|
|
.
ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- เว็บไซต์ข่าวกลาโหมชั้นนำของโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศเพื่อนบ้านย่านเอเชียต่างจับตาข่าวสำคัญข่าวหนึ่งที่รายงานโดยเว็บไซต์ "เจนส์" (Janes Defence) แหล่งข่าวกลาโหมและความมั่นคงที่เชื่อถือได้มากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งหลายฝ่ายกล่าวว่าถ้าหากเป็นจริงก็จะเป็นรูปธรรมสำคัญของนโยบายคืนสู่เอเชียของสหรัฐฯ
บริษัทล็อกฮีดมาร์ติน (Lockheed Martin) ผู้ผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์แลเทคโนโลยีแห่งสหรัฐฯ ซึ่งรวมทั้งเครื่องบินรบยุคที่ 5 แบบ เอฟ-15 "ไล้ท์นิ่ง" พิจารณาเสนอขายเรือโจมตีชายฝั่ง หรือ LCS (Littoral Combat Ship) ชั้นฟรีดอม (Freedom-Class) ให้แก่ราชนาวีไทย
เจนส์รายงานเรื่องนี้สัปดาห์ปลายเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา อ้างการยืนยันของนายดัก ลอเรนโด (Doug Laurendeau) ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจระบบเรือและอากาศยานของล็อคฮีดมาร์ติน ซึ่งกล่าวว่า เป็นอีกโอกาสหนึ่งของบริษัทในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การเสนอขายเรือรบที่ล้ำหน้ารุ่นนี้เป็นการตอบสนองคำเชื้อเชิญของไทย เพื่อเข้าร่วมเสนอในการจัดซื้อจัดหาเรือฟริเกตใหม่จำนวน 2 ลำ ซึ่งได้รับการจัดสรรเงินงบประมาณจัดซื้อจากรัฐบาลไทยตั้งแต่เดือน ก.ย.2555 รวมเกือบ 1,000 ล้านดอลลาร์
การซื้ออาวุธเทคโนโลยีสูงจากสหรัฐฯ ไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นได้กับทุกประเทศ แม้จะเป็นชาติร่ำรวยมาหาศาลก็จะไม่มีโอกาสเช่นนี้ ถ้าหากไม่สอดคล้องกับนโยบายของสหรัฐฯ ซึ่งสงวนสิทธิ์นี้ไว้ให้แก่ประเทศพันธมิตรนอกค่ายนาโต้ที่มีอยู่เพียง 15 ประเทศและราชอาณาจักรไทยรวมอยู่ในนั้น
ล็อคฮีดมาร์ตินเองก็ไม่สามารถที่จะขายอาวุธยุทโธปกรณ์ให้แก่ใครๆ ได้โดยลำพัง หากไม่ได้รับไฟเขียวจากรัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งนักวิเคราะห์กลาโหมในภูมิภาคนี้หลายคนมองว่า นับเป็นโอกาสดีที่สุดของไทยที่จะมีเรือรบรุ่นล่าสุด ทันสมัยที่สุดของสหรัฐฯ ไว้ใช้
และถ้าหากเป็นเช่นนั้นจริงไทยก็จะเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเป็นประเทศแรกๆ ในบรรดาชาติพันธมิตรนอกกลุ่มนาโต้ที่จะมีเรือ LCS ประจำการในกองทัพเรือ
“ล็อคฮีดมาร์ตินดูพร้อมจะเข้าแข่งขัน เพื่อสนองความต้องการเรือฟริเกตกับทั้งเกาหลีและเยอรมนี” เจนส์กล่าว และไม่ได้ให้รายละเอียดอื่นใดอีก
เป็นที่ทราบกันดีว่าคู่แข่งสำคัญของเรือสหรัฐฯ ที่อยู่ในสายตาของกองทัพเรือไทยคือ เรือ DW3000H ที่ออกแบบโดยแดวูต่อเรือและวิศวกรรมทางทะเล (Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering -DSME) กับเรือตระกูลเมโก (MEKO) ที่พัฒนาโดยกลุ่มธีสเซนครุปมารีนซีสเต็มส์ (ThyssenKrupp Marine Systems) แห่งเยอรมนี ถึงแม้ผู้สังเกตการณ์บางรายจะเคยลงความเห็นว่า สเป็กที่กองทัพเรือไทยกำหนดออกมา เป็นการเข้าข้างเรือรบจากเกาหลีอย่างออกนอกหน้าก็ตาม
แต่หมากต่อรองของกองทัพเรือไทยมีมากว่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจีนกระโดดเข้าร่วมวงโดยเสนอเรือ “แบบ 054” (Type 054) พร้อมติดจรวดนำวิถีให้พิจารณาอีกราย เจนส์รายงานเรื่องนี้ แต่ก็ระบุว่าผู้บัญชาการทหารเรือของไทย ประสงค์จะซื้อเรือที่ผลิตโดยสหรัฐฯ ยุโรปหรือเกาหลีมากกว่าด้วยงบประมาณที่ไม่เกิน 1,000 ล้านดอลลาร์
เรือจีนอาจจะราคาถูกกว่าเรือที่ต่อโดยโลกตะวันตกถึง 4 เท่า แต่คุณภาพเป็นทีน่าสงสัย และกองทัพเรือไทยเคยมีประสบการณ์ตรงมาแล้วเมื่อครั้งให้จีนต่อเรือหลวงชุดนเรศวร-ตากสิน ซึ่งต้องรื้อใหม่ทั้งหมดหลังการส่งมอบ นอกจากนั้นไทยก็ยังไม่คุ้นกับระบบอาวุธนาวีของจีนโดยสิ้นเชิง
