หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


มาเริ่มทำความรู้จัก Gowind Class ของ ทร.มาเลเซีย ครับ

โดยคุณ : juldas เมื่อวันที่ : 22/01/2013 21:34:21

มาเลเซีย ได้ทำการจัดหา เรือชั้น Gowind จาก DCNS ประเทศฝรั่งเศส

มูลค่าโครงการ 2,800 ล้านดอลล่าร์ จำนวนทั้งหมด 6 ลำ ตามโครงการ SGPV-LCS program

Second Generation Patrol Vessels (SGPV)

โดยเมื่อปี 2012 บริษัทฯ DCNS ได้แสดงแบบจำลอง ที่คาดว่า น่าจะเป็นแบบเรือของ มาเลเซีย

 

 





ความคิดเห็นที่ 1


คุณสมบัติเรือ ในเบื้องต้น

Length: 107 meters

Breadth: 16 meters

Full load displacement: 2,730 tonnes

Max speed: 28 knots

Crew: 106

Range: 5,000 nm

Endurance: 21 days


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 20/01/2013 13:47:06


ความคิดเห็นที่ 2


ซึ่งตาม สเปคของ Gowind บริษัท DCNS ได้นำเสนอต่อ มาเลเซีย จะประกอบด้วยอาวุธหลัก ตามภาพ ครับ...

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 20/01/2013 13:49:10


ความคิดเห็นที่ 3


แต่ ความต้องการของ กองทัพเรือมาเเลเซีย ต้องการระบบอาวุธ ตามแผ่นภาพ ครับ...

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 20/01/2013 13:50:57


ความคิดเห็นที่ 4


แบบจำลอง

 

 





โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 20/01/2013 13:55:39


ความคิดเห็นที่ 5


ระบบอาวุะนำวิถีต่อต้านเรือ

ระหว่าง Naval Strike Missile กับ Exocet MM-40 Block III ว่าใครจะรับคัดเลือก

 



โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 20/01/2013 13:58:55


ความคิดเห็นที่ 6


ซึ่งผมคิดว่า ระบบของ THALES น่าจะเป็นระบบหลักของเรือชั้นนี้ ซึ่ง ความสามารถในการ ปราบเรือดำน้ำ ก็เป็นภาระกิจเด่น ภาระกิจหนึ่ง ที่ มาเลเซีย มีความต้องการสำหรับเรือ รุ่นนี้ ซึ่งปัจจุบัน ทร.มาเลเซีย ก็ใช้ระบบติดต่อสื่อสารกับเรือดำน้ำ ของ THALES อยู่...

รวมถึงการที่เรือชุดนี้ จะต้องมีความสามารถ ต่อต้านทุ่นระเบิด ได้ด้วย...

ทร.มาเลเซีย เลยดูมีความต้องการ MH-60R เป็นพิเศษ...

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 20/01/2013 14:04:51


ความคิดเห็นที่ 7


ดูข่าวการพัฒนากำลังทางเรือของเพื่อนบ้านทีไร สะเทือนใจทุกที

โดยคุณ น่าคิด เมื่อวันที่ 20/01/2013 14:11:16


ความคิดเห็นที่ 8


เขาไปไกล เกินที่เราจะตามทันแล้ว มั้งนิครับ  เห็นแล้วท้อ ยังไม่รู้ นะครับ

โดยคุณ kok129 เมื่อวันที่ 20/01/2013 14:16:57


ความคิดเห็นที่ 9


spec อาวุธนี่โหดครบ3มิติจริงๆ เทียบกับ Formidable ของสิงคโปร์แล้วเจ้านี้ทำASWดีกว่า

แต่AAWยังดีไม่มีลูกยาวแบบ aster-30 โหดพอควรสำหรับGowind 6ลำ

Hi-end frigate 2ลำของทร.ไทยต้องลุ้นให้จัดหนักมากๆ เพื่อชดเชยกับเรื่องจำนวนด้วย


โดยคุณ dcalpha เมื่อวันที่ 20/01/2013 14:33:42


ความคิดเห็นที่ 10


ถ้า มาเลเซีย สามารถจะจัดหา งบประมาณ มาบรรจุ เรือดำน้ำ ได้เพิ่มเติมอีก 2 ลำ....

และเมื่อได้ประจำการเรือชั้น Gowind นี้ด้วย...

ก็คงน่าจะจัดได้ว่า กองทัพเรือมาเลเซีย เป็นกองทัพเรือ ที่มีความสามารถปราบเรือดำน้ำลำดับต้น ๆ ของ ASEAN...หรือ อาจจะ อันดับ 1 เลยก้ได้ครับ...

ก็คงอยู่ที่ ความสามารถของกำลังพล และ ประสบการณ์ฝึก ของ กองทัพเรือมาเลเซีย ว่าจะสามารถทำได้เพียงใด...เพราะ อุปกรณ์ต่าง ๆ ก็จะครบถ้วนแล้ว...

 

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 20/01/2013 14:37:46


ความคิดเห็นที่ 11


เข้าใจว่า เป้าหมายของ ทร.มาเลเซีย ที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ คือ การเป็น Anti Submarine Network ครับ...

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 20/01/2013 14:41:06


ความคิดเห็นที่ 12


เห็นเค้าซื้อแล้วเศร้าจริงๆ......โอมเพี้ยงโดนปิดอ่าวซักรอบเหอะรับรองขออะไรก็ให้

โดยคุณ Batnight เมื่อวันที่ 20/01/2013 14:53:28


ความคิดเห็นที่ 13


ใช่ครับ เศร้าครับ อิจฉาเพื่อนบ้านเค้าจัง   :(

โดยคุณ 8iam เมื่อวันที่ 20/01/2013 15:04:21


ความคิดเห็นที่ 14


เห็นแล้วสะเทือนใจมาก ตั้งแต่แผนภาพของเรือชั้นนี้ ที่กระทู้Meko-D

ยิ่งบวกกับข่าวจากคุณfatboy ทำให้ผมมองว่า กองทัพเรือไทยคงเลิกมองการเป็น blue navy ไปแล้ว

คงเน้นตั้งรับในอ่าวไทยและชายฝั่งอ้นดามันเป็นหลัก แต่ถึงจะเน้นตั้งรับในบ้านร่วมกับกองทัพอากาศ ถ้าเขาจัดหา สกอร์ปิเน่ ได้ 4 ลำ 

ก็คงสามารถควบคุมการใช้ทะเลด้านอ่าวไทยได้สบายๆ โดยเฉพาะการส่งเรือดำน้ำมาวางทุ่นระเบิด ในเส้นทางเดินเรือสินค้า

และถ้าจัดหาเรือดำน้ำได้ถึง 6 ลำและเพิ่มเรือผิวน้ำอีกหน่อยด้านอันดามันก็คงลำบากเหมือนกัน 

 

ไม่ได้หมายความว่าเราจะรบกับเพื่อนบ้านนะครับ แต่ใครจะไปรู้ว่ากำลังที่เขาเตรียมพร้อมสำหรับทะเลจีนใต้ขนาดนี้ 

วันไหนเกิดขัดใจกันขึ้นมาสักเรื่องกับบ้านเรา เราเองที่จะต้องเป็นฝ่ายหงอ ในเวทีการทูตระหว่างประเทศ

ASWดูจากระวางขับน้ำแล้ว town sonar captas ไม่น่าจะใช่รุ่นท๊อปนะครับ รู้สึกว่ารุ่นท๊อปจะต้องระวางประมาณ สามพันถึงสามพันห้า แต่ก็เหนือกว่าเรือชุดนเรศวร แต่AAWเขาเลือก ESSM เหมือนเรา ส่วนนี้คงเท่ากัน ส่วน SSM เลือก naval strike แสดงว่าเอาไว้ช่วยกองทัพบก ในกรณีประเทศที่มีชายแดนพิพาทติดกัน หรือโจมตีจุดยุทธศาตร์ตามชายฝั่ง 

ระวางขับน้ำน้อยกว่าแต่ดูเหมือนจะได้เปรียบ เรือชั้นนเรศวร 2 ลำ ส่วนเรือฟรีเกตสมรรถนะสูง 2 ลำของไทยหวังว่าคงได้เปรียบเขาน่ะครับ แต่จะมาเสียเปรียบที่กำลังจะปลดเรือพุทธ ออกไปในอนาคตอันใกล้ เงินซื้อเรือใหม่คงไม่มี คงต้องมาเลือกเรือมือสองดีๆสัก สองถึงสี่ลำมาทดแทนแต่ก็ไม่รู้ว่ามีเงินงบประมาณพอหรือเปล่า

 

ระหว่าง OHP สองลำ refurblish แต่ไม่modเพิ่ม ไม่มีMK13   กับ รอขอซื้อ F122 ในอนาคต สักสองถึงสี่ลำ ครบเครื่อง ขาดแต่town sonar แต่ก็น่าจะแพง

ไม่ทราบคุณจูดาส เชียร์ข้างไหนครับ ใจผมเอนไปทาง F122 นะครับ แต่กลัวเขาไม่ขายหรือขายก็แพงและอาจจะไม่อนุมัติให้ซื้อครับ

โดยคุณ ccguy เมื่อวันที่ 20/01/2013 15:12:17


ความคิดเห็นที่ 15


สำหรับประเทศไทยแล้ว ประชาชนหลายส่วนยังไม่ค่อยให้ความสำคัญ กับการจัดหาอาวุธทางการทหารครับ

มองว่าเป็นงบประมาณที่สูญเปล่า

แต่ถ้ากองทัพทั้งสามเหล่าของเราโดนเพื่อนบ้านทิ้งออกไปมาก โดยเฉพาะกองทัพเรือ

ลองนึกเล่นๆดูว่า รัฐบาลทุ่มงบกับโลจิสติคของAEC โดยเฉพาะโปรเจคทวาย ถ้าเกิดโครงการไปได้สวย เงินไหลมาเทมา

อยู่ดีๆ เรือเดินสมุทรสำหรับขนสินค้า โดนทุ่นระเบิดในอ่าวไทยสักสองลำ คงหงายเงิบกันทั้งประเทศ เรือคงกลับไปวิ่งผ่านช่องแคบมะละกาเหมือนเดิน

ถ้าโชคร้ายสุดๆก็คงวิ่งไปลงที่ สีหนุวิลล์ เพราะถ้าวิ่งถึงดานังมันจะแพงกว่าขนทางน้ำ ถ้าตอนนั้นมีเรือดำน้ำกับทุกประเทศ ยกเว้นไทยกับลาว

คงจะจับมือใครดมได้ยาก

โดยคุณ ccguy เมื่อวันที่ 20/01/2013 15:21:46


ความคิดเห็นที่ 16


รัฐบาลไทยไม่มีวันทุ่มเงินให้กับโปรเจคทวายเด็ดขาดครับไม่ว่าจะพรรคไหนก็ตาม สบายใจได้พี่น้องชาวไทย

 

ผมว่าเราพยายามปัดความผิดออกจากตัวเองกันมากกว่านะ ตั้งแต่เรื่องเรือดำน้ำเยอรมันแล้วที่รู้กันอยู่ว่าเพราะอะไรถึงไม่ได้แต่ก็หลอกตัวเอง เปลี่ยนรัฐบาลเปลี่ยนรมต.ไปกี่คนก็คำตอบเดิม จนถึงตอนนี้ยังหวังว่าจะได้ของแถมมากับเรือฟริเกตุอีก

 

ผมคิดว่าการที่รัฐบาลประกาศสนับสนุนเรือฟริเกตุสองลำมุลค่าสามหมื่นล้านไป ก็รับสหบาทาจากฝ่ายตรงข้ามและบรรดาผู้หวังดีประสงค์ร้ายไปเต็มเหนี่ยว ผมไม่เห็นมีใครในห้องนี้แอ่นอกรับด้วยเลย การวิเคราะห์ทั้งหมดทั้งปวงที่ทำกันในห้องนี้ตั้งอยู่บนความคาดเดา ที่แม่จะมีผู้ที่รู้ข้อมูลลึกๆหลายคนมาร่วมสนทนาด้วยก็ตาม แต่ตราบใดที่ยังไม่มีเรือมาจอดเทียบท่าทุกอย่างในเมืองไทยก็เปลี่ยนแปลงได้

