หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


LCS อาจเป็นจริง

โดยคุณ : konthairakchart เมื่อวันที่ : 19/02/2013 14:31:57

ขอโทษน่ะครับ ที่ไม่ได้โพสต์ให้กระทู้Bangkok to talk frigate purchase with Beijing   

เว็บไซต์ข่าวกลาโหมชั้นนำของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศเพื่อนบ้านย่านเอเชีย ต่างจับตาข่าวสำคัญข่าวหนึ่งที่รายงานโดยเว็บไซต์ “เจนส์” (Janes Defence) แหล่งข่าวกลาโหมและความมั่นคงที่เชื่อถือได้มากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งหลายฝ่ายกล่าวว่า ถ้าหากเป็นจริงก็จะเป็นรูปธรรมสำคัญของนโยบายคืนสู่เอเชียของสหรัฐฯ

บริษัทล็อกฮีด มาร์ติน (Lockheed Martin) ผู้ผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์และเทคโนโลยีแห่งสหรัฐฯ ซึ่งรวมทั้งเครื่องบินรบยุคที่ 5 แบบ เอฟ-15 “ไล้ท์นิ่ง” พิจารณาเสนอขายเรือโจมตีชายฝั่ง หรือ LCS (Littoral Combat Ship) ชั้นฟรีดอม (Freedom-Class) ให้แก่ราชนาวีไทย

เจนส์รายงานเรื่องนี้สัปดาห์ปลายเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา อ้างการยืนยันของนายดัก ลอเรนโด (Doug Laurendeau) ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจระบบเรือและอากาศยานของล็อคฮีด มาร์ติน ซึ่งกล่าวว่า เป็นอีกโอกาสหนึ่งของบริษัทในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การเสนอขายเรือรบที่ล้ำหน้ารุ่นนี้ เป็นการตอบสนองคำเชื้อเชิญของไทย เพื่อเข้าร่วมเสนอในการจัดซื้อจัดหาเรือฟริเกตใหม่ จำนวน 2 ลำ ซึ่งได้รับการจัดสรรเงินงบประมาณจัดซื้อจากรัฐบาลไทยตั้งแต่เดือน ก.ย.2555 รวมเกือบ 1,000 ล้านดอลลาร์

การซื้ออาวุธเทคโนโลยีสูงจากสหรัฐฯ ไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นได้กับทุกประเทศ แม้จะเป็นชาติร่ำรวยมาหาศาลก็จะไม่มีโอกาสเช่นนี้ ถ้าหากไม่สอดคล้องกับนโยบายของสหรัฐฯ ซึ่งสงวนสิทธินี้ไว้ให้แก่ประเทศพันธมิตรนอกค่ายนาโต้ที่มีอยู่เพียง 15 ประเทศ และราชอาณาจักรไทยรวมอยู่ในนั้น

ล็อคฮีด มาร์ตินเองก็ไม่สามารถที่จะขายอาวุธยุทโธปกรณ์ให้แก่ใครๆ ได้โดยลำพัง หากไม่ได้รับไฟเขียวจากรัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งนักวิเคราะห์กลาโหมในภูมิภาคนี้หลายคนมองว่า นับเป็นโอกาสดีที่สุดของไทยที่จะมีเรือรบรุ่นล่าสุด ทันสมัยที่สุดของสหรัฐฯ ไว้ใช้

และถ้าหากเป็นเช่นนั้นจริง ไทยก็จะเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นประเทศแรกๆ ในบรรดาชาติพันธมิตรนอกกลุ่มนาโต้ที่จะมีเรือ LCS ประจำการในกองทัพเรือ

“ล็อคฮีด มาร์ตินดูพร้อมจะเข้าแข่งขัน เพื่อสนองความต้องการเรือฟริเกตกับทั้งเกาหลีและเยอรมนี” เจนส์กล่าว และไม่ได้ให้รายละเอียดอื่นใดอีก

เป็นที่ทราบกันดีว่า คู่แข่งสำคัญของเรือสหรัฐฯ ที่อยู่ในสายตาของกองทัพเรือไทยคือ เรือ DW3000H ที่ออกแบบโดยแดวูต่อเรือและวิศวกรรมทางทะเล (Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering -DSME) กับเรือตระกูลเมโก (MEKO) ที่พัฒนาโดยกลุ่มธีสเซนครุป มารีน ซีสเต็มส์ (ThyssenKrupp Marine Systems) แห่งเยอรมนี ถึงแม้ผู้สังเกตการณ์บางรายจะเคยลงความเห็นว่า สเปกที่กองทัพเรือไทยกำหนดออกมา เป็นการเข้าข้างเรือรบจากเกาหลีอย่างออกนอกหน้าก็ตาม

แต่หมากต่อรองของกองทัพเรือไทยมีมากกว่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจีนกระโดดเข้าร่วมวงโดยเสนอเรือ “แบบ 054” (Type 054) พร้อมติดจรวดนำวิถีให้พิจารณาอีกราย เจนส์รายงานเรื่องนี้ แต่ก็ระบุว่า ผู้บัญชาการทหารเรือของไทย ประสงค์จะซื้อเรือที่ผลิตโดยสหรัฐฯ ยุโรป หรือเกาหลีมากกว่าด้วยงบประมาณที่ไม่เกิน 1,000 ล้านดอลลาร์

เรือจีนอาจจะราคาถูกกว่าเรือที่ต่อโดยโลกตะวันตกถึง 4 เท่า แต่คุณภาพเป็นทีน่าสงสัย และกองทัพเรือไทยเคยมีประสบการณ์ตรงมาแล้วเมื่อครั้งให้จีนต่อเรือหลวงชุดนเรศวร-ตากสิน ซึ่งต้องรื้อใหม่ทั้งหมดหลังการส่งมอบ นอกจากนั้น ไทยก็ยังไม่คุ้นกับระบบอาวุธนาวีของจีนโดยสิ้นเชิง

