchange experience and expertise with a defence prime contractor and shipbuilder. It is also vital to promote the shipyard industry in Thailand.

http://www.bangkokpost.com/business/...ustralian-firm

 

โดยคุณ airy เมื่อวันที่ 21/04/2013 00:35:56


ความคิดเห็นที่ 83


ผมว่าเพื่อนๆหลายท่านคงมีความเข้าในคลาดเคลื่อนในข้อเสนอของจีนต่อรัฐบาลไทยในเรื่องเรือฟรีเกตคราวนี้

  1.  เรือที่ต่อจากจีนมีคุณภาพไม่น่าประทับใจ  ไม่ดี    
  2. ระบบตรวจจับ  ระบบอาวุธเข้ากันไม่ได้    คุณภาพไว้ใจไม่ได้

จากข้อมูลที่เจ้าของกระทู้ลงเอาไว้   และกระทู้ปักหมุดข้างบน     ที่มาจากสำนักข่าวภายในประเทศและต่างประเทศ    บอกเราว่า

  1.  เรือทั้ง  3  จะต่อภายในประเทศ        ดังนั้นปัญหาเรื่องคุณภาพการต่อเรือของจีนจึงตัดไป   เพราะต่อในประเทศ ไม่ได้ต่อที่จีน      ถ้างานต่อมันไม่ดี   ก็ต้องเกิดจากเราต่อมันออกมาไม่ดีเองครับ 
  2. ทางฝ่ายไทยจะเป็นฝ่ายโมดิฟายด์เรือให้เหมาะสมตรงกับความต้องการของเรา         ถ้ายึดโครงการ   F-25T  หรือ  เรือชั้นนเรศวรแล้ว   ซึ่งเรือชั้นนี้โมดิฟายด์มาจากเรือ  Type 053  หรือ เรือเจียงหู     จะเห็นว่าหน้าตาและประสิทธิภาพมันต่างกันมาก       ดังนั้น  F-40T   เมื่อทางฝ่ายไทยทำการโมดิฟายด์   หน้าตาและประสิทธิภาพย่อมแตกต่างจากแบบเรือ  Type-054 / 054A    
  3. ระบบอาวุธและระบบตรวจจับ      ถ้ายึดจากโครงการ  F-25T  และข้อกำหนดเรื่องการสื่อสารและส่งถ่ายข้อมูลกับ Jas-39     AEW&C    ดังนั้นคงไม่มีการใช้อาวุธจีนในเรือ  F-40T  แน่นอน     เพราะระบบสื่อสารและเชื่อมโยงข้อมูลมันเข้ากันไม่ได้ตามขอกำหนดความต้องการของ ทร. ครับ

 พูดง่ายๆ      ไอ้ข้อที่ว่า  เรือจีนห่วย   อาวุธจีนไม่ดี   ทร. ไม่ต้องซื้อมาใช้      ผมแจกแจงเรียบร้อยแล้วนะครับ     เรือต่อในประเทศ     โมดิฟายด์โดยฝ่ายไทย (น่าจะทำให้แบบเรือดีขึ้นมากทีเดียว)    และระบบอาวุธตะวันตก   ชัดเจนนะครับ


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 21/04/2013 03:11:26


ความคิดเห็นที่ 84


   

      ส่วนข้อโต้แย้งที่ว่าเรือที่ได้จากแบบเรือของจีนข้างต้นจะเป็นแค่เรือฟรีเกตธรรมดา     อันนี้คงต้องขอแจงในบางเรื่องก่อนเ

เรือฟรีเกตชุดนี้ ตั้งโครงการว่าเรือฟรีเกตสมรรถนะสูง       ดังนั้นในทั้ง  TAF  TFC  ก็เลยพูดกันถึงระบบตรวจจับเจ๋งๆ   ระบบอาวุธต่อต้านอากาศยานแบบหรูๆอย่าง  SM-2  ASTER 30   ลูกยาว     ระบบ อำนวยการรบดีๆ แพงๆ      

แต่ข้อกำหนดอันหนึ่งของการจัดหาคราวนี้   

1  เน้นงานต่อต้านเรือดำน้ำ  ASW   ดังนั้นระบบตรวจจับเรือดำน้ำ  และระบบอาวุธต่อต้านเรือดำน้ำคงต้องได้รับการพิจารณาก่อน

2   ต้องสื่อสารและเชื่อมต่อข้อมูลกันได้กับ  JAS-39   และ AEW&C  กับกองทัพอากาศได้       ดังนั้นระบบอำนวยการรบมีแนวโน้มสูงที่จะเป็นของ  SAAB  มาเต็งหนึ่ง     และของ  Thales  น่าจะรองลงมา

          จากข้อกำหนดนี้    เดาได้ว่าระบบอำนวยการรบ  9LV mk-4  ควรจะต้องมาเต็งหนึ่งก่อน      เมื่อระบบนี้มา   ระบบเรด้าร์เฟสอะเรย์ทาวเวอร์ดีๆแบบ   I-MAST-500    SPY-1 F/K   APAR  ที่สามารถใช้ได้กับ SM-2   หรือแม้แต่เรด้าร์แบบ  Heracle  สำหรับ  ASTER-15/30  ไม่น่าจะมา       แต่โอกาสจะเป็น  CEA-mount / CEA-FAR   และหรือ  sea  giraffe   น่าจะมีโอกาส    เพราะใช้งานโดยตรงกับ  9LV mk-4  ได้   