http://www.manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9560000014657
เวป Janes Defence จะเชื่อได้หรอขนาด F-15 ยังหลอกเราเลยว่าเป็นเครื่องบินยุคที่5 แถมมี ไลท์นิ่งอีก งง เลย
ไม่รู้ใครผิดกันแน่ เจนดีเฟน หรือ ผู้จัดการ อิอิ
เราต้องฟังหูไว้หู ถ้าได้ลำนี้มาคงดีกว่าเรือจีนแน่ อิอิ
http://defense-studies.blogspot.com/search/label/THAILAND
โอ้ย แปลผืดๆ ถูกๆ
Lockheed Martin มีแผนการขายเพื่อการ ส่งออก อยู่ครับ...
ผมว่า น่าจะเป็นเรื่องการ ค้าขาย ปกติ ครับ...
แต่ในเรื่องระบบอาวุธ...แม้ว่า ทร.จะจัดหาเรือจากประเทศอื่น ๆ...แต่ก็คงต้องผ่าน โปรแกรม FMS ของ สหรัฐ เพื่อขออนุมัติ จัดหา ในราคาถูกครับ...มันก็จะถูกเข้าเงื่อนไข ไปโดยทางอ้อม ครับ...ในแง่ การได้รับสนับสนุนจาก สหรัฐ...
โครงการ ส่งออกของ Lockheed Martin สำหรับแบบเรือเหมือน LCS ครับ...แต่คงไม่ใช่ แบบเดียวกับ LCS ของ สหรัฐ...คงจะเหมือนเพียงแค่ ต้วเรือ เท่านั้น ครับ...
Posted by Bill Sweetman 5:58 PM on Oct 28, 2008
Lockheed Martin is contemplating big changes to its Littoral Combat Ship design to appeal to export customers, as the first LCS – USS Freedom – gets ready for its commissioning in Milwaukee on November 8. A model of a modified ship is on show at Euronaval.
The leading export prospect for the LCS, Israel, is already planning such changes. If Israel follows through with its plans, its LCS ships will be heavily armed with the Barak 8 anti-air warfare system and land-attack missiles. A Lockheed Martin team is in Israel this week to settle details of the Israeli configuration, in preparation for a contract negotiation.
Other export customers could also ask for changes. The US Navy’s idea of switching LCS from one mission to another at dockside, by changing mission modules, does not fit with export customers’ smaller fleets. However, they are looking at an open-architecture mission system and mission-related equipment modules as a way to adapt and update the ship through its service life.
Export ships could also be more heavily armed. Lockheed Martin is looking at trading some hangar space for vertical-launch missile tubes, and at installing a scaled-down version of the Aegis combat system and its radar – the smaller radar is identified as the SPY-1F(V). The ship is even large enough to launch Raytheon’s Standard Missile. The company is also talking to Oto Melara about installing the 76 mm Super Rapid gun.
Propulsion could also see changes. Not all export customers need the full 40-knot-plus speed of LCS, and would trade that for range by installing smaller engines, more efficient at low speeds.
Meanwhile, Freedom will sail out of the Great Lakes before the winter freeze and move to Norfolk for open-sea trials, weapons testing and helicopter landing demonstrations. The ship will stay in Norfolk until May 2009, and then join the rival LCS – General Dynamics’ triple-hulled USS Independence – at Panama City, Florida, for integration of mission modules. Both ships will go next to San Diego for operational testing – allowing the Navy to decide whether to continue the LCS program, with either or both designs.
