หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


Harrier บนเรือหลวงจักรีนฤเบศร

โดยคุณ : biew เมื่อวันที่ : 27/02/2013 21:05:20

มีความเป็นไปได้มั้ยครับที่เรือหลวงจักรีนฤเบศรจะประจำการ Harrier อีกครั้งนึง??











ความคิดเห็นที่ 1


    ถ้าทร.สามารถจัดหาเรือฟรีเกตปราบเรือดำน้ำและเรือดำน้ำได้จริงๆแล้ว   ก็ปิดจุดบอดที่ร้ายแรงที่สุดลงได้ครับ    จากนั้นจุดบอดที่สองที่รองลงมาคือ  ไม่มีเรือฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศที่เป็นฉากให้กองเรือ     ส่วนการป้องกันภัยทางอากาศด้วยอากาศยานนั้น   ปัจจุบันทร.ต้องพึ่งพา ทอ. ด้วย  Jas-39 + SSAB 340  อยู่   น่าจะลดการภาระไปได้ระดับหนึ่งทีเดียว   แต่กองเรือทั้งหมดก็ออกไปไกลกว่าระยะปฎิบัติการของ Jas-39  ไม่ได้ครับ    

   ดังนั้น   ถ้าทร.จัดหาเรือฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศ 2 ลำมาหลังจากได้เรือดำน้ำ    แบบนี้  กองเรือทั้งหมดก็จะมีเรือฉากป้องกัน   และระบบการป้องกันภัยทางอากาศแบบเป็นชั้นๆก็จะสมบูรณ์ครับ   

 

  แต่ถ้าเกิดวิกฤตการณ์ในแถบทะเลจีนใต้ที่อยู่นอกระยะของ Jas-39   และมีการปิดเส้นทางเดินเรือที่ทำให้กระทบประเทสไทยอย่างจัง    แบบนี้เมื่อกองเรือของเราออกไปปฏิบัติการนอกบ้านเพื่อเปิดเส้นทางเดินเรือ   กองเรือของเราก็จะทวีความเสี่ยงในการถูกโจมตีทางอากาศสูงมากๆครับ   เพราะขาดฝูงบินรบคุ้มกัน   

 

 ส่วนตัวผมว่า Harrier 2+  นั้นจำเป็นนะครับ    แต่น่าจะเป็นจุดบอดลำดับที่ 3     ซึ่งคงต้องเยียวยาจุดบอด 2 อัีนดับแรกสุดก่อน   เฮ้อ   เซ็ง.......ปวดหัวแบบที่ท่าน Fatboy  กล่าวจริงๆ     เงินไม่มีก็ไม่มีของ   ได้แต่มองและลูบๆคลำๆ


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 26/02/2013 09:53:07


ความคิดเห็นที่ 2


   อ๊ะ  ขอโทษครับ  พิมพ์ชื่อ Log in ผิดคน   ต้องบอกว่า  ปวดหัวแบบที่ท่าน  superboy กล่าวจริงๆครับ  

ผมกลัวว่าพอทร.มีเงินปั๊บ   Harrier 2+  ที่นย.อเมริกันปลดไปแล้วนั้น  รอจนแห้งกลายเป็นปุ๋ยไปหมด    แล้วเราต้องมาซื้อ  F-35C ที่ราคามหาโหดและมีค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการมหาโหดด้วย   

 

  ผมยังสงสัยว่า ทอ. จะจัดหา F-35 นี่   รับค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการไหวไหม.......ยังกะเครื่องบินขับไล่ขนาดใหญ่ 2 เครื่องยนต์เลย.....เปลืองโคตร

 

  การที่ทร.ปฏิเสธไม่รับ  OHP   แล้วไปเน้นเรือใหม่แทน    ทำให้มีแนวโน้มว่าทร.มาเลย์ก็น่าจะไม่สนใจจัดหา OHP มาใช้งานในทร.ตัวเองเช่นกันครับ   และน่าจะทุ่มเงินจัดหาเรือฟรีเกตใหม่หรูๆจากอังกฤษ  อย่าง  Type 26 ตัวใหม่    แบบนี้ทร.มาเลย์ก็จะมีเรือฉากเช่นกัน   ขาดก้แต่ระบบฝูงบินรบที่ไม่มีระบบ network แบบ ทอ.  


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 26/02/2013 10:06:09


ความคิดเห็นที่ 3


ปัจจุบัน ทร.ต้องการลงใต้น้ำมากกว่าบนอากาศครับ โอกาสที่จะมี อากาศยานแบบ Harrier อีกเป็นไปได้น้อยครับ อย่างที่เคยกล่าวไปก่อนหน้านี้ ทร.ฝากการครองอากาศไว้กับ ทอ.ครับ   ทร.ต้องการเรือดำน้ำมากที่สุดครับ ในปัจจจุบัน

โดยคุณ FatBoy เมื่อวันที่ 26/02/2013 10:24:11


ความคิดเห็นที่ 4


  ถ้าทอ.มีแผนจัดหา Jas-39 เฟส3 ในเร็วๆนี้ก็ยินดีกับทอ.ด้วยนะครับ   ผมว่า 12 เครื่องมันน้อยไป    ส่วน F-5T  นี่ถ้าปรับปรุงแบบ F-5M ประสิทธิภาพไม่ด้อยกว่า F/A-50 เลย   แต่ไม่รู้ว่าจะรับมือของหนักๆที่เพื่อนบ้านโดยรอบเริ่มจัดหามาหรือไม่  จริงๆมันยังน่าปรับปรุงอยู่มากเลย    แต่เพื่อนบ้านดันไปสอยของโหดๆมารับมือจีนกันทั้งนั้น   เหนื่อยแทนครับ

 

  สำหรับเรือฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศ  คงจำเป็นต้องมีแบบที่ท่าน toeytei    กล่าวครับ    เพราะในระบบการป้องกันภัยทางอากาศเป็นชั้นนั้น   ถ้าเครื่องบินข้าศึกหลุดผ่านเครื่องบินขับไล่คุ้มกันเข้ามาได้   กองเรือต้องพึ่งพาเรือฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศเป็นด่านต่อไปครับ   ไม่งั้นกลายเป็นเป้าให้ยิง     คาดว่าด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่และระบบเรด้าร์เฟสอะเรย์แบบทาวเวอร์   น่าจะทำให้เรือฟรีเกต 1 ลำ   สามารถควบคุมลูกอาวุธนำวิถีได้ 12-16 ลูก ขึ้นไปทีเดียว    ดังนั้นเรือฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศ 2 ลำ   จะสามารถยิงลูกอาวุธนำวิถีออกไปถึง 24-36 ลูกได้ในครั้งเดียวเพื่อป้องกันกองเรือ

  

  Harrier 2+ เป็นเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ครับ   และ Harrier GR ของอังกฤษเคยฟาดปากกับ Mirage-3 ชนะมาแล้วด้วย   แม้จะบินช้ากว่า   เพราะระบบ  thrus  vector  ที่ปรับทิศทางแรงขับได้   ทำให้เหนือกว่าครับ


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 26/02/2013 09:41:21


ความคิดเห็นที่ 5


เรือฟริเกตป้องกันภัยทางอากาศต้องมีครับ ต่อให้ปรับปรุงจักรีมีแฮรริเออร์ก็ต้องมี

เรือขนเครื่องบินป้องกันภัยทางอากาศให้กองเรือไม่ได้ ขนาดกองเรือขนเครื่องบินอเมริกายังต้องมีเรือป้องกันภัยทางอากาศสองลำเลยครับ

เรือขนเครื่องบินมันเป็นเอาไว้บุกคนอื่น เป็นการยกกำลังไปโจมตีคนอื่นครับ (force projection) เป็นเหมือนฐานบินลอยน้ำ สามารถสนับสนุนการโจมตีต่อเนื่อง แบบที่อัฟกันหรืออิรัก

สิ่งที่เครื่องบินบนเรือขนเครื่องบินทำในการป้องกันภัยกองเรือก็คือบินลาดตระเวณ แล้วถ้าเจอเครื่องบินข้าศึกก็เข้าสะกัดกั้น แต่ถ้าเรือฝ่ายตรงข้ามยิงมิสไซล์มาก็เงิบ ยิ่งพวกมิสไซล์ต่อต้านเรือรบที่ยิงเรียดน้ำ เครื่องบินได้แต่ส่งสายตาเอาใจช่วยได้อย่างเดียว 

ถามว่าเอาเครื่องบินไปล่อเรือเขาเลยได้ไหม ก็ได้ครับ แต่ก็มีสิทธิ์โดนเรือป้องกันภัยทางอากาศเขาสอยเหมือนกัน แล้วอย่างที่ผมบอก ด้วยสภาพแฮริเออร์ที่ไม่ได้เป็นเครื่องบินขับไล่จะเอาอะไรไปสู้กับเครื่องบินคนอื่น ต่อให้ยิงอามรามได้ก็เถอะ บินก็ช้าเงอะงะ มันเป็นเครื่องโจมตีครับ 

ยังไง๊ยังไงก็ต้องมีระบบป้องกันภัยทางอากาศมิสไซล์ระยะกลางและไกล้เป็นอย่างน้อย ระยะไกลนั้นก็ฝันไปเถอะ (ฮา)

 

พูดกันตามตรง ผมว่าเรือฟริเกตต่อต้านเรือดำน้ำสมัยนี้ก็ทำอะไรเรือดำน้ำที่ยังไม่เก่างั่กไม่ค่อยจะได้หรอกครับ

แอบเข้ามาจอดนิ่งๆก็งงไปไม่เป็นแล้ว

เอาฮ.นั่งไล่จุ่มโซนาร์ไปเรื่อยๆก็ไม่ทันกิน ผมว่าเรือดำน้ำมันโคตรจะสำคัญเลย ไม่งั้นก็เป็นฝ่ายรับอย่างเดียว เล่นซ่อนหาไล่หาไปเรือยๆ ถ้าเรามีก็ทีใครทีมัน

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 26/02/2013 05:55:11


ความคิดเห็นที่ 6


ตายแล้ว... ขออภัยครับ ผมเขียนชื่อเรือผิด ตก ร.เรือไป ต้องเขียนเป็น ร.ล. จักรีนฤเบศร ขออภัยอย่างยิ่งจริง ๆ ครับ แต่ว่าไม่มีให้แก้ความเห็นเลย

โดยคุณ yoyo เมื่อวันที่ 26/02/2013 00:49:24


ความคิดเห็นที่ 7


ท่าน superboyตอนนี้ ร.ล. จักรีนฤเบศร ได้ปรับปรุงระบบอำนวยการรบใหม่แล้วครับ จะแล้วเสร็จในปี ๕๗ ซื่งระบบอำนวยการรบ 9LV Radar Sea Giraffe AMB 3D ของ Saab AB เหมือนกับร.ล.นเรศวร แต่ยังไม่ได้ติดตั้งMk41 VLS คงต้องรอของบประมาณระยะต่อไปครับ

http://www.navy.mi.th/namo/index.php?option=com_content&view=article&id=298:2012-10-26-01-56-18&catid=57:2009-08-25-02-29-04&Itemid=28

โดยคุณ ThaiPc53 เมื่อวันที่ 26/02/2013 00:14:11


ความคิดเห็นที่ 8


  งบของทร.ปีล่าสุด ประมาณ 34,000-35,000 ล้านบาท (ทบ.เกือบ 89,000 ล้านบาท)   ได้งบจัดหาเรือฟรีเกตชุดใหม่นี้  30,000 ล้าน   ก้เพิ่มงบผูกพันกันอีก 5000  ล้านไปอีก 6 ปี  ก็จะกลายเป็น 40,000 ล้านบาทโดยประมาณ    และจากการที่อาจจะสามารถดันโครงการเรือดำน้ำได้ก่อนปี 60   แสดงว่า 3-4 ปีข้างหน้า   น่าจะได้งบมาเพิ่มอีกขั้นต่ำ  5,000 -6,000 ล้านบาทต่อปี  เป็นไปได้ว่าจะได้มากกว่า 45,000 ล้านบาทต่อปีก่อนปี 60  

   แต่ถ้าต้องจัดหาฟรีเกตปราบเรือดำน้ำลำที่ 4   เรือฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาซ  OPV อีกจำนวนหนึ่ง  LPD อีก 1 ลำ   ใช้งบอีกกว่า 50,000 ล้าน    ถ้าทร.ต้องการจัดหาสิ่งเหล่านี้ต่อทันทีหลังจากจบเรือดำน้ำ   ก็ต้องได้เงินเพิ่มอีก 10,000 ล้านบาทต่อปีหรืองบสำหรับทร.จะกลายเป็น  55,000 ล้านบาท หลังปี 60  จึงจะสามารถจัดหามันได้     และใช้เวลา 15 ปีงบประมาณ! ..................

   ผมเลยยังมองไม่ออกว่าทร.จะสามารถหาเงินที่ไหนมาจัดหาอากาศยานทั้งปีกหมุน ปีกตรึงมาประจำการบนเรือจักกรีได้อีก  

 

 ยกเว้นจะได้งบประมาณพุ่งขึ้นกว่า 60,000 ล้านบาทหลังปี 2560 ไปแล้ว   นั่นล่ะครับ   หวังได้ว่าใน 10 ปี ข้างหน้าทร.อาจจะลุ้น  Harrier 2+ มาประจำการบนเรือ  จนกระทั่งเรือปลดประจำการในอีก 20 กว่าปีข้างหน้าครับ

 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 25/02/2013 11:18:17


ความคิดเห็นที่ 9


ทร.มีแผนจัดหาซูเปอร์ทูคาโน่ด้วยเหรอครับ

ผมก็ว่างั้นแหละว่าเรือจะว่างยันปลด แต่คงเอาฮ.มาเติมๆได้ 

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 25/02/2013 11:42:35


ความคิดเห็นที่ 10


ว่าแต่ใครรู้บ้างว่าไอ้ลูกระเบิดฟ้าๆหลายลูกในรูปจขกท.รูปสองสามรูปแรก มันระเบิดอะไร โจมตีภาคพื้นดินหรือน้ำ ดูเหมือนไม่นำวิถีด้วย

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 25/02/2013 11:44:48


ความคิดเห็นที่ 11


กองทัพเรือมีความสนใจเครื่องบิน ซุปเปอร์ทูคาโน่ ครับ เหมือนจะเคยให้เข้ามาพรีเซนต์ข้อมูล แต่ไม่แน่ใจว่ามีโครงการจัดหาหรือไม่เพราะข่าวเงียบๆไป ถ้าหากจัดหาคาดว่าน่าจะจัดหาเพื่อทดแทน T-337 ที่อาจจะต้องปลดในอนาคตครับ

โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 25/02/2013 14:57:19


ความคิดเห็นที่ 12


โห ! ทบ.ได่เกือบเก้าหมื่นล้านเลยหรอครับ ยอมรับว่าในประเทศ เค้าใหญ่สุดละ แต่ ยุทโธปกรณ์  ทร. กับ ทอ. มันแพง แล้วยิ่งได้งป.น้อย อะไรๆ มันก็เลยน้อยไปหมด แต่ก็เอาเถอะครับท่าน

