|
||||
ASTVผู้จัดการออนไลน์ - สื่อออนไลน์หลายสำนักในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ทั้งข่าว และภาพจรวดนำวิถีพื้นสู่อากาศ แบบอีโวลด์ซีสแปโรว์ (Evolved Sea Sparrow Missile) ขีปนาวุธป้องกันเรือจากการโจมตีของเรือรบ หรือจากเครื่องบินรบที่มีประสิทธิภาพสูง ที่กองทัพเรือไทยจัดซื้อจากบริษัทเรย์ธีออน (Raytheon) แห่งสหรัฐฯ และบริษัทผู้ผลิตกล่าวว่า เป็นอาวุธทันสมัยที่สุดชนิดไร้คู่เปรียบเทียบในแบบเดียวกัน สื่อในประเทศเพื่อนบ้านของไทย รวมทั้งในมาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม ได้ติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดหลังจากบริษัทเรย์ธีออนประกาศในเว็บไซต์วัน จันทร์ 14 ม.ค.ที่ผ่านมา เกี่ยวกับการที่ไทยได้เซ็นสัญญาซื้อ ESSM จำนวน 9 ลูก สื่อต่างๆ ยังได้นำเสนอที่ไปที่มาของเรื่องนี้ รวมทั้งสาธยายเกี่ยวกับประสิทธิภาพสูงของขีปนาวุธ ESSM ที่จะนำเข้าประจำการในราชนาวีของไทยอีกด้วย ตามข้อมูลของเรย์ธีออน ไทยกำลังจะนำจรวดนำวิถี ESSM เข้าติดตั้งในเรือฟริเกต 2 ลำ คือ เรือหลวงนเรศวร กับเรือหลวงตากสิน ซึ่งปัจจุบัน อยู่ในขั้นตอนการปรับปรุง ผู้แทนจากราชนาวีไทยได้ร่วมลงนามในเอกสาร LOA (Letter of Offer and Acceptance) กับผู้แทนรัฐบาลสหรัฐฯ เมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งได้ทำให้ไทยเป็นประเทศที่ 13 ที่มีอาวุธรุ่นนี้ประจำการ ขีปนาวุธ ESSM ของไทยจะใช้ระบบยิงแนวตั้ง MK 41 ที่มีท่อยิง จำนวน 8 ชุด ระบบยิงนี้ทำให้สามารถติดตั้ง ESSM ได้ถึง 32 ลูกบนเรือรบแต่ละลำ เรย์ธีออนกล่าว “การใช้ ESSM จะทำให้ราชนาวีไทยมีขีดความสามารถในการป้องกันเรือที่ไร้เทียมทาน รวมทั้งจะทำให้กองเรือรบได้รับประโยชน์จากการพัฒนาอย่างรวดเร็วของขีปนาวุธ นี้อีกด้วย” นายริค เนลสัน รองประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์การป้องกันทางนาวีของระบบขีปนาวุธเรย์ธีออน กล่าว รายงานในเว็บไซต์บริษัทเรย์ธีออนระบุว่า ขีปนาวุธ ESSM มีขีดความสามารถสูงมากในการรับมือการโจมตีด้วยขีปนาวุธที่มีความเร็วระดับ ซูเปอร์โซนิค หรือเร็วกว่าความเร็วเสียง
