นับตั้งแต่มีการเผยแพร่ข่าวสาร และการโพสต์รูปภาพของรถถัง OPLOT ทั้งในเว็บไซต์ thaidefense-news เอง และตามเว็บไซต์ทางทหารต่างๆ ซึ่งก็ทำให้ทราบว่ามีผู้ให้ความสนใจอยู่มากพอสมควร โดยสิ่งที่มีการพูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรถถังOPLOT เท่าที่ได้รับฟังมาพอจะสรุปได้ 4-5 ประเด็น ซึ่งประเด็นทั้งหมดล้วนเป็นข้อสงสัยทางด้านเทคนิค..
ข้อสงสัย : คุณภาพงานผลิต (งานเชื่อมประสานโลหะประกอบเป็นตัวรถ รอยเชื่อมดูหยาบ..)
ตอบ : เท่าที่เห็นคุณภาพงานผลิต รอยเชื่อมประสานแผ่นเกราะ และการประกอบตัวรถถัง ผมคิดว่าทางการยูเครนทำได้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่สูงเนื่องด้วยขีดความสามารถทางเทคโนโลยีและประสบการณ์การผลิตรถถังและยานเกราะประเภทต่างๆ ที่มีมาอย่างยาวนานของทางการยูเครน.. เชื่อถือได้
ข้อสงสัย : การออกแบบรถถัง
ตอบ : วิพากวิจารณ์กันมากถึงรูปทรงหรือแบบดีไซน์ของรถถัง OPLOT ที่มีทั้งคนชอบและไม่ชอบ ซึ่งเรื่องนี้นานาจิตตังครับ ว่ากันไม่ได้ แต่สำหรับมุมมองตามความชอบของผม ถ้าหากไม่ติดยึดกับแบบดีไซน์ของรถถังทางตะวันตกแล้วล่ะก็ ถ้ามองดีๆ แล้ว จะพบว่าแบบดีไซน์หรือรูปทรงของรถถัง OPLOT ดูสมาร์ทและเท่ห์มาก ผมว่าดูลงตัวนะเมื่อมองรวมไปถึงสมรรถนะและประสิทธิภาพที่มีในรถถัง พูดถึงตรงนี้ก็คงจะมีบางคนมองผมว่า เป็นแฟนพันธ์แท้ของรถถัง OPLOT แน่ๆ.. ซึ่งผมก็ยอมรับว่าเป็นรถถังรุ่นหนึ่งที่ผมชอบ เอาล่ะก็ว่ากันไป ประเด็นที่ผมอยากจะบอกก็คือว่า ต้องเข้าใจว่ารถถังเป็นยุทโธปกรณ์ทางทหารที่มีวัตถุประสงค์ของการออกแบบมาเพื่อทำการรบ ดังนั้นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ อำนาจการยิง ความแม่นยำในการยิง ระบบป้องกันตัวเองที่เชื่อถือได้ ความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้มีอยู่ในรถถัง OPLOT แล้วทั้งหมด
ข้อสงสัย : รถถังมีอาการโยกขณะเคลื่อนที่
ตอบ : อีกประเด็นที่พูดกันมากคือ ทำไมรถถังมันมีอาการโยกขณะเคลื่อนที่ และเป็นห่วงถึงขนาดว่าพลประจำรถจะเมารถหรือเปล่า ปืนใหญ่รถถังจะยิงได้แม่นหรือเล็งยิงเกาะเป้าหมายได้ทันท่วงทีไหม_อย่าลืมนะครับว่า OPLOT เป็นรถถังยุคใหม่ ภายในรถถังจะมีระบบอุปกรณ์เครื่องช่วยต่างๆ ทำงานโดยอัตโนมัติ พลประจำรถถังมีหน้าที่ควบคุมและใช้งานมันเท่านั้นครับ
ข้อสงสัย : กระโปรงข้างไม่สวยงาม
ตอบ : มีอีกอย่างที่พูดถึงกันคือ กระโปรงข้างของรถถัง OPLOT ทำไมดูน่าเกลียด ดูไม่สวยเลย_ ก็กระโปรงข้างนั่นล่ะครับเป็นระบบเกราะป้องกันทางด้านข้างของรถถัง ซึ่งการป้องกันด้านข้างเป็นจุดอ่อนของรถถังทั่วไป แต่สำหรับ OPLOT เป็นรถถังรุ่นหนึ่งที่ได้รับการยอมรับว่ามีระบบการป้องกันทางด้านข้างที่ดีที่สุด เมื่อกล่าวมาถึงตรงนี้ขอเพิ่มเติมอีกสักเล็กน้อยเกี่่ยวกับระบบป้องกันตัวเองของรถถัง OPLOT ซึ่งระบบป้องกันประกอบด้วย เกราะหลักแบบแพสซีฟ (เกราะแบบไม่ระเบิด) และ เกราะปฏิกิริยาแรงระเบิดต่อต้านหัวรบเรียงกัน แบบใหม่ และ ระบบต่อต้านการตรวจการณ์ด้วยสายตาที่เรียกว่า “Varta” ที่สามารถป้องกันการตรวจจับหรือการเล็งเกาะเป้าหมาย (Tracking) ด้วยแสงเลเซอร์ รวมถึงการมีระบบก่อกวนสัญญานคลื่นอินฟราเรด ซึ่งนิยมใช้ในระบบอาวุธนาวิถีต่อสู้รถถังทั่วๆ ไปอีกด้วย ซึ่งทำให้รถถังรุ่นนี้สามารถเพิ่มความอยู่รอดในสนามรบได้มากขึ้น นอกจากนั้นก็ยังมีระบบป้องกันพิเศษอื่นๆ อีก ซึ่งจะยังไม่กล่าวถึง แต่โดยรวมแล้วระบบเหล่านี้จะทำให้รถถัง OPLOT ถือได้ว่าเป็นรถถังที่มีระบบป้องกันตัวที่ดีที่สุดแบบหนึ่งในโลก
ข้อสงสัย : กล้องพาโนรามิคมีขนาดใหญ่เกินไป
ตอบ : กล้องพาโนรามิค มีขนาดใหญ่เกินไปและจะเป็นอุปสรรคกีดขวางการหันของปืนรอง_ประเด็นนี้ผมขออธิบายอย่างนี้ก็แล้วกัน คือหน้าที่ของกล้องนี้สำหรับการใช้ตรวจการณ์ของผู้บังคับรถ "อุปกรณ์ทุกอย่างมันมีเหตุผลของการออกแบบ" ซึ่งถ้าหากอุปกรณ์มันทำหน้าที่ของมันได้เป็นอย่างดี และใช้งานตรงตามความมุ่งหมายของการออกแบบ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็เพียงพอแล้วครับ ส่วนประเด็นที่ว่ามันจะเป็นอุปสรรคต่อการยิงของปืนรองหรือเปล่า ก็ต้องมาดูว่าวัตถุประสงค์ของการมีปืนรองนั้นเพื่อทำหน้าที่อะไร และใช้ในสถานการณ์ใดบ้าง ซึ่งคำตอบจะอยู่ที่คนออกแบบและผู้ใช้งานมันว่าเขามีความมุ่งหมายใด ในความคิดเห็นส่วนตัวผมว่าไม่มีปัญหาอะไร สรุปสุดท้ายด้วยประโยคนี้ครับ "อุปกรณ์ทุกอย่างมันมีเหตุผลของการออกแบบ"
ที่มา : http://thaidefense-news.blogspot.com/
เรื่องสเปคใครๆก็พูดได้ครับ ปัญหามันอยู่ที่ความน่าเชื่อถือต่างหาก ถ้าเป้นเจ้า ลีโอ มาตั้งแต่แรกก้คงจะไม่มีกระทู้ที่ถกเถียง แคลงใจ สงสัย และกังขา ในประสิทธภาพ เรื่องปืน ปตอ.หมุนรอบตัวเอง แล้วต้องอ้อมข้ามกล้องตรวจการณ์(ใหญ่ยักษ์) เข้าใจว่าน่าจะเป้นเทรนใหม่นะ
ผมว่า รอตัวเป็นๆมันมาวิ่งที่ประเทศเราก่อนดีกว่าอ่ะครับ จะดีหรือไม่ดียังไงตอนนั้นน่าจะเห็นได้ชัด เรื่องความน่าเชื่อถือเข้าใจครับเพราะมันเป็นรถถังรุ่นใหม่ ไม่เคยผ่านสมรภูมิมาก่อนแถมประเทศที่ผลิตก็เป็นอดีตสหภาพโซเวียต ไม่เหมือนรถถังอเมริกันหรือยุโรปที่ผ่านการพิสูทแล้วในสนามรบจริง แต่นะครับ ก็ใช่ว่ารถพวกนั้นจะดีเลิศเหมือนกัน ในเมื่อซื้อOPLOTไปแล้ว ก็ต้องรอมันพิสูทตัวเองในประเทศเราอ่ะครับ ว่าคุ้มค่าหรือเปล่า ถ้าถึงตอนนั้นเกิดมีปัณหาไอ้โน่นไอ้นี่ทำงานไม่ได้ เกราะร้าว พลประจำรถอ้วกแตกอะไรก็แล้วแต่ ค่อยว่ากันอีกที
ผมคิดว่า ผู้ใหญ่ที่เลือกสั่งออเดอร์ OPLOT คงมีเหตผลหลายๆประการน่ะครับ
ขอเดาว่า อาจจะเป็นสัญญาในการที่ให้ไทยได้สิทธิผลิตเองได้โดยร่วมมือกับยูเครน
อีกอย่าง ปัจจุบันเรามีปัญหาชายแดนกับเขมรเท่านั้น แค่ OPLOT รับรองว่า เอาอยู่
ในอนาคต เมื่อเราร่วมมือกับยูเครนผลิต เราก็ต้องแก้ใขปัญหาจุดบกพร่องต่างๆออกไป