 

สำหรับกองทัพเรือไทยอย่าไปเทียบกับมาเลย์สิ ของเค้าทะเลล้อมสองเกาะใหญ่ย่อมต้องทุ่มเงินให้เยอะกว่า ทุกอย่างของเข้าทำตามแผนต่อไปเขาจะมีอาวุธที่ทันสมัยแต่ไม่ได้แปลว่าคนเขาจะทันสมัยตาม แม้กองเรือที่เข้มแข็งของมาเลย์จะมาเต็มแต่ถ้าจีนส่งเรือดำน้ำเข้ามาจริงๆผมว่าก็คงตรวจจับไม่ได้หรอก ประสบการณ์มันต่างกัน

 

ที่นี้มาดูของเราบ้าง ผมว่ากองทัพเรือไทยต้องการจะไปblue seaจริงๆ แต่ด้วยความด้อยประสบการณ์ทั้งในระดับประเทศและการเมืองในประเทศที่พลิกไปมาทำให้ผมคิดว่ากองทัพเรือไทยเดินหมากผิดมาโดยตลอด ทุกสิ่งทุกอย่างตอนนี้มันเลยผิดฝาผิดตัว รัฐบาลจะให้งบประมารเพิ่มแน่ถ้ากองทัพเรือมีแผนการที่ชัดเจนและพุดกับทุกคนได้ แต่ถ้ามันคลุมเคลืออญุ่แบบนี้คิดเหรอว่าฝ่ายค้านและฝ่ายแค้นจะยอมให้ผ่าน ถ้าจะด่ารัฐบาลกรุณาด่าคนที่คอยคัดค้านด้วยนะครับ

 

ส่วนผมคิดว่ารับOHPจากอเมริกามาปรับปรุงให้มันใช้จรวดต่อสู้อากาศยานได้จะรุ่นไหนก้เถอะ ซื้อเรือฟริเกตุใหม่สองลำ แล้วค่อยไปต่อเรืออื่นๆเพิ่ม ส่วนเรือดำน้ำอีกสิบปีค่อยว่ากันใหม่

 

ไม่อย่างนั้นก็วนไปเวียนมาแบบนี้ ผู้ใหญ่ในกองทัพเรือต้องชัดเจนแน่นอนแบบกองทัพอากาศ อย่าทำตัวมีอำนาจแบบกองทัพบกเพราะคุณไม่มี

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 20/01/2013 16:00:06


ความคิดเห็นที่ 17


ในความเห็นผม...ในเรื่อง งบประมาณขณะนี้...เรือ OHP จะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดตอนนี้ครับ...

ในความคิดผมว่า...เรือ F-122 ของ เยอรมัน...น่าจะเป็นตัวเลือก ในกรณีที่ ทร. ไม่ได้ เรือดำน้ำ จริง ๆ ครับ...

ทร. จึงต้องเลือกการมี เรือรบปราบเรือดำน้ำ จำนวนมากแทน...

และผม ค่อนข้างให้ เครดิต สหรัฐ ในเรื่อง การช่วยเหลืออาวุธกับประเทศต่าง ๆ....

เขาจะให้ในสิ่งที่ เหมาะสม ในมุมมองถึงภัยคุกคามกับประเทศที่เขาช่วยเหลือ...ไม่ส่งเสริม ให้ฟุ่มเฟือย เกินไป...

เรือ OHP ในปัจจุบัน ไม่ได้มี ข้อด้อย ลดลงไปมากมายอะไรครับ...

เรือชั้นนี้ สหรัฐเอง สร้่างมาก็เพื่อ ป้องภันภัยคุกคามจากเรือดำน้ำ โซเวียต...เป็นหลัก...

ส่วนเรื่องการติดตั้ง ระบบต่อสู้อากาศยาน SM-1 ก็เป็นเรื่องรอง ในการป้องกันตนเอง เท่านั้น...จะเห็นว่า สหรัฐ ไม่มีแผนการพัฒนาเพื่อใช้ SM-2 เลย สำหรับเรือชั้น OHP...

ซึ่งผมมองว่า SM-1 ที่ติดตั้งบน OHP ก็เพื่อ ต่อต้าน อาวุธนำวิถีที่โจมตี มาจากเรือดำน้ำ ของ โซเวียต ที่มีความเร็วและแรง เพื่อป้องกันตนเอง หรือ ป้องกันกองเรือบรรทุกเครื่องบิน มากกว่า...

แต่ในเมื่อปัจจุบัน สหรัฐ หมดภัยคุกคามจากสงครามเย็น...ระบบอาวุธต่อสู้อากาศยาน ดังกล่าว จึงไม่มีความจำเป็น หรือ ลดความสำคัญลง...สหรัฐ จึงทำการถอดระบบอาวุธดังกล่าวออก...แต่ ระบบหลัก คือ การปราบเรือดำน้ำของ OHP ยังอยู่...และมีการปรับปรุง ทั้งระบบท่อยิงตอร์ปิโด ระบบโซนาร์ อยู่ตลอดเวลา ตามความสามารถของเรือดำน้ำ ที่เปลี่ยนแปลงไป...และเป็นระบบมาตรฐานของ กองทัพเรือสหรัฐ ทีใช้งานอยู่ในปัจจุบัน...

และ OHP ก็เป็นเรือที่ แก้จุดด้อยของเรือชั้น Knox..รวมถึง การลดค่าใช้จ่ายปฏิบัติการ ที่เป็นวัตถุประสงค์หลักอันหนึ่ง สำหรับการออกแบบเรือ OHP....

ซึ่งผมคิดว่า...สหรัฐ เขาก็คงมองเหมือนกันว่า...ภัยคุกคามของไทย....การให้ OHP เพื่อช่วยเหลือทางการทหาร...เป็นสิ่งที่เหมาะสม กับไทย ในขณะนี้...ในเรื่องการ ปราบเรือดำน้ำ....

 

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 20/01/2013 16:56:04


ความคิดเห็นที่ 18


Exocet MM-40 Block III

ผมว่า ก็ไม่ เบา เหมือนกันครับ...ยังสามารถพัฒนา ติด โหมด โจมตีบนฝั่ง ได้เหมือนกันครับ

According to MBDA, the new configuration extends the weapons over-the-horizon capability from 70 km to a maximum range of 180 km, utilizing on-board GPS, and the introduction of land-attack mode, enabling operators to set target coordinates in longitude, latitude and elevation. This new capability significantly enhances the missiles anti-ship capability, as the new Block 3 can approach the target through a preplanned 3D flight trajectory, performing the terminal attacks from the least predictable direction, at very low sea skimming altitude. For the terminal phase guidance, the missile utilizes a J-band active radar seeker with adaptive search patterns which selectively discriminates between targets at sea and GPS designated coastal based targets.

The missile are complemented by a new version of the mission planning system, enabling operators to maximize the use of the new features exploiting the missiles capability to penetrate the targets defenses.

The Block 3 airframe design is optimized with low signature characteristics. Its extended range is derived by a new propulsion system that includes a booster and turbojet sustainer, feeding from four air intakes which provide high maneuverability at the terminal phase.

MBDA was developing the Block III since 2004, but only in 2008 DGA and the French Navy officially embarked on the program. First deliveries are expected to begin this year and continue through 2013, to equip the French Navy FREMM frigate. Besides the French Navy, the Block 3 has been ordered by the navies of the UAE, On April 22, 2010 the Qatari Emiri Navy announced plans to equip the four Vita class patrol boats with the MM40 Block 3 missiles. Oman and Morocco are also buying the missile. At present the Block 3 is designed only for the replacement of Block 2 missiles on surface ships.


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 20/01/2013 17:57:32


ความคิดเห็นที่ 19


Principles of Littoral ASW

  • Understand and prepare the battlespace for joint forces maneuvering upon the sea.
  • Deny enemy submarines influence in the joint operating area.
  • Prosecute enemy submarines as close to their operating bases as possible.
  • Emphasize integrated information connectivity and flexibility at all levels.
  • Adapt sensors and weapons to the operational environment to optimize effectiveness.

หลักการของ Littoral ASW (Anti Submarine Warfare)

- เข้าใจและเตรียมความพร้อมพื้นที่การต่อสู้ เพื่อความร่วมมือปฏิบัติการร่วมตามท้องทะเล
- ปฏิเสธเรือดำน้ำข้าศึกมีอิทธิพลในพื้นที่ปฏิบัติการร่วม
- ดำเนินการต่อเรือดำน้ำข้าศึก ใกล้เคียงกับฐานปฏิบัติการของพวกเขาเท่าที่จะทำได้
- เน้นการเชื่อมต่อข้อมูลแบบบูรณาการและมีความยืดหยุ่นในทุกระดับ
- ปรับเซ็นเซอร์และอาวุธไปยังสภาพแวดล้อมการดำเนินงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพประสิทธิผล

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 20/01/2013 18:32:38


ความคิดเห็นที่ 20


    ทาง DCN  เขาแบ่งเรือออกเป็น 3 class ในการทำตลาดขายครับ

     รุ่นเล็กสุด  Gowind  class   สำหรับ OPV  corvette   ใหญ่สุดก็แค่ 2,000 กว่าตัน   เน้นระบบเครื่องยนต์แบบเรือ corvette   แต่ระบบอาวุธระดับเรือฟรีเกต

    รุ่นรอง   ใหญ่ขึ้นมาจะเป็น  FM-400 series  ครับ   จะเป็นฟรีเกตขนาด 3,500 ตันขึ้นแต่ไม่เกิน 6,000 ตัน    เรือปรับได้หลากภาระกิจเหมือนๆ MEKO ของเยอรมัน   ก็ตลาด sector เดียวกันครับ

  ใหญ่สุด   FREMM  เกิน 6.000 ตันขึ้นครับ  

 

   รุ่นที่มาเลย์ใช้นี่เป็นรุ่น TOP สุดใน  Gowind class แล้วครับ    แต่ราคานี่แพงมากๆ  13,000 กว่าล้านบาทต่อลำ   เกือบได้ MEKO-D  MEKO-A 200 เลย  วิจารณ์กันหนักในเรื่องตอร์รับชั่นครับ    ราคานี้ควรได้ FM-400  หรือ FERMM รุ่นดาวน์เกรดที่ใช้แค่เครื่องยนต์ดีเซล  

   

   ผมว่าทร.ไทยกำลังสับสนกันอยู่นะครับ   ระหว่างเสียงของพวกที่ต้องการก้าวตามให้ทันเพื่อนบ้าน   กับพวกที่รักสงบสนแต่การปกป้องเขตทางทะเลเฉพาะแนวชายฝั่ง    อยากให้  ทร.สมัยยุคท่านชวลิตกลับมาอีกเร็วๆจัง    


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 20/01/2013 19:36:36


ความคิดเห็นที่ 21


คืออยากให้ได้ข้อสรุปเร็วๆ ว่าจะเอาฝั่งไหนกันแน่นะครับ

เพราะยุทธศาสตร์ที่ไม่ชัดเจนจะทำให้แนวทางดำเนินการสับสนไปด้วย

โดยคุณ Ricebeanoil เมื่อวันที่ 20/01/2013 20:07:07


ความคิดเห็นที่ 22


ตอนนี้ผมว่า ทร.ก็อยู่ระหว่างกลึ่ง กลางนะครับ  จะเข้าไปในวงในก็เกรงใจ อีกกลุ่มก็ไม่อยากยุ่งอะไรกับวงในมากมาย เลยปล่อย  แต่ผมอยากให้กองทัพเรือ เข้าไปในวงใน และพร้อมกับให้มีแนวทาง ที่แน่นอน  ว่าจะไปทางไหนกันแน่