ไม่เป็นที่ชัดเจนว่า เจนส์กำลังพูดถึงเรือฟริเกตขนาด 4,300 ตัน “เจียงคาย 1” (Jiang Kai 1) หรือแบบ 054A “เจียงคาย 2” ขนาด 4,053 ตัน เนื่องจากแบบ 054 ได้เลิกผลิตไปแล้วหลังจากที่ได้ผลิตออกมาเพียง 2 ลำ และหันมาต่อเจียงคาย 2 ใช้แทน ซึ่งติดตั้งระบบอาวุธกับระบบเรดาร์ทันสมัยกว่า

ปัจจุบัน กองทัพเรือจีนมีเรือฟรีเกตแบบ 054A ประจำการ จำนวน 16 ลำ และกำลังต่ออีก 4 ลำ ทั้งนี้ เป็นรายงานในเว็บไซต์ Sino-Defence.Com ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

สื่อกลาโหมต่างๆ ในประเทศเพื่อนบ้านต่างทราบดีว่า ราชนาวีไทยไม่ใช่ลูกค้าหน้าใหม่ของล็อคฮีด มาร์ติน หากมีความสัมพันธ์ต่อกันมานานหลายสิบปีแล้วผ่านโครงการร่วมมือช่วยเหลือในระดับรัฐบาลต่อรัฐบาล ปีที่แล้ว บริษัทนี้ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องบินรบแบบเอฟ-16 ได้ทำการอัปเกรดแล้วเสร็จ และส่งมอบให้แก่กองทัพอากาศไทยล็อตแรก

ในเดือน ก.พ.ปีที่แล้วเช่นกัน ล็อคฮีด มาร์ตินได้ส่งมอบเฮลิคอปเตอร์แบบ MH-60 “ซีฮอว์ก” จำนวน 2 ลำที่กองทัพเรือไทยจัดซื้อ

การพันตูด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ระหว่างสหรัฐฯ และไทยยังมีลักษณะกระชั้นยิ่งขึ้นหลังการรัฐประหารยึดอำนาจของฝ่ายทหารในปี 2549 เมื่อเร็วๆ นี้บริษัทเรย์ธีออน (Raytheon) สหรัฐฯ เพิ่งประกาศเกี่ยวกับการขายจรวดนำวิถีแบบ ESSM (Evolved Sea Sparrow Missile) ให้กองทัพเรือไทย และนี่คือขีปนาวุธต่อสู้ป้องกันเรือรบดีที่สุดรุ่นหนึ่งของโลก ซึ่งไทยเป็นเพียง 1 ใน 13 ประเทศที่มีประจำการ

ปัจจุบัน วุฒิสภาสหรัฐฯ กำลังรอพิจารณาร่างรัฐบัญญัติฉบับหนึ่งที่จะอนุญาติให้สหรัฐฯ ยกเรือฟรีเกตชั้นเพอร์รีฮาซาร์ดเพอร์รี (Oliver Hazard Perry-Class Frigate) ที่กำลังจะปลดประจำการ 2 ลำให้แก่ราชนาวีไทย “ฟรีๆ” พร้อมกับมิตรประเทศอีก 2 ชาติ ซึ่งแม้จะใช้งานมานาน 2 ทศวรรษ แต่เรือรบชั้นนี้ก็ยังทันสมัย หลังการฟื้นฟู และอัปเกรดก็จะใช้งานต่อไปได้อีก 20 ...เป็นอย่างน้อย

สำหรับเรือ LCS ชั้นฟรีดอม ถูกกำหนดให้ใช้รหัสเป็นเลขคี่ คู่ขนานกับเรือชั้น “อินดีเพนเดนซ์” (LCS-2 Independence) ที่ผลิตโดยเจเนอรัล ไดนามิคส์ (General Dynamics) ซึ่งใช้รหัสเลขคู่

ปัจจุบัน เรือ LCS-1 ฟรีดอม กำลังอยู่ระหว่างเตีรยมการไปประจำที่สิงคโปร์ในปีนี้ ตามนโยบายกลับคืนสู่เอเชียแปซิฟิกของสหรัฐฯ ล็อคฮีด มาร์ตินกล่าวถึงเรื่องนี้ในเว็บไซต์

อย่างไรก็ตาม บริษัทนี้เพิ่งจะผลิตเรือชั้นฟรีดอมออกมาเพียง 2 ลำเท่านั้น ลำล่าสุดคือเพิ่งทำพิธีนำเข้าประจำการในเดือน ก.ย.ปีที่แล้ว คือ เรือฟอร์ตเวิร์ธ (LCS-3 Fort Worth) ขณะนี้กำลังต่ออีก 2 ลำ คือ LCS-5 “มิลวอคี” (Milwaukee) กับ LCS-7 “ดีทรอย” (Detroi)

ลำต่อๆ ไปในโครงการคือ LCS-9 “ลิตเติ้ลร็อก” (Little Rock) กับ LCS-11 “ซูซิตี้” (Sioux City)

แม้จะได้ชื่อเป็น “เรือโจมตีชายฝั่ง” แต่เรือชั่นฟรีดอมสามารถจัด (Configuration) ได้หลายรูปแบบตามความต้องการใช้งานในทั่วโลก แต่รุ่นมาตรฐานติดตั้งระบบอีจิส (Aegis) กับระบบเรดาร์ SPY-1F(V) และระบบยิงจรวดนำวิถีแนวดิ่งแบบ MK41 ล็อคฮีด มาร์ตินกล่าว. (แหล่งทีีมา: http://www.marinerthai.com/forum/index.php?topic=15295.0)


Lockheed Martin · Littoral Combat Ship


22


23




ความคิดเห็นที่ 1


"แต่รุ่นมาตรฐานติดตั้งระบบอีจิส (Aegis) กับระบบเรดาร์ SPY-1F(V) และระบบยิงจรวดนำวิถีแนวดิ่งแบบ MK41 ล็อคฮีด มาร์ตินกล่าว."

