กองทัพภาค 2 ซ้อมรบด้วยกระสุนจริง
|
||||
ศูนย์ข่าวนครราชสีมา- “ผบ.ทบ.” ลงพื้นที่ ทภ. 2 ดูการซ้อมรบด้วยกระสุนจริงที่โคราชเพื่อเตรียมความพร้อมกำลังพลรับมือ สถานการณ์ชายแดนและรักษาความมั่นคงของชาติ ย้ำไม่ใช่การแสดงแสนยานุภาพข่มขวัญเขมร ยันขณะนี้ชายแดนไทย-กัมพูชายังปกติไม่ตึงเครียด แม้ใกล้วันการพิจารณาคดีปราสาทพระวิหารของศาลโลก ชี้ยังไม่มีการประกาศปิดชายแดนหรืออพยพชาวบ้าน
วันนี้ (9 เม.ย.) ที่สนามฝึกทางยุทธวิธี กองทัพภาคที่ 2 อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) พร้อมด้วยคณะนายทหารระดับสูงของกองทัพบก ได้เดินทางมาตรวจเยี่ยมการฝึกดำเนินกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริง ของกองทัพภาคที่ 2 ประจำปี 2556 โดยมี พล.ท.จีระศีกดิ์ ชมประสพ แม่ทัพภาคที่ 2 (มทภ.2) นำคณะนายทหารระดับสูงของกองทัพภาคที่ 2 ให้การต้อนรับ
ทั้งนี้ เป็นการฝึกลักษณะผสมเหล่า ประกอบด้วย ทหารราบ ,ทหารม้า (รถถังหนัก) และทหารปืนใหญ่ เป็นหลัก เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทั้งในระดับบุคคล และเป็นหน่วยทางยุทธวิธี โดยในการฝึกครั้งนี้ได้ใช้เวลาประมาณ 30 นาที ในการสาธิตเรื่องของการยิงสนับสนุนแบบต่างๆ และการดำเนินยุทธ์อย่างมีประสิทธิภาพจากหน่วยทหารราบ ทหารม้า และทหารปืนใหญ่ รวมทั้งทหารเหล่าอื่นๆ อย่างประสานสอดคล้องกัน
พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก เปิดเผยภายหลังจากชมการฝึก ว่า การซ้อมในครั้งนี้เป็นการซ้อมรูปแบบการเข้าตีที่หมายจำกัด ซึ่งทางกองทัพภาคที่ 2 ได้สาธิตการเตรียมกำลัง วางแผนเคลื่อนย้าย ใช้การยิงสนับสนุน และการใช้กำลังทางอากาศ เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาเกิดความมั่นใจว่า หากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นตามชายแดนที่รับผิดชอบจะสามารถควบคุมสถานการณ์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ต่อข้อถามที่ว่าการฝึกครั้งนี้เป็นการเตรียมความพร้อมในการเผชิญหน้า กับทหารกัมพูชาในช่วงใกล้วันพิจารณาคดีปราสาทพระวิหาร ของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ไม่ได้เป็นการแสดงแสนยานุภาพ เพื่อข่มขวัญประเทศกัมพูชาแต่อย่างใด แต่เป็นเพียงการฝึกซ้อมประจำปี ของกองทัพภาคที่ 2 เพื่อเตรียมความพร้อมของกำลังพลในการรักษาความมั่นคงของประเทศชาติ
ส่วนการที่ฝั่งประเทศกัมพูชาได้มีการฝึกซ้อมรบในระยะไล่เลี่ยกันนั้น ก็เป็นเรื่องของประเทศกัมพูชา ซึ่งประเทศไทยจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว และขอยืนยันว่าสถานการณ์ชายแดนไทย – กัมพูชา บริเวณปราสาทเขาพระวิหารยังคงปกติ ไม่มีความตึงเครียด และไม่ได้มีการประกาศปิดชายแดนแต่อย่างใด เพียงแต่สื่อพากันประโคมข่าวจนดูเหมือนว่าจะมีความตึงเครียดเกิดขึ้นเท่า นั้น
ส่วนกรณีที่มีกระแสข่าวว่า หมู่บ้านต่างๆ ตามแนวชายแดนไทยกัมพูชา อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ มีการประกาศเสียงตามสายให้ชาวบ้านอพยพออกจากพื้นที่นั้นจริงหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า เรื่องนี้ยังไม่ได้รับรายงานเข้ามา หรืออาจเป็นชาวบ้านประกาศกันเองก็ไม่ทราบ แต่ยืนยันว่าในส่วนของกองทัพ หรือรัฐบาลไม่ได้มีการประกาศให้มีการอพยพในช่วงนี้แต่อย่างใด เพราะยังไม่มีความตึงเครียดถึงขั้นปะทะกันระหว่างกองกำลังทหารทั้งสองประเทศ