หลังจากนี้ อีก 10 ปี เราอาจจะมีรถถังที่เพอร์เฟคสมบูรณ์แบบ ออกแบบโดยคนไทยก็เป็นได้
คนอื่นอาจจะไม่ปลื้ม แต่ ผมว่านี่เป็นจุดเริ่มต้นของก้าวเล็กๆ
อีกประการหนึ่ง ผมคิดว่า คนที่สั่งออเดอร์ OPLOT มาประจำการ คงไม่ได้แค่ดูในใบ โบรชัวร์
คงจะไปทดสอบประสิทธิภาพด้วยตัวเองมาแล้ว
ดังนั้น โดยส่วนตัว ผมคิดว่าได้รถถังมาแล้วก็ต้องใช้ ยังดีกว่าเอากะละมังครอบหัวออกไปรบ
ซึ่งกะละมังก็ไม่น่าจะกันกระสุนอะไรได้เลย
ของต้นแบบ ก็น่าจะไม่สวยอย่างที่เห็น(จากการที่ต้องปรับปรุงตบแต่ง)
แต่ถ้าเข้าสู่กระบวนการผลิต น่าจะ...ดีขึ้นไม่มากก็น้อยล่ะครับ
อ่านแล้วรู้สึกเหมือนตอบคำถามแรกเท่านั้น
ถามหน่อยLeopardน่าเชื่อถือตรงไหน?ประสบการณ์รบจริงยังไม่เคยมี แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าหมูสนามจริงหรือสิงห์สนามซ้อมหรือเปล่า
เอาเกณฑ์อะไรมาวัดว่ามันเทพ เรื่อสเปคใครๆก็โม้ได้ ถ้าจะเอาเกณฑ์ที่ว่าเยอรมันเคยมีประสบการณ์ในการผลิตและมี่บทเรียนในการทำสงครามรถถังมาตั้งแต่สงครามโลก ผมว่าฝรั่งเศส และญี่ปุ่นคงทำรถถังออกมาได้กากมากๆเพราะประเทศนี้มีประสบการณ์การรบด้วยรถถังที่แย่มากๆ
จะออกความเห้นมีเหตุผลกันมามากน้อยแค่ไหนยังไง แต่มันก็เป็นเรื่องจริงครับ ถ้าได้ลีโอ ถึงจะไม่มีอะไรพิสูจน์ชัดเจน คิดว่าสว่นใหญ่ที่เชียร์ Oplotอยู่ตอนนี้ ต้องดีใจมากกว่าแน่ๆครับ ^^
มีตังไม่มีตังซื้อ บีเอ็ม/แคมรี่ไม่ใช่ประเด็นนะครับ แต่ผมเชื่อว่าเรามีเงินพอที่จะซื้อลีโอได้ สบม. ถ้าต้องการจริง
แต่ถ้าซื้อ Oplot แล้วได้มาผลิตเอง ได้รับการถ่ายทอดเทคโลโลยีเข้ามา ต่อให้ Oplot ด้อยกว่านี้ ผมก็เชียร์ครับ คนหนึ่งเลย เชียร์ล้าน% Oplotมันก็ไม่ได้อยู่ในเกณฑ์จนรับไม่ไดนะครับ น่าจะจบได้นะ ว่าลีโอหรือOplot อะไรจะดูดี/ดีกว่ากัน ไม่เห้นจะเป็นเรื่องยุ่งอยากที่จะคิด
เรื่องระบบป้องกันตัวนี่ ถ้าพูดถึงรถถังยุคใหม่เหมือนกัน โอพล็อตก็ไม่ได้เหนือกว่าคนอื่นนะครับ คือกล่าวได้ว่าถือว่ามีครบเครื่องพอเทียบเคียงกับรุ่นขั้นนำอื่นๆแต่ไม่ได้เหนือกว่าเลย พูดชื่อรถถังชั้นนำออกมา มีกันหมดทุกรุ่น
ระบบต่อต้านแจมจรวดนำวิถีฝ่ายตรงข้ามไม่ว่าจะเป็นนำวิถีด้วยเลเซอร์ อินฟราเรดหรือภาพทีวี คนอื่นก็มีกันหมด โดยหลักๆระบบนี้ตรวจจับเลเซอร์หรือบางรุ่นก็ตรวจจับตัวมิสไซล์ที่วิ่งเข้ามาด้วยทำการยิงม่านควันหรือสารเคมีออกมารบกวนการจับภาพเป้าหมายของระบบนำวิถี และปล่อยคลื่นอินฟราเรดรบกวนสัญญาณ นีเป็นระบบซอฟท์คิลล์ คือไม่ได้ทำลายอาวุธที่โจมตีเข้ามา แต่เบี่ยงเป้า
ซึ่งระบบนี้ความจริงมีมาเกินยี่สิบปีแล้วเพียงแต่ความเสถียรของรุ่นเก่ากับใหม่มันต่างกัน ปัจจุบันก็ยังทำรุ่นใหม่ๆวิจัยกันออกมา
เช่นเลอกร๊วก(ออกเสียงผิดขออภัย) ของฝรั่งเศส ระบบป้องกันตัว Galix system (ค่อนข้างเก่าแล้ว 20ปี )จะประกอบไปด้วยลูกระเบิดต่างๆ ทั้งม่านควันสังหารบุคคล เป้าลวงอินฟราเรด เป็นสิบชนิด คือพ่อรวมทุกอย่างไว้ในเครื่องยิงลูกระเบิด ท่อเหล่านี้จะอยู่รอบๆตัวรถป้องกันได้สามหกสิบองศา เฉพาะท่อควันยิงม่านควันด้านหน้า 120 องศา
ข้อดีของระบบนี้คือติดตั้งง่าย ก็แค่ท่อยิงลูกระเบิดควันธรรมดา แถมยังเปลี่ยนลูกระเบิดได้ตามแต่ภารกิจ ข้อเสียคือมันไม่มีระบบแจ้งเตือนเวลาโดนเลเซอร์ล็อคเป้าว่ะ
มีใช่ในหลายประเทศ ซาอึใช้กับยานหุ้มเกราะ 8x8 ปิรานญ่า อิตาลี่ใช้กับรถถังหลัก อาเรียตเต้ และรถหุ้มเกราะ Centauro 8 x 8 สวีเดนใช้ในรถตระกูล CV 90 กับรถถังหลัก Strv 122 МВТ ส่วนยูเออีก็ใช้ในเลอกร๊วกเวอร์ชั่นแขก
นี่รุ่น MUSS Multifunction Self protection Systemพัฒนาใหม่เอี่ยม ของ EADs ออกแบบมาสำหรับพวกยานเกราะรถถังฝั่งยุโรปทั้งหลาย จะเห็นท่อยิงม่านควันนอกจากกล้องกับเซ็นเซอร์ยังไม่มีการประจำการ เพิ่งทดสอบเสร็จสิ้น
ติดตั้งกับเจ้าลีโอ (กล้องโด่งเป็นปล่องไฟเชียว)
ฝั่งรัสเซียมีระบบ Shtora-1 ติดตั้งทั้งกับ t90 และ t80 เท่าที่ดูสเป็คแล้วเหมือนกับไอ้ varta ซึ่งก็น่าจะพัฒนาต่อมาจาก shtora อีกทีเพราะเคยเอาไปติดตั้งกับ t 84 ยูเครนมาแล้ว
มีระบบแจ้งเตือนเมื่อโดนชี้เป้าด้วยเลเซอร์ จะเตือน พลประจำรถทำการหันหน้าเข้าหาภัยคุกคาม(ต้องหันป้อมปืนนิดนึง)แล้วยิงระเบิดม่านควันทำการระบบกวน
นอกจากนี้ก็มีระบบรบกวนอินฟราเรดด้วย
ระบบประกอบไปด้วย 1.ตัวอินฟราเรดแจมเมอร์ 2.เครื่องยิงลูกระเบิด 3.ระบบแจ้งเตือนเลเซอร์ 4.ตัวคอมพิวเตอร์ควบคุมระบบ
ไอ้หน้าตาเหมือนสปอตไลท์สองข้าง (เปิดฝาแล้วจะเหมือนตาแดงๆ)เป็นแจมเมอร์ ท่อระเบิดคงไม่ต้องชี้ ส่วนอย่างอื่นผมไม่เห็น ไอ้เสาโด่เด่เป็นเซ็นเซอรวัดลม
ข้อเสียของระบบประเภทนี้เหรอครับ เจอลูกปืนรถถังเข้ามาก็ไม่ต้องไปหลอกให้เสียเวลา มันไม่นำวิถี (อันนี้โอพล็อตอาจรอดมากว่าเพื่อนเพราะ กระชากออกตัวเปิดได้ทัน ขณะที่คันอื่นยังเพิ่งรอรอบอยู่)
ถ้าต้องการป้องกันลูกปืนไม่นำวิถีด้วย ปัจจุบันก็ต้องไปเคาะประตูบ้านพี่ยิวบอกขอระบบ trophy ของ rafael ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นระบบเดียวในปัจจุบันที่แน่นอนที่สุด สามารถป้องกันได้รอบด้านสามหกศุนย์องศา มีระบบเรดาและเซ็นเซอร์อื่นรอบคันรถตรวจจับจรวดหรือลูกปืนฝ่ายตรงข้าม จากนั้นก็รอให้เข้ามาให้ได้ระยะแล้วก็ซัดไม่เหลือ ระบบนี้ผ่านการใช้งานในสนามรบจริงมาแล้วแถวบ้านเค้าแหละ รับเละทุกวัน ยังไม่มีพลาด ระบบนี้ต่างกับหลายระบบที่ติดเป็นท่อๆ ยิงท่อไหนหมดแล้วก็หมดเลย เพราะระบบนี้พี่โหลดเพิ่ม ยิงแล้วโหลดๆ เวลาไม่ยิงก็จะพับเก็บซ่อนไว้ไต้เกราะ พอมีการตรวจจับภัยคุกคามก็จะเปิดฝาโผล่หัวออกมายิง
จัดการได้หมดไม่ว่าจะเป็นกระสุนเจาะเกราะ อาร์พีจียี่สิบเก้า กระสุนพลังงานจล (มันก็เหมือนกันหมดละ ยิงทิ้งลูกเดียว เป็นไรก็เถอะ)
