จากบทความ ปาถกฐาพิเศษหัวข้อ "อีกก้าว...ในการสร้างแสนยานุภาพ ให้กองทัพไทยด้วยการพึ่งพาตนเอง"
" ในโอกาสที่ สทป. ได้ดำเนินงานมาครบรอบ 4 ปีแล้วนั้น ผมก็ขอแสดงความยินดีกับผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ทุกท่านด้วย ในโอกาสครบ 4 ปี และขึ้นปีที่ 5 นั้น สทป. มีบทบาทในการวิจัยและพัฒนายุทโธปกรณ์ให้กองทัพใช้งาน ผมขอชื่นชมการดำเนินการนี้ที่ถือเป็นการเปลี่ยนประเทศไทยจากผู้ซื้อเป็นผู้ ผลิต ขออวยพรให้โชคดี และขอให้หน่วยงานและทุกภาคส่วนร่วมมือกันเพื่อสร้างพลังอำนาจให้กับประเทศ ของเรา
แนวทางการวิจัยที่ผ่านมานั้น ประเทศไทยมีการวิจัยและพัฒนาอยู่ในลำดับท้าย ๆ เพราะพื้นฐานของไทยนั้นมีทุกอย่างครบ การดิ้นรนต่าง ๆ กันจึงไม่จำเป็นต้องมีมากนัก ดังสุภาษิตไทยที่ฝรั่งไม่มีคือข้าวชามเย็นชาม เพราะไทยมีทุกอย่างเหลือเฟือ
แต่วันนี้เราเห็นว่าการวิจัยมีความ สำคัญ เพราะอยู่อย่างพื้นฐานอาจอยู่ได้ แต่ถ้าจะพัฒนาประเทศไปข้างหน้าต้องมีการวิจัยและพัฒนา อย่างไรก็ดีบ้านเรามีจุดแข็งคือด้าน Biotechnology และมีความเหมาะสมกับประเทศไทย เพราะประเทศไทยวางบทบาทเป็นครัวของโลก เช่น เรามีข้าวพันธุ์ดี มีผลไม้พันธุ์ดี มีกล้วยไม้หลายพันธุ์ที่เราทำขึ้นมาเอง มีปลานิลที่เติบโตเร็ว ซึ่งเป็นจุดแข็งของเรา
ซึ่งภาพรวมการวิจัยของ ไทยที่ผ่านมาเป็นการดัดแปลงและปรับปรุงมากกว่า โดยเป็นการวิจัยจริง ๆ น้อยมาก ส่วนมากเป็นการดัดแปลงและต่อเติม ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี อย่างเช่นนักเรียนอาชีวะที่มีการประดิษฐ์สิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ การประดิษฐ์เครื่องมือแพทย์ที่มีราคาถูกกว่าเครื่องมือแพทย์จากต่างประเทศ แม้กระทั้งทางทหารเอง ซึ่งกองทัพมีผลงานด้านนี้มาก เช่นท่านประธานของ DTI ก็เคยแกะหัวรบของ AIM-9 แล้วซื้อหัวรบใหม่มาเปลี่ยน ซึ่งสามารถประหยัดงบประมาณได้มาก กองทัพบกกับกองทัพเรือก็มีผลงานมากมายเช่นกัน
ปัญหาอันหนึ่งคือต่าง คนต่างทำ ไม่ค่อยได้รวมกัน กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ ต่างคนต่างทำ อันนี้คือสิ่งที่เคยเกิดขึ้นมา วิจัยออกมาแล้วก็แต่ไม่ค่อยได้ใช้ประโยชน์
ปัจจุบัน รัฐบาลให้ความสำคัญเรื่องการวิจัย โดยรัฐบาลแถลงต่อรัฐสภาว่าจะส่งเสริมการลงทุนด้านการวิจัยให้ได้ 2% ของ GDP คือเป้าหมายของรัฐบาล ซึ่งถือเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลต่อรัฐสภา ดังนั้นรัฐบาลต้องทำให้ได้ ที่กล่าวไปนั้นคือภาพใหญ่ที่ผ่านมาในอดีต