      แต่หลายท่านในนี้คาดการณ์เองว่าทร.คงไม่เอาลูกยาวอย่าง  SM-2 และ ASTER-30  มาใช้งาน      และบางท่านของ  TFCที่เป็นเจ้าหน้าที่ ทร.  ก็บอกเองว่า ทร. คงไม่มีการจัดหา SM-2  หรืออาวุธพวกลูกยาวหรูๆ       ดังนั้นคงไม่พ้นได้แค่  ESSM

  ทั้ง   sea giraffe   ทั้ง  CEA-FAR   ก็รองรับ  ESSM   เท่านั้น     แต่มีแนวโน้มว่าวันข้างหน้า  CEA-FAR  อาจจะรองรับ  SM-2  ได้            หลายท่านใน TAF จึงเชียร์   เพราะเป็นเรด้าร์  Active เฟสอะเรย์    หรือ  AESA   ในขณะที่  SPY-1 D?F?K   เป็น passive เฟสอะเรย์ หรือ PESA        แต่ราคาที่แจงกันใน TAF นั้นสูงมากกว่า 80 ล้านเหรียญ  หรือกว่า 2000 ล้าน   

   ด้วยราคาขนาดนั้น   และรองรับแค่  ESSM   ผมว่าทร. ก็คงไม่จัดหามัน   อย่างดีก็ไม่น่าจะพ้น  sea giraffe    CEROS-200  เป็นแน่แท้    พูดง่ายๆระบบต่อต้านอากาศยานก็ไม่น่าจะต่างกับเรือชั้นนเรศวรมากนัก

 

   แต่คงต่างกันมากที่ระบบต่อต้านเรือดำน้ำ    ผมจำชื่อระบบไม่ได้   จะเป็นของเยอรมัน   มีทั้งโซน่าร์หัวเรือ   โซน่าร์ลากท้าย   ASW suit  ที่ทำการเชื่อมโยงข้อมูลกับ ฮ. ที่ติดตั้งระบบ  LAMP-3  ได้    ซึ่งจัดว่าหรูมากทีเดียว      

 และอาจจะมีการติดตั้งระบบจรวดต่อต้านเรือดำน้ำอย่าง  ASROC    K-ASROC   ซึ่งระบบนี้ก็ยังไม่เคยมีใครเชื่อมต่อมันกับ  9LV mk-4  มาก่อน     แต่เนื่องจากเป็นของตะวันตกด้วยกัน   จึงน่าจะสามารถทำการเชื่อมต่อกันได้ไม่ยากเกินไป     แต่ก็มีระบบ  MILAS   จากยุโรป    ที่น่าจะไม่มีปัญหากับ  9LV mk-4     ดังนั้นผมจึงเชื่อว่าเงินไม่น้อยคงจะถมส่วนนี้

   ส่วน  CIWS  ก็คงไม่พ้น  ฟาลังค์   โกลคีปเปอร์   sea-RAM

 

   ดังนั้น   เรือฟรีเกตสมรรถนะสูงที่ว่า  น่าจะไม่ประสิทธิภาพไม่หนีไปไกลจากนี้   จริงๆเงิน  13800-15000 ล้านนี่มันไม่ได้เยอะอะไรมากเลย  ไม่พอเลยด้วยซ้ำสำหรับเรือฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศ


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 21/04/2013 03:45:53


ความคิดเห็นที่ 85


ต่อครับ

ดังนั้น   ถ้าเรือ  F-40T  จะได้จากการโมดิฟายด์เรือ type-054 / 054A  แล้วล่ะก็      เรือจะมีประสิทธิภาพดีแค่ไหนก็คงขึ้นอยู่กับความสามารถในการออกแบบของเจ้าหน้าทร.ไทยของเราเอง      แต่ก็คงต้องออกแบบให้รองรับระบบแบบที่กล่าวไปเมื่อกี้ให้ได้ก่อน   เช่น  

   ต้องติดตั้ง  9LV mk-4  sea giraffe   CEROS-200  เหมือนๆกัน       ระบบสำหรับการต่อต้านเรือดำน้ำอาจจะไม่ได้ถึงระดับหรูๆแบบของเยอรมัน     แต่ขอของดีแบบของ Thales  ก็ไม่เลวแล้วครับ      ส่วนจรวดต่อต้านเรือดำน้ำอาจจะยังไม่จัดหามาใช้งาน    แต่อาจจะมีการเตรียมพื้นที่เอาไว้เป็นต้น    เพื่อให้ราคาต่ำลง

   ส่วน  CIWS   ก็อาจจะติดตั้ง ปืนหลักของเรือเป็น  STRALES  หรือรุ่นใหม่สุดของ   super rapid  ที่สามารถเป็น CIWS  ได้ด้วย    และมีลูก  DART สำหรับภารกิจ CIWS      และอาจจะเลือก ฟาลังก์  หรือ  STRALES  ไว้ที่หลังคาโรงเก็บฮ.ได้   ส่วนโกลคีปเปอร์นั้นราคาแพงกว่าเยอะ  คงไม่ไหว