กองทัพเรือไทยกำลังจะได้รับขีปนาวุธรุ่นนี้ถัดจากกองทัพเรือสหรัฐฯ ออสเตรเลีย แคนาดา เยอรมนี ตุรกี กรีซ ญี่ปุ่น เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ นิวซีแลนด์ และสเปน เรย์ธีออนซึ่งเป็นผู้ผลิตจรวดนำวิถีอีกหลากหลายชนิด รวมทั้งจรวดร่อนโทมาฮอว์ก (Tomahawk Cruise Missile) รวมทั้งระบบจรวงดแพ็ตทริออตอันมีชื่อเสียง กำลังพัฒนา ESSM ไปติดตั้งบนบกอีกด้วย รายงานชิ้นล่าสุดของบริษัทเรย์ธีออนไม่ได้กล่าวถึงมูลค่าซื้อขาย ขีปนาวุธทั้ง 9 ลูก แต่รายงานในเดือน ส.ค.2555 ระบุว่า ไทยได้ขอซื้อ ESSM กับอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง พร้อมการสนับสนุนต่างๆ รวมเป็นมูลค่าประมาณ 18 ล้านดอลลาร์ มูลค่านี้ยังรวมทั้งชุดยิง MK25 แบบ 4 ท่อ จำนวน 3 ชุด กล่องบรรจุสำหรับเคลื่อนย้ายแบบ MK783 ชิ่นส่วน อะไหล่ ชุดเอกสาร การฝึกอบรมบุคลากร รวมทั้งอุปกรณ์สำหรับการฝึกด้วย อย่างไรก็ตาม เรย์ธีออนไม่ได้ระบุเกี่ยวกับระยะเวลาในการส่งมอบจรวดนำวิถีที่เซ็นสัญญาซื้อขายให้แก่กองทัพเรือไทย กองทัพเรือประกาศในเดือน มิ.ย.2554 ว่า ได้มอบให้กลุ่มซาบ (Saab Group) แห่งสวีเดน ติดตั้งระบบควบคุมการยิง ระบบเรดาร์ และอิเล็กทรอนิกส์ กับระบบดาตาลิงก์ (Data Link) เพื่อเชื่อมการสื่อสารเข้ากับเครื่องบินติดอุปกรณ์แจ้งเตือนล่วงหน้าอีริอาย (Erieye) ของกองทัพอากาศ ซึ่งจะทำให้เชื่อมระบบป้องกัน และโจมตีเข้ากับฝูงบินกริพเพนได้ ซาบกรุ๊ปประกาศช่วงปลายปีที่แล้วว่า การอัปเกรดต่างๆ จะเริ่มในเร็วๆ นี้ เดือน ต.ค.ปีที่แล้วสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐได้ผ่านร่างกฎหมายเปลี่ยนถ่ายอาวุธฉบับ หนึ่ง เพื่อมอบเรือฟรีเกตชั้นโอลิเวอร์ฮาซาร์ดเพอร์รี (Oliver Hazard Perry-Class) ให้กองทัพเรือไทยแบบ "ฟรีๆ" จำนวน 2 ลำ ซึ่ง ได้แก่เรือแวนเดกริฟท์ (FFG 48 USS Vandegrift) กับเรือเร็นท์ (FFG-46 USS Rentz) ที่เชื่อว่าจะปลดประจำการในปี 2557 นี้ พร้อมกับมิตรประเทศอีก 2 ชาติคือ เม็กซิโกกับตุรกี ฝ่ายละ 2 ลำ เช่นกัน โดยมีค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงและอัพเกรด ลำละ 40-80 ล้านดอลลาร์ ร่างรัฐบัญญัติดังกล่าวมีกำหนดนำเข้าหารือในวุฒิสภาเมื่อต้นเดือน ม.ค.นี้ ซึ่งยังไม่ทราบความคืบหน้าในขณะนี้และกองทัพเรือไทยยังไม่เคยให้ข้อมูล เกี่ยวกับเรื่องนี้เช่นกัน.. . |
||||||
|
||||||
ESSM อินแอ็กชั่น www.raytheon.com/ |
||||||
|
||||||
|
||||||
|
||||||
|
||||||
|
||||||
|
มาเลเซีย เวียดนาม ละมั่งผมว่า มาเลรวยแค่ไหน คงไม่มีวันได้จับessm แน่ อาจได้ใช้ของยุโรปก็เป็นได้
ไม่ใช่ครับ ที่สหรัฐ ใช้สอยดาวเทียม คือ SM-3 ครับ