หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ทำไม ทอ เลือก C-47 แทนที่จะเป็น C-123 สำหรับทำฝนหลวงครับ

โดยคุณ : houi เมื่อวันที่ : 30/01/2013 21:59:25

พอดีไปงานวันเด็ก แล้วเห็น C-123 มันช่างสวย จริงๆ

เลยสงสัยว่าทำไม ไม่เลือกปรับปรุ่ง C-123 แทน C-47

เพราะมันอาจจะทำหน้าที่ของ G-222 ได้บ้าง





ความคิดเห็นที่ 1


เดาเอานะครับว่า เพราะ C-47 มีใช้กันเยอะกว่า และ DC-3 ยังมีใช้กันอยู่เยอะ ทำให้มีอะไหล่ ฯลฯ อยู่เยอะ ส่วน c-123 คนอื่นเขาเลิกใช้กันไปแล้ว

โดยคุณ tongwarit เมื่อวันที่ 20/01/2013 14:18:59


ความคิดเห็นที่ 2


C-47 ได้รับการปรับปรุงเรื่อย ๆ นะครับจนเป็น BT-47 แล้วก็ยังมีสายการซ่อมบำรุงอยู่นะ

แต่ C-123 ไม่มีอะไหล่ ไม่มีสายการซ่อม ปลดกันเกือบจะหมดแล้วมั้ง

โดยคุณ Banyat เมื่อวันที่ 23/01/2013 07:18:37


ความคิดเห็นที่ 3


โครงการปรับปรุง C-123B/K ๘ฮ. ?ฮ.มีมาตั้งแต่ยุคสงครามเวียดนามแล้วครับ เรียกว่า โครงการ C-123T คือเปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่เป็นเทอร์โบ รุ่นประมาณ C-130 นั่นหละครับ  แต่ขณะนั้น พิจารณาแล้วไม่คุ้มค่า เพราะโครงสร้างของ C-123 ไม่นานก็ปลด (เสียเงินเปล่า) เลยมีการพิจารณาซื้อ C-130 มาใช้งานดีกว่า.....

ส่วน BT-67 ใช้งาน โดยการดัดแปลงมาจาก C-47 โดยให้เหตุผลเพื่อใช้ทำฝนหลวง....ข้อเสียของการทำฝนหลวง คือสารเคมี กัดพื้นโลหะของเครื่องบิน  ทำให้ในอนาคต บ.เหลฃ่านี้ก็ต้องเลิกใช้งาน...ไปในที่สุด...

สุดท้าย...ในการปฏิบัติการฝนหลวง ซึ่งเกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย ในปี 2512 นั้น  กองทัพอากาส เข้าร่วมปฏิบัติการฝนหลวง ครั้งแรก ในปี 2515 ครับ  โดยใช้เครื่องบินลำเลียงแบบ C-123 นั่นเอง.....

C-123T ที่ กองทัพอากาศได้ทำการปรับปรุง โดยว่าจ้างบริษัทของอเมริกันดำเนินการ


C-123K ในการทำฝนหลวง เมื่อปี 2515 ปฏิบัติการฝนหลวงจนถึงปี 2537 จึงปลดประจำการ


โดยคุณ ท้าวทองไหล เมื่อวันที่ 23/01/2013 14:09:11


ความคิดเห็นที่ 4


น่าเสียดายครับ ไปดูงานวันเด็ก แล้วมันอิน  แถมดูเรื่อง air america ยิ่งอินเข้าไปใหญ่

 

เวลามองดู BT-47 แล้วก็ไม่เข้าใจซักที

1. เปลี่ยนเครื่องยนต์ลูกสูปดาว เป็นรุ่นใหม่

2. ซ่อมตัวเครื่องใหม่หมด

 

ดูๆ แล้วมัน เรียกได้ว่า ชุบเป็ฯลำใหม่เลยทีเดียว

 

C-123 ก็เครื่องยนต์ลูกสูปดาวเหมือนกัน แถมในหนังเรื่องใหม่ๆ ก็ยังได้เห็น C123 อยู่

แต่ในหนังก็ยังไม่เห็นว่า มีการเปรี่ยนเครื่องยนต์แต่อย่างใด

แถม C-123 ก็น่าจะใหม่กว่า C-47

 

ถ้าอะไหร่หาอยาก ทำไมหนังเรื่อง con air ยังบินได้หว่า (air america อาจจะเก่าไป)

 

คิดไปคิดมา เออ ขนาด G-222 ใหม่กว่าต้องเยอะ ยังฟื้นสภาพไม่ได้เลย นับประสาอะไรกับ C-123

โดยคุณ houi เมื่อวันที่ 23/01/2013 14:10:41


ความคิดเห็นที่ 5


พึ่งเห็น post ของ คุณ ท้าวทองไหล

เข้าใจแจ่มแจ้งแล้วครับ ขอบคุณครับ สำหรับแฟน C123 อย่างผม

 

รบกวนอีกนิดนะครับ อยากทราบว่า ทำไม G-222 ถึง ปรับปรุงเป็น C-27 ไม่ได้ครับ

แบบว่าดูรูปกีที มันก็เหมือนกันครับ

โดยคุณ houi เมื่อวันที่ 23/01/2013 14:14:16


ความคิดเห็นที่ 6


“๔๐ ปี การปฏิบัติการฝนหลวงของกองทัพอากาศ”

โดย...พ.อ.อ.รัชต์ รัตนวิจารณ์ 

 

 

 

 

“...เมื่อมีฝนก็มีมากเกินพอ จนเกิดปัญหาน้ำท่วม เมื่อหมดฝนก็เกิดปัญหาภัยแล้งตามมา นี่จึงเป็นสาเหตุหนึ่ง  ของความยากจนของประชาชน เมื่อแหงนมองท้องฟ้ามีเมฆมาก แต่ลมพัดพาผ่านไปไม่ตกเป็นฝนน่าจะมีวิธีบังคับให้ฝนตก  สู่พื้นที่แห้งแล้งได้...”

