หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


โผล่ที่สัตหีบ .. เรือดำน้ำนิวเคลียร์สหรัฐฯ เข้าถึงก้นอ่าวไทย

โดยคุณ : top4 เมื่อวันที่ : 19/03/2013 10:16:00

โผล่ที่สัตหีบ .. เรือดำน้ำนิวเคลียร์สหรัฐฯ เข้าถึงก้นอ่าวไทย





เรือ แอลบูเคอร์กี (USS Albuquerque -SSN 706) แล่นไปยังเรือแฟรงค์ เคเบิ้ล (USS Frank Cable -AS 40) เรือพี่เลี้ยงในอ่าวสัตหีบของไทยวันที่ 10 มี.ค.ที่ผ่านมา กองทัพเรือสหรัฐโดยกองกำลังแปซิฟิกเผยแพร่ภาพในเว็บไซต์วันอังคารนี้ นับเป็นเรือดำน้ำสหรัฐลำที่ 2 ที่เข้าทะเลอ่าวไทย เท่าที่มีการเปิดเผยในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ปีที่แล้วเรือบัฟฟาโล (USS Buffalo - SSN715) ซึ่งเป็นเรือชั้นลอสแอนเจลีสอีกลำเข้าจอดที่ท่าเรือแหลมฉบัง แต่เรือแอลบูเคอร์กีเข้าถึงก้นอ่าวไทยในปีที่สหรัฐฯ เริ่มเคลื่อนย้ายกำลัง 60% สู่ภูมิภาค. -- US Navy Photo/Mass Communication Specialist 2nd Class Corey Hensley
       .
       
ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ทะเลอ่าวไทยได้กลายเป็นแหล่งคุ้นเคยสำหรับเรือดำน้ำขนาดใหญ่ไปอีกแห่ง และไม่จำเป็นต้องทำลับๆ ล่อๆ อีกต่อไป กองกำลังนาวีในแปซิฟิกของสหรัฐฯ ได้เผยแพร่ภาพเรือดำน้ำ 1 ลำ กับเรือพี่เลี้ยงอีก 1 ลำ ในบริเวณอ่าวสัตหีบของไทยในวันอังคาร 12 มี.ค.นี้ ซึ่งเป็นภาพเหตุการณ์ 2 วันก่อนหน้านั้น และเรื่องนี้เกิดขึ้นในช่วงปีที่สหรัฐฯ เริ่มเคลื่อนย้ายแสนยานุภาพเข้าสู่ภูมิภาค
       
       ทั้ง 2 ลำในภาพคือ เรือแอลบูเคอร์กี (USS Albuquerque -SSN706) ซึ่งเป็นเรือดำน้ำโจมตีเร็วชั้นลอสแองเจลิส (Los Angeles-Class) ขนาด 6,000 ตัน ติดจรวดร่อนโทมาฮอว์กสำหรับยิงโจมตีเป้าหมายภาคพื้นดินในรัศมีนับพันกิโลเมตร และติดจรวดฮาร์พูนยิงทำลายเรือรบข้าศึกบนพื้นน้ำ อีกลำหนึ่งคือ เรือแฟรงค์เคเบิล (USS Frank Cable -AS40) ซึ่งเป็นเรือสนับสนุนเรือดำน้ำ (Submarine Tender Ship) แต่ทั้งกองเรือแปซิฟิก และกองทัพเรือสหรัฐฯ ยังมิได้ให้รายละเอียดใดๆ เกี่ยวกับภารกิจของเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ลำนี้
       
       ตามรายงานในเว็บไซต์กองเรือแปซิฟิกสหรัฐฯ เรือแฟร็งค์ เคเบิล กับเรือแอลบูเคอร์กี ไปถึงอ่าวสัตหีบตั้งแต่วันที่ 9 มี.ค. ในโครงการเชื่อมความสัมพันธ์ และความร่วมมือกับราชนาวีไทย ซึ่งระหว่างนี้ลูกเรือจะมีส่วนร่วมในโครงการบริการชุมชนด้วย ขณะเดียวกันก็จะใช้โอกาสนี้ซ่อมบำรุงเรือดำน้ำให้แล้วเสร็จ ซึ่งไม่มีการระบุว่าเป็นเรื่องใดบ้าง
       
       “ภารกิจ (การแวะเยือน) ครั้งนี้จะะช่วยปรับปรุงความสามารถของเราในปฏิบัติงานร่วมกันในยามที่ไทยกับ สหรัฐฯ จะต้องปฏิบัติการร่วมกัน” น.อ.พีท ฮิลเดร็ท (Pete Hildreth) ผู้บังคับการเรือแฟรงค์ เคเบิล กล่าว
       