โดยคุณ kok129 เมื่อวันที่ 20/01/2013 21:12:34


ความคิดเห็นที่ 23


   วิเคราะห์การจัดหาเรือชั้นนี้ของมาเลย์ตามความเห็นผมนะ  

จากภาพแผนที่  จะเห็นว่าหมู่เกาะเจ้าปัญหานี้อยู่ไม่ไกลนักจากมาเลย์ตะวันออก หรือ เบอร์เนียวเหนือ  และบริเวณนั้นทะเลจะค่อนข้างลึก   เกาะแก่งเยอะมาก   ลักษณะใต้ท้องทะเลเท่าที่สนใจศึกษามา  จะเป็นเหมือนแนวภูเขาใต้ทะเล(ก็เป็นแนวแผนดินไหวนี่นา)      ซึ่งพื้นที่แบบนี้เรือดำน้ำสามารถปฎบัติการรบกวนขบวนเรือต่างๆได้ง่าย    แต่การไล่ล่ากองเรือดำน้ำกลับเป็นไปได้ยากมากๆ   ดังนั้นเรือของมาเลย์จึงต้องมีขนาดใหญ่เพียงพอที่จะออกไปถึงทะเลจีนใต้   และต้องทนทะเลพอควร    และต้องมีขีดความสามารถในการต่อต้ายเรือดำน้ำให้มากที่สุด    

    แต่เดิม  ทร.มาเลย์เลือก MEKO-A100 เป็น OPV  มีแนวโน้มที่ฟรีเกตชุดต่อมาจะเป็นเรือจากเยอรมันเช่นกัน    แต่ทร.มาเลย์ก็เปลี่ยนมาเป็นเรือของฝรั่งเศสแทน  น่ามาจากความไม่พอใจในเรือชุด ME$KO-A100 ที่การต่อในประเทศมีปัญหา   และน่าจะมาจากที่มาเลย์ได้ทำการลงทุนในระบบ ฮ.ปราบเรือดำน้ำจากฝรั่งเศสไปแล้ว    ดังนั้นถ้าต้องการสร้างโครงข่ายต่อต้านเรือดำน้ำ    เรือก็ควรจะมาจากฝรั่งเศสทั้งหมดครับ 


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 20/01/2013 21:59:35


ความคิดเห็นที่ 24


เห็นอ่าวไทย แล้วน่านำเรือดำน้ำมาปิดอ่าวซ่ะจริงๆเ่ลย เหนื่อยใจแทนกองทัพเรือไทย กองทัพเรือต่างชาติไปไกลจนเราตามไม่ทันแล้ว เรือฟริเกตของเรา ก็ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะไปต่อต้านเรือดำน้ำของชาติต่างด้าวได้ (เฮ้อออออออ)

โดยคุณ cobra_night เมื่อวันที่ 20/01/2013 22:10:03


ความคิดเห็นที่ 25


   ระบบต่างๆก็จัดหามาจาก Thales  ดังนั้นระบบของเรือรุ่นนี้ก็น่าจะเป็นของ Thales ทั้งหมดเช่นกัน   

แหล่งพลังงานน้ำมันและก๊าซของมาเลย์ที่สำคัญมากๆก็อยู่ในพื้นที่มาเลย์ตะวันออกเช่นกัน     เห็นมาเลย์รวยนี่ไม่ใช้เพราะพลังทางอุตสาหกรรมเหนือกว่าเรานะครับ   จริงๆไม่ได้หนีเราเลย   แถมเรื่องสเกลกำลังการผลิตน่ะน้อยกว่าเราเยอะ    แต่ที่รวยเพราะบ่อน้ำมันนั่นเอง   และมีภาคอุตสาหกรรมพลังงานที่ใหญ่กว่าเราถึง 2 เท่า    ถ้าตัดภาคพลังงานของเรากับของเขาออกไปเพื่อทำการเปรียบเทียบกัน    มาเลย์จนกว่าเราเยอะ

   จากที่ภาคเศรษฐกิจต้องพึ่งพาอุตสาหกรรมพลังในระดับสูงมาก   และพื้นที่มาเลย์ตะวันออกก็ดันอยู่ใกล้พื้นที่ขัดแย้ง    และเป็นพื้นที่เหมาะแก่การวางกำลังเพื่อควบคุมทะเลจีนใต้และอ่าวไทย   ถ้าถูกจีนยึดครอง  ก็ง่ายสำหรับจีนที่จะปิดเส้นทางเดินเรือทั้งหมด   

   SU-30 MKM  และ  เรือชั้น Gowind  กับ  แมงป่องทะเลจึงต้องจัดหาแม้จะต้องทุ่มเทเงินทองมหาศาล   

ผลพลอยได้กรณีกับเพื่อบ้าน   กับไทย....3  จังหวัดชายแดนใต้เห็นผลยังครับ      สิงคโปร์   และที่สำคัญคือ อินโดนีเซียที่เคยทะเลาะกันแรงเรื่องพื้นที่ทับซ้อนที่คาดว่ามีแหล่งน้ำมัน   ถึงขนาดมาเลย์เคยส่งกำลังทางอากาศบินโชว์เพาเวอร์เหนือ พื้นที่มีปัญหากับอินโดกันเลยทีเดียวครับ   เอาเรือรบมาลาดตระเวนในพื้นที่ขัดแย้ง    ตอนนั้นอินโดเพิ่งเจ้งจากพิษต้มยำกุ้งยังเพิ่งฟื้นตัว   เลยไม่มีปัญญาต่อกรกับมาเลย์     เหล่านี้คือ ผลพลอยได้จากการที่มีความพร้อมรบสูง


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 20/01/2013 22:12:55


ความคิดเห็นที่ 26


   จากภาพแผนที่จะเห็นว่า  อ่าวไทยเหมือนปากถุง   ดังนั้นไม่ประเทศไหนก้แล้วแต่   ถ้ามีกำลังทางทะเลเข้มแข็งพอ   ไม่ต้องรุกเข้ามาในพื้นที่เศรษฐกิจหรอกครับ    แค่ปิดปากอ่าวทำการรูดปากถุงนี้เสีย     เอาเรือรบดักตรวจค้นเรือที่สงสัยว่าเป็นเรือจของฝ่ายเรา   หรือยึดเรือของฝ่ายเรา   แค่นี้ก็จอดแล้วครับ     พื้นที่ทางด้านช่องแคบมะละกาก็ต้องขออนุญาติทั้งมาเลย์และสิงคโปร์ในการผ่านเส้นทาง   ไม่ใช่ทะเลหลวง   ดังนั้นถ้าทะเลาะกันกับมาเลย์   แล้วอีก 8-10 ปีข้างหน้า  กองเรือที่เขาสั่งซื้อมาถึงและฝึกลูกเรือพร้อมรบ    ไทยเราจะลำบากครับ  

  

   ผมเลยพอเข้าใจว่าทำไม่รัฐบาลถึงต้องเร่งโครงการทวาย  แม้ว่าจะมีปัญหากันอีกเยอะ  ตอนนี้ก็ดึงจีนและญี่ปุ่นมาแจมด้วยแล้ว   ทำคนเดียวไม่ไหว   เพราะตราบใดที่ 3 จังหวัดใต้ไม่จบแบบเด็ดขาด   คลองกระเกิดยากครับ   ซึ่งคลองกระจะแก้ปัญหานี้ของเราได้เกือบหมด

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 20/01/2013 22:23:26


ความคิดเห็นที่ 27


    ดูแผนที่ก็น่าจะรู้นะครับว่า   ถ้ากองเรือของเรามีแค่ความสามารถรักษาแนวเขตพรมแดนทางทะเล  กับ พื้นที่เศรษฐกิจทางทะเลของเราที่อยู่ตอนในของอ่าวไทยเท่านั้น    รับรองว่าเรานำพาประเทศชาติไปรอดยาก ถึงรอดก็ต้องตกเป็ยเบี้ยล่างเขาไปตลอด   ดังนั้นผมจึงไม่เห็นด้วยกับการไม่จำเป็นต้องมีเรือดำน้ำและกองเรือขนาดใหญ่แบบ Bluy navy เพื่อไปรักษาพื้นที่นอกบ้าน    เพราะทำเลที่ต้งของเรานั้น   "ง่ายต่อการปิดล้อม"   แม้ว่าจะยากแก่การเข้ามาก็ตามที

  เรือดำน้ำปฎิบัติการในพื้นที่อ่าวไทยยากหน่อยครับ  และสามารถต่อต้านเรือดำน้ำได้ง่าย

  แต่พื้นที่ของมาเลย์นั้น   เรือดำน้ำเข้าไปปฎิบัติการได้ง่ายมากๆ  แต่ไล่ล่าเรือดำน้ำยากมากๆทีเดียว

 

ดังนั้นผมจึงสนับสนุนเรือขนาดใหญ่ที่ออกทะเลได้ทน   มีขีดความสามารถป้องกันภัยทางอากาศเป็นชั้นๆ ซึ่งต้องพึ่งพาเรือบรรทุกบ.และเรือฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศ     และกองเรือดำน้ำ    

  ผมสนับสนุน OHP  เพราะนอกจากขีดความสามารถในการต่อต้านเรือดำน้ำสูงมากแล้ว   ยังสามารถปรับปรุงให้เป็นเรือฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศได้ด้วย    จริงๆมันก็ถูกออกแบบเป็นเรือฉากในการป้องกันภัยทางอากาศด้วย  แม้จะเป็นมือรอง   ดังนั้นมันจึงเหมาะสมกับ ทร.ไทยด้วยประการทั้งปวง    เพราะเรากำลังขาดแคลนเรือปราบเรือดำน้ำชั้นดี   และขาดแคลนเรือฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศ    ดังนั้นมันจึงตอบโจทย์ได้ในขณะนี้ครับ   

  ส่วนเรือชั้น  F-122 เมื่อทำการปรับปรุงแล้ว    อย่างดีก็เป็นฟรีเกตอเนกประสงค์  อย่างเยี่ยมก็กลายเป็นฟรีเกตต่อต้านเรือดำน้ำ (ต้องติดตั้ง โซน่าร์ลากท้ายด้วย)      เป็นเรือฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศไม่ได้เลยแม้แต่น้อย   ผิดกับ  OHP และ MEKO-D หรือ MEKO-A200  ลิบ................


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 20/01/2013 22:38:15


ความคิดเห็นที่ 28


   และด้วยการที่ทร.ต้องพึ่งพาขีดความสามารถในการป้องกันภัยทางอากาศจากทอ.   จึงต้องทำให้กองเรือปฎิบัติการไม่ไกลไปกว่าระยะปฎิบัติการของ  Jas-39  ซึ่งไปได้แค่ปากถุง   และมีเวลาในการปฎิบัติการบริเวณจุดปิดล้อมน้อยมากๆๆๆ....ไม่น่าจะสามารถเฝ้าระวังให้กองเรือได้ตอดเวลา    ดังนั้นมันจึงเป็นการล่ามกองเรือของเราทั้งหมดไว้ไม่ห่างจากชายฝั่งของเราเลย    ไม่สามารถนำกองเรือไปแก้ปมปากถุงที่ถูกชาติอื่นปิดผนึกได้ครับ    

   ถ้าจะทำเช่นนั้น  ทร.ไทยต้องมีขีดความสามารถป้องกันถัยทางอากาศเป็นชั้นๆด้วยตนเองเท่านั้น   และต้องมีเรือฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศชั้นดีด้วย    และเรือดำน้ำก็ควรจะมีขนาดราวๆ 2,000 ตันขึ้นสำหรับตามกองเรืออกไปนอกบ้าน    ส่วนเรือดำน้ำที่เป็นหมาดุมากๆเอาไว้เฝ้าบ้าน   ควรเป็นเรือเล็กแบบ midget  500-1000 ตันเท่านั้น  

 

   แค่มีเรือดำน้ำแบบ  type 209 1400/AIP  มาเลย์ก็ปาดเหงื่อมากสุดเลยครับ   เพราะพื้นที่ของเขา   เรือดำน้ำเราเข้าไปป่วนง่าย   แต่เขาไล่ล่าเรือดำน้ำเรายากมากๆ     ซึ่งตรงข้ามกับพื้นที่ขอเราครับ 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 20/01/2013 22:48:53