 

หือ.......!! O_o

ไม่ต้องคิดละ เอาตังค์ไปเลย 555

โดยคุณ AirborneTH เมื่อวันที่ 15/02/2013 13:56:22


ความคิดเห็นที่ 2


พี่อินทรี ไฟเขียว  ขนาดนี้ ก็คงต้องรอดูรัฐบาลไทย เเค่นั้นล่ะครับ

ส่วนตัวผมคิดว่า ทร.ไทย เองก็คงอยากได้ เรือรบที่เยี่ยมยอดไว้ป้องกันเรือดำน้ำเช่นกัน

 ผมชอบประโยคนี้ครับ: สหรัฐฯ เพิ่งประกาศเกี่ยวกับการขายจรวดนำวิถีแบบ ESSM (Evolved Sea Sparrow Missile) ให้กองทัพเรือไทย และนี่คือขีปนาวุธต่อสู้ป้องกันเรือรบดีที่สุดรุ่นหนึ่งของโลก ซึ่งไทยเป็นเพียง 1 ใน 13 ประเทศที่มีประจำการ

เเละ

ประโยคนี้ครับ: การซื้ออาวุธเทคโนโลยีสูงจากสหรัฐฯ ไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นได้กับทุกประเท แม้จะเป็นชาติร่ำรวยมาหาศาลก็จะไม่มีโอกาสเช่นนี้ ถ้าหากไม่สอดคล้องกับนโยบายของสหรัฐฯ ซึ่งสงวนสิทธินี้ไว้ให้แก่ประเทศพันธมิตรนอกค่ายนาโต้ที่มีอยู่เพียง 15 ประเทศ และราชอาณาจักรไทยรวมอยู่ในนั้น

โดยคุณ konthairakchart เมื่อวันที่ 15/02/2013 14:08:44


ความคิดเห็นที่ 3


บอกตรงไหนครับว่าพี่อินทรีย์ไฟเขียว 

ไม่มีการกล่าวถึงสภาคองเกรสเลย มีแต่การออกมาพูดของบริษัทที่อยากขายของ

มาร์คสี่เอ็ดเราก็มีติดกับนเรศวรไงมันก็เป็นแค่แท่นยิง อยู่ที่ว่าเรามีจรวดอะไร อีเอสเอสเอ็มคนประจำการน้อยไม่ได้แปลว่าเขาไม่มีใช้ แต่เขาใช้อย่างอื่นเช่นตระกูลแอสเตอร์ ดีกว่าอีก ฮา

อีกอย่างเรือลำนี้ระบบอาวุธไม่ได้เลิศล้ำอะไร คือใหม่จริงๆ แต่เป็นระดับตัวประกอบฉากของอเมริกา คือไม่มีก็ได้ ไม่กระทบอะไรกับทัพเรือเขา

หมัดเด็ดตัวเจ๋งๆจริงๆคือพวกอารลีเบิร์ก มีอาวุธหนักๆ เรดาร์แรงๆ เหมือนรถเบนซ์เก่าๆกับจักรยานตีนถีบใหม่เอี่ยม ใหม่จริงแต่ไม่ได้ดีกว่า

 

แอลซีเอสดีที่เสตลธ์ เร็ว แล้วก็แนวคิดการใช้โมดูลในการปฏิบัตรภารกิจเพื่อประหยัดงบประมาณ ชื่อเรือก็ชัดเจนว่าเป็นเรือปฏิบัตรการชายฝั่ง แต่เราจะใช้ประโยชน์ได้แต่ไหน ซื้อมาจะมีโมดูลใส่ซักกี่ภารกิจ ภารกิจเดียวก็เก่งแล้ว แล้วเราก็ค่อนข้างชัดเจนว่าต้องการเรือสมรรถณะสูง หรือป้องกันภัยทางอากาศ ไม่ได้ต้องการมาทำทุกอย่าง หรือจะมาเวอร์ชั่นไม่มีโมดูลผมก็ยังมองไม่เห็นว่ามันดีกว่าเรือฟริเกตอย่างเมโกะดี ยังไง

ส่วนสำคัญของเรือรบคือระบบอาวุธกับระบบอำนวยการรบต่างๆ ไม่ใช่แค้ใหม่ หรือแอดวานซ์ สภาคองเกรสจะอนุมัติอะไรก็ดูที่อานุภาพระบบอาวุธกับความสำคัญของเทคโนโลยี ไปๆมาๆพอลงรายละเอียดสเป็คแล้วอาจได้ของดาวน์เกรด หรือซื้อระบบมาแต่ไม่ได้อาวุธมาใส่ สรุปแล้วซื้อมามันจะคุ้มเงินหรือเปล่าเมื่อเทียบกับเรือฟริเกตเป็นเรื่องเป็นราวสเป็คครบ ไม่ขาดๆเกินๆ จากเยอรมัน

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 15/02/2013 14:55:26


ความคิดเห็นที่ 4


ผมว่าหากล็อคฮีด มาตินแถลงออกมาชัดเจนก็แสดงว่าคงได้รับไฟเขียวในระดับนะโยบายแล้วมัวครับไม่งั้นคงไม่กล้าแสดงตัว   ส่วนตัวว่าlcsคงต้องดูรายละเอียดอีกทีว่าจะสามารถปรับติดอาวุธได้ระดับใหนถ้าเทียบตัวๆผมยังชอบmekoมากกว่านิดๆแต่หากได้ohpแถมมาด้วยก็คงคิดหนักว่ากันว่าช่วงนี้เศรษฐกิจฝั่งตะวันตกไม่ค่อยจะดีคงได้เวลาที่เราฉะเล่นตัวบ้าง  ต่อรองดีๆหน่อยอาจจะได้เงื่อนใขดีๆกว่าที่คิด^^

