เรื่องของเรื่องคือว่า...ผมได้อ่านหนังสือสมรภูมิฉบับที่กล่าวถึงหน่วยต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง
และพบว่าอาวุธของ สอ.รฝ ในปัจจุบันค่อนข้างเก่า จนเกือบถึงขั้นล้าสมัย อาทิเช่น ปตอ.37 ม.ม.เป็นต้น
ผมจึงเห็นว่า สอ.รฝ ของเราน่าจะมีการปรับปรุงระบบอาวุธต่างๆได้แล้ว...ดังนี้
1.ระบบปืนใหญ่รักษาฝั่ง ซึ่งของเดิมเป็น ขนาด 130 และ 155 ม.ม. แบบลากจูงนั้น ควรจะเปลี่ยนมาใช้
ปืนใหญ่อัตตาจร อย่าง M-109 หรือ ไม่ก็ Ceasar เหมือน ทบ. เพราะผมคิดว่า หากข้าศึกมาประชิด
และเตรียมยกพลขึ้นบกที่ชายฝั่งเราแล้ว คงจะมีการระดมยิงด้วยปืนเรือ หรือ ใช้กำลังทางอากาศมากวาดล้าง
กองกำลังป้องกันชายฝั่ง....ซึ่งถ้าปืนใหญ่ลากจูงหากอยู่ในที่ตั้งแล้ว ผมมองว่าจะตกเป็นเป้านิ่งที่จะถูก
กวาดล้างได้ง่ายมาก...แต่หากเป็นปืนใหญ่อัตตาจร...เราสามารถนำไปซ่อนในที่ปลอดภัย ยากแก่การกวาดล้าง
และ นำกลับมายิงตอบโต้ได้อย่างรวดเร็ว ใช้เวลาเตรียมการยิงน้อย
อนึ่ง..พื้นที่ชายหาดบ้านเราก็กว้างโขอยู่ อาจโดนยกพลขึ้นบกจุดใดก็ได้...หากมีปืนใหญ่อัตตาจร เราจะสามารถ
เคลื่อนที่ไปยังจุดต่างๆได้อย่างคล่องตัว และ ลงมือทำการยิงได้เร็วขึ้น
2.ระบบต่อสู้อากาศยานจากที่มีเพียง ปืนโบฟอร์ท 40 ม.ม. , ปืน 37ม.ม.แท่นคู่ และ Samประทับบ่ายิงนั้น
ผมมองว่ามีประสิทธิภาพต่ำในการป้องกันภัยทางอากาศในยุคปัจจุบัน......ควรมีการจัดหาระบบอาวุธนำวิถี
พื้นสู่อากาศขนาดใหญ่....อย่างน้อยๆก็ให้มีระบบอาวุธนำวิถีสปาร์ดา เหมือนที่ ทบ.มีใช้งานอยู่ หรือ มิฉะนั้นก็จัด
ระบบอาวุธนำวิถีป้องกันภัยทางอากาศระยะไกลๆจากจีน ผมว่าก็น่าจะดี เพราะราคาไม่แพงเหมือนระบบจากตะวันตก
และประสิทธิภาพเพียงพอต่อการใช้งาน ( ซื้ออาวุธนำวิธีจากจีนผมว่าโอเคนะ..แต่ถ้าซื้อเครื่องบิน หรือ เรือรบจีน
โดยส่วนตัวผมไม่ชอบเท่าไหร่)
3.น่าจะมีระบบอาวุธนำวิถีป้องกันชายฝั่งติดตั้งบนยานยนต์เคลื่อนที่ได้ เพื่อใช้ป้องกันชายฝั่ง..ซึ่งก็เช่นเดียวกันผมว่า
ระบบพวกนี้น่าจะจัดหาได้จากจีนในราคาไม่แพง หรือ มิฉะนั้นอาจนำอาวุธนำวิถี C-801 ที่ถอดออกจากเรื่อชั้นเจียงหู
มาดัดแปลงใช้งานป้องกันฝั่งก็น่าจะได้( รู้สึกในช่วงสงครามอ่าวหนแรก..กองทัพอิรักก็มีอาวุธนำวิถีSilkworm จากจีน
สำหรับป้องกันชายฝั่งเหมือนกัน)
ทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมาเพราะผมอยากเห็น สอ.รฝ ของเรามีเขี้ยวเล็บที่น่ากลัว และ แข็งแกร่งขึ้น....เพราะที่ผ่านๆมา
หากพูดถึง ทร. เรามักจะมองไปถึงว่า อยากให้ทร.มีฟริเกตสมรรถนะสูง,อยากให้ ทร.มีเรือดำน้ำ ,อยากให้ ทร.มีฝูงบินรบ