ใน เรื่องของประเทศรอบบ้านเรานั้น เช่น สิงคโปร์ ซึ่งมีอุตสาหกรรมหนักไม่มากนัก เพราะพื้นที่เขาน้อย แต่เขาเริ่มต้นด้วยการร่วมมือกันบริษัทต่างชาติเพื่อผลิตอาวุธ ซึ่งเป็นวิธีที่รวดเร็ว ปัจจุบันสิงคโปร์ส่งออกรถเกราะออกต่างประเทศ เช่นผมเคยไปชมรถเกราะ Terrex ของสิงคโปร์ซึ่งมาฝึกที่กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ร่วมกับ BTR-3E1 ของเรา ซึ่งฝีมือของเขา เช่นการเชื่อม นั้นมีความประณีตมาก ของ BTR-3E1 ก็ประณีตพอสมควร พอใช้ได้เหมือนกัน แต่นอกจากนั้นยังขายรถเกราะ Bronco ให้อังกฤษอีกด้วย ประเทศไทยเองซึ่งผมไปเยี่ยมหน่วยทหารที่ภาคเหนือก็ใช้เครื่องยิงลูกระเบิด ขนาด 40 มม.ของสิงคโปร์ นอกจากนั้นกองทัพอากาศเราก็ใช้ Simulator ของ F-16 จากสิงคโปร์เช่นกัน Simulator นั้นใช้ Hardware ไม่มากแค่ 20% แต่ที่เหลือเป็น Software ซึ่งทำให้เห็นว่าเขามีความรู้ความชำนาญแล้ว
มาเลเซีย ก็ทำคล้าย ๆ สิงคโปร์ แต่เขามีพื้นที่มาก จึงตั้งนิคมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศเพื่อให้ผู้สนใจมาลงทุน และเปลี่ยนรูปแบบการจัดซื้อจัดหาโดยไม่ใช่ซื้ออย่างเดียว แต่ต้องได้สิ่งที่เรียกว่า Offset หรือการร่วมพัฒนา ร่วมผลิต หรือให้ผู้ผลิตมาลงทุนด้วย ทำให้มาเลเซียได้ประโยชน์คืนมา นอกจากนั้นเขายังมี Exhibition เช่นที่จัดบนเกาะลังกาวี โดยเขามีการเซ็นสัญญาจัดหาอาวุธในงานนั้นด้วย ซึ่งดูแล้วดีมาก
แต่ เมืองไทยนั้นจ่ายเงินอย่างเดียว อย่างเราซื้อ Gripen นั้นเราก็อยากทำแบบนี้ แต่บ้านเราไม่มีอุตสาหกรรมรองรับเลย อันนี้คือจุดอ่อนของเรา ซึ่งเวลานี้ทหารไม่สามารถคิดได้แต่เรื่องการทหารแล้ว ต้องรู้ว่าทุกอย่างเกี่ยวพันธ์กันหมด ต้องเชื่อมโยงกัน
อีกชาติหนึ่ง ที่ไปไกลแล้วคือเกาหลีใต้ จากเดิมที่ซื้อ 100% ต่อมาก็เริ่มฝึกดูแล ดัดแปลง ซ่อมบำรุง ทำชิ้นส่วนต่าง ๆ จนสุดท้ายก็สามารถผลิตได้เอง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจ บ้านเราก็ทำอย่างนี้แต่เราไม่มีการต่อยอด แจกรางวัลแล้วก็จบกัน ปัจจุบันเกาหลีใต้ผลิตยุทโธปกรณ์ใช้เองถึง 75% เช่น เครื่องบินฝึก T-50 หรือรถถัง K1A1 และสามารถส่งออกได้ด้วย หรือเรืออย่างเช่นเรือผิวน้ำและเรือดำน้ำซึ่งมีการต่อเรือเองเป็นจำนวนมาก ประเทศอินโดนีเซียก็ต้องส่งเรือดำน้ำไปปรับปรุงที่เกาหลีใต้ นั่นคือสิ่งที่เขาทำได้ วันนี้เราดูเกาหลีใต้จะสังเกตว่าบริษัทเกาหลีใต้พัฒนาไปมาก จำได้ว่าผมเคยคุยกับนายทหารของเกาหลีใต้สมัยเป็นนาวาอากาศโท เขาบอกว่าสักวันหนึ่งเกาหลีใต้เขาต้องผลิตสินค้าเทียบกับญี่ปุ่นให้ได้ ตอนแรกเขาก็เริ่มจากการ Copy แต่ต่อมาเมื่อไม่มีอะไร Copy แล้วก็เริ่มทำการวิจัยเอง เวลาผ่านไปตั้งแต่ตอนผมเป็นนาวาอากาศโทจนถึงตอนนี้ เกาหลีใต้พัฒนาเทียบญี่ปุ่นแล้ว ปัจจุบันเกาหลีใต้ส่งออกยุทโธปกรณ์ 4 พันล้านเหรียญ เป้าหมายต่อไปคือต้องส่งออกให้ได้ 1 หมื่นล้านเหรียญ
มา ดูของเราแล้ว การมี สทป. นั้นก็เป็นนิมิตรหมายอันดีที่ก่อตั้งมา วันนี้ครบ 4 ปีที่ก่อตั้ง มีหน่วยงานเอกชนและสถานศึกษามาร่วมด้วย ถือเป็นภาพที่ดีที่สุดที่ได้เห็น ในอดีตเราต่างคนต่างทำ วันนี้เกิดความร่วมมือกันแล้ว ต่อไปงบการวิจัยของกองทัพอาจน้อยลงเพราะมี สทป. แล้ว แต่ สทป. ก็ต้องตอบสนองความต้องการของกองทัพให้ได้ แต่ทั้งนี้ สทป. จะทำแค่ต้นแบบ หลังจากนั้นจะต้องส่งให้เอกชนหรือโรงงานของกลาโหมทำและผลิตต่อไป แต่ถ้าเอกชนเข้มแข็งก็จะพยายามให้เอกชนผลิตให้ได้มากที่สุด
สทป. เริ่มจากการทำจรวด DTI-1 ซึ่งมีระยะยิงไกลถึง 180 กิโลเมตร ได้เทคโนโลยีจากจีน เป็นการ Reverse Engineering ซึ่งถือว่าสำเร็จแล้ว ต่อไปก็กำลังจะทำเป็นรุ่นนำวิถี แต่ความต้องการของกองทัพเปลี่ยนไป นโยบายต่างประเทศของเราก็คือป้องกันประเทศ ไม่รุกรานใคร ต่อไปในอาเซียนเราอาจจะไม่รู้จะรบกับใคร เพราะประเทศเราเป็นศูนย์กลางของอาเซียน เหมือนเป็นไข่แดง มีไข่ขาวล้อมรอบอยู่ ยิ่งต่อไปจะเป็นประชาคมอาเซียนแล้ว ถ้าเพื่อนบ้านเช่นพม่าเจริญ ปัญหายาเสพติดก็จะค่อย ๆ หมดไป ถ้าโครงการที่ทวายสำเร็จปัญหาแรงงานต่างด้าวก็จะหมดไป ซึ่งตรงนี้ต้องคิดแล้ว
ดังนั้น เมื่อเริ่มจาก DTI-1 แล้ว ก็กำลังพัฒนาไปเป็น DTI-1G วันนี้ความต้องการของกองทัพซึ่งเป็นลูกค้ารายใหญ่ของ สทป. ซึ่ง สทป. ต้องสนับสนุน เพราะกองทัพมีงบประมาณชัดเจน ซึ่งต้องมาสนับสนุน สทป. เช่นกัน วันนี้ทราบว่ามีผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ของไทยมาฟังด้วย จึงอยากจะพูดเรื่องรถเกราะ เพราะประเทศเรามีอุตสาหกรรมยานยนต์ที่เข้มแข็งมาก ดังนั้นตรงนี้ต้องพัฒนาต่อไป