โดยคุณ uuhotu เมื่อวันที่ 25/02/2013 19:57:29


ความคิดเห็นที่ 13


  ครับ  ช่วงก่อนปี 40 นั้น  ทร.และ  ทอ,  ได้รับงบประมาณแบบพุ่งพรวดๆเพื่อจัดหากองเรือทั้งกองที่คนไทยภาคภูมิใจ และ F-16  L-39 ได้รับกันจนเต็มเม็ดเต็มหน่วย   รวมทั้งทบ.ด้วย   

   แต่หลังจากปี 40   พอประเทศเริ่มฟื้นตัว   มีแต่ ทบ. เหล่าเดียวเท่านั้นครับที่งบประมาณฟื้นตัวมาถึงจุดเพียงพอ  และสามารถจัดหายุทโธปกรณ์ใหม่ๆได้จำนวนมาก  

   แต่ ทร. และ ทอ.  แทบจะไม่ได้อะไรเลยครับในช่วง 15 ปี ที่ผ่านมา..............ทอ. ดูดีหน่อยตรงที่ยังได้  Jas-39 + AEW&C  แต่ทร. ได้แค่  LPD 1 ลำเท่านั้น    ถ้า รล.กระบี่ ไม่ใฃ่โครงการเทิดพระเกียรติ์  สงสัยเหมือนกันว่าจะง่ายแบบนี้หรือไม่ครับ

  แต่ระยะ 1-2 ปีหลัง  สังเกตว่า  ทร. เริ่มจะกลับมามีงบประมาณจัดหายุโธปกรณ์ใหม่ๆแล้ว    และเริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้นเรื่อยๆ   แต่ทอ.  เงียบบบบบ...........สนิท   ทั้งๆที่อีก 10 ปี ข้างหน้า  ทอ. ต้องจัดหาเครื่องบินทดแทนจำนวนมากทีเดียวในเวลาสั้นๆ  

  ต้องบอกว่า งบประมาณสำหรับเหล่าทัพต่างๆ  ไม่สมเหตุึผลกับความจำเป็นและภัยคุกคามรอบบ้านและสถานการณ์ใหม่ๆเลย


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 25/02/2013 20:42:37


ความคิดเห็นที่ 14


เรือจักกรีของเราน่าจะประจำการไปอีก30ปีขึ้นนะครับ แต่อาจจะมีภาระกิจน้อยลงหน่อยและน้อยมากๆถ้าไม่เหลืออากาศยานบนเรือเลย

 

MK-41 บนเรือเป็นไปไม่ได้หรอก ขนาดเรดาห์เรือยังซื้อมือ2ต่อจากอเมริกาเลยตรวจได้ไกล170กม.ตามสเป็กปัจจุบันไม่รู้เหลือเท่าไหร่ ก็คงเพิ่มแค่ระบบสั่งการให้เข้ากับdatalink เท่านั้น

 

อากาศยานบนเรือ แฮริเออร์2+คือทางเดียวที่จะเกิดได้ ถ้ายึดราคาคุุณนีโอเราจะใช้งานประมาณซัก8000ล้านเพื่อให้มีเครื่องบินบนเรือไปอีก15ปีถ้าซ่อมบำรุงดี และ10ปีถ้าช่างไม่เก่ง แต่เราสามารถขอความสนับสนุนอะไหล่จากอเมริกาได้นะ เครื่องยนต์วิทยุติดเครื่องอะไรแบบนี้เขายังเคยจะให้มาใช้กับแฮริเอร์ของเราเลยแต่พอดีใส่กันไม่ได้

 

ความจริงมันเป็นเรื่องแสนเศร้าแต่นี่คือทางเดียวสำหรับเรือจักกรีและเครื่องบินรบนาวี กองทัพเรือมุ่งไปที่การปราบปรามเรือดำน้ำเพราะเป็นภัยหลักในปัจจุบัน แต่ราคาเท่านี้ก็พอลุ้นได้อยู่ แฮริเออร์2+ 12ลำพร้อมอะไหล่จำนวนเท่ากัน = เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ4ลำ ตัดสินใจเอาเอง แต่แบบแรกยิงแอมรามได้นะจ๊ะ

 

กองทัพเรือนี่ปวดหัวน่าดูเลยเนอะ อะไรๆไม่ลงตัวเอาเสียเลย

 

 

 

ทอ. กำลังรอjas 6ลำ กับเรดาห์ภาคพื้นดินที่กำลังจะสมบรูณ์แบบ หลังจากนั้น(ก็คงซัก3ปี)ต้องมาลุ้นกันว่า ผบ.ทอ จะปรับปรุง f-5t หรือซื้อเครื่องใหม่ tf-50 ของคุณนีโอจะได้เกิดหรือไม่ก็งานนี้

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 25/02/2013 21:00:42


ความคิดเห็นที่ 15


ขอแสดงความเห็นบ้าง หลังแอบอ่านมานาน

 

ถ้าอ้างอิงจากความเห็นของคุณ neosiamese2 ที่ว่า ทร. ยังต้องการเรือฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศอีก 2 ลำ เรือฟรีเกตปราบเรือดำน้ำอีก 1-2 ลำ ด้วยงบประมาณไม่ต่ำกว่า 40,000-42,000 ล้านบาท


แบบนี้ผมมองว่าเป็นโอกาสที่ดี ที่คนในทร. จะพยายามผลักดันแนวคิดด้านการปรับปรุงเรือจักรีนฤเบศและอากาศยานประจำเรือให้สมบูรณ์จะดีกว่า

เพราะถ้าปรับปรุงระบบตรวจจับและอำนวยการรบที่ดี บวกกับจัดหาแฮริเออร์2 มาอีกสัก 20-24 ลำโดยนำมาซ่อมปรับสภาพเพียง 10-12 ลำ (ถ้าทร.สามารถร้องขอกับนาวิกฯ อเมริกาให้ช่วยผลักดัน การขอรับความช่วยเหลือทางทหารโดยขอเครื่องแฮริเออร์โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแบบเรือ OHP ได้ก็ยิ่งดี)

และจัดหาอากาศยานปีกหมุนปราบเรือดำน้ำอีก 6 ลำ และอากาศยานปีกหมุนลำเลียงอีก 4 ลำ (ตามความต้องการเดิม) ทั้งหมดนี้น่าจะใช้เงินไม่เกิน 20,000 ล้านบาท


แล้วเรือฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศละไปไหน คำตอบคือ ไม่เอาสิครับ เพราะยกภารกิจป้องกันภัยทางอากาศให้กับเรือจักรีนฤเบศและทอ.ไปเลย

ส่วนเรือฟรีเกตปราบเรือดำน้ำอีก 1-2 ลำ ถ้าดีลที่จะจัดหาในเร็ว ๆ นี้สามารถจัดหาได้ 3 ลำ อีก 1 ลำที่เหลืออาจไม่จำเป็นก็ได้ เพราะเรือจักรีนฤเบศ สามารถสนับสนุนการปราบเรือดำน้ำได้เพียงพอในระดับหนึ่ง และยิ่งถ้าสามารถจัดหาเรือดำน้ำได้ ก็ยิ่งดีเข้าไปอีก

อีกอย่างเรือจักรีนฤเบศยังมีความอ่อนตัวในการปฏิบัติภารกิจได้หลาย ๆ อย่างกว่าเรือฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศ

 

สรุปได้ว่า เสียเงินเพียงครึ่งนึงแต่สามารถทดแทนเรือได้ถึง 3 ลำก็น่าจะดีกว่า


เสียอย่างเดียว ทร.ต้องคิดว่า เมื่อถึงคราวหมดอายุขัยของแฮริเออร์ ทร. จะทำอย่างไรกับการป้องกันภัยทางอากาศต่อไป ถ้าไม่มีแผนว่าจะมีอากาศยานป้องกันภัยทางอากาศของตนเอง หรือไม่มีแผนที่จะจัดหาเรือแบบจักรีนฤเบศอีกต่อไป

แบบนี้การจัดหาเรือป้องกันภัยทางอากาศจะเหมาะสมกว่า เพราะอายุการใช้งานน่าจะยาวนานกว่าเครื่องบิน

 

ปล. ตัวเงินนั้นผมมั่วคร่าว ๆ นะครับ อย่าเอาไปยึดจริงจัง เพราะผมไม่ใช่คนในวงการ อาศัยการอ่านแล้วเดาเอา

โดยคุณ yoyo เมื่อวันที่ 25/02/2013 23:35:16


ความคิดเห็นที่ 16


  ความต้องการที่ทร.มีแผนจัดหานั้น   ต้องการเรือฟรีเกตปราบเรือดำน้ำ 4 ลำ  เรือฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศ 2 ลำ  เรือ LPD อีก 1 ลำ   เรือ OPV อย่างน้อย 9 ลำ   เครื่องบินปีกตรึงอย่างน้อย 8 เครื่อง   Super tucano อีก 1 ฝูง

  ถ้าจัดหาฟรีเกตคราวนี้ได้ 3 ลำมากกว่า 2 ลำ(เพราะมีความเป็นไปได้สูงถึง 70%แล้ว จะจัดหาจากชาติในเอเชีย)    ตามความต้องการเดิมต้องการมัน 4 ลำ   ได้มา 3  ขาดไป 1      

 และต้องการเรือฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศอีก 2 ลำ   ถ้าต่อในชาติเอเชีย  หรือ  ต่อเองในประเทศ   ก็คงต้องใช้เงินประมาณ 15,000 - 16,000 ล้านต่อลำ  หรือ 2 ลำก็ประมาณ 30,000 - 32,000 ล้านบาท  เมื่อรวมกับเรือฟรีเกตปราบเรือดำน้ำอีก 1 ลำที่ขาดไป    ก็ต้องใช้เงินรวมกันประมาณ 40,000 -42,000 ล้านบาท

 LPD ลำที่สอง  อีก 5000 กว่าล้าน   OPV อีกด้วยเพราะมาเลย์กำลังจัดหา OPV ชุดที่สองอีก 6 ลำ รวมกันเป็น 12 ลำ   ซึ่งเราต้องไล่ตาม 

  ดังนั้น  จบจากโครงการเรือฟรีเกตใหม่ชุดนี้  และเรือดำน้ำ   ยังต้องใช้เงินอีกกว่า 50,000 ล้านในการจัดหาตามที่บอกครับ  คือ เรือฟรีเกตปราบเรือดำน้ำลำที่ 4   เรือฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศ 2 ลำ  LPD 1 ลำ  OPV อีกจำนวนหนึ่ง

 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 25/02/2013 11:08:17


ความคิดเห็นที่ 17


  เมื่อรับมอบเรือฟรีเกตใหม่  S-70Bทั้งหมด 6 ลำ ก็คงต้องย้ายจากเรือจักกรีไปประจำเรือฟรีเกตต่อต้านเรือดำน้ำใหม่   MH-60  บางส่วนก็ต้องย้ายไปประจำเรือหลวงอ่างทอง   คราวนี้ดาดฟ้าเรือจักรีโล่งสนิทเลย   แทบจะไม่มีอากาศยานแบบใดๆประจำเรือเลยครับ   เหลือเครื่อง SAR 2-3 เครื่อง  MH-60 อีกแค่ 3 เครื่อง   ถ้า LPD ลำที่สองมาก็ต้องย้าย MH-60 ที่เหลือไปอีก    โล่งสนิท........................

    ถ้าจัดหาเรือดำน้ำ  2-4 ลำ (ถ้าต้องการจำนวนครบๆในเวลาสั้นๆ  คงต้องพึ่งเกาหลีอีก)   ต้องใช้งบต่อเนื่องอีกอย่างน้อย 5-6 ปี   เมื่อรวมกับเงินที่ต้องจ่ายสำหรับเรือฟรีเกตใหม่  เท่ากับว่าทร.ต้องใช้งบประมาณกว่า 10 ปีในการจัดหาเรือฟรีเกตและเรือดำน้ำ   

   ดูแล้วสิ้นหวังสำหรับ  Harrier 2+  และ เรือฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศอีก 2 ลำจริงๆครับ   ยกเว้นรัฐบาลจะเพิ่มงบประมาณให้ทร.เป็นสัดส่วนที่สูงขึ้นเรื่อยๆ  เกินกว่า 60,000 ล้านต่อปี   โดยคงงบประมาณทบ.ไว้ประมาณ 90,000 ล้านต่อปี   แบบนี้ถึงจะลุ้นได้ครับ

 


  ถ้าเงินไม่มา   ดาดฟ้าเรือจักกรีก็คงจะโล่งจนปลดประจำการในอีก 20 กว่าปีข้างหน้าครับ

  

 

 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 25/02/2013 10:36:28


ความคิดเห็นที่ 18


เป็นเรือบรรทุก ฮ. ครับ แต่ถ้าเอา บ. ลงได้ ก็ดีใช่มั้ยล่ะ 

โดยคุณ uuhotu เมื่อวันที่ 25/02/2013 07:34:46


ความคิดเห็นที่ 19


ร.ล.จักรีนฤเบศร์ นั้นแรกเริ่ม กองทัพเรือต้องการเรือบรรทุกเฮลลิคอปเตอร์เพื่อใช้สำหรับรรเทาสาธารณภัยทางทะเลจากกร๊ที่เคยมีพายุไต่ฝุ่นเกย์เข้าชุมพรในตอนนั้น กองทัพเรือไม่มีเรือขนาดใหญ่ที่ทนคลื่นจากพายุเข้าไปได้ จึงจัดหาเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์จากประเทศเยอรมัน แต่เกิดเหตุขัดข้องทางเทคนิคจึงไม่ได้ต่อที่เยอรมัน เลยไปต่อที่สเปนแทน สเปนจึงต่อเรือให้โดยใช้แผนแบบเรือที่ต่อให้กองทัพเรือสเปนแต่เล็กกว่าเล็กน้อย และในช่วงนั้น สเปนกำลังจะปลด AV-8S (ซึ่งก็คือ แฮลริเออร์ รุ่น AV-8A ที่ปรับปรุงระบบเฉพาะของสเปน) เพราะกำลังจะรับมอบ AV-8B รุ่นใหม่ จึงให้มาพร้อมกับ ร.ล.จักรีนฤเบศร์ ทำให้ ร.ล.จักรีนฤเบศร์ มีดาดฟ้ายกพื่อรองกับ AV-8S ที่มากับเรือครับ

ซึ่งในส่วนตัวผมมองว่า หากจะจัดหา AV-8B นั้นถ้าต้องการ กองทัพเรือควรจะจัดหาตั้งแต่ สิบปีที่แล้ว หากจะจัดหาตอนนี้ซึ่งเป้นมือสองคาดว่าคงใช้งานต่อไปอีกไม่เกินสิบปีต้องปลดอีกซึ่งจะกลายเป็นปัญหาซ้ำซากที่กองทัพเรือเคยเผชิญอยู่ ครั้นจะจัดหา F-35B ก็ยังพัฒนาไม่แล้วเสร็จแถมราคาสุงมาก แถมต้องปรับปรุง ร.ล.จักรีนฤเบศร์ อีกมากโข ดังนั้นหนทางที่จะให้ ร.ล.จักรีนฤเบศรื สามารถปฏิบัติภารกิจได้อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพก็ต้องให้เป้นเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ชั้นดีบวกกับ UAV จำนวนหนึ่งผมว่าเหมาะสมที่สุดครับ

