เกราะERA ถ้านำมาประยุกต์ติดใต้ท้องรถ เช่นรถกระปะ (น่าจะต้องเสริมความแข็งเแรงช่วงล่าง) หรือ นำไปติดรถเกราะต่างๆ น่ากันแรงระเบิดได้พอสมควรนะครับ ระเบิดต้านระเบิด ส่วนRIVA ท้องตัว V ติดเกราะ ERA น่าจะกันระเบิดได้ดีพอสมควรเลยนะครับ เพราะท้องตัว V ก็มีจุดอ่อน อยู่ ถ้าโดนระเบิดด้านข้าง แรงระเบิดก็จะเข้า90 องศาของด้านข้างตัว V เท่ากับแรงระเบิดเข้าโดยตรงไม่กระจายออกขึ้นข้างบน อันนี้เป็นความคิดว่าส่วนตัวนะครับแต่ก็ยืนอยู่บนพื่นฐานความเป็นจริง ถ้าสามารถทำได้จริงทหารทั่วโลกคงปลอดภัยได้อีกเยอะ อาจจะสามารถทำขายได้ทั่วโลกอีก รบกวนถึงศูนย์จัยต่างๆๆทำให้เป็นจริงหน่อยครับ เพราะผมเห็นทหารเราตายทุกวัน เผื่อความคิดผมจะช่วยได้อีกหลายชีวิตครับ ผิดถูกประการใดขอโทษ ณ ที่นี้ด้วยครับ
มันไช้ป้องกันพวกหัวรบนะครับ เอามาไช้งานแบบที่ท่านว่าคงจะไม่เหมาะสมนะครับ
ไม่เหมาะสมยังไงครับ รบกวนตอบเพื่อเป็นความรู้ต่อไปครับ ที่ผมหมายความโดยใช้หลักเกณฑ์แรงระเบิดต้านระเบิดไม่จำเป็นต้องเหมือนเกราะ ERA ทุกประการ (ประยุกต์)
งั้นก้เหมาะสมดีแล้วครับ โจรวางระเบิด100กิโลเราก็เอาระเบิดซัก200กิโลติดใต้ท้องรถไปเลยครับจะได้ เอาอยู่
งั้นก็ไม่ต้องคิดให้มันเสียเวลา ถึงรถถังM1A1 ก็เอาไม่อยู่ครับ นั่งรถกระบะไปเลยไม่ต้องซื้อรถเกราะให้เปลื่องเงินครับ
ถ้าโจรวางระเบิด 80 กิโล เอา ติดเกราะระเบิด 40กิโล แรงระเบิดทำความเสียหายครึ่งหนึ่งถ้าเทียบกับไม่ติด ผลที่ต่างออกมา คือ ตาย หรือ ไม่ตายครับ หรือประยุกต์ไม่ต้องเอาระเบิดเยอะๆไป เอาแค่เบียงเบนแรงระเบิดก็ได้ครับ มาอุดจุดอ่อนบางจุด ความเห็นผมอาจยังไม่เคยได้ทดลองจริงจึงพูดไม่ได้เต็มปาก ถ้ามันช่วยทหารได้ผมก็จะดีใจมากๆครับ
ถ้าผมเข้าใจผิดก็ขออภัยนะครับ
แต่เท่าที่เข้าใจ หลักการของเกราะERAออกแบบสำหรับป้องกันหัวรบที่มีพื้นฐานบนหลักการของMunroe effectอย่างเดียวไม่ใช่เหรอครับ(พวกShape Chargeอย่างRPGกับกระสุนแบบHEAT)
อย่างERAรุ่นที่ติดบนOplotก็ใช้แรงระเบิดไปตัดลำเจ็ทของShape Charge ทำให้ลำเจ็ทเหลือพลังไม่มากพอจะเจาะเกราะของรถถังได้ ไม่ได้ใช้แรงระเบิดไปต้านลำเจ็ทตรงๆ