       อย่างไรก็ตาม ไม่มีการกล่าวถึงภารกิจของเรือดำน้ำ กับนายทหารและลูกเรือราว 150 ชีวิต
       
       แอลบูเคอร์กี นับเป็นเรือดำน้ำสหรัฐฯ ลำที่ 2 ที่แล่นเข้าถึงก้นอ่าวไทยในช่วงไม่กี่ปีมานี้หรือเท่าที่มีการเปิดเผย หลังจากเรือบัฟฟาโล (USS Buffalo - SSN715) ซึ่งเป็นเรือชั้นลอสแองเจลิสอีกลำได้เข้าจอดเทียบท่าเรือแหลมฉบังร่วมฝึก ซ้อมการปราบปรามเรือดำน้ำ ตามการร้องขอของราชนาวีไทยระหว่างวันที่ 31 ก.ค.-20 ส.ค.ปีที่แล้ว
       
       “วันที่ 20 มี.ค. เรือเอสเอสเอ็น 706 ได้เข้าจอดเทียบเรือยูเอสเอสแฟรงค์เคเบิล ขณะทอดสมอนอกฝั่งสัตหีบในประเทศไทย เพื่อรับการซ่อมบำรุง (Fleet Maintenance Availability - FMAV)” เป็นข้อความสั้นๆ เกี่ยวกับกำหนดการของเรือแอลบูเคอร์กี ที่โพสต์ลงในหน้าข่าวของเว็บไซต์ Uscarriers.Net วันอังคารนี้
       
       เว็บไซต์ดังกล่าวได้เฝ้าติดตาม และอัปเดตข้อมูลเกี่ยวกับเรือดำน้ำลำนี้ กับเรือชั้นลอสแองเจลิสลำอื่นๆ เป็นระยะ
       
       เรือแอลบูเคอร์กี แล่นออกจากฐานทัพซานดิเอโก รัฐแคลิฟอร์เนีย เมื่อวันที่ 29 ม.ค.2556 “เพื่อสนับสนุนสันติภาพกับความมั่นคงปลอดภัย” ในย่านแปซิฟิกตะวันตก ซึ่งหมายถึงทะเลจีนใต้กับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด
       
       ต่อมา วันที่ 13 ก.พ. เรือได้แวะเยือนเมืองท่าโยโกสุกะ (Yokosuka) ในญี่ปุ่นจอดที่นั่นเป็นเวลา 6 วัน ให้ลูกเรือกว่า 100 คนขึ้นฝั่ง เรียนรู้ด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น ทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ และพักผ่อน ทั้งนี้เป็นรายงานในเว็บไซต์กองเรือแปซิฟิกสหรัฐฯ
       
       หลังจากนั้นก็ไม่มีข่าวคราวใดๆ เกี่ยวกับเรือดำน้ำลำนี้เลยอีกจนกระทั่งวันนี้
       
       แอลบูเคอร์กีเข้าประจำการกองทัพเรือเมื่อปี 2526 และนับตั้งแต่เรือลอสแองเจลิส (USS Los Angeles -SSN688) ซึ่งเป็นเรือนำของชั้นเข้าประจำการในปี 2519 ได้มีการสร้างขึ้นมาอีกรวมทั้งหมด 62 ลำ จนถึงสิ้นปี 2555 ยังเหลือประจำการอยู่เพียง 42 ลำ ขณะที่ 18 ลำจอดนิ่งเพื่อรอปลดประจำการ อีก 2 ลำปลดออกไปและทำลายทิ้ง ทั้งหมดรอเรือรุ่นใหม่ในชั้นเวอร์จิเนีย (Virginia-Class) ขนาด 7,900 ตัน ใหญ่กว่า และทันสมัยยิ่งกว่าเข้าแทนที่
       
       บุกถึงก้นครัวเลยทีเดียว US NAVY Photo

       2

       3

       4
       ตามข้อมูลในเว็บไซต์ข่าวกลาโหมของสหรัฐฯ จนถึงสิ้นปี 2555 กองทัพเรือได้โยกเรือดำน้ำชั้นลอสแองเจลิสเข้าประจำการในเอเชียแปซิฟิกจำนวน 16 ลำ ตามนโยบายยุทธศาสตร์สับเปลี่ยนกำลังรบเข้าสู่ภูมิภาคนี้ 60% แต่ก็ยังมีเรือชั้นเวอร์จิเนียกับรวมทั้งเรือชั้นโอไฮโอ (Ohio-Class) อีกจำนวนหนึ่งด้วย
       
