หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


วิธีลดงบประมาณ กองทัพอากาศ

โดยคุณ : securitytot เมื่อวันที่ : 24/02/2013 18:51:44

เรายังคงมีเงินไม่พอในการซื้อเครื่องบินรบ ผมคิดว่าไม่ต้องซื้อแล้ว แค่นี้ก็เยอะมากโขแ้ล้วครับ

เอางี้ผมคิดว่าเราหาอาวุธต่อต้านอากาศยานของเพื่อนบ้านก็พอครับ เช่น

S-300

Tor M1

ส่วนการป้องกันชายฝั่งก็

ถ้าเอาให้มี SAM รอบชายแดนทัวประเทศ ผมตั้งงบ ไว้ 50000 ล้านบาท

ส่วน จรวดชายฝั่งก็ Brahmos ผมว่า 10000 ล้านบาท

เราก็ไม่ต้องซื้อเครื่องบินเพิ่มเติม

1 ใช้ SAM s-300 ประจำการรอบประเทศ ผมว่าต่อให้ Su30 หรือต่อให้ มาเลย์ มีเครืองบินแบบ F22 ก็บุกเข้ายากครับ

2 ประหยัดงบเพราะ 60000 ล้านน่าจะพอ  แต่ถ้าเรายังคิดซื้อ jas39 F16 เพิ่มเติม คงเป็นแสนล้านนะครับ

3 Brahmos น่ากลัวมากๆๆ ใช้ป้องกันชายฝั่งจากเรื่อรบฝั่งตรงข้ามอย่างดีเลยนะครับ

4 ผมคิดว่าหากได้อาวุธตัวนี้มาอันดับของกองทัพไทยจะขยับอันดับขึ้นแน่นอน

5 การป้องกันภัยทางอากาศ ของเราจะน่ากลัวที่สุดในย่านนี้ เรามีการป้องกันด้วย S-300 Tor M1 แล้วมี  F16 กับ jas 39 ค่อยขับไล่ อีกที แค่นี้สุดยอดแล้วครับ

ผมคิดแบบนี้ครับ Cool





ความคิดเห็นที่ 1


http://www.thaifighterclub.org/searchMember.php?memberid0=74366&txtMember=securitytot

และลองไปค้นดูสมาชิกชื่อ yamaha ครับ เป็นคนๆเดียวกัน ลองพิจารณาดูครับแล้วจะเข้าใจ

โดยคุณ ขำขำวุ้ย เมื่อวันที่ 24/02/2013 18:51:44


ความคิดเห็นที่ 2


ทีแรกผมก็อ่านคำตอบผ่านๆ จนมาเจอคำตอบของท่าน tommy

ผมคิดว่า เป็นคำตอบที่ไม่ออกไปในแนวเชิงดูถูกผู้ตั้งกระทู้

แนวคิดของผู้ตั้งกระทู้ อาจจะหลุดโลก แต่ในความหมายผมว่าเขาก็หวังดี

แต่ เขาอาจจะหน้าใหม่ เกี่ยวกับเทคโนโลยีทางทหาร

 

สองพี่น้องตระกูล ไรท์ เป็น " ไอ้บ้า " ในสายตาของชาวบ้านมาก่อน

จนปัจจุบัน ใครจะนึกว่า ความบ้านั้น หลายเป็นต้นแบบของเครื่องบินนานาชนิด

 