แหม่ น่าจะให้ท่านด็กทะเลเดบิวท์นะครับ ท่านนก
มีคนประเดิมหน้าเพจใหม่ละ ต้อนรับสงกราณต์อีกต่างหาก
ทหารเราเก่งอยู่แล้วครับ สำคัญที่คนสั่งรบ กล้าสั่งหรือปล่าว
ผมท้าเลย ถ้าลุยกันจริง เราสามารถบุกถึง พนมเปญแค่ไม่เกิน 2 วัน
ประเทศเขมรทั้งประเทศ คือพื้นที่ของไทยนะครับ แล้วโดนฝรั่งเศสมันมาปล้นของเราไป
เยี่ยมครับ ความพร้อมคือสิ่งที่เราต้องการ
รูปไม่ขึ้นครับ
http://77.nationchannel.com/video/340057/
ทหารไทยเตรียมความพร้อมตลอดเวลาอยู่แล้วครับ แต่ไม่มีสงครามจะดีกว่า นอกจากไม่ก่อประโยชน์แล้วยังมีโทษมหาศาลอีกครับ สงสารประชาชน ยามสงบก็ลำบากอยู่แล้ว
จริงๆ น่าจะฝึกร่วมกับทอ.ด้วยนะครับ.....สาธิตการทิ้งระเบิดเลเซอร์ ไกด์ บอมบ์ ว่ามีความแม่นยำขนาดใหน กินพื้นที่ขนาดเท่าไหร่ ให้ ฝูง 103 บินมาสูงๆ แล้วปล่อย หรือไม่ก็สาธิตการใช้ UAV มาทำหน้าที่ผตน.ปรับจุดตกของกระสุนปืนใหญ่ ให้รู้ว่าการรบสมัยใหม่เค้าทำกันแบบนี้ เป็นต้น
บุกได้ เเต่ถ้าชนะเเล้วยังไงต่อ
เเปลกใจที่ยังมีเเนวคิดเเบบนี้อยู่
การฝึกดำเนินกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริง ของกองทัพภาคที่ 2 ประจำปี 2556
ซ้อมรบก็ดีครับ จะได้รู้ว่าเราพร้อมมากน้อยแค่ไหน
ส่วนคนที่โดนก็ดีเช่นกันครับ จะได้รู้ว่าเรามีขอบเขตแค่ไหน
ผมขอถามคุณ jack1112 ว่าคุณชอบประวัติศาสตร์ไหมครับ?
ถ้าคุณชอบ ผมขอแนะนำให้คุณไปศึกษาประวัติศาสตร์ ด้วยตัวเอง
แต่ถ้าคุณไม่ชอบ คุณไม่ควรแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ เพราะประวัติศาสตร์เป็นเรื่องละเอียดอ่อนต้องทำความเข้าใจเป็นอย่างมาก
คุณต้องมีความรับผิดชอบต่อความคิดเห็นของคุณด้วย
ตอนแรกกะว่าจะเข้ามาดูเฉยๆ
คุณMaceusพูดถูกต้องแล้วครับ....คุณjack1112ต้องลองศึกษาประวัติศาสตร์ให้ยาวอีกนิดนึง
เพราะ ว่าความจริงสมัยโบราณนั้นประเทศรอบข้างเรา(ไม่ว่าพม่า , ไทย , ลาว , กัมพูชา)
ต่างมีดินแดงเป็นของชนชาติตัวเองครับ..เพียงแต่สมัยก่อนนั้นเราอาจไม่มีชื่อเรียกประเทศป็นทางการอย่างปัจจุบัน
เราก็จะใช้ชื่ออาณาจักร หรือ ชื่อชนชาติ มาเป็นเรียกแทน ( ชื่ออาณาจักร เช่น อยุธยา , หงสาวดี , ล้านช้าง , ล้านนา..
หากเป็นชื่อชนชาติ ก็เช่น พม่า , ไท , ขอม , ญวน , ลาว )
และพูดตรงๆว่า " สมัยก่อนนั้นแทบทุกอาณาจักรเคยเป็นดินแดนของกันและกัน" ขึ้นอยู่กับว่าช่วงเวลาไหนอาณาจักรไหน
เข้มแข็งกว่าก็จะยกทัพไปตีอาณาจักรใกล้เคียงเพื่อยึดครองดินแดน หรือ บางครั้งอาณาจักรที่อ่อนแอก็มายอมอ่อนน้อมเป็นประเทศราช
ฉะนั้น...หากศึกษาจริงๆในช่วงเสียกรุงครั้งที่1 ก็ถือว่าไทยในสมัยนั้นเป็นดินแดนพม่า เมื่อพระนเรศวรประกาศเอกราชและอาณาจักร
อยุธยามีอำนาจขึ้นก็ยกทัพไปตีพม่ากลับคืนก็ทำให้ดินแดนพม่าบางส่วนเป็นของไทย หรือ หากย้อนกลับไปก่อนสมัยสุโขทัยดินแดนที่
เป็นประเทศไทยขณะนี้ก็เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของอาณาจักรขอม(ซึ่งก็คือเขมรหรือกัมพูชานั่นแหละ)สังเกตได้จากปราสาทหินทั้งหลาย
นั่นก็เป็นศิลปะขอมทั้งสิ้น.....ต่อมาเมื่อชนชาติไทยเข้มแข็งและขอมเสื่อมอำนาจลง...ไทยเราก็ตั้งอาณาจักร และ แผ่ขยายอิทธิพล
กลับไปทางเขมรบ้าง..ซึ่งต่อมาไทย และ ญวน( หรือ เวียดนาม)ต่างผลัดกันขึ้นมีอำนาจในพื้นที่กัมพูชา...หากเป็นช่วงไทยติดศึกพม่า.