       โดยปกติสหรัฐฯ จะไม่เปิดเผยกำหนดการตลอดจนรายละเอียดเกี่ยวกับเส้นทางของเรือรบรวมทั้งเรือ ดำน้ำด้วย นอกจากนั้นรายละเอียดหลายประการเกี่ยวกับเรือดำน้ำก็ยังถูกเก็บเป็นความลับ ข้อมูลหลายเรื่องเกี่ยวกับเรือดำนน้ำที่ถูกปล่อยออกมาก็เป็นข้อมูลลวง ผู้เชี่ยวชาญด้านกลาโหมสหรัฐฯ กล่าว
       
       เรือชั้นโอไฮโอเป็นเรือดำน้ำยุทธศาสตร์ที่น่าเกรงขามมากที่สุด เพราะสร้างขึ้นมาเพื่อติดตั้งขีปนาวุธนิวเคลียร์โดยเฉพาะ เรือชั้นนี้แต่ละลำติดขีปนาวุธไทรเดนต์ (Trident Ballistic Missile) ได้ลำละ 24 ลูก ติดหัวรบที่เลือกยิง 3 เป้าหมายได้อย่างอิสระในคราวเดียวกัน นอกจากนั้น ยังติดจรวดโทมาฮอว์กรุ่นหัวรบนิวเคลียร์อีกจำนวนหนึ่งด้วย
       
       แอลบูเคอร์กี เป็นเรืออันดับที่ 19 ของชั้นในจำนวน 31 ลำ ที่ผลิตออกมารุ่นแรก และเข้าประจำการระหว่างปี 2519-2528 ซึ่งรวมทั้งเรือบัฟฟาโล (อันดับที่ 28) ด้วย ปัจจุบันยังเหลือเรือชั้นลอสแองเจลิสรุ่นแรกประจำการอยู่ 11 ลำเท่านั้น
       
       เรือชั้นลอสแองเจลิสรุ่น 2 หรือ Flight II ผลิตตามกันออกมาเพียง 8 ลำ เข้าประจำการระหว่างปี 2528-2542 เป็นรุ่นที่เริ่มติดตั้งท่อยิงจรวดโทมาฮอว์กแนวตั้งแทนระบบท่อยิงแนวนอนใน รุ่นแรกและมีการปรับปรุงระบบอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่ง
       
       เรืออีก 23 ลำเรียกว่า “รุ่นปรับปรุง” ซึ่งเป็นปัจจุบันที่สุด นำเข้าประจำการระหว่างปี 2531-2539 เพิ่มท่อยิงจรวดโทมาฮอว์กมากขึ้น ติดจรวดโทมาฮอว์กเวอร์ชันใหม่ที่ใช้หัวรบนิวเคลียร์ได้ ติดตั้งระบบสื่อสาร ระบบโซนาร์ และอื่นๆ ด้วยเทคโนโลยีล่าสุด รวมทั้งใช้จรวดโทมาฮอว์กรุ่นใหม่ยิงทำลายเรือแทนจรวดฮาร์พูนในรุ่นก่อน
       
       ในช่วงปลายยุคสงครามเย็น สหรัฐฯ มีแผนการผลิตเรือดำน้ำชั้นซีวูล์ฟ (Seawolf-Class) ขนาด 9,000-12,000 ตันเพื่อใช้แทนเรือชั้นลอสแองเจลิส แต่ด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงลิ่ว ทำให้ต้องหันไปให้ความสำคัญเรือชั้นเวอร์จิเนีย ซึ่งมีการพัฒนาขีดความสามารถให้ทันสมัยยิ่งขึ้นเรื่อยๆ จึงมีการสร้างเรือชั้นซีวูล์ฟออกมาเพียง 3 ลำและเลิกล้มแผนการไป
       
       เรือชั้นเวอร์จิเนียลำแรก คือ USS Virginia - SSN774 เข้าประจำการในเดือน ต.ค.2547 ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบันผลิตออกมาได้ 9 ลำ กองทัพเรือต้องการทั้งหมด 30 ลำ ส่วนเรือชั้นโอไฮโอ ทยอยเข้าประจำการมาตั้งแต่ปี 2524 จนถึงปัจจุบันมีทั้งหมด 18 ลำ
       
       เชื่อว่าในไม่ช้าไม่นานอ่าวไทยจะได้ต้อนรับสุดยอดแห่งเรือดำน้ำของโลกทั้ง 2 รุ่นอีก.
       