  ส่วนการจะเพิ่มเติมประสิทธิภาพในภายหลังให้มันเยี่ยมสมกับคำว่าเรือฟรีเกตสมรรถนะสูง    ก็คงต้องการการออกแบบเผื่อพื้นที่เอาไว้ในอนาคต   เช่น   อาจะมีการติดตั้ง  VLS-mk-41  8-16 cell    แต่เตรียมพื้นที่ไว้   32 cell    แท่นยิงจรวดต่อต้านเรือ  เผื่อเอาไว้ 16 ท่อยิง   รองรับทั้ง  harpoon    RBS-15    MILAS    แต่ติดตั้งมาก่อน 8  ท่อยิง    เสาเรด้าร์  ออกแบบเผื่อเอาไว้รองรับ   CEA-FAR  หรือ เฟสอะเรย์ทาวเวอร์หรูๆได้     เป็นต้นครับ 

  ส่วนที่อาจจะด้อยกว่ากัน  อาจจะเป็นที่ระบบขับเคลื่อน     ที่เรือหรูอาจจะได้ ทั้งเครื่องยนต์ดีเซล+ แก๊สเทอร์ไบท์ (CODAG)   และอาจจะได้หรูถึง    CODLAG  เลยก็ได้       แต่ F-40T  อาจจะได้มาแค่เครื่องยนต์ดีเซลทั้งหมด    เพื่อให้ราคาต่ำลง    อย่างเก่งก็   CODAG     แต่อาจจะออกแบบเผื่อสำหรับกรณีการ upgrade  เครื่องยนต์ในภายหลังได้

    ส่วนลูกจรวดแบบต่างๆ  คงต้องทยอยจัดหาในภายหลัง    เพื่อให้จัดซื้อได้ 3 ลำ

 

   ดังนั้น     ถ้ามีการออกแบบเผื่อไว้รองรับการ upgrade  ในภายภาคหน้า     เมื่อต้องการให้มันมีทั้งลูกยาวอย่าง  SM-2    หรือ จรวดต่อต้านเรือดำน้ำอบ่าง  MILAS    ASROC  หรือ   RBS-15 mk-4  สำหรับภารกิจ  land attck  ก็สามารถำมาติดตั้งได้ทันทีแบบ  plug and fight      รวมถึงระบบเรด้าร์   ก็สามารถถอดของเก่าออกแล้วนำเรด้าร์หรู  อย่าง  CEA-FAR    SMART-L  มาติดตั้งได้ทันทีเป็นต้น     

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 21/04/2013 04:21:50


ความคิดเห็นที่ 86


   สำหรับ  VLS mk-41 รุ่น 6.7 เมตรนั้น   สามารถรองรับการติดตั้งระบบจรวดอื่นๆนอกเหนือจาก  ASROC  ESSM ก็จะมี

-  RAM  block-2   

   ขยายระยะยิงขึ้น 2 เท่า น่าจะอยู่ประมาณ 18 กม.   ต่อต้านได้ทั้งจรวดต่อตีเรือและอากาศยาน ตามโปรแกรม HAS ที่ทางเยอรมันผู้ร่วมพัฒนากำหนด   ก็น่าจะเทียบเท่า VL-MICA-M

-  NULKA  ระบบ decoy

-  PAM (NLOS-LS)   

 เป็นต่อตีเป้าพื้นดิน   เทียบได้กับ poly frame  ของยุโรป

 

  จะเห็นว่า   ถ้า F-40T  มีการติดตั้งระบบตรวจจับและระบบอาวุธจากตะวันตก   ประสิทธิภาพมันก็สูงกว่า  Type-054C  แล้วนะครับ    และเมื่อมีการ Upgrade  เต็มที่ (คงต้องถมเงินไปอีก 5000-6000 ล้านบาท)   ก็น่าจะมีประสิทธิภาพสูงกว่า type-054D  ที่จีนร่างแบบเอาไว้ให้เป็นรุ่นป้องกันภัยทางอากาศ

 

  สรุป  ผมว่าคนของ ทร.  สามารถโมดิฟายด์แบบของมันให้ดีได้พอๆกับ KDX-2 ย่อส่วนครับ    และเทียบเท่า KDX-2A  เมื่อมีการ upgrade  เต็มที่ได้ 





โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 21/04/2013 04:32:54


ความคิดเห็นที่ 87


    ดังนั้นการกล่าวว่า  F-40T  มันจะห่วยขนาดนั้น  ก็เกินไปนะครับ   เป็นการอคติจนเกินไปนะครับ       เพราะผมเชื่อมือคนของทร.ว่าจะโมดิฟายด์มันได้ดีกว่าต้นฉบับเดิมได้มากทีเดียว   

  ผลงานนะหรือ   ลองเทียบเรือชั้นนเรศวร กับ  เรือเจียงหูดั้งเดิมดูสิครับ   ต่างชั้นกันขนาดไหน

เท่านี้ถ้าเหนือกว่า Type-054C  ได้   ก็ถือว่าไม่กระจอกแล้วนะครับ    แน่นอนว่ามันไม่เลิศหรูเท่า MEKO-D   MEKO-A-200   แต่คงต้องยอมรับข้อหนึ่งว่ามัน

   " เกินเอื้อม " 




โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 21/04/2013 04:41:15


ความคิดเห็นที่ 88


ความเห็นเรื่อง เรือชั้น นเรศวร โมดิฟายด์ มาจาก เรือชั้น เจียงหู...เป็นความเข้าใจผิด ขั้น รุนแรง ครับ...

