1. บ้านเราพอที่จะมีหวังประจำการ F - 14 บ้างหรือเปล่าครับ
2. ผมสงสัยว่า F-14 กับ F-15 นี้เป็นตัวเดียวกันหรือไม่ครับ เพราะรูปร่างเหมือนกันมากแต่F-14 พับปีกได้
(ความคิดเห็นส่วนตัว)คิดว่า คงยากอ่ะครับ ที่ประเทศไทยของเรา จะประจำการ f14 tomcat แต่ก็มีหนทางที่อาจเป็นไปได้ ทางเดียว คือ ไอ้กัน มันยกให้เราฟรีๆ เราก็อาจจะได้ f14 tomcat มาประจำการแทน f5 ทางภาคใต้ ดูแลผลประโยชน์ทางทะเล ส่วนหนทางจัดหาเครื่องหนทางอื่น เป็นไปไม่ได้เลยยย
F14 ปลดประจำการ จอดแยกร่างอยู่กลางทะเลทหราย โดยที่ยังสามารถใช้ได้ ก็เยอะ
แต่มะกันหวง ทอมแคทมาก เพราะว่ากลัวที่สุดคือ กลัวอิหร่าน จะเอาอะหลั่ยไปประกอบเครื่องตัวเอง
อันที่จริงก็เพราะเหตุผลนี้แหละ เลยต้อง ปลดประจำการทั้งหมดไป ถ้าจะมีกรณีชุบชีวิตแบบ ADF ก็คงจะยาก
ส่วน 2 รุ่นนี้ ออกแบบภายไต้หลักนิยมเดียวกัน คือเป็นเครื่องบินครองอากาศ พิศัยไกล
หน้าตามันก็เลยคล้ายๆกัน แต่ว่า โครงสร้างและเครื่องยน คนละอย่างกันครับ
มันเคยเป็นเครื่องบินที่ดีมากลำนึงครับที่ประจำการในกองทัพเรือสหรัฐ แต่มันเก่ามากแล้วครับ ถึงแม้เทคโนโลยีอาจจะทันสมัยกว่าF-5ผมก็ไม่แน่ใจ เพราะมันก็ช่วงสงครามเวียดนามเหมือนกัน มันจะเหมือนเราถอยหลังลงคลองรึเปล่า นอกจากอเมริกันก็เห็นมีปากีสถานที่มีเครื่องรุ่นนี้ แต่ก็โดนตัดการส่งบำรุงจากอเมริกันไปนานแล้วไม่แน่ใจอีกว่ายังบินได้อยู่หรือไม่
เรื่องหวังจะให้บ้านเรามีนั้น ไม่มีหวังครับ ต่อให้ยกให้เราฝูงนึงก็ไม่แน่ใจว่าเราจะเอามั๊ย อย่างที่บอกว่ามันเก่าแล้ว แม้มันจะเป็นเครื่องที่ดีมากในยุคของมัน
แล้วก็มันคนละบริษัทิกับF-15เลยครับ ต่างกันอย่างสิ้นเชิง ลองเปรียบเทียบภาพดูใหม่นะครับ F15สร้างมาหลังF-14 ประจำการในกองทัพอากาศ มีรุ่นA/B/C/D (2ที่นั่งและที่นั่งเดี่ยว)และE(2ที่นั่ง) ส่วนF-14นั้นออกแบบมาให้ใช้บนเรือบรรทุกเครื่องบิน กองทัพเรือ มี2ที่นั่งครับ จำไม่ได้ว่ามีรุ่นอะไรบ้าง รอท่านที่มีข้อมูลมากกว่านี้มาอธิบายละกันครับ
แก้ไขครับ อิหร่านครับที่มีอยู่****
แต่ถ้าหากพี่กันให้มาซัก 2 ฝูง บวกกับเครื่องที่เผื่อไว้ซ่อมกินตัวก็คงพอรับได้นะครับ สำหรับ ทร. เผื่อไว้สำหรับ ซ้อม นักบินของทร.เองก็น่าสนใจไม่เบาดีกว่าแยกชิ้นส่วน
ถ้าหากเห็นเราเป็นพันธมิตรนอกนาโต้จริงแต่ต้องเป็นการให้แบบไม่มีเงื่อนไข
ขออภัยครับใช้คำกำกวม ซ้อม ณ ที่นี้คือฝึกนักบินเครื่องบินขับไล่ของทร.เองครับ
เป็นไปได้ยากครับตามเหตุผลต่างๆที่เพื่อนสมาชิกบอกไว้ แต่หรับตัวเครื่องมันก็ไม่น่าสนใจซะแล้วครับในยุคปัจจุบันระบบต่างๆได้รับการปรับปรุงจริง
แต่ข้อเสียด้านการบำรุงรักษาและค่าใช้จ่ายในการบินคงจะสูงมาก ซึ่งไม่เหมาะกับประเทศเรา จริงๆแล้วเครื่องบินเก่าของเมกาที่ปลดประจำการ
จอดรักษาสภาพที่กลางทะเลทรายในแอริโซน่าน่ะมีเยอะมากๆ ฝูง ADF เราก็น่าจะไปขุดมาจากที่นี่แหละ แต่อย่างว่าหลายแบบไม่เหมาะกับเรา
จริงๆน่าจะถามถึง F-15 เวอร์ชั่นต่างๆมากกว่านะครับฮ่าๆๆ แต่ถึงเอกาเสนอ F-14 แข่งกับ F-16 Block50/52 ผมว่้า สู้ F-16 ไม่ได้หรอกครับ ทอ. คงไม่สนใจด้วยซ้ำไป
ถ้าF-14แข่งกับF-15 ผมว่านะ ทอ.คงจะเลือก F-15 มากกว่า F-14 (ผมคิดว่าอย่างงั้นนะ)
F-14 รู้สึกว่าจะได้ข่าวมาว่าหลังปลดประจำการ แล้วอเมริกา ได้สั่งทำลายไปด้วยหรือเปล่า
Pentagon Destroying Old F-14s to Keep Them Out of Enemy Hands