       
สะกดรอยมัจจุราชใต้สมุทร US NAVY Photo


เรือ แอลบูเคอร์กี (USS Albuquerque -SSN 706) แล่นออกจากอ่าวซานดีเอโก รัฐแคลิฟอร์เนีย วันที่ 29 ม.ค.2556 เพื่อปฏิบัติภารกิจในแปซิฟิกตะวันตกเป็นเวลา 6 เดือน เข้าประจำการเมื่อปี 2526 ตั้งชื่อตามชื่อเมืองเอกของรัฐนิวเม็กซิโก สัปดาห์นี้เรือแอลบูเคอร์กีโผล่เงียบๆ ในอ่าวสัตหีบของไทยกับเรือพี่เลี้ยง เป็นอีกก้าวหนึ่งในการขยายแสนยานุภาพเข้าสู่ภูมิภาคนี้ของสหรัฐ. -- US Navy Photo/Mass Communication Specialist 1st Class Anthony Walker
       5


เรือ แอลบูเคอร์กี จอดที่ท่าเรือโยโกสุกะ (Yokosuka) ญี่ปุ่น วันที่ 13 ก.พ.2556 ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายที่มีการเผยแพร่ข่าวเกี่ยวกับเรือดำน้ำลำนี้จนกระทั่ง มาโผล่ในก้นอ่าวไทยสัปดาห์นี้. -- US Navy Photo/Mass Communication Specialist 1st Class David Mercil
       6


เรือ โอลิมเปีย (USS Olympia -SSN 717) ซึ่งเป็นเรือชั้นลอสแอนเจลีสอีกลำหนึ่ง จอดที่ฐานทัพฮิกแคม (Pearl Harbour-Kickam) ในอ่าวเพิร์ล วันที่ 4 มี.ค.2556 หลังจากปฏิบัติภารกิจเป็นเวลา 7 เดือนในย่านแปซิฟิกตะวันตก .. อย่างเงียบๆ. -- US Navy Photo/Mass Communication Specialist 2nd Class Steven Khor
       7


เรือ โอกลาโฮมาซิตี้ (USS Oklahoma City -SSN 723) จอดในอ่าวอะปรา (Apra Habour) เกาะกวม (Guam) ทางตะวันออกฟิลิปปินส์ ในภาพวันที่ 4 มี.ค.2556 หลังเสร็จภารกิจ 5 สัปดาห์ในย่านนั้นและเข้ารับการซ่อมบำรุงตามกำหนด. -- US Navy Photo/Mass Communication Specialist 1st Class Jeffrey Jay Price
       8


เรือ เบรเมอร์ตัน (USS Bremerton -SSN 698) จอดที่ท่าเรือโยโกสุกะ (Yokosuka) ญี่ปุ่น วันที่ 8 มี.ค.2556 เป็นเรือดำน้ำโจมตีเร็วพลังงานนิวเคลียร์ชั้นลอสแอนเจลีสอีกลำหนึ่งที่ได้ รับมอบหมายให้เข้าร่วมปฏิบัติการในกองเรือที่ 7 ในย่านเอเชียแปซิฟิก. -- US Navy Photo/Mass Communication Specialist 1st Class David Mercil
       9


เรือ ซานฟรานซิสโก (USS San Francisco - SSN 711) ซึ่งเป็นเรือชั้นลอสแอนเจลีส ออกเดินทางจากซานดีเอโก วันที่ 18 ธ.ค.2555 เพื่อปฏิบัติภารกิจในแปซิฟิกตะวันตกเป็นเวลา 6 เดือน ตามแผนเคลื่อนกำลังสู่ภูมิภาคเช่นกัน. -- US Navy Photo/Mass Communication Specialist 1st Class Anthony Walker
       10


อีก 2 สัปดาห์ต่อมา.. 2 ม.ค.2556 เรือซานฟรานซิสโก (USS San Francisco - SSN 711) จอดท่าเรือโยโกสุกะ (Yokosuka) ญี่ปุ่น และ.. 31 ม.ค.ไปแวะเยือนเมืองท่าชังวอน (Changwon) ในเกาหลี ..สัปดาห์นี้กลับไปร่วมซ้อมรบกับเกาหลีใต้อีก. -- US Navy Photo/Mass Communication Specialist 1st Class Anthony Walker




ความคิดเห็นที่ 1


ถ้าเขียนถึง ของ ทร. มันจะบอกว่า ดำไม่โผล่
ในข่าวเก่าๆ มีเยอะ 

โดยคุณ Project14th เมื่อวันที่ 13/03/2013 21:56:15


ความคิดเห็นที่ 2


ไม่รู้คราวนี้พวกที่บอกว่าอ่าวไทยตึ้นเกินสำหรับเรือดำน้ำจะว่ายังไง U206A ไม่กี่ร้อยตันท่านเหล่านั้นบอกว่าตื้นเกินไปใช้ไม่ได้เเต่นี่ลอสเเองเจลิสปาเข้าไป6000ตันเข้ามาได้เฉย..