.ญวนก็จะเข้ามามีอำนาจเหนือดินแดนเขมร และ เมื่อไทยว่างศึกพม่าเมื่อไหร่ก็จะหันไปสนใจทางเขมรอีกครั้ง...ล่าสุดเมื่อสมัย รัชกาลที่3
กองทัพไทยนำโดยเจ้าพระยาบดินทรเดชายังเคยรบและผลัดกันแพ้-ชนะกับกองทัพเวียดนามในแผ่นดินเขมรเลยครับ
ฉะนั้น...หากจะมาอ้างว่าใครเคยเป็นดินแดนของใครนั้นคงจะพูดกันยาว...เพราะแต่ละชนชาติต่างก็ผลัดกันแย่งผลัดกันยึดอย่างที่กล่าวมา
ข้างต้น....และ แต่ละชนชาติต่างต้องพยายามอ้างถึงยุคที่ชนชาติตนเองเรืองอำนาจในพื้นที่กันทั้งนั้นแหละครับ
ออกตัวก่อนนะครับว่าผมเป็นครู และเป็นครูสอนประวัติศาสตร์โดยตรง
การศึกษาประวัติศาสตร์นั้น จะต้อง "เปิดใจให้กว้าง" ก่อนที่คุณจะศึกษา
เพราะหากคุณตั้งธงเอาไว้ในใจ หรือคุณเชื่อจากการรับรู้ข้อมูลแรกของคุณ แล้วคุณปักใจเชื่อไปตลอด นั่นไม่ใช่วิธีศึกษาประวัติศาสตร์ครับ
การศึกษาประวัติศาสตร์นั้น ต้องใช้ข้อมูล หลักฐาน ซึ่งในที่นี้ข้อมูลและหลักฐานมันก็มีหลายระดับ หลายมิติ ซึ่งเราต้องรวบรวมก่อน จากนั้นจึงตีความ
ยกตัวอย่างเช่น เรื่องยุทธนาวีที่เกาะช้างนั้น หนังสือหลายเล่ม สื่อหลายที่ บันทึกไว้ว่า ไทยชนะสงคราม ซึ่งใจผมแรกสุดก็เชื่อเช่นนั้น
แต่พอได้หาข้อมูลหลายที่ หลักฐานมันก็มายันกันเองว่าจริง ๆ แล้ว เราแพ้ แถมธนบุรีจมด้วยคนกันเอง และยิ่งได้ไปคุยกับนายทหารจากทีมงานสารคดีของกองทัพเรือมาด้วยตัวผมเอง
ผมยิ่งได้ข้อมูลเพิ่มว่า จริงนะที่เราแพ้สงครามที่เกาะช้าง แต่เราชนะทางยุทธวิธี ที่ทำให้ฝรั่งเศสไม่บุกต่อได้
เรื่องกัมพูชาก็เช่นเดียวกัน ถ้าศึกษาแผนที่โบราณมา ไม่มีประเทศหรอกครับสมัยนั้น มีแต่เมือง เขตใครก็เขตมัน ใครยิ่งใหญ่กว่า ก็ไปตีเขามา อย่าว่าแต่พม่ามาตีเราเลย เราก็เคยไปทำกับเขาเช่นกัน ซึ่งถ้าไปอ่านพงศาวดารและหลักฐานจากฝั่งพม่าเอง ผมว่าพม่าบันทึกได้ละเอียดกว่าเราซะอีก แถมไม่เข้าข้างตัวเองด้วย คือบันทึกกันตรง ๆ อย่างนั้นเลย บางครั้งเขายกย่องเราเสียด้วยซ้ำไป
ดังนั้น ตอนนี้ไม่ต้องไปสนแล้วครับว่าใครเป็นเมืองขึ้นใครมาก่อน ค่อย ๆ หาทางอยู่ร่วมกันอย่างสันติจะดีกว่า
แต่ยกเว้นว่า ทางกัมพูชาเกรียนเกินไปจนเกินงามในบางครั้ง จะสั่งสอนบ้างอันนี้ผมก็ไม่ว่ากัน อิอิ
สวัสดีครับท่านครูบ้านนอก ได้เจอครูบ้านนอกเหมือนแถมสาขาประวัติศาสตร์เช่นเดียวกัน
ต้องทำใจครับเราถูกปลูกฝังด้วยตำราฉบับชาตินิยมมาตั้งแต่เด็กๆ
ซ้อมรบที่อุณหภูมิ 40 องศา เดือน เมษายน นี่นะ...โหด มากสุดๆ แล้ว
ถ้าอยู่กลางแดดทั้งวัน ต้องมีสลบเหมือด หลายคนแน่ๆ....