A mechanical monster grabs the F-14 fighter jet and chews through one wing and then another, ripping off the Tomcat0.s appendages before moving onto its guts. Finally, all thats left is a pile of shredded rubble — like the scraps from a Thanksgiving turkey. The Pentagon is paying a contractor at least $900,000 to destroy old F-14s, a jet affectionately nicknamed "the turkey," rather than sell the spares at the risk of their falling into the wrong hands, including Irans. Within a workday, a $38 million fighter jet that once soared as a showpiece of U.S. airpower can be destroyed at the Davis-Monthan Air Force Base in Tucson, Ariz., the militarys "boneyard" for retired aircraft. "There were things getting to the bad guys, so to speak," said Tim Shocklee, founder and executive vice president of TRI-Rinse Inc. in St. Louis. "And one of the ways to make sure that no one will ever use an F-14 again is to cut them into little 2-by-2-foot bits." The Defense Department had intended to destroy spare parts unique to the F-14 but sell thousands of others that could be used on other aircraft. It suspended sales of all Tomcat parts after The Associated Press reported in January that buyers for Iran, China and other countries had exploited gaps in surplus-sale security to acquire sensitive U.S. military gear, including F-14 parts. Among other tactics, middlemen for the countries misrepresented themselves to gain access to the Defense Departments surplus sales or bought sensitive surplus from U.S. companies that had acquired it from Pentagon auctions and weren supposed to allow its export. Investigators also found some sensitive items accidentally slipping into surplus auctions rather than being destroyed as they were supposed to be. In an unusual move when dealing with retired aircraft, the Pentagon is trying to shut off all avenues for Irans parts purchasers by demolishing the F-14s, then combing through the scraps to make sure nothing useful remains. Iran is the only country trying to keep Tomcats airworthy. The United States let Iran buy the F-14s in the 1970s when it was an ally, long before President Bush named it part of an "axis of evil." Shocklees company won a three-year, $3.7 million contract to render surplus equipment useless for military purposes. The work includes the recent demolition of 23 Tomcats in Arizona, accounting for about $900,000 of TRI-Rinses contract. The military is considering using the same process on its other F-14s. The company has developed portable shredding machinery so the Pentagon can have sensitive items destroyed on a base instead of shipping them long distances to be shredded. The Tomcat was a strike fighter with a striking price tag: roughly $38 million. By the 1980s it was a movie star with a leading role in the Tom Cruise classic "Top Gun." But as the planes are mangled into unrecognizable metal chunks, the jets with a 