ผมเเถมหนังเก่าหาดูยากให้อีกเรื่องเเล้วกันตามลิงค์ครับ http://www.nangonly.com/movie/314/Down-Periscope-(1996)-%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%B0-.html

โดยคุณ กลับสู่สามัญ เมื่อวันที่ 13/03/2013 22:36:11


ความคิดเห็นที่ 3


โดยคุณ YUKIKAZE เมื่อวันที่ 14/03/2013 08:31:05


ความคิดเห็นที่ 4


อ้าว เข้ามาได้ไงเนี่ย ไหนว่าอ่าวไทยตื้นมั่กๆ (มากๆ) แถมมีขยะเอย เศษอวนเอย สารพัดสารเพเอยเยอะมั่กๆ ไงหละ (ฮ่า)

 

โดยคุณ Naris เมื่อวันที่ 14/03/2013 09:29:05


ความคิดเห็นที่ 5


ประมาณกันยายน ปี 2536 ที่่ สัตหีบ มีจัดบูธนิทรรศการแสดงอาวุธของกลุ่มบริษัทผู้ค้า ทั้งยุโรป อเมริกา รัสเซีย จีน  ตอนนั้นได้ขึ้นชม เรือหลวงจักรีนฤเบศถ์และบ.แฮริเออร์  บังเอิญเห็น เรือดำน้ำ 2 ลำหรือ 1 ลำ จำไม่ได้แล้ว จอดเทียบท่าอยู่ ตอนนั้นยังไม่ได้สนใจเรื่องของเรือดำน้ำเท่าไร แต่ซื้อ นิตยสารสมรภูมิอ่านอยู่ประจำ   ลำใหญ่มาก ช่วงนั้นของรัสเซียก็มี แยงกี้ โฮเตล หรือเผลอๆอาจเป็น ชึ้นกิโลก็ได้  ที่รู้ว่าเป็นของรัสเซียเพราะ พวกทหารจากเรือดำน้ำ เขาเอาหมวก ชุดทหาร เป้ทหาร เข็มกลัด หมวกบางใบ หรือชุด ยังมีรูเหมือนโดนยิงก็มี ตราสัญญาลักษณ์เป็นของรัสเซียทั้นนั้น   แสดงว่า เรือดำน้ำเข้ามาช่วงนั้นไม่ได้เป็นข่าวใหญ่ ท่านผู้รู้ใดทราบ ช่วยแนะนำด้วย


โดยคุณ kabinblade เมื่อวันที่ 14/03/2013 10:15:49


ความคิดเห็นที่ 6


อ้าว รูป911เราไปอยู่ในภาพของมาเลได้ยังไงละครับเนี่ย 

โดยคุณ Benzbong เมื่อวันที่ 14/03/2013 17:47:41


ความคิดเห็นที่ 7


 โ้อ้ววว จริงๆ อ่าวไทยเอาเรือดำน้ำมาเข้ามาสบายๆ ไอ้ลำนี้เอามาให้เราเทสไดร์ฟด้วยรึป่าว มีแบบนี้ซักลำสองลำ ใครลองเอากองเรือมาขู่ปิดอ่าวดิ จะเอามาทำโครงเหล็กเลี้ยงปะการังซะเลย 

โดยคุณ fighttt เมื่อวันที่ 15/03/2013 15:49:13


ความคิดเห็นที่ 8


   ขอบคุณสำหรับรูปนะครับท่าน  YUKIKAZE  ท่าทางทางนั้นมองเราเป็นศัตรูนะ  เพราะไม่ควรเอารูปเรือธงของเรามาใช้เป็นเป้าแล้วลงบนเวปไซต์เลย   ดูท้าทายเอาเรื่องนะ   กร่างมากทีเดียว............. ถ้าเป็นการกระทำโดยผู้ใช้หรือสมาชิกในเวปของทางฝั่งโน้น   ทางเจ้าของเวปและทางรัฐบาลมาเลย์ควรจะควบคุมบ้างนะ   เพราะถ้าทางเราทำภาพประกอบแบบนี้บ้างด้วยข้อความแบบนี้   โดยเฉพาะ ASW ใหม่  แล้วทำภาพเป็นการไล่ล่ากองเรือดำน้ำมาเลย์บ้างคงมันดีเหมือนกัน   

 

   การที่อเมริกาส่งเรือดำน้ำชั้นนี้เข้ามาและทำการเผยแพร่แบบเอิกเริก   แสดงว่าพยายามสร้างภาพความใกล้ชิดเป็นเวลานานระหว่างไทย-อเมริกา    เพื่อให้จีนและชาติต่างๆทั่วเห็นเป็นแบบนั้น     แสดงว่าไทย  มีความสำคัญในระดับต้นๆของพื้นที่แถบนี้ไม่แพ้ฟิลิปปินส์  และสิงคโปร์  

 

 แบบนี้ต้องเกรงกลัวอะไรกับมาเลย์ครับ   ฟิลิปปินส์ยังกล้าลองของเลย  

 