ตอนผม 7 ขวบ ผมก็เคยโง่ คิดว่า ทำไม เราไม่เอาข้าวสุกที่หุงแล้วไปปลูก

เวลาเกี่ยวเสร็จก็เอามากินเลยโดยไม่ต้องหุง  แล้วผมก็แอบเอาข้าวสุกไปฝังดินทุกวันๆ

เผื่อว่ามันจะงอก จนรู้ด้วยตัวเอง ว่ามันไม่สามารถงอกได้ จึงล้มเลิกการทดลองนั้น

หลังจากนั้น ผมก็ทดลองเอา มันต้ม ถั่วต้ม ข้าวโพดต้ม ไปลองปลูกอีก มันก็ไม่ได้ผล

โดยที่ผมไม่เคยถามใครว่ามันเป็นไปได้หรือไม่ จนโตมาจึงรู้ว่ามันเป็นไปไม่ได้

ต่อมา ซัก 10 ขวบ เริ่มติดตายางเสียบยอดยางเป็น  จึงคิดว่า ถ้าเราเอาตาต้นฝรั่ง

ไปติดต้นขนุนได้ก็คงจะดี เราจะได้ปลูกต้นเดียว แล้วติดตาเสียบยอดผลไม้ทุกชนิด

ผมทดลองอยู่เป็นปีๆ โดยที่ไม่เคยปรึกษาใคร แต่มันก็ล้มเหลวทุกครั้ง แล้วก็ล้มเลิก

พอโตมา ก็รู้ว่า พืชมันผสมข้ามสปีซีย์ กันไม่ได้ ..

ดังนั้น เจ้าของกระทู้ไม่ต้องเสียใจ ผมก็เคยเป็นคนโง่ที่สุดในโลกมาก่อนน่ะ  555

โดยคุณ soda77 เมื่อวันที่ 24/02/2013 16:36:06


ความคิดเห็นที่ 3


ผมมองว่าก็เป็นความคิดที่หวังดีของ จขกท. ความไม่รู้ก็ไม่ใช่เรื่องผิด บางครั้งความคิดของคนหลุดโลก ก็ทำให้โลกนี้พัฒนาขึ้น ซึ่งคนที่มาโพสส่วนใหญ่ก็หวังดีต่อกองทัพ ประเทศชาติทั้งนั้น ซึ่งผู้รู้ก็บอกกล่าวแนะนำกันไป อย่างเรื่องจรวดเราก็มีนะครับซึ่งเพิ่งเริ่มพัฒนาไปไม่นาน อย่าง DTI-1 ซึ่งตอนนี้ก็กำลังพัฒนาให้นำวิถีได้อยู่ ซึ่งก็หวังว่าจะพัฒนาให้สำเร็จได้โดยเร็ว เพื่อต่อยอดไปสู่อาวุธปล่อยจากพื้นสู่อากาศ หรือ ป้องกันภัยทางอากาศ หรือป้องกันภัยทางเรือได้ต่อไป ก็ค่อยๆ พัฒนากันไปเพราะเราเองก็เพิ่งจะเิริ่ม ตรงนั้นจะช่วยให้เราประหยัดมากกว่าในระยะยาว หากมองแบบอย่างใกล้ๆ เลือกในส่วนที่ดีอย่างเกาหลีใต้ เกาหลีเหนือ ก็ได้ ซึ่งเพิ่งยิงจรวดปล่อยดาวเทียมได้ ซึ่งเราอย่างเองก็ผลิตดาวเทียมได้แล้ว แต่การปล่อยขึ้นสู่วงโคจรโดยจรวดยังเพิ่งต่างชาติอยู่ ผมมองว่าการพึ่งพาตนเองของเราเป็นสิ่งสำคัญที่สุด และค่อยๆต่อยอดกันไป โลกยุคนี้ยังเป็นเรื่องของเศรษฐกิจปากท้องกันอยู่ คงไม่มีใครอยากทุบหม้อข้าวตนเองในตอนนี้ แต่เมื่อไรพลังงาน ทรัพยากรใกล้จะหมดโลก ตอนนั้นผมว่าความวุ่ยวายจะบังเกิด เราก็เตรียมพร้อมเอาไว้เนิ่นๆ

โดยคุณ tommy เมื่อวันที่ 24/02/2013 13:02:34


ความคิดเห็นที่ 4


ขี้เกียจอ่าน. แต่ต้องเข้าใจก่อนครับว่า. ภารกิจของสามเหล่าทัพได้แบ่งกันในการป้องกันทางอากาศง่ายๆ ดังนี้. การป้องกันภัยในภาพรวมในการใช้จรวดพื้นสู่อากาศ. ของไทย. เป็นหน้าที่หลักของกองทัพบก. ศูนย์ป้องกันภัยทางอากาศ. โดยจะยิงก็ต่อเมื่อเช้ามาในแผ่นดินและน่านฟ้าเรา. ส่วนการป้องกันภัยที่มองว่าเป็นการคุกครามเมื่อบินเข้ามาในพื้นที่ชายแดน. ก็จะใช้เครื่องบินขับไล่จัดการ. และเมื่อหลุดเข้ามา. ก็จะเจอระบบของกองทัพบก. ตามที่กล่าว. เราไม่สามารถยิงเครื่องบินข้าศึกในพื้นที่ข้าศึกได้ถ้ายังไม่ประกาศสงคราม. สุดท้าย. เครื่องบินโจมตี. มีหน้าที่โจมตีเป้าหมายภาคพื้นและสนับสนุนกองทัพบก. ในการรบ. หากไม่มีเครื่องบินโจมตี. แต่ข้าศึกมี. .........
โดยคุณ ท้าวทองไหล เมื่อวันที่ 24/02/2013 09:19:44


