หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


สอบถามแนวทางการดำเนินการของอาวุธที่ปลดประจำการแล้ว

โดยคุณ : A_hatyai เมื่อวันที่ : 20/04/2013 09:49:46

 

ถามแบบไม่รู้ข้อมูลจริงๆครับ...ตามหัวข้อเลย..ผมสงสัยว่าอาวุธหลายอย่างที่เราปลดประจำการไปนั้น...หลังจากปลดประจำการ

มันหายไปไหน....หากเป็นอาวุธที่จัดซื้อมาจำนวนไม่มากอย่างเรือรบเนี่ยยังพอจะพบเห็นว่า เราเอามาตั้งจัดแสดงบนบกหลายลำ

แต่ในกรณีอย่างรถถัง , รถหุ้มเกราะ , รถจิ๊บ หรือ เครื่องบินรบบางรุ่น ซึ่งมีจำนวนมาก...อาวุธบางอย่างซื้อมาจำนวนเป็นหลักร้อย

เรามีวิธีการดำเนินการกับอาวุธเหล่านี้อย่างไรหลังจากปลดประจำการแล้ว..จึงขอถามเป็นข้อๆ...ดังนี้ครับ

        1.พวกเครื่องบิน หรือ ยานเกราะในอดีต ที่มีประจำการเป็นจำนวนมาก และ ตอนปลดประจำการน่าจะมีจำนวนน่าจะ

          หลายสิบลำขึ้นไป อย่าง F-8 Bearcat , T-6 texan  และ ยานเกราะรุ่นเก่าๆมันหายไปไหนหมดครับ เพราะเหลือนำ

          มาตั้งโชว์ หรือ อนุรักษ์ให้วิ่งโชว์ / บินโชว์ เพียงแค่ไม่กี่ลำ

       2. หากเราขายอาวุธเหล่านี้เป็นเศษเหล็ก...ผู้ที่รับซื้อเศษซากไปจะไม่ถือว่าผิด กฎหมายหรือครับ...เพราะกฎหมายไทย

          ห้ามบุคคลทั่วไปมีอาวุธสงครามในครอบครองแม้จะเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของอาวุธ หรือ ครอบครองเครื่องกระสุนก็ผิดแล้ว

        3. กระสุนที่ใช้กับรถถังบางรุ่นที่ปลดประจำการไปแล้วเราจะดำเนินการอย่างไรครับ…เช่น ในไม่กี่ปีข้างหน้านี้เราจะปลด

            ประจำการ ถ.เบาM-41 เราสามารถนำกระสุนรถถังของ M-41 มาใช้กับ ถ.เบาScorpion ที่มีขนาดลำกล้องเท่ากัน

           ได้หรือไม่...และ ในกรณีคล้ายๆหากเราปลดประจำการรถถัง Type-69 แล้ว จะสามารถนำกระสุนปืน 100ม.ม. ของ

           รถถัง Type-69 มาใช้กับปืนเรือในชุดเจ้าพระยาได้หรือไม่....เพราะมีขนาดลำกล้องเท่ากัน จัดหามาจากจีนเหมือนกัน

           เพราะผมเคยอ่านในหนังสือบางกอกฉบับหนึ่งเค้าระบุว่าปืน ใหญ่ 100 ม.ม. ของรถถังตระกูลนี้ พัฒนามาจากปืนเรือ

            ขนาด 100 ม.ม.อีกทีหนึ่ง

         4. ในกรณียานเกราะ และ รถถัง...เราจะซื้อรถถัง และ ยานเกราะรุ่นใหม่ๆมาทดแทน…โดยไม่ต้องปลดประจำการรถรุ่นเก่า

             ได้หรือไม่...โดยให้นำรถรุ่นเก่ามาใช้เป็นรถสำหรับฝึกปฏิบัติ และ ยิงด้วยกระสุนจริง  เพื่อให้พลประจำรถชำนาญหลักวิธี