ส่วนพวกIEDส่วนใหญ่อาศัยแรงระเบิดเข้าว่าล้วนๆ(อาจมีบ้างที่เป็นแบบShape Chargeแต่นั่นเอาไว้ทำลายรถถังใหญ่ๆ คิดว่าไม่ใช่แบบที่ภาคใต้เราโดน) แรงระเบิดทำให้รถพลิกคว่ำคนในรถคอหักตายหรือโดนเข้ามายิงซ้ำ ERAไม่น่าช่วยอะไรในกรณีนี้ได้หรืออาจจะหนักกว่าเดิม
ใชครับ เกราะปฏิกริยา ERA ใช้หลักการระเบิดจากกล่องปฏิกิริยาทำลายจุดรวมพลังงานจากหัวรบก่อนที่พลังจากหัวรบจะรวมตัวที่จุดศูนย์กลางแล้วฉีกเกราะออก แต่พอวช้เกราะera แล้วเมื่อหัวรบเข้าชนเป้าหมายพลังงานจากการระเบิดแทนที่จะรวมเจาะมาที่จุดกลางก่อนระเบิดฉีกเกราะรถถังออกแต่พอโดนระเบิดที่บรรจุในกล่องera ระเบิดกระแทกพลังงานที่จะรวมยังจุดศูนย์กลางแล้ว ทำให้พลังงานจากระเบิดสลายไปโดยไม่สามารถรวมเป็นจุดเดียวแล้วฉีกเกราะออกได้ครับ แต่พอเป็นระเบิดแสวงเครื่องเนี่ยการระเบิดมันไม่ได้รวมพลังงานจากการจะเบิดเป็นจุดเดียวก่อนฉีกเป้าหมายออกเป็นชิ้นๆเหมือนพวกหัวรบจรวดสิครับ แต่มันใช้แรงอัดรวมทั้งสะเก็ดระเบิดในการจัดการกับเป้าหมายฉีกเป้าหมายออกเป็นชิ้นๆ อย่างรกเกราะท้องตัวv นั้นถือว่าแก้ไขถูกจุดแล้วครับ ถึงจะกันได้ไม่เต็ม100 แต่ก็ยังดีกว่าที่เป็นท้องแบนๆที่พอแรงอัดจากการระเบิดปะทะกับเป้าหมายปุ๊ป ก็ฉีกเป้าหมายออกเป็นชิ้นๆเลย แต่พอเป็นท้องตัวv แทนที่แรงระเบิดจะปะทะกับท้องรถจังๆ100เปอร์เซ็นต์ ท้องตัวv จะช่วยแยกพลังงานจากการระเบิดออกทางด้านข้างรถทำให้พลังงานไม่ปะทะกับท้องรถ100เปอร์เซ็นต์ ทำใช้เพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตของกำลังพลได้เยอะครับ
ขออนุญาตแสดงความเห็นอีกแนวนะครับ การใช้แรงระเบิดเพื่อขัดขวางแรงระเบิดอื่น ๆ ที่จะมาทำลายพาหนะหรือฝ่ายเรา เราต้องอย่าลืมนะว่าเราจะต้องควบคุมแรงระเบิดให้มันพุ่งไปตามแนวที่เราต้องการ และในความจริงเราไม่สามารถคุมมันได้ทั้งหมด คือมันมีแรงดันมาด้านตรงข้ามด้วย(หรือทุกทิศทาง) กับรถถังซึ่งโครงสร้างแข็งแรงน้ำหนักมาก และอยู่ด้านบนด้วย คงไม่มีปัญหา แต่ถ้าใช้บริเวณใต้ท้องรถกระบะ ถ้าติดจริง ๆ คงต้องเพิ่มแผ่นเหล็กให้หนาขึ้นตรงนี้คงต้องคำนวนกันว่าจะคุ้มมั้ย และถ้าใช้จริงมันจะเป็นการไปเสริมแรงระเบิดที่เกิดขึ้ันซะมากกว่า คือฝ่ายตรงข้ามไม่ต้องวางระเบิดให้มีขนาดมาก ๆ หรอก ใช้แค่เป็นตัวระเบิดนำเท่านั้นแล้วใช้ระเบิดที่เราติดเอาไว้ใต้ท้องรถนี่แหละ ให้แรงระเบิดพุ่งอัดพื้นแล้วแล้วโยนตัวเองขึ้นอีกต่อหนึ่ง
