หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


DTI MISSILE

โดยคุณ : nidoil เมื่อวันที่ : 11/03/2013 23:45:45

ทบ.- สปท. ลงนามร่วมพัฒนาจรวดหลายลำกล้องเป็นระบบนำวิถี โครงการ 3 ปี เล็งทดลองยิงที่ประเทศจีนกลางปีหน้า

วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม 2556 เวลา 16:01 น.
ทบ.-สปท.ลงนามร่วมพัฒนาจรวดหลายลำกล้องเป็นระบบนำวิถี ให้เกิดความแม่นยำในการยิงมากขึ้น โครงการ 3 ปี เล็งทดลองยิงที่ประเทศจีนกลางปีหน้า ส่วนการทดลองในไทยอยู่ระหว่างการหาพื้นที่เพื่อความปลอดภัย

 

 เมื่อวันนี้ (7 มี.ค.) ที่กองบัญชาการกองทัพบก (บก.ทบ.) พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รองผู้บัญชาการทหารบก ได้เป็นตัวแทนของกองทัพบกลงนามร่วมกับ พล.อ.อ.พงศกร บัวทรัพย์ ประธานคณะกรรมการบริหารสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ  (องค์กรมหาชน) หรือ สปท. ในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาระบบจรวดหลายลำกล้อง เพื่อต่อยอดโครงการพัฒนาจรวดหลายลำกล้อง ดีทีไอ -1 เป็นจรวดหลายลำกล้องแบบนำวิถี   ดีทีไอ – 1 จี ให้เกิดความแม่นยำในการทำการยิงมากขึ้น

พล.อ.อ.พงศกร  กล่าวว่า หลังจากที่ พล.อ.อ.สุกำพล  สุวรรณทัต  รมว.กลาโหมของไทยได้ลงนามข้อตกลงในการถ่ายทอดเทคโนโลยีจรวดหลายลำกล้องแบบนำ วิถีจากประเทศจีนแล้ว ทาง สปท. กับกองทัพบกจึงได้ร่วมกันลงนามในข้อตกลง เพื่อพัฒนาขีดความสามารถด้านการวิจัยต่อยอดจรวดหลายลำกล้องเดิมให้เป็นระบบ นำวิถี  ซึ่งมีระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 ปี ระหว่างนี้เป็นช่วงการไปรับถ่ายทอดเทคโนโลยีจากจีน คาดว่าในช่วงกลางปี 2557 จะมีการทดลองทำการยิงได้ที่ประเทศจีน ส่วนการทดลองในประเทศไทยอยู่ระหว่างการคำนวณหาพื้นที่เพื่อความปลอดภัยในการ ยิงต่อไป

ทั้งนี้การพัฒนาระบบจรวดเพื่อสนับสนุนกองทัพบกต่อไปในอนาคตนั้น สปท.จะพัฒนาระบบสนับสนุนระบบจรวดควบคู่ไปด้วย  ได้แก่ ระบบฝึกและจำลองการฝึกเสมือนจริง ระบบส่งกำลังบำรุงตลอดอายุการใช้งาน  ระบบทดสอบและประเมินผล  และระบบจัดการทำลายเมื่อถึงเวลาระบบจรวดหมดอายุ โดยสปท. จะดำเนินการวิจัยต่อยอดพื้นฐานองค์ความรู้และเทคโนโลยีภายในประเทศที่สามารถ พึ่งพาตนเองได้  และพัฒนาระบบสนับสนุนการส่งกำลังบำรุงร่วม เพื่อสนับสนุนการปรนนิบัติบำรุงระบบจรวดหลายลำกล้องตลอดอายุใช้งาน

 





ความคิดเห็นที่ 1


ไปทดสอบไกลจังเลยนะครับ เสียดายพื้นที่ใช้ยิงเรามีไม่พอ

ปล น่าจะฝึกยิงไปข้างๆประเทศเพื่อนบ้านเรานี่นะ 

โดยคุณ Kevlar เมื่อวันที่ 07/03/2013 17:56:05


ความคิดเห็นที่ 2


อ่าวไหนบอก ว่าจะทดลองยิง ที่อ่าวอันดามันในเขตของกองทัพเรือ ไม่ใช่เหรอไงครับ    กระโดดไปที่จีนเฉยเลย  

โดยคุณ kok129 เมื่อวันที่ 07/03/2013 18:02:28


ความคิดเห็นที่ 3


 

 

อยากดูอานุภาพความแรงของ เจ้า DTI แบบใกล้ชิดจังเลย  อิอิ

 

