จากหนังสือ สมรภูมิ ฉบับที่ 1025
เรื่องเกี่ยวกับ คุณสมบัติของ Meko-D ซึ่งเป็นภาค ภาษาไทย...
คงเป็นการ โฆษณา น่ะครับ...ซึ่งผมว่า มันก็ดีนะครับ...ถ้า บริษัทฯ ที่จำหน่ายระบบอาวุธต่าง ๆ ได้ลงโฆษณาแบบนี้
ในหนังสือเป็น ภาคภาษาไทย...เพื่อให้ได้ เข้าใจในข้อมูลมากขึ้น...
ส่วนในเรื่องของจริง จะดีเพียงใด...ก็ให้เป็นเรื่องข้อมูล ที่จะได้นำมาพูดคุย กันได้ เข้าใจมากขึ้นครับ...
เนื้อหาครับ
ต่อครับ
ต่อครับ
สุดท้ายครับ
จากระวางขับน้ำสูงสุด คือ ระวางขับน้ำ 3,500 ตัน...
ถ้าตีราคา ประเมินโครงการ ตันละ 2 ล้านบาท จะมีมูลค่าต่อลำประมาณ 7,000 ล้านบาท...
ถ้าตีราคา ประเมินโครงการ ตันละ 3 ล้านบาท จะมีมูลค่าต่อลำประมาณ 10,500 ล้านบาท...
ซึ่ง อาจจะได้ถึง 3 ลำ จากวงเงินงบประมาณ 30,000 ล้านบาท...
หรือถ้า จะจัดเต็มให้สูงสุดที่ ตันละ 4 ล้านบาท จะมีมูลค่าต่อลำประมาณ 14,000 ล้านบาท...
ซึ่งราคาตัวเรือ คงจะไม่ใช่ต้นทุนที่สูงสุด...คงน่าจะเป็นในเรื่อง ต้นทุนของ ระบบอาวุธ ระบบตรวจจับ เรดาห์ ต่าง ๆ ที่จะมีราคาสูงสุด สำหรับ มูลค่าโครงการ...
งานนี้ไม่รู้ว่าทร.จะเลือกตัวไหน แต่ในใจผมต้องเยอรมันครับ
ได้งบมา30000ล้านบาท ก็แบ่งลำละ15000บาท ถ้าได้เจ้าMeko-D มานี้ ผมว่า คุ้มค่ามากเลยนะครับ แถมยังในหัวข้อสำคัญของเค้าก็คือ ค่าใช้จ่ายขั้นต่ำ ซึ่งผมว่า มันดีไปในอีกทางนึง เพราะ กองทัพเรือไทยเรานั้น งบก็ได้น้อยแถมโครงการอะไร อีกไม่รู้เยอะแยะไปหมดที่ยังไม่ได้จัดหา ยิ่งนับวัน เรือลำเก่าของกองทัพเรือก็เริ่มจะออกทะเลกันไม่ไหวแล้ว แต่ตอนนี้ผมอยากรู้ว่ากองทัพเรือ จะให้เรือฟริเกต ชุดนี้ เน้นทางไหนกันแน่ ทางอากาศหรือใต้น้ำ
ระวังโผจะลงที่ จีน นะครับ....
จากที่เห็นๆกันมา แม้แ่ต่กองทัพเรือก็ยังผ่านด่านการเมืองไปไม่ได้
รู้จักดี แล้วกลัวฝันสลายเหมือนเรือดำน้ำ
อยากให้มีการซื้อแบบแล้วต่อในประเทศครับ
ผมก็ยังมีขัอปัญหาอยู่เหมือนกันครับ...กรณี..ให้ จีน ต่อเรืออย่างเดียว...และติดระบบอาวุธตะวันตกเอง...
การสร้างเรือ ก็คงต้องมีการออกแบบภายในตัวเรือใหม่ ต้องมีการวางระบบสายไฟเปล่า เพื่อรองรับระบบต่าง ๆ...
ซึ่ง มันจะออกมาคล้าย ๆ กับ เรือชั้น นเรศวร ที่กำลัง อัพเกรดอยู่ในปัจจุบัน หรือเปล่า ?