โดยจะยิงเป็นเศษโลหะเข้าทำลายหัวรบ (ไม่ได้ยิงเป็นมิสไซลล์เหมือนพวกต่อต้านเครื่องบิน)ไม่ว่าจะเป็นเจาะเกราะ พลังงานจล จะเสียรูปหรือถูกทำลายทำให้ไม่สามารถทำอันตรายรถถังได้ หรือได้แต่ก็น้อย ปกติระบบประเภทนี้จะทำการยิงทำลายในระยะใกล้มาก บางทีไม่กี่เมตรเนื่องจากเป็นการป้องกันไม่ให้ไปโดนลูกหลงพวกทหารราบพวกกันเอง (ส่วนใหญ่ออกแบบมาสำหรับรบในเมืองได้)
ระบบนี้ทาง general dynamic ได้ทำสัญญากับราฟาเอลร่วมมือพัฒนารุ่นสำหรับยานเกราะต่างๆของอเมริกาเรียบร้อยแล้ว รวมทั้งระบบนี้ก็เป็นหนึ่งในหลายระบบที่ได้รับการทดสอบรับเลือกสำหรับติดยานเกราะอเมริกา(ไสตรเกอร์เป็นอาทิ) แต่แว่วๆมาว่าอเมริกาจะเลือกบริษัทตัวเอง (งานนั้นโดนด่าตรึม)คล้ายตอนที่ซุเปอร์ทูคาโนเจอเอที 6 พลิกโต๊ะกลับมาโกงความตายยืดดีลไปได้
แล้วก็ถือได้ว่าฮ็อตที่สุดในวงการตอนนี้เนื่องจากผลิตแล้ว(เมอร์เความาร์คสี่นี่ติดมากับโรงงานเลย ส่วนรถถังของทัพยิวคันเก่าก็เอาไปติดตั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเอ็ม60 อันนี้บ้านเราก็ใช้น่าสนใจมาก)ใช้แล้ว
จริงๆแล้วเจ้าอื่นที่ทำแบบฮาร์ดคิล หรือฆ่าแ-่ง ก็ยังมีเจ้าอื่นอีกเช่น
เช่นรุ่น iron fist ของ IMI เองก็ดี มีขนาดเล็กแต่โหลดเพิ่มไม่ได้ (เหมาะสำหรับเอาไปติดพวกยานเกราะที่มีขนาดเบามากกว่า)
โทร
ขิ้นส่วนต่างๆของระบบ Iron Fist ชิ้นที่แปะอยู่บนผนังเป็นเซ็นเซอร์เรดาร์กับอินฟราเรด
ตัวตรงกลางภาพเป็นชุดต้อต้านประกอบด้วยท่อยิงสองลูก(โหลดเพิ่มไม่ได้ ติดหลายตัวเอา หน้ารถตัวหล้งรถตัวซ้ายขวา)กับตัวก่อกวนสัญญาณภาพและอิเล็กทรอนิค(กล่องที่ติดกับชุดยิง)
ขวาสุดเป็นลูกกระสุน ยิงออกไปปะทะกับจรวด
อนึ่ง ระบบฮาร์ดคิลแต่ละระบบ การลดทอนหรือทำลายภัยตุกตามจะใช้วิธีต่างกัน เช่นใช้เศษเหล็ก ใช้แรงอัดระเบิดเป็นต้น
หรือโทรฟีก็ออกรุ่นโทรฟีไลท์ลดไซส์สำหรับยานเกราะ
LEDS 150 (ใหม่กว่ารุ่น leds 100) จาก Avitronics ของ Avitronics บริษัทน้องของซาบในแอฟริกา
และกำลังพัฒนากันเป็นล่ำเป็นสัน
แต่ถ้าใช้กันมาพิสูจน์ตัวเองจริงๆมีเจ้าเดียวคืออิสราเอล
ค่ายโซเวียตก็มีระบบ hard kill คือ Arena ระบบนี้ พัฒนาในปี 1993 มาจากระบบ drozd ซึ่งไม่ค่อยได้เรื่องในการใช่ที่อัฟการิสถาน ติดจรวดลูกเขื่องยิงทีระเบิดแรงมาก ไปโดนเอาพวกทหารราบกันเอง
จากการรบในเมืองที่เชเชน ซึ่งล่อรถถังหลักและรองอย่างทีแปดสิบกับทีเจ็ดสองเป็นกระบุงโกยบวกกับยานสายพานหุ้มเกราะอีกรวมเป็นสองสามร้อยคัน
รัสเซียจึงต้องพัฒนาระบบนี้มีอัตรการอยู่รอดดีกว่ารุ่นเดิมถึง 80%
ระบบนี้ประกอบไปด้วยตัวค้นหาเป้าหมาย (ก็ลูกจรวดนั่นแหละ)ด้วยเรดาร์ และทำการยิงสกัดกั้นด้วยกระสุนที่อยู่รอบๆตัวรถ 26 จุด สามารถรับมือมิสไซลที่มีความเร็วถึง 700เมตรต่อวินาที แต่ถ้าช้ากว่า70เมตรต่อวิก็ปล่อยมันไป (ระบบแยกแยะเป้าหมายว่าเป็นมิสไซล์หรือเศษนกเศษหิน) ระบบนี้สามารถป้องกันได้สามร้อยองศาด้านหน้า เปิดตูดไว้อย่างเดียว (แบบนี้เกมองตาเป็นมัน)
ใครมีรูปหารูปได้ก็มาโชวแล้วกัน ผมหาไม่เจอ เจอแต่ drozd
แต่ยังไม่เคยขายส่งออกสำเร็จ
มีแต่ออกมาบอกว่าเกาหลีใต้จะเอาไปใส่เคสองใหม่หมาด เกาหลีใต้ยังไม่ยอมรับ คงเขิลที่ต้องมาซื้อของค่ายรัสเซีย ไม่ก็กลัวอเมริกาตบ
เข้าเรื่องต่อ
มาเรื่องเกราะเพิ่มเติมตรงสายพาน
เอ็มหนึ่ง(ทั้งเอหนึ่งเอสอง)ก็มีการอัพเกรดชุดคิด TUSK tank urban survivability kit (ชุดติดตั้งเสริมการอยู่รอดในเมือง)
สำหรับเอาไปอิรักและอัฟกัน เพราะอยู่ในเมืองโดนล่อไปเยอะ ชุดนี้นอกจากการติดตั้งระบบปืนรีโมต(ปืนรองปรับได้สองโหมดคือยิงจากภายในตัวรถและแมนน่วลโผล่หัวมาล่อลูกปืน)ก็มีการติดตั้งเกราะเสริมปฏิกิริยาตรงข้างสายพาน มีติดเกราะกันท้ายเครื่องยนต์ (slate armour) เป็นลักษณะเหล็กซี่ๆตะแกรง ข้อแตกต่างตรงนี้คือเกราะสายพานของเอ็มหนึงไม่ได้กินที่ยื่นออกมาด้านข้างมาก(เป็นอีรา ไม่ใช่เกราะเหล็กที่ใช้แนวคิดแบบ spaced armour) ทำให้การรบในเมืองไม่เทอะทะ
ส่วนเรื่องเอ็มหนึ่งเกราะถึกกว่าชาวบ้านนั้นจริง เอ็มหนึ่งยังไม่เคยโดนรถถังด้วยกันล่อมาก่อนในประวัติศาสตร์ (เหตุหนึ่งก็คืออาจจะยังไม่เจอคู่ปรับที่สมน้ำสมเนื้อ) เกราะยูเรเนียมด้านหน้านี่แทบไม่ต้องคิดไปเจาะ แต่ด้านอื่นก็ยังมีจอดบ้าง เกราะด้านหน้าป้อมปืนซึ่งเป็นส่วนที่หนาที่สุดทุกชั้นรวมกันประมาณ 1320-1620 มิลลิเมตร แถมเกราะยูเรเนียมด้อยสมรรถณะ(แปลตรงตัวแล้วฟังดูไม่ดีเลย)หรือ depleted uranium อันโด่งดัง ติดตั้งด้านหน้าตัวรถและป้อมปืนมีความแขงแรงเท่ากับ เหล็กรีดเกราะธรรมดา (Rolled homogeneous armour)600 มิล
เคยมีเหตุการณ์รถถังเอ็มหนึ่งอเมริกายิงพลาดใส่กันเอง (friendly fire)แต่กระสุน m289 120มม. ซึ่งเป็นกระสุนเจาะเกราะที่เอ็มหนึ่งเอหนึ่ง/เอสองใช้ ยิงด้านหน้าและด้านข้างไม่เข้า รวมทั้งในเหตุการณ์หนึ่งที่พยายามยิงทิ้งทำลายเนื่องจากรถถังติดหล่ม (ไทยห้ามซื้อเดี๋ยวติดหล่ม)
ส่วนเรื่องโดนอาร์พีจียิบเก้ายิงนั้นผมพยายามหาข้อมูลยืนยันอยู่ แต่ยังไม่เจอ เจอแต่ที่โดนไออีดี แต่โดยปกติเอ็มหนึ่งโดนอาวุธต่อสูรถถังในอัฟกันอิรักมักเอาตัวรอดกลับฐานได้
ผมเจอแต่ข่าวที่รถถังชาแลนเจอร์ของอังกฤษเคยโดนอาร์พีจี29 ล่อด้านหน้า พลขับขาขาดแต่ไม่ตาย ซึ่งเกราะของเอ็มหนึ่งพ้ฒนามาจากเกราะของชาแลนเจอร์ที่เรียกกันติดปากว่า chobham armour นี่ล่ะ แต่ชาแลนเจอร์ไม่มีเกราะยูเรเนี่ยม งานนั้นช็อค ปิดข่าวกันให้วุ่น
leclerc ก็ไม่น้อยหน้ามะกัน ส่งรุ่น leclerc Azur เข้าประกวด เป็นชุดคิดอัพเกรดสำหรับเพิ่มความอยู่รอดในตัวเมืองเช่นกันทำการติดตั้งปืนกลรีโมทคอนโทรลจากภายในตัวรถ เสริมเกราะคอมโพสิทเพิ่มเติมตรงข้างสายพานทั้งสอง พร้อมกับเกราะลูกกรงด้านหลังตัวรถและป้อมปืนกันอาร์พีจี(เสลตอาร์เมอร์)และเกราะแผ่นกันเครื่องยนต์จากระเบิดเพลิง (กลัวม็อบปาใส่เครื่องยนต์?)