โดยคุณ soda77 เมื่อวันที่ 07/03/2013 18:22:14


ความคิดเห็นที่ 4


ทดสอบที่จีนก็ดีแล้วครับ ประเทศจีนมีพื้นที่ทะเลทรายกว้างใหญ่ ทดสอบอาวุธ ทดสอบจรวดได้สบายๆ ไม่ต้องกลัวจะโดนประชาชนเลย

ประเทศเราเล้ก ทดสอบอาวุธยิงระยะ 200-300 km นี่ลำบากนะครับ บ้านคนมากมาย อันตรายกว่าเยอะ

โดยคุณ stfsnoop เมื่อวันที่ 07/03/2013 18:47:58


ความคิดเห็นที่ 5


แนวทางการจัดสร้างสนามทดสอบอาวุธปล่อยและจรวด

 

 

http://www.facebook.com/photo.php?fbid=346197292147963&set=a.346184325482593.1073741825.105450269556001&type=1&relevant_count=1

โดยคุณ Ricebeanoil เมื่อวันที่ 07/03/2013 20:57:03


ความคิดเห็นที่ 6


ภาพการทดสอบจรวดเป้า DTI-10

 

 

http://www.facebook.com/photo.php?fbid=346185038815855&set=a.346184325482593.1073741825.105450269556001&type=1&relevant_count=1

โดยคุณ Ricebeanoil เมื่อวันที่ 07/03/2013 20:58:20


ความคิดเห็นที่ 7


DTI Rocket Family

 

 

http://www.facebook.com/photo.php?fbid=346193338815025&set=a.346184325482593.1073741825.105450269556001&type=1&relevant_count=1

โดยคุณ Ricebeanoil เมื่อวันที่ 07/03/2013 20:59:24


ความคิดเห็นที่ 8


พิธีลงนาม MoU ระหว่างทบ.และ DTI เกี่ยวกับการพัฒนาจรวดหลายลำกล้องทั้งแบบ DTI-1 และ DTI-1G ซึ่งเป็นจรวดนำวิถีระยะยิง 70-150 กม.

 

 

http://www.facebook.com/photo.php?fbid=346215065479519&set=a.346184325482593.1073741825.105450269556001&type=1&relevant_count=1

 


โดยคุณ Ricebeanoil เมื่อวันที่ 07/03/2013 21:00:39


ความคิดเห็นที่ 9


เยี่ยมครับ  .........  ขอบคุณสำหรับภาพของท่าน Ricebeanoil  มากนะครับ 

แต่แปลกใจนิดหนึ่ง  DTI-1 มีระยะยิง 180 กิโล    พอมาเป็น DTI-1G  ทำไมระยะมันสั้นลงไปเยอะเลย   เหลือแค่ 75-150 กิโล   หรือว่าเป็นการปกปิดข้อมูลระยะยิงจริงของมัน   ซึ่งตอนแรกคาดกันว่าน่าจะยิงได้ไกลขึ้นมากเพราะมีระบบนำวิถีชดเชยในเรื่องความแม่นยำเมื่อระยะยิงไกลขึ้นกว่า  DTI-1  

   แต่ถ้าเป็นการปกปิดข้อมูลก็ดีครับ   เพราะระยะหลัง  เวปนี้ดูไม่ค่อยน่าปลอดภัยสำหรับการเผยข้อมูลสักเท่าไรแล้ว 

เป็นความก้าวหน้าที่ใฝ่ฝันมานานแล้วครับ   ประเทศเราเริ่มทำได้


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 07/03/2013 23:36:00


ความคิดเห็นที่ 10


ผมว่าแนวคิดของ ทบ. คงเอามาปิดช่องว่างของระยะปืนใหญ่กับ DTI-1 นะครับคุณ neosiamese2

ระยะปืนใหญ่ของเราไกลสุดคือ 40 km. แต่ DTI-1 คือ 180 km.

ดังนั้นระยะช่องว่างที่เหลือตั้งแต่ 40-180 km. นี่จึงเป็นระยะทำการของ DTI-1G เพื่อปิดช่องว่างตรงนี้