ผมให้แนวทางกับ สทป. เรื่องรถเกราะเอาไว้ เพราะเรามีความต้องการอีก 2 กรม ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่มากพอที่จะผลิตตอบสนองได้ เทคโนโลยีของรถเกราะก็น่าจะอยู่ในวิสัยที่ทำได้ ซึ่งผมได้ให้นโยบายไว้ว่าเราจำเป็นต้องทำ ให้ร่วมกับเอกชนที่เก่ง ๆ ของไทย อย่างตอนนี้บริษัทของไทยก็ทำรถหุ้มเกราะ First Win ได้แล้ว แม้จะยังใช้อยู่น้อยก็ต้องสนับสนุนกันต่อไป เพื่อให้อุตสาหกรรมของเราเติบโต
รถ เกราะเป็นสิ่งที่เราเริ่มที่จะทำ งบประมาณก็มีแล้วในการวิจัย โดยกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ มาดูว่ามีความต้องการอย่างไร ต้นแบบตรงกับความต้องการหรือไม่ ซึ่งต่อไปเราอาจจะขายไปต่างประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มอาเซียน ถ้าเราจะให้เขาซื้ออาจจะให้เขาร่วมเป็นหุ้นส่วนกับเราในการผลิตด้วย เหมือนกับ EADS ที่ทำ Eurofighter Typhoon ซึ่งเป็นการร่วมมือกันของยุโรป และประเทศยุโรปก็ซื้อ Typhoon ใช้ นี่คือสิ่งที่เราต้องคิด สทป. จะมีแต่นักวิจัยอย่างเดียวไม่ได้ ต่อไปต้องคิดถึงการตลาดด้วย เช่นรถเกราะนั้น เวียดนามจะซื้อไหม ฟิลิปปินส์จะซื้อไหม
ดังนั้นรถ เกราะคือสิ่งที่ สทป. จะต้องเริ่มดำเนินการ ส่วนในเรื่องอื่นเช่น UAV จะต้องวิจัยต่อยอดจากสิ่งที่เหล่าทัพวิจัย ไม่ต้องเริ่มใหม่ นี่คือสิ่งที่ สทป. ต้องทำ ต่อไปอาจจะไม่มีเครื่องบินขับไล่แล้ว ดังนั้น UAV เป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งภาคเอกชนจะต้องมีบทบาทสำคัญในการร่วมที่จะทำตรงนี้ คนของ สทป. จะต้องมีความรู้ องค์ความรู้ที่ว่าโรงงานไหนทำอะไรได้ต้องอยู่ที่ สทป.
UAV นั้นมีโรงงานผลิตที่ระยองหลายบริษัททีเดียว ซึ่งไม่น่าเชื่อ นี่คือสิ่งที่ต้องร่วมมือกัน เมื่อไม่นานมานี้กองทัพสหรัฐก็เพิ่งมาดูโรงงานดัดแปลงรถหุ้มเกราะที่ส่งไป ที่อิรักซึ่งมีโรงงานที่ชลบุรี โดยเจ้าของเป็นฝรั่ง แต่มาตั้งโรงงานที่ชลบุรี มาเลเซียก็ซื้อรถจากที่นี่เหมือนกัน หรืออย่างชิ้นส่วนปีกของ Airbus ก็มีการผลิตชิ้นส่วนที่โรงงานที่นิคมอมตะ ซึ่งนี่คือสิ่งที่เราภูมิใจ
ปัจจุบันกองทัพเป็นผู้ใช้งาน เฮลิคอปเตอร์รายใหญ่ ดังนั้นอุตสาหกรรมการบินมีมูลค่าสูงมาก ถ้าเราทำศูนย์ซ่อมเครื่องบินในย่านนี้ และพัฒนาต่อไปเป็นการผลิตชิ้นส่วน ก็จะสามารถสนับสนุนยุทธศาสตร์ของประเทศได้ โดยต้องส่งเสริมให้มีการตั้งโรงงานซ่อมบำรุง เพื่อก้าวต่อไป ดังนั้นบริษัท TAI นั้น นอกจากมีทหารอากาศทำงานแล้ว จะต้องมีคนนอกมาทำงานด้วย และเหล่าทัพต้องช่วยกัน TAI ก็ต้องเข้าถึงลูกค้า ต้องแข่งขันให้ได้