38-foot wingspan appear small and vulnerable. The shearing machine, which uses pincers to rip apart the planes, weighs 100,000 pounds. The shredder is 120,000 pounds. An F-14 weighs about 40,000 pounds. Among the shredded victims in Arizona: a plane flown by the "Tophatters" squadron, which led the first airstrike in Afghanistan when the U.S. invaded in October 2001. The Pentagon retired its F-14s last fall. At last count, the militarys boneyard in Arizona held 165 Tomcats, believed to be the only ones left out of 633 produced for the Navy. The others were scavenged for parts to keep others flying, went to museums or crashed, said a spokeswoman for the air base, Teresa Vanden-Heuvel. As powerful as the grinding machinery is, not all of the F-14 can be shredded. The landing gear — built to withstand the force of slamming onto an aircraft carriers deck — must be cut by hand with a demolition torch. Its made from steel with parts of titanium, so the shears can cut it and the shredder can chew it. Sen. Ron Wyden, D-Ore., considers the F-14 demolitions a good effort, but wants to go further and outlaw the sale of F-14 parts to anyone except museums. Wyden sponsored legislation that also would ban export licenses for F-14 components, which he believes will be more effective than Pentagon policies that he said have changed over time. "I don think internal rules — these internal initiatives — based on the track record of the Department of Defense, are sufficient," Wyden said. The House passed similar legislation in June; a Senate vote is expected later this summer. The White House hasn said whether Bush supports the idea. F-14 preservationists said the Pentagon is handling the Tomcats they obtain differently. As a Navy pilot, retired Capt. Dale Snodgrass delivered an F-14 to Iran — flying nonstop from the United States with roughly No. 68 of about 80 planes that Iran ordered. Snodgrass said only key computers were taken out and ejection systems disabled on planes delivered to museums in past years. This year, when an F-14 went on display at a Miami museum, virtually everything was removed, leaving only a shell with the canopy painted black, said Snodgrass, who lives in St. Augustine, Fla. Snodgrass is part of F-14 history. He flew Tomcats for roughly a quarter-century and amassed the most flight time in them of any pilot: more than 4,800 hours. He was named Navy pilot of the year around the time "Top Gun" hit theaters. Snodgrass said he understands the Pentagons destruction of F-14s but said it would be nice to see some preserved. Pilots dubbed the Tomcat "the turkey" because of its ungainly, turkey-like look when landing on aircraft carriers. "When I first started it," Snodgrass said, "it was the biggest, the fastest, the most impressive, the most maneuverable fighter on the planet Earth."