คือ 1. ต้องเสียเวลาในการสร้างเรือ มาบวกกับ 2. ต้องเสียเวลาในการ ติดตั้งระบบต่าง ๆ รวมถึง ทดสอบระบบ จนกว่าใช้งานได้ในภายหลัง...เพิ่มมาอีกขั้นตอนหนึ่ง..
แล้ว การประกันตัวเรือของ จีน จะครอบคลุมถึงการมาติดตั้งระบบอาวุธเองในภายหลังเพียงใด...
ใช่ครับ การไล่ต้อนเรือดำน้ำ 1 ลำ ต้องใช้เรือรบหลายลำในการไล่ต้อนตีวงล้อมเข้ามา ต้องพึ่งพา ฮ. ปราบเรือดำน้ำในการสร้างเครือข่ายดักฟังโดยใช้ทั้ง โซน่าร์ดิปปิ้ง ทั้งโซโนบุย และใช้ ฮ. เป็นฐานปล่อยอาวุธ ส่วนเรือแม่ก็ควรจะต้องมีระบบจรวดต่อต้านเรือดำน้ำแบบ ASROC เพื่อเพิ่มระยะยิงและทำการยิงเสริมให้แก่ฮ.ได้ ผมถึงสนับสนุนให้ OHP ทั้งสองลำติดตั้ง VLS mk-41 ด้วยเพื่อติดตั้ง ASROC
จริงๆแล้วไม่ใช่แค่ขาดแคลนเรือต่อต้านเรือดำน้ำเท่านั้น ฮ.และเครื่องบินปราบเรือดำน้ำแบบปีกตรึงก็ขาดแคลนด้วยครับ ถ้าเราจัดหา OHP 2 ลำ เรือ MEKO-D 2 ลำ ซึ่ง OHP 2 ลำต้องใช้ ฮ. 4 เครื่อง และถ้า MEKO-D 2 ลำต้องมีขีดความสามารถในการบรรทุกฮ. 2 เครื่องต่อลำแบบเรือฟรีเกต F-123 ของเยอรมันที่เป็นเรือฟรีเกตต่อต้านเรือดำน้ำของทร.เยอรมัน ทร.ก็ต้องใช้ฮ.อีก 4 เครื่องสำหรับเรือ 2 ลำนี้เช่นกัน รวมต้องใช้ถึง 8 เครื่องสำหรับฟรีเกต 4 ลำ
ถ้าจะใช้จักกรีเป็นฐานบินให้เรือต่อต้านเรือดำน้ำแบบอื่นๆที่ไม่ได้มีระบบพร้อมสมบูรณ์ เช่น เรือชั้นรัตนโกสินทร์ เรือคำรณสินธุ หรือ OPV ทุกลำ เป็นต้น จักกรีเองคงต้องประจำการด้วยฮ.ปราบเรือดำน้ำอย่างน้อยก็ต้อง 4-6 ลำ เช่นกันครับ ดังฮ.ปราบเรือดำน้ำจึงขาดแคลนอย่างหนักทีเดียว
แค่เรือดำน้ำเพื่อนบ้านไม่กี่ลำ ถ้าเราไม่มีเรือดำน้ำเหมือนเขา การจัดตั้งกองเรือต่อต้านเรือดำน้ำนั้น ต้องใช้เงินมากมายกว่าการซื้อเรือดำน้ำจำนวนเท่าๆกันกับเพื่อนบ้านนะครับ เปลืองกว่าเยอะ ไม่รู้ว่าไอ้คนคัดค้านและขวางนี่ คิดอย่างไรกัน
ภาพเรือฟรีเกต F-123 ของเยอรมันครับ
ตอนนี้จีนเค้าก็ไม่รับต่อเรือเปล่าๆแล้วนะครับ เค้าจะขายระบบอาวุธพ่วงมาด้วย
คือถ้าจะซื้อเรือเค้า ต้องจัดทั้งลำ ไม่ใช่แค่ตัวเรือเปล่าๆ
สำหรับ MEKO-D นี่ต้องยอมรับจริงๆครับว่าเหมาะสมกับเรือสงครามต่อต้านเรือดำน้ำจริงๆ...!