โดยคุณ hinnoi เมื่อวันที่ 15/02/2013 16:27:10


ความคิดเห็นที่ 5


โดยส่วนตัว  ผมให้ความสำคัญกับ  Offset  มากกว่า การเสนอขายเพียงอย่างเดียว

การถ่ายทอดเทคโนโลยี อาจจะประเมินออกมาเป็นตัวเลขไม่ได้ แต่มันมีมูลค่ามหาศาล

ผมตัด  Type-054T ของจีนออกไปจาก 4 ตัวเลือก เพราะระบบอิเลคทรอนิกส์ของจีน

ทหารไทยไม่คุ้นเคย  อาจจะใช้ยาก หรือ การบำรุงรักษาสูง งบอาจจะบานปลาย

ถ้าจะซื้อเพียงตัวเรือ จีนบอกว่าไม่ขายเพราะได้กำไรน้อย  ดังนั้น ตัดทิ้งไปเลย

DW3000H ของเกาหลีใต้ เป็นเรือคุณภาพดี ราคาต่ำกว่าชาวบ้านทั้งหมด แต่ ผมคิดว่า

ทหารเรือที่ประจำการ คงไม่ต้องการของเกาหลีใต้ซักเท่าไหร่ อีกอย่าง เกาหลีใต้กับเกาหลีเหนือ

กำลังเขม่นกันอยู่ หากเราซื้อเรือรบของเกาหลีใต้ เกาหลีเหนือคงคิดว่าเราเลือกข้างไปแล้ว

อย่าประมาทเกาหลีเหนือ ถึงประเทศจะยากจน แต่ เด็กสมบูรณ์ทดลองนิวเคลียร์ไม่หยุด

LCS ของพี่กันที่เสนอตามข่าว ดีพร้อมสมบูรณ์ทุกอย่าง .. แต่ เรื่อง Offset ผมคิดว่าไม่มีทาง

ที่พี่กันจะถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ใคร

MEKO ของเยอรมัน ตัวนี้ผมชื่นชอบเป็นการส่วนตัว เพราะรูปร่างดูทันสมัย คุณภาพทุกอย่างสูสี

กับ LCS เรื่องเนื้องานที่ออกมา รับประกันว่าเนี๊ยบ สไตล์เยอรมันทำงานไม่มีหมกเม็ดหรือลักไก่

ถ้า เยอรมันแค่เสนอ Offset มาด้วย ผมเชียร์ MEKO ขาดใจตายเลย  เยอรมันไม่หวงวิชา

เท่าอเมริกา  .. ผมคิดว่า ถ้าเยอรมันแค่เสนอ Offset มา .. เจ้าอื่นๆ  .. อด

 

โดยคุณ soda77 เมื่อวันที่ 15/02/2013 18:07:12


ความคิดเห็นที่ 6


โดยส่วนตัวคิดว่า LCS น่าจะดีสุด เราควรยอมรับบ้างก็ได้ว่า LCS เทคโนโลยี น่าจะดีกว่า เมโก้ การลงทุนต่างตอบแทนก็ดี แต่ถ้าได้เทคโนโลยีปี 2000 บน Meko กับ LCS เทคโนโลยีปี 2013  ผมว่า LCS ดีกว่า  เหมือน  Nokia รุ่นใหม่ กับ iPhone เอาอะไรดี....

โดยคุณ ajaydf เมื่อวันที่ 15/02/2013 18:33:42


ความคิดเห็นที่ 7


โดยส่วนตัวมองว่า ทางสหรัฐมาเน้นหนักหวังปิดล้อมจีน ถ้าเราซื้อของ ประเทศใดประเทศหนึ่ง อีกฝั่งคงมองเรา เรื่องความสัมพันธ์  เราก็น่าซื้อที่ไม่ใช้ของประเทศอื่น ดูเป็นกลางมากกว่า

โดยคุณ system_4 เมื่อวันที่ 15/02/2013 18:40:12


ความคิดเห็นที่ 8


ถ้าเอา meko เขาเสนอตัวนี้มาใช่หรือเปล่าครับ ทำไมไม่เสนอ meko D 

MEKO® A-200

STEALTH, VERSATILITY and POWER

These recently delivered frigates for the South-African Navy feature the revolutionary CODAG-WARP® (WAter jet and Refined Propellers) propulsion plant, eliminating the funnels and thus allowing for an exhaust-free top deck design. 

With all-around stealth leading to a dramatic reduction of all signatures, superb seakeeping and helicopter operations and a reduced crew the general purpose frigate momentarily represents the state-of-the-art technology in its class.

 

Main Specifications:





Length:
121.00 m
Beam:
16.34 m
Draft:
5.95 m
Displacement:
3,500 tons
Range:
>7,500 nm at 16 knots
Endurance:
28 days
Speed:
>30 knots
Accommodation:
124 berths
Propulsion plant:
CODAG-WARP® with 1 GT 20 MW and 2 diesel engines 5.9 MW each