เรือชั้น นเรศวร...ทร. ออกแบบเอง 100% โดยใช้หลักการออกแบบเดียวกับเรือชั้น MEKO...โดยได้รับคำปรึกษา และแก้ไขส่วนที่บกพร่อง จาก กองทัพเรือสหรัฐ ครับ..

ส่วนเรื่องความหมายของ จีน คือ F-25T....ความหมาย จะแยกได้ ดังนี้

F มาจาก Frigate

25 มาจาก ระวางเรือประมาณ 2500 ตัน

T มาจาก Thailand

เรือชั้น นเรศวร เป็นการออกแมบ ของ ไทย โดยว่าจ้าง ประเทศจีน ต่อ...เนื่องจาก อุตสาหกรรมในประเทศ ตอนนั้น ยังไม่มีความสามารถทำได้...และ มูลค่า การว่าจ้างมีราคาถูกกว่า ประเทศอื่น และ กองทัพเรือ เพิ่งจัดหาเรือฟริเกต จาก จีน จำนวน 4 ลำ และจัดหา เรือบรรทุก ฮ. อีก จำนวน 1 ลำ จึงใช้ งบประมาณ จำนวนมาก...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 21/04/2013 07:33:41


ความคิดเห็นที่ 89


ผมกำลังสงสัยว่านอกจากจีนที่ข่าวคุยกันว่าเสนอเงื่อนไขนี้ อาจจะมีรายอื่นอีกหรือไม่ และผมสะดุดตรงที่ อู่กรุงเทพร่วมกับบริษัทสิงคโปร์มาขยายอู่ราชนาวีมหิดล แถมขนาดสามารถต่อเรือได้ขนาดไม่ต่ำกว่า 3000 ตันซะด้วย อีกประเด็นที่สะดุดคือ ทำไมต้องมาที่อู่ราชนาวีอันเป็นที่ซ่อมสร้างเรือรบของกองทัพเรือ ถ้าจะบอกว่าเพราะร่วมกับอู่กรุงเทพที่เป็นรัฐวิสาหกิจในกองทัพเรือก็ใช่ แต่ทำไม Oakwell ไม่ร่วมลงทุนกับอู่ต่อเอกชนรายอื่นๆที่มีขีดความสามารถต่อเรือขนาดใหญ่กว่าอู่กรุงเทพ รึว่าสิงคโปร์มีแนวโน้มด้วย 

โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 21/04/2013 07:59:05


ความคิดเห็นที่ 90


ผมว่าที่คุณ neosiamese2 ตอบตอนหลังมันย้อนแย้งกันเองรึเปล่าครับ

เพราะพอจะสรุปได้ใจความว่า 1. ไทยต่อเรือได้ดีกว่าจีน  2. เรือลำใหม่จะไม่มีการใช้ระบบหรืออาวุธใดๆที่เป็นของจีน 3. เราออกแบบเรือเองได้ดีกว่าจีน อีกทั้งยังตรงตามความต้องการตัวเองมากกว่า

ถ้าเป็นอย่างนั้นแล้วเราจะเอาดีลจีนนี้ไปทำไม ในเมื่อไม่เห็นได้อะไรจากจีนเลยนอกจากอู่ ซึ่งเราก็เอาเงินลงทุนเองก็ได้มั้งถ้างั้น 

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 21/04/2013 08:04:19


ความคิดเห็นที่ 91


เรื่อง เรือฟริเกตจีน ห่วย หรืออะไรนั้น....ในความเห็น ได้ชี้แจงไว้ว่า...

การจัดหาเรือฟริเกต ครั้งนี้...ทร. ต้องการ เรือฟริเกตสมรรถนะสูง ครับ...โดยความหมายของมันคือ การสมรรถนะที่ดีกว่า เรือชั้น นเรศวร และขั้นต่ำสุด คือ เทียบเท่า เรือชั้น นเรศวร จำนวน 2 ลำ....มูลค่าโครงการ ลำละ 15,000 ล้านบาท (500 ล้านเหรียญ) หรือ มากกว่า 1 เท่าตัว ของ โครงการ เรือชั้น นเรศวร...ซึ่งน่าจะแสดงถึง ความสมรรถนะสูง ได้ระดับหนึ่ง...ราคาเทียบเท่า เรือดำน้ำ...

การพิจารณา ควรจะยึดถึง หลักและคุณสมบัติ สิ่งนี้ เป็น อันดับแรก ครับ...

ส่วน ออฟชั่น เป็น สิ่งเสริมขึ้นมา...ถ้า ตัวเลือก มันมีคุณสมบัติ ที่ก้ำกึ่ง กัน...ส่วนนี้ ถึงจะเป็น ตัวตัดสิน...ไม่ใช่...กลับหัว กลับหาง...เอา ออฟชั่น มาตัดสินใจ เป็นอันดับแรก โดยละทิ้ง ประเด็นหลักไป

โดย ข่าวลือ ก็บอกว่า จีน จะเสนอ จำนวน 3 ลำ และอื่น ๆ อีกมากมาย...และเป็นแบบเรือ F-40T...เน้นการ ปราบเรือดำน้ำ...โดยตามข่าวว่า น่าจะเป็น โมดิฟายด์ จาก Type-54...