หรือ อยากให้ นย.มีรถถัง...แต่ไม่เคยมีใครพูดถึง สอ.รฝ เลย..เหมือน สอ.รฝ เป็นหน่วยที่ถูกลืมยังไงก็ไม่รู้
ความคิดของผมพอจะเป็นไปได้หรือไม่...หรือ ปัจจุบัน ทร.มีความคิดที่จะปรับ สอ.รฝ อยู่แล้ว...อยากฟังความเห็นของ
พี่ๆน้องๆทุกๆท่านครับ...ขอบคุณครับ
จัดหนักแบบนี้ไปเลยครับ...เป็นกำลังใจให้ สอ.รฝ. มีเขี้ยวเล็บในการป้องกันชาติที่ดีๆ ครับ
แบบนี้เพื่อนบ้านเห็นก็หนาวเหมือนกัน
เห็นด้วยนะครับ แต่อย่าว่าแต่ สอ.รฝ เลย ทั้งสามเหล่าทัพมีจรวด พื้นสู่อากาศระยะกลางซักกี่ชนิด ที่เห็นๆเป็น ก็เป็นสปาด้าแต่ยังใช้งานได้อยู่รึเปล่า? อีกทั้งเคยอ่านในเวปนี้ว่าระบบอิตาลีเข้ากับระบบสหรัฐไม่ได้ ซึ่งสมควรจะซื้อระบบอื่นมาเพิ่มได้แล้ว หากระบบของสหรัฐแพง นำเสนอของรัสเซียเลย มีเพียบ ทั้ง S-300,400 ไหนจะบั๊คอีก ส่วนของจีนไม่ค่อยแน่ใจ ถ้าจะซื้อของก๊อปผมว่าซื้อของจริงเลยดีกว่า ส่วนมีบางคนมักชอบจะบอกว่า S-300 หรือ 400 หรือระบบโน่นระบบนี้นั้นแพง แต่ถ้าจรวดลูกนึงสามารถสอยSU-27,MIG-29,F-18หรือF-15ที่บุกเข้ามาในพื้นที่เราได้ซักลำ คิดว่าน่าจะคุ้มนะครับ อีกอย่างจรวดนั้น ไปเร็วกว่าเครื่องบินเยอะ เอาไปวางไว้ตามพื้นที่เสี่ยง พอลุกล้ำเเข้ามาทิ้งระเบิดทหารหรือพื้นที่เรา เรดาร์จับเป้าได้ก็กดเลย เพราะบางครั้งเครื่องบินสกัดกั้นของเราอาจมาไม่ทันถ้าทิ้งระเบิดไปแแล้วหนีกลับเข้าเขตเค้าไปเลย
ผมคิดว่า ถ้าเปลี่ยนอาวุธ ก็ควรให้ตรงประเภท เป็นอาวุธที่ใช้รักษา ป้องกันฝั่ง และ ต่อสู้อากาศยานเฉพาะ ซึ่งผมก็ไม่รู้หรอกว่า มีอาวุธอะไรบ้าง แต่ในปัจจุบัน หรือ อย่างที่ เจ้าของกระทู้ เสนอมาว่า เป็น m109 หรือซีซ่าร์ก็ตามเป็น ปืนใหญ่สนาม ตามความคิดผมนะ ถ้าได้อาวุธนำวิถี พื้นสู่พื้น เพื่อใช้ยิง เป้าหมายเคลื่อนที่ในทะเล น่าจะเหมาะสมที่สุด แต่เอาเถอะครับ ตราบใดที่ยังยิงถูกเป้าได้ ผมคิดว่า สอ.รฝ. มีศักยภาพเพียงพอ
สอรฝ. ของ ทร. ไม่ด้อยประสิทธิภาพระดับนั้นหรอกครับ หากเคยดู สอรฝ.ซ้อมรบ คุณอาจจะคิดใหม่ก็ได้ครับ
การที่ปล่อยให้ฝ่ายตรงข้ามเข้ามาถึงระดับใกล้ชายฝั่งได้นั้น แสดงว่า กองเรือฟริเกตทั้งหมด คงจะต้องจมหมดเป็นแน่ เขาถึงมีระบบป้องกันเป็นชั้น ๆ ไงครับ
แต่ในส่วนของระบบอาวธนำวิถีพื้น-สู่-อากาศ นั้น ผมเห็นด้วยที่เราควรจะมีอาวุธชนิดนี้ที่ระยะยิงไกลกว่าที่เป็นอยู่ แต่จะเป็นระบบใดนั้น ผมให้ผู้ใช้งานเป็นคนตัดสินใจเลือกครับ
ยุบหน่วยไปง่ายกว่าครับ
คุณครูบ้านนอกอย่าเพิ่งเข้าใจผิดครับ...ผมไม่ได้มองว่า สอ.รฝ ของเราด้อยประสิทธิภาพครับ...