หลักการเบื้องต้นของเกราะERA คือการทำลายจุดโฟกัสของพลังงาน
อย่างเช่นหัวรบที่ใช้หลักการMonroe Effect หรือที่เราเรียกกันว่าShaped Charge (จริงๆแล้วยังมีExplosively Formed Penetrator ที่ใช้หลักการเดียวกัน แต่มันเป็นหลักการของKinetic Penatrator หรือ การเจาะเกราะพลังงานจลน์ ซึ่งจะกล่าวต่อไป) ซึ่งบางครั้งก็เรียกว่าChemical Energy penetration หรือการเจาะเกราะพลังงานเคมี (คืออาศัยการระเบิดซึ่งเป็นปฏิกิริยาเคมีจำพวกหนึ่ง) ..พวกนี้ใช้ทองแดงหลอมเหลวพุ่งเป็นจุดโฟกัสขนาดเล็กมากๆจนสามารถแทรก/ละลายเกราะเข้าไปทำลายภายในได้ หลักการของERA ก็คือเมื่อทองแดงที่โฟกัสแล้วเหล่านี้ไปจุดระเบิดสารประกอบจำพวกระเบิดพลาสติกในกล่องบรรจุ จะทำให้แผ่นเหล็กที่เป็นกล่องนั้นดันสายทองแดงหลอมเหลว ซึ่งจะให้เอฟเฟคท์2อย่างคือ 1.ทองแดงหลอมเหลวจะโดนดันจนเสียรูป 2.ทองแดงหลอมเหลวนั้นจะต้องเจาะผ่านพื้นที่ที่มากขึ้นเพราะการดันของแผ่นเหล็กนั่นเอง
ส่วนการเจาะแบบKinetic Energy หรือพลังงานจลน์ นั่นก็คือการที่หัวเจาะเกราะนั้นมีความแข็งมากกว่าเกราะที่จะเจาะ รวมถึงความเร็วที่สูงของหัวเจาะเกราะ และหัวเจาะเกราะจะต้องแหลมเพื่อเปลี่ยนพลังงานจลน์จากการเคลื่อนที่ของตนให้กลายเป็นหลังงานความร้อน /คลื่นกระเทก /และอื่นๆ ซึ่งการโฟกัสพลังงานเหล่านี้ที่เกราะจะให้ผลคือ ตัวหัวเจาะเกราะจะเเทรก/ดัน/แหวกผ่านเกราะ เหมือนเข็มเย็บผ้าแทงผ่านผ้านั่นแหละ ในระหว่างทางมันก็จะเกิดความร้อนทำให้เกราะและตัวหัวเจาะเองก็ละลายตามหลังไปด้วย จนเมื่อชำแรกผ่านเกราะได้ วัสดุทำเกราะ(เช่นเหล็ก/อลูมิเนียม)หลอมเหลว หัวเจาะหลอมเหลว คลื่นกระแทก คลื่นความดัน จะเข้าไปในยานเกราะนั้นๆ ซึ่งจะทำลายคนข้างในหรืออุปกรณ์ภายใน ERAที่จะจัดการหัวเจาะเกราะแบบนี้ได้ จะมี2แบบคือ 1. ใช้หัวรบShaped Charge ตัดตัวเจาะเกราะนั้นซะ หรือ 2. ใช้พลังงานจากการระเบิดเหมือนERAแบบแรก แต่เป็นการเคลื่นที่สวนกันของเหล็ก/หรือวัสดุอื่นๆ2แผ่น ทำให้เกิดแรงเฉือนหักหัวเจาะเกราะนั้นซะ .......มันเลยมีการพัฒนาหัวเจาะเกราะที่ใหญ่ขึ้นและเหนียวมากขึ้นเพื่อทนต่อการเฉือนและตัดแบบนี้แล