เพื่อให้อำนาจการยิงของ ทบ. ครอบคลุมพื้นที่ได้มากที่สุดนะครับ

โดยคุณ Ricebeanoil เมื่อวันที่ 08/03/2013 01:05:14


ความคิดเห็นที่ 11


ผมว่าระยะใกล้ขึ้นสิบกิโลจากร้อยแปดสิบไม่มีความหมายอะไรหรอก

อีกอย่างผมคิดว่าถ้ามีรุ่นนำวิถีก็คงเลิกใช้รุ่นปกติละครับ

เพราะไม่นำวิถีระยะไกลสุดนี่ไม่ต้องหวังจะให้เข้าเป้าหรอก แทบไม่มีทาง

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 08/03/2013 03:54:20


ความคิดเห็นที่ 12


DTI-1 ระยะยิง180ก.ม.และไม่นำวิถี ใช่ว่าจะไม่มีประโยชน์เลยก็ไม่ได้ครับ ถึงยิงไกลสุดจะไม่ตกเป้าหมายแบบตรงเป๊ะๆ แต่ลูกจรวดขนาด302มม. สามารถใส่หัวรบรวมถึงระเบิดคัสเตอร์บอมแบบต่างๆได้ถึง7แบบ เช่นระเบิดแรงสูง ระเบิดแรงสูงเจาะเกราะ แตกอากาศต่อสู้รถถัง  กับระเบิดรถถัง เป็นต้น.....ถ้าเราพัฒนาถึงขนาดนั้นน่ะครับ

ส่วนรุ่นDTI-1G นำวิถี แน่นอนว่าหากรถมี4ท่อยิง ยิงออกไป4นัดจะโดนเป้าหมายเป๊ะๆทั้ง4นัดที่ยิงออกไป 

อย่างที่ว่าจุดประสงค์ในการใช้งานอาจจะต่างกัน ตัวนำวิถีอาจจะเก็บไว้เล่นงานเป้าหมายที่ต้องการความแม่นยำและมั่นคงแข็งแรงเช่นบังเกอร์ ส่วนตัวไม่นำวิถีใช้ยิงแบบปูพรม แตกอากาศคลุมพื้นที่มากๆ อาจเป็นได้ว่ารถ1คันจะมีลูกนำวิถี1นัด ลูกไม่นำวิถีหัวกระสุนอื่นๆอีก3นัด

 

เราเองก็ไม่ได้ลงนามระเบิดคัสเตอร์ ทบ.คงพัฒนาระเบิดคัสเตอร์มาใช้หลายๆแบบแน่นอน เพราะปืนใหญ่ซีซาร์เองก็มีกระสุนคัสเตอร์-ต่อต้านรถถังแบบนำวิถี(ไม่รู้ว่าทบ.จัดหามาเป็นอาวุธลับหรือเปล่า) แต่กระสุน155มม.มีหัวระเบิด1นัด ถ้าเป็น302มม.คงได้หลายสิบนัดคลุมพื้นที่แน่นอน

โดยคุณ MIG31 เมื่อวันที่ 08/03/2013 09:12:07


ความคิดเห็นที่ 13


ลูกจรวดมีขนาดเท่าเดิม ต้ DTI-1G มีส่วนนำวิถีจึงต้องไปลดปริมาณดินขับลง จึงมีผลต่อระยะยิงจาก DTI-1 ที่ 180 กม เหลือ 150 กม แต่ระยะยิงระดับนี้ก็มีผลดีพอในการเลือกจุดตั้งฐานยิง คือมีจุดที่ตั้งฐานยิงอยู่นอกระยะยิงของฝ่ายตรงกันข้าม

ปล ถ้า DHI-1G พัฒนาเสร็จ เราแค่ประจำการแบบนี้แบบเดียวก็ถือว่าน่าเกรงขามมากแล้วครับ ถ้าแก้กฏหมายรอให้สามารถส่งออกได้จะดี เป็นรายได้ของประเทศได้อีกทางครับ

โดยคุณ ajaydf เมื่อวันที่ 08/03/2013 10:05:27


ความคิดเห็นที่ 14


ถามแบบไม่รู้จริงๆครับ....ใครก็ได้ช่วยอธิบายทีครับ....เกี่ยวกับจรวดหลายลำกล้องนำวิถี กับ ระบบขีปนาวุธพื้น-สู่-พื้น

ผมไม่เข้าใจหลายประเด็น..ดังนี้ครับ

          1.โดยหลักการ...จรวดหลายลำกล้อง..หากทำให้เป็นระบบจรวดนำวิถีแล้ว..มันก็จะกลายเป็น

            ขีปนาวุธพื้น-สู่-พื้น อารมณ์เดียวกับ SCUD อิรัค เพียงแต่ระยะยิงสั้นกว่ารึเปล่าครับ

          2.จรวดนำวิถี....หากเป็นอากาศ-สู่-อากาศ..ผมยังพอนึกภาพออกว่าสามารถ

             นำวิถีด้วยคลื่นความร้อน,ด้วยเรดาร์ ..แต่หากเป็นจรวดหลายลำกล้องอยากทราบว่า

             เราจะนำวิถีมันได้ยังไงครับ...เพราะเป้าหมายห่างกันเป็นร้อยกิโล..มองก็ไม่เห็น...หรือว่าเรา