ซึ่งข้อเสนอนั้น...มันยังไม่ใช่ การร่วมออกแบบ ระหว่าง จีน กับ ทร.ไทย แต่อย่างใด...แล้ว แบบเรือมันจะมาเป็น ตัวเรือจีน ระบบตะวันตก ได้อย่างไร...การนำเสนอของจีน ก็ย่อมจะเป็น เรือจีน ระบบอาวุธจีน ทั้งหมด ที่ โมดิฟายด์ระบบ ให้ตรงกับความต้องการของ ทร. ซึ่ง โอกาส ความเป็นไปได้ ที่จะได้ จำนวน 3 ลำ มันจึงใกล้เคียงกับความหมาย...แล้วเรือที่ ลดงบประมาณการสร้างลง จาก 15,000 เป็น 10,000 ล้านบาท ต่อ ลำ...มันจะมี ระบบอาวูธ และคุณภาพ เพียงใด ในเมื่อราคาระบบและตัวเรือ มันลดลงเกือบ ๆ 50%...ซึ่ง ราคาโครงการ นั้น ทร. ก็ประเมินจาก ราคาท้องตลาดกับคุณสมบัติเรือ ที่ควรจะเป็น ไม่ใช่หรือ...ดังนั้น จึงมีการเพิ่มเติม ข่าวลือ เงื่อนไข ที่วา จะลงทุน อู่เรือ ในประเทศไทย เพิ่มเติม...ผมถึงให้ ความเห็นว่า จะหลงประเด็นกันไป...

และถ้า กลับไป ศึกษา การจัดหาเรือ OPV ชั้นปัตตานี...ก็จะเห็นถึง ลักษณะการล๊อบบี้ หรือ อาจจะทำให้ได้ ซึ่ง ดีล การต่อเรือ ของ จีน...คือ...

อันดับแรก  ทำอย่างไรก็ได้ เพื่อให้ได้ ดีล มาก่อน แม้ในสภาพความเป็นจริง จะยังไม่ตรงกับเป้าหมาย

อันดับต่อมา เมื่อได้ ดีล มาแล้ว ก็เจรจาต่อรอง เพื่อแก้ไข TOR ให้ตรงกับเป้าหมาย

อันดับสุดท้าย ถ้าแก้ไข TOR ไม่ได้ ก็ยกเลิก TOR แล้วใช้การ ล๊อบบี้ โดยใช้ อิทธิพลทางการเมือง

ซึงผมสงสัยว่า ในเมื่อเป็น บริษัทฯ เดียวกัน ที่ทำผิดเงื่อนไข TOR จนส่งผลให้ถูกยกเลิก TOR ทำไม ถึง ไม่ถูก แบล็คลิสต์...แถมยังได้รับ คัดเลือก โดยวิธีพิเศษ คือ ใช้เลือกจาก ความสัมพันธ์ประเทศ แทน...(มัน ก็คือ ล็อคสเปค ใช่หรือไม่)

และ บริษัทฯ ที่เสนอในครั้งนี้ ดูว่าเป็น อู่เรือใหม่ ไม่ใช่ รายเดิม...แต่ก็เสมือนเป็น อู่เรือ ที่เป็นตัวแทนของ บริษัทฯ เดิม...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 21/04/2013 08:07:11


ความคิดเห็นที่ 92


และผมต้องขออภัย ท่าน neosiamese2 ที่ผมใช้ คำว่า เข้าใจผิด ขั้น รุนแรง....เรื่องแบบเรือชั้น นเรศวร...

เพื่อจะได้สร้าง จุดทำความเข้าใจ ให้ตรงกัน และ สมาชิกใหม่ จะได้รับทราบครับ...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 21/04/2013 08:09:52


ความคิดเห็นที่ 93


เวป defense-studies.blogspot.comบอก ทร เลือกของเกาหลี แล้ว DW3000H ครับ

โดยคุณ js เมื่อวันที่ 21/04/2013 08:35:20


ความคิดเห็นที่ 94


ความเห็นของท่าน nok

อาจจะได้เห็น เรือชั้น อ่างทอง ลำที่ 2 และ ลำต่อ ๆ ไป ใน ไทย ก็ได้ครับ...เพราะ ออร์เดอร์ รออยู่แล้ว...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 21/04/2013 08:38:21


ความคิดเห็นที่ 95


เกาหลี เข้า วิน ไปซะแล้ว...ราคาต่ำกว่า งบประมาณ โครงการ...

คงรอดู สเปค ว่าจะ ขยายถึง 3500 - 4000 ตัน หรือเปล่า...

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 21/04/2013 08:49:24


ความคิดเห็นที่ 96


ถ้าเป็น เรือจีนกับเกาหลี จริง ส่วนตัวก็คงต้องบอกว่าผิดหวังมาก ผมคาดหวังว่า ทร. จะเอา formidable class เป็นมาตราฐานขั้นต่ำ
โดยคุณ ccguy เมื่อวันที่ 21/04/2013 09:01:18


ความคิดเห็นที่ 97


ตามข่าวบอกว่าชนะเพราะเสป็คตรงสุด ขนาดระวางขับน้ำจะประมาณ 3000-4000 ตัน ราคาหมื่นสามพันล้าน ส่วนตัวผมว่าระบบอาวุธยังไม่ปึ้กเท่าที่อยากได้ แต่ก็จะถือเป็นลำแรกที่มีครบเครื่องแลลไม่ขาดๆเกินๆแล้วก็ทันสมัย