อ้างอิง จาก Foxnews ลิ้งค์ด้านล่างเลยครับ
Read more: http://www.foxnews.com/story/0,2933,287757,00.html#ixzz2JOI0k8Ly
Read more: http://www.foxnews.com/story/0,2933,287757,00.html#ixzz2JOHqj276
เคยอ่านจาก TANGO นานมาแล้ว ที่พอจำได้ F-14 ค่าใช้จ่ายต่อชั่วโมงบินสูงมากครับ แถมไปปฏิบัติภารกิจ กลับมาลงเรือบรรทุกเครื่องบิน ในแต่ละเที่ยว ต้องซ่อมบำรุง อย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง ถึงจะกลับขึ้นไปปฏิบัติการ ได้อีกครั้งหนึ่ง
กับประเทศ ที่งบประมาณน้อยๆอย่างไทย เขาถึงได้เลือกตัวเลือกที่คุ้มค่าอย่าง JAS-39C/D Gripen ไงครับ
แต่คงจะฝันสลายไปแล้วละครับ เพราะถ้าข่าวด้านบนเป็นความจริง ก็คงจะถูกทำลายไปหมดแล้ว อาจจะมีเก็บไว้ในพิพิธพัน บ้าง แต่ไม่มีที่จะเอามาซ่อมคืนสภาพแล้วขายต่อ เพราะกลัวอะไหล่เครื่องจะไปถึงมืออิหร่าน
โดยความคิดเห็นส่วนตัว ผมว่าถ้าจะเอา F-14 TOMCAT หรือ F-14D Super Tomcat ไปเอา F-15C มาอัพเกรดติด AESA เรดาร์ ยังจะดีกว่าครับ แถมอะไหล่น่าจะยังมีอีกเยอะ ใช้ได้อีกนาน
F-14 ข้อดีของมัน คือ เรดาร์ มันโคตรที่จะทันสมัยสุดๆในเครื่องบินยุคเดียวกัน คือจับได้ไกลมากๆ ถ้าจำข้อมูลไม่ผิด 400 กิโลเมตร พอๆกับ SU-30 สมัยนี้เลย และก็มี จรวด AIM-54 Phoenix ที่ยิงได้ไกลมากๆ กว่าเครื่องบินในยุคเดียวกัน (ยุค 1970)
แต่จับได้ไกล ยิงได้ไกลก็เท่านั้น ระบบเรดาร์ AWG-9 รู้สึกว่าจะมีปัญหาอยู่เหมือนกัน (ด้านไหนก็จำไม่ได้) จรวด AIM-54 Phoenix ก็พลาดเป้าบ่อย
เครื่องบินรบยุคใหม่ของอเมริกา เลยพัฒนา เรดาร์แบบใหม่เป็น AESA แทน ถึงจะจับได้ไม่ไกลเท่า แต่ประสิทธิภาพดีกว่า ในหลายๆด้าน และก็จรวด AIM-120 Amraam ที่เป็น Active Radar Homing ที่อาจจะยิงได้พิสัยใกล้กว่า แต่ก็ชัวร์กว่า
เพราะฉะนั้น ยังยืนยันคำเดิมครับ ถ้าอยากจะได้เครื่องระดับเดียวกับ F-14 จากทะเลทราย ผมแนะนำ F-15C Eagle เอามาอัพเกรดติด เรดาร์ AESA จะดีกว่าครับ
ข้อมูลเรื่องเรดาร์ ผิดไปหน่อยครับมาแก้ไข
มีการอัพเกรดช่วง ยุคปี 1980 ด้วย อัพเกรด จาก AWG-9 ระยะตรวจจับเป้าหมายขนาดใหญ่(เครื่องบินทิ้งระเบิด) ได้ไกล 160 กิโเลมตร (มันก็ถือว่าไกลมากๆ ในเครื่องบินรบยุคปี 1970s อยู่ดี)
อัพเกรดไปเป็น AN/APG-71
ข้อมูลจาก Wikipedia
The APG-71 was a 1980s upgrade of the AWG-9 for use on the F-14D. It incorporates technology and common modules developed for the APG-70 radar used in the F-15E Strike Eagle, providing significant improvements in (digital) processing speed, mode flexibility, clutter rejection, and detection range.
The system features a low-sidelobe antenna, a sidelobe-blanking guard channel, and monopulse angle tracking; all of which are intended to make the radar less vulnerable to jamming. The system itself is capable of a 460 mile (740 km) range, but the antenna design limits this to only 230 miles (370 km). Use of datalinked data allows two or more F-14Ds to operate the system at its maximum range. Hughes delivered enough APG-71 radars and spares to equip 55 F-14Ds before the program was scaled back as a cost-cutting measure and eventually canceled. The F-14 was officially retired from United States Navy service on September 22, 2006, with the last flight occurring October 4, 2006. The last navy squadron utilizing the F-14 was VF-31. Iranian Tomcats are reported as still in service, flying with some upgrades and changes in avionics and radar.