ความคิดเห็นที่ 5


จขกท.คงเน้นตั้งรับ เลยออกแบบยุทธวิธีมาแบบนี้....ก็ดีครับ หวังผลเสมอเป็นอย่างมากแล้วเน้นยื้อเล่นเกมส์ยาว เอางี๊ แต่ถ้าตั้งรับแล้วสวนกลับส่งบ.ไปบอมบ์คลังอาวุธหรือแม่ทัพของข้าศึก เช็คบิลสงครามจบในเร็ววัน ประหยัดกว่าตั้งเยอะ อวป.ต่อสู้อากาศยานหรือแซม ก็เอาจำนวนน้อยๆแค่ปกป้องสนามบินหรือที่ตั้งทางทหารสำคัญๆเท่านั้นพอ เพราะของพวกนี้อายุไม่ค่อยยืน20 ปีก็ล้าสมัยหมดอายุแล้ว บ.รบใช้ได้ 30-40 ปี

โดยคุณ terdkiet เมื่อวันที่ 23/02/2013 18:26:55


ความคิดเห็นที่ 6


ตั้งรับอย่างเดียวก็เละสิครับ ดูสงครามอ่าวเปอเซียร์ครั้งแรกเป็นตัวอย่างครับ ซัดดัมมีระบบอาวุธฝั่งโซเวียตมากมาย โดน Tomahawk ยิงจากเรือนอกฝั่งเป็นพันกิโลเมตร

ยิงทำลายระบบ radar ป้องกันจนโดน usa ยึดน่านฟ้าได้ทั้งหมด ยึดครองน่านฟ้าได้ การเคลื่อนกำลังภาคพื้นก็สบายเลย

มีจรวดก็ใช่ว่าจะยิงถูกนะครับ โดนแจม โดนลวงได้เหมือนกัน มีเครื่องบินจะใช้ได้หลายภารกิจมากกว่า ได้ทั้งเชิงรุก สกัดกั้น

โดยคุณ stfsnoop เมื่อวันที่ 23/02/2013 16:16:59


ความคิดเห็นที่ 7


เฮ้อ...เหนื่อยใจ

ท่าน securitytot  ช่วยเปรียบเทียบ ระหว่างเครื่องบินลบ ( ขับไล่+ โจมตี ) กับจรวด  มันมีข้อดีข้อเสียอย่าง

 

 

 

 

โดยคุณ หลวงอาวุธวิเศษ เมื่อวันที่ 22/02/2013 20:47:16


ความคิดเห็นที่ 8


ระบบการป้องกันภัยทางอากาศ มีระบบป้องกันหลายชั้น 

 

ไม่มีกองทัพอากาศใดอยู่ได้ด้วยอาศัยอาวุธนำวิถีเีพียงอย่างเดียวครับ

 

ลองนึกดูเล่น ๆ ตามเคสต่อไปนี้

 

หากวางระบบอย่างที่ท่านเจ้าของกระทู้บอก แสดงว่า เรด้าร์ของ ทอ.ไทยต้องเทพมาก ๆ ตรวจจับเครื่องบินรบของข้าศึกได้หมดทุกทิศทางตั้งแต่ระยะไกล

 

แต่ เหนือฟ้ายังมีฟ้า ถ้าเรด้าร์สุดเทพของ ทอ. จับไม่ได้ แล้วฐานเรด้าร์ดันโดนเครื่องบินรบข้าศึก สมมติว่าเป็น SU30 ล่ะกัน ยิงอาวุธนำวิถีอากาศสู่พื้น ในระยะนอกรัศมีเรด้าร์ เข้ามาทำลายฐานเรด้าร์ของเรา

 