ภาพนี้แสดงถึงส่วนที่ติดตั้งอัพเกรดเพิ่มเติมเป็นสีน้ำเงิน
โพสต์ท่าหลังอัพเกรดเสร็จ
งานนี้ฝรั่งเศสยังไม่ซื้อ ยูเออีสั่งซื้อไปเรียบร้อยเมื่อสองปีที่แล้ว
ท้ายสุดเรื่องหน้าตา เอาแบบไม่อคติอะไร จะบอกว่าการออกแบบโอพล็อตัมนไม่เหมือนออกแบบใหม่หมด เหมือนกับการต่อเติมจากเดิมเพิ่มเตม เลยดูครึ่งๆกลางๆ ไม่ลงตัวมากๆ ดูไม่เป็นชิ้นเดียวกันทั้งคั้น เหมือนโปะๆกันหลายชิ้น
แล้วดูค่อนข้างรุ่งริ่ง ทีเก้าสิบยังดูลงตัวกว่านะครับ แต่ก็อย่างว่า นานาจิตตัง
สรุปว่าโอพล็อตไม่ได้มีความโดดเด่นเป็นเอกในด้านไหนเลย
ย้ำนะครับว่าที่ผมเขียนไม่ได้บอกว่าไทยไม่ควรซื้อโอพล็อต มันคนละประเด็นกัน
ประเด็นนึงก็คือเอ็มหนึ่งต้องยอมรับมันครับว่า ผ่านเยอะ แล้วผลงานโดยรวมต้องเรียกว่ายอดเยี่ยม (ถ้าจะบอกว่ายังไม่เคยสาวหมัดกับทีเก้าสิบ อย่างนี้เราจะบอกว่าเอฟสิบห้าไม่เจ๋งจริงมั้ยครับ ยังไม่เคยดวลกับซู)
อีกอย่างลีโอพาร์ดก็โชวมาเยอะในอัฟกันอิรัก ถึงจะไม่ได้ไปดวลกับใคร แต่ความทนทานการเอาตัวรอด สถิติถือว่าดีครับ โดนซุ่มสอยด้วยอาร์พีจีชนิดต่างๆ ไม่ยอมตายลากสังขารกลับฐานได้หลายครั้งไป
เรืองสำคัญก็การซ่อมบำรุงในอนาคตได้เป็นสิบๆปีที่ฝ่ายตะวันตกดูจะไว้ใจได้กว่าเยอะ (ในกรณีที่ไม่โดนการเมืองล่อกันเองซะก่อน)
เสริมนิดหนึ่ง
ไอ้ระบบโทรฟีนี่นอกจากป้องกันตัวได้ ยังจับทิศทางของต้นทางจรวดได้ เหมือนกับเรดาร์จับกระสุนปื่นใหญ่ ของพวกปืนใหญ่สนาม
จากนั้นก็วอลเลย์กลับใส่ไอ้ที่ยิงเรามา
เริดไหมล่ะ
คุณ toeytei เอารูป M1A2 มาลง เห็นแล้ว ...... เฮ้อ.......
"ผม" นี่ใครครับ หมายถึงตัว ขจกท. เองหรือ เหมือนอยากจะบอกว่ามันดีมันนู่นนี่นั่นนี่เป็นความคิดเห็นหรือผลที่ได้จากการทดสอบ นานาจิตตัง คงต้องรอดูตัวเป็นๆเท่านั้นแหละครับ
คุณ Toeytei ครับ Leopard มันยังไม่เคยโดน RPG นะครับ
มากที่สุดแค่ IED เท่านั้นครับ โดน 5 ครั้ง 4 ครั้งกลับฐานได้ อีก 1 เจ๊งพัง คนขับบาดเจ็บสาหัสจนตายคารถ คนที่เหลือหนีทันครับ
แล้วกรณี Challenger โดน RPG-29 นั้น ตรงที่โดนมี ERA กันไว้ด้วยครับ คนขับเลยแค่ขาขาด
ผมนี่ก็ผมล่ะครับ ไม่ได้เป็นเจ้าของกระทู้
คือผมจะบอกว่าดีจริง
แต่ไม่อยากให้ไปเข้าประเด็นว่าควรซื้อหรือไม่ครับเพราะมันก็วนไปวนมา แล้วเอ็มหนึ่งเต็มๆเราไม่มีสิทธิ์ได้อยู่แล้ว
สรุปเอ็มหนึ่งเคยโดนอาร์พีจียิบเก้าล่อไปครั้งหนึ่งตอนปี 2008
เกราะด้านหน้าหนาเกินจะเจาะได้จริง (อาร์พีจี32เจาะได้แค่ 750 RHa) แต่ก็เลือกเจาะเอาตรงที่เกราะอ่อน
หึๆ เห็น M1A2 แล้วนึกถึง อเมริกาขายรถถังจริงๆแฮะ...อย่างที่ขาย M1A1 มือ 2 คันล่ะเกือบ 5 ล้าน ให้โมรอคโก หรือ เสนอ M-1IP ให้ไทยเมื่อเร็วๆนี้....สงสัยถ้าอยากได้ M-1A2 แบบเต็มแม๊คคงต้องรอต่ออีกซัก 10 ปี...
ส่วนความลงตัว ก็คิดถึง Oplot รุ่นก่อนๆดีนะ หน้าตาลงตัวกว่า T-90 อีก แต่พอปรับรุงให้ประสิทธิภาพดีขึ้น กลายเป็นไม่หล่อกว่า T-90 คนเลยไม่ชอบซะงั้น...สงสัยถ้าเราซื้อรุ่นเก่ากว่านี้ คงไม่มีคนบ่นแล้วเนอะ...
พูดตรงๆ เรื่องรถถังนะ จะซื้อเรื่องอะไรก็ถูกบ่นหมดและ เช่น
- Leo-2A4/EVO (ไม่พูดถึง A6 เพราะไม่ได้เสนอ )-> คนจะถามว่า ผิด Tor ไหม A4 ปิดสายการผลิตแล้ว EVO ไม่มีคนใช้...ราคาเท่าไหร่ ? คุ้มไหม๊ถ้าจะใช้ต่อไปอีก 40 ปี ? ซื้อ K-1A1,T-90 บลาๆ ไม่ดีกว่าหรือ ?
- M-1IP (ตามที่อเมกาเสนอ) -> อะไหร่มีไหม๊ ? เอารถถังปืน 105 มาทำไม ?
- M-1A1 (ถ้าอ้อนวอนซื้อจากอเมกาได้น่ะนะ...เพราะเขาไม่เสนอให้เราได้ซ้ำ) -> แพง(คันล่ะ 5 ล้าน)...เปลือง เทคโนโลยีล่ะ บลาๆ
- K-1A1 -> ไม่มีจุดเด่นอะไรเลย แพงด้วย...เดี๋ยวก็มีคนถามว่าทำไม่ไม่ซื้อ T-90 ล่ะ คุณภาพ น่าจะดีกว่า ถูกกว่า...จริงไหม๊
- T-90 -> ต้นแบบ T-72 เก่า ... ไม่มี Shtora(เหมือนๆประเทศอื่นนั่นแหละ)...แล้วเชื่อผมไหม๊ว่าต้องมีคนบ่นว่าทำไมไม่ซื้อ Oplot...เพราะประสิทธิภาพดีกว่า
- Oplot -> ไม่สวย ไม่ดี อันนู่นอันนี้ดีกว่า ทำไมไม่ซื้อ M-1 Leo-2 K-1 T-90 แทน...แล้วก็วนลูปใหม่ไปเรื่อยๆ
อ่อ..จริงๆแล้วถ้าจะพูดรื่องรถถังของ "เรา" เราก็ควรเทียบกับรถถังที่เขาจะขาย"เรา" นะครับ จะได้เข้าใจง่ายดี...ตามข้อมูลมีดังนี้...
9 ตัวเลือกที่มีข่าวจากสมาชิก
1.OPLOT ยูเครน
2.M-84D โครเอเชีย
3.K1A1-TH เกาหลีใต้
4.SABRA ll อิสลาเอล
5.PT-91 โปแลนด์
6.T-72 AM เบลารุส
7.T-90S รัสเซีย
8.TH-91SE ยูเครน
9.MBT-2000 จีน
+ 2 จากเอกสาร ทบ. และสื่อ
10.Leopard-2A4
11.M-1IP
นี่คือตัวเลือกของ "เรา"...น่าสนุกดีนะครับ...