เรื่อง เครื่องบิน การบินไทยต้องเป็นหัวเรือใหญ่ เช่นเครื่องยนต์เมื่อการบินไทยซื้อเครื่องยนต์เยอะ ๆ ก็สามารถตั้งโรงงานซ่อมที่ประเทศไทย ต้องมองให้ไกล เพราะไม่อย่างนั้นเราก็ต้องส่งเครื่องบินไปซ่อมที่ต่างประเทศ อย่าง C-130 ก็ต้องไปซ่อมที่มาเลเซีย
เป้าหมายการวิจัยก็คือการใช้ประโยชน์ให้ได้ เป็นรูปธรรม ซึ่ง สทป. ได้พิสูจน์แล้วว่าจรวดที่ทำเสร็จแล้วต้องใช้ต่อไป รถเกราะต้องผลิตให้ได้ UAV ต้องทำต่อ เป็นเป้าหมายที่ท้าทายแต่ สทป. ต้องทำต่อไป ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ วันนี้เป็นแค่จุดเริ่มต้น ท่านทั้งหลายจะต้องเดินต่อไปเพื่อให้ถึงเป้าหมาย อาจจะใช้เวลานาน แต่ต้องมีความต่อเนื่อง นโยบายต้องสานต่อไปเรื่อย ๆ ดังนั้นในโอกาสนี้ผมก็ขออวยพรให้ทุกท่านประสบความสำเร็จในภารกิจ เพื่อให้เราก้าวไปถึงเป้าหมายต่อไป "
ขอคาระวะครับ
ผมชอบตรงที่บอกว่า " ต่อไปในอาเซียนเราอาจจะไม่รู้จะไปรบกับใคร เพราะประเทศเราเป็นศูนย์กลางของอาเซียน เหมือนเป็นไข่แดง มีไข่ขาวล้อมอยู่"มันหมายความได้เลยว่าจากนี้เราชาวอาเซียนจะเป็นหนึ่งเดียวกันจะไม่มีประเทศอื่นมาหาประโยชน์โดยการยุแยงให้เราตีกันได้อีกครับ
งบวิจัย 2 แสนล้าน ถ้าผลักดันให้ได้ขนาดนั้นจริงๆ ไม่เพียงแต่การทหารไทยจะพัฒนา
แต่เรื่องการศึกษา วิทยาการ องค์ความรู้ไทยจะก้าวกระโดดด้วย
หรืออย่างน้อยๆ เด็กทุน พสวท. ที่ไปเรียนนอก โปรเจคหรูจนต่างชาติเขาซื้อสัญญาไป คงเหลือน้อยลง
แก้กฏหมายเกี่ยวกับอุตสาหกรรมด้านการทหารก่อนดีไม๊ครับ
ฟิลิปปินส์ยังมีโรงงานผลิตปืน ผลิตกระสุนมาขายบ้านเราเลย (armscor) กระสุนโดยเฉพาะกระสุนลูกกรด (.22lr) ยี่ห้อนี้ทำได้ดีไม่แพ้จากอเมริกาด้วยซ้ำ
หรือที่พูดมาเป็นเพียงแค่คำพูดสวยๆ ให้เกิดโครงการ แล้วรับส่วนแบ่งค่าหัวคิวรึเปล่า? อันนี้ผมก็ไม่รู้ (ผมอาจมองในแง่ลบ ซึ่งความจริงอาจไม่เป็นแบบนี้ก็ได้)
แต่ที่ผมรู้แน่ๆถ้าไม่แก้กฏหมายก่อน อะไรๆก็ดูจริงจังได้ยาก
ผมเบื่อแล้วครับกับคำว่า คนไทยเก่ง มีความรู้ความสามารถ ทำอะไรให้เป็นจริงๆจังสักทีดีไม๊
ผมเสียดายเวลา เสียดายโอกาส เสียดายความรู้ความสามารถของบุคลากร
จริงอยู่ว่าการทำเอง รุ่นแรกๆอาจมีข้อบกพร่อง หรือปัญหาอื่นๆ?
คำถามคือ ทำไมไม่พัฒนาต่อ เพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง จนนำเข้าประจำการ แล้วขายได้ล่ะ
ยกตัวอย่างสักสองโครงการที่โดยส่วนตัวแล้วรู้สึกเสียดายมากๆ
- จรวดเห่าฟ้า ถ้าพัฒนาต่อเราคงไม่ต้องซื้อ CRV-7 มาใช้กับเครื่องบิน กับ ฮ.