  มารอดูดีลเรือ  ASW  ใหม่กันดีกว่า   จีนคงแสดงกำลังภายในเต็มที่เช่นกัน


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 17/03/2013 00:41:44


ความคิดเห็นที่ 9


สงสัยครับ 1. เรือดำน้ำพวกนี้ เรือประมงตรวจเจอหรือไม่ สมมุติ ถ้าแล่นผ่านหัวพอดี

            2.  ถ้าเงียบมากสมมุติแบบในหนังล่าตุลาแดง เรามีทุ่นโซน่าหาแผ่นดินไหว/สุนามิ เราสามารถปรับมาตรวจจับเรือดำน้ำได้หรือไม่เช่น ทุ่นนอกฝั่ง ตรวจเจอเสียงที่อาจเป็นเรือดำน้ำ หรือคลื่นแม่เหล็กรบกวน หรือการเคลื่อนของมวลน้ำจากการที่มีวัตถุขนาดใหญ่เครื่อนผ่าน ส่วนการล่า p3 กับ ฮ น่าจะเอาอยู่

            3.  มีความเป็นไปได้ไหมที่เราจะมีชุดข้อมูลที่สามารถนำเสนอได้โดยทั่วไปถึงข้อดีของเรือดำน้ำ โดยมีความยาวประมาณ ครึ่งหน้ากระดาษ อังษรขนาด 16 sarabun เพราะส่วนใหญ่คนขี้เกียจอ่าน แถมการย่อยข้อมูลจำนวนมากต้องใช้คนที่มีความรู้จริงๆในการสรุปประเด็นครับ (มีรูปด้วยรวมเป็น 1 หน้ากระดาษ) ซึ่งถ้าคนทั่วไปเปลี่ยนความคิด หรือสนใจสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ ที่... เป็นต้นครับ ส่วนพวกผมถ้าเจอที่ไหนมีการโต้แย้งจะได้นำข้อมูลนี้ไปชี้แจงครับ เป็นการทำประชาสัมพันธ์แบบหนึ่ง

โดยคุณ nok43 เมื่อวันที่ 18/03/2013 09:53:45


ความคิดเห็นที่ 10


ผมว่าถ้าจะเอาข้อมูลจริงๆเลยในก็ต้องยาวกว่าหนึ่งหน้ากระดาษนะครับ เพราะต้องมีหลักฐานอ้างอิงด้วยว่าไม่ได้พูดลอยๆ

1.เรือประมงตรวจไม่เจอหรอกครับ

ปัจจุบันยังไม่มีเทคโนโลยีที่ดีเพียงพอสำหรับการตรวจจับเรือดำน้ำ  มีแค่แม่เหล็กกับโซนาร์ แม่เหล็กไม่ต้องพูดถึง ต้องบินต่ำมากๆและพื้นที่ก็จำกัด (เทคโนโลยีอื่นๆก็พยายามวิจัยกันอยู่) เรดาร์ไม่สามารถจับเป้าหมายใต้น้ำได้

โซนาร์สึนามิมาตรวจเรือดำน้ำเป็นไปไม่น่าจะได้ เพราะเรือดำน้ำขนาดเล็กเทียบกับแรงกระเพื่อมของแผ่นดินไหว ความละเอียดไม่น่าเพียงพอ

ปัจจุบันการตรวจที่ดีที่สุดคือโซนาร์ชักหย่อนจากฮ. แต่ทำได้ในพื้นที่จำกัด ปกติจึงทำการตรวจหาด้วยโซนาร์ความถี่ต่ำก่อน ซึ่งจะมีระยะไกลกว่า จากนั้นจึงส่งฮ.เข้าไปทำการตรวจแบบละเอียดเมื่อจับเป้าต้องสงสัยได้ โซนาร์ที่ติดกับเรือจะโดนคลื่นเสียงของเรือเองรบกวน นอกจากนี้ฮ.ยังเร็วกว่ามาก เข้าทำการตรวจจับหรือพิสูจน์ทราบได้เร็วกว่าเร็ว (เรืออืด วิ่งสามสิบน็อตก็เก่งแล้ว)นอกจากนี้ยังปลอดภัยจากการโจมตีจากเรือดำน้ำ (ปัจจุบันยังไม่มีมิสไซล์ต่อต้านอากาศยานจากเรือดำน้ำที่โปรแกรมไม่ล่มไปก่อน นอกจากประเภทที่ต้องลอยขึ้นมาบนผิวน้ำแล้วยิง หรือหนักขึ้นไปอีกคือ manpads นี่ล่ะ คนโผล่มายิง ซึ่งเป็นการเผยตำแหน่งของเรือดำน้ำแบบโจ่งแจ้งสุดๆ)