             ต้องส่งทีมเข้าไปแทรกซึมและชี้เป้าให้จรวด

อยากทราบเป็นความรู้ครับ

 

 

 

 

โดยคุณ A_hatyai เมื่อวันที่ 08/03/2013 11:14:05


ความคิดเห็นที่ 15


เข้าใจว่าที่ลดระยะยิงให้สั่นลงก็เพื่อเพิ่มความแม่นยำของจรวดครับ  


โดยปกติพวกอาวุธจรวดจะมี Dynamics(การเคลื่อนไหว) สูง ความเร่งยิ่งมาก ยิ่งเร็ว ก็ยิงไกลตาม แถมมีช่วงเวลาที่  Motor ดินขับทำงานนั้นจำกัด  ซึ่งจำเป็นต้องสะสมพลังงานจลน์ให้มากที่สุด


ที่นี่ปัญหาคือตัววัด INS(inertial navigation system) ถ้าเจอจรวดอัดไปแรง ๆ ชุดนำวิถีต้องเจอความเร่งเยอะ ๆ สั่นสะเทื้อนมาก ๆ  มันจะ Error สะสมความผิดเพี้ยงไปเรื่อย ๆ  ยิ่งไกลก็เยอะตาม  เป็นเงาตามตัว


ลองดู SCUD เวลาที่ LIFT OFF จะเป็นแบบค่อย ๆ เป็น ค่อย ๆ ไป ซึ่งนั้นคือข้อดีของพวกจรวดเชื้อเพลิงเหลว แต่พวกจรวดเชื้อเพลิงแข็งจะจุดแล้วไปเลย ฉะนั้นตัว DTI-1G น่าจะจำเป็นต้องมีระบบนำวิถีอื่น ๆ ร่วมด้วยครับ อาจจะเป็น GPS,Automatic target acquisition เพื่อใช้งานในช่วง midcourse phase ครับ

โดยคุณ Logieng เมื่อวันที่ 08/03/2013 13:35:27


ความคิดเห็นที่ 16


ส่วนมากในปัจจุบันจะใช้การทำงานควบคู่กันทั้ง2ระบบครับเพื่อชดเชยข้อผิดพลาดกันเเละกัน ระบบที่ดีนั้นไม่ใช่เเต่ตัวจรวดดีอย่างเดียวระบบควบคุมต้องดีด้วย เรื่องINSผมไม่ค่อยรู้เเต่ถ้าGPSก็พอรู้มาบ้างว่าถ้าตัวส่งเเละตัวรับไม่ดี(การประมวลผล)เวลาพุ่งเข้าเป้าหมายด้วยความเร็วมากๆมันจะประมวลผลไม่ทันคือGPSตามจรวดไม่ทันทำให้พลาดเป้าหมาย ในจรวดบางชนิดที่บอกว่าวิ่งเข้าหาเป้าหมายด้วยความเร็วมากๆนั้นคือ เวลาปล่อยไปสมมุติระยะทาง100กม. ช่วง75กม.เเรกจะวิ่งด้วยความเร็วปกติเเต่พอเข้า25กม.ที่เหลือจะวิ่งเข้าหาเป้าหมายด้วยความเร็วเต็มที่ก็เพื่อละอัตราการผิดพลาดเเละประหยัดพลังงานที่ใช้ในการขับเคลื่อน....

โดยคุณ กลับสู่สามัญ เมื่อวันที่ 08/03/2013 14:49:33


ความคิดเห็นที่ 17


สมัยก่อนตอนที่เว็ปนี้ยังอยู่กับวิง21 ตอนนั้นเว็ปนี้ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักเท่าไรตอนนั้นมีข่าวว่าได้มีการร่วมทำการวิจัยจรวดขับเคลื่อนด้วยเทอร์โบเจ็ตระยะยิง300กม. ระหว่างม.เทคโนโลยีสุรนารีกับต่างประเทศ ลงในเว็ปวิชาการดอทคอม. เเล้วมีเนื้อหาพอสมควรเเต่ตอนนั้นผมไม่ได้สนใจอะไรพอต่อมาจะเปิดอ่านปรากฎว่าโดนบล๊อคไปเเล้วด้วยเหตุเนื้อหาไม่เหมาะสม. ก็เลยไม่รู้ว่าจริงเท็จประการเเต่ใด เเต่ถ้าเป็นจริงเเล้วโครงการล่มไปเเล้วก็น่าเสียดาย ข่าวนี้ประมาณ5-6ปีเห็นจะได้เเล้วครับ ไม่ทราบมีท่านใดรู้บ้างว่าจริงหรือไม่อย่างไร