ความคิดเห็นที่ 29


   ขีดความสามารถของทร.ไทยในตอนนี้   ไม่ด้อยกว่ามาเลย์ หรือชาติใดๆในภูมิภาคนี้หรอกครับ   ดูจะด้อยกว่าก็แค่สิงคโปร์     แต่ถ้าไม่ทำอะไรเลยสักอย่าง   ยังทะเลาะกันไม่จบ    อีก 19 ปีข้างถูกแซงทั้งจากมาเลย์  เวียตนาม  อินโด  หรือมาแม้แต่ฟิลิปปินส์และพม่าก็อาจจะตามเราทันได้ครับ

 

   ทร.จะตัดสินใจอะไรก็รีบๆทำเถอะครับ   เวลางวดลงเรื่อยๆทุกขณะแล้ว    รัฐบาลก็ควรเห็นความสำคัญของทัพเรือเต็มที่สักทีเหมือนยุคของท่านชวลิตเขานะครับ   เป็นตัวอย่างที่ดี   เพราะผลประโยชน์ที่รัฐบาลมุ่งหวังและแผนพัฒนาเศรษฐกิจของท่านนั้น  พึ่งพาเส้นทางและทรัพยากรทางทะเลเป็นอย่างมากแบบขาดไม่ได้เลย   

   ดังนั้นกองเรือ  Bluy navy จึงจำเป็นสำหรับท่านด้วย     ผมบอกเลยว่าท่านชวลิตมองกาลไกลทีเดียวสำหรับเรื่องทัพเรือนี้

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 20/01/2013 23:03:04


ความคิดเห็นที่ 30


   ขอโทษครับพิมพ์ผิด    " ต้องบอกว่าอีก 10 ปีข้างหน้าถ้าไม่ทำอะไรเลย"  .....กดพลาดไป 1 ช่อง   ความหมายเปลี่ยนไปไกลโข 

  ถ้าจะเอา  Blue navy  กลับมาอีกครั้ง   ก็ต้องจัดหา  Harrier 2+  มา 16 เครื่อง เหมือนสมัยท่านชวลิตที่เคย "เกือบจะ" จัดหาให้ทร.โดยซื้อใหม่ถอดด้ามเลย      อีก 2-3 ปีของมือสองก็มีให้สอยเยอะแยะ    สมัยท่านก็สนใจ  E-2C  มากๆสำหรับทั้งทอ.และทร.     สำหรับทร.ก็กะจะให้มันขึ้นลงบนเรือ SAC-220    มายุคนี้ผมว่าเอา  EH-101 AEW สำหรับจักกรีดีกว่า    แบบนี้ก็ไม่ต้องพึ่งพาทอ.อีกต่อไปแล้ว

   ต้องเอา OHP 2 ลำมา upgrade ให้มีขีดความสามารถในการป้องกันภัยทางอากาศระยะไกล    อย่างน้อยก็ทำหน้าที่เป็นเรือฉากในการป้องกันภัยทางอากาศได้ระดับหนึ่ง (ผมถึงสนับสนุน 4 ลำไงครับ  กันได้ทั้งเรือดำน้ ทั้งเครื่องบินรบ)    แล้วค่อยหาเงินไป Upgrade MEKO ทีหลังก็ได้    

   แค่โปรแกรมนี้  ทุ่มเทกันจริงๆ 5-6 ปีก็ทำได้แล้วครับ      ส่วนเรือดำน้ำนี่คงต้องสู้สุดฤทธิ์  

เรือดำน้ำควรได้ทั้ง Midget และ เรือขนาดราวๆ 2000 ตัน    เพราะเฝ้าบ้านได้ดีมากและออกไปป่วนได้สุดยอด......... 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 20/01/2013 23:20:48


ความคิดเห็นที่ 31


ใช่เรือฟริเกต ของ ทร. อินโดนีเซีย เปล่าครับ ลำนี้

โดยคุณ seetha456 เมื่อวันที่ 20/01/2013 23:23:50


ความคิดเห็นที่ 32


   ภายในปี 2020 ที่จะถึงนี้  ถ้าทร.มาเลย์รับมอบเรือ Gowind ชุดนี้ครบ  และสามารถหาเงินมาจัดหาเรือดำน้ำ สกอปเน่ได้อีก 2 ลำ   ทร. มาเลย์จะมีความพร้อมในด้านสงครามต่อต้านเรือดำน้ำสูงที่สุดแล้วในอาเซี่ยน (ตอนนี้ยังก่อน อีก 8 ปีโน่น)   

    แต่ขีดความสามารถในด้านการป้องกันภัยทางอากาศและอากาศนาวียังเป็นรองเราอยู่มากเอาการ    ก็จนกว่าหลังปี 2020 ที่ทร.มาเลย์สนใจต้องการเรือ  Mini Dokdo  8,000  ตัน  ระวางเต็มที่ก็พอกับจักกรีได้   รองรับ F-35 ได้ด้วย    ถ้าทร.มาเลย์สามารถจัดหาได้จริง 2 ลำตามแผน (หลังปี 2020)    งานนี้ทร.ไทยเราตกกระป๋องแน่ๆครับ  

   ผมกลัวว่าถึงเวลานั้น  มันจะไม่ใช่ mini Dokdo  แต่จะใหญ่ระดับเรือบรรทุกบ.เบา    ใครจะไปเดาใจได้    เมื่อก่อนไม่มีใครเคยคิดด้วยซ้ำว่ามาเลย์จะกล้าจัดหาเรือดำน้ำระดับแมงป่องทะเลที่สามารถฟาดปากกับเรือดำน้ำนิวเคลียร์ได้    อย่าได้คิดว่า  "ไม่มั๊ง"  นะครับ  เพราะเขาทำให้ดูครั้งหนึ่งแล้ว 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 20/01/2013 23:29:19


ความคิดเห็นที่ 33


อืม ECOXET MM-40 block3 นี่น่าสนใจมากเหมือนกันนะครับ โจมตีฝั่งได้ด้วย

ของไทย คงต้องรอลุ้น RBS-15 mk.4 เหมือนกองทัพเรือเยอรมันแล้วหละครับ ระหว่างนี้ ใช้ Harpoon ไปพลางๆก่อน

แต่ราคาถ้าจะ มหาโหดเอาเรื่อง เห็นในwikiระบุพิสัย มากกว่า 1,000 km. แสดงว่าเป็นลูกผสม ระหว่าง harpoon+tomahawk

และน่าจะ land attack ได้ด้วยเหมือนกัน

  เอาใจช่วยทัพเรือบ้านเราให้ได้เรือดีๆไวๆ ครับ คงติดที่รออนุมัติ+งบประมาณน่ะครับ

จริงๆแล้ว ผมก็อยากให้ทัพเรือจัดหาฟรีเกตสมรรถนะสูง สองลำ + รับOHP 2 ลำมาก่อนน่ะครับ อันนี้มันได้แน่ๆ อย่างอื่นค่อยว่ากัน

แต่คิดว่า กองทัพเรืออาจจะกำลังลังเลเรื่องเรือดำน้ำ ว่าจะได้รับอนุมัติ ในเร็ววันนี้หรืออีกนานมากกว่า 10 ปีขึ้นไป

อยากจะให้ฝ่ายการเมืองช่วย อนุมัติเรื่องเรือดำน้ำสักที แต่ก็น่ะมันเป็นประเด็นล่อเป้าทางการเมืองมากเลยสำหรับคนอนุมัติ

ถึงนาทีนี้แล้ว จะเป็นเรือดำน้ำจาก เกาหลี,จีน,รัสเซีย,สวีเดน,ฝรั่งเศส โดยส่วนตัวผมเอาหมดแล้วครับ ขอให้ได้มาฝึกก่อน เรือดำน้ำจากเยอรมัน คงเป็นไปได้ยากมาก

ถึงแม้เราจะส่งคนไปเรียนเรื่องเรือดำน้ำที่เขาก็ตาม อย่างน้อยได้ของเกาหลี สักสองลำแรกก็ระบบของเยอรมันละครับ ล็อตต่อไปคงง่ายขึ้น

 

อบสงสัยเหมือนกันครับว่า ระบบอำนวยการรบของเรือฟรีเกตสมรรถนะสูงของเราจะเป็นรุ่นไหน ถ้าเป็น SAAB 9LV mk.4 ไม่ทราบว่ามันจะคุม

ระบบ VL-ASROC ได้หรือไม่(ในกรณีที่อเมริกายอมขายให้เราน่ะครับ) หรือต้องมีระบบควบคุมMK116 มาด้วยแล้วคุมด้วย 9LV อีกที 

โดยคุณ ccguy เมื่อวันที่ 20/01/2013 23:58:26


ความคิดเห็นที่ 34


ตอนนี้ตอนกลางคืนครับ    ผมฝันว่า.....

กองเรือ


โดยคุณ cobra_night เมื่อวันที่ 21/01/2013 00:18:00


ความคิดเห็นที่ 35


ไม่ต้องกลัวว่าจะมีเรือดำน้ำมาปิดอ่าวไทย กองทัพเรือเราก็มีทุ่นระเบิดล่องหนไปวางไว้ที่ระดับความลึกปฎิบัติการของเรือดำน้ำ

โดยคุณ sam เมื่อวันที่ 21/01/2013 08:19:11


ความคิดเห็นที่ 36


เรื่องความชัดเจน ผมว่า กองทัพเรือ มีความชัดเจนเพียงพอครับ...และยืนยัน ด้วยครับ...

ตอนสมัย พล.ร.อ.กำธร พุ่มหิรัญ ก็มีความชัดเจน ในการจัดหาเรือดำน้ำ มือสอง...ยื่นเรื่องถึง 2 ครั้ง...แต่ก็ถูกแช่แข็ง...

ซึ่งคงเป็นตัวบุคคล ที่ กลาโหม ให้ความเกรงใจมาก...(เพราะผ่าน รมต. 2 รัฐบาล...2 ขั้วอำนาจการเมือง)

มาถึงเปลี่ยน ผบ.ทร. คนใหม่...ก็ยังยืนยันเหมือนเดิม....

แต่ ทางการเมือง ก็ไม่แน่ใจ และคาดว่า คงจะถูกตีกลับ ไม่ว่าจะจัดหา เรือดำน้ำ จากที่ไหนก็ตาม...เลยต้องเปลี่ยนแผนมา จัดหา เรือฟริเกตสมรรถนะสูง ก่อน...ซึ่งคงเป็นฝ่ายการเมือง มากกว่า กองทัพเรือ ที่เป็นผู้เปลี่ยนแผน...

ส่วนเรื่องการสื่อสารกับประชาชนที่ไม่เข้าใจ นั้น...ผมว่า ไม่ใช่ ประเด็นสำคัญ ที่ โครงการเรือดำน้ำ ถูกดอง หรือ แช่แข็ง...

กองทัพเรือ ในมุมมองของ ประชาชนทั่วไป...ผมว่า มีภาพที่ดีสำหรับประชาชนทั่วไป...ทั้งเรื่อง คอร์รัปชั่น หรือ ทางการเมือง...กองทัพเรือ ไม่มีภาพในส่วนนี้ สำหรับประชาชนทั่วไปเลย...ถึงจะถูกโจมตีบ้าง...แต่ประชาชน ผมว่า ก็ไม่สนใจที่จะเอาความหรอกครับ...

เรื่องการถูกโจมตี โครงการเรือดำน้ำ ก็ล้วนแต่เป็น สื่อ ในสายอำนาจที่ผมอ้างถึงข้างต้น...ที่ว่าทฤษฎี อ่าวไทย น้ำตื้น เรือดำน้ำจมโคลน จนโลกแตกล่ะครับ...

ผมถึงได้แสถงความเห็นว่า...อดีตปูชนียบุคคลสำคัญของ กองท้พเรือ มีให้เคารพ นับถือ บูชา มากมายหลายท่าน...

