พาดหัวข่าวจาก Defensenews.com เรียกว่า Big Jump เลยทีเดียว
หลังจากที่ ฝรั่งเศส ส่ง RAFALE 4 เครื่อง ตามไปสมทบกับ MIRAGE 2000D (โจมตี ทุกกาลอากาศ) 6 เครื่อง และ MIRAGE F1CR (ลาดตระเวน สอดแนม ถ่ายภาพ) 2 เครื่อง ที่ส่งไปในการโจมตี DAY 1 11 มกราคม 2013
หลักๆเลย ก็ส่งไปช่วย รัฐบาลประเทศมาลี ในการ ต่อต้านและขับไล่ กลุ่ม Islamist ที่เข้ามายึดพื้นที่ทางตอนเหนือของประเทศมาลี ได้หมดแล้ว ก่อนที่ มาลี จะโดนกลุ่ม Islamist กลืนกินไปทั้งประเทศ กำหนดชื่อปฏิบัติการ Operation Serval
ก็เป็นเหมือนการโชว์ตัว โชว์ประสิทธิภาพ โปรโมทสินค้าไปในตัว และก็ช่วยเหลือประเทศที่ตนเองมีผลประโยชน์ด้วยไปในตัวอีกเช่นกัน
ก็คุ้มค่าแล้วสำหรับการโชว์ เพราะจำนวน 63 เครื่องนี่ มันมากพอสำหรับ ปกป้องประเทศที่ใหญ่ขนาดประเทศไทย ได้ทั้งประเทศเลย
India Mulls Big Jump in French Rafale Order
http://www.defensenews.com/article/20130117/DEFREG01/301170011/India-Mulls-Big-Jump-French-Rafale-Order?odyssey=tab|topnews|text|FRONTPAGE
Operation Serval
http://en.wikipedia.org/wiki/Op%C3%A9ration_Serval
แต่ใน DEAL กับประเทศ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) ส่อแววว่าจะขายไม่ได้ หลังจาก ในวันที่ 14 มกราคม 2013 หลังจาก Operation Serval ได้ 3 วัน ประธาณาธิบดี ฟรังซัวส์ โอล็องด์ ของฝรั่งเศส ได้ไปเยือน UAE ในหลายประเด็น แต่ประเด็นหลักๆคือ ต้องการที่จะขาย RAFALE ให้ UAE แต่เหมือนจะได้รับคำตอบ แบบไม่มีเยื่อใยว่า Rafale Too Expensive ก็คือ เธอแพงเกินไป ประธาณาธิบดีแห่งฝรั่งเศส ก็ตอบกลับไปว่า ประสิธิภาพเครื่อง มันก็สมราคามันแล้ว
ทั้งนี้ทาง UAE ดูเหมือนจะหันไปสนใจ Eurofighter Typhoon (ราคาต่อลำแพงกว่า Rafale) และก็ F/A-18E/F (ราคาต่อลำถูกกว่า Rafale)
แต่ถ้าดูจากการทดสอบ ของประเทศอินเดีย และผลทดสอบที่หลุดมาจาก สวิตเซอร์แลนด์ แล้ว ประสิทธิภาพในหลายๆด้าน ยังเหนือกว่า Typhoon และมีราคาถูกกว่า Typhoon แต่ทำไมทาง UAE ถึงอ้างว่า Rafale มีราคาแพง
แต่ในความล้มเหลว ในการเจรจา ขาย RAFALE 60 เครื่องให้ UAE มันปิด DEAL ไม่ได้แล้วมีทีท่าว่าจะขายไม่ได้ ก็มี อินเดีย ที่มาแรงสั่งเพิ่มอีก 63 เครื่องเลย ทดแทน DEAL UAE ไปได้แทน
ก็เหลืออีก 1 สนามการแข่งขันสำหรับ RAFALE คือ บราซิล ซึ่งพักหลังๆ โมเมนตั้ม จะเอนไปทาง F/A-18E/F มากกว่า แต่ถ้าเป็นสมัยประธาณาธิบดี คนเก่าที่ชื่อ ลูอิซ อิคนาซิโอ ลูล่า ดาซิลวา ยังดำรงตำแหน่งอยู่ RAFALE คงมาวิน เพราะเคยประกาศว่า จะเอา Rafale แต่ดันหมดสมัยเสียก่อน