LCS หรือ meko ตัวไหนก็ได้แต่อย่าออกค่ายเอเชีย 

โดยคุณ pop04 เมื่อวันที่ 15/02/2013 20:07:49


ความคิดเห็นที่ 9


       ความเห็นส่วนตัวนะครับ   ผมว่าอย่าไปนึกเอาง่ายๆว่า เรือรบใหม่เอี่ยมของสหรัฐจะดีเสมอไป  โดยเฉพาะเริ่มใช้เกือบพร้อมๆกับเขา  เพราะเรือต้นแบบที่แปลกแหวกแนวออกไป ย่อมมีข้อขัดข้อง มีปัญหามากมายกว่าเรือที่ใช้งานไปเป็นเวลาพอสมควรแล้ว อันนี้เป้นสัจธรรมเลย  เรือชั้น ฟรีดอมนั้นมีระวางขับน้ำที่พอจะเหมาะสมกับ ทร. แต่อย่างอื่นดูจะไม่เหมาะสมนัก เรือเร็วก็จริงอยู่ แต่ก็มีระบบขับเคลื่อนที่น่าจะเป็นปัญหา(สำหรับเรา) คือใช้ Water Jet ขนาดเราใช้เรือเล็กที่ใช้ระบบนี้ยังมีปัญหาอยู่บ่อยๆ นี่เรือตั้ง 3,000 ตัน  ทะเลบ้านเรา ใกล้ฝั่งมีอุปสรรคเรื่องขยะ วัตถุแปลกปลอมเยอะ (ไม่แน่ใจว่าเรือที่เสนอจะใช้วอเตอร์เจตอย่างเดียว หรือมีใบจักรขนาดเล็กเมื่อใช้ควมเร็วต่ำด้วย –เมื่อใกล้ฝั่งมากๆ) การต้องการให้เรือเบา จึงมีการใช้วัสดุอลูมินั่มในส่วนเหนือดาดฟ้าด้วย-จึงเปราะบาง  ระหว่างการทดสอบหลายครั้ง พบรอยร้าวที่ตัวเรือหลายแห่ง หลายครั้งน้ำรั่วเข้าเรือ (ลองอ่านบทความที่ให้ลิงค์ไว้ข้างล่าง) ปัญหายังไม่ได้รับการแก้ไขหลายแห่ง แม้จะรับมอบเรือไปแล้ว และกำลังจะส่งเรือมาทดลองประจำการที่สิงคโปร์ในเดือนหน้านี้ ?(คาดว่าเป็นนโยบายจากเบื้องบนเพื่อสนองยุทธศาสตร์กลับคืนสู่เอเซีย) ปัญหายิงปืน 57 มม.ไม่แม่นยำเมื่อใช้ความเร็วสูง(เรือสั่น) ปืน 30 มม.ของบุชมาสเตอร์ขัดข้องบ่อยครั้ง เซนเซอร์/เครื่องควบคุมการยิงยังมีปัญหา  ลองอ่านบางส่วนก็ได้

http://www.wired.com/dangerroom/2013/01/littoral-combat-ship/

Updated 9 a.m., January 16,(2013) with the Navy’s response.

 

In less than two months, the Navy will send the first of its newest class of fighting ships on its first major deployment overseas. Problem is, according to the Pentagon’s chief weapons tester, the Navy will be deploying the USS Freedom before knowing if the so-called Littoral Combat Ship can survive, um, combat. And what the Navy does know about the ship isn’t encouraging: Among other problems, its guns don’t work right.

…………………..

It might also not be able to depend on all of its weapons in a fight. The 30mm gun on board the Freedom “exhibit[s] reliability problems.” The 57mm gun on both the Freedom and its sister ship, the differently designed USS Independence, is apparently worse: “Ship operations at high speeds cause vibrations that make accurate use of the 57 mm gun very difficult,” Gilmore finds. Worse news for the Freedom: Its integrated weapons systems and air/surface search radar have “performance deficiencies” that affect the ship’s “tracking and engagement of contacts.”

 

ผมเองก็อยากได้ของสหรัฐฯซึ่งส่วนใหญ่ดี ยิ่งจะต่อหลายสิบลำยิ่งดูน่าเชื่อถือมากขึ้น แต่อย่าไปเอาลำแรกๆเลยครับ น่ากลัว  เออเรือพวกนี้ทราบว่าออกแบบให้มีระบบอัตโนมัติมากๆเพื่อประหยัดกำลังพล นี่ก็น่ากลัวอีกสำหรับ ทร.ไทย เรือ 3,000 ตัน มีคนไม่ถึงร้อย

ความเห็นส่วนตัวนะครับนี่ ไม่ได้เชียรใครเป็นพิเศษ

 

www.en.wikipedia.org/wik/USS_Freedom_(LCS-1)

 

 ข่าวนาวีรอบโลก –นาวิกศาสตร์ พ.ย.2555(เรือ LCS   ไม่ผ่านการประเมินขั้นแรก)

 

โดยคุณ sboot เมื่อวันที่ 15/02/2013 21:52:45


ความคิดเห็นที่ 10


สงสัยเรื่องเรดาห์ของเจ้า LCS1 ครับ ในwiki บอกว่าเป็น

  • EADS TRS-3D 3D air and surface search radar (http://en.wikipedia.org/wiki/USS_Freedom_%28LCS-1%29)

ซึ่งเจ้าตัวนี้มันน่าจะพอๆกับ SAAB Sea Giraffe  ที่เราติดไปในเรือชันนเรศวรและจักรีนฤเบศ

 

แต่ถ้าจัดตามที่เขียน รุ่นมาตรฐานติดตั้งระบบอีจิส (Aegis) กับระบบเรดาร์ SPY-1F(V)
แล้วจัดให้ในราคา 2 ลำ 1000 ล้านUS ก็จัดไปเลยไม่ต้องคิดครับ คุ้มแน่นอน เอาเป็นเรือคุ้มกันทางอากาศให้กับกองเรือได้แน่นอน


โดยคุณ kitty70 เมื่อวันที่ 15/02/2013 23:55:59


ความคิดเห็นที่ 11


ส่วนตัวมองเรื่องนี้แค่ทาง LM โม้มาเพื่อโฆษณาสินค้า ไม่เกียวกับรัฐบาลสหรัฐฯ เลย   ส่วนบริษัทแกก็ต้องพูดในแง่บวกอยู่แล้ว ถ้าผมเป็นบริษัทเขาผมคงไม่มาแสดงความเห็นในทำนองว่าไม่ขายให้ไทยหรอกครับ ไม่มีเหตุผลที่จะพูดในทำนองนั้น ในขณะที่หากบอกว่าจะขายทั้งที่ความจริงไม่ได้คิดจะขาย อย่างน้อยก็จะได้ใจคนไปแล้ว

เรื่องไม่เป็นกลางกับจีนผมว่าไม่เกี่ยวครับ เพราะแรกเลย สหรัฐฯ กับจีนไม่ได้กำลังมีความตึงเครียดหนักหนาพิเศษอะไร และทั้งสองชาติเองก็ค้าขายกันมหาศาล ประมาณเป็นทั้งมิตรทั้งศัตรูในเวลาเดียวกัน ปากก็บอกว่าเป็นมิตรกัน ถ้าแกสู้กันอยู่นั่นก็อีกเรื่องนึง แถมเรายังซื้อของจีนกระจุยกระจาย ดังนั้นไม่ต้องห่วง ถ้าเราซื้อ f-22 นั่นก็อีกเรื่องนึง ฮา   สหรัฐฯ ที่ทำกับเราไม่ได้เป็นการปิดล้อมจีนเพิ่มเติมอะไร แต่เป็นการเพิ่มความสัมพันธ์ที่เริ่มจีดจางลงไปทุกวันให้แน่นแฟ้นขี้น