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเป็นผู้ให้กำเนิด “ฝนหลวง” จากพระราชดำริเมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๔๙๘ ได้ทรงเยี่ยมประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทรงพบเห็นความทุกข์ยากเดือดร้อนของประชาชนในถิ่นทุรกันดารอันเนื่องมาจาก   ความเปลี่ยนแปลงและความไม่แน่นอนของฝนตามธรรมชาติ ดังข้อความในพระราชบันทึกพระราชทานดังกล่าว

เมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกร เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๘  ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ทรงรับทราบถึงความเดือดร้อนทุกข์ยากของราษฎรและเกษตรกรที่ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคและการเกษตร จึงได้มีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานโครงการพระราชดำริ "ฝนหลวง"(Artificial rain) ให้กับ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ไปดำเนินการ ซึ่งต่อมาได้เกิดเป็นโครงการค้นคว้าทดลองปฏิบัติการฝนเทียมหรือฝนหลวงขึ้น ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ด้วยความสำเร็จของ โครงการ จึงได้ตราพระราชกฤษฎีกาก่อตั้งสำนักงานปฏิบัติการฝนหลวงขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๘  ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเป็นหน่วยงานรองรับโครงการพระราชดำริฝนหลวงต่อไป

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงใยในความเดือดร้อนของพสกนิกร โดยเฉพาะเกษตรกรที่ต้องใช้น้ำในการทำเกษตรกรรม  พระองค์ยังทรงทุ่มเทพระวรกายในการคิดค้น  วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี การทำฝนหลวงจนประสบความสำเร็จ  ตามพระราชประสงค์ในการช่วยเหลือประชาชน ที่ประสบภัยแล้ง นอกจากนี้ยังทรงดูแล  ห่วงใย  และพระราชทานข้อแนะนำซึ่งถือเป็นพระบรมราโชบาย  ในการพัฒนาฝนหลวงอย่างต่อเนื่องเสมอมา  จนสามารถนำพาประชาชนและประเทศชาติให้รอดพ้นวิกฤต ภัยแล้งในทุกครั้ง

 

การทำฝนเทียมหรือฝนหลวงเป็นกรรมวิธีการเหนี่ยวนำน้ำจากฟ้า ใช้เครื่องบินบรรจุสารเคมีขึ้นไปโปรยในท้องฟ้า โดยดูจากความชื้นของเมฆและสภาพทิศทางลมประกอบกัน ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดฝนคือ ความร้อนชื้นปะทะความเย็น และมีแกนกลั่นตัวที่มีประสิทธิภาพในปริมาณที่เหมาะสม กล่าวคือ เมื่อมวลอากาศร้อนชื้นที่ระดับผิวพื้นขึ้นสู่อากาศเบื้องบน อุณหภูมิของมวลอากาศจะลดต่ำลงจนถึงความสูงที่ระดับหนึ่ง หากอุณหภูมิที่ลดต่ำลงนั้นมากพอก็จะทำให้ไอน้ำในมวลอากาศอิ่มตัว จะเกิดขบวนการกลั่นตัวเองของไอน้ำในมวลอากาศขึ้นบนแกนกลั่นตัว เกิดเป็นฝนตกลงมา ฉะนั้นสารเคมีที่ใช้จึงประกอบด้วย "สูตรร้อน" ใช้เพื่อกระตุ้นเร่งเร้ากลไกการหมุนเวียนของบรรยากาศ, "สูตรเย็น" ใช้เพื่อกระตุ้นกลไกการรวมตัวของละอองเมฆให้โตขึ้นเป็นเม็ดฝน และสูตรที่ใช้เป็นแกนดูดซับความชื้น เพื่อใช้กระตุ้นกลไกระบบการกลั่นตัวให้มีประสิทธิภาพสูง

และเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คณะรัฐมนตรี มีมติเมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๔ เฉลิมพระเกียรติในฐานะทรงเป็น “พระบิดาแห่งฝนหลวง” และกำหนดให้วันที่ ๑๔ พฤศจิกายนของทุกปี เป็น             “วันพระบิดาแห่งฝนหลวง”

 

  

 

พ.ศ.๒๕๑๕ กองทัพอากาศเข้าร่วมปฏิบัติการสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริการ     ทำฝนเทียม เป็นครั้งแรก เนื่องจากในปีนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไม่สามารถจัดหาเครื่องบินสนับสนุนเพียงพอต่อการร้องขอของราษฎรได้  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงห่วงใยต่อความทุกข์ของพสกนิกรอยู่เป็นนิจ จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มี “คณะปฏิบัติการฝนหลวงพิเศษ” (เดิมเรียกกันว่า “ฝนหลวงพระราชทาน” เพิ่มขึ้นอีก ๑ – ๒ คณะ  โดยขอความร่วมมือจากเหล่าทัพต่าง ๆ ในการสนับสนุนเครื่องบิน