- คจตถ. แบบ 25 ขนาด 73 ม.ม. ถ้าไม่ยุติโครงการ เราอาจมี คจตถ.ที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพไม่น้อยกว่า RPG29 ก็เป็นได้
ขอยกกระทู้เก่าของคุณ tan02
http://www.thaifighterclub.org/webboard.php?action=detailQuestion&questionid=16702&topic=%A2%CD%AA%D2%C7TFC%AA%E8%C7%C2%E2%BE%CA%C0%D2%BE%CD%D2%C7%D8%B8%B7%D5%E8%A1%CD%A7%B7%D1%BE%E4%B7%C2%B7%D3%E0%CD%A7%20%B7%D1%E9%A7%C0%D2%BE%E1%C5%D0%A2%E9%CD%C1%D9%C5%A4%C3%D1%BA
ดูแล้วใครรู้สึกเสียดายเหมือนผมบ้างไม๊
ท่าน รมว.กห ประสพการณ์สูงมองไกลมาก คราวนี้ก็อยู่ที่หาง ว่าจะตามท่านทันไม๊
น่าคิดๆ อย่างที่ท่าน น่าคิด กล่าวใว้ครับ
หรือที่พูดมาเป็นเพียงแค่คำพูดสวยๆ ให้เกิดโครงการ แล้วรับส่วนแบ่งค่าหัวคิวรึเปล่า? อันนี้ผมก็ไม่รู้ (ผมอาจมองในแง่ลบ ซึ่งความจริงอาจไม่เป็นแบบนี้ก็ได้)
แต่ที่ผมรู้แน่ๆถ้าไม่แก้กฏหมายก่อน อะไรๆก็ดูจริงจังได้ยาก
ผมเบื่อแล้วครับกับคำว่า คนไทยเก่ง มีความรู้ความสามารถ ทำอะไรให้เป็นจริงๆจังสักทีดีไม๊
ผมเสียดายเวลา เสียดายโอกาส เสียดายความรู้ความสามารถของบุคลากร
จริงอยู่ว่าการทำเอง รุ่นแรกๆอาจมีข้อบกพร่อง หรือปัญหาอื่นๆ?
คำถามคือ ทำไมไม่พัฒนาต่อ เพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง จนนำเข้าประจำการ แล้วขายได้ล่ะ
ยกตัวอย่างสักสองโครงการที่โดยส่วนตัวแล้วรู้สึกเสียดายมากๆ
- จรวดเห่าฟ้า ถ้าพัฒนาต่อเราคงไม่ต้องซื้อ CRV-7 มาใช้กับเครื่องบิน กับ ฮ.
- คจตถ. แบบ 25 ขนาด 73 ม.ม. ถ้าไม่ยุติโครงการ เราอาจมี คจตถ.ที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพไม่น้อยกว่า RPG29 ก็เป็นได้
********************
ok
แม่นแล้ว
เรือรบไทยก็ต่อ้องมาหลายลำแล้ว นีบวันยิ่งต่อได้ขนาดใหญ่ขึ้น เทคโนโลยีดีขึ้น ไม่เห็นจะพูดถึง ซ้พยังขาดการสนับสนุนเท่าที่ควร หรือ ท่านลืมไปแล้วว่าประเทศนี้มีกองทัพเรือ
เรือรบที่ต่อในไทยผมพูดตรงๆนะถ้าไม่มีคำว่าโครงการเฉลิมพระเกียรติ สำเร็จยากครับ
อย่างที่คุณ Akula ว่าไว้นั่นแหละครับ
ลองดูให้ดีๆ ตั้งแต่เรือ ต.91 จนถึง เรือ ต.994
กองทัพเรือยังไม่สามารถก้าวข้ามเรือที่ใหญ่กว่านี้ไปไม่ได้
ผมไม่ได้หมายถึงการต่อเรือเพียงอย่างเดียว
ขออ้างถึงเรือหลวงกระบี่ เรือลำนี้ ต่างจากเรือ ต.91-99 และ ต.991-996 ตรงไหน
รู้ไม๊ครับคุณ uuhotu
ลองอ่านบทความตามลิ้งข้างล่างนะครับ
http://www.navy.mi.th/dockyard/doced/Homepage/sontetset_files/T_991.pdf
และบทความข้างล่าง อ่านบรรทัดที่ 3 ให้ดีๆ
http://www.navy.mi.th/dockyard/tor99.html
ส่วนการซื้อแบบมาต่อ มาเลเซีย อินโดนีเซีย หรือแม้แต่ เมียนมาร์ ก็ทำได้
และประเด็นที่ผมชี้ไว้ตั้งแต่แรกคือ การติดขัดด้วยข้อของกฏหมาย
พรุ่งนี้ ยังจะจำความได้รึเปล่า
ต้องจริงจัง ถึงจะสำเร็จผล ใครคิดว่าเรื่องเหล่านี้จะเป็นจริงอย่างยิ่งยวดบ้าง มันเหมือนฝัน ผมคิดว่าหลังจากนี้ไปก็คงจะเป็นไปแบบเนิบๆอีกต่อไป นานแสนนาน
ดีแต่ปาก หรือ เปล่า ขอพิสูจน์ ที่การกระทำดีกว่า (ไม่ใช่ว่าพูดให้ดูดี แต่ ไม่ได้ทำอย่างที่พูดเลยยย)......น่าคิด
โครงการวิจัยของกองทัพเรือ ถ้าไม่ได้นำไปใช้งาน หรือพัฒนาต่อจนใช้งานได้
เสียดายเวลา เสียดายโอกาส
http://www.navy.mi.th/nrdo/research/p4603.htm
http://www.navy.mi.th/nrdo/research/p4902.htm
โครงการนี้เคยนำไปทดสอบการยิงบนเรือชุด เรือหลวงสัตหีบ มาแล้ว ถ้าต้องทิ้งไปจริงๆน่าเสียดายมากๆ
http://www.navy.mi.th/nrdo/jreport/mmaga/maga2_48/p3248.pdf
ส่วนนี้โครงการเห่าฟ้า เผื่อว่าใครบางคนอาจเกิดไม่ทัน โครงการผ่านมเกือบ สี่สิบปี ถ้าพัฒนาต่อโดยไม่ทิ้งไปล่ะก็นะ....