เห็นด้วยกับคุณ tow ครับ และอย่างน้อย ทหารบกก็เป็นผู้เลือกใช้เอง
อันนี้ผมพูดรวมๆ ไม่ได้เจาะจงกระทู้นี้นะครับ ผมว่าที่เราถกเถียงกันไม่จบเพราะชอบปน topic เช่นกระทู้ 1) พูดเรื่องความเหมาะสมของ oplot กับไทย กระทู้ 2) พูดเรื่องประสิทธิภาพของรถถังรุ่นต่างๆ เปรียบเทียบกับ oplot
แต่ถกไปถกมา ในกระทู้แรกก็ไปปนเรื่ิองว่ามันสู้รุ่นนี่รุ่นนั่นไม่ได้ ในกระทู้สองก็มีคนบอกว่ามันเหมาะสมถึงแม้จะไม่ได้ดีที่สุด มันก็กลายเป็นเถียง content เดียวกันแต่คนละ topic วนไปวนมา
เพิ่มเติม
เนื้อหาจึงวนๆเวียนๆ ถกกันไม่ได้ไปไหนไกล ของดีที่ว่าอย่างLeopard2 M1 ก็ไม่ได้แพร่หลายทั่วโลก แต่นิยมในกลุ่มคนมีเงินบางประเทศเท่านั้น
อย่างเลอแคร์ที่ดูเกราะหนา มันก็ประมาณนี้่ เป็นโพรงเลย
ผมว่าเกราะที่เป็นโพรงโบ๋ๆก็ปกตินะครับ เป็นการออกแบบ spaced armour ทำเป็นชั้นๆ ธรรมดา
(คอมเมนต์นี้ผมไม่ได้กำลังมาบอกว่าเจ๋งไม่เจ๋งนะครับ ออกตัวก่อน) เพราะขึนเป็นเกราะตันนี่ก็วิ่งไม่ออกครับ
อย่างเอ็มหนึ่งก็หนักอึ้ง
ผมว่าที่ดูน่ากังวลสำหรับเลอเคลร์คือเกราะมันตั้งตระหง่านทำมุมฉากกับพื้นนี่สิ ไม่มีการลาดเอียงทำมุมอะไรหน่อยเลย
ถูกต้องครับ ท่าน MIG31 มีแต่ประเทศที่รวยๆที่ซื้อแต่ไม่ใช่เงินซื้อได้ทุกอย่างนะครับ
ก่อนจะซื้อต้องดูอนาคตด้วยนะครับว่าสามารถใช้งานแบบยาวนานหรือปล่าว ซื้อมาแล้วไม่มีอะไหล่หรืออะไหล่แพงก็ไม่ไหว ไหนจะเรื่องอื่นๆนะครับ รถถังยอดฮิต อย่าง M1 หรือ Leo ก็ใช่ว่าจะไม่ดีครับ แต่เราต้องดูก่อนว่า ราคามันแพงไปหรือปล่าว ส่วยสนับสนุนมันมีผลระยะยาวหรือไม่ หลายท่านบอกทำไม ไม่เอาM1 M1ถ้าไม่นับน้ำหนัก(ตัดออกไป) ก็คงสิ้นเปลืองน้ำมันหรือค่าใช้จ่ายเยอะไม่รวบค่าอาวุธค่าดูแลรักษาบานตะไท เปรียบเทียบง่ายๆ คล้ายๆ Gripen กับ Su ที่หลายๆคนอยากได้ SU แต่ ทอ.เลือกGripen พอมาวันนี้มันก็พิสูจน์ตัวเองได้อย่างไร้ข้อกังขา เพราะมันเหมาะกับประเทศเรามากกว่า อย่างที่ 2 Leo คันนี้ถือว่าดีที่สุดในบรรดารถถัง ถามว่าดีไหมดีมากครับ แต่รุ่นที่เสนอมัน A4 หรือปล่าวผมไม่แน่ใจ ซึ่งนั้นก็หมายถึงอะไหล่ และการดูแลรักษาที่ต้องใช้บ่อยๆอยู่แล้ว และที่สำคัญรุ่นที่เสนอเป็นมือ 2 ซึ่งผ่านการใช้งานหรือกาลเวลามาแล้ว มันก็เก่านะครับ มันจะสู้รถถังใหม่ได้อย่างไร ถ้าคถณจะซื้อรถ มือ 2 เป็น Bent รุ่นเก่าที่เป็นที่นิยม กับมือ 1 เอาง่ายๆ Civic คุณจะเลือกอะไร ระหว่าง รถเก่าใช้งานแล้วกับ มือ1ที่ เราสามารถขับเป็นคนแรกไม่เคยมีใครขับ เข้าเรื่องต่อ Leo A7 ช่างแพงแสนแพง ไมรู้จะลดลงหรือปล่าว และการถ่ายทอดเทคโนโลยีคงไม่ได้ทั้ง M1 Leo ส่วยเรื่องอาวุธ ถ้ายามมีเหตุสงครามจริงอาวุธพวกนี้จะแพงมากต้องใช้เงินจำนวนมากในการจัดหาหรือแม้กระทั่งซ่อมรบคงต้องใช้อย่างรอบคอบ ซึ่งยากต่อการจะฝึกให้ทหารเกิดความชำนาญ มาดู Oplot บ้าง รูปร่างหน้าตาแปลกๆที่หลายๆท่านบอก ส่วนนี้ตัดทิ้งออกนะครับ มาดูการสนับสนุน หลายครั้งที่เราบันทึกความเข้าใจกับยูเครนหลายๆฉบับเกี่ยวกับความร่วมมือ ซึ่งไม่ทราบว่ามีการร่วมกันผลิตรถถังหรือรถเกราะหรือไม่ ถ้ามองเรื่อง อะไหร่หรืออาวุธผมว่าคงไม่เป็นปัญหาเพราะ ทบ คงจะมีวิธีอยู่แล้วเพราะประเทศเราประเทศเดียวที่จัดหา ซึ่งต้องดูระยะยาวว่าเป้นยังไง ส่วนเรื่อง อาวุธผมว่ามีการสนับสนุนแน่นอนครับอาจจะผลิตเองด้วยซ้ำ และกระสุนอาจจะถูกกว่าของ Leo หรือ M1 เราสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่กังวลเรื่องใช้ไปเยอะจะเปลืองไหม ดูอย่าง Btr ซึ่งซ้อมรบบ่อยก็เพราะ มันสามารถตอบสนองผู้ใช้งานและประหยัดตามแบบประเทศเรา และอาจจะได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้วย เพราะหลังทบ. เริ่มมีการเรียก offset แล้ว ผมว่าตราบใดที่รถยังไม่มาอย่างเพิ่งตัดสินเลยครับ
บางทีมันอาจจะเป้นเหมือน Gripen ก็ได้ ตอนแรกไม่มีใครชอบเพราะมาใหม่ไม่ค่อยมีใครใช้ แต่มาวันนี้ทุกๆคนยอมรับมัน ไร้ข้อกังขา
เนื่อหาผิดพลาดตรงไหน ก็ขออภัยด้วยนะครับ
ผมไม่ได้จะแตกประเด้นไปนะครับ เพียงแต่ว่า กรีเฟน ของเราเนี้ยไม่ได้กังขาด้าน ประสิทธิภาพ ราคาถูกประสิทธิภาพมันก็โหล่ไปตามตัวมัน (นักบินมือหนึ่งก็ออกมาให้จุดบกพร่องแล้ว)แต่เราจัดมาแพงนี่สิครับมันก็เลยไม่สมเหตุสมผล ประมาณว่าจ่ายเงินเป้นล้านน่าจะได้ครัมรี่ตัวล่าสุด แต่ไหงถึงได้ซีวิคตัวเตารีดมาซะฉิบ พอมีการโต้เถียงมากๆก้ไปทั้งที่มันขุ่นๆนี่แหละ เหมือนกับ ไม้ผีจับระเบิดสุดเงิบนั่นประไร ล่าสุดก็เรือเหอะรับแรงกระแทกไปแล้ว สรุปง่ายๆครับ ไม่ได้กังขาด้านประสิทธิภาพแต่สงสัยไมมันแพงจังไม่สมค่าตัวเลย
โพรงโบ๋นี่ไม่ปกติเลยครับ ไม่มีรถถังรุ่นไหนในโลกตอนนี้ที่เกราะโปร่งกลวงครับ มีแต่เกราะตันหรืออย่างที่สุดคือเกราะสลับชั้นทั้งนั้น ส่วนใหญ่รถที่หนักไม่หนักก็คือเกราะนี่ล่ะครับ คือน่าสนใจว่าทำไมเลอแคร์จึงเอาส่วนหน้าที่เป็นมุมปะทะเป็นจุดใส่ของ ส่วนใหญ่จะมีเกราะคอมโพสิตปิดด้วยเหล็กหนาก่อนถึงตัวป้อม
แต่อย่างChallenger2เองก็หนามากๆ ทั้งหนาและหนักมากเพราะเสริมERAเข้าไปอีกชั้น
ประเด็นเรื่องราคากริฟเพนผมว่ามันจบไปนานแล้วนะ ว่าราคาพร้อมอะไรบ้างไม่ทราบว่าไม่รู้จริงหรือแกล้งไม่รู้ครับ? แล้วที่ว่านักบินมือหนึ่งคือใคร?แล้วจุดบกพร่องคืออะไรแล้วทอ.ต้องซื้อเครื่องบินแบบไหนมันถึงจะไร้ข้อกังขา?
เอาล่ะในเมื่อยอมรับในเรื่องประสิทธิภาพ มีคำถามน่าสนใจ....พวกคุณคิดว่า oplot น่าจะราคาเท่าไหร่ครับ...ถึงจะเรียกว่าเหมาะสม ???