 

โดยคุณ กลับสู่สามัญ เมื่อวันที่ 08/03/2013 15:00:00


ความคิดเห็นที่ 18


   รู้สึกว่าทาง DTI  จะมีระบบ MLRs อยู่ 3 ช่วงระยะยิงเพื่อหวังผลและเป้าหมายแตกต่างกันนะครับ

DTI-1 / DTI-1G   เน้นการยิงระยะยาว   เพื่อทำลายเป้าหมายลึกเข้าไปหลังแนวข้าศึกมากๆ    จากข้อมูลภาพของเพื่อนสมาชิกที่ลงให้  รุ่น DTI-1G  จะเป็น 6 ลำกล้องต่อรถยิง 1 คัน    แค่รุ่น DTI-1 / WS-2B  ถ้่าใช้หัวรบแบบคลัสเตอร์แบบต่างๆ  แค่นี้อานุภาพก็น่ากลัวแล้วครับ  

 

DTI-2   ระยะยิงที่ต้องการประมาณ 80 กิโล  ขนาด 230  ขนาดลำกล้องใกล้เคียง  HIMAS ของอเมริกา    และดูเหมือนต้องการความแม่นยำในระดับสูงมากแบบของอเมริกาด้วย   รู้สึกเพื่อสมาชิกได้นำภาพมาให้ดูแล้วว่าในส่วนจรวด DTI สามารถผลิตได้  แต่ส่วนระบบนำวิถีนั้นรู้สึกจะยังคงพัฒนาด้วยความล่าช้ามาก    เคยมีข่าวว่าทบ.อาจจะจัดหาระบบ  HIMAS  มาด้วยซ้ำ  แต่ตอนนี้ก็เงียบๆไปแล้ว   สงสัยปัญหาเยอะ


DTI-3   ระยะยิงประมาณ 40-60 กิโล   ขนาดลำกล้องพอๆกับระบ  LAR 160 family ของอิสราเอล   เอาไว้ซัลโวเป็นชุด  ไม่มีการนำวิถี     ตัวจรวด  เพื่อนๆ TFC ก็เคยลงไว้ครับ     ความแม่นยำน่าจะมาจากระบบจากฐานยิงและประสิทธิภาพของตัวจรวดเองมากกว่า   

   ผมไม่ค่อยถนัดอาวุธทางบกเท่าไรครับ

 

ส่วนอาวุธนำวิถีที่ใช้เครื่องยนต์เทอร์โบเจ๊ต   จากรูปที่เพื่อนๆ TFC ลงเอาไว้  ก็ยังเป็น โร๊ดแม๊ป ในการพัฒนาอยู่ครับเหมือนๆ SAM  ที่ยังไม่เห็นข่าวคราวแต่ประการใดเช่นกัน      ตอนนี้คงเร่งเครื่องสำหรับ  DTI-1  2  3  ก่อนแน่ๆ    เพราะจะทำให้ประเทศเรามีความพร้อมในเรื่องหน่วยปืนใหญ่มากๆ   ต้องบอกว่าหน่วยปืนใหญ่ของเรายิงแม่นที่สุดในอาเซี่ยนแล้ว   และความสามารถในด้านอื่นๆไม่ด้อยไปกว่าเวียตนามที่ว่าเจ๋งๆด้วยครับ

 

  ปัญหาที่น่าหนักอก  ผมว่ามาจากระบบนำวิถีน่ะครับ   และ Computer ที่ใช้ในตัวจรวดก็ด้วย   เพราะเราไม่มีโรงงานผลิตซิลิกอน  และผลิตชิปวงจรแบบเกาหลีใต้  ญี่ปุ่น  ไต้หวัน  จีน    เจ็บใจที่โรงงาน Submicron ถูกล้มโครงการเสียก่อนครับ


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 08/03/2013 22:30:45


ความคิดเห็นที่ 19


อ๊ะขอโทษครับ   DTI-1  ถ่ายทอดเทคโนโลยีมาจาก WS-1B  ครับ  ผิดพลาดร้ายแรง

DTI-2   คงต้องการความแม่นยำสูงเพื่อทำการน็อคฐานปืนใหญ่ฝ่ายตรงข้ามให้ได้ในนัดเดียว   เพราะอยู่นอกระยะยิงของปืนใหญ่ 155 มม.   น่าจะมี concept เดียวกับ HIMAS นะครับ   แต่เทคโนโลยีนำวิถีของเรายังคงทำให้ผมสงสัยอยู่ว่า   ที่ต้องเร่ง DTI-1G  เพราะอเมริกันกั๊กไม่ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เราหรือเปล่า  