เรือยุโรปแพงเกินเลยต้องถอย

ก็คงโล่งอกกันหลายคนที่ไม่ได้เรือจีนแฟนๆที่เชียร์ดีลจีนก็เซ็งตามระเบียบ

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 21/04/2013 09:06:40


ความคิดเห็นที่ 98


meko-D มันเทพในเรื่องตัวเรือ+ระบบขับเคลื่อน อาวุธกับระบบตรวจจับแล้วแต่เรา เหมาะสมที่สุดที่จะยัด 9VL+ESSM เผื่อspec mk41 สำหรับ sm2 เอาไว้ก่อน อย่าเอารุ่นseft defence มาก็ใช้ได้ forrmidable เทพทุกอย่าง เสียแต่ระบบขับเคลื่อน และขาดโซนาร์ลากท้ายกับdata link แต่มูลค่าเรือมันแค่ลำละ 300 ล้านเหรียญus ผมถึงคิดว่า มันควรจะเป็นสเปคขั้นต่ำ ไม่อย่างนั้นก็ให้สิงคโปร์ทำให้ แล้วเพิ่มโซนาร์ลากท้ายกับdata link ยังไงราคาก็ไม่เกินงบ มันถึงจะเหมาะสมกับคำว่าฟรีเกตสมรรถนะสูง
โดยคุณ ccguy เมื่อวันที่ 21/04/2013 09:13:47


ความคิดเห็นที่ 99


ทำไม ถึงจัดหาไม่ได้เท่าเพื่อนบ้านทั้งที่เงินงบประมาณก็มากกว่าเขา
โดยคุณ ccguy เมื่อวันที่ 21/04/2013 09:17:33


ความคิดเห็นที่ 100


ท่าน ccguy ยกความเห็น ไปพูดคุยในกระทู้ ข้างบน ดีกว่าครับ...ดูทรง จะเป็น กระทู้ยาว อีกกระทู้หนึ่ง ครับ...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 21/04/2013 09:47:29


ความคิดเห็นที่ 101


หากจะบอกว่ารล.นเรศวรไม่ได้ใช้แบบเรือจีนมาเป็นพื้นฐาน อันนี้ผมค่อนข้างจะเชื่อนะ แต่หากจะบอกว่าทร.ออกแบบเองทั้งหมด 100% ผมคิดว่าไม่น่าจะใช่ครับ เพราะขนาดสิงคโปร์ยังต้องใช้แบบเรือของฝรั่งเศสเป็นพื้นฐาน การออกแบบเรือแต่ละครั้งต้องใช้องค์ความรู้ , ประสบการณ์และเวลามากมายขนาดไหน ??? ถ้าทร.ออกแบบเรือเองได้ทั้งหมด และทำได้ดีขนาดนี้แล้วจะให้เอกชนเสนอแบบเรือเพื่ออะไรครับ ออกแบบเองสร้างเองเลยดีกว่าได้ตรงความต้องการและงบประมาณมากที่สุด ยิ่งเอกชนในประเทศมีโครงการขยายอู่ขยายโรงต่อเรือด้วยแล้วยิ่งดีจริงไหมครับ อีกอย่างกาคเปิดกว้างรับข้อเสนอหลากหลายแบบนี้ ย่อมส่งผลให้เราได้ข้อเสนอที่ดีที่สุด เชื่อว่าต้องมีหลายรายพยายามปรับปรุงเพิ่มเติมออปชั่นในแพกเกจที่เสนอแน่นอน ปล. ที่ผมแซวท่าน Juldas ขำๆ ก่อนหน้านี้น่ะ ใจจริงแล้วผมเองก็อยากให้เป็นเช่นนั้นครับ (ไม่ได้ประชดนะครับ) แค่ลองคิดตามก็เลิศหรูอลังการสุดยอดแล้วครับ
โดยคุณ TWG เมื่อวันที่ 21/04/2013 10:20:23


ความคิดเห็นที่ 102


เพิ่งจะเปิดอ่าน ตกข่าวไปซะได้เรา 555.... เห็นด้วยกับท่าน ccguy ครับ ดูตามสเปกกับราคาแล้วมันคาใจมากๆ ทำไมๆ อย่างน้อยเราควรจะได้เรือที่สเปกดีกว่าสิงคโปร์ด้วยซ้ำไป ถึงตรงนี้คงต้องรอดูแบบเรือและระบบต่างๆบนเรือที่ชนะใจทร. ว่าจะสมกับที่พวกเราตามเชียร์ตามลุ้นกับมากน้อยแค่ไหน O.o"
โดยคุณ TWG เมื่อวันที่ 21/04/2013 10:32:53


ความคิดเห็นที่ 103


ที่ ท่าน TWG ให้ความเห็นนั้น...น่าจะเป็นในส่วนแบบพิมพ์เขียว ครับ...ที่ ทร.ไทย ยังทำไม่ได้ครับ...จึงเป็นหน้าที่ของ อู่เรือ ที่ ทร.ว่าจ้างจะจัดทำแบบพิมพ์เขียว และทำ Model Tank Test ให้...ซึ่ง ทั้งแบบ พิมพ์เขียว และ Model Tank Test ก็นำไป แก้ไขแบบ และทดสอบเพิ่มเติม ที่ กองทัพเรือสหรัฐ อีกทีครับ...แล้ว กองทัพเรือสหรัฐ ก็ช่วยแก้ไขแบบ และ เพิ่มแบบการลดพื้นที่สะท้อน เรดาห์ ให้อีกครับ ออกแบบการลดความเสียหาย เสริมความมั่นคงในตัวเรือต่าง ๆ...