 

โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 25/02/2013 09:09:52


ความคิดเห็นที่ 20


เฮ้อไทยผลิตอะไหล่  แฮริเออร์ เอง


โดยคุณ ผู้กองค้า เมื่อวันที่ 25/02/2013 09:29:15


ความคิดเห็นที่ 21


   เรื่อง Harrier 2+  ท่าน Superboy กล่าวถูกต้องแล้วครับ   คือ  อีก 2-3 ปี นาวิกของอเมริกันจะปลดประจำการเพื่อให้ F-35C เข้ามาทดแทน    ถ้าเราจะซื้อก็คงประมาณ 3-4 ปี   เพราะต้องทำการซ่อมคืนสภาพ   ราคาขายต่อน่าจะประมาณ 500-550 ล้านบาทต่อเครื่อง    มีเหลือนับร้อยเครื่องให้เลือกซื้อครับ 

  ส่วนอะไหล่ก็ใช้วิธีว่อมกินตัวไป  เช่น  ต้องการใช้งานจริง 12 เครื่อง  ก็คือแบบทำการซ่อมคืนสภาพ 12 เครื่อง   ซื้อเครื่องที่ไม่ซ่อมคืนสภาพมาเพิ่มอีกสัก 10-14 เครื่อง    เอามาเป็นอะไหล่  ซึ่งเครื่องที่ซื้อมาเป็นอะไหล่ก็ไม่ต้องซ่อมคืนสภาพ    เหมือนคราวที่จัดหา A-7 40 เครื่อง    ใช้งานจริง 20  เป็น อะไหล่ 20

 ปัญหาตอนนี้ไม่ใช่ว่าไม่มีเครื่องบินให้เราเลือกซื้อครับ    แต่มันติดที่  "เงิน"    จากที่ท่าน  Fatboy ให้ข้อมูลมาว่าคงไม่มีการจัดซื้อ  Harrier 2+  ก็คงเพราะเรื่องเงินน่ะครับ    เพราะเมื่อจบโครงการเรื่อฟรีเกตแล้ว   ทร.ตั้งใจจะเสนอจัดหาเรือดำน้ำอีกครั้งก่อนปี 2560  ดังนั้นโครงการใดที่ต้องใช้เงินจำนวนมากๆ   โดนตัดเรียบเพื่อไปถมการจัดหาเรือดำน้ำที่มีความจำเป็นสูงกว่าก่อนครับ   ซึ่งผมเห็นด้วย    ถ้าไม่มีเรือดำน้ำ   จะเอาจักรีออกทะเล   เสี่ยงมากครับ

 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 25/02/2013 10:25:27


ความคิดเห็นที่ 22


แหม๋ ไงใจร้อนกันจริงนะจ๊ะ ในเพจกองทัพเรือเค้าก็บอกอยู่จ๊ะ ไม่ต้องรอทหารระดับสูงมาบอกหรอกจ๊ะ ถ้าฟัง หรือไม่ได้ฟังมาอย่างนั้น ไม่งั้นข้อมูลของกองทัพเรือคงผิด แต่ในเพจก็ยังบอกอยู่ว่ามีเครืองบินแฮร์ริเออร์ 9 ลำ (แต่ปัจจุบันปลดหมดแล้ว) และขอแก้ไขข้อมูล เป็นเฮริคอปเตอร์ S70B 6 ลำ (ไม่รู้ว่ามีครบตามจำนวนหรือไม่ เพราะปกติจะเห็นอยู่แค่ 2 ลำ) ข้อมูลก็ตามเพจจ๊ะ แต่ก็สับสนเหมือนกันนะ ใน( ) จะพูดเองนะครับ แต่ถ้าจำไม่ผิด ตำแหน่งการติดตั้ง MK-41 คุณจูดาส เคยทำภาพเอาไว้ ก็ติดตามของเก่าเอานะจ๊ะ

หลักฐานก็ตามนี้จ๊ะ   

http://www3.navy.mi.th/index.php/main/detail/content_id/487

โดยคุณ tommy เมื่อวันที่ 25/02/2013 04:37:44


ความคิดเห็นที่ 23


ถ้าเขาขายก็มีโอกาสอะนะ เรื่องอะไหล่เราก็น่าจะผลิตเองได้ เพราะเห็นว่าเป็นเทคโนโลยีเก่าแล้วน่าจะผลิตไม่ยาก

โดยคุณ zakuIII เมื่อวันที่ 25/02/2013 00:16:17


ความคิดเห็นที่ 24


เรื่องจะผลิตอะไหล่แฮริเออร์เองนี่ยากมาก เก่าก็จริงแต่เรายังทำเองไม่ได้ ตอนนี้เทคโนโลยีผลิดเองของเรายังอยู่ที่ทอ.6 นอกจากมีการถ่ายทอดเทคโนโลยี ซึ่งคงไม่มี

 

เรือจักรีกองทัพเรือปัจจุบันเรียกเป็นเรือขนฮ.ครับ เว็บกองทัพเรือก็บอก เรียกเป็นกองเรือบรรทุกฮ. 

ตอนนี้ก็ไม่ถึงกับเป็นเรือปอเต็กตึ๊งอย่างที่ว่าหรอกครับ ใช้เป็นเรือธงบัญชาการรบครับ 

เท่าที่อ่านมาจากสมนภูมิฉบับประมาณปีที่แล้ว เรดาร์ตัวหลัก คือตรวจการณ์อากาศเป็นแบบไม่ใช่สามมิติ แล้วการทำงานกับซาดรัลก็ไม่ค่อยเต็มประสิทธิ์ภาพ 

เรดาร์ตรวจการณ์ผิวน้ำ โซนาร์ใต้ตัวเรือก็ไม่มี 

แต่ก็กำลังจะได้รับการอัพเกรดระบบคอนโทรลกับคอมมานด์ดาต้าลิงค์จากซาบก็โอ ถ้าได้ติดอีเอสเอสเอ็มก็แหล่มเลย 

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 25/02/2013 01:50:51


ความคิดเห็นที่ 25


ประเทศที่มีแนวคิดทันสมัยจะใช้ยุทธปกรณ์ให้เต็มประสิทธิภาพโดยการมองหาสิ่งที่เข้ากันได้และปรับมันให้ทันสมัยเสมอ แต่ แต่.....ปล่อยไว้อย่างนั้น วันแล้ววันเล่า

และเรื่องเรือจักรีฯ อย่ามาบอกว่าจะใช้เป็นเรือบรรทุก ฮ. อย่างเดียว ผมยังไม่เคยได้ยินนายทหารเรือระดับสูงพูดเช่นนั้น(ถ้ามีขอหลัีกฐานยืนยันด้วย)  เพราะถ้าต้องการให้เป็นเรือบรรทุก ฮ. อย่างเช่นบางคนบอก  แล้วไหนละมี ฮ. ที่มีสมรถนะสูงประการอยุ่ไหมหรือมีสักกี่ลำ  ตอนนี้เป็นแค่เรือแห้งมากกว่า มีแค่ข่าวเป็นเรือกู้ภัยประจำปีมากกว่า 

ขออภัยถ้าความเห็นไม่ถูกใจใคร แต่เป็นเรื่องจริง

โดยคุณ C2001 เมื่อวันที่ 24/02/2013 19:25:28


ความคิดเห็นที่ 26


เท่าที่จำได้ เคยได้ยินว่า เรดาห์ควบคุมการยิง Stir ที่ถอดจากเรือชุด นเรศวร ทั้งสองลำจะถูกนำไปติดตั้งบนเรือจักรีฯ ซึ่งถ้าเป็นจริงเรือจักรีฯก็สามารถใช้ ESSM ได้. และตัวเรือก็ได้ออกแบบไว้สำหรับติดตั้งระบบ VLS Mk41 ได้ 1 ชุดอยู่แล้ว และระบบอำนวยการรบ 9VL บนเรือก็สามารถเชื่อมต่อได้เลยเช่นกัน (ระบบเดียวกับเรือนเรศวร)
โดยคุณ TWG เมื่อวันที่ 24/02/2013 23:17:51


ความคิดเห็นที่ 27


ปล เพิ่มเติมนิดหน่อย f-18 ไว้ที่อู่ตะเภานะ ไม่ใช่เรือจักรีฯ ครับ

โดยคุณ tommy เมื่อวันที่ 24/02/2013 14:04:02


ความคิดเห็นที่ 28


เห็นด้วยครับ ถ้าเรามีเงินเพียงพอควรติดตั้ง MK-41 แล้วจัดหา S-60 ซีฮอว์ก ให้ครบตามจำนวน เพราะในเพจกองทัพเรือยังระบุว่าเรือหลวงจักรีฯ เป็นเรือบรรทุกเฮริคอปเตอร์ ผมว่าเราควรเน้นภารกิจในการป้องกันตัวเอง ป้องกันภัย กับการช่วยเหลือกู้ภัย เคลื่อนที่เร็ว น่าจะดีกว่า ส่วนจะมีเครื่องบินเฮริเออร์แล้วหรือไม่ ผมว่าภารกิจของเราตอนนี้ยังไม่มีความจำเป็น (แม้จะเสียดายมันเหมือนกัน) เอาไว้เป็นเรื่องของอนาคต แล้วค่อยหาเครื่องบินที่ทันสมัยกว่ามาประจำการจะดีกว่า แต่ถ้าสหรัฐมีแผนโละ F-18 มือสอง แล้วราคาไม่แพงมากนักและเรามีเงินเพียงพอ หลายประเทศก็ยังใช้อยู่ อันนี้ผมเห็นด้วยนะ อยากให้กองทัพเรือเป็นหน่วยรบ 3 มิติ ครบสูตรได้ในตัวเอง และน่านน้ำของเราก็ไม่ได้กว้างมากนัก ประกอบกับ กริฟเฟน กองทัพอากาศอีก ก็น่าจะเพียงพอ

โดยคุณ tommy เมื่อวันที่ 24/02/2013 13:59:26


ความคิดเห็นที่ 29


ผมว่าไอ้เรือนี้มันอยู่ที่เราจะใช้ภารกิจอะไร บางคนบอกเป็นเรือขนบ.แต่ต้น บางคนบอกเป็นเรือขนฮ. ผมก็ตอบม่ได้ว่าตกลงมันยังไง

แต่การเอาฮ.ปราบด.ไว้บนเรือขนบ.เป็นปกติครับ ไว้ติดโซนาร์ชักอย่อน เป็นฝูงบินปราบเรือดำน้ำ อเมริกามีตรึม โคตรจะปกติเลยครับ แล้วที่ผ่านมาก็คือสิ่งที่เราทำกันอยู่ตลอด ฮ.ปราบด.บนเรือจักรี (เอาจริงๆที่มีอุปกรณ์ ปราบด.ได้ก็มีอยู่สองสามลำ) กลับกันซะอีกที่เราไม่มีเรือปราบด.อยู่บนฟริเกต (ก็มันไปอยู่บนจักรีหมดแล้ว ฮา)

ส่วนฮ.โจมตีมีเฉพาะในเรือขนฮ.ใช้สำหรับโจมตีฝั่ง พวก LPD,LHD,

แน่นอนว่าการเอาฮ.โจมตีมาบนเรือมันก็ไม่ทดแทนเครื่องบินขับไล่อยู่แล้ว แต่ก็คือเป็นการเปลี่ยนภารกิจไป

ส่วนตัวผมว่าการจะรอต่อซากจะอเมริกาสิทธิ์น้อยมาก อีกนานนนนนน แล้วก็เก่าจนไม่รู้จะเก่ายังไง จะไม่คุ้มหรือเปล่า เพราะตัวแฮริเออร์เป็นบ.โจมตีขับไล่ ซึ่วปัจจุบันไม่มีที่ให้ยืนสำหรับการขับไล่แล้ว ใช้โจมตีได้อย่างเดียว ซึ่งถึงตอนนั้นมันจะมีความสามารถอยู่รอดแค่ไหน เจอเครื่องบินนี่ก็ไม่รอด อเมริกาก็ประจำเรือโจมตี ไม่ใช่เรือขนบ. เอาไว้ไล่ยิงรถถัง ไม่ได้เอาไว้คุ้มครองน่านน้ำ/ฟ้าอย่างที่เราต้องการ สมัยนั้นมันก็จะกลายเป็นเทคโนเก่าแล้ว บินไปอาจจะโดนแซมจากเรือไฮเทคๆทั้งหลายแถวนี้ล่อเอาได้ 

หรือเราจะเอามาเป็นเรือขนบ.โจมตี สำหรับไปโจมตีประเทศอื่น (ก็คล้ายๆกับมีฮ.โจมตีนั่นแหละ) ผมก็ไม่เห็นด้วย ไม่ได้เร่งด่วน เอาตังไปทำอย่างอื่นเช่นเรือฟริกตป้องกันภัยทางอากาศหรือเรือดำน้ำดีกว่า นอกจากรวยจริงเงินเหลือ

 

หรือเราจะเอาแบบญี่ปุ่นเลย เป็นเรือพิฆาตขนฮ. คือมีสภาพเป็นเรือโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบกแต่ติดอาวุธแบบเรือ destroyer ด้วย ติดอาวุธป้องกันภัยทางอากาศ อาวุธโจมตีเรือ(ฮาร์พูน) น่าจะโมดิฟายจักรีง่ายสุดแล้ว ช่องสำหรับติดแท่นยิงมิสไซลก็มีอยู่แล้ว อัพเกรดระบบเรดาร์ ระบบอำนวยการรบ ติดฮาร์พูดก็เสร็จ เอาฮ.มาประจำ เย็ดเข้...