โดย ข้อมูลการจัดหารถถังในช่วงนี้มีดังนี้ครับ
- Bangladesh จัดหา MBT-2000 44 คัน งบ 160-200 million ปี 2011 เฉลี่ยคันล่ะ 3.6-4.5 million
- Cyprus จัดหา T-80U(มือ 2) 41 คัน งบ 115 €million(~154m) ในปี 2010 เฉลี่ยคันล่ะ 3.7 million
- Saudi Arabia จัดหา M-1A1/2 373 คัน งบ 2.9 billion ในปี 2008 แถม M-1A1 58 คันในนั้นเป็นมือ 2 เฉลี่ยคันล่ะ 7.7 million
- Morocco จัดหา M-1A1(มือ 2) 200 คัน งบ ~1 billion ปี 2012 เฉลี่ยคันล่ะ 5 million
- Thai จัดหา oplot 49 คัน งบ 200 million ปี 2011 เฉลี่ยคันล่ะ 4 million
- indo จัดหารถถัง 100 งบ 280 million คันคือ
- T-64 Bulat มือ 2 100 คัน เฉลี่ยคันล่ะ 2.8 million
- Leopard-2 มือ 2 100 คัน แบ่งเป็น EVO 62 + A4 40 คัน เฉลี่ยคันล่ะ 2.8 million
- T-90 ไม่ทราบข้อมูล
Leopard2 เนี่ยนะใช้ไม่แพร่หลาย ใช้ตั้ง 15 ประเทศเนี่ยนะครับ? ผลิตก็หลายพัน ผมว่าคงไม่ใช่ละครับ
M1 ถึงแม้มีประเทศใช้น้อยเพียงสี่ห้าประเทศ แต่สหรัฐฯ คนเดียวก็จะเป็นหมื่นคันแล้ว ดังนั้นเรื่องฐานผู้ใช้เมื่อเทียบกับ oplot ต้องถือว่าขาดลอยจริง
ไหนๆ ก็นอกเรื่องกันแล้ว (ฮา) ขอต่อเลยละกัน เนื้อหาที่คุณ qwertyuiop พูดถึงผมคิดว่าผิดหลายจุดเลยนะครับ ยกตัวอย่าง
"อะไหร่หรืออาวุธผมว่าคงไม่เป็นปัญหาเพราะ ทบ คงจะมีวิธีอยู่แล้วเพราะประเทศเราประเทศเดียวที่จัดหา" ผมว่ามันน่าจะตรงกันข้ามมากกว่านะครับ มันควรจะมีปัญหาเพราะเราเป็นประเทศเดียวที่จัดหามากกว่า
เรื่องรถถังมือสองสู้รถถังใหม่ไม่ได้ อันนั้นผมว่าก็ไม่แน่เสมอไป เรือรบรถถังหลายรุ่นที่ผลิตก่อนใช้ก่อนแต่ปลดประจำการทีหลัง อายุการใช้งานยาวนานกว่า
รถ Benz มือสอง ถ้าหากคันราคาเท่ากับ civic มือหนึ่ง ผมว่ามันก็แล้วแต่คนครับ
คัมรี่ก็มีหลานรุ่นนิครับ คัมรี่ 2.0 ก็มี 2.4 ก็มี ออฟชั่นต่างกันนะครับ เฉพาะตัวซิวิค 2.0 ก็แรงกว่า คัมรี่ 2.0 แน่ๆ แต่ราคาถูกว่า นี่เอาความแรงดวนตรงๆ นะ ผมว่าอยู่ที่ภารกิจ จะถึงขนาดบอกว่า ประสิทธิภาพโหล ตามราคา แล้วใช้กับภารกิจไหนล่ะครับ เหมารวมทั้งหมดนั้น ดูใจแคบไป ซึ่งที่จริงอ่านแล้ว ก็พอรู้ว่า ตรรกกะ บางท่านอยู่บนพื้นฐานอะไร จาก..ไหน
เรื่องราคาโอพล็อตนี่ผมก็งงเหมือนกัน เพราะตอนแรกสุดข่าวออกมาด้วยราคาที่ถูกจนทุกคนในบอร์ดบอกว่าถูกขนาดนี้เอาเหอะ คุ้ม
หลังจากนั้นซํกพักก็กลายเป็นว่าราคาไม่ต่างกับรุ่นอื่นๆ ผมก็งงจริง
คุณ akula ผมว่าอย่าไปสนใจที่คุณ yukikaze เขียนมากเลยครับ ส่วนตัวผมรู้สึกว่าคุณ yukikaze เขียนยั่วให้คนอื่นๆ เสียอารมณ์มากกว่า คิดว่าคนอื่นๆ ในบอร์ดก็คงไม่ได้คล้อยตามอะไร (ถ้าบอร์ดดังๆ แห่งนึงก็ไม่แน่ ฮา)
คุณ akula อย่าไปสนใจเลยครับ ขนาดพิมพ์ภาษาไทยยังจงใจพิมพ์ให้ผิดได้เลยครับ เช่ย ยังไงก็พิมพ์เป็นยังงัย ใครก็พิมพ์เป็นคัย เถียงไปก็เหนื่อยเปล่าๆครับ
Leopard-2 ใช้จำนวน15ประเทศ ช่วยยกตัวอย่างประเทศผู้ใช้ที่งบดุลทหารใกล้เคียงกับไทยเราหน่อยสิครับใน15ประเทศผู้ใช้ที่ว่าเนี้ย งบทหารใกล้เคียงหรือเท่าๆกับเราเนี้ยมีซักประเทศมั้ยครับ เทียบงบประมาณจัดหาอาวุธในแต่ล่ะประเทศที่ว่า นี่ยังไม่รวมค่าซ่อมบำรุงบลาๆ
แพร่หลายแต่ในประเทศยุโรปซะส่วนใหญ่ แถมประเทศรองลงมาที่จัดหารถถังมือสองก็ไล่กวาดLeo2ไปทำอะไหล่และสำรองอย่าง ชิลี ซาอุฯ กาตาร์ อันนี้เรามีงบพอไปแย่งจัดหาไว้มั้ยครับ
รถถังมือสองบางรุ่นก็ใช้เทคโนโลยีสมัยตอนผลิตไม่ได้พัฒนาไปไหน ไม่งั้นคงไม่มีการอัพเกรดใหม่ ถ้าเราจัดหารถถังยุคสงครามเย็นก็ได้เทคโนโลยียุคสงครามเย็นมาใช้งานและต้องเสียเงินอัพเกรด ไม่งั้นทบ.คงจัดหาM60A3TTS มาใช้ให้เพียบแล้วล่ะครับ
อารมณ์เหมือนอยากได้I-phone5 แต่ว่าไม่มีเงินเติมค่าโทร
ผิดพลาดส่วนขอโทษหลายๆท่านด้วยนะครับ
ผมเองก็ไม่รู้เรื่องรถถังมากเท่าไหร่ ผมแสดงตามความเข้าใจของผม แต่เห็นกระทู้ oplot มีแต่คล้ายๆแบบเก่าเยอะเกิน ^^
ผมเองใจจริงก็ไม่อยากได้ oplot หรอก ผมเชียร์ Leo มากกว่า แต่ถ้า ทบ เขาเลือกแล้วมันทำอะไรไม่ได้ แต่ผมหวังว่า ทบ คงจะได้โปรโมชั่น ผลิตรถถัง รถเกราะ บ้าง ซึ่งผมมองไปยังอุตสาหกรรมในภายภาคหน้ามากกว่า ดีกว่าซื้อมาเปล่า ๆ ไม่มีอะไรเพิ่มเติม ประชาชนอย่างผมแค่หวังว่า ขอให้กองทัพเลือกแต่สิ่งดีๆให้คุ้มกับเงินภาษีของเราที่เสียไปก็พอ ^ ^
แล้วสรุปว่าหลายๆท่านคิดว่า Oplot น่าจะที่ราคาเท่าไหร่ดีครับ ?
ในเมื่อปัจจุบันรถถังตะวันตกบางประเทศ ซื้อมือ 1 ที่ 7 ล้าน บางประเทศซื้อมือ 2 ที่ 5 ล้าน
รถถังรัสเซียรุ่นก่อน Oplot ซื้อมือ 2 ที่ 3.7 ล้าน
รถถังจีนซื้อมือ 1 ที่ 3.6-4.5 ล้าน
รถถังยุเครนมือ 1 ควรอยู่ที่เท่าไหร่ครับ....ครึ่่งราคาของมือ 2 ตะวันตก ? ถูกกว่าจีน ? หรือ เท่ากับ มือ 2 รุ่นก่อนหน้าดีครับ ?