 และมันต้องพึ่งพาการชี้เป้าด้วยอากาศยานเพื่อความแม่นยำสูงมากด้วย    ถ้า  DTI-2  สามารถมีประสิทธิภาพระดับ  HIMAS   หน่วยปืนใหญ่ของไทยจะมีขีดความสามารถสูงมากครับ    เพราะสามารถตอบโต้ระบบปืนใหญ่ของฝ่ายตรงข้ามทั้งแบบไม่เคลื่อนที่  และแบบเคลื่อนที่ได้แม่นยำเป็นจับวางและตอบโต้ด้วยระยะเวลาอันสั้นครับ   พูดง่ายๆเอาไว้เก็บปืนใหญ่ข้าศึกโดยเฉพาะเลย


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 08/03/2013 22:41:54


ความคิดเห็นที่ 20


   WS-2B  ต้องตัวนี้ครับ   6 ลำกล้องยิงเหมือนกัน

แต่รู้สึกว่าของเราจะมีแขนสำหรับการโหลดลูกอาวุธนำวิถีจากรถบรรทุกลุกจรวดด้วย  


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 08/03/2013 22:45:53


ความคิดเห็นที่ 21


   ในตอนแรกที่ได้ข่าวการพัฒนา DTI-1G  ผมคิดว่าแนวทางน่าจะออกมาในรูปการพัฒนาของจีน  จาก WS-1 family ไปสู่  WS-2  family  ที่เพิ่มเติมระบบนำวิถี  และขนาดของลูกจรวดก็ใหญ่ขึ้น  พร้อมกับเพิ่มระยะยิง   รุ่นหลังๆนี่ได้ถึง 350-400 กิโลเมตรทีเดียว   

  ถ้าต้องการระยะยิงแค่ 150  กิโล   ผมว่าเทคโนโลยีคงไม่หนีไปจากรุ่น  WS-35  ซึ่งเน้นการส่งออกนะครับ   และสามารถใช้ระบบดาวเทียมแบบ GPS/GLONASS

 

  แต่ถึงจะได้เทคโนโลยีแค่ระดับการส่งออกของจีน  ก็น่าพอใจแล้วครับ  เพราะมีแนวทางและทำให้เร็วขึ้นในการพัฒนา   ส่วนจะเพิ่มระยะยิงและความแม่นยำกว่านี้  คงต้องไปต่อยอดหรือเพิ่มความร่วมมือกับชาติที่ชำนาญสุงๆในระบบ MLRs เช่น อิสราเอล     ถ้าผ่านขั้นนี้ได้   จะเพิ่มระยะยิงเป็น 300-400 กิโลและยังคงความแม่นยำก็ไม่น่าจะยากแล้วครับ

  อยากรู้ว่า  DTI-2  จะมีแผนการพัฒนาและร่วมมือกับชาติไหน   ส่วนผมสนับสนุน  อิสราเอลครับ   หวังอเมริกันคงยาก 

เพราะถ้าได้เทคโนโลยีจากอิสราเอล   เราน่าจะสามารถพัฒนา DTI-1 ER  เพื่อเพิ่มระยะยิงและความแม่นยำสูงกว่าระบบนำวิถีของจีนได้ไม่ยาก    และอาจจะรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีของ  LAR -160 family ได้ด้วย   แต่คงต้องใช้เงินมากทีเดียว


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 08/03/2013 23:35:14


ความคิดเห็นที่ 22


 รูป  LAR-160 

ในเมือ่เลือกขนาดลำกล้อง 160 มม. เท่ากับ  LAR-160    เมื่อจบดีลการพัฒนาร่วมกับจีนใน DTI-1G    ก็น่าจะไปร่วมมือกับอิสราเอลใน  DTI-2  ขนาด 230 มม. ระยะยิง 80 กิโลเมตร   และ  DTI-3  รับเทคโนโลยีจาก LAR-160  โดยตรงเลยจะดีกว่ารับจากจีนต่อนะครับ


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 08/03/2013 23:51:19


ความคิดเห็นที่ 23


ถามเอามาใช้กับเรือได้ไหมก็ตอบว่าได้ครับ แต่ต้องพัฒนาต่อมากกว่านั้นอีกนะครับ

เพราะระบบจรวดโดยพื้นฐานแล้ว ประกอบด้วย ระบบขับเคลื่อนจรวดและหัวระเบิด ซึ่งถ้ามี 2 อย่างก็เป็นจรวด แต่ไม่นำวิถี ง่ายๆ คือ DTI-1 นั่นเอง