อินเดียนี้มันเอาเงินมาจากไหนหนอ ประเทศก็จนประชาชนไม่มีจะกินเป็นพันล้านคนละมั่ง ซื้อแค่60ก็พอมั่ง อีก3ลำ เอาไปสร้างห้องน้ำดีกว่านะ
อินเดียยังคงเป็นประเทศที่ซื้อและนำเข้าอาวุธมีมูลค่าอันดับหนึ่งของโลก
อินเดียวันนี้ มีทหารประจำการในสามเหล่าทัพกว่า 1.4 ล้านคน มาจากความสมัครใจ ไม่มีการเกณฑ์ ลองทายว่ากองทัพอินเดียที่มีขนาดและความเข้มแข็งอันดับ 4 ของโลกรองจากสหรัฐฯ รัสเซียและจีน มีนายทหารยศพลเอกหรือเทียบเท่าประมาณกี่คน
คำตอบสุดท้ายแบบไม่ต้องกะประมาณ คือ 3 คน ได้แก่ตำแหน่ง ผบ.ทบ. ผบ.ทร. และ ผบ.ทอ. นอกนั้นเป็นยศลดหลั่นตามกันลงมา ทั้งหมดอยู่ภายใต้การกำกับดูแลด้านนโยบายของรัฐมนตรีกลาโหม ซึ่งเป็นนักการเมือง และปลัดกระทรวงกลาโหมซึ่งเป็นข้าราชการพลเรือน
กล่าวได้ว่า ทหารอินเดียเป็นทหารอาชีพอยู่ในค่ายทหาร เชื่อฟังรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยมาตั้งแต่วันที่ประเทศได้เอกราชจากอังกฤษเมื่อกว่า 65 ปีมาแล้ว
นักการเมืองอินเดียให้เกียรติฝ่ายทหารมาตลอด ทั้งในเรื่องการเลื่อนตำแหน่งภายในเหล่าทัพที่เป็นไปตามอาวุโส ประสบการณ์ ไม่มีใบสั่งทางการเมือง ทั้งยังสนับสนุนเรื่องงบประมาณซึ่งสูงเป็นอันดับ 8 ของโลก โดยในปี 2554 มีมูลค่า 46,800 ล้านเหรียญ
ในวันที่ ผบ.เหล่าทัพจัดงานเลี้ยงฉลองวันกองทัพของตนที่บ้านพักประจำตำแหน่งซึ่งอยู่ใกล้ๆ กันทั้งสามเหล่าทัพกลางกรุงนิวเดลี ผู้นำการเมืองอินเดียจะไปร่วมงานกันพร้อมหน้า ตั้งแต่ประธานาธิบดี รองประธานาธิบดี นางโซเนีย คานธี ประธานพรรครัฐบาล นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีกลาโหม ตลอดจนคณะทูตานุทูต
กองทัพอินเดียผ่านสงครามกับเพื่อนบ้านมาหลายครั้ง จึงลงทุนด้วยงบประมาณจำนวนมากเพื่อการพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ เฉพาะในช่วงปี 2550 - 2555 มีมูลค่าประมาณ 50,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
อินเดียมีอาวุธนิวเคลียร์มาตั้งแต่ปี 2517 โดยยึดนโยบาย “ไม่เป็นฝ่ายใช้ก่อน” ได้พัฒนาจรวดติดหัวรบนิวเคลียร์พิสัยไกลรัศมีห้าพันกิโลเมตร หรือติดตั้งกับเครื่องบินทิ้งระเบิด เครืองบินขับไล่ เรือรบ เรือดำน้ำ อีกทั้งได้พัฒนาระบบขีปนาวุธ สกัดจรวดของศัตรูซึ่งทดสอบสำเร็จเป็นข่าวเมื่อไม่นานนี้