Oplot ก็ดีแล้วครับ น้ำหนักน้อย คล่องแคล่วปราดเปรียวแต่หมัดหนัก แถมได้รถถังที่มีเทคโนโลยีเต็มประสิทธิภาพเท่าที่เราอยากได้ขาดอยู่อย่างเดียวจริงๆ ถ้าได้ตัวเป็นๆมาทดสอบก็เป็นอันจบข่าว
ผมขอพูดประเด็นราคานิดนึงครับ ปกติการซื้อขายลักษณะนี้มักจะไม่มีการแสดงรายละเอียดทั้งหมดอยู่แล้า(เป็นทุกประเทศเพราะมันเชื่อมโยงหลายด้านโดยเฉพาะคะแนนนิยมองรัฐบาล)ราคาที่เห็นจากหลายๆแหล่งจึงมักเอามูลค่าสัญญารวมๆมาถัวเฉลี่ยเอาเองตามตรรกของแต่ละคน อันที่จริงแม้แต่ตัวสัญญารวมเองก็ไม่ใช่จะเป็นมูลค่าแท้จริงด้วยซ้ำเพราะอาจมีบางส่วนที่ว่าไม่สามารถเปิดเผยได้ซึ่งก็คงได้ยินกันบ่อยๆ
ทีนี้เราต้องอย่าลืมนะครับว่าการซื้อขายระหว่างรัฐเค้าจะต้องมีการต่อรองเงื่อนใขผสานประโยชน์ร่วมกันมูลค่าการซื้อขายอาวุธมันเป็นเพียง หนึ่ง ในเงื่อนใขสัญญาที่มีขึ้นเท่านั้น บางอย่างก็อาจตีมูลค่าไม่ได้
ยกตัวอย่างนะครับ แม่พาลูกไปซื้อของเล่น ลูกชี้ของที่อยากได้เสร็จก็จบที่เหลือแม่ก็ไปต่อรองกับแม่ค้าเอาเองได้ของมา ลูกไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจริงๆแม่จ่ายเงินไปเท่าไหร่(จากราคาป้าย) ได้อะไรแถมมาบ้าง แล้วแม่มีเงินติดกระเป๋าเท่าไหร่ คงพอเห็นภาพนะครับ
สรุปสั้นๆมูลค่าจากการซื้อขายอาวุธนี่ถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับมูลค่าสัญญาเงื่อนใขที่รัฐบาลสองประเทศทำต่อกัน มันคือกานผสานประโยชน์ของสองประเทศครับ
เจ้าโอทอปM. ในความเห้นเลยนะ เป้นมือสอง(t-84) แล้วเอามาบิวท์ ใส่นู้นนี่นั่น ผมให้เต็มที่แบบไม่มีอัคติเลยนะ 2ล้านus. + - ได้นิดหน่อย ถ้าราคานี่พอได้+ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ด้วยนะครับ ถ้าได้ตามนี้ก็สมน้ำสมเนื้อ
ตอบคุณ MIG31 ผมไม่ได้บอกครับว่าประเทศที่จัดหา Leopard กับประเทศเรามีงบฯ ใกล้เคียงกันเลย
ประเด็นคือ เมนต์ของคุณนั้นบอกว่า Leopard และ M1 ใช้ไม่แพร่หลาย ผมก็แย้งว่าไม่จริง จากการอ่านเมนต์ผมเข้าใจว่าท่านต้องการสื่อว่า Leopard 2 กับ M1 ก็อาจจะไม่ได้มีฐานผู้ใช้เยอะซึ่งจะหมายถึงอะไหล่และการซ่อมบำรุงที่สะดวกกว่ารถถังที่มีผู้ใช้ในปริมาณน้อย
ถ้าหากเมนต์นั้นคุณบอกว่า Leopard 2 กับ M1 ไม่แพร่หลายในกลุ่มประเทศที่งบทางการทหารใกล้เคียงกับประเทศไทย ผมก็คงไม่แย้งเลยครับ
มันคนละประเด็นกันครับ เรื่องงบทางทหารของไทย กับความแพร่หลายของชนิดรถถังรุ่นนั้นๆ
คุณไม่ได้พูดในเมนต์นั้นเรื่อง ความทันสมัย ไม่ได้พูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างงบประมาณกับผู้ใช้รถถังแต่ละชนิด ไม่ได้พูดเรื่องการซ่อมบำรุง คุณพูดเรื่องเดียวครับคือความแพร่หลาย
แล้วทำไมพอผมแย้งท่านก็กลับสวนมาเรื่องความทันสมัย เทคโนโลยี งบประมาณทางการทหาร ค่าซ่อมบำรุงบลาๆ ซะอย่างนั้น
เหมือนกับว่าผมเป็นคนจนๆ คนนึง ได้ยินท่านบอกว่า iPhone 5 ใช้ไม่แพร่หลาย แล้วผมแย้งว่า iPhone5 ออกจะฮิต ท่านกลับสวนผมว่า แล้วผมเงินซื้อเหรอ iPhone5 มีแต่คนรวยเข้าใช้กัน ทั้งๆ ทีความจริงผมจะมีเงินหรือไม่มีเงินจะรักหรือจะเกลี่ยด iPhone 5 มันก็ฮิตอยู่ดี
ถ้าผมไปทำท่านของขึ้นก็ขออภัยละกันครับ
ข้อสังเกตุของผมนะครับ ทำไมประเทศยุโรบ ถึงประจำการ leo2a4 เยอะมาก มีหลายประเทศ น่าจะมาจากยุคสงครามเย็น เพราะกลัวรัสเซียบุกมั้งครับ แต่ปัจจุปันภัยคุคามมันต่ำลง ถึงเริ่มปลดประจำการออกมาขายพอสมควร เท่าที่สังเกตุอีกอย่างพวกยุโรบมักจะใช้ของทวีปเดียวกันเป็นหลักก่อน ถ้าไม่มี หรือดีไม่เท่าถึงจะใช้ของคนอื่น แล้วอีกเรื่อง เห็นคุยกันมาก ว่าอันไหนดีหรือไม่ดี แต่ผมว่าลืมคิดเรื่องหนึ่งไปนะครับ คือเรื่องน้ำหนักของตัวรถถัง รถถังที่เชียร์กันว่าดีเนี่ยตก เข้าไป60t+เกือบทั้งนั้นเลย เรืองนี้อาจจะเป็นหลักสำคัญที่กองทัพบกมาใช้ก็ได้มั้งครับ อย่างตอนสงครามเวียดนาม อเมริกาคำนวนแล้วแถวอาเซียนเนี่ยใช้รถถังหนัก มีสิทธิติดหล่มมาก อเมริกาเลยใช้แต่รถถังเบาเป็นหลัก
1.ขอหลักฐานว่า เป็น T-84 มือ 2 เอามา rebuild เอาแบบที่มีอ้างอิงนะครับ...ไม่ใช่พูดลอยๆ อันนี้ข้อหลักเลยครับ เอาหลักฐานจากไหนว่าเป็นมือ 2 ครับ อันนี้สมควรตอบ เพราะจะบอกมาตรฐานของคุณว่าคุณเป็นประเภทมั่วหรือไม่
2. ขอเหตุผลว่าทำไมของ T-84 มือ 2 (ตามที่คุณอ้าง) ถึงจะต้องถูกกว่า T-80U มือ 2 ครับ ? เพราะ T-80U มือ 2 ราคาเฉลี่ยที่ขาย 3.7 ล้าน ส่วน T-84 ซึ่งใหม่กว่าคุณให้แค่ 2 ล้าน ?
3. ทำไมถึงคิดว่า T-84 มือ 2 (ตามที่คุณอ้าง) ราคาถึงใกล้เคียงหรือถูกกว่า T-64 bulat (2 ล้านปลายๆไม่ใช่นิดหน่อย) ทั้งๆที่คนขายเดียวกัน แต่ bulat เก่ากว่า ?
....ไหนๆก็ บ่นยังงู่นยังงี้แล้ว เอาขอมูลมากพูดกันหน่อยก็ดีนะครับ จะได้พิสูจน์ความน่าเชื่อถือของคนพูดครับ
ปล.ถ้าจะบอกว่าเราคาแล้วแต่ดีล แล้วแต่ขอตกลง...ยังงี้อยากทราบว่ามีใครในนี้ ทราบไหมครับว่าดีลของเราแตกต่างจากดีลแพงๆอย่างไร เราดีกว่าหรือด้อยกว่าอย่างไร ? ใครรู้ข้อตกลงของเรามั่ง...แล้วถ้าเราไม่ทราบทำไมบางคนกล้าพูดว่าเราซื้อแพง ?
ประเด็นคือ การเลือก ถ. รุ่นนี้ ไม่ได้มีการทดสอบ เปรียบเทียบ กับ ถ. แบบอื่นและชี้แจงอย่างเป็นทางการ
ทำให้หลายคนอดสงสัยถึงประสิทธิภาพของตัว ถ. ซึ่งในความจริง กองทัพเควรเปิดเผยข้อมูลมากกว่านี้
เพื่อลดข้อสงสัยของประชาชน
ถ้าเทียบM-1 ตัวOplot-Mก็แพร่ได้ครับ เพราะพื้นฐานโดยเฉพาะระบบขับเคลื่อน รองรับน้ำหนัก มันก็พื้นเพเดียวกันกับT-80ในยุคสหภาพโซเวียตที่ผลิตรวมกว่า5พันคัน มีผู้ใช้งานเกาหลีใต้ เบราลุส ยูเครน ปากีสถาน เป็นต้น ถ้าไม่เทียบกับT80 เทียบกับT-84-120 ของตรุกรีก็ได้ครับ Oplot-Mมันต่างที่ภายนอกแต่พื้นฐานระบบขับเคลื่อนมันก็T-80ปรับปรุงไม่กี่จุด เฉพาะช่วงล่าง เครื่องยนต์มีทั้งยูเครน รัสเซีย ฝรั่งเศส(เครื่องยนต์ตัวนี้PT-91มาเลฯใช้อยู่)
ส่วนระบบอำนวยการรบมีของอิตาลีก็มีเช่นSALEXที่ผลิตชุดอัพเกรดรถถังตระกูลT แม้แต่รถถังPT-91 T90M ก็ยังใช้ชุดอัพเกรดจากฝรั่งเศสได้เช่นกัน แสดงถึงความอ่อนตัวในการดัดแปลงหากอนาคตยูเครนไม่ได้ผลิต ปืนกลหนักเหนือป้อมOplot-Mก็ใช้M2HBได้ ปืนใหญ่มีให้เพียบทั้งกระสุน ตัวปืน
ยูเครนผลิตรถถังตอบสนองลูกค้าใช้ชื่อต่างกัน แต่พื้นฐานเดิมๆมันก็T-80/84ในช่วงยุคสหภาพโซเวียต อยู่ที่จะดัดแปลงระบบอำนวยการบ ให้ต่างกันแค่ไหน