 ในปีนี้ เป็นซึ่งเป็นปีแรกที่กองทัพอากาศ เข้าร่วมการปฏิบัติการฝนหลวง  โดยได้จัดเครื่องบินลำเลียงแบบที่ ๔  (C-123 B) ซึ่งสามารถบรรทุกสารเคมีได้ ๒,๐๐๐ – ๓,๐๐๐ กิโลกรัม/เที่ยวบิน เข้าร่วมปฏิบัติการ ๑ เครื่อง  โดยตั้งฐานปฏิบัติการเป็นครั้งแรกที่กองบิน ๕๓ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  

 

พ.ศ.๒๕๑๗  กองทัพอากาศ เข้าร่วมการปฏิบัติการฝนหลวง  โดยได้จัดเครื่องบินลำเลียงแบบที่ ๔  (C-123 B) ซึ่งสามารถบรรทุกสารเคมีได้ ๒,๐๐๐ – ๓,๐๐๐ กิโลกรัม/เที่ยวบิน เข้าร่วมปฏิบัติการ ๑ เครื่อง  เข้าร่วมปฏิบัติการสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริการทำฝนเทียม ใน “คณะปฏิบัติการฝนหลวงพิเศษ” เป็นปีที่ ๒ จากที่เข้าร่วมครั้งแรกเมื่อปี ๒๕๑๕  

 

  

 

พ.ศ.๒๕๒๖  หลังจากที่ กองทัพอากาศ เข้าร่วมการปฏิบัติการฝนหลวง  โดยได้จัดเครื่องบินลำเลียงแบบที่ ๔ /ก  (C-123 B/K) ซึ่งสามารถบรรทุกสารเคมีได้ ๒,๐๐๐ – ๓,๐๐๐ กิโลกรัม/เที่ยวบิน เข้าร่วมปฏิบัติการ ๑ เครื่อง  เข้าร่วม “คณะปฏิบัติการฝนหลวงพิเศษ” ในปี ๒๕๑๕ และปี ๒๕๑๗  ซึ่งจะจัดตั้งขึ้นเป็นครั้งคราว ในปีที่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไม่สามารถจัดหาเครื่องบินสนับสนุนเพียงพอต่อการร้องขอของราษฎรได้  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงห่วงใยต่อความทุกข์ของพสกนิกรอยู่เป็นนิจ จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มี “คณะปฏิบัติการฝนหลวงพิเศษ” (เดิมเรียกกันว่า “ฝนหลวงพระราชทาน” เพิ่มขึ้นอีก ๑ – ๒ คณะ  โดยขอความร่วมมือจากเหล่าทัพต่าง ๆ ในการสนับสนุนเครื่องบิน

ส่วนในปีที่เกิดภาวะแห้งแล้งรุนแรงเป็นบริเวณกว้าง  การร้องขอฝนหลวงจะมีมากกว่า ๔๐ – ๖๓ จังหวัด เกินที่ขีดความสามารถของ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ก็จะมีการร้องขอความร่วมมือจากเหล่าทัพต่าง ๆ ในการสนับสนุนเครื่องบิน ตลอดจนการเช่าเครื่องบินจากภาคเอกชนมาใช้งาน  เพื่อให้มีคณะปฏิบัติการ ๔ – ๕ คณะเท่าที่จะทำได้

ในปีนี้ เป็นปีแรกที่ กองทัพอากาศ จัดเครื่องบินลำเลียงแบบที่ ๒ (C-47) ซึ่งสามารถบรรทุกสารเคมีได้ ๑,๐๐๐ กิโลกรัม/เที่ยวบิน โดยกองทัพอากาศ ตกลงจะสนับสนุนเครื่องบินแบบนี้เข้าร่วมปฏิบัติการทุกปี       ปีละ ๑ – ๒ เครื่อง 

 

 

 

 

พ.ศ.๒๕๓๐ กองทัพอากาศ เข้าร่วมการปฏิบัติการฝนหลวง  โดยได้จัดเครื่องบินลำเลียงแบบที่ ๔ ก    (C-123 K) ซึ่งสามารถบรรทุกสารเคมีได้ ๒,๐๐๐ – ๓,๐๐๐ กิโลกรัม/เที่ยวบิน เข้าร่วมปฏิบัติการ ๑ เครื่อง  เข้าร่วมปฏิบัติการสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริการทำฝนเทียม ใน “คณะปฏิบัติการฝนหลวงพิเศษ” เป็นปีที่ ๓ จากที่เข้าร่วมครั้งแรกเมื่อปี ๒๕๑๕ และครั้งที่สองเมื่อ ๒๕๑๗   

 

 

 

พ.ศ.๒๕๓๕  กองทัพอากาศ ได้เริ่มทำการดัดแปลงเครื่องบินลำเลียงแบบที่ ๙ ( Nomad ) จำนวน    ๓ เครื่อง ใช้ในการปฏิบัติภารกิจฝนหลวง เพื่อเข้าปฏิบัติการฝนหลวง เป็นครั้งแรกของเครื่องบินแบบนี้        ต่อมาได้ดัดแปลงเพิ่มเติมอีก ๓ เครื่อง รวมเป็น ๖ เครื่อง

 

 

 

พ.ศ.๒๕๓๕  กองทัพอากาศ ได้เริ่มทำการดัดแปลงเครื่องบินโจมตีและธุรการแบบที่ ๒ (AU-23A)  เพื่อใช้ในการปฏิบัติภารกิจฝนหลวง เพื่อเข้าปฏิบัติการฝนหลวง

 

 