ต่อมาถ้าจะพัฒนาต่อ ส่วนที่ต้องเพิ่มคือ การนำวิถีไปสู่เป้าหมาย เพื่อเพิ่มความแม่นยำ 

เป้าหมายก็แบ่งตามความยากเป็นพื้น->เรือ->อากาศ 

พื้น เคลื่อนที่ไม่ได้หรือเคลื่อนที่ช้า การนำวิถีอาจใช้แค่ GPS เพื่อกำหนดเป้าหมายก็เพียงพอแล้ว

เรือ เคลื่อนที่ได้เร็วพอสมควร การนำวิถีก็จะใช้ความร้อนหรือเรดาห์ แถมเรือยังสามารถตอบโต้จรวดได้ด้วย ดังนั้นอาจต้องมีการพัฒนาให้ลอยต่ำเรียดผิวน้ำ หรือเลี้ยวไปมาได้ด้วย

อากาศ เคลื่อนที่เร็วสุด จรวตต้องมีความเร็ว ไม่ถูกหลอกได้ง่าย เดี๋ยวนี้ยิ่งเน้นการรบแบบ BVR ระบบตรวจจับและนำวิถีต้องแม่นจริงๆ ถึงจะโดนเป้าหมาย

ส่วนภาพนี้เป็นแนวทางการพัฒนาจรวดของไทยครับ

 

 

โดยคุณ Ricebeanoil เมื่อวันที่ 10/03/2013 11:25:40


ความคิดเห็นที่ 24


จรวดนำวิถี DTI รุ่นที่มีระยะยิงหวังผล 60-80 กม. จะสามารถนำมาประยุกต์และพัฒนาติดตั้งบนเรือขนาดเล็กได้หรือไม่ครับ ถ้าได้ทร.น่าจะเข้าร่วมในการพัฒนาไปพร้อมกัน เอาไว้ติดตั้งบนเรือ ต. ทั้งหลาย ตกป. ตกก. ฯลฯ สักลำละ 4-8 ลูก ทำเองใช้เอง น่าจะประหยัดงบประมาณดีครับ
โดยคุณ TWG เมื่อวันที่ 10/03/2013 10:40:14


ความคิดเห็นที่ 25


- เรื่องสนามทดสอบการยิงน่าจะกำหนดไว้ 3 ที่ครับ คือ ไทย จีน และ ........ 

- เรื่องระยะที่ลงลงของ DTI-1G นั้นน่าจะเป็นเพราะต้องทั้งเพิ่มอุปกรณ์ GPS ระบบครีบท้ายในการควบคุมทิศทางได้ด้วยตัวเอง เข้าไปภายในตัวจรวดด้วย ซึ่งขนาดของจรวดนั้นมีขนาดเท่าเดิมแต่เราต้องเพิ่งอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าไป เชื้อเพลิงในการขับเคลื่อนก็ย่อมลดลงด้วยเช่นกันครับ 

- การกำหนดเป้าหมายเราสามารถทำได้หลายวิธีครับ ทั้งจากดาวเทียม, จากเรดาร์ค้นหาเป้าหมาย ป/ค, จาก ผตน.จากเครื่องบิน ฯลฯ

- DTI-1G ผมว่าทรงเดียวกับ WS-2 แหละ แต่น่าจะมีแค่ 4 ลำกล้องนะ เพราะถ้าการที่เราไปเปลี่ยแบบของ DTI-1 ชึ่งเป็นแบบ 4 ลำกล้องให้เพิ่ม เป็นแบบ 6 ลำกล้อง จึงเหมือนกับว่าเป็นการเพิ่มภาระในการทำงานให้ล้าช้าลงไปอีก แทนที่จะมุ่งไปพัฒนาที่ระบบนำวิธีเลยในฐานยิงแบบ 4 ลำกล้อง ไปเลยจะทำให้งานไปได้ไวกว่า

-ในส่วน DTI รุ่นอื่นๆ ตอนนี้มีความเป็นไปได้สูงที่อาจจะเอา SR-4 มาลอกแบบ 

- เรื่องพัฒนากับอิสราเอล ตอนนี้ผมว่ายังงไม่จำเป็นในเวลานี้เท่าไร ที่ต้องพัฒนากับเราด้วยจริง ๆ ตอนนี้ น่าจะเป็นสวีเดนมากกว่าครับ ลองคิดดูนะครับ ถ้าเราให้ saab 340 aew ไปตรวจการณ์แทน มีกริพเพนคุมกัน พอล็อคเป้าบนพื้นดินได้ ก็ให้ DTI จัดการได้สบายๆ เหมือนทาง SAAB จะมีวีดีโอ พรีเซนอยู่นะครับ