แต่ผมมองว่าระบบอาวุธหลายๆอย่างเริ่มเก่าแล้ว...ควรมีการปรับปรุงหรือเพิ่มเติมให้มีความ
ทันสมัยมากขึ้นเพื่อสอดคล้องกับสภาพการรบในยุคปัจจุบัน
ส่วนที่คุณUUHOTOเห็นว่า M-109 เป็นปืนใหญ่สนาม มันก็จริงครับ..แต่ในทางปัจจุบัน
สอ.รฝ ก็ยังใช้ปืนใหญ่สนามอยู่ทั้ง 130 และ 155 ม.ม.
อืมห์..พอพูดถึงปืนใหญ่รักษาฝั่งแล้วผมก็นึกขึ้นมาได้ว่า หากเราเอาป้อมปืน 76 ม.ม. Otomelara
ติดตั้งบนยานยนต์เพื่อใช้งานทั้งยิงต่อสู้อากาศยาน และ ยิงป้องกันชายฝั่ง จะมีความเป็นไปได้มั้ยครับ
เอ่อ ผมยังไม่ค่อยเข้าใจบทบาทของการป้องกันแนวชายฝั่งหนะครับ
คือ ถ้าคิดแบบคนไม่มีความรู้อย่างผม ผมเข้าใจว่า การที่ข้าศึกจะรุกเข้าสู่ชายฝั่งของเราได้ น่าจะหมายความว่า กองเรือ และกองบินของเราทั้งหมด สิ้นสภาพไปแล้ว ฉะนั้น การป้องกันแนวชายฝั่งที่ดีที่สุด จึงน่าจะเป็นการทำให้ฝ่ายตรงข้าม "มาไม่ถึงชายฝั่ง" มากกว่า เพราะฉะนั้น การจัดหาอาวุธ การซื้อปืนใหญ่ที่วิ่งไปในน้ำได้ (เรือรบ) หรือ จรวดที่บินไปหาข้าศึกได้ (เครื่องบินรบ) ก็น่าจะดีกว่า ปืนหรือจรวดที่ไปไหนไม่ได้ ต้องคอยท่ารอรับข้าศึกอยู่ที่ชายฝั่งเท่านั้น หรือเปล่าครับ
แต่ถ้า เกิดเหตุการณ์ที่ข้าศึกผ่านแนวป้องกันน่านฟ้า กับ แนวป้องกันน่านน้ำ ของเรามาได้ จนมาถึงขั้นจะขึ้นบกได้แล้ว การรักษาแนวชายฝั่ง มีจำเป็นต้องมีหน่วยงานเฉพาะหรือเปล่าครับ เหตุใด กองทัพบกจึงไม่เป็นผู้ทำหน้าที่นี้ บรรดา รถถัง หรือ ปืนใหญ่ หรือกำลังทหารราบ ไม่สามารถทำหน้าที่รักษาแนวชายฝั่งได้หรือครับ
ป้องกันฝั่งสามารถกดดันข้าศึกได้พอสมควรครับ อย่างASMฐานยิงบนฝั่ง มีข้อดีที่ซ่อนพรางได้ เคลื่อนตัวได้ว่องไว(รถบรรทุก1-2คัน) ถ้าจะโจมตีเป้าหมายบนฝั่งเรือรบต้องมีระบบASMที่เป็นระบบเดินอากาศGPS/INS เพื่อต่อตีเป้าหมายบนฝั่งครับ แน่นอนว่าการซ่อนพรางบนบก ชายฝั่งสามารถป้องกันการตรวจเจอของเรดาห์ได้เช่นกัน
ส่วนถ้าเครื่องบินมาจากเรือบรรทุกเครื่องก็อย่างว่าล่ะครับมีทั้งSAMและปตอ.