http://board.postjung.com/630410.html
ขอแนะนำว่า "อย่าตั้งความหวังไว้มากกับคำพูดของนักการเมือง"
ไม่ว่าค่ายไหนก็ไม่ต่างกัน พูดวันนี้ พรุ่งนี้เปลี่ยนไปพูดอีกอย่างแล้ว
สำหรับประเทศไทย ถ้าผลงานยังไม่ปรากฏออกมาให้เห็นกับตา ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงได้เสมอ
จากที่ผมวิจัย นิสัยคนไทยมา .. ถ้าจะ ตั้งทีมวิจัย หรือ โครงการ หรือ งานอะไรซักอย่าง ..
ขอแนะนำว่า อย่าเอาข้าราชการเพียงหน่วยงานเดียวมาร่วมเป็นทีม มิฉะนั้นคนไทยจะขาดความกระตือรือร้น
ทำงานแบบข้าราชการไทยทั่วไป คือ Moning dish Afternoon dish ( เช้าชาม เย็นชาม )
..
คนไทย กลัวคนอื่นมองว่าตัวเองไม่ได้เรื่อง มากที่สุด .. ดังนั้น วิธีที่จะดึงศักยภาพคนไทยออกมา
ต้องให้ทำงานร่วมกับหลายๆหน่วยงาน มันเหมือนแข่งขันกันทำงาน แข่งขันการศึกษางานอย่างจริงจัง
แล้วงานนั้นๆ จะออกมามีประสิทธิภาพดี ยกตัวอย่าง .. การสนธิกำลัง 3 ฝ่าย ปิดล้อมก่อการร้าย
มักจะเกิดประสิทธิผลที่ดี เพราะทุกคนต้องการแสดงฝีมือ ความฮึกเหิมที่จะแสดงฝีมือให้ประจักษ์ต่อหน้า
หน่วยงานอื่น
..
ขอแนะนำว่า การวิจัยทางหทาร ต้องเฟ้นหาบุคลากรมาจากหลายๆหน่วยงาน มารวมตัวกัน
เช่น วิจัย เรื่อง UAV ทบ.50นาย ทอ.50นาย ทร.50นาย ตร.50นาย อาจารย์มหาลัย 50 คน
ผมว่า แค่ปีเดียว ผลงานออกมาเป็นรูปเป็นร่างแน่นอน
แต่ ถ้าให้งบ ต่างคนต่างวิจัย มันเหมือนสุภาษิตฝรั่งที่ว่า Pok Pok To The River ( ตำน้ำพริก ละลายแม่น้ำ )
ปล. ขออภัย คนที่ไม่แตกฉานภาษาอังกฤษ อิ อิ
คนไทยยังไม่เข้าเข้าใจถึงหลักการวิจัยว่าต้องการอะไร
คือการวิจัยไม่ไช่ว่า อยากทำนั่น โน่น นี่ วิจัยเสร็จแล้วจะได้เลยนะครับ
แต่มันเป็นการโยนหินถามทางเพื่อรวบรวมองค์ความรู้ ความรู้ใหม่อันใหนไม่ได้ไช้ก็เก็บไว้
อันใหนพอใช้ได้ก็นำมาประยุกต์ไช้ เพื่อที่เราจะได้เข้าใจถึงหลักถึงเกณ ถึงวิธีการ
อย่างการวิจัยเชิงวิทยาศาสตร หลายๆการวิจัย ไม่ไช่การทำนั่น นี่โน้น ออกมาเป็นตนอย่างเดียว
แต่โนเบลหลายๆโนเบล วิจัยเพื่อให้ "รู้" เฉยๆ แต่นักวิจัยหลายคนในไทย
มักจะเจอคำถามมหาปะลัยอันเป็นตัวเชือกฉุดรั้งเราเอาไว้ไม่ไห้ไปไหนคือ "ทำแล้วได้อะไร"