พ.ศ.๒๕๓๗  กองทัพอากาศ เรียกบรรจุเครื่องบินลำเลียงแบบที่ ๔ ก (C-123K) จำนวน ๓ เครื่อง ที่เดิมปลดประจำการจากฝูงบิน ๖๐๒ กองบิน ๖ ไปเมื่อกุมภาพันธ์ ๒๕๓๔ และนำไปเก็บรักษาไว้ที่ กองบิน ๒ ลพบุรี (ต่อมามูลนิธิอนุรักษ์และพัฒนาอากาศยานไทย ได้ขอไปใช้งาน) กลับเข้าประจำการอีกครั้ง เพื่อใช้ปฏิบัติภารกิจ “ฝนหลวง” เนื่องจากกองทัพอากาศ ขาดแคลนเครื่องบินที่จะใช้ปฏิบัติการฝนหลวง สนับสนุนโครงการพระราชดำริ

 

 

 

พ.ศ.๒๕๓๗  กองทัพอากาศ โดยศูนย์วิทยาศาสตร์และพัฒนาระบบอาวุธกองทัพอากาศ ได้ร่วมมือกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์   ในการวิจัยและพัฒนาระบบกระสุนซิลเวอร์ไอโอไดด์ เพื่อใช้กับเครื่องบินของหน่วยบินฝนหลวงในการปฏิบัติการฝนหลวงที่ระดับความสูงกว่า ๒ หมื่นฟุต  จากนั้นกองทัพอากาศได้ทำการพัฒนาระบบเครื่องยิงกระสุนดังกล่าวและทำการติดตั้งกับเครื่องบินโจมตีแบบที่ ๖ (A-37B) ของฝูงบิน ๒๑๑ กองบิน ๒๑ อุบลราชธานี  เพื่อใช้ในการสนับสนุนการปฏิบัติการฝนหลวงให้ครอบคลุมทุกพื้นที่และทุกสภาพอากาศ  ซึ่งใช้ปฏิบัติการอยู่ระยะหนึ่งจนกระทั่งเครื่องบินโจมตีแบบที่ ๖  ปลดประจำการ 

 

 

๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๑ บริษัท BASLER TURBO CONVERSIONS,LLC ประเทศสหรัฐฯ            ทำการบินเครื่องบินลำเลียงแบบที่ ๒ ก ( BT-67 ) เครื่องที่สามจากทั้งหมด ๙ เครื่อง ที่กองทัพอากาศว่าจ้างให้ดัดแปลงจากเครื่องบินลำเลียงแบบที่ ๒ ( C-47 ) เดินทางจากสหรัฐฯมาถึงสนามบินดอนเมือง ก่อนจะบินเดินทางไปยังกองบิน ๔๖ พิษณุโลก เพื่อบรรจุประจำการในฝูงบิน ๔๖๑  (เครื่องแรกมาถึงเมื่อกุมภาพันธ์ ๒๕๔๑) เพื่อจัดทำเป็นโครงการเครื่องบินปฏิบัติการฝนหลวงถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสที่เสด็จเถลิงถวัลย์สิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี เครื่องบินชนิดนี้สามารถบรรทุกสารเคมีได้เที่ยวละ ๓,๐๐๐ กิโลกรัม และนอกจากใช้ในภารกิจฝนหลวงแล้ว กองทัพอากาศยังได้ดัดแปลงติดตั้งอุปกรณ์ เพื่อใช้ในภารกิจดับไฟป่าอีกด้วย  เครื่องบินลำเลียงแบบนี้ บรรจุภารกิจ “ฝนหลวง” ทดแทนเครื่องบินลำเลียงแบบที่ ๔ ก ที่ปลดประจำการอีกครั้ง ในปี ๒๕๔๐

 

จากนั้นกองทัพอากาศได้จัดเครื่องบินแบบต่างๆ สนับสนุนการทำฝนหลวงมาอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งได้จัดตั้ง “ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงกองทัพอากาศ”

 

 

 

 

 

 

๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑ เวลา ๑๗๐๐  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า       โปรดกระหม่อม  ให้ พลอากาศเอก ชลิต  พุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศ พร้อมคณะนายทหารชั้นผู้ใหญ่                    เข้าเฝ้าละอองธุลีพระบาท  ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล  อำเภอหัวหิน  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์      เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเครื่องบินโจมตีแบบที่ ๗ (ALPHAJET) จำนวน ๒ เครื่อง เพื่อใช้เป็นเครื่องบินสนับสนุนการปฏิบัติการฝนหลวงเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว  และในโอกาสเดียวกันนี้กองทัพอากาศ จะได้น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเครื่องบินลำเลียงแบบที่ ๑๑ ค (BOEING 737-800) ซึ่งกองทัพอากาศได้จัดให้เป็นเครื่องบินพระราชพาหนะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์