แต่ยุคนี้สมัยนี้ ขอตามกระแส AESA ดีกว่าครับ ถ้าจะมีโอกาสอย่างท่านเจ้าของกระทู้อยากได้ ขอเป็น AN/APG-63(V)2 หรือ AN/APG-63(V)3 (ติดกับ F-15SG ของ สิงคโปร์) หรือเวอร์ชั่นใหม่ล่าสุดตามโครงการ อัพเกรด F-15E ของอเมริกา และก็น่าจะแพงสุดๆ AN/APG-82 ไปเลยครับ แต่ต้องขอซื้อ F-15C จากทะเลทราย มาให้ได้ก่อนนะครับ ฮ่าฮ่า
แค่เรื่องความเก่านี่ก็เก่ามากๆแล้ว ต่อให้ดีกว่าเอฟห้า แต่เอฟห้าเราก็สภาพรอปลด ขาดแต่งบ
ถึงจะมีการอัพเกรดติดไพธ่อน (แหล่ม) แต่อายุไม่ยืนยาวแน่ เพียงแต่เรามีอยู่แล้วก็ยังไม่ปลดทิ้งแต่ถ้าจะซื้อเก่าๆคงไม่ซื้อหรอกครับ
ขอบคุณทุกความเห็นน่ะครับ ตอนนี้เข้าใจแล้วละครับว่าทำไมถึงไม่มีโครงการจัดหา แล้วสำหรับ ทร. นี้คิดว่าเครื่องรุ่นไหนครับที่จะเหมาะสมสำหรับเป็นเครื่องบินโจมตีและคุ้มกันกองเรือ (เครื่องบินของทัพเรือเองน่ะครับคราวนี้ไม่ต้องพึ่ง ทอ.)และเครื่องที่เหมาะสมในการฝึกนักบินของ ทร. เอง
สมมุติว่าสหรัฐฯ ยังใช้ f-14 อยู่ก็เหอะ ผมก็ยังคิดว่าเครื่องบินที่ซ่อมบำรุงซับซ้อนและแพงขนาดเครื่องนี้ ไม่เหมาะกับประเทศที่งบบำรุงเยอะ (ฮา) อย่างประเทศไทยครับ
ถ้าประเทศไทยมีงบให้กองทัพเรือเพิ่มในส่วนของอากาศยานสักประมาณ 7 พัน - 1 หมื่นล้านบาท ก็น่าจะไปจัด Harrier II Plus ของ นย. อเมริกามาดีกว่า ได้อีกสักประมาณ 6 เครื่อง เอาไว้ให้บน 911
ในกรณีที่พูดถึงนี่ ผมพูดถึงในกรณีที่เราออกเป็น Blue Navy นะครับ
ส่วนเครื่องบินประจำฐานบินบนบกนั้น ถ้าจะให้เหมาะกับ ทร. คิดว่า F/A-18 เหมาะสมอยู่ครับ สำหรับเป็น บจ. ทดแทน A7 เพื่อสนับสนุน นย
แต่ในความเป็นจริงแล้ว ทร.ฝากงานบนฟ้าไว้กับ ทอ. แล้วครับ ดังนัน คิดในส่วนของ บจ. ที่มาแทน A7 ก็พอ ในใจผมมีอยู่สองแบบข่มกันเองแบบลึก ๆ คือ F/A18 มือสอง กับ Super Tucano ครับ
รูปภาพจากกระทู้ "Super Tucano - Indonesia Air Force 4 ลำแรก" ของ ท่าน juldas ครับ
ผมว่าตัวนี้ก็น่าสนใจดีน่ะครับเพราะการที่ผมลองค้นหากระทู้เก่าๆดู สมรรถนะของเครื่องบินลำนี้ ถึงจะจิ๋ว แต่ก็แจ๋วครับ