ขอเรียนว่าการรบที่เกาะช้างเป็นยุทธนาวีครับมิใช่สงคราม
ผลของสงครามนั้นพูดยากว่าใครชนะ ผมไม่เคยอ่านเจอในข้อเขียนท่านผู้ใดว่าไทยเป็นผู้ชนะในยทธนาวีครั้งนี้ แต่หากว่าตามความคิดผม
ค้าน ยุทธศาสตร ไทยชนะแน่นอน เพราะทำลายหรือหยุดแผนฝรั่งเศสได้
ด้านยุทธวิธี พูดยากครับผมไม่เคยอ่านเจอจากข้อเขียนของใครว่ารล.ธน.ถูกลาม็อตปิเก้ ยิงจมระหว่างการยุทธ แต่ถูกยิงเเสียหายจนต้องไขน้ำเข้าเรือเพื่อดับไฟหลังจากการยุทธนั้นถูกต้อง
รล.ธน.ไม่ได้จมขณะยุทธนาวี แต่ถูกลากเข้ามากยตื้นและฝ่าย ทร.เป็นผู้ไขน้ำเข้าเรือเพื้อดับไฟ ถามว่ารล.ธน.เสียหายจากการรบมั้ย แน่นนอนครับเสียหายมากจนไมม่อาจซ่อมกลับมาเป็เป็นเรือรบหลักได้แลดูเหมือนว่าปลดระรางในปี2505
ลามอตปิเก้ ไม่มีข่าวหรือหลักฐานว่าหลังจากยุทธนาวีเสียหายอะไร รู้แต่ว่าหลังจากยุทธนาวีครั้งนี้ลามอตปิเก้ไม่เคยออกมาปฏิบัติการอะไร แม้ขณะถูกระเบิดจมที้ปากแม่น้ำโขงก็ถูกลากหนีฝูงบินทิ้งระเบิดออกมาจากอู่ แสดงว่าหลังจกยุทธนาววีแล้ว ลามอตเองก็หมดสภาพเรือรยหลักเช่นกัน
ส่วนตัวผม ผมมีความเห็นว่าไทยวางแผนยุทธศาสตร ผิดพลาดทั้งระบบ
1ไม่ควรก่อสงครามอินโดจีนในทุกกรณี ภัยที่แท้จริงของย่านนี้มันญี่ปุ่น ไม่ใช่ฝร้งเศส
2เมื่อก่อ คุณกลับไม่ใช้ประโยชน์กองทัพเรือให้เต็มที่ หากกองทัพเรือไทยเป็นฝ่ายโจมตีไซ่ง่อนก่อนผลขอองยุทธนาวีจะต่างออกไปมาก
คุณtraiครับ...โดยส่วนตัวผมมองว่าเราไม่ได้ก่อสงครามอินโดจีนขึ้นนะครับ...เท่าที่เคยรู้มา..เรามักจะโดนฝรั่งเศส
แทะเล็มรุกล้ำแดนเข้ามาเสมอ...บางครั้งก็ส่งเครื่องบินเข้ามาใช้อาวุธบริเวณจังหวัดริมฝั่งแม่น้ำโขง...ไม่ว่ามองในมุมไหนก็ถือว่า
เราถูกรุกรานและจำเป็นต้องตอบโต้กลับเพื่อรักษาอธิปไตยของเราครับ
ส่วนเรื่องส่งกำลังทางเรือไปโจมตีไซ่ง่อนนั้นผมว่าเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ครับ...กองทัพเรือของเราในสมัยนั้นไม่ได้ใหญ่โตขนาดนั้น
เรือใหญ่สุดที่มีในตอนนั้นก็คือเรือหลวงธนบุรี และ เรือหลวงศรีอยุธยา...ส่วนเรือในชุดเรือหลวงแม่กลองนั้นก็เป็นเรือสลุป
ซึ่งมีความเร็วต่ำ...ที่เหลือนอกจากนี้ส่วนใหญ่ก็เป็นเรือเล็กอย่างเดียวกับเรือตอร์ปิโดที่จมที่เกาะช้าง เช่น รล.สงขลา , รล.ชลบุรี
ส่วนเรือหลวงนเรศวร กับ เรือหลวงตากสิน ที่สั่งต่อที่อิตาลีก็ยังไม่เสร็จ...ในส่วนของเรือดำน้ำนั้น...จัดว่าเป็นของใหม่สำหรับ
กองทัพเรือในยุคนั้น...ซึ่งในขณะนั้นเราอาจจะยังไม่ชำนาญจนไม่สามารถใช้งานได้เต็มขีดความสามารถ
ถ้าเราใช้กองทัพเรือตั้งรับในบ้านของเรา..หากฝรั่งเศสยกกองเรือบุกมาแล้วกองเรือเราสู้ไม่ได้จริงๆ..เราก็สามารถ
ใช้กำลังทางอากาศ และ ปืนใหญ่ชายฝั่ง ที่อยู่ใกล้เคียงมาสนับสนุนได้ครับ..พลาดพลั้งเรือจมขึ้นมา..ลูกเรือของเราก็ว่ายน้ำกลับ
เข้าฝั่งบ้านตัวเองครับ
แต่หากเราเอากองเรือที่อ่อนแอกว่าไปบุกเค้า..เราต้องเจอทั้งกองเรือผิวน้ำที่เข้มแข็งกว่าเรา..รวมทั้งเรือดำน้ำของฝรั่งเศสที่อาจจะ