กรมหลวงชุมพร เจ้าฟ้าทหารเรือ สมเด็จพระปิ่นเกล้า...หรือ อดีต พลเรือเอก หลาย ๆ ท่าน...

เป็นตัวของตัวเอง สักที...เสียงดัง...ฟังชัด...อยู่ใน วินัย...ใครไม่เกี่ยว ก็ถอยไป...ถ้ามันเป็นความจำเป็น มันเป็นยุทธศาสตร์ที่ กองทัพเรือ ต้องดำเนินการ...

ผมถึง นับถือ พล.ร.อ.กำธร พุ่มหิรัญ...ยืนยัน จนวันสุดท้าย ว่าต้องการ เรือดำน้ำ...และอยากได้คำตอบจาก กลาโหม ว่ามีเหตุผลอะไรที่ไม่อนุมัติ...แต่ก็เจอ ความเสงบสยบความเคลื่อนไหว...แต่ท่านก็ยัง ดุ ไม่พอ...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 21/01/2013 08:45:43


ความคิดเห็นที่ 37


ถ้าดูจากข่าวเก่าเมื่อปี 2011

เรือ LCS นี้ น่าจะสร้างที่ อู่เรือมาเลเซีย เองครับ..

คงจะเป็น Boustead Naval Shipyard

http://www.bnshipyard.com.my/

Malaysia Firm Wins $2.8 Billion Navy Ship Deal
Our BureauViewed: 733 times
Sun, Dec 18, 2011 18:39 CET
A Malaysian shipbuilder says it has won a 9 billion ringgit ($2.8 billion) deal from Kuala Lumpur for six naval vessels developed by French manufacturer DCNS.

In a filing with the local bourse Dec. 16, Boustead Naval Shipyard said it was given a letter of award by the Malaysian defense ministry to build and deliver six "second generation patrol vessels littoral combat ships." "The delivery of the first of class ship is estimated in 2017 with follow on ships every six months thereafter," it added.

Last week Boustead said it had been selected by Malaysias navy to build the corvettes, which DCNS says can stay at sea for three weeks and are designed to navigate coastal areas and island groups to fight piracy and patrol fisheries. The vessels are 330 feet long and can each transport one EC275 helicopter made by Eurocopter, a subsidiary of EADS.
โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 21/01/2013 09:42:50


ความคิดเห็นที่ 38


ตามแผนการเข้าประจำการของเรือชุดนี้

ปี 2017   = ลำที่ 1

ลำที่ 2 - 6 จะส่งมอบทุก 6 เดือน

หรือ ปีละ 2 ลำ

ก็คงไม่เกินปี 2020 ( ปี 2563 )

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 21/01/2013 09:53:57


ความคิดเห็นที่ 39


ปี 2563

กำลังทางเรือ ประเภทเรือรบ ก็จะประกอบด้วย

1. เรือดำน้ำ 2 ลำ

2. เรือฟริเกต จำนวน 4 ลำ + AS-555 จำนวน 6 ลำ

3. เรือคอร์เวต จำนวน 4 ลำ

4. เรือ LCS จำนวน 6 ลำ + EC-725 or MH-60R จำนวน 6 ลำ

5. เรือ OPV จำนวน 6 ลำ + super lynx 300 + Sea Skua Missile จำนวน 6 ลำ

6. เรือ ต่อต้านทุ่นระเบิด จำนวน 4 ลำ

7. เรือเร็วโจมตี จำนวน 12 ลำ

รวม 38 ลำ

ยังไม่รวม กองกำลังทางเรือ MMEA ( กองเรือยามฝั่งของ มาเลเซีย สังกัด สำนักนายกรัฐมนตรี )

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 21/01/2013 10:09:18


ความคิดเห็นที่ 40


                  "ทฤษฎี อ่าวไทย น้ำตื้น เรือดำน้ำจมโคลน จนโลกแตกล่ะครับ..."

 

 อย่างก๊ากเลยครับป๋าจูล   กด LIKE ให้หนึ่งสำหรับวลีนี้  ......555555............แต่ไม่น่าเชื่อนะครับว่าคนจำนวนไม่น้อยยังเชื่อว่ามันเป็นแบบนั้นด้วย............อะเมซิ่งไทยแลนด์

 

      การวางกำลังในการปิดปากอ่าวในยุคนี้ไม่จำเป็นต้องวางกำลังแบบสมัยก่อนที่ต้องนำกองเรือมาถึงหรือใกล้ปากแม่น้ำแล้วครับ   เพราะมันเสี่ยง  เนื่องด้วยอ่าวตื้น  เรือขนาดใหญ่ปฎิบัติการณ์ยาก   และหน่วยสอ.รฝ. นั้นก็จะเริ่มประจำการด้วยอาวุธนำวิถีที่มีระยะยิงเป็น 100 กิโลเมตรขึ้นไปแล้ว    ดังนั้นมาถึงยุคนี้การปิดปากถุงที่พูดถึงก็คือ บริเวณพื้นที่ห่างออกไปจากปลายแหลมญวนไม่มากนัก   และอยู่ในพื้นที่เขคเศรษฐกิจ 200 ไมล์ของมาเลย์เขาครับ    ใกล้กับเกาะเล็กๆที่อยู่ปลายแหลมญวนนั่นหล่ะครับ   เป็นจุดปิดปากถุงเพื่อทำให้เส้นทางเดินเรือของเราหมดสภาพ  แม้ว่าจะอยู่นอกพื้นที่เศรษฐกิจ 200 ไมล์ทะเล    และอยู่นอกบ้านตนเอง    

   กำลังทางทะเลของมาเลย์ที่ป๋าจูลลงไว้  เพื่อนๆลองไปดูข้อมูลเก่าครับ   โดยเฉพาะที่ป๋าทำไว้    จะเห็นว่า ทร.มาเลย์นั้นก้าวกระโดดเร็วที่สุดในอาเซียนแล้ว (จนผมนั่งกังวล)   เร็วกว่าพม่าอีกนะครับในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา      ในขณะที่อินโดนั้น 10 กว่าปีที่ผ่านมาหัวทิ่มปักลงพื้นเลย   เพิ่งจะต่อยๆฟื้นตัวเอา 4-5 ปีหลังนี้เอง   หลังจากโดนมาเลย์เอาเครื่องบินรบบินขู่  เอาเรือรบมาลาดตระเวน    และจีนคุกคามหนักข้อขึ้นเรื่อยๆ    

   พม่าดีขึ้นมาน่าใจหาย      ส่วนเรานั้น ทรงๆ ทรุดๆ  อาการไม่แน่นอน 

 

  ท่าน cobra_night ครับ    ใช้โปรแกรมอะไรทำครับ   น่าสนใจมากนะ   สอนผมบ้างเถอะ   ผมชอบภาพเรือฟรีเกตต่อเองในประเทศที่คุณใช้แบบจากเรือปัตตานีเป็นพื้นฐาน   ไอเดียดีมากครับ........เอาแนวคิดสเตลธ์ผสมด้วย........


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 21/01/2013 10:40:55


ความคิดเห็นที่ 41


ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด...มาเลเซีย ยังเหลืออีก 2 โครงการ ที่คงต้องติดตามข่าวกันต่อครับ...

1. เรือฟริเกตสมรรถนะสูง จำนวน 2 ลำ ( ทดแทนโครงการ ลิเคียว เฟส 2 เดิม ที่ไม่ได้จัดหาเพิ่ม )

เป็นการ คาดหมายส่วนตัว ว่า Type-26 ของ อังกฤษ น่าจะเป็นตัวเก็ง...

2. เรือดำน้ำ สคอร์ปิเน่ จำนวน 2 ลำ (เพิ่มแน่นอน แต่จะเป็นช่วงเวลาไหน คงน่าจะออกข่าวภายใน 1-2 ปี นี้)

ในเป้าหมายอีก 10 ปี ข้างหน้า มาเลเซีย คงจะมีเรือรบ รวมประมาณ 42 ลำ เมื่อรวม 2 โครงการนี้ เข้าไปด้วยครับ...

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 21/01/2013 11:10:59


ความคิดเห็นที่ 42


ส่วนตัวผมมองว่า จะเร่งสะสมด้วยปริมาณและเทคโนโลยีของเรากับทางใต้เราโดนเขาทิ้งหลายขุม แต่ถ้าเอาแบบป้องกัน-รักษาฝั่ง แบบ3เหล่าแบบค่อยเป็นค่อยไป เราสามารถทำได้ดีน่าจะเพิ่มประสิทธิภาพในส่วนป้องกันได้ไม่น้อย

เช่นต่อตีเรือผิวน้ำ เราสามารถใช้พื้นที่ตลอดภาคใต้วาง ฐานบินโจมตีทะเล กริพเพ้น+อวป. บ.ลาดตระเวณP-3(อนาคตสามารถเลือกเป็นC295หรืออื่นๆได้กำลังพัฒนากันอยู่)ฐานยิงบนฝั่ง สามารถเลือกอาวุธโจมตีจากจีนและรัสเซียได้ เพราะหากจะต่อต้านฐานยิงบนฝั่งต้องเรือรบที่ติดตั้งอวป.ที่มีระบบINS/GPS

 

ต่อตีเรือดำน้ำ คงไม่พ้นเรือรบ+อากาศยาน แต่เรือรบเราต้องมีฮ.ที่ทิ้งตอร์ปิโดหรือทำภารกิจปราบเรือดำน้ำได้เต็มเม็ดเต็มหน่อยกว่าตอนนี้ เรือจักรีสามารถเป็นฐานลอยน้ำให้ฮ.ลาดตระเวณ-โจมตีเรือดำน้ำได้

ผมไม่ได้มองไม่แง่ตัวเรือมากนัก เพราะทร.ต้องมีภาระปลดเรือ ปรับปรุงอีกมากมาย เลยไม่ได้หวังกับเรือประสิทธิภาพสูงเพียงไม่กี่ลำ เลยมุ่งไปที่การมีกำลังพร้อมรบต่อตีเป้าหมายชายฝั่งทั้ง3เหล่ามากกว่า

โดยคุณ MIG31 เมื่อวันที่ 21/01/2013 13:42:47


ความคิดเห็นที่ 43


ข่าวการวางแผนจัดหาเรือ ของ มาเลเซีย ไล่ลำดับไปจาก

เริ่มแรก Lekiu Batch 2

ต่อมา เป็น OHP มือ 2 จาก สหรัฐ

และตามข่าว โปรแกรม เรือรบมาตรฐานของ อังกฤษ Type-26 ซึ่งมีกลุ่มประเทศเป้าหมายในการขาย คือ มาเลเซีย

ซึ่งน่าจะเป็นการขายแทนแบบเรือชั้น Lekiu Batch 2

และ ข่าว การวางแผนจัดหา เรือดำน้ำ เพิ่มเติม

Govt may buy Batch 2 Lekiu Frigates under 10th plan

LANGKAWI: The Government may buy Batch 2 Lekiu Frigates under the 10th Malaysia Plan after the earlier work done by BAE Systems for the project was suspended

The Batch 2 frigates are reportedly slightly bigger than "KD Jebat" and "KD Lekiu", the Malaysian Navys largest surface combatants and are to be armed with new anti-air missile system.

Type 26: Design

Targeting Exports

Both British FSC variants will also be developed with an eye to export orders, in hopes of to spreading development costs over more vessels, getting more benefit from the manufacturing learning curve, reducing costs per ship thanks to volume orders, and sustaining the UK’s naval shipbuilding industry.

Rumored design options for export customers include a choice of gas turbine engines for maximum speed, or a slower but more efficient all-diesel design; as well as optional ship equipment fit-outs focused on either anti-submarine warfare (ASW) or air defense.

So far, countries that have been reported as expressing some level of interest have included Australia, Brazil, Canada, India, Malaysia, New Zealand, and Turkey.

Malaysia looking to buy second-hand US frigates and LSDs, ASIA PACIFIC


The Royal Malaysian Navy (RMN) has told the US Navy (USN) it may be interested in buying Oliver Hazard Perry class frigates scheduled for decommissioning in 2013 and the early retired Whidbey Island class landing ship docks (LSDs).