ถามว่า ตอนนั้น บรามอส หรืออาวุธนำวิถีอื่น ๆ ยังจะมีพิษสงอยู่อีกหรือไม่ครับ

 

ในขณะเดียวกัน หากเราใช้เครื่องบินรบขึ้นสกัดกั้นก่อน ย่อมมีโอกาสที่ดีกว่าตั้งรับเพียงอย่างเดียว

โดยคุณ krubannok เมื่อวันที่ 22/02/2013 20:54:15


ความคิดเห็นที่ 9


โอ๊ะ คิดงี้ไม่ได้  การป้องกันภัยทางอากาศ มันก็มีระยะใกล้ ไกล ถ้าเป็นอาวุธต่อต้านอากาศยาน ก็เป็นได้ระยะกลาง กับใกล้ ส่วนใหญ่บ้านเราก็มีแต่ระยะใกล้ (ถ้าผมจำไม่ผิดนะ)  บางที อาวุธ ปล่อย อากาศสู่พื้นสมัยใหม่ (ASM) ยิงได้ตั้งแต่ยังไม่เข่าระยะของ SAM  เพราะฉะนั้น การใช้อากาศยานเข้าสกัดกั้นตั้งแต่ระยะไกล สำคัญมากนะครับ

โดยคุณ uuhotu เมื่อวันที่ 22/02/2013 20:56:05


ความคิดเห็นที่ 10


เหมือนจะจำได้ว่าเคยมีกระทู้แบบนี้ไปแล้วนะครับ และแนวทางการถามก็คล้ายๆกัน แต่ไม่แน่ใจว่าใช่คนเดียวกันไหมนะครับ

โดยคุณ Kevlar เมื่อวันที่ 22/02/2013 21:42:30


ความคิดเห็นที่ 11


กระทู้แบบนี้มีเยอะมา่กก 

ได้แค่ขำ ฮ่าๆ

โดยคุณ kapooknet200 เมื่อวันที่ 22/02/2013 21:52:04


ความคิดเห็นที่ 12


ท่าน จขกท. วางเครือข่ายระบบจรวด พื้นสู่อากาศ และพื้นสู่ผิวน้ำ ใว้อย่างดีที่สุด(ตามแผนของท่าน)แล้ว. แต่ผมมีข้อสงสัยอีกครับว่า ท่านมีแผนจะรับมืออย่างใรกับ 1) การรบกวนทางอิเลคทรอนิค ของข้าศึก ซึ่งจะก่อกวนระบบเรด้าห์ ระบบอำนวยการยิงของท่านใด้ตั้งแต่ระยะไกล ทีนี้หูตาของท่านจะฝ้าฟาง 2) จรวดนำวิถีต่อต้านเรด้าห์ พอท่านเปิดระบบเรด้าห์ จรวดที่ว่าก็จะจับสัญญานเรด้าห์ของท่านเอง และพุ่งเข้ามาทำลาย จาของท่านบอดแล้ว 3) หากจรวดของท่านยิงไปแล้ว เครื่องบินของข้าศึกมีระบบแจ้งการถูกล็อคเป้า. แจ้งทิศทางเข้ามาของอาวุธนำวิถี ระบบเป้าลวง ชาฟ/แฟร์ ใหนยังนักบินจะใช้ยุทธวิธีหลบหลีกอาวุธนำวิถีของท่านอีก 4) เครื่องบินของฝ่ายข้าศึก มีมากกว่าจรวดของท่าน 5) เรือรบก็มีระบบเป้าลวง ปืนหรือจรวดต่อต้านอากาศยานที่มีขีดความสามารถยิงทำลายจรวดนำวิถี. 6) จรวดนำวิถีจากเรือ(ข้าศึก)สู่ฝั่ง ที่ยิงเข้ามาทำลายระบบตรวจจับของท่าน ทำให้เกิดช่องโหว่ จนเรือของเขาเล็ดรอดเข้ามาใด้ ทั้งหมดนี้ท่านจะทำอย่างใรครับ
โดยคุณ ขุนกลจักรพินาศ เมื่อวันที่ 22/02/2013 23:44:07


ความคิดเห็นที่ 13


ส่วนผม ไม่รู้เรื่องระบบอาวุธ แต่ ถ้างบประมาณ 50,000 ล้านบาท นี่ก็ไม่ใช่น้อยนะครับ มากกว่าโครงการจัดหาเรือฟรีเกต ของ ทร. อีก