ว่าแต่เสร็จแล้วจำเอาไปทำไรดีล่ะเนี่ย

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 24/02/2013 11:25:26


ความคิดเห็นที่ 30


ถ้าจะซื้อจริงๆต้องรอนาวิกโยธินอเมริกาได้รับ F-35Cไปใช้แล้วปลดประจำการแฮริเออร์  จากนั้นเราไปขอซื้อในราคามิตรภาพพร้อมอะไหล่เพื่อใช้งานไอีกซัก10-15ปี แบบนี้คือโอกาศที่น่าจะพอได้อยู่

 

นาวิกโยธินอเมริกา มีแผนจะรับเครื่องใหม่ในอีก2-3ปีข้างหน้า ไวที่สุดของเราก็อีก3-4ปีข้างหน้าเช่นกัน โดยแฮริเออร์อเมริกามีเรดาร์และจริงจรวดต่อสู้อากาศยานได้เหมาะสมกับภาระกิจป้องกันอากาศยานที่สุด

 

เรื่องซื้อเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำกับเฮลิคอปเตอร์กันชิฟนี่ผมว่าไม่มีประโยชน์เลย  เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำควรอยู๋คู่เรือฟริเกตุสมรรถนะสุงมากกว่าเพราะทำงานร่วมกันได้มีอาวุธเด็ดทั้งคู่ เราจะเอา911ที่ไม่มีอุปกรณ์ต่อสู้เรือดำน้ำไปเสี่ยงทำไมกัน  AH-1W ยิ่งไปกันใหญ่จะเอาไปทำภาระกิจอะไรวานบอกผมที

 

เรือบรรทุกเครื่องบินของเราออกแบบมาเพื่อแฮริเออร์ถ้าได้มาใช้จริงๆอีก10ปีในราคามิตรภาพก็คุ้มมากครับ ถึงตอนนี้จะเห็นว่าเรายังคงต้องพึ่งอเมริกาและความช่วยเหลือจากเขาเยอะมากเหมือนเดิม เพราะเขายังมีอาวุธปลดประจำการที่เราต้องการมากและขายให้ในราคามิตรภาพจริง อาวุธบางอย่างมีเงินก็ซื้อไม่ได้เพราะเขาไม่ขาย ฮา

 

จะเป็นอากาศยานแบบไหนที่ประจำการบนเรือ911ของเราต้องมีความสามารถในการต่อต้านอากาศยาน ถ้าไม่มีก็ใช้แบบเดิมนี่แหละเอาเงืนไปลงเรือดำน้ำดีกว่า MK41 ติดก็ต้องติดระบบควบคุมการยิงและเรดาห์ใหม่ด้วย เงินหนะมีไหม

 

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 23/02/2013 21:30:46


ความคิดเห็นที่ 31


  คุณ superboy ครับ ทำไมคิดเเค่ว่าต้องให้คนอื่นเลิกใช้เเล้วเราเอามาใช้ต่อละครับเพราะถ้าตอนนั้นอายุมันก็มากมายพี่กันเเกก็ใช้สมบุกสมบันเเล้วอีกอย่างนะถ้าคุณว่าเอามาใช้เเค่ 10+ปีนิดหน่อยเเล้วมันผิดอะไรกับที่กราวของเดิมไปอะไหล่ก็ต้องซื้อมาทั้งลำอย่างเช่นใช้9อย่างน้อยต้องซื้อ15เพราะหาอะไหล่ของใหม่ไม่ได้เเล้วค่าบำรุงรักษาสูงลิ่วใน10+ ไอ้F-35เลิกฝันได้เเล้วเพราะเอาไปเก็บข้างล้างไม่ได้ถ้าจะเอาจริงต้องโมลิฟท้ายเรือใหม่อีกใช้งบเพียบ..เรือเรามันเป็นเรือบรรทุกฮ.ตั้งเเต่เเรก เเต่เมื่อก่อนมันมัเเเฮริเออร์เราจึงโมหัวเรือให้มีสกีจั๊มพ์ ผมไม่รู้ว่าคุณไปเอาความคิดที่ว่า"เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำกับเฮลิคอปเตอร์กันชิฟนี่ผมว่าไม่มีประโยชน์เลย"มาจากไหน ขนาดอเมริกายังต้องมีเลยขนาดมีเครื่องบินเจ็ทเป็นสิบลำบนเรือบ. ภารกิจมันเเตกต่างกันส่วนmk-41 essm ใช้กับระบบ9VL ได้เเต่อาจเพิ่มระบบควบคุมการยิงเพื่อเป็นอาวุธป้องกันเรือระยะกลาง อย่าหวังรอคอยเเต่จะให้คนอื่นล้มเหยื่อกินเสร็จเเล้วเหลือซากไว้ให้เรากินต่อ อย่างน้อยถ้าไม่อยากเป็นผู้ล่าก็ต้องเป็นผู้ที่คอยป้องกันตัวเองให้ได้..

โดยคุณ กลับสู่สามัญ เมื่อวันที่ 24/02/2013 09:02:48


ความคิดเห็นที่ 32


แฮลิเออร์เนี่ยปราบเรือดำน้ำได้ไหมครับ เทียบกับซีคอบบร้า หรือ อาปาเช่ ตามที่ท่าน ecos บอกเครื่องไหนเทพกว่ากัน กับภาระกิจ ทำลายทั้ง 3 มิติ รวมถึงการยกพลขึ้นบก เทียบกับ ของลุง SAM  เห็นตอนนั้นในบอร์ดเขียนไว้ว่ามีบางประเทศที่ประกาศขายไป แต่เรืองระบบอะไหล่เนี่ยต้องยอมจริงๆเพราะปิดสายการผลิตไปแล้วราคาซ่อมต่อลำไม่รู้เท่าไร

และตอนนี้ราคามือสองจะตกอยู่ที่ลำลำเท่าไร  อีกอย่างถ้าเอา uav มาไว้บน 911 พวกที่เป็น UAVโจมตีได้เนี่ยมันจะขึ้นลงไหวรึเปล่าครับ ส่วนในกระทู้ที่ปักหมุดไว้เห็นให้หาSUPER TUCANO ผมก็อยากรู้ว่าเทียบกับ แฮลิเออร์เนี่ยอันไหนภาระกิจใช้ได้ครอบคลุมกว่า แต่เรื่องอะไหล่เนี่ยเห็นแล้วปวดใจจริง ต่อให้ ลุง sam เจียดขายให้เราก็ไม่รู้ค่าบำรุงจะอีกเท่าไรเพราะพี่แกใช้งานได้ใจ เอาเป็นว่าผมก็แอบหวังให้เราได้ แฮลิเออร์+ครับมาไว้คู่กับจักรีครับและมีงบซ่อมบำรุงให้อยู่ให้ได้บนเรือจักรีนานที่สุด

โดยคุณ lfazuru เมื่อวันที่ 23/02/2013 19:57:20


ความคิดเห็นที่ 33


โดยคุณ Ricebeanoil เมื่อวันที่ 23/02/2013 17:37:32


ความคิดเห็นที่ 34


<iframe width="560" height="315" src="http://www.youtube.com/embed/5dRLldSwA00" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>

โดยคุณ biew เมื่อวันที่ 23/02/2013 13:44:41


ความคิดเห็นที่ 35


(มือใหม่ครับ) เวลาจะลงคลิปจาก youtube ต้องทำยังไงอ่ะครับผม??

โดยคุณ biew เมื่อวันที่ 23/02/2013 13:46:23


ความคิดเห็นที่ 36


  ในความคิดผม ณ ตอนนี้ผมว่าคงยากครับเพราะตอนที่อังกฤษปลดเเฮริเออร์ลุงเเซมเล่นเหมาหมดเลย เเสดงว่าเเฮริเออร์ยังคงมีความจำเป็นต่อการใช้งานอยู่เเม้เเต่ในกองทัพอันเกรียงไกรทั้งกำลังเเละอาวุทที่ทรงอานุภาพอย่างอเมริกาก็ตาม ถ้าตอนนี้อเมริกายอมเเบ่งขายให้ซัก 12 เครื่องจริง เมื่อเราเอามาประจำการเเล้วอายุในการประจำการก็น่าจะพอๆกับของเดิมที่กราวไปเพราะอะหลั่ยการซ่อมบำรุงเเละราคาเเพงเนื่องจากปิดสายการผลิตไปนานเเละคนใช้น้อยลงไปทุกขณะ ผมหวังว่าในอนาคตคงจัดหา MK-41 เพื่อบรรจุ ESSM ติดให้กับเรือหลวงจักรีนฤเบศตามที่มันควรจะเป็นตั้งเเต่เเรมตามสเปคเรือ เเล้วจัดหา AH-1W มาไว้บนเรือซัก4ลำเเค่นี้ก็หรูเเล้ว

โดยคุณ กลับสู่สามัญ เมื่อวันที่ 23/02/2013 15:02:19


ความคิดเห็นที่ 37


เรื่องเอา AV8 กลับขึ้นมาประจำการ ผมว่ายากครับ เว้นแต่เราจะผลิตอะไหล่ หรือ จัดหาอะไหล่มาเองได้ 

ไม่งั้นผมว่าทางออกก็คือ จัดหาเฮลิคอปเตอร์จู่โจม ติดเรือแทนจะ AH-1 หรือ AH-64 ก็ได้ มาทดแทนครับ

แล้วหา ฮ.ปราบเรือดำน้ำมาประจำการเพิ่มด้วย

 

ส่วนจะเอากริฟเพนมาลงหรือรอ F35 ยังไงอนาคต ค่อยว่ากันอีกที

โดยคุณ ecos เมื่อวันที่ 23/02/2013 15:33:17


ความคิดเห็นที่ 38


mirage สาม มันเก่ากึ้กกว่าแฮรริเออร์อีกนะครับ

แต่ผมหมายถึงปัจจุบัน แฮริเออร์จะมาทำตัวเป็นเครื่องขับไล่คงไม่ได้แล้วครับ

คนอืนเขาไปกันไหนต่อไหน

แล้วส่วนใหญ่การอัพเกรดก็เน้นไปที่การโจมตี นย.อเมริกาก็มีแต่เป็นฝูงโจมตี กลางคืนกับกลางวัน

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 26/02/2013 11:39:40


ความคิดเห็นที่ 39


ห่างหายจากการคอมเมนท์มานานชักมันกับกระทู้นี้ อิ อิ

เครื่องบิน AV-8B+ นั้นมีการปรับปรุงให้มีขีดความสามารถในการใช้อาวุธแบบ AIM-120 อัมราม ได้ถ้าจำไม่ผิด แต่ AV-8B+ เป็นเครื่องบินโจมตีสนับสนุนทางอากาศของกองกำลังนาวิกโยธินอเมริกาครับ ไม่ได้เป็นเครื่องขับไล่ แตกต่างจาก แฮริเออร์ ของอังกฤษที่เน้นภารกิจขับไล่และก็ปลดซึ่งอเมริกาก็เหมาไปแล้ว ซึ่งถ้าหากกองทัพเรือจัดหามาประจำการบน ร.ล.จักรีนฤเบศร์ ก็จะเน้นไปที่โจมตีสนับสนุนกองเรือและนาวิกโยธินเป็นหลัก และป้องกันภัยทางอากาศเป็นภารกิจรอง

แต่ส่วนตัวมองว่ากองทัพเรือคงจะยังไม่มีการจัดหาเครื่องบินไอพ่นในตอนนี้แน่นอน เพราะกองทัพเรือได้ทำระบบสื่อสารกับกองทัพอากาศซึ่งคงจะอาศัยการสนับสนุนจาก JAS-39C/D ที่มีขีดความสามารถในการโจมตีเรือผิวน้ำอยู่แล้ว และกองทัพเรืออาจจะใช้ ร.ล.จักรีนฤเบศร์ เป็นเรือบัญชาการเป็นหลัก โดยอาจจะมีการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ สำหรับการค้นหาเรือดำน้ำและตรวจการณ์ชี้เป้ามาประจำเรือเพิ่มเติมมากกว่าจะไปจัดหา AV-8B ครับ เพราะใต้น้ำคือจุดบอดของกองทัพเรือ ผมจึงมองว่า หากจะจัด AV-8B นั้นเป็นไปได้น้อยมากครับถ้าเทียบกับการจัดหา เฮลิคอปเตอร์ มาประจำการบนเรือ

โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 26/02/2013 12:33:03


ความคิดเห็นที่ 40


กระทู้นี้ ว่าจะอ่านอย่างเดียวเหมือนกัน...แต่ขอ แจม ด้วยรึกันครับ...

ตอนนี้ ถ้า ทร. จะจัดหา Harrier คงมีได้ในแบบเดียวคือ AV-8B+ ของ นย. สหรัฐ ครับ...

ซึ่งการจัดหา ก็คงต้องจัดหาโดยการซื้อ จากโครงการ HISS โดยความช่วยเหลือของ สหรัฐ ครับ...

The HISS Agreement: How It Works

HISS is a 5-year performance-based logistics contract to support AV-8B Harriers operated by the U.S. Marine Corps, Italy and Spain, with an option for an additional 5 years. It supports numerous AV-8B systems, including a combination of electromechanical, avionics, electrical and structural components made up of approximately 1,050 stock items.

The nations involved have been flying Harriers for quite some time, and know the support costs involved. They sat down with Boeing to estimate those costs over the HISS contract period, then agreed to a fixed budget based on those estimates. Boeing is now responsible for carrying out the repairs on those systems, and allocating those monies within the budget. As a firm-fixed price contract, Boeing can pocket savings that it finds as long as it meets the agreed levels of service. Desired engineering changes, if any, can be developed at Boeing’s expense and then brought to the customers for possible approval and reimbursement.

Boeing is establishing partnerships with fleet readiness centers in North Island, CA and Cherry Point, NC through the agreement. Work under HISS will include asset repair management (spares and consumables), meeting delivery response times, obsolescence management, reliability and maintainability improvements, warehousing, configuration management, technology insertion, transportation and other innovative supply support solutions.

HISS diverges from the emerging British approach to supporting major platforms. While it incorporates some performance-based aspects, it’s much closer to classic spares & service approaches than it is to Britain’s ATTAC Tornado support arrangement, or even lesser approaches like the USA’s recent B-2 bomber support agreement. Key differences include:

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 26/02/2013 13:25:46


ความคิดเห็นที่ 41


Harrier ของ อังกฤษ ที่ สหรัฐ ขอซื้อนั้น ก็นำมาเข้าในโครงการ HISS นี้ล่ะครับ...

ซึ่ง โครงการ HISS นี้ จะรองรับการปฏิบัติงานของ สหรัฐ สเปน และ อิตาลี่...

ซึ่งจะช่วยให้ AV-8B+ จะยังมีประสิทธิภาพสูง ไปอีกหลายปี จนกว่า โครงการ F-35B จะบรรลุผล....

โดย ประเทศไหน ก็ตาม ถ้าต้องการจัดหา AV-8B+ มือสอง คงต้องรอไปหลังปี 2017 ครับ...คือ รับช่วงต่อจาก สหรัฐ สำหรับลำที่ปลดประจำการ และได้รับ F-35B ไปทดแทนแล้ว...

โดยโครงการนี้ ค่าใช้จ่ายโครงการ เป็น คงที่ คือ โดยรวมประมาณ 400 ล้านเหรียญ...

เมื่อเดือน ธ.ค. 2555 ทร.อิตาลี่ ก็เพิ่งจะเริ่มนำเครื่องลำแรก เข้าสู่โครงการดังกล่าว ครับ...กว่าจะเสร็จสิ้นครบ ก็คงอีกประมาณ 2 ปี...

โดยค่าใช้จ่ายของ อิตาลี่ ตามโครงการประมาณลำละ 280,000 เหรียญ

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 26/02/2013 13:32:09


ความคิดเห็นที่ 42


คือ ถ้าพูดถึงว่า "ถ้า" จะมี Harrier บน 911 อีก...

ก็คงเป็น AV-8B+ (HISS) นี้ เท่านั้นครับ...

ส่วน F-35B ผมค่อนข้างเชื่อว่า...ทร. ยังไม่มีศักยภาพ นักบิน ที่จะบินกับเครื่องรุ่นนี้ได้...

ซึ่ง ทร. คงต้องขอ นักบิน จาก ทอ. มา เท่านั้น...

ซึ่งก็คงไม่แคล้วต้องเป็น นักบิน F-16 หรือ Jas-39 ที่มีชั่วโมงบินสูง ด้วยเช่นกัน...

แต่ ทอ. ก็คงจะจัดหาให้ไม่ได้ เช่นกัน...