ประเทศไทย สนกับเอ้าพุทอย่างเดียว โดยแทบจะไม่ไห้ความสำคัญกับกระบวนการ อินพุทหรือโปรเซส
คือ ประมานว่า จะรู้มั๊ยว่า ถ้าไม่ทดลองแล้ว มันจะทำอะไรได้ ซึ่ง คนส่วนใหญ่ ตั้งแต่ระดับล่างสุด จนถึงบนสุดเลย
มองเรื่องพวกนี้ว่า ไร้สาระ ไม่คุ้มค่า ประเทศเราก็เลยกลายเป็นอย่างที่เห็น รับจ้างผลิต ประกอบอย่างเดียว
ดูเผินๆแล้ว ประเทศเราทำอะไรได้เยอะแยะ แต่ถ้ามองให้ลึกถึงโครงสร้าง
กระบวนการ กรรมวิธี องค์วามรู้ วิธีการตรวจวัดแล้ว เรายังเป็นประเทศที่ล้าหลังทางด้านวิทยาศาสตรขั้นโคม่าเลย
การจะสร้างอะไรได้ ทางลัดก็อาจจะมีหลายทาง อย่างแยกประกอบศึกษา แต่ถ้าทำยังงั้น เราก็จะอยู่ไต้เงาเขาอยู่ดีในเรื่องวิชาการ
แต่การที่จะพัฒนาเทคโนโลยีจริงๆนั้น มันขึ้นอยู่กับระดับองค์ความรู้ทางวิชาการ ถ้าวิชาการเราเจ๋ง อย่างอื่นก็จะตามมาเอง
เสียดายไม๊ครับ ถ้าไม่สานต่อโครงการให้เสร็จสมบูรณ์แบบ จนใช้ได้จริง
http://thaidefense-news.blogspot.com/2010/11/electro-optic.html
ขอขอบคุณเจ้าของบล๊อกไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ
แนวคิดท่านน่ายกย่องมาก ของบางอย่างถ้าเราผลิตเองได้และไม่ใช่เทคโนโลยีที่ซับซ้อนจนต้องลงทุนสูงเกินไป
ก็ควรผลิตเองโดยไม่จำเป็นต้องหวังผลกำไรเสมอไป
เช่น ปืนไรเฟิล ไทยสมควรผลิตเองเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นเทคโนโลยีที่เก่าแล้ว ใครๆก็ทำได้
ประเทศอื่นๆเช่น อังกฤษใช้SA80 อเมริกันใช้ M4 ฝรั่งเศสใช้ Famas เยอรมันใช้ G36 รัสเซียใช้ ak74 เบลเยี่ยมใช้ FNC
สิงคโปร์ใช้ sar21 อิสราเอลใช้ tar21 สวิสใช้ sig550 ออสเตรียใช้ aug เปรูใช้ fad เซอร์เบีย m21
ทุกประเทศออกแบบผลิตเอง ทำไมหรือครับ ก็เพราะปืนประจำกายก็เหมือนดาบของทหารสมัยก่อน
ทหารจีนใช้ดาบจีน ทหารญี่ปุ่นใช้ดาบญี่ปุ่น ทหารไทยก็ใช้ดาบไทย มันเป็นความภาคภูมิใจของชาติ
สมัยก่อนมีมั้ยบอกเปิดประมูลจัดซื้อดาบ ใครผลิตดาบได้ดีจะซื้อดาบของคนนั้นมาใช้ เป็นทหารไทยแต่ใช้ดาบญี่ปุ่นเพราะดาบญี่ปุ่นยาวกว่าคมกว่า
ผมขอสนับสนุนให้ทหารไทยใช้ดาบไทย ปืนไทยครับ อาวุธไทยครับ
Actions speak louder than words. ใครๆเค้าก็ว่ากันงี้แหละ