ระบบเครื่องยนต์ของเรือชั้นนี้น่าสนใจมากครับในด้านสงครามต่อต้านเรือดำน้ำ MEKO-A class ไม่มีในเรื่องนี้จริงๆ เครื่อง CODLAG ทำงานแบบเครื่องยนต์ดีเซลของเรือดำน้ำตอนลอยลำขึ้นมาชาร์ทแบตเลย คือ
สำหรับเรือดำน้ำ - เครื่องยนต์ดีเซลทำงานแล้วเปลี่ยนพลังงานจลน์ไปเป็นพลังงานไฟฟ้า(ด้วยเครื่องมอเตอร์ไฟฟ้า่) กระแสไฟฟ้าส่วนหนึ่งจะถูกใช้ในการชาร์ทแบตให้เต็ม อีกส่วนจะใช้ในการขับเครื่อนเรือ
MEKO-D กำลังของเครื่องยนต์จะเปลี่ยนจากพลังงานจลน์เป็นพลังงานไฟฟ้า(ด้วยเครื่องมอเตอร์ไฟฟ้า) แล้วส่งไปขับเคลื่อนเรือ
เท่ากับว่าเรือชั้นนี้ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าคล้ายๆกับเรือดำน้ำดีเซล .................... น่าสนใจมากนะครับ แม้ว่ากำลังเครื่องยนต์บางส่วนจะสูญเสียจากการเปลี่ยนจากพลังงานจลน์ไปเป็นกระแสไฟฟ้า แต่สิ่งที่ชดเชยมาคือความเงียบที่สู้กันได้กับเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้าเลย......
แต่เมื่อต้องการกำละงสูงก็ใช้เครื่องยนต์ก๊าซเทอร์ไบท์เสริมกำลัง
ด้านท้ายเรือมีพื้นที่และปริมาตรมากกว่าเรือแบบทั่วไป เหมาะสมสำหรับเป็นลานจอด-ปฏิบัติการณ์ของฮ.และที่เก็บอากาศยานมาก และเก็บระบบโซน่าร์ลากท้ายได้สะดวก
ถ้าทร.ต้องการเรือฟรีเกตต่อต้านเรือดำน้ำจริงๆ โดยจัดหา OHP แค่ 2 ลำ แล้วต้องการเรือฟรีเกตต่อต้านเรือดำน้ำระดับเทพที่ดีกว่า OHP มากๆ เรือชั้นนี้ OK. เลยครับ เสียอย่างเดียว รองรับฮ. ปราบเรือดำน้ำได้แค่ 1 ลำ ถ้าได้ 2 ลำ น่าจะสามารถสร้างทีมต่อต้านเรือดำน้ำได้ยอดเยี่ยมกว่า OHP มากแน่ๆครับ
สำหรับแนวคิดของ MEKO-A-200 จะเน้นขีดความสามารถในด้านลดการตรวจจับจากทั้งเรด้าร์ ด้วยรูปทรง X-form
ลดการตรวจจับจากการแพร่สัญญาณอินฟาเรด ด้วยการเอาท่อไอเสียของทั้งเครื่องยนต์ดีเซลและแก๊สเทอร์ไบท์ไปปล่อยออกด้านท้ายเรือในระดับแนวน้ำแทน มีระบบการใช้น้ำทะเลเลี้ยงในส่วนท่อไอเสียและบริเวณเครื่องยนต์แบบเดียวกับ MEKO-D ทุกประการ
และการที่ย้ายปล่องควันไปด้านท้ายเรือที่ระดับแนวน้ำ เลยทำให้ตำแหน่งปล่องควันเดิมที่เรือรบเกือบทุกแบบต้องมีติดตั้ง(บริเวณใกล้ๆโรงเก็บ ฮ. จึงโล่งวางและมีพื้นที่และปริมาตรภายใน super structure เยอะ จึงสามารถติดตั้งระบบเรด้าร์ 3D ตรวจการณ์ระยะไกลอย่าง SMART-L พร้อมเรด้าร์ควบคุมการยิงและ CIWs ได้อย่างเหมาะเจอาะยอดเยี่ยม
เครื่องยนต์เป็นแบบ CODAG-WARP หรือก็คือ เครื่องยนต์ดีเซลและก๊าซเทอร์ไบท์ โดยมีเครื่อยงยนต์วอเตอร์เจตให้ด้วยโดยมีขั้นตอนการใช้ 4 โหมดด้วยกัน ตามลิ้งค์นี้ครับ