แบบส่งออก จะมี 3 ขนาด ให้เลือก ครับ...
ซึ่งผมว่า ในขนาด 118 เมตร น่าจะเป็นแบบที่ พอจะอยู่ในวงเงินงบประมาณได้
ขอประทานโทษครับ ขออะไรหน่อย จะกราบก็ได้ ขอย่าลงข่าวที่มาจากแหล่งข่าวที่เป็นสื่(เสี้ยม)มวลชน ที่มักจะนำเสนอข่าวเชิงชี้นำและมักจะสอดแทรกความคิดเห็นส่วนตัวลงในข่าวมากกว่าเสนอข่าวที่ถูกต้อง เพราะTFCเป็นแล่งรวม แลกเปลี่ยนข่าวสาร ข้อมูลเทคโนโลยีทางทหารโดยผู้ทรงความรู้ เพื่อให้กับผู้ที่สนใจได้เรียนรู้และศึกษา ไม่ใช่ที่ลง โฆษณาแหล่งข่าว ครับ
ชออภัยถ้าความคิดเห็นของผมไม่เหมาะสม Adminลบได้ครับ
น่าจะเป็น บทความ ที่แปลมา น่ะครับ ท่าน RAF...
ถ้าจะประเมิน ระวางเรือ คร่าว ๆ น่าจะได้ ประมาณ นี้ ครับ
ขนาดเรือ 150 เมตร x 28 = 4,200 ตัน
ขนาดเรือ 118 เมตร x 28 = 3,300 ตัน
ขนาดเรือ 85 เมตร x 28 = 2,380 ตัน
ถ้าจะมองสเปคเรือ เมื่อตีมูลค่าจัดหา ต่อ ตัน จากมูลค่าโครงการ สูงสุดที่ 500 ล้านเหรียญ ต่อ ลำ
ขนาดเรือ 150 เมตร จะได้สเปคเรือ มูลค่า ตันละ 119,000 เหรียญ ต่อ ตัน
ขนาดเรือ 118 เมตร จะได้สเปคเรือ มูลค่า ตันละ 151,500 เหรียญ ต่อ ตัน
ขนาดเรือ 85 เมตร จะได้สเปคเรือ มูลค่า ตันละ 210,000 เหรียญ ต่อ ตัน
ราคาแบบเรือ 118 เมตร (มิติเดียวกับ LCS ของ สหรัฐ)...น่าจะประมาณ 450 ล้านเหรียญ...ตามข้อมูล ของ อิสราเอล ที่เคยจะจัดหา...
ผมสงสัยตรงส่วน
ขนาดเรือ 118 เมตร x 28 = 3,300 ตัน
ถ้าเราจัดหาจริงตามแบบ เราจะได้ จำนวน 2 ลำหรอครับพร้อมอาวุธจากเขาเลยระบบต่างๆ จากเขาใช่ไหมแล้วผมสงสัยตรงส่วนแบบเรือที่ปรับปรุง จุดเด่นของเรือชุดนี้ คือแลมป์ หลังเรือที่ สามารถปล่อยเรือยางออกมาได้ ถือว่าตรงนี้หน้าสนใจมากๆๆ ไม่ทราบว่า ขนาด 118 เมตรเนี่ยยังคง แลมป์ ตัวนี้อยู่ไหมครับใจจริงผมอยากได้เรือชุดนี้มากเพราะว่า อ่อนตัวทุกการทำงาน แต่ขาดอยู่อย่างเดียว แบบเรือที่ขนาดแค่ 3300 ตันเอง แต่ไทยเราต้องการ 4000 ตัน หน้าเสียดายตรงนี้มากๆๆ
ขนาดเรือ 118 ม. จะเป็น มิติเรือ เดียวกับ LCS ของ สหรัฐ ครับ...
เรื่อง แรมท้ายเรือ น่าจะเหมือนกันครับ...
ส่วน สเปค อาวุธ...ผมว่า น่าจะมีเกือบทั้งหมด...ยกเว้น RAM...ที่ไม่แน่ใจ...อาจจะไม่มี...
เพราะ MK-41 ก็เป็นของ Lockheed Martin อยู่แล้ว...และ แบบเรือของเป็นของ บริษัทฯ เจ้าเดียวกัน...
และ บริษัทฯ ก็ลด เทคโนโลยี่ ในเรื่องการ เชื่อมโยงทำงานแบบ Module Missile ตาม LCS ของ สหรัฐ ออกไป...
ผมว่า ก็น่าจะได้ในวงเงินงบประมาณ นะครับ...