กองทัพบกอินเดียมีโครงการพัฒนาระบบทหารราบสำหรับอนาคตในช่วงปี 2555-2563 มีประวัติการเข้าร่วมในกองกำลังสันติภาพสหประชาชาติที่เด่นชัดในหลายประเทศ เช่นเดียวกับกองทัพเรือที่มีบทบาทในการปราบปรามโจรสลัดนอกฝั่งแอฟริกา
กองทัพเรืออินเดีย มีนโยบายขยายขีดอำนาจไปในมหาสมุทรกว้าง ผบ.ทร.คนปัจจุบันได้ให้สัมภาษณ์ในวันกองทัพเรือปลายปี 2555 ว่า กองทัพเรืออินเดียพร้อมจะปฏิบัติการทางทะเลในทะเลจีนใต้หากผลประโยชน์อินเดียถูกกระทบ และมั่นใจว่าฝ่ายการเมืองจะสนับสนุน ขณะนี้มีการเช่าเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์มาจากรัสเซีย พร้อมๆ กับการต่อเรือดำน้ำเอง กำหนดแล้วเสร็จในปี 2558 และเรือบรรทุกเครืองบินภายในปี 2560 นอกจากนี้ อินเดียยังสามารถต่อเรือฟรีเกตแบบ “Stealth” ซึ่งใช้โลหะลวงจอเรดาร์ให้เล็กเหมือนเรือประมงได้
กองทัพอากาศอินเดียพึ่งพาเครื่องบินขับไล่จากรัสเซียเป็นหลักและยังมีจากอังกฤษ อิสราเอล ฝรั่งเศส ล่าสุดได้เสนอรัฐบาลให้ซื้อเครื่องบินขับไล่ขนาดกลาง แบบสารพัดบทบาทของ ราเฟล ฝรั่งเศส ทำให้ สหรัฐฯ อังกฤษและรัสเซียผิดหวังไปตามกัน เพราะงานนี้ อินเดียซื้อทีละ 126 ลำ โดย 18 ลำแรกจะลำเลียงตรงมาจากฝรั่งเศสล้วนๆ แต่ที่เหลือจะต้องย้ายฐานการผลิตและเทคโนโลยีไปที่โรงงานผลิต HAL (Hindustan Aeronautics Limited) ของรัฐบาลอินเดียเอง
อินเดียใช้แนวทางนี้มาตลอดในการซื้อและพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ เพราะรัฐบาลตั้งแต่นายกรัฐมนตรีคนแรกมีวิสัยทัศน์ที่จะพัฒนาเทคโนโลยีอินเดียให้ทันสมัย โดยมีโครงการอวกาศและการสร้างสถาบันศึกษาด้านวิศวกรรมรองรับไว้ตั้งแต่ได้เอกราชใหม่ๆ
ด้วยเหตุผลนี้เอง มีบริษัทผลิตอากาศยาน เรือรบและอุปกรณ์ทางทหารต่างๆ อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาลหลายแห่งทั่วประเทศ บริษัทต่อเรือ เช่น HSL (Hindustan Shipyard Limited) ต่อเรือไปแล้ว 160 ลำ ซ่อมบำรุงอีกกว่า 2000 ลำ ยังไม่นับบริษัทเอกชนอินเดียอีกหลายบริษัทที่ทำธุรกิจสนับสนุนอาวุธยุทโธปกรณ์ให้กระทรวงกลาโหมอินเดีย งานแสดงสินค้าอาวุธของอินเดียในแต่ละปีจึงได้รับความสนใจจากบริษัทผู้ผลิตทั้งภายในและต่างประเทศทั่วโลก
อย่างไรก็ตาม อินเดียยังคงเป็นประเทศที่ซื้อและนำเข้าอาวุธมีมูลค่าอันดับหนึ่งของโลก จึงต้องตั้งเป้าลดการพึ่งพาและพัฒนาคุณภาพยุทโธปกรณ์ที่ผลิตภายใน อีกทั้งปัญหาความไม่โปร่งใสจากการซื้ออาวุธเป็นที่จับตามอง โดยมีข้อกล่าวหาอยู่เนืองๆ ทำให้รัฐมนตรีกลาโหม ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นนักการเมืองมือสะอาดได้พยายามทำให้โปร่งใสขึ้น