ส่วนการระเบิดของIED (กว่าจะเข้าประเด็น) ....แรงระเบิดที่เราว่ากันนั้น แท้จริงคือคลื่นเสียง ......คลื่นเสียงคืออะไร ? คลื่นเสียงคือการอัดและขยายของอากาศ/ของไหลอื่นๆ แต่เเรงระเบิดนั้น เป็นคลื่นเสียงที่เกิดจากแรงอัดมหาศาลเฉียบพลัน หรือ ช็อคเวฟ เอฟเฟคท์ที่เกิดเมื่อโดนแรงระเบิดคือ ความดันของอากาศที่พุ่งสูงอย่างเร็วและแรง ทำให้อวัยวะภายในบอบช้ำหรือฉีกขาด หากมียานพาหนะอยู่เหนือมันก็อาจจะพลิกคว่ำ และโดนแรงอัดของอากาศทำให้ตัวยานพาหนะนั้นเสียหาย ....ยังไม่นับเรื่อวัสดุต่างๆที่ปลิวจากการระเบิดนั้นๆซึ่งเร็วกว่ากระสุนซะอีก (อย่างC4 ให้แรงระเบิดซึ่งได้ช็อคเวฟความเร็วมากกว่ามัค20-8,092ม/วินาที หรือ ราวๆ24,000กม./ชม.)
การป้องกันแรงระเบิดใต้ท้องรถจึงยากที่จะหักล้างผลจากช็อคเวฟระยะประชิดแบบนี้
แต่ในเมื่อมันเป็นคลื่น จึงใช้วิธีเบี่ยงเบนกับมันได้ จึงเกิดเป็นใต้ท้องรูปV ซึ่งจะนำพาแรงระเบิดออกจากใต้ท้องรถโดยที่ให้แรงระเบิดกระทำต่อใต้ท้องรถให้น้อยที่สุด (เหมือนกับหัวเรือทำไมต้องทำแหลมๆ ก็เช่นกัน เพื่อลดแรงที่จะต้องใช้การแทรกผ่านน้ำซึ่งเป็นของไหลประเภทหนึ่งเหมือนอากาศ)
แต่การแทรกสอด สำหรับคลื่นช็อคเวฟ มันทำได้ในทางทฤษฎี คือการใช้คลื่นที่มีเฟสตรงข้าม(เหมือนหลักการของหูฟังNoise Cancelling)แล้วคลื่นเหล่านั้นก็จะหายไป แต่ถามว่า คลื่นจากการระเบิดนั้น ใครจะสามารถทำให้เฟสของมันตรงข้ามได้อย่างเป๊ะๆ หรือไม่? .......ตอนนี้ยังไม่น่าทำได้ โดยเฉพาะการใช้แรงระเบิดสยบแรงระเบิด เพราะยังไงคุณไม่มีทางสร้างระเบิดที่ให้คลื่นกลับเฟสได้อย่างเป๊ะๆ (เฉพาะตอนนี้) เพราะตัวแปรบางอย่างแม้เพียงเล็กน้อยก็ให้ผลต่อลักษณะของคลื่นเสียงแล้ว
และยังมีวิธีการลดการบาดเจ็บของผู้โดยสารอีกหลายแบบที่ซับซ้อนน้อยกว่าเช่น ที่นั่งดูดซับแรงระเบิด ระบบห้องโดยสารแบบลอยตัว/แคปซูลแยกจากตัวรถและดูดซับแรงกระแทก .............และยังมีอีกวิธีคือ อย่าโดนIEDเป็นดีที่สุด