ซึง เรือชุดนี้ ตามโครงการ ทร. จะจัดหารวม 8 ลำ ด้วยกันครับ...ซึ่งถ้า ไม่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ก่อน...เรือชุดนี้ จะเป็น เรือรบหลัก แบบเดียวกับเรือชั้น ANZAC ของ ออสเตรเลีย ครับ...และ โครงการเรือฟริเกตสมรรถนะสูง นี้ คงไม่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ครับ...

 

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 21/04/2013 11:16:20


ความคิดเห็นที่ 104


ตอบท่านเด็กทะเลครับ

Oakwell เป็นบริษัทสิงค์โปร์ครับ ร่วมกับทุนไทย ขอเช่าพื้นที่ อรม. ต่อเรือขนาดใหญ่ลงน้ำไปหลายลำแล้วครับ (ของต่างชาติ ลักษณะเหมือนเรือลากจูงหรือเรือสนับสนุนแท่นขุดเจาะปิโตรเลี่ยม) ใหญ่กว่าเรือกระบี่เยอะ ลองหารายชื่อกรรมการบริษัทฯ ดูนะครับ

เวลาต่อก็ทำเหมือนเรือกระบี่ ต่อกันเป็นบล๊อคและนำมาประกอบในอู่แห้ง

BDC (อู่กรุงเทพ) ก็เหมือนกันครับ เช่าพื้นที่ อรม. ต่อเรือเหมือนกัน

เหมือนว่าอะไรที่เกี่ยวข้องกับเอกชน ทร. ก็ให้มานัวกันที่ อรม. นับรวม BDC ด้วยนะครับ ส่วนที่ ทร. ต่อเอง ก็ทำกันที่ป้อมพระจุลฯ

ถ้าผมเข้าใจอะไรผิดก็ขออภัยด้วยครับ

โดยคุณ เสือใหญ่ เมื่อวันที่ 21/04/2013 21:57:57


ความคิดเห็นที่ 105


ครับผม พี่เสือใหญ่ จริงๆผมทราบแล้วแหละครับ แต่แค่เล่นเปลี่ยนประเด็นน่ะครับ เมื่อปลายเดือนที่ผ่านมาผมก็ไปนอนเล่นตากอากาศที่หาดนางรำมา แหะ ๆ 

คือเห็นลุ้นกันน่ะครับว่าอยากต่อเรือในไทยโดยจะตั้งอู่ใหม่ แต่ที่คนไม่พูดถึงกันคือ เรามีการผลิตบุคคลากรด้านวิศวกรรมการต่อเรือน้อยมาก ในไทยเรามีแค่แห่งเดียวแถมไม่มีใครนิยมเรียน

โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 21/04/2013 22:55:10


ความคิดเห็นที่ 106


ครับท่านเด็กทะเล ผมก็แค่จะบอกว่า ใครจะเข้าไปทำอะไรใน อรม. ต้องมีความสัมพันธ์ที่ดีกับ ทร. ด้วย

อย่างเช่น เคยเป็น ทร. ด้วยกันมาก่อน อ่ะครับ กรณี Oakwell ก็เช่นกัน

อู่กรุงเทพ เป็นรัฐวิสาหกิจในความดูแลของ ทร. ทำงานคู่กับ ทร. มาโดยตลอด คล้ายกับ TAI ของ ทอ. ครับ

ฉะนั้น ประเด็นของอู่ใหม่ๆ หากจะมาลงทุน ก็น่าที่จะหาผู้ร่วมทุนที่เป็นเอกชนไทยอย่างที่ท่านตั้งข้อสังเกตุไว้ ยกเว้นว่าจะขอเอี่ยวกับอู่กรุงเทพ ซึ่งก็จะเปรียบเสมือนกับมาขอร่วมทุนกับ ทร. สร้างอู่เรือใหม่เพื่อรับงานต่อเรือให้ ทร. ซึ่งผมว่าไม่ง่ายแน่นอน 

 

โดยคุณ เสือใหญ่ เมื่อวันที่ 22/04/2013 01:56:16


ความคิดเห็นที่ 107


หนีไปอ่านกระทู้ข้างบน  กลับลงมาอ่านอีกที  คงต้องชี้แจงนิดนึงครับเรื่องเรือฟรีเกตชั้นนเรศวร   ผมว่าผมคงไม่เข้าใจผิด 100%  นะครับ

 