เมื่อปลายเดือนที่ผ่านมา พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีกลาโหมไทย ได้รับเชิญจากนายเอ.เค.แอนโทนี รัฐมนตรีกลาโหมอินเดียให้เยือนอินเดีย นานมาแล้วที่อินเดียจะเชิญรัฐมนตรีกลาโหมไทยไปเยือนอย่างเป็นทางการ และการเชิญครั้งนี้ก็เป็นอีกสัญญาณหนึ่งที่ฝ่ายอินเดียต้องการแสดงเจตจำนงกระชับความสัมพันธ์ด้านการทหารและความมั่นคงกับไทย
การต้อนรับเป็นไปอย่างอบอุ่น นอกจากการตรวจแถวทหารก่อนการหารืออย่างเป็นทางการ ซึ่งทั้งสองฝ่ายตกลงจะมีการฝึกผสมร่วมกันมากขึ้น โดยเฉพาะระหว่างกองทัพอากาศ ในค่ำวันเดียวกัน รัฐมนตรีกลาโหมอินเดียเป็นเจ้าภาพเลี้ยงฝ่ายไทยอย่างเป็นทางการ โดยจัดผู้บัญชาการทหารอากาศซึ่งดำรงตำแหน่งประธานของสามเหล่าทัพ ตลอดจน ผบ.ทร.และ ผบ.กองกำลังยามฝั่งเข้าร่วมเป็นเกียรติ ผมนั่งร่วมโต๊ะด้วย ก็อดภูมิใจไม่ได้ในมิตรภาพและไมตรีจิตที่ขึ้นสูงสุดระหว่างอินเดียกับไทยในปีที่เพิ่งผ่านมา
วันรุ่งขึ้น แทนที่พล.อ.อ.สุกำพล จะเลือกทัศนศึกษาสถานที่ท่องเที่ยวชั้นนำของอินเดีย ไม่ว่าจะอยู่จุดไหนของประเทศ กองทัพอากาศอินเดียก็พร้อมจะจัดเครื่องบินพาไป รัฐมนตรีกลาโหมไทยกลับเลือกขอไปเยี่ยมชมโรงงานผลิตเครื่องบินของ HAL ที่เมืองบังคาลอร์แทน บริษัทนี้มีความร่วมมือกับรัสเซีย อิสราเอล สหรัฐฯ และฝรั่งเศส มีรายได้ประมาณสองพันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี
รัฐมนตรีกลาโหมอินเดียได้ตอบรับคำเชิญรัฐมนตรีกลาโหมไทยที่จะมาเยือนไทยตอบแทนอย่างเป็นทางการแล้วในต้นปีนี้ ก้าวย่างเพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางทหารกับอินเดียนี้ของ พล.อ.อ.สุกำพลฯ อาจจะไม่เป็นข่าวในไทย แต่ย่อมไม่คลาดสายตานักวิเคราะห์และผู้ติดตามการพัฒนาบทบาทด้านการทหารและความมั่นคงของอินเดียและไทยในภูมิภาค นับเป็นก้าวจังหวะที่ถูกกาลเวลาและยุทธศาสตร์อีกก้าวหนึ่ง
ที่มา -
Credit ข่าว : http://www.marinerthai.com/forum/index.php?topic=15177.0
เหมือนจะลืมลงรายละเอียด ไปนิดหน่อย ที่จะสั่งเพิ่มอีก 63 ลำ แต่ก่อนหน้านั้นโครงการประมูล อินเดีย มีโครงการจะจัดหา ในโครงการ MMRCA อยู่ 126 ลำ
รวมๆแล้ว ถ้าจรดปากกา เซ็นสัญญากันจริงๆแล้วละก็ จะมี RAFALE ถึง 189 ลำ สำหรับ อินเดีย ซึ่งมากกว่า กองทัพอากาศฝรั่งเศส เสียอีก ซึ่งตัดลดงบประมาณ จากที่ต้องการ 234 ลำ เหลือเพียง 180 ลำ ตกไปแล้ว 4 ลำ (กองทัพเรือ 2 กองทัพอากาศ 2 ไม่รู้จะมีการสร้างทดแทนเครื่องที่สูญเสียหรือเปล่า)