ถ้าจะของบโดยบอกว่า ไม่ซื้อเครื่องบิน แต่จะซื้อจรวดแทน ด้วยงบประมาณเท่านี้ ผมว่า ไม่ผ่านแน่ๆอ่ะครับ

โดยคุณ Naris เมื่อวันที่ 23/02/2013 00:54:30


ความคิดเห็นที่ 14


จรวดที่ท่านยกตัวอย่างมา ราคาก็ไม่ได้ถูกนะครับแถมอายุการใช้งานก็สั้นกว่าเครื่องบิน ที่สำคัญทดสอบไม่ค่อยได้ว่าไอ้ที่เค้าว่าดีๆเทพๆ ถึงเวลาใช้งานมันจะสมราคาคุยไหม

โดยคุณ Artany เมื่อวันที่ 23/02/2013 01:48:20


ความคิดเห็นที่ 15


ไม่รู้จริงเท็จแค่ไหน เห็นว่าคนที่มีอำนาจในลาว นกม. ทหาร เป็นคนเชื้อสาย/คนเวียดนามซะเป็นส่วนใหญ่ คนลาวก็คือชาวบ้านไม่ได้มีอำนาจอะไมากมาย อยาากรู้เพิ่มเติมเหมือนกันครับ

โดยคุณ charchar เมื่อวันที่ 23/02/2013 02:52:29


ความคิดเห็นที่ 16


       แนวความคิดของการใช้ระบบจรวดต่อสู้อากาศยานกับเครื่องบินเมื่อช่วงที่จะซื้อ กริพเพน ก็มีการนำข้อมูลข้อดีข้อเสีย มาพูดคุยกันในบอร์ดพอสมควรครับ หลัก ๆ เลยก็ตามเห็นท่าน Artany คือ มันมีการหมดอายุ ปัจจุบันระบบตรวจจับเครื่องบินจากเรดาห์ภาคพื้นของ ทอ.ก็น่าจะครอบคลุมพื้นที่ของประเทศเราในระดับหนึี่งแล้ว การใช้เครื่องบินวางกำลังไว้ตามจุดต่าง ๆ เพื่อให้ง่ายต่อการขึ้นปฏิบัติการ จะประหยัดงบประมาณมากกว่า และที่สำคัญเครื่องบินรบมีการซ่อมบำรุง ต่ออายุ เพิ่มขีดความสามารถได้อีกด้วย ขนาดกระสุนปืนเล็ก เมื่อถึงเวลายังต้องมีการยิงเพื่อจำหน่ายเลยครับ แต่ก็จะใช้การฝึกยิงตามวงรอบไปด้วย แต่ถ้ายิงกับ HK33 ไม่อยากนึกถึงขนาดปืนใหม่ยังติดขัดเลย (แต่ยังยิงออกทุกนัด)

โดยคุณ เด็กบ้านนอก เมื่อวันที่ 23/02/2013 05:59:33


ความคิดเห็นที่ 17


เคยเล่นเกมส์ star craft ไหมครับ การวางระบบป้องกันไม่ว่าจะหนาแน่นอย่างไรถ้าดูกระดมตีที่จุดเดียวข้าศึกจะทุลุเข้ามาชั้นในได้เลย แนวอื่นก็เข้ามาช่วยไม่ได้ด้วยสิ เลยจำเป็นที่ต้องมีหน่วยที่เคลื่อนที่ได้เข้าเสริมจุดที่ถูกโจมตีได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพพอ จึงมีความยำเป็นที่ยังต้องมีเครื่องบินรบที่ทันสมัยในปริมาณที่เพียงพอครับ
โดยคุณ numgmt เมื่อวันที่ 23/02/2013 07:17:37


ความคิดเห็นที่ 18


วิธีลดงบประมาณ กองทัพอากาศแบบง่ายๆและได้ผลจริงครับ 

สร้างเครื่องบินรบเองเลย ด้านเทคโนโลยีอาจจะอาศัยสวีเดนหรือญี่ปุ่นก็ได้ หลักการก็เหมือนเรารับจ้างประกอบรถยนต์ไงครับ ไม่ต่างกัน

