นั้นเค้ามี มันนี่ นะครับ
อินโดนีเซียนี่ GDP โตกว่าบ้านเราอีกนะครับ 2.5 เท่าได้มั้ง อีกอย่างคือบ้านเขาปัญหาคอรัปชั่นลดลงมากครับ ไม่เหมือนบ้านเราทั้งสุญญากาศทางการเมืองที่เกิดบ่อย ๆ คอรัปชั่น ข้าราชการเช้าชาม-เย็นชาม มันเป็นตัวที่ทำให้เราโตไม่ทันเพื่อนบ้านครับ ตอนแรกที่บอกว่าเราจะตามสิงค์โปร์ไปติด ๆ แต่สุดท้ายมาเลย์ก็แซงไปแล้ว อินโดเขาก็โตกว่าเรานานแล้วเหมือนกัน เพราะว่าสองประเทศที่ว่าเป็นผู้ผลิตน้ำมัน แต่เราเป็นผู้ใช้น้ำมันรายใหญ่ - -
จริง ครับ..เอาแต่หาเรื่อง..กริน... ผมเจอมาตลอด...
คงต้องแยกเรื่องโกงออกไปก่อนครับ
อันนี้มันเป็นแค่เรื่องการลงทุนของสายการบินต้นทุนต่ำ ของอินโดเขาครับ ซึ่งเห็นว่าต่อไปจะรวมกันเป็น AEC การเปิดเสรีทางการบินจะเกิดขึ้น ก็เลยทำสัญญาซื้อเครื่องบินแบบเหมา Lot ใหญ่ซะขนาดนั้น โดยวางแผนว่าจะมีโอกาสที่จะเข้ามาตีตลาดใน ไทย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ ได้
ในกรณีของฟิลิปปินส์ นี้เห็นด้วยว่า Lion Air น่าจะเข้าไปทำตลาดได้ดีทีเดียว แต่ในกรณีของเวียดนามและไทย โดยเฉพาะในประเทศไทย ที่มีการแข่งขันรุนแรงอยู่แล้ว คงเป็นการยากที่ Lion Air จะเข้ามาเจาะตลาดได้ง่าย ๆ ครับ
หากมองในอีกแง่หนึ่งการซื้อเครื่องบินไว้ 234 ลำถ้าใช้งานในอินโด ที่การคมนาคมทางบกไม่สะดวกเพราะเป็นเกาะ และมีประชากรมากถึง 230 ล้านคน การใช้งาน รับ-ส่ง คนภายในประเทศก็น่าจะเพียงพอแล้ว
แต่การซื้อเครื่องบินมากมายขนาดนี้ ก็เป็นที่น่าสงสัยถึง ความสามารถในการบำรุงรักษาเครื่องบินให้พร้อมใช้งาน นั้นจะโตทันกับความต้องการบำรุงรักษาที่จะเกิดขึ้นหรือไม่ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นเราอาจจะได้ยินข่าวเครื่องบินตกรายวันอีกครั้ง ซึ่งวงการการบินอินโดก็ขึ้นชื่อเรื่องนี้อยู่แล้วครับ
และปัญหาอีกอย่างที่สำคัญคือ GDP Per capita ของคนอินโดที่ห่างจากไทยอยู่ 55% นี้จะทำให้คนอินโดส่วนใหญ่ มีกำลังซื้อเพียงพอที่จะใช้บริการเครื่องบินได้บ่อย ๆ หรือไม่ ???
แต่ก็ไม่แน่นะ รัฐบาลอาจจะสนับสนุนราคาเชื้อเพลิงสำหรับสายการบินในราคาถูกพิเศษ ซึ่งถ้าทำอย่างนั้นมันก็จะไปขัดกับการเปิดเสรี ที่กำลังจะเกิดขึ้นครับ
ทั้งนี้ความพยายามของรัฐบาลอินโด คือพยายามชะลอการเปิดเสรีไปก่อน ตามแรงกดดัน ของสายการบินแห่งชาติและสายการบินอื่น ๆ ให้ปกป้องตลาดการบินของอินโดนีเซีย ให้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้ ซึ่งก็น่าที่จะหวังในสายการบินของตัวเองพร้อมที่จะแข่งขัน ในตลาด AEC นั้นเองครับ
ลองดูกันต่อไปครับว่าจะเป็นยังไง