หากซื้อมาได้ ไม่ต้องคิดให้เหนื่อยว่าเราจะได้ท็อปสเป็ก ไม่มีทางครับ sm นี่ไม่ต้องฝัน aegis ก็เช่นกัน ขณะซื้อของมือสองหลายครั้งสหรัฐยังคิดจะถอดนู่นถอดนี่ออกเลย

ส่วนตัวผมไม่คิดว่าเราควรซื้อลำนี้สำหรับโครงการฟริเก็ตครั้งนี้สาเหตุเลย

1. เรือนี้ไม่ใช่ฟริเกต แต่เป็นเรืออเนกประสงค์ ข้อดีเดียวที่เราจะได้คือความเร็ว เรื่องความยืดหยุ่นไม่ต้องไปคิด เราคงไม่ได้ซื้อโมดูลหลายๆ ชนิดมาติดสลับไปมาตามภารกิจ เพราะถ้าเราเอาไปใช้ภารกิจในอื่นเรือรบสำหรับต่อตีกับข้าศึกจะลดลงไปทันที  ดังนั้นจะกลายเป็นเรามีโมดูลไว้เฉยๆ แต่ใช้แค่แบบเดียวคือฟริเกต (คงไม่คิดว่าเราจะสละฟริเกตสมรรถนะสูงมาใช้กวาดทุ่นระเบิด) แถมโมดูลฟริเกตนี่ยังไม่ใกล้เสร็จ (คงเป็นอันท้ายๆ เพราะสหรัฐฯ เองไม่ได้กะจะใช้เป็นฟรีเกต) จรวด anti-air ระยะปานกลางก็ยังไม่ได้เริ่มเลย 

อย่าลืมว่าสหรัฐฯ ไม่ได้คิดจะใช้ลำนี้ในการรบกับเรือข้าศึก (แกใช้ destroyer/ cruiser อ่านว่าครูซเซอร์นะครับ ไม่ใช่ครุยเซอร์) ขณะที่เราจะเอามารบกับเรือข้าศึกโดยตรง

 

2. อย่างที่ผมเคยบอกว่าไว้ว่าเรือนี้มันยังสร้างไม่เสร็จ คงไม่เป็นการดีสำหรับประเทศงบน้อยอย่างเราที่จะคอยที่จะไปช่วยเป็นหนูทดลอง ว่ากันตามตรง ระบบ survivability ตอนนี้ยังไปไม่ถึงไหนเลย

แต่ถ้าให้เลือกระหว่างจีน ซึ่งเสียงได้ไม่ตามสเป็กละก็ ผมว่าเอาลำนี้ดีกว่า

โดยคุณ tongwarit เมื่อวันที่ 16/02/2013 02:50:32


ความคิดเห็นที่ 12


ว่ากันตามตรง หากตอนนี้ เจอรมันแทบจะหมดหวังเพราะแพง 

 

ผมคงเชียร์เรือเกาหลีซะแล้วล่ะครับ เพราะได้ฟริเกตสมรรถนะสูงตามประสงค์ และมีงบสำหรับอาวุธแบบจัดเต็มลำ

 

ส่วนเรือ LCS นี่ ยังไงผมก็ไม่เห็นด้วยที่เราจะเลือกมา และเห็นด้วยกับความคิดของคุณ tongwarit ครับ

โดยคุณ krubannok เมื่อวันที่ 16/02/2013 07:50:59


ความคิดเห็นที่ 13


1เรือลำนี้อเมริกาใช้รบนะครับ เป็นด่านแรกในการเข้าปะทะข้าศึกเลย ประเทศเขาไม่เคยสร้างอะไรที่ใช้รบไม่ได้หรอก แต่รบดีไม่ดีอีกเรื่อง ส่วนเราไม่ได้เอาไปรบกับเรือไหนเลยภาระกิจหลักของเราคือปราบเรือดำน้ำ ในอนาคตคือต่อต้านอากาศยาน เรือที่ใช้ต่อสู้กับเรือรบประเทศอื่นไม่มีนานแล้วครับ สงคราฟอคแลนดืปี2525โลกนี้ก็ใช้จรวดยิงสู้กับกองเรือศัตรูแล้ว

 

2เรือที่เปลี่ยนภาระกิจได้บ่อยๆและง่ายไม่เหมาะกับประเทศเราไม่จริงครับ เราซื้อเรือฟริเกตุสมรรถนะสุง2ลำมีภาระกิจหลักคือปราบเรือดำน้ำเพราะว่า"เราไม่มีเรือดำน้ำ" ในอนาคตเมื่อเรามีเรืดดำน้ำภาระกิจนี้จะเป็นงานรองไปและปรับเปลี่ยนไปเป็นต่อต้านอากาศยานก็ได้

 

ไม่ว่าเราซื้อเรือของเยรมัน เกาหลี สิงค์โปร์หรือจีน การปรับเปลี่ยนแบบนี้ต้องใช้เงินอีกมหาศาลในการปรับปรุง แต่ถ้าเป็นLCSเราจะใช้เงินไม่มากและเสียเวลาน้อย เพราะฉะนั้นเรือแบบนี้เหมาะสมกับประเทศที่ไม่มีเงินหมาอย่างเราที่สุด

 

สำหรับใครบางคนที่คิดว่่าซื้อเรือยุดปรไม่ต้องปรับปรุงกลางอายุไม่จริงนะครับ จรวดหมดอายุก็ต้องเปลี่ยนจรวดและระบบต่างใหม่รวมไปถึงเรดาหืและอื่นๆให้มันเข้ากันได้ด้วย เรือเสียเงินซื้อเรือ3หมื่นล้านไม่ได้แปว่ามันจะใช้ได้"ดีตามภาระกิจ"ไปอีก50ปีนะครับ