โดยคุณ spooky เมื่อวันที่ 10/03/2013 11:44:09


ความคิดเห็นที่ 26


ผมว่าพัฒนาร่ามกับจีนก็ดีแล้วนะครับ

ขนาดDF-21 ที่ระยะยิงไกลมากๆ

ยังแม่นเหมือนจับวางเลย

 

ภาพเป้าหมาย ขนาดเท่าดาดฟ้าเรือบรรทุกเครื่องบิน ของสหรัฐ

 

 

โดยคุณ Axis เมื่อวันที่ 10/03/2013 21:35:39


ความคิดเห็นที่ 27


  ถ้าเป็นสวีเดนมาร่วมพัฒนา  เพื่อจะได้ให้ทบ.วางระบบเชื่อมต่อกันกับทอ.ได้  ก็น่าสนใจไม่น้อยเลยนะครับ   แต่อิสราเอลมีประสบการณ์ตรงจากการใช้งานสูงกว่ามาก    แต่ถ้าจะให้ SAAB วางเครือข่ายก็ OK. ครับ  จะได้ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพได้ทั้ง ทบ. ทอ. ทร.  

    SAAB 340  สามารถทำหน้าทีแบบ E-8 joint STARs ได้ด้วยหรือครับ    เพราะ E-8 ถูกออกแบบมาเพื่อภาระกิจสนับสนุนภาคพื้นดินโดยเฉพาะ  และเป็น command and control  สำหรับภาคพื้นดินโดยตรง    แต่ก็สามารถตรวจจับเป้าหมายทางอากาศได้ด้วย   แต่น่าจะออกแบบมาคนละแบบกับ  AEW&C หรือ AWAC   ที่ออกแบบสำหรับเป้าหมายและการรบทางอากาศโดยเฉพาะครับ    

  แต่ทางสวีเดนก็น่าจะมีระบบคล้ายๆ E-8 อยู่   ผมว่าคุ้นๆเคยผ่านตา  แต่ไม่ได้สนใจนัก      ถ้าสวีเดนสามารถจัดหาอากาศยานและระบบที่คล้าย E-8  แต่มีขนาดเล็กกว่าเหมาะสมกับไทย   และวางเครือข่ายสำหรับ ทบ. ในเรื่องสนับสนุนสงครามภาคพื้นดิน    ก็จะเป็นอะไรที่น่าสนใจมากครับ     แต่เสียดายอิสราเอลน่ะครับ   อุปกรณ์เขาผ่านสมรภูมิมามากครับ  

ส่วน  DTI-3  เอาเทคโนโลยีจาก  SR-4  ก็ OK.  ครับ    แต่  DTI-2  อยากให้มีขีดความสามารถระดับ  HIMAS  เป็นอย่างมาก    เพราะจะสามารถเก็บ ปืนใหญ่ และระบบ MLRs ฝ่ายตรงข้ามได้อย่างมีประสิทธิภาพครับ   บอกตรงๆว่าไม่ค่อยมั่นใจของจีนนัก  

     

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 11/03/2013 14:29:25


ความคิดเห็นที่ 28


   กระทู้เก่าในเรื่อง SR-4


http://www.thaifighterclub.org/webboard.php?action=detailQuestion&questionid=16908&topic=%A4%C3%C1.%E4%BF%E0%A2%D5%C2%C7%E0%BB%C5%D5%E8%C2%B9%A8%C3%C7%B4%CB%C5%D2%C2%C5%D3%A1%C5%E9%CD%A7%A8%D2%A1%C3%D8%E8%B9%20TYPE%2081%20%E0%BB%E7%B9%C3%D8%E8%B9%20SR%204

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 11/03/2013 14:43:46


ความคิดเห็นที่ 29


ถ้าพัฒนาจนเป็นแบบในคลิปนี้ได้จะดีมากเลย

ช่วงนาทีที่่1-2 ครับ โหดมาก

 



โดยคุณ Axis เมื่อวันที่ 11/03/2013 16:40:25


ความคิดเห็นที่ 30


ช่วง 4.12 carabas ของ Saab 

http://www.youtube.com/watch?v=O0dWvKLHj-k

น่าจะคล้าย ๆ E8

โดยคุณ u3616234 เมื่อวันที่ 11/03/2013 23:06:44


ความคิดเห็นที่ 31


โดยคุณ Ricebeanoil เมื่อวันที่ 11/03/2013 23:45:45