โอกาสของ F-35B กับ ทร. คงมีโอกาสเดียว คือ

F-35B สังกัด กองทัพอากาศ โดยใช้ปฏิบัติการร่วม บน 911 ของ ทร. ครับ....

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 26/02/2013 13:37:10


ความคิดเห็นที่ 43


Link ครับ

http://www.defenseindustrydaily.com/the-hiss-harrier-support-program-03369/

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 26/02/2013 13:46:09


ความคิดเห็นที่ 44


  ขอบคุณมากนะครับป๋าจูล  ราคาการปรับปรุงตามโครงการ  HISS ต่อลำไม่แพงนะครับ    Harrier2+  สามารถใช้ได้ไปอีกนานเลย   เพราะมีระบบอะไหล่สนับสนุน

  ถ้าทร.สามารถเจียดเงินมาให้ได้  ก็อยากให้ซื้อครับ   เพราะเพิ่มอำนาจการยิงให้กองเรือขึ้นอีกมหาศาล   และสามารถนำกองเรือออกไปปฏิบัติการนอกบ้านได้ด้วย   ทร.อิตาลีและสเปนเองก็ยังคงใช้งานอยู่อีกนานพอดูทีเดียว  

 ส่วน F-35  ผมว่า  ให้ทร.จัดหาเรือบรรทุกบ.ลำที่สองที่เป็น CATOBAR  หรือ STOBAR มาดีกว่า  เพราะจะมีเครื่องให้เลือกซื้อได้มากกว่านี้  ไม่ใช่ถูกบีบให้ใช้ได้แต่เครื่อง F-35 เท่านั้น   



โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 26/02/2013 15:11:51


ความคิดเห็นที่ 45


ผมมองว่าอันดับความเร่งด่วนของ ทร. คือ

เร่งด่วนสุด เรือดำน้ำ

รองลงมา คือ เรือฟริเกตปราบเรือดำน้ำ พร้อม ฮ. ปราบเรือดำน้ำ

อันดับสาม คือ เรือฟริเกตป้องกันภัยทางอากาศ

อันดับสี่ คือ เครื่องบินรบประจำเรือจักรีฯ ซึ่งผมมองว่าจากนโยบายของสหรัฐที่กลับมาให้ความสำคัญภูมิภาคเอเชียน่าจะทำให้ไทยสามารถเจรจาขอความช่วยเหลือจากสหรัฐได้โดยจะได้รับมอบแฮริเออร์หลังจากที่ F35B เข้าประจำการในกองทัพสหรัฐแล้วระยะยึง ครับ (แนวเดียวกับกรณี A7E คอแซร์)

โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 26/02/2013 15:58:26


ความคิดเห็นที่ 46


ซึ่ง การจัดหา F-35B....ควรจะเป็น ฝูง 102 ของ ทอ.

จะทำให้ ฝูง 102 ของ ทอ. สามารถ Join กับ ทอ.สิงคโปร์ (สิงคโปร์ วางแผนจัดหา F-35B) และกับ ทอ.ออสเตรเลีย ได้ (ปฏิบัติการร่วมบน LHD canberra)...

โดย ทร. จะคงรับผิดชอบในส่วนงบประมาณ การปรับปรุงเรือ ร.ล.จักรีฯ เพื่อรองรับการปฏิบัติการด้วย F-35B ของ ทอ.

ทำให้ งบประมาณ กระจาย ตามกองทัพ ในสัดส่วน ที่มีความเป็นไปได้...

และใน เมื่อ ทร. ต้องใช้งบประมาณ ได้การปรับปรุง 911 เพื่อรองรับการปฏิบัติการด้วย F-35B ของ กองทัพอากาศ แล้ว...

ทร. ก็น่าจะศึกษา ความเป็นไปได้ ในการดัดแปลง เรือ เพื่อรองรับ อากาศยานโจมตีเบา ด้วยเครื่องยนต์ เทอร์โบพร๊อพ ไปในคราวเดียวกัน...

ฝูง 102 ของ ทอ. จะเป็น ฝูงชั้นนำ เป็น ฝูงบินสำหรับภาระกิจ นานาขาติ...

และตามโครงการ บ.ตระกูล F-35 นี้...ก็มี เป้าหมาย เพื่อต่อกรณ์กับ บ.ตระกูล Su ของ รัสเซีย อยู่แล้วครับ...

จะทำให้ ร.ล.จักรีฯ เป็น ฐานบินลอยน้ำ ที่มีศักยภาพ รองรับ อากาศยานได้ทุกภาระกิจ และจะมี ราคาถูก ที่สุด เมื่อเทียบกับประเทศต่าง ๆ....

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 26/02/2013 16:22:22


ความคิดเห็นที่ 47


ดาดฟ้าเรือของ ร.ล.จักรีฯ สามารถรองรับ น้ำหนักบรรทุก ได้ถึง 135 ตัน (ถ้าจำไม่ผิดครับ)...ซึ่ง หมายถึง ดาดฟ้าเรือเอง ก็ต้องมีความปลอดภัยจาก ภัยระเบิด และอุบัติเหตุ จากการระเบิดของ อากาศยาน บนดาดฟ้าบินด้วยอยู่แล้วครับ...

ผมจึงเชื่อว่า ดาดฟ้าบินของ ร.ล.จักรีฯ น่าจะรองรับการปฏิบิติการด้วยด้วย อากาศยานโจมตีเบา ได้...เพียงแต่อาจจะติดขัด เรื่อง ระยะทางการขึ้น - ลง ของอากาศยาน และ ประสบการณ์ความสามารถของ นักบิน กบร. ในการปฏิบัติการ ขึ้น-ลง บนเรือบรรทุกเครื่องบิน ที่จะเป็นปัญหาสำคัญ มากกว่าครับ...

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 26/02/2013 16:27:43


ความคิดเห็นที่ 48


   ในระยะ 10 ปีที่จะถึงนี้  ผมว่าความเป็นไปได้ตามที่ท่าน rayong กล่าวมีสูงนะครับ    เพราะถ้าอเมริกันจะพยายามรักษาให้เราคงยืนตรงกลางไม่เอียงไปฝั่งจีนมากไปกว่านี้   การเสนออาวุํธมือสองแบบให้เปล่าแล้วไปจ่ายค่าซ่อมคืนสภาพเอาเองมีความเป็นไปได้สูง    OHP  ก็มาแนวนี้

  

    ส่วนแผนในระยะยาวที่จะให้ ทร.ปรับปรุงเรือเพียงบางอย่างเพื่อรองรับ F-35 ของ ทอ.  ผมก็ว่าเป็นแนวคิดที่ไม่เลวนะครับ    เพราะจักรีจะกลายเป็นแค่สนามบินลอยน้ำ    และใช้เครื่องของทอ.ในการปฏิบัติการ  เป็นการลดภาระให้แก่ทร.ได้ดีในเรื่องงบประมาณ     แต่ความคล่องตัวในการปฏิบัติการร่วมกันนี่สิครับน่าคิด     เพราะไม่เคยมีประเทศไหนนะเท่าที่ผมจำได้   จะให้เรือสังกัด ทัพเรือ  เครื่องบินประจำเรือ สังกัด ทัพฟ้า   ถ้าจะใช้วิธีนี้ต้องบรูณาการการทำงานร่วมกันระหว่างทร.และทอ. พอสมควรทีเดียว   โดยเฉพาะการออกคำสั่ง   ผู้รับคำสั่ง    และกรณีที่ฉุกเฉินที่เครื่องบินไม่ทราบฝ่ายบินเจาะเข้ามาแบบไม่บอกกล่าว   ไม่รู้เจตนา   ในสถานการณ์บางกรณี     

   แต่ยอมรับว่าเป็นแนวคิดที่เข้าท่าจริงๆ   เพราะถ้าให้ทร.ปฎิบัติการด้วย F-35 เพียงไม่กี่เครื่อง (6-8 เครื่อง)   แต่ต้องแบกค่าใช้จ่าย  ค่าซ่อมบำรุง  ค่าปฏิบัติการ    โหยยย.....อ๊วก     เพราะถ้าใฃ้วิธีนี้  ประเทศไทยก็จะมีเครื่องบินรบชั้นดีไปปฏิบัติการนอกประเทศได้   โดยเสียค่าใช้จ่ายต่ำ    และ 911 เอาก็น่าจะประจำการได้อีกแค่ 20-30 ปี เท่านั้น   

 

     หรือจะเอาทั้งสองแนวคิดเลย   ถ้าอเมริกันยก  Harrier 2+  ให้เราฟรีๆแบบ  OHP  แล้วเสียค่าซ่อมคืนสภาพเอาเอง   ก็ใช้มันไปในฐานะเครื่องบินรบประจำเรือไปตลอดจนเรือจักกรีปลดประจำการ      พอทอ. เริ่มจัดหา  F-35 ซึ่งก็อีกนานทีเดียว    ทร.ก็น่าจะคุยกับ ทอ. ในเรื่องนี้ว่าให้ทอ.จัดหา F-35B เสียฝูงหนึ่ง( 6 เครื่องก็ยังดี)    เพื่อให้สามารถใฃ้งานบนเรือจักกรีได้       โดย ทร. จะนำ F-35B ไปปฏิบัติการเมื่อสถานะการจำเป็นและมีภัยคุกคามสูงจนเกินกำลังของ Harrier 2+    แต่ยังไงก็ต้องให้ Harrier 2+  เป็นกระดูกสันหลังหลักของ ทร. ไปก่อนจนกว่าจะจัดหาดเรือบรรทุกบ.ลำใหม่แทน

 

  ยังไม่ได้เรือดำน้ำเล้ย....มองข้ามชอร์ตกันไปแล้ว....5555555



โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 26/02/2013 20:17:11


ความคิดเห็นที่ 49


ผมว่า ร.ล.จักรีฯ เมื่อมีการปรับสภาพเมื่อถึงอายุ 20 ปี หรือ 25 ปี...ผมว่าจะสามารถใช้งานไปได้อีกกว่า 30-40 ปี เป็นขั้นต่ำ ครับ...

ลองดูปัจจุบัน นะครับ...911 แทบจะไม่ได้มีการ ทำภาระกิจ ของ บ.ขึ้น ลง ทางดิ่ง เลย...ภาระกรรมตรงนี้ หายไปเยอะ มากครับ...

ปัจจุบัน มีการใช้งานแค่การขึ้น ลง ของ เฮลิคอปเตอร์ขนาด 7-10 ตัน เท่านั้น...ถ้าเทียบกับเรือขนาด 10,000 ตัน...

ผมมองว่า ความล้าของ โครงสร้างเรือ แทบไม่ได้รับการกระทบ...

ในขณะที่ ตัวเรือ ก็มีการซ่อมบำรุง และใช้งาน อยู่เป็นปกติ ตามวงรอบ...

ผมว่า ร.ล.จักรีฯ อายุใช้งาน เหลืออีกเยอะ มากครับ...เมื่อเทียบกับ ระวางเรือ 10,000 ตัน กับ การใช้งานในปัจจุบัน...

 

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 26/02/2013 21:43:31


ความคิดเห็นที่ 50


สำหรับประเทศ ที่ใช้กองทัพอากาศปฏิบัติการทางทะเล เป็นผู้รับผิดชอบ คือ ประเทศ มาเเลเซีย ครับ...

กองทัพอากาศมาเเลเซีย รับผิดชอบทางอากาศทั้งหมด รวมถึง ปฏิบัติการทางทะเล ทั้งการลาดตระเวณทางทะเล Beechcraft-200 และ บ.ขับไล่โจมตี ทางทะเล F/A-18D

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 26/02/2013 21:52:08


ความคิดเห็นที่ 51


  ถ้าดาดฟ้าของจักรีสามารถรองรับได้ถึง 135 ตัน   F-35B 6 เครื่องพร้อมอาวุธและเชื้อเพลิงเต็มที่น่าจะสามารถปฎิบัติการได้ครับ    โดยไม่ต้องดัดแปลงเรืออะไรอีก

    ในกระทุ้เก่าๆ   ผมเคยเอาภาพถ่ายดาวเทียมแบบ brideye view มาเทียบอัตราส่วนกับ  F-35B  แล้วครับ    ถ้ามีการพับแพนหางระดับด้านท้ายเครื่องและพับกรวยเรโดมของเครื่องไปด้านข้าง   จะสามารถนำเครื่อง F-35B ขึ้นลงลิฟท์ท้ายได้สบายครับ   ลิฟท์ท้ายเองก็มีขีดความสามารถเพียงพอเหลือเฟือที่รองรับน้ำหนักตัวเปล่าของ F-35B  ได้    ส่วนโรงเก็บข้างใต้    ถ้ามีการพับแต่แพนหางระดับแต่กรวยเรโดมยังไม่ได้พับ   ก็สามารถจอดเก็บได้ถึง 7 เครื่อง   และมีลุ้นด้วยว่าโรงเก็บข้างใต้สามารถรองรับน้ำหนักได้ด้วย     ผมคำนวณจากข้อมูลน้ำหนักของเครื่อง S-70B พร้อมอาวุธที่สามารถเก็บในโรงเก็บข้างใต้ได้ครับ 

 

  สรุปว่า  F-35B  อาจจะปฎิบัติการจากจักรีได้โดยแทบจะไม่ต้องทำการดัดแปลงจักรีเลยครับ   หรือถ้มีการาดัดแปลงก็น้อยมาก  

 

แต่ปัญหาก็อย่างที่บอกครับบบ.........เงิน.......เพราะแค่ราคา  F-35B  อย่างเดียวก็กรี๊ดแล้วครับ 


    ถ้านำแนวคิดของป๋าจูลมาใช้ผสมกับแนวคิดของท่าน rayong   ทอ.จะยอมแบกค่าใช้จ่ายของ F-35B  ให้หรือครับ    เพราะสำหรับ ทอ.แล้ว   F-35A  ดูเหมาะสมกว่า  และการบำรุงดูแลเครื่องยนต์ก็ซับซ้อนน้อยกว่า F-35B  พอสมควร   แถมประสิทธิภาพของเครื่องก็ดีกว่า  F-35B ด้วย     อันนี้คงต้องพึ่งผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่ายแล้วครับ 

 


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 26/02/2013 22:33:52


ความคิดเห็นที่ 52


อ่านดูแล้ว ประชาชนธรรมดาอย่างผมก็ให้สงสัยกับการวาง Positioning ของเรือจักรีนฤเบศร ของทัพเรือนะครับ

 

ข้อความที่ผมเขียนต่อไปนี้เป็นความเข้าใจและความเห็นของผม อาจจะถูกหรือผิดก็ได้ แต่ถ้าข้อความของผมก้าวล่วงในความรู้สึกของใครไป ก็ขออภัยด้วยครับ อยากจะแชร์ความคิดเห็น เพื่อให้เกิดมุมมองที่กว้างไกลมากขึ้น

 

คือผมสงสัยว่า ในขณะที่ข้างนึง ก็มีการปรับปรุงเรือจักรีนฤเบศรให้ทันสมัยขึ้น แต่อีกข้างกลับดันไม่ให้แขนขา (อากาศยานประจำเรือ) มาด้วย