 

3 อเมริกาขายของมือ2ถอดอาวุธหมด  กับไทยแลนด์"ไม่จริง"ครับ   m60a1 m60a3 เรือฟริเกตุชั้นน๊อค f-16 adf m109 อาวุะพวกนี้เราซื้อมือสองจากอเมริกาในสภาพเหมือนที่เขาใช้งานเป๊ะ f-16 adf ยิงจรวดแอมรามได้ถ้าเขาถอดออกไปจริงมันจะยิงได้อย่างไร

 

ในบรรดาเรือฟริเกตุทุกประเทศผมเชียร์ลำนี้ครับ เพราะมันทันสมยัที่สุดและปรับเปลี่ยนภาระกิจได้โดยใช้เงินน้อยที่สุด ทำไมผมถึงเชียร์ลำนี้ เพราะผมคิดว่าเราจะใช้งานเรือลำนี้ไปอีก50ปีโดยไม่เคยสู้รบกับใครเลย เหมือนเรือทุกลำที่เราใช้งานอยู่นี่แหละครับ

 

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 16/02/2013 14:48:22


ความคิดเห็นที่ 14


เรือเกาหลีผมบอกตรงๆว่างั้นๆ ต่อเรือคอร์เวตใช้ปราบเรือดำน้ำ4ลำยังจะดีกว่าถ้าคิดตามภาระกิจนะ แล้วต่อเรื่อฟริเกตุติด vls +essm อีก2ลำไว้คุ้มครองทางอากาศ ลำหละ5พันล้านต่อมันที่สิงค์โปร์นี่แหละ

 

ใช้เรือ6ลำนี่แทนเรือฟริเกตุไปเลย ส่วนภาระกิจลาดตระเวณตามปรกติก็ใช้เรือopvที่เราซื้อลิคสิทธิ์มาให้ครบ6ลำ จบข่าวสวัสดีชาวโลก ลาก่อน MEKO and LCS

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 16/02/2013 14:54:28


ความคิดเห็นที่ 15


แก้ไขข้างบนหน่อยครับ

 แล้วต่อเรือคอร์เวตติด vls + essm อีก2ลำไว้คุ้มครองทางอากาศ

 

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 16/02/2013 14:58:25


ความคิดเห็นที่ 16


lcsเป็นต้นแบบของกองเรือรบรุ่นถัดไปกองอเมริกาครับ ต่อไปคงไม่เห็นเรือลำใหญๆที่ใช้เพียงภารกิจเดียวเป็นหลักอีกแล้วอย่างทีเห็นว่าการปรับเปลี่ยนโมดูลได้แต่ผมคิดว่าคงไม่ได้หมายถึงต้องเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาในนลำเดียวเท่านั้นแต่คงหมายถึงการใช้ตัวลำเป็นเบสเดียวกันเพื่อให้ง่ายและประหยัดในการซ่อมบำรุงอาจมีการปรับตามภารกิจบ้างแต่คงไม่บ่อยหรือมากเกินแต่ปัณหาของแนวคิดนี่ว่าไม่่อยเหมาะกับเราคือคงต้องใช้หลายลำถึงจะใช้ประโยชน์ได้เต็มความสามารถเป็นลักษณกองเรือlcsนะผมว่า

โดยคุณ hinnoi เมื่อวันที่ 16/02/2013 15:53:08


ความคิดเห็นที่ 17


@ คุณ superboy

ผมไม่ได้บอกว่าเรือนี้ไม่ได้ไว้รบนะครับ มันต้องไว้รบอยู่แล้ว ผมหมายความว่าไม่ได้เอาไว้สู้กับเรือ frigate/destroyer/cruiser โดยตรงเป็นหลัก (ในเมื่อสหรัฐฯ มีเรือที่ดีกว่าในการทำภารกิจนั้น สหรัฐฯ แกเล่นเฉพาะเวลาถือไพ่เหนือกว่า)

ผมถามก่อนว่าถ้าเราซื้อเรือนี้ไว้ปราบเรือดำน้ำแล้ว อนาคตค่อยซื้อเรือปราบดำน้ำอีกลำแล้วปรับลำนี้ไปเป็นต้านอากาศยาน ทำไมเราไม่ซื้อเรือต่อต้านอากาศยานในอนาคตแทนล่ะครับ กรณีตัวอย่างที่ยกมามันไม่ได้เป็นการแสดงถึงความยืดหยุ่นของ platform lcs เลยครับ

ยกตัวอย่างกรณีการใช้งานความยืดหยุ่น สมมุติว่าไทยมีเรือ lcs สิบลำ แบ่งสองฝั่งทะเลฝั่งละห้าลำ ฝั่งอ่าวไทยปรับตั้งเป็นปราบเรือดำน้ำอยู่สองลำ เกิดเราได้ข่าวว่ามีเรือดำน้ำหลุดเข้ามาในอ่าวไทย (ก็หนีเข้าท่า ล้อเล่น) เราก็สามารถปรับให้ทั้งห้าลำเป็นปราบเรือดำน้ำในเวลาอันรวดเร็ว เช่นนี้เป็นต้น

เรื่องถอดอาวุธผมยังไม่ได้พูดซักคำว่าไทยโดนถอด อีกอย่าง เรือที่เราซื้อสหรัฐฯ ที่ผ่านๆ จะว่าเป็นตกรุ่นของเขาก็เป็นได้ แต่ถ้าเป็นเทคโนล่าสุดระดับสูงก็แทบเป็นไปไม่ได้ที่สหรัฐฯ จะปล่อยให้เขตที่สงบสุขอยู่  เรื่อง amraam ก็เกือบไปเหมือนกัน