โผล่ มาโจมตีกองเรือของเราได้ทุกเมื่อ...นี่ยังไม่นับถึงเรื่องต้องระวังเครื่อง บินฝรั่งเศสที่สามารถโผล่มารุมกินโต๊ะกองเรือเราอีกนะครับ
หากพลาด พลั้งขึ้นมาจนเรือจมเหมือนที่เกาะช้างล่ะก็...ลองคิดดูเล่นๆซิครับว่าจะเกิด อะไรขึ้นกับลูกเรือของเราที่ลอยคออยู่ในน่านน้ำข้าศึก
ในขณะเดียวกันผมว่าที่กองทัพฝรั่งเศสในอินโดจีนไม่เข้มแข็งอย่างที่ควรจะเป็นนั้น...อาจมีสาเหตุมาจากเรื่องดินฟ้าอากาศและกำลังใจ
ของทหารส่วนนึง
แต่สาเหตุหลักผมว่ามาจากในขณะนั้นแผ่นดินแม่ของฝรั่งเศสกำลังเผชิญกับสงครามอันเนื่องมาจากเยอรมันยกพลบุกภาคพื้นยุโรป
ทำให้ฝรั่งเศสต้องมุ่งความสนใจไปยังสงครามในยุโรปก่อน จนทำให้ไม่สามารถให้การสนับสนุนทหารของตนในอินโดจีนได้เต็มที่
หากในขณะนั้นไม่มีสงครามในทวีปยุโรปแล้ว..ผมว่าไทยเราน่าจะโดนฝรั่งเศสรุกหนักกว่านี้
สรุปแล้ว...โดยส่วนตัวผมคิดว่าสื่งที่ผิดพลาดของเราในตอนนั้น...ก็คือ
1.เรายังไม่มีประสบการณ์ในการรบรูปแบบนี้...รวมทั้งขาดการสื่อสารที่ดีระหว่าง ทร. และ ทอ. จนทำให้เครื่องบิน
ทิ้งระเบิดใส่เรือรบฝ่ายเดียวกัน
2.เราน่าจะเอาเรือดำน้ำที่มีอยู่ 4 ลำในตอนนั้น..มาใช้ในเชิงรุกให้มากขึ้น...หากเราส่งเรือดำน้ำไปดักในเส้นทางที่
คาดว่าข้าศึกจะเดินเรือผ่านมา หรือ หากในตอนนั้นมีเรือดำน้ำของเราอยู่ในพื้นที่ยุทธนาวีละก็..ผมว่ากองเรือฝรั่งเศส
คงจะเจ็บหนักกว่านี้
อย่างไรก็ตามถึงเราจะพลาดพลั้งจนเสียเรือรบที่เกาะช้าง....แต่ผมว่าโดยภาพรวมแล้วเราชนะสงครามในครั้งนั้น...เพราะผลการรบ
ทางบก และ ทางอากาศ เราสามารถสร้างวีรกรรมที่โดดเด่นมีหลักฐานบันทึกชัดเจนหลายครั้ง...ถึงขนาดตีกองพันต่างด้าว
ของฝรั่งเศสจนละลาย....ยึดธงชัย และ รถถังของฝรั่งเศสได้ 5 คันได้เนี่ย....แค่นี้ก็ถือว่าไม่ธรรมดาแล้วครับ
เรียน คุณ A_hatyai
ประเด็นหลักของผมมันไม่ได้อยู่ที่ใครรุกไครก่อน หรือสาเหตุสงครามอิรโดจีนมันมาจากอะไร
แต่มมันอยู่ที่ ผู้นำยุค2483 มองไม่ออกหรือครับว่า ประเทศใหนเป็นมหันตภัยอันคัย 1 ของไทย
ผมคิดว่าจะมีผลต่อนโยบายป้องกันประเทศขอวไทยในยุคนั้นมากครับ
เรียน คุณ A_hatyai
ประเด็นหลักของผมมันไม่ได้อยู่ที่ใครรุกไครก่อน หรือสาเหตุสงครามอิรโดจีนมันมาจากอะไร
แต่มมันอยู่ที่ ผู้นำยุค2483 มองไม่ออกหรือครับว่า ประเทศใหนเป็นมหันตภัยอันคัย 1 ของไทย
ผมคิดว่าจะมีผลต่อนโยบายป้องกันประเทศขอวไทยในยุคนั้นมากครับ
ส่วนเรื่องการโจมตีท่าเรือไฃ่ง่อนก่อนนั้น ผมเคยได้ยินมาครับดูหมือนจะเป็นข้อเสนอข้อหนึ่งครับแต่คุยในนี้คงไม่เหมาะเอาไว้มาตั้งกระทู้ถกกันดีกว่าครับ
สุดท้ายเรื่อง รล.ธนบุรีvsลามอตปิเก้ ความเห็ของผมฃอยืนยันว่าไม่เกียวกับชาตินิยม ผลการรบผมให้เสมอกัน แบบเรรือธนควรจะชนะด้วยซ้ำ
1 ลามอต ต้องถอยไม่ได้ทันทำภารกิจ
2ไม่มีไครจมในระหว่างการรบ แต่เสียหายกลับไปหมดสภาพการเป็นเรรือรบหลักทั้ง2ลำ
3ส่วนที่ว่ารล.ธน จมนั่นเป็นขบวนการขั้นตอนดับไฟทีต้องปิดดน้ำเข้าเรือ ซึ่งดำเนินการโดยฝ่าย ทร.