             ต่างๆก่อนที่เปลี่ยนมาขับรถถังรุ่น ใหม่ และในขณะเดียวกันผมว่าหากเป็นเรือรบ หรือ เครื่องบิน ต่อให้ทันสมัยขนาดไหน

            ถ้าหากโครงสร้างหมดอายุการใช้งานไม่สามารถปรับปรุงได้ แล้ว..ยังไงก็ต้องปลด  แต่ในกรณียานเกราะ หรือ รถถังนั้น

            ต่างกัน เพราะเราแทบจะไม่ต้องคำนึงถึงอายุและโครงสร้างของมัน..ตราบใดที่ยังยิงอาวุธ ออกได้ ก็แสดงว่ามันยังมีความ

            สามารถในการทำลายข้าศึกได้....ขนาดรถถังรุ่นใหม่ๆของอเมริกายังต้องจำหน่ายเพราะอาวุธขนาดเล็กอย่าง RPG

             ฉะนั้นปืนใหญ่ 75ม.ม. ของ M-41 ก็น่าจะทำลายรถถังรุ่นใหม่ๆได้เช่นกัน..เพียงแต่เราอาจต้องปรับปรุงระบบการยิงและ

             ติดเกราะเสริมตามความเหมาะสมก็น่าจะคงคุณค่าทางยุทธการของมันไว้ได้...ดีกว่าการที่จะนำไปใช้ทำปะการังเหมือน

             อย่าง Type69 ไม่ทราบว่าแนวคิดของผมถูกต้องรึเปล่าครับ

          5. เกี่ยวกับที่เราสั่งซื้ออาวุธจากญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกนั้น...เคยอ่านพบว่าหลังสงครามสงบแล้วทางฝ่ายพันธมิตรให้เรา

              ปลดประจำการ และ ทำลายอาวุธทุกอย่างที่จัดหามาจากญี่ปุ่น....จึงเป็นสาเหตุให้ในปัจจุบันเราแทบไม่มีโอกาสได้เห็น

            เครื่องบินรบ และ เรือดำน้ำญี่ปุ่นที่เราเคยมีใช้งานในช่วงสงครามโลกเลย...นอกจากที่มีหลงหูหลงตาและเราอนุรักษ์ไว้

             บางส่วนเท่านั้น.....ทำให้ผมสงสัยว่าหากพันธมิตรบังคับให้เราปลดประจำการและทำลายอาวุธที่จัดหาจากญี่ปุ่นจริง...

             แล้วทำไมเรือหลวงศรีอยุธยาและเรือหลวงแม่กลองที่สั่งต่อจากญี่ปุ่นเช่นกันไม่ถูก ทำลายไปด้วย..แถมหลังสงครามเรา

             ยังสามารถประจำการ และ ใช้งานเรือหลวงศรีอยุธยา และ เรือหลวงแม่กลอง มาได้อีกตั้งหลายปี

          6.อาวุธที่เราได้จากอเมริกาตามโครงการช่วยเหลือทางทหาร...นับตั้งแต่หลังสงครามโลกเป็นต้นมาไม่ว่าจะเป็นปืน , เรือรบ

             , รถถัง หรือ เครื่องบินหากปลดประจำการแล้วเราต้องส่งคืนเค้า หรือว่าเรามีสิทธิ์จำน่ายและขายซากเองได้เลยครับ

             อย่างเช่น OV-10(ไม่แน่ใจว่าเราซื้อมา หรือ อเมริกามอบให้ฟรี) ตอนที่เราส่งต่อให้ฟิลิปปินส์นั้น..เราต้องแจ้งทาง

              อเมริกาด้วยรึเปล่า..หรือ เป็นสิทธิ์ของเราเต็มที่ที่จะดำเนินการยังไงก็ได้

ไม่แน่ใจว่าถามมากไปรึเปล่า..แต่ผมเชื่อว่าน่าจะเป็นคำถามที่เป็นประโยชน์แก่เพื่อนๆอีกหลายคนซึ่งยังไม่รู้เช่นกัน..