อย่างไรก็ตามการตรวจจับก็ยังยากมาก เนื่องจาก false alarm เยอะโดยเฉพาะในน้ำตื้น(littoral water) เพราะพื้นทะเลปะการังสิ่งมีชีวิตต่างๆสามารถทำให้คลื่นเสียงหักเหหรือเปลี่ยนแปลงได้ นอกจากนี้ความหนาแน่นของน้ำอุณหภูมิน้ำ ความหนาแน่นของเกลือก็มีผล ยิ่งเป็นเรือดีเซลด้วยแล้วการตรวจด้วยโซนาร์ภาครับเรียกว่าแทบเป็นไปไม่ได้ ยิ่งจอดซุ่มนี่คือหมดโอกาส เพราะเรือดีเซลรุ่นใหม่ๆเงียบกว่าเรือนิวเคลียร์ เพราะเวลาดำจะใช้ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่

การตรวจจับด้วยโซนาร์ภาคส่งก็มีปัญหาเยอะเพราะอย่างที่กล่าวไปแล้ว ปัจจับต่างๆทำให้โซนาร์ที่ส่งออกไปสะท้อนถูกหักเห หรือบางทีก็สะท้อนกับชั้นน้ำที่อุณหภูมิต่างกัน (thermocline) ทำให้ไม่สามารถจับเรือดำน้ำได้ถ้าเกิดเรือดำน้ำซ่อนอยู่ใต้ชั้นน้ำนั้น ที่สำคัญการใช้โซนาร์ภาคส่งเท่ากับเป็นการบอกตำแหน่งของตัวเองให้ฝ่ายตรงข้าม

 

2. ข้อดีของเรือดำน้ำคือเป็นอาวุธเชิงยุทธศาสตร์ จากที่กล่าวมาข้างต้น เรือดำน้ำเป็นอาวุธที่อันตรายมากๆ เพราะตรวจจับได้ยาก จึงเป็นภัยคุกคามเงียบโดยเฉพาะกับเป้าหมายที่มีคุณค่าสูงๆอย่างเรือขนเครื่องบินหรือเรือธง ฉะนั้นจึงใช้เป็นอำนาจต่อรองทางทหารระหว่างประเทศ ประมาณนิวเคลียร์ (แต่ไม่บ้าบิ่นเท่า) หากเกิดการตึงเครียด การส่งเรือดำน้ำเข้าปิดช่องแคบ (เช่นมะละกา หึๆ) ก็ส่งผลกระทบกับระบบเศรษฐกิจโลกได้เลย อีกทั้งการมีเรือดำน้ำมาปิดอ่าวก็ทำให้อีกฝ่ายไม่กล้าออกท่าได้ หรือดีไม่ดีไปล่อถึงท่าก็ยังได้

การซ้อมรบหลายๆครั้งก็แสดงให้เห็นว่าการตรวจจับเรือดำน้ำทำได้ยากมากๆๆๆแม้เรือจะเก่างั่ก

- กรณีเกาหลีเหนือสอยเรือ cheonan ของเกาหลีใต้ก็เป็นตัวอย่างที่ดี

- ปี 2006 เรือดำน้ำชั้นซ่งของจีนหลุดเดี่ยวเข้ามาในระยะเก้าไมล์(บางแหล่งข่าวระบุว่าห้าไมล์) จากกองเรือบรรทุกเครื่องบิน USS kitty hawk ซึ่งเป็นที่รู้กันว่ากองเรือของอเมริกามีทั้งเรือดำน้ำทั้งเรือพิฆาตคุ้มกันเป็นขบวน แต่ไม่มีใครตรวจพบ จนเรือทำการลอยตัวขึ้นมาเหนือผิวน้ำและถูกพบโดยเครื่องบินตรวจการของกองเรือนั้น ทีนี้ลองคิดดูว่าถ้าเกิดเรือดำน้ำทำการซัลโวมิสไซล์ใส่ ความเสียหายจะขนาดไหนกับระยะใกล้แค่นั้น เรียกว่าพึ่ง ciws อย่างเดียว

- ปี 2012 เรือดำน้ำชั้น akula ของรัสเซียเข้ามาป้วนเปี้ยนในอ่าวเม็กซิโก (เรียกว่าจ่อหน้าบ้านอเมริกาเลยทีเดียว) หลายอาทิตย์โดยไม่มีการตรวจพบเลย เหตุการณ์ครั้งนั้นได้รับการยืนยันหลังจากเรือลำดังกล่าวได้กลับออกไปแล้ว

- ปี 1981เรือดำน้ำยุค 60s ของแคนนาดาสองลำทำการจมเรือขนบ. USS America กับ USS forrestal ในการซ้อมรบ ocean venture ในไม่ถูกตรวจพบ อเมริกาพยายามปิดข่าวหนัก แต่แคนนาดาทำข้อมูลรั่ว (โดยเจตนา ฮา) ไปถึงสื่อ