          เครื่องบินโจมตีแบบที่ ๗ (ALPHAJET)เป็นเครื่องบินโจมตีไอพ่นสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิดที่กองทัพอากาศจัดซื้อจากสหพันธรัฐเยอรมัน  โดยบรรจุประจำการอยู่ใน ฝูงบิน ๒๓๑ กองบิน ๒๓ จังหวัดอุดรธานี  และเมื่อครั้งที่กองทัพอากาศ โดยศูนย์วิทยาศาสตร์และพัฒนาระบบอาวุธกองทัพอากาศ ได้ร่วมมือกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์   ในการวิจัยและพัฒนาระบบกระสุนซิลเวอร์ไอโอไดด์ เพื่อใช้กับเครื่องบินของหน่วยบินฝนหลวงในการปฏิบัติการฝนหลวงที่ระดับความสูงกว่า ๒ หมื่นฟุต  จากนั้นกองทัพอากาศได้ทำการพัฒนาระบบเครื่องยิงกระสุนดังกล่าวและทำการติดตั้งกับเครื่องบินโจมตีแบบที่ ๖ (A-37B) ของฝูงบิน ๒๑๑ กองบิน ๒๑ อุบลราชธานี  เพื่อใช้ในการสนับสนุนการปฏิบัติการฝนหลวงให้ครอบคลุมทุกพื้นที่และทุกสภาพอากาศ  ซึ่งใช้ปฏิบัติการอยู่ระยะหนึ่งจนกระทั่งเครื่องบินโจมตีแบบที่ ๖  ปลดประจำการ  จากนั้นผู้บัญชาการทหารอากาศ ได้มีดำริ ที่จะนำเครื่องบินโจมตีแบบที่ ๗ มาพัฒนาและติดตั้งระบบการยิงเครื่องยิงกระสุนซิลเวอร์ไอโอไดด์  เพื่อสนับสนุนกิจการฝนหลวงดังกล่าว  และได้พัฒนาระบบมาอย่างต่อเนื่องจนได้ผลเป็นอย่างดี และเตรียมจะน้อมเกล้าน้อมกระหม่อม เพื่อใช้ในภารกิจปฏิบัติการฝนหลวงเฉลิมพระเกียรติ ต่อสู้กับความแห้งแล้งและช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนทั่วประเทศต่อไป

เครื่องบินลำเลียงแบบที่ ๑๑ ค (BOEING737-800)เป็นเครื่องบินพระราชพาหนะเครื่องใหม่ล่าสุด                    ที่กองทัพอากาศ จัดหาเข้าประจำการ โดยบรรจุประจำการในฝูงบิน ๖๐๒ รักษาพระองค์ กองบิน ๖ ดอนเมือง              ซึ่งเครื่องบินเครื่องนี้เดินทางมาถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๐  และเมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๐    สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินินาถ เสด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร   เสด็จพระราชดำเนินทรงเจิมและคล้องพวงมาลัยให้กับเครื่องบินลำเลียงแบบที่ ๑๑ ค เครื่องนี้  ณ  ท่าอากาศยานกองบัญชาการกองทัพอากาศ    และในวันจันทร์ที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๕๑  กองทัพอากาศได้ทำการน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเครื่องบินพระราชพาหนะเครื่องนี้ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

กองทัพอากาศ ได้ทำการติดตั้งอุปกรณ์การยิงกระสุนซิลเวอร์ไอโอไดด์เข้าสู่เมฆเย็น กับเครื่องบินโจมตีแบบที่ ๗ โดยสำนักฝนหลวงและการบินเกษตร ได้ร่วมกันทดสอบการใช้งานแล้วได้ผลดี ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระทัยในการปฏิบัติภารกิจของเครื่องบินโจมตี ALPHA JET  พร้อมทั้งมีพระราชดำรัสแก่ผู้บัญชาการทหารอากาศ ตอนหนึ่งว่า “เครื่องบิน ALPHA JET ใช้ให้ดีจะเป็นประโยชน์อย่างมาก”  ซึ่งกองทัพอากาศสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และจะได้น้อมนำพระราชดำรัสดังกล่าว มาเป็นหลักในการดำเนินงานสนองโครงการพระราชดำริฝนหลวง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่พี่น้องประชาชนที่ประสบปัญหาภัยแล้งในทั่วทุกภาคของประเทศต่อไป

สำหรับความเป็นมาของโครงการพัฒนาชุดอุปกรณ์การทำฝนสำหรับติดตั้งกับเครื่องบินโจมตีแบบที่ ๗    (ALPHA JET)  เริ่มจากเมื่อปี ๒๕๓๖  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ได้ทดลองการทำฝนจากเมฆเย็น โดยใช้              พลุซิลเวอร์ไอโอไดด์ ยิงบริเวณยอดเมฆที่ระยะสูงประมาณ ๒๒,๐๐๐ ฟุต ในช่วงแรกนั้น กองทัพอากาศได้สนับสนุนเครื่องบินโจมตีแบบที่ ๖ (A-37)  เป็นเครื่องบินที่ยิงพลุ ฯ ครั้นเมื่อกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับเครื่องบิน King Air จำนวน ๒ เครื่อง  เพื่อใช้ยิงพลุ ประกอบกับ เครื่องบินโจมตีแบบที่ ๖ (A-37) ปลดประจำการ กองทัพอากาศ  จึงไม่ได้สนับสนุนเครื่องบินปฏิบัติการฝนหลวงในภารกิจดังกล่าว

          ต่อมาในปี ๒๕๓๘ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ขอรับการสนับสนุนจากกองทัพอากาศในการทำวิจัยและพัฒนาพลุซิลเวอร์ไอโอไดด์ เพื่อผลิตใช้งานทดแทนพลุที่จัดหาจากต่างประเทศ กองทัพอากาศจึงได้ตั้ง  คณะกรรมการดำเนินการวิจัยพลุซิลเวอร์ไอโอไดด์ ที่มีสมรรถนะเทียบเท่าของต่างประเทศแต่มีราคาต่ำกว่า (ต่างประเทศ     ๓,๕๐๐.- บาท/นัด ของกองทัพอากาศ ๑,๒๕๐ บาท/นัด) โดยกองทัพอากาศได้ผลิตพลุซิลเวอร์ไอโอไดด์ ให้กับ   กระทรวงเกษตรและสหกรณ์อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี ๒๕๔๑ ถึงปัจจุบัน