อ้างจากข้อความของคุณ Trai ที่เขียนไว้ในกระทู้ข้างต้น...ที่ระบุว่า
"ส่วนตัวผม ผมมีความเห็นว่าไทยวางแผนยุทธศาสตร ผิดพลาดทั้งระบบ
1ไม่ควรก่อสงครามอินโดจีนในทุกกรณี ภัยที่แท้จริงของย่านนี้มันญี่ปุ่น ไม่ใช่ฝร้งเศส
2เมื่อก่อ คุณกลับไม่ใช้ประโยชน์กองทัพเรือให้เต็มที่ หากกองทัพเรือไทยเป็นฝ่ายโจมตีไซ่ง่อนก่อนผลขอองยุทธนาวีจะต่างออกไปมาก"
ผมขอถามคุณTrai ครับ...ที่คุณบอกว่าประเด็นไม่ได้อยู่ที่ใครรุกรานใครก่อน...งั้นคุณช่วยตอบผมทีว่าข้อความที่คุณพิมพ์ข้างต้นนั้น
คุณหมายความว่ายังไงไม่ทราบ....ถ้ามันไม่เกี่ยวข้องแล้วคุณจะพิมพ์เข้ามาเพื่ออะไร...?
และ ช่วยตอบผมทีว่า 1.คุณหมายถึงใครเป็นคนก่อสงคราม...ช่วยระบุให้ชัดๆ..และรับผิดชอบข้อความที่พิมพ์ไป
2.คุณเอาตรรกะอะไรมาวัดว่าในตอนนั้นญี่ปุ่นเป็นภัยต่อย่านนี้...เพราะในขณะ นั้นญี่ปุ่นกำลังง่วนอยู่กับจีน
ซึ่งมีปัญหากันมานานแล้ว(โดยที่จีนมีอเมริกาหนุนหลัง)....ผมว่าญี่ปุ่นไม่อยากรบกับไทยหรอกครับ..
แถมตอนที่ญี่ปุ่นประกาศตัวเป็นฝ่ายอักษะญี่ปุ่นก็จะได้ศัตรูเพิ่มเติมทั้งอังกฤษ , อเมริกา
ซึ่งเป็นเจ้าของอาณานิคมในแถบนั้น....ผมว่าญี่ปุ่นยิ่งอยากได้ไทยเป็นพวกด้วยซ้ำ....ดีไม่ดี
หากไทยร่วมมือจนญี่ปุ่นขับไล่อังกฤษออกไปได้....ไทยอาจได้ผลประโยชน์โดยได้รับดินแดนที่
เสียให้อังกฤษในยุคล่าอาณานิคมกลับคืนมาอีก
3.อะไรทำให้คุณคิดว่าญี่ปุ่นเป็นภัยกับเราในเวลานั้น...คุณรู้มั้ยครับในยุค นั้นไทยกับญี่ปุ่นมีความร่วมมือกันทางทหาร
เป็นอย่างดีครับ...ผมอยากบอกคุณว่า
- เครื่องบินรบที่เราเอาไปทิ้งระเบิดโจมตีที่มั่นฝรั่งเศสในกัมพูชาก็เป็น เครื่องบินจากญี่ปุ่น
- เรือในชุดเรือหลวงธนบุรี , เรือหลวงแม่กลอง ที่เป็นเรือรบใหม่ของเราในยุคนั้นก็ต่อจากญี่ปุ่น
- รถถังที่เรามีประจำการในยุดสงครามโลกนั้นก็มาจากญี่ปุ่น
- ฝูงบินนาวีในยุคเริ่มแรกของเราไม่ว่าจะเป็น บ.รน.๑ , บ.รน๒ , บ.รน.๓ ก็เป็นเครื่องบินที่เราจัดหาจากญี่ปุ่น
- เรือดำน้ำ 4 ลำแรกของเราก็เป็นเรือจากญี่ปุ่น
หากเปรียบเทียบกันอีกมุมตอนเกิดวิกฤติอินโดจีนนั้น..ไทยสั่งซื้อ บ.ขับไล่ Hawk-75 มาจากอเมริกา...แต่พอถึง
คราวจะจะส่งมอบเขากลับถ่วงเวลาส่งมอบให้ล่าช้าเพราะกลัวเราจะนำ เครื่องบินมารบกับฝรั่งเศสซึ่งเป็นพันธมิตร
กับเขา...สุดท้ายเพิ่งจะยอมส่งมอบให้หลังวิกฤติการอินโดจีนเริ่มคลี่คลาย แล้ว....ในขณะที่ในตอนนั้นญี่ปุ่นให้ความ
ร่วมมือในการจัดส่งอาวุธมาให้เราใช้รบป้องกันประเทศเป็นอย่างดี
หากจะว่ากันจริงๆแล้วในช่วงสงครามอินโดจีนนั้น...ญี่ปุ่นเป็นมหามิตรกับเรา ยิ่งกว่าชาติตะวันตกใดๆครับ
4.หากคุณคิดว่าประเทศญี่ปุ่นเป็นภัยต่อย่านนี้....คุณช่วยตอบผมทีครับว่าถ้า คุณเป็นผู้บริหารประเทศในยุคนั้น
คุณจะดำเนินนโยบายอย่างไรครับ...ไปประกาศตั้งตัวเป็นศัตรูกับญี่ปุ่นอย่าง นั้นเหรอ...? และช่วยตอบทีว่าถ้าคุณ
เห็นญี่ปุ่นเป็นภัยคุกคาม คุณจะหาใครมาช่วยต่อต้านญี่ปุ่นล่ะครับ...อเมริกาตอนนั้นก็ยังเอาตัวไม่รอด แทบจะถูก
ญี่ปุ่นตีตกทะเลที่ฟิลิฟฟินส์ด้วยซ้ำ.......และอย่าลืมว่าในยุคนั้นยังไม่เกิดอาเซียนนะ....
