Power Plant of H.T.M.S.Krabi — ที่ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช |
25 ม.ค.56 ต้นเรือ ร.ล.กระบี่ บรรยายการใช้งานระบบอำนวยการรบให้กับกำลังพล ภาพถ่ายและรายละเอียดจาก H.T.M.S.Krabi
|
http://thaidefense-news.blogspot.com/2013/02/1-2556.html
เป็นผลงานที่น่าภูมิใจครับ...
จากรูปที่2 ใบจักร เหมือนมันจะยังไม่เชื่อมแข็งเลย ถ้าเป็นภาษาช่างแถบอิสานเรียกแต้ม แถบภาคกลางก็เชื่อมแต๊ก
แต่ทำไมลองใส่ใบจักรเร็วจังทั้งๆที่ยังเชื่อมไม่เสร็จหรือผมตาไม่ดี
ผมว่ามันน่าจะยึดด้วยน๊อตหรือหมุด นะครับ จากที่ผมเห็น
สีท้องเรือหรือเปล่าครับ ดูอาการนายแบบแล้วน่าจะเรียบร้อยแล้ว
ผมว่าน่าจะเสร็จสมบูรณ์ดีแล้วนะครับตรงที่เห็นนั้นคงจะเป็นการยึดด้วยสลักเกลียว และดูคล้ายกับว่าใบจักรสามารถปรับมุมได้ด้วยครับ
ใบจักรเรือรบขนาดใหญ่(รวมทั้งขนาดเล็กหลายลำ)ของ ทร.เป็นใบจักรแบบปรับ Pitch(มุม) ได้มา30 กว่าปีแล้วครับ ไม่ใช่ใบจักรหล่อ ไม่ได้เชื่อม
สีตัวเรือใต้แนวน้ำ เป็นสีกันเพรียง ซึ่งใช้สีนี้แหละครับ
อยากทราบว่า ทีมงานช่างในรูป เป็น หร. หรือเปล่าครับ
ถ้าใช่ ก็ อยากทราบต่อว่า องค์ความรู้ที่ทีมช่างเราได้มา มันจะส่งต่อ
ไปยังช่างรุ่นต่อๆไปได้ยังไง .. เพราะเท่าที่ทราบ การบรรจุทหารช่าง
แต่ละปีมันน้อยมาก .. ไม่ใช่อะไร ผมกลัวองค์ความรู้มันจะหายไป
ปล. การเรียนรู้จาก วิศวกร มันได้ความรู้แค่ในตำรา แต่ ถ้าได้เรียนรู้
จากคนที่เคยต่อเรือจริงๆ เทคนิคบางอย่าง มันนอกเหนือตำรา
ดังนั้น เด็กรุ่นใหม่ๆ ถ้าได้เรียนรู้จากคนที่เคยต่อเรือจริงๆ สามารถ
เอาไปต่อยอดองค์ความรู้ได้
จากในรูป กำลังพลเป็น ทร. ครับ เรื่ององค์ความรู้ คงไม่มีปัญหาเรื่องการถ่ายทอด แต่หากมีการสนับสนุน ที่จริงจังจากรัฐแล้ว ต่อไป เราคงต่อเรือขายต่างประเทศได้บ้าง