 

 

 

๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒   พลอากาศโท อภิศักดิ์  บุญเผื่อน  ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการบินและอวกาศ กองทัพอากาศ  ร่วมกับ คุณประเสริฐ  อังสุรัตน์ ผู้อำนวยการส่วนฝนหลวง เป็นประธานในพิธีเปิดการบินทดสอบโครงการวิจัยและพัฒนาพลุสาร ดูดความชื้นเพื่อทำฝนเมฆอุ่น  ณ  กองบิน ๔ ตาคลี 

กองทัพอากาศ โดยศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพอากาศ ร่วมกับ สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร จัดการบินทดสอบโครงการวิจัยและพัฒนาพลุสารดูดความชื้นเพื่อทำฝนเมฆอุ่น ซึ่งพัฒนาและวิจัยขึ้นโดย ศูนย์วิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการบินและอวกาศ กองทัพอากาศ (ศูนย์วิทยาศาสตร์และพัฒนาระบบอาวุธกองทัพอากาศ  เดิม) ได้พัฒนาพลุสารดูดความชื้น และอุปกรณ์ติดตั้งกับอากาศยาน เพื่อใช้ทำฝนในสภาวะเมฆอุ่น มาตั้งแต่ปี ๒๕๔๗  โดยมีการวางแผนที่จะผลิตออกมาโดยใช้สูตรผสมที่แตกต่างกันทั้งหมด ๔ สูตร ทั้งนี้ทุกสูตรจะต้องเหมาะกับภูมิอากาศของประเทศไทย และต้องเป็นสูตรเคมีใหม่นอกเหนือจากที่มีการผลิตออกมาและใช้งานในการทำฝนเทียมของประเทศอื่น อยู่แล้ว  เพื่อจะได้มีการจดสิทธิบัตรสูตรของพลุสารดูดความชื้นที่วิจัยและพัฒนาขึ้นโดยประเทศไทยในอนาคต

 

 

 

จากความสำเร็จของการใช้พลุซิลเวอร์ไอโอไดด์เพื่อทำฝนเมฆอุ่นของกองทัพอากาศ โดยการติดตั้งกับเครื่องบินโจมตีธุรการแบบที่ ๒ (AU-23A) ในสังกัดฝูงบิน ๕๐๑ กองบิน ๕ ประจวบคีรีขันธ์  ที่ผ่านมา ได้ทำการผลิตเพื่อการทดสอบแล้ว ๔๐๐ ลูก  โดยผลการทดสอบถือว่าประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจในระดับหนึ่ง  โดยเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารที่ใช้ทำฝนหลวงกับพลุดูดความชื้นได้เท่ากับพลุน้ำหนัก ๑ กิโลกรัม เท่ากับสารฝนหลวง ที่ใช้โปรยจากอากาศยานปริมาณ ๑๕๐ กิโลกรัม  หรือ พลุจำนวน  ๒๐ – ๒๔ ลูก (ใช้เพียงเครื่องบิน AU-23 A  ๑ เครื่องติดตั้งพลุที่ใต้ปีกได้ ๑๒ – ๒๔ ลูก) เทียบเท่าปริมาณการโปรยสารฝนหลวงจำนวน ๓ ตัน (ใช้เครื่องบินลำเลียงแบบที่ ๒ ก BT-67 จำนวนหลายเครื่อง) ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำฝนในพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว (ใช้เวลาเผาไหม้ ๕.๒๐ นาที) แล้วยังประหยัดค่าใช้จ่ายเรื่องเชื้อเพลิงอากาศยาน  ในการขึ้นบินโปรยสารฝนหลวงหลายเที่ยวบินอีกด้วย

สำหรับในปี ๒๕๕๒  ศูนย์วิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการบินและอวกาศ กองทัพอากาศ ได้ผลิตพลุสารดูดความชื้นเพื่อทำ ฝนเมฆอุ่น สูตรใหม่ (แคลเซี่ยมคอร์ไลด์) เพื่อการทดสอบจำนวน ๒๐๐ ลูก

 

ตลอด ๔๐ ปีที่ผ่านมา ปัจจุบัน กองทัพอากาศยังคงปฏิบัติการฝนหลวง สนับสนุนการแก้ปัญหาภัยแล้ง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน     โดยตั้งฐานปฏิบัติการในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ ในช่วงเวลาตามความเหมาะสมของสภาพอากาศ และตามการร้องขอของพี่น้องประชาชน      

 

C-123K ขณะทำฝนหลวง


BT-67 ขณะทำฝนหลวง


C-47 ขณะทำฝนหลวง


NOMAD ขณะทำฝนหลวง


AU-23A ขณะใช้พลุในการทำฝนหลวง


โดยคุณ ท้าวทองไหล เมื่อวันที่ 23/01/2013 14:17:27


ความคิดเห็นที่ 7


สรุปสั้นๆ ครับว่า G-222 เราซื้อจาก แอลิตาเลีย ที่เลิกกิจการไปแล้ว  ส่วน C-27 ผลิตโดย ล็อคฮีตมาร์ติน ซึ่งไปรับซ่อมดัดแปลง แต่ยินดีจะสร้างให้ใหม่ ถ้า ทอ.ไทย ต้องการ