"We have registered our interest," RMN chief Admiral Tan Sri Aziz Jaafar told reporters on 23 April in Kuala Lumpur. "But it will depend on the terms and costs and subsequent financial approval from the Malaysian government."

Navy plan to buy more submarines

Aside from maintaining the two Scorpene submarines, the Royal Malaysian Navy (RMN) plans to buy more submarines to boost the nation’s naval defence capability, said navy chief Admiral Abdul Aziz Jaafar.

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 21/01/2013 13:50:58


ความคิดเห็นที่ 44


กำลังทางเรือ ประเภทเรือรบ ก็จะประกอบด้วย

1. เรือดำน้ำ 2 ลำ + 2 ลำ (เพิ่มเติม) = 4 ลำ

2. เรือฟริเกต จำนวน 4 ลำ + AS-555 จำนวน 6 ลำ + เพิ่มเติม 2 ลำ (Lekiu Batch 2 or OHP or Type-26) = 6 ลำ

3. เรือคอร์เวต จำนวน 4 ลำ

4. เรือ LCS จำนวน 6 ลำ + EC-725 or MH-60R จำนวน 6 ลำ

5. เรือ OPV จำนวน 6 ลำ + super lynx 300 + Sea Skua Missile จำนวน 6 ลำ

6. เรือ ต่อต้านทุ่นระเบิด จำนวน 4 ลำ

7. เรือเร็วโจมตี จำนวน 12 ลำ

รวม 42 ลำ

ยังไม่รวม กองกำลังทางเรือ MMEA ( กองเรือยามฝั่งของ มาเลเซีย สังกัด สำนักนายกรัฐมนตรี )

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 21/01/2013 13:53:00


ความคิดเห็นที่ 45


ผมขอแย้งนิดนึงนะครับเรื่องมุมองที่ประชาชน"ตอนนี้"มองกองทัพเรือ

  ในตอนขอซื้อเรือดำน้ำเยอรมันประชาชนส่วนมาก"เชื่อ"คนที่ออกมาบอกว่าอ่าวไทยตื้น เรือดำน้ำไม่เหมาะ บลาๆๆๆ

 ตอนนั้นกองทัพเรือเองมีความชัดเจนในการขอซื้อ "แต่ไม่มีความชัดเจนในการนำเสนอข่าวสารกับประชาชน คนทั่วๆไป"ส่วนมาก"ที่ไม่มีความรู้เรื่องพวกนี้เหมือนเพื่อนๆในเวปบอร์ดนี้จึงเลือกที่จะไม่เชื่อ และคิดว่าเรือพวกนี้เอามาก็ดำไม่โผล่

ประชาชนทั่วไปไม่ผิดหรอกครับ เพราะเค้าไม่รู้ คนอยากได้ต้องทำให้เค้ารู้สิ

 เรื่องต่อมากองทัพเรือมี"แผลเก่า" เรื่องการจัดซื้ออาวุธทั้งมือหนึ่งและมือสอง

อาวุธมือหนึ่งก็คือเรือบรรทุกเครื่องบินของเรา และเรือฟริเกตุอีกหลายลำที่ซื้อมาเป็นเรือเปล่าๆ ไม่ได้ติดอาวุธมาด้วย ประชาชนเค้าไม่รู้หรอกว่าทำไมไม่มีเค้ารู้แต่ว่าเรือมันโล่ง โดยเฉพาะเรือบรรทุกเครื่องบินของเรามันโคตรโล่ง มีหน้าที่"จอด"ให้คนมาดูแล้วเก็บเงินกับถ่ายทำเกมส์อะไรบ้าๆนั่น

อาวุธมือสองก็คือ แฮริเออร์และเอ7คอร์แซร์ ที่ซื้อมาจอดโชว์งานวันเด็กแล้วก็ค่อยๆหายไป ประชาชนไม่รู้หรอกนะครับว่าทำไมมันหายไป เขารู้แต่ว่ากองทัพเรือซื้อเครื่องบินมือสองมาแล้วใช้งานไม่ได้จึงต้องปลด

แผลเก่าพวกนี้ กองทัพเรือไม่เคยสนใจจะใส่ยาเลย และเพราะแผลเก่ามันอักเสบตอนนี้แผนการพัฒนากองเรือเลยวุ่นวายไปหมด

กองทัพเรือจะเดินหน้าได้ ต้องทำการประชาสัมพันะและ"ติดต่อกับประชาชนให้มากกว่านี้ ถ้ายังหลงอยู่แต่กับอดีตก็รอไปเป็นบ๊วยของอาเซี่ยนไปเถอะ เพราะประชาชน"สว่นมาก"ไม่ให้การสนับสนุนในการซื้ออาวุธ

 

ผมยกตัวอย่างกองทัพอากาสแล้วกันที่ซื้อกริเพน นอกจากตอนจัดซื้อจะทำความเข้าใจกับประชาชนได้ดีกกว่าแล้ว เมื่อซื้อมาประชาชนก้เห็นว่า"เครื่องบินเขามาพร้อมอาวุธที่จัดเต็มทั้งภาคอากาศภาคพื้นดินและเครื่องบินเตือนภัย" ทุกคนเห็นเป็นบวกหมดถ้ากองทัพอากาศจะซื้อเพิ่มไม่มีใครในประเทศไทยคัดค้าน

 

แล้วกองทัพเรือหละครับ ทำอะไรแบบนี้ได้ไหม ถ้าทำได้กรุณาเริ่มจากวันนี้เลย อย่ามือยึดติดกับอดีต เพราะถ้าบางคนเอาอดีตสมัยกบฏแมนฮัตตันมาพุดมันจะลำบาก

 

สุดท้ายนี้ OHP กองทัพเรือช่วยจัดหาแบบเงียบๆเอาให้เงียบที่สุด ส่วนรือฟริเกตุสองลำกรุณาจัดแบบตะดกนดังๆ เมื่อเรือมาจอดกรุณาติดอาวุธให้ครบเช็ตมาด้วย จรสดมีกี่นัดใส่มาโชว์ถ่ายรูปกันก่อน อ้อ ใส่เฮลิคอปเตอรืมาด้วยนะเอาจากไหนมาก่อนก็ได้

 

ถ้าเรือฟริเกตุมาจอดด้วยตัวเรือเปล่าๆ ขาดไอ้โน่นไอ้นี่ รับรองได้ว่าเรือดำน้ำไม่ได้โผล่แน่ๆ

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 21/01/2013 13:56:08


ความคิดเห็นที่ 46


ในแง่ การป้องกัน เรือรบผิวน้ำ ปิดอ่าว...

ในศักยภาพของ ทร. กับ ทอ. คงไม่น่ากังวล เท่าไหร่ครับ...

แต่ในแง่ การใช้เรือดำน้ำ ปิดอ่าว...

หรือ การใช้ เรือดำน้ำ เพื่อทำลายการเดินเรือ บริเวณ ทะเลจีนใต้...ซึ่งมันส่งผลกระทบต่อ อ่าวไทย แน่นอน...

ทั้งในแง่ เพื่อหาเหตุ ในการตั้ง กองเรือจีน ในภูมิภาค อาเซียน...ก็มีโอกาส เป็นไปได้เหมือนกันครับ..

หรือ ในแง่ การทำลายเรือพาณิชย์ หรือ แท่นขุดเจาะน้ำมัน เพื่อส่งสาร หรือ สั่งสอน ของ คู่กรณี ระหว่าง ประเทศในกลุ่มอาเซ๊ยน กับ จีน...

ซึ่งอาจจะเป็น เรือดำน้ำของ เวียดนาม หรือ มาเลเซีย หรือ จีน เอง ก็ได้ ที่จะกระทำการดังกล่าว...

การที่ มาเลเซีย และ ไทย จะมี กองเรือเพื่อปราบเรือดำน้ำ ชั้นนำ...เพื่อป้องกันเหตุ หรือ ปรามเหตุ ไม่ให้เกิด...เหมือนจะเป็นหน้าที่ ที่ถูกบังคับแบบกลาย ๆ...

ประเทศไทย เอง ก็ต้องปรับตัว ให้มีความทันสมัย หรือ ดูว่า มีประสิทธิภาพ เพียงพอ...ที่จะ ไม่ให้ คู่กรณี ทั้งหมด...มาสร้าง ดุลย์สงคราม หรือ สร้างความได้เปรียบ บนทะเล ที่จะกระทบต่อ อ่าวไทย ได้...

เหมือนกับว่า จับเรือดำน้ำ ได้...ของใครก็ไม่รู้...ต้องทำลาย หรือ แสดงเตือนว่ารู้ว่า คุณ อยู่ตรงนั้น ไว้ก่อน...เพราะ ส่อ หรือ แสดง ว่าจะสร้างอันตรายกับ กองเรือพาณิชย์ ได้..

ซึ่ง ทอ. ก็ทำไม่ได้แน่นอน...กองบินทหารเรือ ก็ทำไม่ได้ เพราะไม่สามารถบินได้ตลอดเวลา และสิ้นเปลืองกว่า การมี กองเรือปราบเรือดำน้ำที่มีสมรรถนะสูง น่ะครับ...

 

 

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 21/01/2013 14:06:36


ความคิดเห็นที่ 47


อันนี้ ผมก็ขอแย้ง ท่าน superboy ครับ..

ว่า ประชาชน ไม่เข้าใจ...ประชาชน ต่อว่า นั้น...เป็น ประชาชน ส่วนใหญ่...

คือ ประชาชนส่วนใหญ่ ตรงไหนน่ะครับ...ผมก็เห็นแต่ พวกแสดงความเห็นในเว๊ป ที่เป็นกลุ่ม ฉาบฉวย เท่านั้น ครับ...

ซึ่ง เรา ไปใส่ใจกันเอง ครับ...

ในเรื่อง กริพเพ่น ผมก็ไม่เห็นว่่า ประชาชน จะยอมรับนะครับ...

ถ้า ท่าน ลองไปคุยกับ ประชาชน ทั่วไป ครับ...โดยเฉพาะ ยิ่ง เว๊ป การเมืองแรง ๆ ช่วงนั้น ก็ยังถูกโจมตี เละ เหมือนเดิมครับ...ผมก็ไม่เห็นใครจะยอมรับ เลยครับ...ขนาดผู้รู้ ต้องลง นสพ. อธิบาย ซะหลายเดือน ก็เห็น ๆ กันอยู่ครับ...ก็ยังไม่เห็น ประชาน จะยอมรับเท่าไหร่ครับ...

เพียงแต่ กองทัพอากาศ สามารถ ดึงดัน จนอนุมัติได้...ซึ่งก็เพราะ รัฐบาล ในขณะนั้น..เอ่อออ..ด้วย...

เรื่องเลยเงียบไป...ไม่ใช่ เพราะ การสื่อสาร หรือ ประชาชน เข้าใจ หรอกครับ...

ถ้าท่านดูรายการข่าว วันเด็ก...ที่ สุราษฎร์...เด็ก ที่ชื่นชอบเครื่องบิน ยังไม่รู้จัก กริพเพ่น เลยครับ...

ผู้สื่อข่าว ถามว่า ชอบเครื่องบินอะไร...เด็กตอบ ชอบเครื่องบิน F-5...

ผู้สื่อข่าว ถามต่อครับว่า...แล้ว กริพเพ่น ล่ะ ชอบหรือเปล่า...เด็ก..เงียบบบบบบบบบบ (คงไม่รู้จัก)

หรืออย่าง BTR-3E คนก็โจมตีจะตาย...ก็ผ่านได้ครับ...เพราะ กองทัพที่ต้องการ ดึงดัน จะต้องได้...มันก็ได้ครับ...

และเรื่องก็เงียบหายไป...โดยไม่ต้องใช้ การสื่อสารต่อประชาชนให้เข้าใจ เลยครับ...

ผมถึงว่า การสื่อสาร ให้ประชาชน เข้าใจ...ไม่ได้มีผล ต่อการ ได้ หรือ ไม่ได้ เรือดำน้ำ หรอกครับ...