เปรียบเสมือน อัจฉริยะ สายตาดี แต่พิการไม่มีแขนขา ไปไหนมาไหน ต้องจ้างหน่วยซีล (เรือฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศ) และบอดี้การ์ดประจำตัว (เรือฟรีเกตปราบเรือดำน้ำ) ไปด้วย ดังนั้นแทนที่จะใช้รถเก๋งธรรมดาคันนึงก็ไม่ได้ เพราะนั่งกันไม่หมด ต้องหันไปใช้รถหลายคันหรือรถตู้ที่ใหญ่กว่า ราคาแพงกว่า (ค่าใช้จ่ายก็ย่อมมากกว่า)

 

แต่ถ้าเทียบกับอัจฉริยะอีกคน สายตาก็ดี มีแขนขาสมบูรณ์ ผ่านการฝึกทางทหารมาพอสมควร ไม่ถึงกับเป็นซีล แต่ผ่านหลักสูตรต่าง ๆ มาบ้าง ไปไหนมาไหน ก็ไปกับบอดี้การ์ดประจำตัวก็พอ เพราะพอรักษาตัวรอดได้ ดังนั้นแค่รถเก๋งธรรมดาคันนึงก็นั่งไปกันหมดได้

 

ทั้งสองแบบ แบบไหนจะเหมาะสมกว่ากัน (มีต่อความเห็นถัดไป)

โดยคุณ yoyo เมื่อวันที่ 26/02/2013 23:57:16


ความคิดเห็นที่ 53


ประเด็นที่ผมติดใจ อย่างแรก ก็คือ ปรับปรุงเรือแต่ไม่ติดอาวุธที่เหมาะสมเพิ่มเติมให้ แต่จะซื้อเรือใหม่ที่แพง อารมณ์มันประมาณเดียวกับทบ. ที่พล.ม.ทั้ง 2 กองพลยังมีรถถังไม่เต็มอัตรา แต่ไปตั้งพล.ม.3 เพิ่มอีก (ขออภัยที่อ้างถึง)

 

ประเด็นที่สอง ผมมองว่า เรือฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศที่อยากได้ สเปคจะขนาดไหน เอจิส หรือน้อง ๆ เอจิส มันจะเกินตัวไปไหมกับเรา เพราะเหลียวมองรอบกาย นอกจากอเมริกา ยุโรปแล้ว ก็มีแต่จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เท่านั้นที่มี ขนาดสิงคโปร์ที่อยู่ใกล้กับพื้นที่หวาดเสียวยังไม่คิดจะมีใช้เลย

 

เรือฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศที่หลาย ๆ ท่านมองอยู่ น่าจะมองต้นแบบจากทร.อเมริกาหรือรัสเซีย ที่ต้องปฏิบัติการไกลบ้าน แต่ของทร.ไทย ยังไงก็คงไม่ไปเกินสิงคโปร์หรืออันดามัน ดังนั้นในระยะแค่นี้ผมคิดว่า แฮริเออร์กับกริเพน ก็น่าจะเพียงพอ

 

เพราะถ้าเกิดวฤติการณ์อย่างที่กลัวกัน กองเรือที่ 7 ต้องเข้ามาเคลียร์เส้นทางแล้ว คงไม่ได้ตั้งใจเคลียร์ให้เราหรอกแต่ผลประโยชน์ของเขาเองที่มีมากมายจนอยู่เฉยไม่ได้

ผมว่าเอาแค่เรือฟรีเกตที่มีระดับตรวจจับเดียวกับ formidable ของสิงคโปร์ + ESSM ก็น่าจะเพียงพอต่อภัยคุกคามแล้ว

 

ถ้าเป็นแบบนี้จะเป็นการลดสเปคของเรือป้องกันภัยทางอากาศลงหรือเปล่า แต่ถ้าทำแบบนี้แล้วมีเงินเหลือให้จักรีนฤเบศรน่าจะเป็นการดีกว่า  (มีต่อความเห็นถัดไป)

โดยคุณ yoyo เมื่อวันที่ 26/02/2013 23:58:17


ความคิดเห็นที่ 54


โดยสรุปก็คือ ผมอยากทราบตำแหน่งของเรือจักรีนฤเบศรในกองเรือของทร. ครับว่าอยู่ประมาณไหน ถ้าเป็นเรือธงของกองเรือ ทำหน้าที่ป้องกันภัยทางอากาศ ป้องกันเส้นทางเดินเรือ แบบนี้ก็น่าจะจัดหาอากาศยานประจำเรือให้สมบูรณ์เท่าที่มีในตลาดและเท่าที่ทำได้ เป็นลำดับเร่งด่วนก่อน

 

แต่ถ้าจะเป็นเรือธง(เปล่า ๆ) ผมว่าจอดอยู่ท่าเฉย ๆ จะเป็นประโยชน์กว่า เพราะเรืออื่น ๆ ในกองเรือก็จะไม่ต้องคอยพะวงมาป้องกันเรือเปล่าลำนี้

 

สองย่อหน้านี้หลายท่านคงแย้งว่า ถ้าจักรีนฤเบศรออกร่วมปฏิบัติการด้วยแล้ว ยังไงก็ต้องมีเรือฉากป้องกันตัวอยู่ด้วยเสมอ ไม่ว่าจักรีนฤเบศรนั้นจะมีอากาศยานประจำเรือหรือไม่ ข้อความนั้นจริงครับ แต่ถ้ามีอากาศยานประจำเรือเช่น แฮริเออร์ ก็หมายความว่ากองเรือนี้มีแขนขาที่ยืดยาวออกไปมากกว่ากองเรือธรรมดา แขนขาที่ยืดยาวออกไปไม่ได้หมายความว่าจะไปโจมตีคนอื่นเสมอ แต่เป็นการขยายสายตาระวังภัยออกไปให้ไกลกว่าเดิมและยังป้องปรามคนอื่นได้อีกด้วย ดังนั้นถ้าไม่มีแขนขา มีแต่สายตากับสมองที่เหมือนลำที่อยู่ข้าง ๆ ก็อยู่บ้านเถอะ ออกไปข้างนอกก็รังจะเป็นการเพิ่มภาระให้คนอื่น

 

ถ้าจะให้ผมจัดลำดับความสำคัญเร่งด่วน ผมกลับมองได้อย่างนี้

1. เรือฟรีเกตปราบเรือดำน้ำ (อันนี้กำลังจะประมูลกันเร็ว ๆ นี้)

2. เรือดำน้ำ

3. อากาศยานประจำเรือจักรีนฤเบศร ทั้ง แฮริเออร์ 2+ S70B และฮ.ลำเลียงตามแผนเดิม

4. LPD และ OVP ลำที่เหลือตามแผน

5. เรือฟรีเกตอเนกประสงค์ ทดแทนเรือชั้นเจ้าพระยา หรือเรือฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศ (ถ้าเงินมี)

 

แบบนี้น่าจะเหมาะสมกว่า ถ้ายังคิดจะใช้จักรีนฤเบศรในกองเรืออยู่ แต่ถ้าเลือกเรือฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศ 2 ลำ แทนอากาศยานในข้อ 3 ก็จะต้องคิดว่าจะยังใช้จักรีนฤเบศรในกองเรืออยู่หรือเปล่า และจะอยู่ในฐานะอะไร เพราะมีเธอก็เหมือนไม่มี

 

ผิดพลาดประการใด ช่วยชี้แนะให้ด้วยครับ ^^

โดยคุณ yoyo เมื่อวันที่ 26/02/2013 23:59:32


ความคิดเห็นที่ 55


เอ้า ทร.บอกไม่รับ เรือ OHP แน่แล้วหรอครับ(แอบผิดหวัง) จริงๆยังไงก็ควรเอาผมว่านะ แล้วเรือดำน้ำยังไงก็มาแน่ๆหล่ะ ส่วนเรื่อง เจ้า แฮริเออร์ ส่วนตัวผมไม่เห็นด้วยที่จะเอามาแล้ว นะครับ ซื่งคิดว่า ทร.ก็คงไม่เอา ถ้าทร.ต้องการฝูงบินขับไล่โจมตีสักฝูง ผมคิดว่าหลัง โครงการเรือดำน้ำ ก็คงไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไร เอาฐานบนบกที่อู่ตะเภาเลย จัดหนัก เอฟ/เอ 18 อี/เอฟสักฝูงเป็นไง  4/14 ลำ อิอิ...

โดยคุณ SeriesVll เมื่อวันที่ 27/02/2013 00:41:27


ความคิดเห็นที่ 56


ลืมบอกไปว่า จริง ๆ ผมก็ไม่ค่อยอยากได้ แฮริเออร์ มากนักหรอก แต่ว่าจะให้มีแต่เรือเปล่า ๆ ก็ทำใจไม่ได้ แถมพอมองอนาคต ทร.มีบัญชียาวเหยียด แค่เฮลิคอปเตอร์ก็คงจะยากที่จะเจียดงบมาซื้อ ก็เลยคิดออกมาแนวนี้ว่าคงต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียวแล้วละ

โดยคุณ yoyo เมื่อวันที่ 27/02/2013 02:15:19


ความคิดเห็นที่ 57


กระทู้ชักฮ็อต

เรือตอนแรกก็ซื้อมาขนฮ.กู้ภัยไงครับ

จะต่อจากเจ้าอื่นอยู่แล้ว

สเปนมาบอกเดี๋ยวไอให้ไอ้นี่ แถมเครื่องบินที่จะปลดมาด้วย เราก็เอา ก็ได้อย่างที่เห็น

ผมมองว่าการจะเลิกซื้อฮ.กับฟริเกตป้องกันภัยทางอากาศแล้วจัดแฮรริเออร์แทนมันตลกนะครับ เพราะแฮริเออร์ไม่สามรถทดแทนการป้องกันภัยทางอากาศของเรือได้

ยิ่งแค่ในอาเซียนแล้วผมว่าจักรีฯไม่กล้าออกท่าหรอกครับ ถ้าไม่มีเรือป้องกันภัยทางอากาศหรือเรือดำน้ำไปด้วย

สรุปคือยังไงเราก็ต้องมีเรือไว้ทำสงครามใต้น้ำ (ใจจริงเรือดำน้ำจะดีกว่ามาก แต่ดูแววแล้วน่าจะแห้ว ได้เรือดันน้ำแทน ฮา) เพราะฉนั้น จะมาตัดงบฯตรงนี้ไม่ได้

หน้าที่หลักของเรือบรรทุกเครื่องบินคือการทำสงครามแบบ expenditionary warfare คือการระดมกำลังทำสงครามในที่ห่างใกลจากประเทศตัวเองได้ที่ไหนก็ได้ในโลก

ปัจจุบันมีแค่อเมริกาที่ทำได้ อังกฤษกับฝรั่งเศสทำได้เป็นพักๆตามวงรอบการซ่อมของเรือ ฮา ขนาดรัสเซียที่เป็นมหาอำนาจยังทำไม่ได้เลยครับ เพราะไม่มีเรือโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก (กำลังต่ออยู่ แต่ไม่รู้ต่อเสร็จเรือขนเครื่องบินต้องหาลำใหม่กันพอดีรึเปล่า) เพราะหนึ่งกองเรือต้องมีความสามารถลำเลียงกำลังขนาดที่ใหญ่พอทีจะทำการรบได้ ต้องมีความสามรถทำการโจมตีสนับสนุนกำลังภาคพื้นดินที่เข้าดำเนินกลยุทธ์ ถามว่าแล้วจะลำเลียงทางอากาศได้ไหม ก็ต้องคิดว่าระยะบินเครืองบินลำใหญ่สุดๆได้เท่าไหร่ ขนได้เท่าไหร่ ต้องเติมน้ำมันกลางอากาศกี่รอบ ขนกี่รอบกว่าจะได้เท่าเรือลำนึง ที่สำคัญต้องมีสนามบินลงจอด 

หน้าที่อีกอันคือ sea control หรือการทำตัวเป็นจิ๊กโก๋ปิดปากซอย เอาเรือเป็นศุนย์บัญชาการแล้วเอาเครื่องบินทำการลาดตระเวณ สามารถควบคุมน่านน้ำได้เป็นร้อยๆกิโลเมตร 

ทั้งนั้นทั้งนี้ก็ต้องมีกองเรือที่ป้องกันตัวเองได้ ทั้งเรือป้องกันภัยทางอากาศ เรือดำน้ำ 

สรุปคือถ้าเราจะทำตัวเป็นมีเรือขนบ.ที่ปฏิบัติการรบได้ ยังไงก็ต้องมีพวกฟริเกตและเรือดำน้ำอยู่ดี

แถมกลายเป็นไปแย่งทรัยากรทัพเรือให้มาช่วยกันคุ้มครองเรือขนบ.อีก 

การมองว่าจะใช้ในสถานการณ์โดนยึดเกาะแล้วจะเข้าโจมตีคืนก็ใช้บทอ.กับเรือหลวงอ่างทองจะเหมาะกว่า

สุดท้ายก็ได้เรือขนฮ.กู้ภัยสมใจ จะเอาอะไรกันอีก ฮา

ที่จริงเราก็ซื้อฮ.ซีฮอวค์อยู่เรื่อยๆ ช้าๆ ตามสไตล์ ทีละลำสองลำอยู่นะครับ 

ผมว่าถ้าเงินน้อยงบน้อยก็ต้องตัดใจล่ะครับ แล้วไปทุ่มกับสิ่งที่จำเป็นที่สำคัญกว่า ซึ่งก็คือสิ่งที่ทร.ทำอยู่แล้ว

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 27/02/2013 04:18:23


ความคิดเห็นที่ 58


ผมก็มีความเห็นตรงกับท่าน yoyo หลายอย่างครับ...

โดยเฉพาะ เรือป้องกันภัยทางอากาศ มีความเห็นแบบเดียวกันครับ...

ทอ. ลงทุนไม่ต่ำกว่า 34,000 ล้านบาท เพื่อป้องกันภัยทางอากาศ ครอบคลุม ทะเลทั้ง 2 ด้าน และจะมากขึ้นอีกในอนาคต...สำหรับการจัดหา Jas-39 และ Erieye...

ความมั่นใจ หรือ ความเชื่อใจ กับ ทอ. ที่จะปราการในการป้องกันภัยทางอากาศ สำหรับน่านฟ้าในอาณาเขตทางทะเลของไทย คงต้องอยุ่ในระดับสูง...

การมีเรือรบ ที่มีความสามารถป้องกันภัยทางอากาศ เฉพาะจุด...ผมว่าเพียงพอในปัจจุบัน...

ซึ่งภัยคุกคามของไทย ไม่เหมือน เกาหลีใต้ และ ญี่ปุ่น ที่ประเทศทั้ง 2 มองภัยคุกคามทางอากาศระดับสูงจาก จีน รัสเซีย และ เกาหลีเหนือ (ภัยจากขีปนาวุธนิวเคลียร์  ข้ามทวีป)...ถึงต้องมี เรือที่มีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันภัยทางอากาศ แบบ เอจีส...