ข้อมูลที่เวปกองเรือฟรีเกตที่ 2 ลงไว้ดังนี้ครับ


เรือหลวงนเรศวร มีนามเรียกขานสากล HSME และมีหมายเลขเรือ  421 จัด เป็นเรือประเภทเรือฟริเกตซึ่งกองทัพเรือได้สั่งต่อจากประเทศสาธารณรัฐ ประชาชนจีนนับเป็นเรือฟริเกตลำที่  5  ที่ต่อจากประเทศนี้  เป็นเรือที่กองทัพเรือออกแบบใหม่ร่วมกับบริษัท  CHINA  STATE  SHIPBUILDING  COORPERATION  (CSSC) โดยใช้ระบบอาวุธและเครื่องจักรส่วนใหญ่ของยุโรปและสหรัฐอเมริกาเป็นหลักจึง ทำให้มีขีดความสามารถและประสิทธิภาพในการรบที่ทันสมัย  มีระยะปฏิบัติการไกล  "เรือหลวงนเรศวร"  ต่อที่อู่จงหัว  เมืองเซี่ยงไฮ้  วางกระดูกงูเมื่อปี  พ.ศ. 2534  ปล่อยลงน้ำเมือเดือน  กรกฎาคม  พ.ศ. 2536  และขึ้นระวางประจำการเมื่อ  15 ธันวาคม      พ.ศ. 2537


http://www.frigate2.com/Shipweb/naresuan/nrafirst.htm

 


อันนี้จาก  naval-technology  นะครับ


Naresuan Class guided-missile frigates were built by the China State Shipbuilding Corporation, Shanghai, for the Royal Thai Navy. Naresuan is a modified variation of the Chinese-built Type 053 frigate.


http://www.naval-technology.com/projects/naresuan-class-guided-missile-frigates/

 

  จริงของ  globalsecurity    ก็ยืนยันข้อมูลตรงกันว่าออกแบบร่วมกันระหว่างทร.ไทยกับอู่ต่อเรือของจีน  โดยยืนพื้นบนเรือ type 053   แต่ทางเว๊บนี้ไม่ยอมให้ก๊อปข้อมูลมาให้อ่านแล้วครับ   ต้องไปสมัครเป็นสมาชิกจ่ายเงินจึงจะทำได้

 

และเท่าที่จำได้  ทั้งนิตรสารสงคราม   สมรภูมิยังบอกเพิ่มเติมว่าเยอรมันมีส่วนในการถ่ายทอดเทคโนโลยีของเรือชั้น  MEKO  ในการต่อเรือคราวนั้นให้ด้วยนะครับ


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 22/04/2013 22:42:27


ความคิดเห็นที่ 108


  ตอบท่าน toeytei ครับ

 

  มันไม่เป็นการขัดแย้งกันหรอกครับที่ว่าทำไมเราจะออกแบบเรือและต่อเรือได้ดีกว่าจีน   แล้วทำไมต้องไปจ้างจีนต่อ  หรือ นำแบบเรือของจีนมาทำการโมดิฟายด์

  ปัญหามาจากการที่เราไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการต่อเรือที่เพียงพอครับ    ขีดความสามารถของอู่เอกชนก็น้อย    ส่วนของทางทร. แม้จะทันสมัยกว่าพร้อมกว่าเอกชน   งานก็ล้นมือเสียเหลือเกินครับ   

  และที่เราดีกว่าจีน   เพราะเราเปิดประเทศรับเทคนิคและความรู้ต่างๆจากประเทศตะวันตกครับ   และมีการส่งคนไปฝึกไปเรียนรู้ตลอด     แต่ที่ต่อเรือเองไม่ได้  เพราะผู้มีอำนาจทั้งหลายไม่ให้ความสนใจ   ไม่สร้างสิ่งอำนวยความสะดวก    แล้วจะไปต่อเรือได้อย่างไรละครับ   อู่ต่อเรือขนาดใหญ่พอยังไม่มี  ถึงมีก็ไม่พร้อมงานล้นมือ

  ในขณะที่จีนนั้นปิดประเทศมานานมากครับ   และไม่ได้รับความรู้และเทคนิคใหม่ๆจากตะวันตกมานานมาก    แต่เพิ่งจะมาเปิดประเทศเอาเมื่อไม่นาน   ดังนั้นต้องขวนขวายหาแหล่งเทคโนโลยีให้แก่อุตสาหกรรมของตนเองให้ก้าวหน้าขึ้น   และไทยก็เป็นหนึ่งในช่องทางนั้นของจีน   ดังนั้นเพื่อให้ได้เทคนิคใหม่ในการออกแบบเรือ   การเสนอแบบเรือให้เราโมดิฟายด์คราวนี้     จีนก็จะได้เทคนิคใหม่ที่เราได้รับการถ่ายทอดจากตะวันตกมาอีกทีครับ

 

 ตัวตัวอย่างแบบเรือชั้นปัตตานี   เรือพิฆาตรุ่น type 052 ตัวเก่าสิครับ     มีความคล้านคลีึงหรือได้รับอิทธิพลจากงานออกแบบของเราไป    

 

พูดง่ายๆ  ดีลนี้  จีนต้องการแนวคิดสำหรับการพัฒนา  type 054C ของตนด้วย   โดยใฃ้เราเป็นฃ่องในการหาแนวคิดและเทคนิคจากชาติที่ใกล้ชิดตะวันตกเพิ่ม

 


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 24/04/2013 11:24:00


ความคิดเห็นที่ 109


ประเด็นของผมคือถ้าปัญหามันมีแค่ต้องการอู่ต่อเรือเครื่องไม้เครื่องมือทำไมไม่สร่างเอง เพราะเดียลนี้ก็เหมือนกับให้จีนสร้างอู่ให้เท่านั้น ซึ่งเราก็น่าจะสร้างได้

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 24/04/2013 12:47:00