ยังไงก็รบกวนผู้รู้ทุกท่านด้วยครับ....ขอบคุณล่วงหน้าครับ





ความคิดเห็นที่ 1


เอาเท่าที่ทราบเเล้วกันนะครับ

1.พาหนะเช่นเครื่องบิน รถถัง เมื่อปลดเเล้วจะทำการเก็บรักษาไว้ระยะหนึ่งเเต่ด้วยวิธีไหนก็เเล้วเเต่นโยบาย เครื่องบินที่เห็นจะถอดเครื่องยนต์ออกเเล้วจอดตากเเดดตากฝนไว้ ส่วนรถGMCรุ่นเก่าเห็นอยู่ที่โรงงานซ่อมสร้างที่ปทุมธานีจอดไว้จนผุหมดเเล้ว รถถังก็เป็นเป้าซ้อมยิงบ้าง เป็นปะการังเทียมบ้าง ถอดชิ้นส่วนกองไว้บ้าง

2.ถ้ากองทัพขายมาเเบบถูกต้องตามกฎหมายไม่ผิดครับ เช่น GMC , JEEPกลาง กองทัพจะออกเอกสารให้เราเอามาทำทะเบียนที่ขนส่งเอง ถ้าเป็นรถถังเครื่องบินจะถอดระบบควบคุมทั้งหมดออกเเล้วขายครับ ส่วนมากซื้อเอาไปหลอม.

3.กระสุนเก่าที่ไม่ได้ยิงจะเก็บไว้ในสนามกลางเเจ้งรอการทำลาย

4.เก็บไว้สำรองเหมือนของอเมริกาก็ได้ครับถ้ามีงบเเละมีที่มีทางว่างอยู่

5.บางอย่างที่ทำลายเพราะเป็นสัญลักษณ์ของญี่ปุ่นเช่นเครื่องบินรุ่นต่างๆที่มีชื่อเสียงเเต่บางอย่างอนุโลกไว้ ส่วนเรือดำน้ำไม่ได้ทำลายเเต่ไม่มีเเบตเตอรี่เปลี่ยนเพราะญี่ปุ่นโดนห้ามผลิตอาวุทเเละชิ้นส่วนส่งออก

6.การให้มีหลายเเบบครับ อย่างเช่นเรือหลวงนาคาอเมริการให้มาเลยเเต่ภายหลังอเมริกาขอไปไว้ในพิพิธภัณเพราะเหลือลำเดียวในโลกเเล้ว โดยเสนอว่าจะยังคงใช้ชื่อ ร.ล.นาคาต่อไป ทางไทยเลยคืนให้ไป

โดยคุณ กลับสู่สามัญ เมื่อวันที่ 18/04/2013 11:44:05


ความคิดเห็นที่ 2


สิ่งอุปกรณ์ทางทหารตามโครงการช่วยเหลือทางทหาร หรือจัดหาด้วยวิธี FMS จากสหรัฐฯ  หากปลดประจำการแล้ว  ทร.จะต้องแจ้ง ทร.จัสแม็ก (คณะที่ปรึกษาทางทหารฝ่ายทหารเรือประจำประเทศไทย)  เพื่อให้จัดส่งเจ้าหน้าที่มาดำเนินการกับสิ่งอุปกรณ์นั้นๆ ครับ  ซึ่งสหรัฐฯ อาจขอคืน อนุมัติให้ขาย แลกเปลี่ยน โอน แปรสภาพ หรือทำลาย  ทั้งนี้จะมีการยินยอมให้ดำเนินการเป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น  สำหรับสิ่งอุปกรณ์ที่จัดหาจากมิตรประเทศอื่น ให้เป็นไปตามข้อตกลงแนบท้ายเอกสารการจัดหานั้นๆ  

โดยคุณ piti.l เมื่อวันที่ 20/04/2013 07:40:28


ความคิดเห็นที่ 3


ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ

โดยคุณ A_hatyai เมื่อวันที่ 20/04/2013 09:49:46