ทั้งนี้แสดงให้เห็นว่า รถถังที่ผลิตในยูเครนมีผู้ใช้หลักร้อยต่างกันแค่ความต้องการของแต่ล่ะประเทศไม่เหมือนกัน และพื้นฐานรถก็ใช้ร่วมกันได้ เหมือนSaberยิวกับM-60 ที่ตัวรถ เครื่องยนต์ก็ครือๆกัน
เทียบความแพร่หลาย Stingray เรายังโดดเดี่ยวกว่าอีก
สนับสนุนแนวทางของคุณ tow ครับ
เรื่องการ เอาของเก่ามาทำใหม่ หรือดัดแปลง ผมว่ามันจบไปแล้วนะครับ เพราะมีหลายๆคนอธิบายเหตุผลไปแล้ว
อ่านได้ใน TFC หรือ TAF ได้ครับ
เกราะมีช่องว่างระหว่างแต่ละชั้นไม่ใช่เรื่องแปลกครับ
spaced armour อย่างลีโอสองปัจจุบันก็ใช้ครับ รถถังแทบทุกรุ่นไม่มีการเรียงเกราะแต่ละชั้นติดกันหมดครับ (น่าจะเหมือนที่คุณเรียกว่าเกราะสลับชั้น) แต่จะมีการเว้นช่องไว้ระหว่างชั้น
ส่วนใหญ่เขาจะใช้หลายๆแบบยำรวมกันครับ การเรียงแยกชั้นเป็นเทคนิคที่เก่างักแต่ได้ผลดีกับการป้องกันหัวรบแบบ HEAT และแทบจะเป็นแบบเดียวที่กัน HESHได้ ถึงหัวรบแบบหลังจะเริ่มหมดความนิยม
เรื่องเกราะชาแลนเจอร์ผมไม่แน่ใจว่าคุณ mig -31 หมายถึงเป็นส่วนหนึ่งในเกราะหลาบๆชั้น หรือติดตั้งภายนอกแบบเสริม เพราะเกราะชาแลนเจอร์กรณีไม่ติดตั้งเสริมด้านนอกไม่ใช้อีรานะครับ
เช่นเดียวกับเอ็มหนึ่ง คือเป็นเกราะเซรามิคปฏิกิริยาแต่ไม่ได้ระเบิดออกมาครับ วิธีการคือตัวเซรามิคจะเกิดปฏิกิริยาเมื่อถูกกระสุน HEAT เจาะผ่านชั้นนอกเข้ามาก่อน เซรามิคจะโดนแรงเจาะของหัวรบจนแหลกเป็นผุยผงภายใต้แรงดันสูงมากๆแต่ขระเดียวกันก็ทำการยับยั้งการเจาะทะลุของหัวรบ heat ไปในตัว
ปัจจุบันมีสามระบบหลักๆที่กันหัวรบฮีทได้คือ เซรามิคลามีเนท อีร่า กับสเปซิงนี่แหละครับ
ตัวเลขจริง+-นิดหน่อยนะครับของช่วงปี2009ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงพอควรแต่ ถ้าจะพูดถึงงบกลาโหมอย่างเดียวช่วงระนาบเดียวกับเราก็ตามนี้
(us dollars)
Denmark 4,588,000,000 (57 Leopard 2A5DK)
South Africa 4,572,000,000
Kuwait 4,411,000,000 (218 M1A2s downgraded )
Switzerland 4,392,000,000 ( 380 2A4s)
Thailand 4,336,000,000
Oman 4,047,000,000
Egypt 3,914,000,000 (ไม่รวมที่u.s.ช่วยอีกปีละพันกว่าล้านเหรียญ) 1,005 M1A1s+125 ordered
Finland 3,718,000,000 ( 139 Leopard 2s)
Austria 3,446,000,000 ( 114 Leopard 2A4s)
Ukraine 3,442,000,000
Malaysia 3,259,000,000
Morocco 3,256,000,000 (200 excess M1A1s refurbishment&enhancement)
http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_military_expenditures
จากตัวเลขคร่าวๆจะเห็นว่างบเราไม่ได้น้อยอะไรขนาดนั้น งบบ้านเราก็เพิ่มขึ้นเกือบทุกปีในช่วงหลังด้วย หากสถาณการณ์บ้านเมืองสงบและ
ทบ.อยากได้leopard2หรือ M1a1 upgrade ก็ย่อมได้อยู่แล้วเรื่องนี้งบประมาณไม่น่าใช่ปัญหาหลักหากต้องการจริงๆ
ดีลของยูเครนถ้าได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีบ้างเช่นการผลิตกระสุน125มม.แบบต่าง กับให้เราผลิตชิ้นส่วนบางอย่างเช่นพวกสายพานได้ก็นับว่ารับได้กับราคานี้
แต่เรื่องจำนวนผู้ใช้นี้น่าห่วงสุดสำหรับออปลอต ยูเครนเองก็ประจำการอยู่ประมาณ5-10คันเองแม้จะมีแผนจัดหาเพิ่มในอนาคตแต่ด้วยทางยูเครนเองก็มีปัญหาเรื่องงบประมาณจึงยังไม่มีความแน่นอนนักในการจัดหาเพิ่ม เพราะถ.หลักของยูเครนเองคือT64ซึ่งปัจจุบันก็ทะยอยอัพเกรดเป็น BM Bulat จากคลิปที่เคยดูทหารของยูเครนก็ยอมรับว่าแม้oplotจะดีกว่าBulat แต่ก็มีปัญหาเรื่องงบในการจัดหาแถมช่วงปีที่ผ่านมาถ้าจำไม่ผิดยูเครนเองก็ตัดลดงบกลาโหมลงอีกด้วย
ซึ่งผมก็คิดคล้ายๆด้านบนนะครับ แต่ไม่ทราบเป็นแบบนี้หรือปล่าว
คือ เหตุผลที่สหรัฐใช้รถถังเบามาใช้เพราะพิ้นที่รอบๆเราหรือในประเทศเราเป็นดินอ่อน จึงใช้รถถังเบาก็อาจเป็นได้ หรือว่าช่วงนั้น M1 ยังไม่ได้ผลิตเลยไม่ได้นำมาใช้งาน
ไม่ทราบว่าที่บ่นๆกันน้ำหนักเบาๆนี้ได้พิจาณาเรื่องแรงกดต่อพื้นที่กันหรือไม่ครับ คิดว่าเคยมีคนพูดเรื่อองนี้ไปหลายรอบแล้วนะครับ
ผู้ชาย สูง 1.8 ม.รูปร่างปกติ : Ground Pressure 8 psi >> 0.56 kgf/cm2
Challenger 2: Ground Pressure - 0.9 kgf/cm2
T-90 : Ground Pressure - 0.87 kgf/cm2
BM Oplot : Ground pressure - 0.97 kgf/cm2
M1A1 : Ground Pressure - 13.8 PSI >> 0.970236 kgf/cm2
M1A2 : Ground Pressure - 15.4 PSI >> 1.0827 kgf/cm2
Leopard 2 : Ground Pressure - 11.8 psi >> 0.83 kgf/cm2 (ไม่ทราบรุ่นคาดว่าA4)
Stingray II : Ground Pressure - 0.8 kgf/cm2
http://www.morozov.com.ua/eng/body/oplot_mbt.php
light tank หมดยุคแล้วไม่มีใครผลิตกันแล้วไม่สอดคล้องกันภัยคุกคามยุคปัจจุบัน รถถังหลักปัจจุบันก็Ground pressureประมาณนี้
จะเอาเบาก็ต้องไปหาIFVแทนแล้วละครับ
เกราะ spaced armour นี่ปกติอยู่แล้วตั้งแต่รถถังรุ่นสงครามโลกจะเรียกว่าในป้อมปืนที่หล่อหรือเชื่อมขึ้นมานั้นจะมีเกราะสลับชั้นกันคั่นด้วยช่องว่างT-72Bใช้ช่องขนาด22มม.
แต่ส่วนเลอแคร์ ที่ผมพูดถึงก็คือเกราะเสริมอีกชั้นหรือง่ายๆว่าเหมือนเอากล่องเหล็กเปล่าๆเข้าไปแปะติดไว้กับตัวป้อมหลัก หรือจะเป็นNERAแต่มันบางมาก
ผมชักจะอยากเห็นเจ้า OPLOT ตัวเป็นๆมาวิ่งในไทยสักทีแล้วครับ เมื่อไหร่มันจะมาจะได้รู้ๆกันไปเลยว่ามันจะเป็นยังไง
จะได้ทำให้หายข้อสงสัยกันบ้างดีหรือไม่ดีจะได้รู้ๆกันไปเลย เห็นข้อมูลแต่ในกระดาษแบบนี้มันอึดอัด ความรู้สึกมันคล้ายๆกับตอนจะซื้อรถ
ขอให้ได้จับ ได้เห็น ได้ลองสักหน่อยนะ
ไปเจอรูปมาครับ
เคลียร์เลย
สรุปว่าเป็นช่องเก็บของไว้ด้านนอกสุด คงทำหน้าที่เป็นกึ่งๆเกราะไปในตัว กันเศษสะเก็ดระเบิดอ่อนๆ กระสุนปืนเล็ก
ส่วนเกราะจะอยู่ข้างในหลายชั้น มีอีราเป็นเซลๆ ต่อด้วยเกราะผสม(คอมโพสิท) ต่อด้วยแผ่นไทเทเนียม
แล้วก็ชั้นในสุดก็ผนังห้องป้อมปืนด้านใน
อีกอย่าง ตามความเข้าใจของผม เกราะ NERA จะเป็นหล็กหลายๆชั้นเรียงสลับๆกันอยู่ในเซลกล่องเหล็ก ไม่ใช่แค่กล่องเหล็กกลวงๆ
NERA แต่ล่ะรุ่นไม่ค่อยเหมือนกัน แต่แนวคิดคล้ายๆกันคือกระจายแรงระเบิดหรือลดอำนาจหัวรบระเบิดแรงสูงให้อ่อนลงก่อนปะทะเกราะหลัก จึงจะมีการออกแบบเป็นแผ่นโลหะแข็งอะไรก็ว่าไป มาติดที่มุมหน้าตัวรถหรือด้านข้าง โดยมีมุมเฉียงให้หัวรบสะท้อนหรือแฉลบ
อย่างรถถังรัสเซียมีการออกแบบแผ่นเหล็กปิดทับเกราะERA เพื่อป้องกันหัวรบเบาหรือกระสุนปืนกลหนักมาปะทะเกราะเสริมระเบิดซะก่อน
อย่างLeo2A5-7 วางเกราะเฉียงภายในเพื่อเบี่ยงแรงระเบิด
ไม่ต้องเถียงกัน ทบ. เปลี่ยนเป็นรถถังรุ่นนี้แล้ว
รับรองไม่มีใครยิงโดน