การใช้ปืนใหญ่ยิงก็เช่นกัน ถึงระยะยิงไม่ไกลแต่เรือระบายพลเข้ามาใกล้ฝั่งก็โดนระดมยิง(ต้องแม่นๆหน่อย) พอสกัดเรือระบายพลได้บ้าง เคยอ่านนานแล้วว่า เราพัฒนากระสุนคัสเตอร์ใช้กับปืนใหญ่155มม. ถ้าแบบรัสเซียคือใช้ MLRSระดมยิงออกไปยังพื้นที่ๆกองเรืออยู่
สรุปมีการใช้อาวุธผสมผสานหลายๆแบบ แน่ๆว่าป้องกันกองเรือยกพลขึ้นบก
แต่พื้นๆใช้ASMซ่อนพรางชายฝั่งดีๆก็มีดีพอยิงเรือรบในระยะได้เหมือนกัน
เรือรบ - ออกปฏิบัติการในทะเล ก็ต้องกลับมาเข้าฝั่งอยู่ดี (ถ้าวันไหน มีพายุหนัก+คลื่นลมแรง ก็เอาเรือออกปฏิบัติการไม่ได้) ที่สำคัญ มันไม่ได้เข้าไปปฏิบัติการรักษาน่านน้ำอยู่ได้ตลอดเวลา
เครื่องบินรบ - ออกปฏิบัติการบินไม่กีชั่วโมง ก็ฐานบิน เพราะต้องกลับไปเติมเชื่อเพลิงหรือถ้ามีการเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ ก็เพียงแค่เพิ่มระยะเวลาปฏิบัติการได้อีกหน่อย แต่ก็ต้องบินกลับฐาน (ถ้าวันไหน มีพายุหนักเข้า+ฝนตกหนัก+ทัศนวิสัยปิด ก็เอาเครื่องบินขี้นบินไม่ได้) ไม่อาจจะที่จะรักษาน่านฟ้าได้ตลอดเวลา
ดังนั้น จึงต้องมีหน่วยนี้ขึ้นมาครับ การรบยุคสมัยใหม่ มันอยู่ยากมากขึ้นครับ อย่าคิดแต่ว่า เขาจะเข้ามาในน่านน้ำของเราหรือรุกล้ำน่านฟ้าของเราก่อน-ถึงทำการยิงโจมตี อาวุธยุคใหม่ มีระยะยิงที่ไกลมากขึ้น ยิงในเขตแดนประเทศของเขาปล่อยอาวุธในเขตแดนของเขาหรือยิงข้ามทวีปก็ได้ ดังนั้น มันจึงไม่จำเป็นต้องรุกล้ำเราเลยด้วยซ้ำ ก่อนที่เราจะรู้ตัว มันก็ทำลายเป้าหมายไปแล้ว หรือถ้าเอาเครื่องบินขึ้นสกัด-มันก็ไม่ทันกาลเสียแล้ว
อย่าคิดแต่ว่า มันจะมีแค่เพียงเรือรบหรือเครื่องบินรบ-ที่จะเข้ามาโจมตีเราสิครับ (ต้องมองดูที่จรวดมิสไซร์ด้วยครับ) ยุคนี้ เรือรบ ก็สามารถยิงจรวดมิสไซร์ได้-โดยไม่ต้องเข้ามาในน่านน้ำของเราด้วยซ้ำหรือเครื่องบินรบ ก็สามารถปล่อยจรวดมิสไซร์ได้ โดยไม่ต้องบินเข้ามาในน่านฟ้าของเราและพวกจรวดมิสไซร์ ICBM ยังยิงข้ามทวีปได้ ตั้งอยู่ในประเทศของตน แล้วยิงถล่มประเทศอื่นนี่แหละ
เพราะฉะนั้น หน่วยนี้ จึงเป็นหน่วยที่เฝ้าระวังป้องกันประเทศได้ตลอดเวลา เพราะสามารถไปตั้งฐานเป็นจุดๆ ในที่ต่างๆทั่วประเทศได้หรือถ้าเคลื่อนที่ได้ ก็จะเพิ่มขีดความสามารถได้มากขี้น
เพื่อความเข้าใจได้มากขึ้นครับ
ส่วนของจีน ถ้าจะซื้อ อย่าไปซื้ออาวุธจากแกมากเกินไปเลยครับ ควรที่จะทำมาค้าขายเท่านั้น เพราะจีน ยังมีความขัดแย้งกะเพื่อนบ้านของเรามากมาย ซื้ออาวุธของจีนมามากๆ เพื่อนบ้านเขาจะมองเรายังไง ซื้อเจ้าอื่นดีกว่า ของจีน-ทำมาค้าขายด้วย ก็พอมั้งครับ อาวุธก็พอประมาณ-ไม่ต้องเยอะ