ส่วนระวางเรือ 3,300 ตัน ผมว่า ไม่ได้เป็นปัญหานะครับ...
เพราะ ทร. ก็กำหนดโครงการไว้ ระหว่าง 2,000 - 4,000 ตัน ครับ...
๑. ความเป็นมา
จัดหาเรือฟริเกต จำนวน ๒ ลำ ที่มีคุณลักษณะเดียวกัน โดยสามารถปฏิบัติการรบได้ ๓ มิติ คือ ต่อต้านภัยจากเรือดำน้ำ ต่อต้านภัยผิวน้ำ และต่อต้านภัยทางอากาศ จึงต้องมีขีดความสามารถ ๕ ด้าน ได้แก่ ปราบเรือดำน้ำ รบผิวน้ำและโจมตีฝั่ง ป้องกันภัยทางอากาศ สงครามอิเล็กทรอนิกส์ และสงครามศูนย์เครือข่าย โดยจะต้องมีขีดความสามารถโดยรวมไม่ต่ำกว่าเรือฟริเกตของ ทร. ในปัจจุบัน ความเร็วไม่ต่ำกว่า ๒๕ นอต และมีระวางขับน้ำระหว่าง ๒,๐๐๐ - ๔,๐๐๐ ตัน โดยมีภารกิจในยามสงคราม กิจหลัก ป้องกันอธิปไตยเหนืออาณาเขตทางทะเลของไทย กิจรอง คุ้มกันกระบวนเรือลำเลียง ภารกิจในยามสงบ รักษาความมั่นคงและความปลอดภัยของเส้นทางคมนาคมทางทะเล พิทักษ์รักษาสิทธิอธิปไตยทางทะเล ค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ และรักษากฎหมายตามกฎหมายให้อำนาจทหารเรือ
ไม่ค่อยมีความรู้เรื่องเรือนะครับ แต่เรือมะกันลำนี้ขอเชียร์ครับ แต่ไม่รู้ว่าจะได้ครบๆเต็มๆหรือป่าวพวกระบบต่างๆนั้น
ปล.จากภาพ ป้อมปืนเรือลำกลางแปลกกว่าอีกสองลำนะครับ แล้วก็ถ้าใช้โรงเก็บแบบลำใหญ่จะเป็นไปได้มั๊ยครับ
เรือโจมตีชายฝั่ง โอ้วอยากได้ เมโก้หรือเกาหลีหลบไปเลย เรือจีนเรือสิงค์โปร์ก็ไม่สน เปลี่ยนจากแรมเป้นฟาลังซ์ก็ได้ไม่เกี่ยง เป็นเรือลำแรกที่ชอบแบบรักแรกพบเลย
ไม่เอาปริมาณก็ขอเน้นคุณภาพหละครับ
ดูจากคลิป กับ ภาพนำเสนอ ทั้ง3 ลำ ตัวจริงในคลิปต่างกัน จากป้อมปืนหน้าเรือจะติดกับตัวสะพานเดินเรือ หรือว่า เป็นตัวต้นแบบ โชว์ทักษะความปราดเปรียวกายเบาๆ ถ้าจะorder ก็ตามสั่ง ทั้ง3แบบบริษัทคงคิดการณ์ครบแล้วที่เสนอทางเลือกให้ผู้ใช้
อเมริกาบ้าพลังที เสนอแบบ150เมตร แบบ2ลำ 1000 ล้านเหรียญ อาวุธครบพร้อมรบเลย ฝันๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
<iframe width="420" height="315" src="http://www.youtube.com/embed/o-KnCF4oZuI" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>
พาทัวร์บนเรือ LCS Freedom สุดยอดอุปกรณ์ล้ำหน้าจริงๆๆ ชอบ ตัวนี้ที่สุดขอให้ได้ขอให้โดน ทีเถอะ
อยากดูดีลเต็มๆจังว่าได้อะไรบ้าง แล้วพร้อมจะให้เราแกะ แงะ โมได้ในระดับใหน
ถ้าเป็น LCS2 อาจจะเข้าวินง่ายกว่าหรือเปล่า
เพราะใช้อุปกรณ์หลายๆตัวที่ไทยใช้อยู่ เช่นเครื่องยนต์ GE LM2500 เรดาห์ SAAB Sea Giraffe 3D จะได้สดวกในการซ่อมบำรุงและอะไหล่
[img]http://image.free.in.th/z/iv/300pxuss_independence_lcs2_at_pierce_cropped.jpg[/img]
ดูล้ำดีมาก แต่ยังไงก็อยากได้เรือดำน้ำก่อนนะครับ