เรือคอร์เวตติด vls+essm ลำละห้าพันล้านผมว่าถูกไปหรือเปล่าครับ

โดยคุณ tongwarit เมื่อวันที่ 16/02/2013 18:26:07


ความคิดเห็นที่ 18


ผมว่าแบบเรือ LCS เทคโนโลยีดี   และยืดหยุุ่นสูง ไม่วว่าจะ LCS Freedom หรือ Meko LCS  แต่จะเหมาะสมกับกองทัพเรือเราหรือไม่ ก็อยู่ที่ยุทธศาสตร์กองทัพเรือและของประเทศไทย

1.พื้นที่ปฏิบัติการ ที่จะปฏิบัติการณ์แค่เขตเศรษฐกิจจำเพาะ 200 ไมล์ทะเล หรือจะออกไปไกลกว่านั้นถ้าต้องการออกไกลกว่านั้น เรือแบบ LCS ก็ไม่เหมาะสม ควรเป็นแบบเรือฟริเกตหรือเรือพิฆาตมากกว่า แต่จากปัจจุบันคิดว่ากองทัพเรือคงเลิกมองเรื่อง Blue Navy ไปแล้วครับ

2.จำนวนทั้งหมดที่ต้องในอนาคต เรือ LCS ต้องมีมากจำนวนหนึ่งระบบโมดูลจึงมีประโยชน์ (เช่นมีเรือทั้งหมด 6 ลำ โมดูลต่อต้านเรือผิวน้ำ 4 โมดูลต่อต้านเรือดำน้ำ 4 ไว้สลับสับเปลี่ยน) การประจำการเรือเพียง 2 ลำ ไม่ทำให้ระบบโมดูลคุ้มค่า สู้ต่อเรือเฉพาะทางไปเลยดีกว่า

3.กองทัพเรือยังต้องการเรือป้องกันภัยทางอากาศเป็นพื้นที่ให้กองเรือหรือเปล่า เพราะถ้าต้องการ เรือ LCS ก็ไม่ตอบโจทย์นี้ได้  อนาคตต้องหาเรือป้องกัยภัยทางอากาศเพิ่มอีก

ก็อยู่ที่กองทัพเรือพิจารณาวางยุทธศาสตร์กองเรือไทยในอนาคตไว้แบบไหนแน่ สอดคล้องกับการจัดหาอาวุธยุทโปกรณ์ และการเมืองความมั่นคงระหว่างประเทศแค่ไหน

 

โดยคุณ Tumx เมื่อวันที่ 17/02/2013 16:00:56


ความคิดเห็นที่ 19


มีใครทราบมั้งครับ meko a-200 ที่เยอรมันเสนอให้กองทัพเรือไทย นี่ใช้ระบบ อะไรครับ aegis หรือ 9lv หรือเป็นระบบอื่นอ่ะครับ
โดยคุณ vinvorachai เมื่อวันที่ 19/02/2013 10:49:49


ความคิดเห็นที่ 20


อิสราเอลสนใจจะต่อเรือแบบ MEKO ของเยอรมนีในประเทศเองแทนเรือแบบ LCS สหรัฐฯ

พอค้นข่าวเก่า ๆ เกี่ยวกับ LCS ครับ ปรากฏว่า พี่อินทรีย์เขาเสนอเเบบเรือ LCS ให้กับ อิสราเอล ตั้งเเต่ปี 2009

เเต่อิสราเอลไม่เอา เดิมนั้นอิสราเอลมีความสนใจที่จัดหาเรือ LCS แบบของบริษัท Lockheed Martin (ชั้น Freedom)เพื่อใช้เป็นเรือผิวน้ำแบบใหม่ของกองทัพ แต่มีแหล่งข่าวเปิดเผยว่าปัจจุบันอิสราเอลเริ่มให้ความสนใจแบบเรือ Meko A-100 ขนาด 2,200ตันจาก ThyssenKrupp Marine Systems เยอรมนีแทนซึ่งอิสราเอลต้องการที่จะทำการต่อเรือชั้นภายในประเทศเองด้วย โดยเหตุผลหลักก็น่าจะมาจากความล้าช้าของโครงการ LCS ของสหรัฐฯเองและราคาเรือที่สูงขึ้นเกินไปครับ

 

Israel Eyes Locally Built Warship
Drops LCS In Favor of German Design

By barbara opall-rome Published: 29 June 2009

TEL AVIV - In a radical revamp of its surface fleet modernization program, the Israel Navy has shelved long-held plans to purchase Lockheed Martin-produced Littoral Combat Ships (LCS), as well as a fallback option involving corvettes built by Northrop Grumman.

Instead, sources say, the Navy is pushing to establish a combat shipbuilding industry through customized, locally built versions of a German corvette design.

Now in an exploration phase, the concept calls for a stretched, approximately 2,200-ton version of the Meko A-100 built by ThyssenKrupp Marine Systems (TKMS), the Hamburg-based consortium building two Dolphin-class submarines for the Israel Navy. Countries that are building or now operating the 1,650-ton German-designed corvette include Malaysia and Poland.

Defense and industry sources said Navy discussions with TKMS about a possible licensed co-production deal began in January and have steadily expanded to involve Israels Ministry of Defense, Treasury, relevant lawmakers and industry executives.

Under the plan, at least two ships would be produced at Israel Shipyards in Haifa, with state-owned Israel Aerospace Industries (IAI) a likely candidate for lead systems integrator. Each ship, and anticipated options for follow-on builds, would be integrated "with the maximum amount of local capabilities specifically designed to our operational requirements," said an Israel Navy flag officer.

"One of the things we put on the table is how to vector our urgent operational needs into a project that can support local industry," the officer said. "We believe a strong case can be made for making this into a national project that fosters self-sufficiency and provides all the economic benefits that come with creating a military shipbuilding industry."

In an interview earlier this month, the senior naval officer said the revamped acquisition concept was driven by the prohibitive price tag of its preferred LCS-I (Israel) option.


(http://aagth1.exteen.com/20090630/meko-lcs)

โดยคุณ konthairakchart เมื่อวันที่ 19/02/2013 14:31:57