ถ้า กลาโหม หรือ รัฐบาล...โอ เค...ด้วย...ต่อให้ ห่วย แค่ไหน...ก็ผ่านครับ...

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 21/01/2013 14:23:58


ความคิดเห็นที่ 48


ที่ กองทัพเรือ ไม่ตอบ..คงเพราะ ไม่อยากจะตอบมากกว่าครับ...

ที่ A-7 กับ AV-8 มันบินไม่ได้...ก็ เพราะ กองทัพเรือ ไม่อยากตอบมากกว่าครับ...ว่า

อะไหล่ AV-8 รอ สหรัฐ จะส่งมาให้...แต่ พวกท่าน ๆ ก็...เปิดเพลงรักชาติซะ 24 ช.ม....เขาก็ ระงับ การส่ง...ก็ลองไปดูข้อมูล EDA ในเว๊ปเดียวกับที่ สหรัฐประกาศเป็น ไฟล์ PDF ว่า จะขายอาวุธให้กับประเทศไทย เท่าไหร่ น่ะครับ....เขาก็เตรียมรอการส่งแล้วครับ...แต่ไม่มีการส่งให้...

เครื่อง A-7 ก็มาตอนที่ วิกฤติการณ์ต้มยำกุ้ง...ก็เหมือน กองทัพอากาศ แหล่ะครับ...สั่ง F/A-18D มือ 1 แต่ได้ F-16 ADF มือสองมาแทน (และก็เกือบจะไม่ได้เหมือนกัน)...ซึ่งไม่ใช่เรื่องความผิด หรือ แผล ของ ทร. เลย...เพราะ ตอนซื้อ ประเทศไทยยัง รวยเงินกู้ อยู่ แต่ตอนเขาจะซ่อมบำรุงให้...ประเทศไทย ดัน จน เฉียบพลัน...

ส่วนเรื่อง ประชาชนเข้าใจ และยอมรับ กรีพเพ่น นั้น...ผมว่า เราเข้าใจไปเอง มากกว่า ครับ...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 21/01/2013 14:48:45


ความคิดเห็นที่ 49


   ท่าน CCGUY  ครับ  อาวุธที่ยิงจากเรือของฝรั่งเศส ที่มีพิสัยยิงไกล 1,000 กิโลเมตร+  นั้น มันไม่น่าจะใช้ Excocet MM40 Block3 ครับ  เพราะ Block 3 ยิงได้ไกลสุด 180 กิโลเมตร (ก็ถือว่าไกลแล้ว สำหรับอาวุธโจมตีเรือรบในยุคปัจจุบัน)  

   แต่น่าจะเป็น SCALP NAVAL  ที่เป็น อาวุธร่อนนำวิถี (Cruise Missile) เช่นเดียวกับ Tomahawk  ครับ  เพียงแต่ว่า ฝรั่งเศส ชาตินิยม พัฒนาใช้เองดีกว่า ไปซื้อ อเมริกา มาใช้แบบ อังกฤษ  

 

    การพัฒนา EXOCET ให้มีขีดความสามารถให้เป็น LAND ATTACK MISSILE ได้นี่ แนวทางคล้ายๆ อเมริกา ที่พัฒนา HARPOON ไปเป็น Land Attack Missile ได้ในบางรุ่น เช่น AGM-84H SLAM-ER  ที่ อเมริกา ขายให้เกาหลีใต้ เพื่อนำไปติดตั้งกับ F-15K ไว้จัดการกับ ฐานยิงขีปนาวุธ เกาหลีเหนือ ยามเกิดสงคราม 

 

    UAE ก็สนใจ AGM-84 SLAM-ER เช่นกัน  เมื่อ 2-3 ปีก่อน  ที่ยังไม่ซื้อ RAFALE ก็บอกว่า ต้องการที่ สามารถใช้อาวุธ SLAM ได้   การพัฒนา Exocet ให้เป็น Land Attack Missile ได้  ก็อาจจะนำมาแข่งขันกับ Harpoon รุ่น SLAM ของอเมริกา ก็ได้

 

     แต่ก็ยังไม่รู้ว่า ฝรั่งเศส จะพัฒนา EXOCET  รุ่น LAND ATTACK สำหรับติดตั้งกับเครื่องบินรบด้วยหรือเปล่า เพราะดูเหมือนมันจะทับซ้อนกันกับ SCLALP/STORM SHADOW   Cruise Missile ที่มีใช้อยู่ครับ

โดยคุณ TOP SECRET เมื่อวันที่ 21/01/2013 15:12:25


ความคิดเห็นที่ 50


   ขอบคุณสำหรับข่าวสารเพิ่มเติมนะครับป๋าจูลในเรื่องการตัดสินใจโครงการเรือฟรีเกตลิเคียว batch2      ข่าวที่พอทราบตอนแรกนึกว่าทร.มาเลย์จะจัดหา OHP 2 ลำ ทดแทนซะอีกรู้มาแค่นี่จริงๆ       ผมถึงเร่งอยากทร.จัดหา OHP 4 ลำเลย    เหตุผลเพราะขีดความสามารถของเรือด้วยและการเร่งจัดหาเรือทดแทนโครงการ ลิเคียวbatch2 ของเขาหลังจากต้องยกเลิกเพราะต้องทุ่มงบประมาณจำนวนมากให้เรือดำน้ำ

   

   ดูจากโครงการทดแทน ลิเคียว batch2 นี่มี รายชื่อ type 26 รุ่นใหม่ล่าสุดของอังกฤษที่ราคาแพงมหาศาลเหมือน MEKO ของทางเรา   จำนวน 2 ลำเท่ากัน    เป็นอันชัดเจนว่าเขามองเราว่าอาจเป็นคู่กรณีกับเขาด้วยแน่นอน    ก็น่าจะ 3 จังหวัดน่ะแหล่ะ        แต่เขาได้ทำการทิ้งช่วงห่างจากเราตอนที่เรากำลังวุ่นวายทางการเมือง    มาตอนนี้เราเริ่มนิ่งแล้ว   เริ่มจะรู้ผลกันแล้วว่าใครจะมาใครจะไป   ถ้าจะต้องถมแข่ง  F-122 ยกกองเรือมาเลยก็ไม่เลวนะครับ  8 ลำ    ทำเป็นแผนระยะยาวให้รัฐบาลไปเลย    เน้นสงครามต่อต้านเรือดำน้ำ  ติดตั้ง ASROC  โซน่าร์ลากท้าย   

 

   เร่งๆจบเรื่องทะเลาะกับเขมรแล้วเร่งๆตกลงเรื่องบ่อน้ำมัน+ก๊าซมหาศาลบ่อนั้นสักที   ถ้าอเมริกาจะขอเอี่ยว  ก็ให้มันไปสักหน่อย 10% ของพื้นที่   แลกกับระบบอาวุธมาตรฐานที่มันใช้เลยแบบไม่ต้องกักเรา          จะได้นำมันออกมาเปลี่ยนเป็นเงินแล้วสมทบทุนสร้างกองเรือให้มันอลังการไปเลย     บ่อนี้ขุดมาใช้เมื่อไหร่จะได้หมดปัญหาเรื่องงบประมาณซะที

 


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 21/01/2013 15:16:31


ความคิดเห็นที่ 51


The EXOCET MM40 BLOCK 3 weapon system is the latest generation ship-borne version of the EXOCET family and is in operational service with several navies.

EXOCET MM40 BLOCK 3 provides enhanced operational performance and technology upgrades, while minimising the impact on procurement and logistic support costs.

The EXOCET MM40 BLOCK 3 weapon system provides the following key operational features:

• Effective operational range in excess of 180 km

• Anti-ship as well as littoral operations and coastal land attack capability

• Outstanding penetration capability against enemy air defences

The Mission Planning software module of EXOCET MM40 BLOCK 3 automatically computes engagement plans to support firing decisions.

The flexibility of the EXOCET MM40 BLOCK 3 weapon is further enhanced by the accuracy of the new navigation package, allowing optimised 3D approach trajectories and terminal attacks from different azimuths, at very low sea skimming altitude with simultaneous time on target.

The terminal guidance relies on a sophisticated J-band active seeker to discriminate and select targets at sea and on the GPS accuracy for land targets.

EXOCET MM40 BLOCK 3 is compatible with most of the logistic support assets already in service. Its launching system is interoperable with all MM40 versions, thus enabling a smooth transition to BLOCK 3.

Exocet MM40 Block 3 shipset is versatile enough for installation on a wide range of naval platforms.

 

http://www.mbda-systems.com/mediagallery/files/exocet_mm40_ds.pdf

โดยคุณ TOP SECRET เมื่อวันที่ 21/01/2013 15:24:57


ความคิดเห็นที่ 52


ท่าน TOP SECRET ครับ

อาวุธปล่อย ที่ระยะทำการเกิน 1,000 km. ผมหมายถึง ตัว RBS-15 mk.4 ครับ

ตัวนี้ยังพัฒนาไม่เสร็จ ซึ่งบริษัทของเยอรมันก็ร่วมทุนด้วย

เคยอ่านจากไหนจำไม่ได้ว่ากองทัพเรือของเยอรมันมีแพลนว่าจะนำเข้าประจำการครับ

แต่ตอนนี้ยังใช้ harpoon ของสหรัฐไปก่อนครับ

ดูไปก็น่าสนใจสำหรับกองทัพเรือ ตัวจรวดอาจจะใกล้เคียงกองทัพอากาศ แต่คงไม่เหมือนกันซะทีเดียว

แถม ตัว RBS-15 mk.4 ตามข้อมูลบอกว่าขนาดจะใหญ่กว่า RBS-15Fและตัว mk.2, mk.3

โดยคุณ ccguy เมื่อวันที่ 21/01/2013 16:13:50


ความคิดเห็นที่ 53


อธิบายเพิ่มเติมครับ ท่าน neosiamese2

เรื่อง Lekiu Batch 2 เป็น ข่าวเก่า ครับ..น่าจะประมาณปี 5-6 ปี ที่แล้วครับ...

โดยลำดับข่าว จะเรียง ดังนี้

Lekiu  -----> OHP ครับ...

ส่วน Type-26 นั้น...ผมประเมินจากที่ มาเลเซีย ได้มีการพูดคุยกับ BAE ในเรื่อง Lekiu Batch 2 เมื่อ 5-6 ปี ที่แล้วครับ...

ปัจจุบัน BAE กำลังเปิดตัว Type-26 ผมจึง คาดว่า BAE น่าจะเสนอ Type-26 แทน Lekiu Batch 2 ถ้า มาเลเซีย มีความต้องการเรือใหม่ ครับ...

ตามแผนพัฒนา ฉบับที่ 10 ของ มาเลเซีย เขาจะรวมเรื่อง การพัฒนากองทัพไว้ด้วยครับ...

ซึ่งในแผนที่ 10 นี้ จะมีรวมการจัดหา Lekiu Batch 2 และ SGPV จำนวน 6 ลำ รวมถึง ฮ.ปราบเรือดำน้ำ รวมอยู่ในแผนฯ ด้วยครับ...

ซึ่งถ้า เราจะวิเคราะห์จากข่าว ที่ มาเลเซีย มีความต้องการ OHP จาก สหรัฐ ด้วย...

ก็น่าจะวิเคราะห์ได้ว่า  มาเลเซีย ได้เปลี่ยนแผนจากการจัดหา Lekiu Batch 2 มาเป็น OHP ครับ...

ซึ่ง คงเป็นผลกระทบจากการจัดหา SGPV ทีมีมูลค่าสูง...ซึ่ง เมื่อปีที่ผ่านมา...ก็ดูเมื่อ มาเลเซีย ยังมีปัญหาเรื่องการจัดหางบประมาณอยู่ครับ...

มาเลเซีย เลย หาทางเลือกอื่น คือ OHP มือสอง จาก สหรัฐ ครับ...

แผนพัฒนาประเทศ ฉบับที่ 10 จะเป็นช่วงปี 2010 - 2015...