-ปี 1989 เรือดำน้ำ Zwaardvis ของฮอลแลนด์จมเรือ USS America ในการฝึกรบ northern star

-ปี 1996 ในการฝึก RIMPAC  เรือดำน้ำ Simpson ของทร.ชิลีจมเรือขนบ. USS Independence

- ปี 1999 ในการฝึก JTFEX/TMDI99 เรือด. Walrus ของฮอลแลนด์ทำการสังหารหมู่ USS Roosevelt ต่อด้วยเรือบัญชาการ USS Mount Whitney เรือครูเซอร์หนึงลำ ฟริเกตกับเรือพิฆาตอีกจำนวนหนึ่ง แถมยังล่อเรือดำน้ำชั้น Los Angeles USS Boise

- ปี 2000 การฝึก RIMPAC เรือด.ชั้น Collin ของทร.ออสเตรเลีย ทำการจมเรือดำน้ำssn ของอเมริกาสองลำ (น่าจะเป็นชั้น los angeles ) ส่วนเรือด.ของชิลีจมเรือ LA class USS Montpelier

-ปี 2001 การฝึก operation tandem thrust เรือด. HAMS Waller ของทร.ออสเตรเลียทำการจมเรือโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบกสองลำของอเมริกา แต่สุดท้ายก็โดนเก็บ

-ปี 2002 เรือด.ของออสเตรเลีย HAMS Sheetan  ทำการไล่ล่าและจมเรือด.ชั้น Los Angeles USS Olympia ในการฝึกรบ 

ปี 2003เรือด.ของออสเตรเลียชั้น Collin ทำการรุมกินโต๊ะ เรือ ssn สองลำกับเรือขนบ.หนึ่งลำ ในการฝึกรบ

ปี 2005 เรือด.ชั้น Gotlan ของสวีเดนทำการจม USS Ronald Reagan ในการฝึกรบ

ที่จริงยังมีอีกเยอะมากแต่รายละเอียดไม่ค่อยมีเนื่องจากการฝึกส่วนใหญ่จะไม่เปิดเผยรายละเอียดมาก ทีกล่าวมาทั้งหมดที่ทำการจมเรืออเมริกานั้น เป็นเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้าซึ่งเห็นได้ว่าสามารถจมเรือดำน้ำนิวเคลียร์ของอเมริกาได้

 

http://www.acig.org/artman/publish/article_491.shtml

http://www.cuttingedge.org/news_updates/nz1839.htm

http://www.strategypage.com/htmw/htsub/articles/20031213.aspx

http://www.nationaldefensemagazine.org/archive/2008/April/Pages/AntiSub2301.aspx

http://theextinctionprotocol.wordpress.com/2012/08/14/russian-attack-submarine-sailed-in-gulf-of-mexico-undetected-for-weeks-u-s-officials-say/

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 18/03/2013 17:54:58


ความคิดเห็นที่ 11


ฉะนั้นเราควรจะมีเรือด.มาก เรื่องอ่าวไทยน้ำตื้นไม่ต้องเป็นห่วง เรือดำนิวเคลียร์ดำได้ ที่สำคัญยิ่งตรวจจับยากอีก มองอีกแง่ หากใครส่งด.เข้ามาในอ่าวไทยนี่คงเหงื่อตก

การตรวจจับจากทางอากาศก็ทำไม่ได้เพราะดำเกินสิบแปดเมตร(ถ้าผมจำตัวเลขไม่ผิด)ก็ไม่เห็นแล้ว

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 18/03/2013 17:59:07


ความคิดเห็นที่ 12


ขอบคุณ คุณtoeytei ครับที่ช่วยแนะนำ ถ้างั้นเราสามารถเอา โซน่าร์ชักหย่อนจากฮ มาเป็นโซนาร์แบบทุ่นผูกติดพื้นทะเลไปเลยส่วนระบบสั่งการรับส่งก็แบบผ่านดาว เทียมแบบ uav ระบบไฟฟ้าก็ใช้ระบบภายในทุ่นหรือไม่ก็มีสายลงพื้นทะเล แบบนี้น่าจะแก้ขัดเรือดำน้ำไปก่อนอีกทั้งเป็นการฝึกทหารให้เข้าใจเทคโนโลยี โซน่าร์เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับเรือดำน้ำ ปัญหาคือถ้ารบจริงคงโดนหน่วยทำลายใต้น้ำเอาเป็นเป้าซ้อมทำลายแน่ๆ เพราะจุดติดตั้งตายตัวแล้วไม่มีคนคุ้มกัน

โดยคุณ nok43 เมื่อวันที่ 19/03/2013 10:16:00