แต่จำนวน 180 ลำ ของฝรั่งเศส ไม่แน่ใจว่า รวมจำนวนของกองทัพเรือด้วยหรือยังครับ
ประเทศแม่ สั่งสร้างน้อยแบบนี้ก็กลัวมีปัญหาเรื่องอะไหล่บำรุง เมื่อปิดสายพานการผลิต น่าจะสร้างความเชื่อมั่นอีกซะหน่อยด้วยการสั่งซื้อเพิ่มเติมไปเรื่อยๆ ให้ได้สักจำนวน 250 ลำ
แต่อินเดีย คงไม่สนใจ เล่นสั่งซื้อ แบบ The Mother of all deal (ซื้อล็อตเดียวเยอะขนาดนี้ เป็นแม่ทุกสถาบันในการซื้อเครื่องบินรบระหว่างประเทศเลย ไม่นับผลิตเยอะๆไว้ใช้เองโดยประเทศผู้ผลิต) แกคงหวังว่า สั่งซื้อใช้ประเทศเดียวเยอะๆ เดี๋ยวค่อย ซ่อมกินตัวเอาก็ได้ 5555
เหมือน อิหร่าน ที่ ซ่อมกินตัว F-14 จนทุกวันนี้ยังมีบางลำ (อาจจะประมาณ 10 กว่าลำ) ที่ยังพอบินปฏิบัติการ ได้อยู่ครับ
แต่ก็ยังไม่อยากให้เครื่องบินดีๆ แบบ Rafale มีอายุสั้น อยากเห็นพัฒนาการในอนาคต ว่าจะมีการปรับปรุงอะไรดีๆ แบบพวก MIRAGE 2000C ไปเป็น MIRAGE 2000_5 , 2000_5MK2 (Greece) , 2000_9 (UAE)
ก็ยังหวังว่า อาจจะเป็นม้ามืด ในโครงการเครื่องบินขับไล่ แคนาดา ซึ่งล๊อคเป้าว่าจะเอา F-35 แต่อดทนรอไม่ไหว แล้วค่าใช้จ่ายแพงขึ้นมาก ตัวเครื่องราคาสูงขึ้นมาก ตอนนี้เหมือนมีข่าวออกมาว่า แคนาดา ให้บริษัทผลิตเครื่องบินรบ ส่งเอกสาร RFI ให้ครับ (SAAB , Boeing , Dassault , Eads Eurofighter) ถ้าได้มีการประเมินประสิทธิภาพเครื่องจริงๆ แล้วมีงบพร้อมทุ่มแบบ อินเดีย ไม่แน่อาจจะได้เกิดครับ
แหมไปว่าอินเดียจนไม่มีจะกิน ประชากรเขาเยอะและส่วนใหญ่ยากจนไม่ได้หมายความว่าประเทศอินเดียจะยากจนนะจ้ะ
เหมือนกับจีนนั่นแหละประเทศเขากว้างใหญ่ ทรัพยากรมีเพียบ แต่ไม่ค่อยพัฒนาระบบสาธารณูปโภคซักเท่าไหร่ ซื้อแต่อาวุธ
รถไฟไทยที่ว่าแย่ เจออินเดียแล้วจะอึ้ง
เพราะอะไร อาบูดาบี้ แอน โค ไม่อยากได้ ราฟาล....นักการศาสนาสายวะฮาบีย์ มีรัฐอ่าว GCC เป้นสปอนเซอร์ เทศน์เชียร์ อัลกออิดะห์ อยุ่ทุกวัน ... ฝรั่งเศศส บอมบ์น้องๆเขา แล้ว จะไปซื้อของเขาทำไม ฮิๆๆๆๆ
อินเดียเศรษฐีรวยติดระดับโลกเต็มไปหมด อย่างที่ท่านข้างบนว่าครับ มีคนจนเยอะ จีดีพีเฉลี่ยอาจจะไม่มาก แต่จีดีพีมหาศาลอยู่ดี ไปว่าประเทศเขาจน เรื่องรถไฟที่ว่าแย่กว่าไทยแต่เขากำไรนะครับ
เรื่องซื้อเครื่องเพิ่ม ผมว่าเขา option ไว้ตั้งแต่แรกแล้วแหละครับว่าอาจจะซื้อเพิ่ม
เรียนตามตรงเลยนะครับ ลึกๆแล้วผมไม่ค่อยชอบเศษฝรั่งซักเท่าไร แต่ก้ต้องยอมรับจริงๆว่าเครื่องบินตระกูลมิราจนั้นก้ดีจริงๆซะด้วยสิ