และก็มี มุมมอง เหมือนกันครับเรื่อง ร.ล.จักรีฯ

ในปัจจุบัน ความจำเป็น และความสำคัญ ของ ร.ล.จักรีฯ ก็มีอยู่สูงครับ...เพราะ ทร. ไม่มีเรือรบลำไหน ที่สามารถรองรับการปฏิบัติการด้วย ฮ.ขนาดกลาง และ ขนาดใหญ่ ได้เลย คงมีเพียง ร,ล.จักรีฯ เพียงลำเดียว สำหรับภาระกิจทั้งประเทศ...และ มีเพียง ร.ล.จักรีฯ เพียงลำเดียว เท่านั้น ที่มี ฮ.ปราบเรือดำน้ำ ประจำการ แต่ตัวเรือ ไม่มีโซนาร์...ในปัจจุบัน ความสำคัญของ ร.ล.จักรีฯ จึงยังมีอยู่ในลำดับเรือรบสำคัญ ของ ทร.

แต่ในอนาคต ไม่เกิน 6 - 10 ปีนี้ เมื่อ ร.ล.อ่างทอง เข้ามามีบทบาทในภาระกิจมากขึ้น...หรือ มีการจัดหา เรือชั้น อ่างทอง ลำที่ 2 ตามมา...ซึ่งเรือชั้นนี้ ก็รองรับการปฏิบัติการด้วย ฮ.ขนาดกลาง และ ขนาดใหญ่ แบบเดียวกับ ร.ล.จักรีฯ ได้..

และ รวมถึง การจัดหา เรือฟริเกตสมรรถนะสูง ที่สามารถรองรับ ฮ.แบบ S-70B หรือ MH-60S ได้...หรือ ถ้า ทร. ยอมรับการจัดหา OHP มาเพิ่มเติมเพื่อทดแทนเรือชั้นพุทธฯ...ซึ่งก็รองรับการปฏิบัติการด้วย ฮ.ปราบเรือดำน้ำ ของ ร.ล.จักรีฯ ได้...

ก็น่าสนใจที่ว่าบทบาทของ ร.ล.จักรีฯ จะเป็นอย่างไรต่อไป ในอนาคต ครับ...ผมก็มองเหมือนกับที่ท่าน yoyo แสดงความเห็นไว้ครับ...ว่าจะทำให้ ร.ล.จักรีฯ มีคุ้มค่าอย่างไร ในอนาคต...

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 27/02/2013 07:08:14


ความคิดเห็นที่ 59


อ่อ...ลืมข้อมุลอีกอย่างครับว่า...

แฮริเออร์ ของ ทร. ไม่ได้แถม นะครับ...

ทร. ซื้อจาก สเปน ในราคาประมาณ 90 ล้านเหรียญสหรัฐ ครับ...

นั่นคือ ทร. ซื้อเรือ และ ซื้อ เครื่องบิน ด้วยครับ...

โดยเรือของ ทร. คือ แบบเรือบรรทุกเครื่องบินของ สเปน ที่ย่อส่วนลงมา สำหรับรองรับ อากาศยาน จำนวน 12-14 ลำ...ไม่ได้รองรับการปฏิบัติการ อากาศยาน จำนวน 29 ลำ เหมือนเรือต้นแบบ ครับ...คือ ย่อส่วนเรือลงมา สำหรับอากาศยาน 50% ของเรือต้นแบบ ครับ...

ผมถึงในความเห็นว่า ร.ล.จักรีฯ คือ เรือบรรทุกเครื่องบิน ครับ...แต่ใช้ชื่อใน โครงการ เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ ที่ถูกยกเลิกไปจากการจัดหาจากเยอรมัน เนื่องจากบริษัทฯ ที่รับสัญญา ได้ล้มละลายไป...

ซึ่ง ถ้า สเปน ไม่เสนอเงื่อนไขการขาย แฮริเออร์ ให้ด้วย...ร.ล.จักรีฯ อาจจะเป็นเรือแบบอื่น ก็ได้ครับ...

เพราะ เรือจากสเปน ถูกเปรียบเทียบกับ เรือบรรทุกเครื่องบินจากอิตาลี่ คือ Giuseppe Garibaldi ที่มีราคาถูกกว่าเกือบเท่าตัว ในการคัดเลือกแบบ...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 27/02/2013 07:19:04


ความคิดเห็นที่ 60


อันที่จริงแล้วเรือจีกรีเข้ามาในฐานะเรือCVH ซึ่งทร.ต้องการใช้ในภาระกิจกู้ภัยและปราบเรือดำนำ้ แต่ค่อนข้างน่าเสียดายถ้าเราใช้ประโยชน์จากเรือน้อยมาก ในความติดของผมอยากให้เรือเป็นCVH แต่อยากให้สามารถเพิ่มระบบอาวุธเลักษณะเดียวเรือKievของโซเวียตในอดีต โดยเฉพาะระบบSAMทั้งหลายครับ

โดยคุณ RAF เมื่อวันที่ 27/02/2013 07:44:26


ความคิดเห็นที่ 61


ในความเห็นส่วนตัวที่ไม่อยากได้Harrier(ทั้งที่ในใจชอบHarrierมากครับ) เนื่องจากความสามารถของHarrierในปัจจุบันfighterเทียบกับบ.ยุค4 / 4.5 ไม่ได้หรอกครับ ทำได้แค่ภาระกิจAttack ซึ่งความคุ้มค่าในการใช้งานน้อยมากสำหรับทร. จัดหาฮ.ลงเรือให้เต็มลำจะดีกว่าครับ แต่ถ้าในอนาคต สมมตินะครับว่า ทอ.สามารถจัดหาF35Bได้ในฝูง102ตามที่ท่านJudasว่า ก็สามารถใช้เรือเป็นฐานบินสนับสนุนในทะเลได้ครับ

โดยคุณ RAF เมื่อวันที่ 27/02/2013 07:56:57


ความคิดเห็นที่ 62


ส่วนที่เสนอว่าน่าจะติดอาวุธเหมือนเรือKievของโซเวียต เพราะด้วยขนาดของเรือจักรีน่าจะสามารถติดตั้งระบบอาวุธเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของเรือให้เป็นมากกว่าแค่CVHครับ ในความคิดของผม(ถ้ามีเงินนะครับ)เรือควรติดตั้งESSM+Sadral เพื่อให้เรือสามารถป้องกันตัวเองและเรือรอบข้าง ซึ่งคุณJudasเคยpostไว้ในกระทู้เก่า แต่ถ้าเป็นไปได้ อันนี้สมมตินะครับสมมติ โครงสร้างของเรือด้านข้างสามารถติดตั้งMK56(ทากาวแปะไว้ ฮาาา) เหมือนเรือBaynunahของUAE ก็จะสามารถติดตั้งESSM 8x4 = 32ลูก ส่วนช่องติดตั้งMK41ต้านหลังหอบังคับการติดตั้งSM2 (ถ้ามีเงินและเค้ายอมขายให้) แต่ต้องเปลี่ยน Sea Giraff , CEROS , EOS ซึ่งคิว่าน่าจะเปลี่ยนเป็น CEAMOUNT/FAR(ไม่รู้ว่าโครงสร้างหอบังคับการรองรับได้มั้ย) ซึ่งจะทำให้เรือกลายเป็นเรือป้องกันภัยทางอากาศได้ครับ

โดยคุณ RAF เมื่อวันที่ 27/02/2013 08:37:55


ความคิดเห็นที่ 63


   ท่าน yoyo พูดตรงเผงเลยครับ.......55555......ไม่อ้อมค้อมดี    อุตส่าห์ปรับปรุงเรือจักรีแล้ว  และคาดว่าจะติดตั้ง VLS-mk41  ด้วย   อำนาจการยิงก็ประมาณเรือฟรีเกตลำหนึ่งเท่านั้น     ถ้าไม่มีแขนขาที่ดีเยี่ยมที่ตัวเรืออุตส่าห์ออกแบบไว้แต่แรก   จะต่อมันออกมาใช้งานทำไม    ตรงเผงเลย 

   ครับ   เพราะถ้าจะเน้นกู้ภัย  LPD  ก็ทำหน้าที่ได้ครบและดีกว่าด้วย   เพราะนำเรือยกพลไปได้ในการเกยหาดเพื่อขนย้ายผู้ประสพภัย 

   ในบทบาทเรือสนับสนุนการยกพล   รล. อ่างทองก็สามารถทำได้  ขนได้ทั้ง ฮ. ขนาดกลาง MH-60  และถ้ามีการจัดหา AH-1W   มันก็สามารถขนไปได้  ยิ่งมี LPD ลำที่สองนี่   LPD 2 ลำ  น่าจะขนอากาศยานสำหรับหน่วยนาวิกโยธินไปได้เพียงพอแล้ว    

  แล้วจักรีจะเอาไว้เพื่ออะไร   เพราะเหลือภาระกิจเหมาะสมอันสุดท้าย  ก็คือ  เรือบรรทุกบ. แบบ sea control  ตามการออกแบบแต่แรกของมัน    ยืนยัน  นั่งยันอีกคนครับว่า   แผนแบบของมันมาจากเรือบรรทุกบ. sea control   ก็ควรจะต้องให้มันทำหน้าที่นี้ต่อไปสิครับถึงจะถูก   

 

  แต่เรื่องเรือฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศนี่ผมว่ายังไงก็จำเป็นนะครับ   การป้องกันภัยเป็นพื้นที่ยังไงก็ต้องจัดหา    แม้ว่าประเทศเราไม่ได้มีส่วนในความขัดแย้งในพื้นที่หมู่เกาะสแปรตลี่ย์ก็ตาม   แต่เพื่อนบ้านที่กระทบกระทั่งกับจีนนั้น   รู้ถึงภัยคุกคามที่จีนแสดงออกมาเต็มที่    และขีดความสามารถทางอากาศของจีนก็อยู่ในระดับสูงมาก   ดังนั้น เพื่อนจึงต้องพยายามจัดหาเรือที่มีขีดความสามารถในการป้องกันภัยทางอากาศเป้นพื้นที่แน่นอน   รวมถึงเรือบรรทุกบ.ด้วย   เพื่อรับมือกับจีน    

   มาเลย์ล่ะจ้าวหนึ่งที่มีความสนใจในเรือฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศเป้นพื้นที่   ถ้าเขาไม่จัดหา OHP  แต่ไปเลือก type 26 แทน  ซึ่งมีขีดความสามารถในการป้องกันเป็นพื้นที่ได้   ยังไงเราก็ต้องจัดหาเรือฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศมาถ่วงดุล

 

 และก็มาเลย์อีกเช่นกัน  รวมทั้งอินดดนีเซีย  ก็มีความสนใจที่จะจัดหาเรือบรรทุกบ.เบาแบบ sea control  ได้  โดยสามารถบรรทุก F-35B ไปได้ด้วย   แสดงให้เห็นว่าภัยคุกคามจากทางอากาศที่มีจากจีนนั้นสูงมาก     ในเมื่อเรามีอยู่แล้ว  ดังนั้นจึงเป็นการง่ายสำหรับเรามากกว่าที่จะทำให้มันเป็น sea control    เพราะเราก็ต้องถ่วงดุลกับเพื่อนบ้านอยู่ดีครับ

 

 แม้ว่าเราไม่ขัดแย้งกับจีน   แต่เพื่อนบ้านที่รั้วติดกันเขามีปัญหากับจีนครับ   พวกเขาจึงจัดของหนักๆไว้รับมือ   ยังไงเราก็ต้องจัดหามาเพื่อถ่วงดุลอยู่ดี

 

  Harrier 2+  ผมว่าสามารถ Upgrade ได้อีก   ปัจจุบันมีขีดความสามารถประมาณ F-16 ADF    น่าจะสามารถ upgrade ได้ไม่น้อยกว่า F/A-50  ที่ฟิลิปปินส์เพิ่งจัดหาครับ


 

 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 27/02/2013 09:20:08


ความคิดเห็นที่ 64


   เท่าที่รู้  ทางเกาหลีใต้และ Thales ร่วมกันพัฒนาเรด้าร์ เฟสอะเรย์สำหรับ  F/A-50 c/d อยู่   น่าจะแล้วเสร็จไม่เกิน 5 ปี นี้   ดังนั้นผมว่าเราสามารถทำการ Upgrade  Harrier 2+ ให้มีความสามารถอยู่ในระดับสูงได้ไม่น้อยกว่า F-16  50/52    แต่จะคุ้มค่าหรือเปล่าเท่านั้น   เพราะเครื่องคงใช้ได้ไม่เกิน 20 ปี  ส่วนต้วผมคิดว่า แค่เปลี่ยนเรด้าร์เป็น APG-67 V4 และระบบ data Link ก็น่าจะเพียงพอและคุ้มค่าแล้ว

 

   แนวคิดของท่าน RAF คือ การปรับปรุงให้เรือจักรีเป็นเรือพิฆาตตามแบบเรือชั้น Kiev  ซึ่งจะเหมือนกับญี่ปุ่น  ที่จัดหาเรือพิฆาต HDD-16  Hyuga   

  ซึ่งผมคิดว่าการปรับปรุงเรือให้มีขีดความสามารถขนาดนั้นน่าสนใจมากครับ   แต่คงต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก และไม่น้อยไปกว่าการจัดหา  Harrier 2+ พร้อมกระเปาะ Vigilant สำหรับติดตั้ง MH-60 เพื่อทำภาระกิจ AEW  ครับ     แต่อำนาจการยิงของอากาศยานก็ยังสูงกว่าอยู่ดีครับ


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 27/02/2013 10:01:11


ความคิดเห็นที่ 65


สำหรับผมถ้าเป็นผู้มีส่วนในการกำหนดแผนนโยบาย ในเมื่อมีความเป็นไปได้ว่าในอนาคตประเทศต่างๆจะต้องพยายามมีเรือบรรทุกเครื่องบินขนาดเบาแน่นอน  ดังนั้นในเมื่อเรามีเรือบรรทุกเคร่องบินอยู่แล้วก็ง่ายในการลงทุนอีกเพียงนิดเดียวเพื่อให้มีเครื่องบินประจำเรือต่อไป เพื่อคงไว้ซึ่งดุลภาพทางทะเล  และจำนวนที่เราจะจัด AV8B plus ก็น้อยมากเพียง 6-8 เครื่อง (อาจมีสำรองไว้เป็นอะไหล่อีก 4-6 เครื่อง) แถมเป็นของมือสองด้วย งบประมาณที่ต้องใช้ก็จะลดลงไปอีก รวมค่าปรับปรุงอีกเล็กๆน้อยๆ ค่าอาวุธ ฝึกอบรม คงไม่เกิน 7000 ล้านบาท (ตรงนี้ผมกะเอา ไม่มีข้อมูลอ้างอิงน่ะครับ)

ดังนั้นในจินตนาการของผมเพื่อให้เรือจักรีมีภารกิจหลากหลายทุกมิติจะมีอากาศยานดังนี้ 

AV8B plus 6-8 เครื่อง

.ลำเลียงโจมตี 4-6 เครื่อง (MH60 ติดอาวุธจำพวกเฮลไฟได้)

ฮ. ปราบเรือดำน้ำ 2 เครื่อง(หรือไม่มีก็ได้ ยกให้เป็นหน้าที่ของ ฮ.ประจำเรือฟริเกตปราบเรือดำน้ำ)

 

โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 27/02/2013 14:49:25


ความคิดเห็นที่ 66


 ค้านท่าน yoyo นิดนึง ตรงนี้ครับ

 

  

"ประเด็นที่สอง ผมมองว่า เรือฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศที่อยากได้ สเปคจะขนาดไหน เอจิส หรือน้อง ๆ เอจิส มันจะเกินตัวไปไหมกับเรา เพราะเหลียวมองรอบกาย นอกจากอเมริกา ยุโรปแล้ว ก็มีแต่จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เท่านั้นที่มี ขนาดสิงคโปร์ที่อยู่ใกล้กับพื้นที่หวาดเสียวยังไม่คิดจะมีใช้เลย"

 

    เรือชั้น Formidable Class ของ สิงคโปร์ ใช้ เรดาร์ Herakles ระยะตรวจจับเป้าหมายในอากาศ 250 กิโลเมตร (แบบเดียวกับ FREMM ASW Frigate เวอร์ชั่นฝรั่งเศส ) และก็มี Anti-Air Missile แบบ ASTER-15 (พิสัยยิงไกล 30 กิโลเมตร )  ASTER-30 (พิสัยยิงไกล 120 กิโลเมตร)

 

   ASTER-30  ถือว่าเป็นจรวดป้องกันภัยทางอากาศ ระยะไกลแบบหนึ่งเลยครับ เรือป้องกันภัยทางอากาศ TYPE-45 ของอังกฤษ ก็เลือกใช้   Horizon Class ของ ฝรั่งเศส/อิตาลี ก็ใช้ครับผม 

   ผมคิดว่า Formidable Class ของสิงคโปร์ มันก็เป็นเรือฟริเกตป้องกันภัยทางอากาศ ดีๆลำนึงเลยครับ แค่ระบบตรวจจับ ยังไม่ดีขนาด AN/SPY-1  และ จรวดพิสัยยิงยังไม่เท่า SM-2 เท่านั้นเองครับ

 

   

 

โดยคุณ TOP SECRET เมื่อวันที่ 27/02/2013 16:01:57


ความคิดเห็นที่ 67


  อีกนิดนึงครับ  

  ผมว่าเอาแค่เรือฟรีเกตที่มีระดับตรวจจับเดียวกับ formidable ของสิงคโปร์ + ESSM ก็น่าจะเพียงพอต่อภัยคุกคามแล้ว

 

   AGM-84E (Block 1E) : 93 km (50 nmi) ข้อมูลจาก Wikipedia รุ่นนี้เป็นรุ่นที่ยิงจากเครื่องบินแล้วมีพิสัยใกล้ที่สุดแล้ว คือ 93 กิโลเมตร 

 

   ส่วน ESSM Operation Range อยู่ที่ 50 กิโลเมตร 

 

    ถ้าภัยคุกคามคือ F/A-18D Hornet หิ้ว Harpoon    เรดาร์ Herakle อาจจะตรวจจับ F/A-18D  ที่มี RCS ประมาณ 1.0-2.0m2 ได้ประมาณ 120 กิโลเมตร (คาดเดา)  แต่ก็ไม่สามารถยิง ESSM ได้ เพราะยังไม่เข้าสู่พิสัยการยิง แต่ถ้าเป็น ASTER-30 ก็อาจพร้อมที่จะยิงได้เลย 

 

     แล้ว F/A-18D เรดาร์ จะตรวจจับเรือฟริเกตแบบ Stealth อย่าง Formidable Class ได้ที่กี่กิโลเมตร  ถึงจะเป็น Stealth แต่เรือรบก็เป็นเป้าหมายที่ใหญ่พอสมควร ใหญ่กว่าเครื่องบินด้วยกัน  โดยความเห็นคิดว่า  คงน่าจะจับได้ที่ประมาณ 60 กิโลเมตร ปล่อย Harpoon แล้วหันหัวเครื่องบินกลับทางเดิน ให้พ้นระยะยิง ESSM  

 

     ผมคิดว่าเรือป้องกันภัยทางอากาศ ที่มี จรวดพิสัยยิงไกล 100 กว่ากิโลเมตร เป็นสิ่งจำเป็นอยู่ครับ  ESSM เหมือนว่าจะเป็นจรวดป้องกันตัวเอง และอากาศยาน ที่เข้ามาในระยะใกล้  ภัยคุกคามในอนาคตมีแต่จรวด ที่พิสัยการยิงไกลขึ้นเรื่อยๆครับ  

 

     

โดยคุณ TOP SECRET เมื่อวันที่ 27/02/2013 16:16:59


ความคิดเห็นที่ 68


"ผมว่า ร.ล.จักรีฯ เมื่อมีการปรับสภาพเมื่อถึงอายุ 20 ปี หรือ 25 ปี...ผมว่าจะสามารถใช้งานไปได้อีกกว่า 30-40 ปี เป็นขั้นต่ำ ครับ...

ลองดูปัจจุบัน นะครับ...911 แทบจะไม่ได้มีการ ทำภาระกิจ ของ บ.ขึ้น ลง ทางดิ่ง เลย...ภาระกรรมตรงนี้ หายไปเยอะ มากครับ..."

 

   เห็นด้วยกับป๋าจูล ครับ  โครงสร้างเรือคงแข็งแรงอยู่เพราะไม่ค่อยได้รับแรงกระแทกหนักจากการลงของเครื่องบินเลย เพราะ Harrier ก็ปลดประการไปตั้งนานแล้ว  

 

    อยากจะเปรียบเทียบกับเรือบรรทุกเครื่องบินชั้น FOCH ของฝรั่งเศส ปลดประจำการแล้วขายต่อไปให้ บราซิล แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น Sao Paulo   อายุก็ตั้ง 50 กว่าปีแล้ว ก็ยังคงยังประจำการอยู่ได้ ทั้งๆที่ตอนฝรั่งเศส ประจำการก็ใช้งานหนักอยู่นะครับ  เพราะส่งเข้าร่วมกับหลายสมรภูมิ เครื่องบินอย่าง Super Etendard / F-8 Crusader  ก็ขึ้นลงนับร้อย นับพันเที่ยว  แถมช่วงก่อนจะปลดประจำการ ใช้เป็นเรือทดสอบการขึ้นลง ของ RAFALE M ด้วย (เรือบรรทุกเครื่องบิน ชาร์ล เดอ โกลล์ ประจำการปี 2000)  ช่วงนั้นเลยต้องใช้ FOCH ทดสอบ Rafale M

 

    อันนี้ขอออกตัวไว้ก่อนครับว่า เปรียบเทียบอายุเรือ กับ ความเสื่อมความล้าของโครงสร้าง  ไม่ได้เปรียบเทียบที่เครื่องบิน ที่ลงกับเรือ เพราะมันเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินคนละแบบ ทางฝั่งนั้นเขาต้องรับน้ำหนัก และแรงกระแทกได้มากกว่าอยู่แล้วครับ 

 

    เรือจักรี ผมว่าอยู่ได้อีกนานครับ  

โดยคุณ TOP SECRET เมื่อวันที่ 27/02/2013 16:27:18


ความคิดเห็นที่ 69


ผมนึกว่า formidable ของน้องสิงค์นี่เป็นฟรีเกตอเนกประสงค์ซะอีก แต่ว่าเป็นแบบที่มีเรดาห์ชั้นดี

 

คือถ้า formidable เป็นฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศในราคา 350 ล้านเหรียญ ก็น่าสนมาก ๆ แต่ว่าต้องมากับ Aster ด้วยสิ แบบนี้เราจะมี VLS มากแบบไปหรือเปล่า เพราะถ้าใช้ของอเมริกา ก็ไม่รู้ว่าจะซื้อ SM-2  ได้ไหม

 

แต่ผมคิดว่า ถ้า ทร. คิดจะมีฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศ คงไม่มองแค่ระดับของ formidable คงไปมองอย่างน้อยก็ KDX-2 ซึ่งก็ต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก และมีผลทำให้จักรีนฤเบศรเป็นเรือเปล่าไปในที่สุด

 

ยิ่งพิมพ์ผมก็ยิ่งปวดหัว เพราะใจจริง ผมก็อยากได้ไปหมดแหละครับ ทั้งจักรีนฤเบศร ทั้งแฮริเออร์ ทั้งฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศ เหมือนกับทุก ๆ คน แต่ เงิน มันไม่มีพอที่จะจัดหาได้ทั้งหมด ก็ถึงเป็นคำถามว่าจะทำอย่างไรกันดี ถึงจะดีที่สุดสำหรับ ทร. ไทย

 

จะเลือกทางไหนดี เพราะดูแล้วถ้าเลือกทางนึง อีกทางนึงก็คงต้องตัดทิ้ง เพราะประเทศเราไม่ใช่ประเทศที่ร่ำรวย

หรือเราจะเลือกฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศก่อนดี แล้วรอไปอีก 15-20 ปีค่อยกลับมามอง จักรีนฤเบศรอีกครั้ง

 

ปล. สำหรับผม ค้านได้ ขัดได้นะครับ อิอิ แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดกัน ^^

โดยคุณ yoyo เมื่อวันที่ 27/02/2013 20:22:18


ความคิดเห็นที่ 70


  ครับท่าน yoyo  

 

  Formidable Class  ผมคิดว่าก็คงเป็นเรือฟริเกตอเนกประสงค์ แต่ดันติดระบบตรวจจับที่ดัน จะใช้ในเชิงป้องกันภัยทางอากาศ ได้ดีในระดับหนึ่งเลยทีเดียว ประกอบกับใช้ Anti-Air Missile ที่เป็นมาตรฐานเดียวกันกับ เรือฟริเกตป้องกันภัยทางอากาศของยุโรป ก็คือ ASTER-30  ที่ TYPE-45 และ Horizon Class Frigate เขาเลือกใช้  ด้วยครับ

 

   

 

  

โดยคุณ TOP SECRET เมื่อวันที่ 27/02/2013 20:33:27


ความคิดเห็นที่ 71


กระทู้นี้ไปไกลกว่าที่ผมคิดมาก ตอนแรกแทบไม่มีใครตอบเลย ผมขออนุญาติลากกลับมาเรื่องที่เจ้าของกระทู้ตั้งนะครับ แฮริเออร์กับเรือจักกรี

 

 

เรือจักกรีนี่มีแนวความคิดแบบไหนไม่สำคัญหรอก เพราะเรือที่เราได้มาคือ"เรือบรรทุกเครื่องบินทางดิ่ง" ที่ออกแบบสำหรับแฮริเออร์โดยเฉพาะ ไม่เช่นนั้นจะมีสกีจั๊มทำไมกัน

 

ตอนนี้เรือของเราโล่งมีแค่เฮลิคอปเตอร์ s70 ที่กำลังจะถูกโอนไปให้เรือฟริเกตุสมรรถนะสุงลำใหม่หรืแ OHP (ช่วยมาเถอะ) แทน เพราะเราต้องการลงน้ำมากกว่าบิน อีก5ปีเรือลำนี้จะโล่งและว่างจนผมก็นึกไม่ออกเหมือนกันว่าจะทำภาระกิจอะไรได้

 

ฉะนั้น แฮริเออร์2+คือตคำตอบเดียวที่เราจะช่วยให้เรือยังคงภาระกิจและ"เสริม"อำนาจความน่าเกรงกลัวของกองทัพเรือไทยได้อีกก็เข้าใจหละครับว่ามันเก่าแล้วสู้เครื่องบินแบบใหม่ๆไม่ได้ ทำได้แค่โจมตีแม้จะติดแอมรามได้ นั่นเป็นข้อด้วยของแฮริเออร์2+

 

แล้วข้อดีหละ เรื่องแรกใช้งานกับเรือจักรีและลูกเรือได้เลยเพราะเราเคยใช้แฮริเอร์มาก่อน ต่อมามันเป็นเครื่องบิน1ใน2แบบที่ลงเรือจักกรีได้ อีกลำก็f-35ที่ราคาแสนแพงและไม่รู้ว่าอีก10ปีจะได้ซื้อไหม ต่อมาก็ราคาที่ไม่แพงและยังมีความช่วยเหลือทางทหารจากอเมริกาให้เราได้แบบเต็มๆเพราะนีเครื่องบินเขา ประมาณว่ามาฝคกคอบร้าโกลด์ทีก็ขนเครื่องยนต์มาซัก10ตัวอะไรแบบนี้ได้สบายอยู้แล้ว ต่อมาก็ใช้อาวุธได้มาตราฐานเราจึงไม่ต้องไปซื้แอมรามที่ไหนขอทอ.นี่แหละ

 

และข้อสุดท้ายราคามันไม่แพงยังไง แม้จะมือ2แต่ถ้าปรับปรุงใหม่ก็ใช้ได้อีก15ปี เหมือนสเปนและอิตาลี  การลงทุน8000ล้านเพื่อแฮริเออร์2+ 12+12ลำ เป็นอะไรที่คุ้มค่าเหมือนเอาOHPมาติดMK41แต่ถ้างบน้อยตัดลงมาเหลือ 4000ล้าน 6+6 ก็ยังดีนะครับ

 

แฮริเออร์จะทำให้เพื่อนบ้านเกรงใจเรามากขึ้น การทำอะไรบนพื้นน้ำจะต้องระมัดระวังมาก เพราะ 12แฮริเออร์ + 8กริเพน+1จักกรี ย่อมดีกว่ากริเพน8ลำอยู่แล้ว ถ้าเขาจะทำอะไรก็ต้องดำน้ำมาเข้าแผนที่เราลงน้ำพอดี ไปวัดเอาในนั้นแล้วกัน

 

ปัญหาคือเราไม่มีเงินและไม่มีแผนจะซื้อมันทั้งๆที่โอกาสมันมีอยู่ตรงหน้านี่แหละ   ผมก็แค่น่าเสียดายนะครับ แฮริเออร์2+มีประโยชน์กับเรามากกว่าเรือฟริเกตุป้องกันภัยทางอากาศที่ผมอยากได้มากเสียอีก เพราะมันเป็นสัญลักษณ์ว่าประเทศเรามีอะไรที่เหนือกว่าพวกเขา

 

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 27/02/2013 20:52:40


ความคิดเห็นที่ 72


พิมพ์ไม่ค่อยถนัดไม่ว่ากันนะครับ พิมพ์ผิดไปหน่อยกรีเพนของเราต้อง12สิแม้จะเป็นเครื่อง2ที่นั่งเสีย4ที่เอาไว้ฝึกก็ตามทีเถอะ ส่วนเฮลิคอปเตอร์ก็ต้องs60อีกแล้ว

 

การจัดหารอาวุธมือ2มาใช้งานเป็นเรื่องปรกตินะครับเราต้องพิจรณาตาความเหมาะสม  แม้แต่อเมริกายังเหมาซีแฮริเออร์ของอังกฤษเลย ของเราล่าสุดก็u206ยังไงหละครับเรือดำน้ำชุดนี้ก็ใช้ได้10ปีแล้วต้องปรับปรุงไหงเราอยากได้กันนัก เพราะมันคุ้มค่ายังไงหละ

 

เพียงแต่แฮริเอร์2+ตอนนี้ไม่คุ้มค่าแล้วมั้ง

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 27/02/2013 21:05:20