เห็นควรครับ
คิดว่า ทร. คงคิดไว้บางส่วน แต่ติดขัดที่งบประมาณเพราะขนาดกองเรือด้วยงบปัจุบันยังไม่เพียงพอเลยครับ
อย่าง นย. หรือ สอ.รฝ. เป็นอันดับท้ายๆ แน่นอนในการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์
ผมว่า สอ.รฝ. มีหน้าที่ ในการป้องกัน ฐานทัพเรือ และต่อต้านหการยกพลขึ้นบกครับ
หน่วยไหนที่มีอยู่แล้ว ก็ช่วยให้พัฒนากันไปตามความเหมาะสม และ งบประมาณ อย่าไปคิดสั้นๆ ตื้นๆ ไม่สร้างสรรค์ ว่า "ยุบหน่วยไปง่ายกว่า"
อีกอย่าง เราต้องคิดว่า ชายฝั่งไทยตั้งกี่โล เกาะแก่งอีก สมมุติว่าข้าศึก จะยกพลขึ้นบกบ้านเรา เราจะชัวร์ได้ไง ว่าจะยกพลที่ไหนแน่ ตัวอย่างของการแสดงลวง ในสงครามโลกก็มีให้เห็น ทำให้การสกัดกั้นด้วยเรือ หรืออากาศยาน ลำบากขึ้น การมีหน่วยป้องกันฝั่ง จึงน่าจะเป็นสิ่งสำคัญ ในการป้องกันพื้นที่ล่อแหลมได้ยิ่งขึ้น (ทั้งนี้ คือความเห็นส่วนตัวครับ)
ก็ได้ยินมาว่ากำลังทำเรื่องจัดหาระบบอาวุธนำวิถีพื้นสู่พื้นมาเสริมปืนใหญ่อยู่นี่ครับ ส่วนระบบอาวุธนำวิถีต่อต้านอากาศยานก็แว่วมาว่ากำลังสนใจจัดหาเหมือนกันครับ ใจเย็นๆก่อน พื้นสู่พื้นสงสัยเป็น C-802 มั๊ง เดาเอานะ เพราะงบทร.ค่อนข้างจำกัดครับ ถ้าไม่แป๊กเพราะต้องรวบรมเงินทั้งหมดไปจัดหาเรือดำน้ำเสียก่อนนะครับ
ผมเห็นด้วยว่าหน่วยนี้จะถูกใช้งานก็ต่อเมื่อกองเรือฟรีเกต ถูกข้าศึกเล่นจนหมด หรือเครื่องบิรรบข้าศึกอาจจะดอดฝ่าระบบป้องกันเข้ามาทิ้งระเบิดได้แม้ว่ากองเรือฟรีเกตยังไม่เป็นอะไรก็ตามที จริงๆทร.ก็ควรมีระบบจรวดและปืนต่อต้านอากาศยานประจำฐานทัพเรือสัตหีบที่ดีกว่านี้ แต่งบยังฝืดอยู่ครับ ใจเย็นๆ
เดี๋ยวปีหน้าดู % งบประมาณของทร.เมื่อเทียบกับงบกลาโหมรวมและเทียบกับงบของทบ.ดูครับว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ จะได้เดาได้ว่า สอ.รฝ. ฝูงบิน Harrier 2+ super tucano จะมีโอกาสได้เกิดหรือเปล่าครับ
ถ้าจำไม่ผิด งบปีที่ผ่านมาจะเป็น 88,000 ล้านสำหรับทบ. 35,000 ล้านสำหรับทร.และทอ. ถ้าพ้น 45,000 ล้าน โดยทบ.ยังอยู่แถวๆ 88,000 - 90,000 ล้านในงบปีถัดปี ก้น่าลุ้นนะครับ
เห็นควรอย่างยิ่งครับ สอ.รฝ นอกจากจะรักษาฝั่งแล้วยังต้องคอยสนับสนุนหน่วยเรือทางทะเลด้วยทะเลและชายฝั่งนั้นกว้างมากหากโดนข้าศึดเล็ดนอดเข้ามาได้จะทำให้กองเรือต้องห่วงหน้าพะวงหลังหากมีกองหลังดีกองหน้าก็จะทำหน้าที่ได้เต็มที่ ใจผมอยากได้ บรามอสกับs300มาก็หลับฝันดีทั่วหน้าละครับ^^
สอ.รฝ.