สามารถใช้เป็นเครื่องฝึกของนักบิน ทร. ก่อนจะมาขับเครื่องไอพ่นและยังสามารถสนับสนุนการโจมตีของ นย. ได้อย่างใกล้ชิด
เผลอๆเจ้าตัวนี้น่าจะเป็น "แจ็คผู้ฆ่ายักษ์" ก็เป็นไปได้เมื่อสถานการ คับขัน (แต่ผมเองก็ไม่อยากให้มันเกิดมันจะพากันลำบากไปหมด อยู่กันแบบสงบๆดีกว่า)
รูปจาก http://www.defenseindustrydaily.com/norwegian-contract-launches-nsm-missile-03417/
แล้วเจ้า Super Tucano สามารถ แบกพวกนี้ไปได้ด้วยหรือเปล่า ไม่จำเป็นต้องเป็นรุ่นที่อยู่ในรูปนะครับ รุ่นอื่นๆก็ได้ที่เราสามารถจัดหาได้หลังจากที่ได้
Super Tucano มาแล้ว น่ะครับ ผมไม่มีความรู้ด้านนี้น่ะครับ แต่ก็อยากรู้ไว้และอีกอย่างน่ะครับถ้าหากจัดหาได้จริงแล้วเจ้า อีรี่อาย ที่เรามีอยู่สามารถที่จะชี้เป้าให้กับ Super Tucano ในการยิงพวก NSM/JSM ได้หรือไม่ครับ ขอบคุณครับ
ซูปเปอร์ทูคาโนลำนิดเดียวแบกนิดเดียวพอ เดี๋ยวไม่มีแรงบินครับ
ส่วนจะคุยกับอีรี่อายผมว่ายาก ต้องมาอินติเกรทระบบกันครับ
ระเบิดร่อนนั้นไม่น่าจะติดได้ครับ เพราะไม่ได้ออกแบบไว้ ซอฟท์แวร์ที่จะทำการยิงไม่มี
อีกอย่างลูกก็น่าจะใหญ่ไป
เพราะรับระเบิดลูกใหญ่สุดก็คือ mk 82 ซึ่งหนักแค่ห้าร้อยปอนด์เท่านั้น
อาวุธที่ติดได้เป็นโจมตีภาคพื้นดินธรรมดาครับ
เช่นระเบิดห้าร้อยปอนด์ สองร้อยห้าสิบปอนด์ จรวดสองจุดเจ็ดห้านิ้ว
และก็ปืนกลชนิดต่างๆ
กับมิสไซล์ต่อต้านทางอากาศระยะใกล์เท่านั้น
ขอบคุณครับคุณ toeytei ที่ให้ข้อมูล ผมขอถามอีกซักข้อแล้วกันน่ะครับ แล้วคิดว่าอีกนานไหมครับที่ ทร. จะมีเครื่องบินสมรรถนะสูง รวมถึงเจ้าซูปเปอร์ทูคาโนด้วยน่ะครับและเจ้าซูปเปอร์ทูคาโน นี้สามารถบรรทุกอาวุธชนิดใดด้างครับที่สามารถจมเรือขนาด 2500 - 4000 ตันได้ ในการยิงเพียงครั้งเดียว(ยิงโดนลูกเดียวแล้วจมเลยแต่อาจจะมีการยิงจากหลายครั้งจากหลายลำพร้อมๆกันแบบว่าขอให้โดนทีเดียวพอ)
Super Tucano
ถ้าได้เจ้าตัวนี้ ถ้าเรา จะพัฒนาจรวดหรือระเบิด เพิ่มเติม เหมือนจรวดเห่าฟ้าในอดีต ท่าจะดีไม่เบาแฮ่ะ แรกๆ ในการพัฒนา ก็เริ่มจากสิ่งเบาๆ ก่อน อิอิ