อำนาจการบริหารประเทศแถบนี้จะอยู่ในมือของอังกฤษ,ฝรั่งเศสเจ้าของอาณานิคม ทั้งสิ้น....หรือคุณจะหันไป
ร่วมมือกับอังกฤษและฝรั่งเศสต้านญี่ปุ่นอย่างนั้นเหรอ ทั้งๆที่ขณะนั้นฝรั่งเศสจ้องจะเข้ามาฮุบดินแดนเราตั้งแต่สมัย
ล่าอาณานิคม..และในตอนนั้นก็ยังจ้องอยู่ แถมอังกฤษก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่ยึดดินแดนแถบมลายูไปจากเราเนี่ยนะ
ประเทศที่ดีกับเราในตอนนั้นคุณมองเป็นภัยคุกคาม...แต่ประเทศที่ส่งเครื่อง บินมาทิ้งระเบิดบ้านคุณแล้ว..คุณกลับ
มองว่าเขาไม่ใช่ภัยคุกคามที่แท้จริง.....ฟังดูมันแปลกๆนะ
เหมือนกับว่าข้างบ้านคุณก็มีศัตรูอยู่แล้ว....คุณดันจะไปประกาศตัวเป็นศัตรู กับบ้านที่อยู่ปากซอยอีกเหรอ....
ช่วยตอบให้กระจ่างด้วยครับ.....ผมเป็น"คนรู้น้อย" อ่านข้อความของคุณฟังดูเป็นวิชาการแล้วรู้สึกว่าท่าทางคุณจะมีความ_รู้มากดี
ผมก็เลยหวังว่าจะได้ความรู้ใหม่ๆจากคุณบ้าง
เรียน คุณA_ hatyai
ดูข้อเขียนคุณแล้ว ผมซึ่ไม่มีความรู้อะไรเป็นพิเศษคงด้ยกว่าคุณมาก ทั้งคุณวุฒิเเละวัยวุฒิครับคงเทียบคุณไม่ได้แน่ๆครรับ
คววามเห็นผมคือ
1 สุดท้ายญี่ปุ่นยึดประเทศไทย อันนี้ผมถึงว่าเป็นมหันตภัย จะว่าเป็นทางผ่านเพื่อรบอังกฤษ แต่จริงๆยึดถึง5ปี จน2488
2การจะมองว่าใครเป็นศัตรูที่แท้จริงของประเทศ ต้องเป็นหน้าที่ของผู้บริหารประเทศครับหรือท่าผู้นำ คงไม่ใช่ระดับผม แต่สุดท้ายประเทศไทยถูกยึดครองโคยญี่ปุน อันนี้ผมมองว่าผู้บริหารประเศในยุคนั้นประเมินศัตรูที่แท้จริงของประเทศผิดพลาด ทำให้ไม่ได้มองหรือเตรียมรับด้านญี่ปุ่น อันนี้ผมมองที่ผลลัพพ์ครับ
ต่อครับ
3 เราเสียดินแคนให้ฝรั่งเศสครั้งสุดท้ายน่าจะ 2448 จน30ปีต่อมา2478 จนสิ้นสมัย ร7 ไทยไม่มีเรื่องกระทบกระทั่งกับฝรั่งเศส จนถึงยุคท่านผู้นำ จึงเริ่มีการเดินขบวนเรียกร้องดินแดนคืน โดยกลุ่มนักศึกษาและยุวชนทหาร ในยุคนั้นคงทราบกันนะครับมีการปลุกกระแส ชาตินิยมกันมาก ดังนั้นการกระทบกระทั่งตามแนวชายแดนจึงตามมา การยิงปืนใหญ่ใส่กันผมคิดว่าเรายังพอเจรจากันได้ แต่ผมคิดว่าไทยเป็นฝ่ายส่งกองทัพเข้าอินโดจีนก่อนไม่ใช่หรือครับ
4 จากข้อ3 เมื่เกิดปะทะกัน อย่างหนึ่งต้องแน่ๆครับ ผมว่ากระสุนปืนแบะอาวุธทั้งฝ่ายไทยและอินโดจีนคงพร่องไปเยอะ แล้วจะต้านทานญี่ป๔นได้อย่างไร
5ถามว่าสู้ได้หรือไม่ได้ ถ้าอาวุธผมพร้อมผมส้ครับ จริงอยู่ตอนนั้นญี่ปุ่นต่างจากไทยมากแต่อย่าลืมครับ ญี่ปุนเปิดสงครามจนเกินตัว ดัานใต้กะรุกไปถืaustralia และอินเดีย หากเข้าอินโดจีนและไทย จะต้องแบ่งกองทัพถึง 3 ส่วน เออังกฤษที่พม่าและมาเลเซียด้วย ผมว่าหากไทยและอินโดจีนไม่ปะทะกัน จนเพลียทั้งคู่ผมมั่นใจว่าจะตองหยุดญี่ปุ่นไดครับ