ขนาดสวีเดนที่ขายเครื่องบินให้เรายังใช้เทคโนโลยีเครื่องยนต์ของอเมริกาเลย ถ้าจำไม่ผิดเป็นเครื่องยนต์ของ f18

ถ้าเราจะทำแบบนั้นบ้างก็น่าจะทำได้แน่นอน

โดยคุณ zakuIII เมื่อวันที่ 23/02/2013 09:04:35


ความคิดเห็นที่ 19


ง่าย ๆ ขนาด อิรักสงครามอ่าวรอบแรก  มีระบบป้องกันภัยทางอาหาศอันดับ4 ของโลก 

 

แล้วไงหละ  เจอ F117 หย่อน ตูม โดน โทว์มาฮอก  ตูม หาย

โดยคุณ u3616234 เมื่อวันที่ 23/02/2013 12:31:17


ความคิดเห็นที่ 20


ถ้าปีเทศเล็กๆเนื้อที่เท่าเกาะช้างก็เอาแค่จรวดแบบที่ว่าก็ได้ครับ แต่สำหรับพื้นที่กว้างใหญ่แบบนี้จะต้องวางจรวดกี่ระบบครับ ถึงจะครอบคลุมทั้งประเทศเพื่อความมั่นใจ รวมๆแล้วคิดเป็นราคาเท่าไหร่ถ้าเทียบกับฝูงบินขับไล่สาฝูงที่โยกย้ายไปตามกองบินได้ทั่วประเทศ แล้วเวลาจะดจมตีภาคพื้นต้องใช้จรวดพื้นสู่พื้นอีกกี่ระบบเพื่อจะทำลายหรือสนับสนุนกองกำลังภาคพื้นให้มั่นใจได้ร้อยเปอร์เซ็นต์และถ้าต้องโจมตีติดพันเกินสี่ชั่วโมงแทนเครื่องบินโจมตี แถมอายุจรวดมีแค่ประมาณ 10 ปี ถ้าคิดอายุเครื่องบินอายุเฉลี่ยประมาณ 40 ปี ต้องซื้อจรวดกี่ครั้งถึงจะป้องกันได้ถึง 40 ปีเหมือนเครื่องบิน แล้วราคาจะเท่าเดิมหรืเพิ่มขึ้น คิดราคารวมแล้วเท่าไหร่ คิดเยอะๆครับ แล้วค้นคว้าเยอะ ศึกษาเยอะๆครับ แล้วมาสรุปว่า ห้าหมื่อนล้านบาทบวกอีกหนึ่งหมื่อนล้านบาทอายุใช้งาน 10 ปีและต้องจัดหาเพื่อทดแทนทุกๆประมาณ 10 มันประหยัดงบตรงไหน

ผมอาจจะคิดผิดก็ได้นะครับ อย่าเชื่อผมทีเดียว ลองศึกษาดูก่อน ผมมันประเภทจอมมั่วขาหลอกลวงเสียด้วย

โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 23/02/2013 12:44:44


ความคิดเห็นที่ 21


ถ้าซื้อบรามอส Land to Sea 3 ระบบให้ รักษาฝั่ง วางไว้ที่พังงา สงขลา สัตหีบ ก็น่าจะมีค่าเท่ากับ ติดแบบ Ship to Ship 3 ระบบ 3ลำ วางไว้ที่สงขลา ภูเก็ต พังงาอย่างละลำ

 


โดยคุณ pipat2000 เมื่อวันที่ 23/02/2013 13:34:24


ความคิดเห็นที่ 22


คิดแบบเดียวกันกับ S-300  เจ้า S-300 เป็นอาวุธทำลายอากาศยาน แต่มันทดแทนเครื่องบินทำภาระกิจแบบต่างๆไม่ได้ เช่น โจมตี-ทิ้งระเบิดภาคพื้นดิน ลาดดตระเวณ ถ่ายภาพ สกัดกั้น-ตรวจสอบเป้าหมายไม่ได้ เช่นเดียวกับเรือรบ บรามอสเอามาแทนภาระกิจอื่นๆของเรือบรบแบบต่างๆไม่ได้ เอาไว้โจมตีเรืออย่างเดียว

โดยคุณ pipat2000 เมื่อวันที่ 23/02/2013 13:38:23