ครับคุณ seetha456 ผมลืมนึกถึงเรื่อง "เห่าฟ้า" ไปเลยน่ะครับ ถ้าหากได้เจ้านี้มาจริง(ซูเปอร์ทูคาโน) แล้วก็ขุดเอาโครงการ จรวดเห่าฟ้ามา พัฒนาต่อให้มีความแม่นยำมากขึ้นและยิงได้ไกลขึ้น แล้วนำเอามาติดกับเจ้าทาคูโน น่าสนใจไม่เบาเลยน่ะครับจะได้เป็นการต่อยอดการวิจัยจรวดเห่าฟ้าไปด้วยและอีกอย่างถ้าหาก ทอ. มาเอี่ยวกับ ทร. เราก็ลาก ทบ. มาสมทบด้วยเลยเป็นไงละครับ จัดเอาซูเปอร์ทูคาโนประจำการใน 3 เหล่าทัพ พัฒนาเห่าฟ้ามาใช้ เราก็จะสามารถจัดหางบในโครงการเดียวกันจากทั้ง 3 เหล่าทัพพร้อมๆกัน งานนี้เงินวิจัยโครงการนี้คงฟู้ฟ่าน่าดูเลยละครับ ไม่ว่าจะเป็นการจัดหาทาคูโนโดยใช้เงินจาก 3 เหล่าทัพมารวมกันจัดซื้อในครั้งเดียวทีละหลายๆลำ ราคาต่อลำคงจะถูกลงไปอีกและงบวิจัยที่มาจาก 3 เหล่าทัพก็จะได้เห่าฟ้าเวอร์ชันใหม่ที่อาจจะมีเทคโนโลยี DTI มาร่วมด้วยและนึกถึงการส่งกำลังบำรุงที่ทุกเหล่ามีเหมือนกันความคุ้มค่าในการจัดหาคงมีมากเลยทีเดียว (ที่กล่าวมาคงไม่มากไปน่าครับถ้าหากจะฝันไว้ก่อน)และที่สำคัญก็จะเป็นบูรณาการ การทำงานร่วมกันของ 3 เหล่าทัพอีกด้วย
ขอเรียนข้อเท็จจริงครับ
- กริเปนและอิริอายไม่สามารถคุย(ลิงค์ข้อมูล..ไม่ใช่คุยวิทยุ)กันกลางอากาศได้โดยตรงนะครับ..ข้อมูลที่อิริอายตรวจจับได้จะส่งลงไปที่ฐานบนแผ่นดิน..จากนั้นฐานบนแผ่นดินจะส่งข้อมูลผ่านดาต้าลิงค์มาที่กริเปนอีกทอดนึงครับ
- โครงการที่ซาบทำให้อิริอายคุยกับเรือนเรศวรก็คือแนวคิดเดียวกันนี้ครับ..
- ดาต้าลิงคืกันกลางอากาศอยู่ในขั้นพัฒนาครับ..บริษัทแถวอนุสรณ์สถานครับ
ผมว่าการที่อีรี่อายกับยาสไม่สามารถรับส่งข้อมูลโดยตรงมันไม่แปลกๆเหรอครับ
ไม่ได้หาว่าไม่จริงนะครับ แค่สงสัย เพราะมันก็ประเทศเดียว บริษัทเดียวกันไม่ใช่เหรอครับ
หรือว่าต้องส่งมาที่ฐานบัญชาการภาคพื้นดินแชร์ข้อมูลด้วย แล้วค่อยรับคำสั่งกลับขึ้นไป
ผมคิดว่า เจ้าอีรี่อาย กับ ยาส - 39 นี้น่าจะส่งผ่านข้อมูลโดยตรงได้น่ะครับ เพราะมาจากบริษัทเดียวกันเทคโนโลยีเดียวกัน ไม่ต้องส่งมาที่ฐานเรดาร์แล้วค่อยส่งกลับขึ้นไปและอีกอย่างถ้าหากจะใช้วิธีการส่งผ่านข้อมูลแบบนี้แล้วซาบจะผลิตอีรี่อายมาคู่กับ ยาส - 39 ทำไมครับ ผมคิดว่าการที่ส่งข้อมูลลงฐานข้างล่างเพื่อแชร์ข้อมูลกับ บก. มากกว่าและขอคำสั่งด้วย ส่วน ยาส - 39 นั้นน่าจะได้รับข้อมูลพร้อมกับ อีรี่อาย ตามความเข้าใจของผมน่ะครับ รอให้ผู้รู้มาตอบดีกว่า