กลับมาเเข้าประเด็นดีกว่าครับ ส่วนเรื่องกรณีพิพาทไทยอินโดจีนจนไปถึงสงครามมหาเอเชียบูรพา ผมว่าลองไปตั้งกระทู้คุยกันโดยเฉพาะจะดีกว่าครับ
ผมพยายามหาหลักฐานจากหนังสือที่ผมเคยอ่านข้อความเจอมาให้เป็นข้อมูล แต่วันนี้ทั้งวันผมก็หาไม่เจอ ตั้งแต่น้ำท่วมใหญ่นี่ หนังสือผมจมน้ำไปเกินครึ่ง
ผมอ่านเจอว่า "องค์สมเด็จพระจักรพรรดิญี่ปุ่น ทรงสั่งให้นายทหารในกองทัพญี่ปุ่น ปฏิบัติต่อไทย "อย่างเพื่อน" ไม่ใช่ศัตรู ครับ
พรุ่งนี้จะค้นอีกรอบว่ามันอยู่เล่มไหน หรือจมไปแล้วก็ไม่รู้ {#emotions_dlg.title}:
ต่อครับ รูปแบบของสงครามเต็มรูปแบบคือการส่งกองทัพเข้ายึดดินแดนข้าศึก อันนี้ผมคงเข้าใจถูกนะครับการตอบโต้ด้วยปืนใหญ่ หรือบินโจมตีข้ามแดน ผมว่าเรายังเจรจากันได้ แต่ผมเข้าใจว่าไทยเป็นฝ่ายส่งกองทัพเข้าบุกก่อน อันนี้คงไม่ใช่การปะทะตามแนวชายแดนทั่วไปแน่ครับ เป็นสงครามเต็มรูปแบบที่ไทยเป็นฝ่ายรุกก่อน ความเห็นของผมมันไม่สมควรครับ ท่านผู้นำยุคนั้นควรจะรู้ว่า ญี่ปุ่นกำลังจ้องมองอยู่ เพื่อเอาอินโดจีน ไทย เป็นทางผ่านเข้าอินเดีย
ผมสรุปนะครับ ทั้หมดผมมองที่ผลลัพพ์ครับ ผลลัพพ์ที่คาใจผมอยู่คือญี่ปุ่นยึดครองไทย การปะทะชายแดนไทย อินโดจีน ควรจะจบที่โต๊ะเจรจาครับ อินโดจีนไม่อยากมีเรื้องกับไทยแน่เพราะฝสรรั่งเศสเพิ่งแพ้เยอรมัน ผู้บริหารประเทศในยุคนั้นควรจะถนอมกำลังอาวุธให้มากที่สุดเพพื่อเตรียมรับกับสถานการในเอเซียที่ไม่แน่นอน
ผู้บริหารประเทศในยุคนั้น ควรจะมองให้ออกนะครับว่าใน10 ปีข้างหน้ากรณีที่เลวร้ายที่สุด ใครจะมีศักยภาพรุกรานไนไทย เตรียมอาวุธต่างๆเเพื่อรับสถานการให้พร้อมที่สุด
ท่านประธาน ขออีกนิดน่า นิดเดียวเอง
คุณครูครับ ซัดเราเต็มที่แล้วครับ ถึงมาปลอบ เน้นPR.แท้ๆครับ
เมื่อ70ปีก่อน หากกองทัพแห่งราชอาณาจักรไทยที่พร้อมรบสูงสุด เข้าต้านทานการรุกรานของกองทัพสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ในฐานะประเทศเอกราช ที่เท่าเทียมกัน ผมจะมีความภูมิใจมาๆๆครับ
การมองอดีต จากมุมมองปัจจุบันเป็นเรื่องที่ง่ายเสมอครับ ถ้าอยู่ในยุคสมัยนั้นในปี2483 ใครจะคิดว่าฝรั่งเศษที่แพ้สงครามไปแล้วจะกลับมาชนะ ใครจะไปคิดว่าต่อไปญี่ปุ่นจะโจมตี ฮาวายแล้วอเมริกาจะเข้าสู่สงครามและจะชนะสงคราม
ผมเคยอ่านเจอ นะครับ ว่าก่อนที่จะบุกอินโดจีน เราก็เคยขอเจรจาไปหลายครั้ง ยอมไปแม้กระทั่ง ทำสัญญาไม่รุกรานก่อน แล้วค่อยมาเจรจาทีหลัง แต่กลับถูกบิดพริ้วไม่ยอมเจรจาตามที่เคยตกลงไว้