สำหรับประเทศไทย...โรงงานเลิกผลิต ไม่มีอะไหล่  ใช้งานมาตั้ง สิบกว่าปีเกือบ 20 ปีก็คุ้มค่าแล้วครับ  



โดยคุณ ท้าวทองไหล เมื่อวันที่ 23/01/2013 14:24:10


ความคิดเห็นที่ 8


น่าจะหาตัวนี้มาแทน G-222

โคลัมเบียมีตั้ง5ลำ พึ่งจะสั่งซื้ออีก1ลำ ใช้ในภารกิจขนส่งทางทหาร และบรรเทาสารธารณภัย

เครดิตhttp://dtad.dti.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=396:defense-news-around-the-world-21-27jan56&catid=3:defense-news&Itemid=3

 


โดยคุณ pop04 เมื่อวันที่ 23/01/2013 15:07:30


ความคิดเห็นที่ 9


รบกวนอีกนิดนะครับ

 

พอดีเห็น BT-67 เป็นตัวอย่างแล้วนึกไม่ค่อยออกว่า ขาดอะไหร่ อะไรทำให้ G-222 บินไม่ได้ครับ

คือแบบว่าอย่าง C-47 เครื่องยนต์ก็เปลี่ยนได้

อุปกรณ์ electronic ก็เดาๆ ว่าหาเทียบเคียงมาเปรี่ยนได้

โครงสร้างอากาศยาน ก็ดูเหมือนว่าจะไม่ทรุดโทรม

มันทำให้ผมนึกภาพไม่ออกจริงๆ ว่า G-222 มันขาดอะไหร่ประมาณไหนเหรอครับ มันถึงกับบินไม่ได้

ส่วนตัวตอนนี้นึกได้แต่ขาดอะไหร่ พวก ผ้าเบรค ยางล้อ อะไรประมาณนี้ครับ

โดยคุณ houi เมื่อวันที่ 23/01/2013 15:48:43


ความคิดเห็นที่ 10


คุณ houi เขียนบอกข้างบนแล้วครับ...ว่า...โรงงานแอลิตาเลีย ผู้ผลิต G-222 เลิกกิจการ สรุปไม่มีการผลิตอะไหล่และชิ้นส่วนใดใดทั้งสิ้น  ถ้่าเราจะใช้อะไหล่ ต้องลงทุนซื้อซาก G-222 มาถอดอะไหล่ ก็เหมือนที่เค้าซื้อเราไป ก็เอาไปถอดเป็นอะไหล่ขายนั่นแหละครับ.......

ส่วน C-27 ที่ ล็อคฮีต เอาไปทำนั้น เค้าเลือกขายให้เฉพาะลูกค้าของเค้า นั่นหมายถึงเราต้องลงทุนซื้อ C-27 ซะก่อนสัก 4 ลำ หรือเปล่า ถึงจะขายให้...เขี่ยวครับ อเมริกัน....

ค่อยๆ ดูกันไปครับ...ตามความจำเป็นและเหมาะสม...ผมว่า...ภารกิจเรามีเยอะ...ซื้อ C-130J เลยดีกว่า....ซื้อเล็กซื้อน้อย แต่งานไม่ลด ภารกิจเพียบ หรือมากกว่าเดิมซะอีก ก็ซื้อไปเลย  ค่อยๆ ว่ากันไป ครับ ปีละ 1-2 ตัว....เดี๋ยวก็ครบ 12 เอง 

โดยคุณ ท้าวทองไหล เมื่อวันที่ 25/01/2013 11:48:36


ความคิดเห็นที่ 11


ขอบคุณครับสำหรับคำตอบครับ

 

ชวนท่านท้าว คุยเรื่องงานวันเด็กหน่อยครับ

ผมไปงานวันเด็ก แต่ไปแบบเอารถไปจอด ตามรูป จัดงานวันเด็กที่ท่าท้าว เอามาแปะไว้

ผมจอดรถเสร็จก็ เห็นคนเดินตามเค้าไป ที่ พิพิธภัณฑ์ กองทัพอากาศ เดินๆ ตามเค้าไปหนะครับ

คนที่เดินๆ ก็เป็นคนเอารถมาจอดทั้งนั้น

ผมปรากฏว่า ทุกคนเดินไปจนถึงจุดทางเข้า ลานบิน ด้านหลัง พิพิธภัณฑ์ แต่เดินต่อไปไม่ได้

ทำให้ ทุกคนต้องรอรถ ที่ ทอ จัดไว้ให้ มารับไป

แต่ปรากฏว่า ตรงด้านหลัง พิพิธภัณฑ์ นั้น เป็นป้ายสุดท้ายแล้ว ทำให้รถเต็มไม่สามารถขึ้นได้

ทำให้ คนแบบผม ยืนรอรถ หลัง พิพิธภัณฑ์ เป็นจำนวนมาก จนถึง 8.20 ที่เริ่มมีการแสดงการบิน

ก็ไม่สามารถ เข้าไปชมที่ลานบินได้

 

เจ้าหน้าที่ ได้แต่บอกพวกผมว่า ให้ยืนดูตรงที่รอรถแทน เพราะเห็นว่า พวกเรา ไม่สามารถเข้าไปยังลานบินได้แล้ว

และไม่สามารถให้พวกเรา เดินเท้าเข้าไปได้ ด้วยเหตุผล ระยะทางที่ไกลมาก

 