ซึ่งถ้ายังจัดหา เรือฟริเกตใหม่ ไม่ได้ตามแผนฯ...เรือฟริเกต จำนวน 2 ลำ อาจจะไปโผล่ในแผนพัฒนาประเทศ ฉบับที่ 11 ซึ่งจะเป็นช่วงปี 2016 - 2020...

เรือ Type-26 หรือ เรือแบบฟริเกตแบบใหม่ จำนวน 2 ลำ อาจจะไปโผล่ในแผนฯ ฉบับใหม่ ก็ได้ครับ...

 

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 21/01/2013 16:21:41


ความคิดเห็นที่ 54


   ขอบคุณมากครับป๋าจูลดาส   พูดง่ายๆ ระยะสั้น 2-3 ปีที่จะถึงนี้     ถ้ามาเลย์หาเงินมาถมไม่ทัน   ดังนั้น OHP 2 ลำคงต้อง "ซื้อ" จากอเมริกา   เราคงต้องดูเงื่อนไขการจัดหาระบบอาวุธประจำเรือด้วยว่าเขาจะเอาแค่ไหน   แต่คงไม่มีเงินมาถมระบบอาวุธเต็มสูบ   

    แต่ถ้าเขารอสะสมเงินไปเอาในแผนถัดไป   คงจะเลือกของหรูแบบ type-26 ไปเลยดีกว่า     แต่ดูแล้วงบประมาณสำหรับทางทหารของมาเลย์นี่ใช้แทบจะเต็มความสามารถของประเทศเขาแล้วนะครับ    เพราะดูจากโครงการฝูงบินขับไล่ฝูงสอง   ถ้ารอการตัดสินใจเลือกแบบไม่ได้  คงต้องเช่ากริปเป่น    แล้วรอเงิน    เริ่มตึงมืออย่างเห็นได้ชัด    

   ส่วนข่าวการจัดหาอาวุธทางบกก็เงียบๆไปในช่วงนี้      อยากจะให้เราตกลงเรื่องบ่อน้ำมันกันเสร็จเร็วๆซะทีครับ    จะได้หาเงินจากมันแล้วทำการทิ้งช่วงห่างแบบตามกันไม่ทันอีกเลยตลอดกาล 

 

    ผมถึงสนับสนุนการคบหาสวีเดนแบบจริงๆไงครับ   ไม่ใช่กักๆ สาวสวีเดนมีของดีเข้าขั้นเลย....5555       จะเกาหลีหรือสวีเดนก็เอาเถอะ   หรือเหมาทั้งคู่ก็ไม่เลวครับ 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 21/01/2013 16:47:36


ความคิดเห็นที่ 55


ลองจัดภาพ ระยะเวลาทุก 10 ปี

ทร.มาเลเซีย มีการจัดหา เรือรบ เป็น ทวีคูณ...

เรื่องปัญหาทางการเงินจากการ อาวุธ...ผมคิดว่า มาเลเซีย ไม่ได้มีปัญหาเท่าไหร่ ครับ...

เพียงแต่ ปีที่ผ่านมา ยังจัดหาแหล่งเงินมา จุนเจือ ยังไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย ครับ...

เท่าที่ลองจับสังเกตุ ดู นะครับ...

มาเลเซีย มีเวลาในการจัดหา งบประมาณ ถึง 10 ปี ครับ...ซึ่ง ส่งผลให้ ได้รับเรือตรงตามต้องการ ครับ...

มองภาพแบบคร่าว ๆ คือ

แผน 5 ปี...คือ การกำหนดความต้องการ วางงบประมาณ...เมื่อได้ งบประมาณมา บางส่วน และทะยอยสะสมงบประมาณ...แล้ว ทำสัญญาใน 5 ปีแรก...

แผน 5 ปี ต่อมา...คือ ช่วงระยะเวลา การสร้างเรือ และทะยอยประจำการเรือ...งบประมาณ ก็จะทะยอยการชำระ...

เท่ากับ มาเลเซีย ใช้เวลา 10 ปี ในการจัดหาเรือ จำนวน 8 ลำ หรือ ถัวเฉลี่ยปีละ ลำ...

ยกตัวอย่าง แผนพัฒนาฉบับที่ 10...คือ ปี 2010 - 2015...มาเลเซีย ได้คัดเลือกแบบ Gowind จำนวน 6 ลำ...ปัจจุบัน คือ ปี 2013...แสดงว่า มาเลเซีย ได้ทะยอยสะสมงบประมาณมาจำนวนหนึ่ง...

แต่เรือ จะได้รับมอบลำแรก ในปี 2017...และจะทะยอย รับมอบ ทุก 6 เดือน ก็จะใช้เวลาอีก 3 ปี...

นั่นหมายถึง มาเลเซีย มีเวลาหาเงินสะสม และรัฐบาลหาแหล่งเงินทุน ตั้งแต่ปี 2010 - 2017 หรือ 7 ปี...แล้วหลังจากปี 2017 เป็นต้นไป เรือก็ทะยอยส่งมอบ จนครบ...มาเลเซีย ก็ทะยอยจ่าย ส่วนที่เหลือ รอรับมอบเข้าประจำการอีก 3 ปี...รวมระยะเวลาจัดการงบประมาณทั้งหมด คือ 10 ปี....

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 21/01/2013 18:13:40


ความคิดเห็นที่ 56


คุณJuldas ครับ ผมว่ามาเลเซียหรือประเทศอื่นในอาเซียน กองทัพเรือของเขาจัดหาเรือได้ใกล้เคียงตามแผนที่เขาเขียนไว้มากกว่า กองทัพเรือไทยครับ

    ขณะที่กองทัพเรือไทยเขียนแผน แต่ทำได้ไม่เป็นไปตามแผน เพราะสถานการณ์ในประเทศในช่วง 10-20ปี ที่ผ่านมามันไม่สงบ รัฐบาลที่ผ่านๆมาทุกยุคทุกสมัยหรือแม้แต่ข้างในแต่ละเหล่าทัพก็ไม่นิ่ง เราจึงสนใจเฉพาะสถานการณ์ในประเทศเป็นหลัก พูดง่ายๆคือ " เอาตนเองให้รอดกันก่อน ประเทศรอไปก่อน "   หรือไม่ก็เป็นอย่างที่คุณ Juldas กล่าวข้างต้นคือ " ขนาดผ่านมาไม่ว่ากี่รัฐบาล เรื่องการจัดหาเรือดำน้ำ ก็ติดปัญหาที่ ..." อะไรก็ไม่ทราบ "...   อย่างล่าสุด  ประชาชนทราบจาก รมต.กลาโหมผ่านสื่อมวลชน เพียง " ติดปัญหาด้านเทคนิค " .........ผบ.ทร.ท่านเดิมคงจะมึนเหมือนกันครับ ทร.มีทั้งแผนงาน ค้นคว้า ศึกษา มานาน ทำถูกต้องตามหลักการ แต่โครงการก็ถูก Stop แบบไม่มีเหตุผล.....

  

โดยคุณ Mr. Bean เมื่อวันที่ 21/01/2013 20:34:15


ความคิดเห็นที่ 57


ลองเปรียบเทียบ ภาพการจัดหา เรือรบ ของ ทร.ไทย ครับ...

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 21/01/2013 22:40:01


ความคิดเห็นที่ 58


ตอบท่าน neosiamese2   ภาพเรือฟริเกตนั้น ไม่ได้วาดเองหรอกครับ มันคือแบบเรือพิฆาต KDX-II ของกองทัพเรือเกาหลีใต้  มันดูเหมือนเรือชั้นปัตตานีเราดีนักแล

โดยคุณ cobra_night เมื่อวันที่ 21/01/2013 22:52:48


ความคิดเห็นที่ 59


แก้ไขใหม่ครับ...

ท่าน cobra_night  ผมก็ชอบ ร.ล.กระบี่ ตามแบบในฝัน ของท่านเหมือนกันครับ...

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 21/01/2013 23:10:22


ความคิดเห็นที่ 60


ตามข่าวจาก Defense-studies

Rheinmetall Wins EUR280 M in New Air Defence Orders


The Rheinmetall Group has recently booked a number of important air defence contracts. Malaysia, Kuwait and one other Asian country have all ordered air defence hardware and/or services from the Düsseldorf, Germany-based company, with a total value of around €280 million. The orders encompass solutions for ground, air and naval units.

Rheinmetall will be equipping Malaysia with a total of twelve fire control radars (TMX/EO Mk2) and six electro-optical systems (TMEO Mk2) for six new patrol boats. This is a breakthrough order for a new generation of high-performance systems whose basic components were all developed in-house.

ถ้าจะเข้าใจอย่างนี้ว่า TMX-EO Mk2 นี่จะสำหรับ ESSM หรือ MICA VL แล้ว TMEO Mk2 นี่จะ สำหรับ ปืน หน้าเรือ หรือเปล่าครับ...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 22/01/2013 11:30:39


ความคิดเห็นที่ 61


หรือเป็นระบบ ที่ต้องประกอบด้วย 2 ตัวนี้...

Fire Control Systems
 
     
 
Fire control systems consisting of tracking modules (TMX/EO, TMEO), Weapon Control Modules (WCM) for calibers ranging from 25 mm to 127 mm, SAM, and the 35 mm Millennium Gun with Ahead capability.
 
  thumb pressure on the Azimuth Designator only. Immediately the commanders periscope is directed to the target and at the same time the optics is switched to low magnification for better view and targeting.

Installed in infantry fighting vehicles, the Target Allocator Kit provides the same features and short reaction times as for MBT. On most turret configurations a direct target assignment of the turret can be implemented.
 
     
     
  Main features  
 

Fire control systems optimally designed for air defence as well as for engagement of naval and littoral targets
High performance and excellent quality tracking modules, weapon control modules, and guns
Cost-effective integration into various other systems by means of standardized interfaces
High system availability and low maintenance costs due to outstanding quality standards


Undivided responsibility, since tracking module, weapon control system, gun and ammunition are all provided by one contractor
 
     
 
   
TMX/EO – Tracking Module with X-Band Radar and EO Sensors
 
 
   
Highly dynamic three-axes tracking module equipped with X-band radar and EO sensors, i.e. TV camera, infrared camera, and laser rangefinder, for precision measurements of aerial, naval, and land- based targets.
 
     
     
  Main features  
 

Three-axes concept of tracking module
Combined TV camera, infrared camera, and/or laser rangefinder
CW signal in-beam injection for target illumination (optional)
 
     
  Technical data  
 
Angular velocity : 3 rad/s (maximum)
Acceleration : 10 rad/s² or 90° in 0.85 s
Radar frequency : 8.6 - 9.5 GHz (X-band)
Instrumented tracking range : 0.3 - 80 km
 
    .
 
   
TMEO – Electro-Optical Tracking Module
 
 
   
Two-axes stabilized tracking module with TV camera, infrared camera and laser for passive tracking and observation of aerial, naval, and land-based targets.
 
     
     
  Main features  
 

IR camera
Wave length: 3-5 or 8-12 µm (according to customer requirements)


Resolution (mrad): 0.108 (horizontal) x 0.130 (vertical)/narrow field of view, 0.356 (horizontal) x 0.429 (vertical)/wide field of view
   
  Laser
Frequency: = 12 Hz
Wave length: 1,540 nm
Eye-safe
   
  TV camera
Zoom: 10:1
Resolution (lines): 420 (vertical) x 560 (horizontal)
โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 22/01/2013 12:00:17


ความคิดเห็นที่ 62


เพื่ิมเติมแก้ไข ข้อมูล

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 22/01/2013 20:31:11


ความคิดเห็นที่ 63


เพิ่มเติม แก้ไข ข้อมูล

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 22/01/2013 20:32:11


ความคิดเห็นที่ 64


 

จากคลิปดูแล้วออกแนวจิ๋วแต่แจ๋วเหมือนเรือชั้น รัตนโกสินทร์ ของเราเลยนะครับ

โดยคุณ Ricebeanoil เมื่อวันที่ 22/01/2013 21:34:21