นอกจากจะมีระบบอาวุธป้องกันฝั่งแล้ว...ยังต้องมีระบบตรวจจับ ด้วยครับ...
ตามหลักที่ ทร. วางไว้...สอ.รฝ. ควรจะเห็นข้าศึก หรือ ตรวจจับ ข้าศึก ได้ก่อน...หรือ ได้เท่าสถานะการณ์จริง...
และตามบันทึกแผนพัฒนา 10 ปี กองทัพเรือ ก็มีแผนจัดหา ระบบอาวุนำวิถี พื้น สู่ อากาศแบบเคลื่อนที่ ไว้ด้วยครับ...
เอาของเก่าที่เคยทำไว้ใช้ก่อนครับ...
ตามบันทึกที่ 10
ในส่วนอาวุธนำวิถีพื้นสู่พื้นผมอยากให้เป็น RBS15 แต่ถ้าเป็นพื้นสู่อากาศผมอยากจะให้โอนระบบสปาดาของ ทบ. มาให้ ทร. เพราะ ทร. มัใช้อยู่แล้วในเรือชั้นรัตนโกสินตร์ โดยอาจมาปรับปรุงให้ทันสมัยขึ้นซึ่งจะทำให้ประหยัดงบประมาณได้มาก ส่วน ทบ. ก็จัดหาระบบใหม่ที่เหมาะสมกับ ทบ. มากกว่าระบบสปาดา ครับ
อยากให้จัดหาตัวนี้มาครับ
ผมเห็นด้วยครับ ไม่ใช่แค่อาวุธของ สอรฝ. เท่านั้น แต่ควรจะรวมถึงของ นย. ด้วยนะครับ
ที่ว่าได้รับทราโว่ แทน Norinco CQ ตามที่บอกไว้ในภาพของคุณJuldasเนี่ย
หมายความว่าเราจะปลดประจำการ หรือ เลิกใช้งาน CQ แล้วเหรอครับ
หรือ ว่าโอนไปให้หน่วยอื่นใช้งาน
เพราะผมรู้สึกว่ามันเพิ่งเข้าประจำการไม่นานเท่าไหร่...
ว่าแต่ CQเนี่ย...จำได้เคยอ่านในหนังสือสมรภูมิเค้าบอกไว้ว่าปรากฎตัวในไทยครั้งแรก
ตอนรับมอบเรือฟริเกตชุดเจ้าพระยา
แต่ไม่ทราบว่าเป็นปืนที่แถมมาให้พร้อมกับเรือชุดเจ้าพระยา หรือ ว่าทางเราสั่งซื้อ
มาใช้งานโดยตรงครับ
เรื่องปืนประจำกาย นี่...ผมก็ไม่ค่อยรู้เรื่องหรอกครับ...
คงเป็นการ เปลี่ยนแบบ ให้เป็น มาตรฐาน เดียวกัน...เท่าที่อ่านดู...เหมือนกับ ปัจจุบัน สอ.รฝ. ก็เหมือนกับเป็น หน่วยเคลื่อนที่เร็ว...ซึ่งคงช่วยเสริมในเรื่องความคล่องตัว...เหมือน ทหารม้า ของ ทบ. มั๊งครับ...
ที่ต้องไปให้ทันต่อสถานการณ์ ในบริเวณตลอดแนวชายฝั่งทะเล...
ซึ่งในอนาคต ตามในบทความ...สอ.รฝ. จะให้เป็นหน่วยปกติ ประจำใน กองทัพภาคเรือต่าง ๆ แทน...
สอ.รฝได้รับ Tavor มาประจำการแทนแล้วครับ แต่มาแบบงงๆ คือนย.ได้รับแจกจ่ายมาแต่ไม่เอาทางทร.ก็เลยโยนมาให้