วันนั้นผมและลูก จึง กลับบ้าน เป็นวันที่รู้สึกแย่ ผิดกับการจัดงาน ที่คลังสินค้า แบบหน้ามือเป็นหลังมือ

 

อยากถามท่านเท้าว่า ถ้าปีหน้าผมจะไปงานวันเด็ก แบบเอารถไป ควรทำไง ให้ไปถึงลานบินได้ครับ

โดยคุณ houi เมื่อวันที่ 27/01/2013 23:18:37


ความคิดเห็นที่ 12


เคยพยายามบอกทุกท่านแล้วว่า...อย่าพยายามเอารถมา..เพราะการมาดอนเมือง จะไม่สะดวกในเรื่องที่จอดรถ กว่าจะหาที่จอดรถได้ ก็หมดเวลา...เว้นวันหนึ่ง...นั่งรถสาธารณะและปรับการเดินทางการท่องเที่ยวแบบครอบครัว เป็นจากจุดนั้น ไปห้่าง  จากห้างไปจุดนี้.....จะได้สบายๆ ยกเว้นว่าไปไกลมากกกก

ส่วนการจัดต้องเปลี่ยนจากฝั่งการท่า มาเป็น ฝั่งดอนเมือง เหมือนที่เคยจัดมากว่า 40 ปีนั้น เพราะฝั่งการท่า มีการจราจรทางอากาศมาก และมีเครื่องบินพานิชย์จำนวนมากจอดในพื้นที่ .... ต่อไปเราจะไม่จัดฝั่งการท่าแล้ว....

หลังพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ ไปบริเวณงานนั้นไกลไหม...ไกลมากครับ เพราะทางมันไม่ตรง และเส้นทาง ที่ไม่อนุญาตให้บุคคลทั่วไปสัญจรโดยเดินนั้น เนื่องจากเป็นพื้นที่เขตพระราชฐานครับ.....จึงต้องรอรถ....ผมเคยแนะนำตั้งแต่แรกว่า...ให้นั่งรถสาธารณะมาลงป้ายช่องทาง อย. หรือฝั่งตรงข้าม รร.ฤทธยะวรรณาลัย ซึ่งอยู่ถัดป้ายพิพิธภัณฑ์ ไป ๑ ป้าย อยู่ระหว่าง พิพิธภัณฑ์ ทอ. และ โรงพยาบาลภูมมิพลอดุลยเดช  แล้วเดินเข้าช่องทางนั้นไปเลยครับ ทางตรงระยะประมาณ 250 เมตร แต่มีของขายตลอดข้างทางสองด้าน....พูดง่ายๆ ว่า คุณเข้าผิดประตู หรือผิดช่องทางนั่นเอง...เป็นที่ทราบกันดีในทุกปีอยู่แล้สวครับว่า การที่จะเดินทางมาเที่ยว วันเด็ก  ถ้าตั้งใจมาพิพิธภัณฑ์ จะไม่สะดวกในการไปลานพิธี...และเช่นกัน มาลานพิธี..ก็ไม่คล่องตัวไปพิพิธภัณฑ์   ทั้งหมด ไม่ใช่แค่ บุคคลทั่วไปเท่านั้น แม้ข้าราชการ ก็ไม่อนุญาตให้รถส่วนตัวหรือรถหลวง เดินทางเข้าออกบริเวณงาน ในช่วงเวลา ก่อน 0600 เพราะไม่มีที่จอดรถครับ....

ต้องขออภัยในความไม่สะดวก และประชาสัมพันธ์ ไม่ชัดเจนครับ

โดยคุณ ท้าวทองไหล เมื่อวันที่ 28/01/2013 09:00:52


ความคิดเห็นที่ 13


      ขออนุญาตเรียนเพิ่มเติมนะครับ ผมเป็นอีกคนหนึ่งที่นำรถมาจอดที่โรงเรียนนายเรืออากาศ จริง ๆ แล้ว หลายคน (เกือบทุกคน) ที่ไปยืนรอรถตรงนั้น ที่พิพิภัณฑ์ ฯ  ไม่รู้ว่ามีทางเข้าอีกทางครับ น้อง สห.ที่อยู่ตรงนั้นถูกบ่นพอสมควร เพราะรถมีน้อย แล้วก็เต็มมาแล้ว แต่ไม่ใช่สาระสำคัญ เพราะบางคนอุ้มลูกมายืนรอ เป็นชั่วโมงจนลูกหลับ ก็ทนรอ จนเวลา แปดโมงกว่าจึงนายทหารท่านหนึ่งถือโทรโข่งมาบอกว่ามีทางเข้าอยู่อีกทาง ตามที่ท่านท้าวฯ บอกข้างต้น ผมก็เลยพยักหน้ากับพี่ที่อุ้มลูกหลับอยู่ แล้วก็เดินตามทางลัดเลาะแหวกร้านค้าบนทางเท้าไปเข้างาน แล้วก็ยังบอกคนที่รอรถอยู่ปากทางด้วย ก็เดินตามกันไปหลายคนน่าจะเป็นร้อยด้วย แต่หลังจากนั้นก็ไม่รู้เหตุการณ์ตรงนั้นครับ ไปถึงงานน้องหยาดมาจอดอยู่ด้านล่างพร้อมบินขึ้นอีกครั้งแล้ว แต่เจ้าหน้าที่หลาย ๆ ท่าน ก็คอยอำนวยความสะดวกเป็นอย่างดีครับ

โดยคุณ เด็กบ้านนอก เมื่อวันที่ 30/01/2013 21:59:25