เพิ่มเติมน่ะครับ เรื่องที่ทำให้เรือชุดนเรศวรลิงค์กับอีรี่อายได้นั้น น่าจะ เป็นการแชร์ข้อมูลกันมากกว่าหรือเปล่าครับ อาจจะเป็นแนวคิด ใช้อีรี่อายชี้เป้า เรือชุดนเรศวร ก็ซัลโวด้วย ฮาพูน หรือ NSM ประเภทอื่นๆโดยผ่านระบบ Datalink ที่ซายมาทำให้และอาจจะเป็นโครงการนำร่องถ้าหากใช้ได้ดีก็คงที่กับเรือทุกลำ มันก็เท่ากับว่าเราสามารถเพิ่มระยะของเรดา์ร์เรือชุดนเรศวรได้โดยผ่านอีรี่อาย ตามความคิดของผมเองน่ะครับ
คุณครูบ้านนอกนี้เปะเลย ครับ โดนมากๆๆ มันต้อง เอฟ/เอ 18 อี/เอฟครับ 12-18ลำ จัดหนักๆ เลย เอารุ่น อี เป็นสัดส่วน 1 ใน3 ของทั้งหมดนะครับ จะโดนใจผมมากๆ เช่น ถ้ามี 12 ลำ ก็ รุ่น อี แค่ 4 อีก 8 ลำ ก็รุ่น เอฟ ครับ
ปล.โอ้ยยฝันๆๆๆๆ
อ่าว ลืมตอบ เจ้าของกระทู้ เลย เอฟ 14 มันจบไปแล้ว ครับ ถ้า ทอ.จะเล่น เครื่องไอ้กัน แบบ 2 ยนต์ ก็ ต้อง เอฟ 15 เท่านั้นเองครับ ง่ายๆ เอฟ 18 ก็เป็นเรื่อง ของ ทร. ไป
ปล.มาที่ไร ก็อดไม่ได้ ทอ.ประจำการ แจส 39 เพิ่ม ที่ ฝูงบิน 7 เป็น 18 ลำ อัพ เอฟ 16 ฝูงบิน 1 ย้าย เอดีเอฟ ออก ไป ประจำการด้วย เอฟ 15 ไซเลน 18 ลำ โอ้วววว ไม่ยากจะคิด ที่นี้จะได้หมดปัญหา ทางตัน ของ นัก บิน เอฟ 16 กับ แจส เพราะ ท่านเทพ ทั้งหลาย จะต้อง ไปสุด กับ เอฟ 15 ไม่ว่าจะ มาทางเอฟ 16 หรือ แจส แบบนี้ จบ....
ถ้า j39 ส่งข้อมูลโดยตรงกับ Erieye ไม่ได้ผมว่ามันฟังยังไงไม่รู้ เพราะงี้มันก็หมายถึงว่าบินไปรบบ้านคนอื่นไม่ได้อย่างนั้นหรือเปล่า? เพราะยาสยังแชร์ข้อมูลกันเองได้
F-14 บอกตรงๆไม่มีทางเป็นไปได้เลย เพราะตอนนี้เรื่องอะไหล่ ของเครื่องรุ่นนี้อเมริกันไม่ยอมปล่อยให้ใครทั้งนั้น
เพราะต้องการบีบ อิหร่านที่มีเครื่องรุ่นนี้ในครอบครองให้มันไม่สามารถใช้การได้ เครื่องที่เขาปลดประจำการก็เอาไปทำลายหมดครับ
ให้ไม่เหลือสภาพที่สามารถทำเป็นอะไหล่ต่อไปได้และไม่ขายซากหรือส่งออกให้ใครทั้งนั้น