ขอมั่วด้วยคน หลายๆท่านกล่าวไปแล้วว่า เกราะเสริมERAเป็นการออกแบบเพื่อระเบิดทำลายจุดโฟกัสแรงระเบิดที่จะเจาะเข้าไปหาภายใน แรงระเบิดที่โดนจึงเหมือนแรงระเบิดจากหัวรบหรือลูกระเบิดไประเบิดข้างรถแต่ปริมาณดินระเบิดมันน้อยแค่นั้นเอง นึกไม่ออกเหมือนเอาแว่นขยายรวมแสงเป็นจุดๆเดียวเจาะกระดาษ แต่เมื่อเป็นระเบิดธรรมดาจะไม่มีแรงเจาะมีแต่แรงอัด
ข้างต้นคือแรงอัดมันเกิดเฉียบพลันและมหาศาล ตัวรถทรง วี กระจายแรงคือทางออกครับ แต่ภายในถ้าไม่มีอะไรยึดเกราะคงเหมือนข้าวโพดคั่วแน่นอน อีกเรื่องคือแรงระเบิดมันมหาศาลกว่าตัวรถขนาดเรว่า จะเอาอยู่ หมายถึงว่าถึงไม่แหลกเพราะการกระจายแรงแต่มันแรงพอจะพลิกเรว่าได้
จากหลายๆภาพเรว่า โดนระเบิดยังไม่ถึงขั้นแหลกเป็นชิ้นๆเหมือนฮัมวี่เพราะตัวรถออกแบบให้กระจายแรงระเบิดเป็นพื้นฐานสำคัญ แต่แรงระเบิดมันสูงจึงพลิกรถให้หงายหรือบินได้ แต่สภาพรถยังโอเค เหลือแต่ว่าจะทำยังไงให้คนภายในปลอดภัยจากการกระแทก หรือ จัดดการกับระเบิดขนาด50กิโลที่เอาไปฝังใต้ถนนได้ยังไง เพราะระเบิดลูกขนาดนั้นก็เคลื่อนย้ายไม่ได้ง่ายๆ
เกราะนี้จะเป็นแผ่นระเบิดบางๆ แปะไว้ด้านนอกเกราะจริง ใช้ระเบิดแบบระเบิดช้าอย่าง C-3 ในการระเบิดส่งแรงสะท้อนกลับไปหาตัวหัวรบของกระสุนเจาะเกราะซึ่งสามารถสร้างแรงเบี่ยงเบนการระเบิด ก่อกวนการรวมศูนย์ของการระเบิด ก่อนที่มันจะมีประสิทธิภาพและการทำงานสมบูรณ์ ในการเจาะผ่านเกราะหลักด้านในไปได้ อย่างไรก็ตาม ก็มีการแก้ทางกันของผู้สร้างอาวุธยุคใหม่โดยการเพิ่มหัวรบทรงกรวยในจรวดเป็นสองหรือ 3 ชั้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเจาะทะลวงของตน และเชื่อไหมครับ ทางด้านผู้ป้องกันก็ออกแบบเกราะ ERA ที่มีแผ่นระเบิด 3 ชั้นป้องกันหัวรบดังกล่าวด้วยเช่นกัน ดูเหมือนจะเป็นการชิงไหวชิงพริบระหว่างฝ่ายบุกและฝ่ายป้องกันที่ ดุเดือดทีเดียว เกราะชนิดนี้มีจุดอ่อนสำคัญอีกส่วนคือ เมื่อมันระเบิด มันจะส่งแรงระเบิดและสะเก็ดกระจายไปทั่วทำให้ทหารราบได้รับบาดเจ็บ กลายเป็นว่าคนในรถปลอดภัยแต่ทหารข้างนอกโดนลูกหลง ซึ่งปัญหานี้ก็กำลังได้รับการแก้ไขโดยใช้เปลือกนอกของเกราะERA ที่เป็นพลาสติกที่สลายไปได้ในความร้อนจากการระเบิดซึ่งลดการบาดเจ็บจากสะเก็ดไปได้ (แต่ก็อาจจะหูหนวกอยู่ดี)
ฉนั้น เกราะหากติดERTใต้ท้องรถเมื่อเจอกับIED จะยิ่งเพิ่มแรงอัดระเบิดขึ้นอีกครับ