http://en.wikipedia.org/wiki/Valour_class_frigate
The frigates were built to a modern stealth design to avoid enemy radar and infrared detection. In addition to these features, the Meko A-200SAN class is distinctive with a very new propulsion system which is composed by a water-jet drive, in addition to two propellers. Its CODAG-WARP system (COmbined Diesel And Gas turbine-WAter jet and Refined Propellers) consist of a steerable propeller and a water jet. The power is provided by a combination of diesel engines and gas turbines. The propulsion plant can be operated in four modes:
These frigates are expected to spend about 80% of their at-sea time in modes I and II.
สรุปคือ เครื่องยนต์แบบนี้เน้นความเร็วสูงสุดโดยคงความเงียบด้วยเครื่องยนต์ทุกแบบเดินเครื่องวอเตอร์เจต
ด้วยการเน้นการเสตลธ์ ลดการแพร่คลื่นอินฟาเรดอย่างยิ่ง เน้นความเร็วสูง และพื้นที่ปล่องควันเดิมถูกย้ายเพื่อให้มีพื้นที่สำหรับระบบเรด้าร์ตรวจการณืชั้นเยี่ยม เรด้าร์ควบคุมการยิงและ CIWs ที่ได้ตำแหน่งดีเยี่ยม ดังนั้นเรือ MEKO-A-200 จึงเหมาะสำหรับภาระกิจป้องกันภัยทางอากาศเป็นหลักครับ
ถ้าทร.ต้องการ OHP แค่ 2 ลำ และยังคงต้องการเรือฟรีเกตต่อต้านเรือดำน้ำ 4 ลำตามแผนเดิมต่อไป งานนี้ MEKO-D น่าจะเหมาะสมด้วยประการทั้งปวงครับ ทร.น่าจะขอโรงเก็บฮ. 2 ลำได้นะครับ เพราะจะได้สร้างทีมต่อต้านเรือดำน้ำได้ยอดเยี่มกว่า OHP 2 ลำได้ ทร.ไทยเราจะได้มีเรือฟรีเกตต่อต้านดำน้ำระดับท๊อปคลาสและอดีตท๊อปคลาสใช้งาน 4 ลำทีเดียว
ส่วนฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศ คงต้องว่ากันใหม่ครับ และคงต้องจัดสรรงบประมาณมากกว่า 40,000 ล้านบาทสำหรับเรือ 2 ลำ แหมเสียดายนะครับที่ MEKO-A-200 AEGIS แป๊กไปเมื่อ 6-7 ปีก่อน ไม่งั้นตอนนี้ทร. คงจะมีเรือฟรีเกตต่อต้านเรือดำน้ำชั้นยอด 4 ลำ เรือฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศระดับเทพ 2 ลำครบไปแล้ว เฮ้อออ......
รูปความทรงจำเก่าๆครับ MEKO-A-200 AEGIS ติดตั้ง SPY-1K/F ราคาตอนนั้น ราวๆ 18,000 กว่าล้านบาทต่อลำ เกือบได้มาแล้ว.....ยาว 118 เมตร กว้างราวๆ 17 เกือบ 18 เมตร ติดตั้งทั้ง RAM และ ฟาลังก์ รวมทั้ง VLS mk-41 หน้า 16 cell หลัง 16 cell
สงสัยครับ ทำไมทัพเรือ ไม่ต้องการฟรีเกตต่อต้านเรือผิวน้ำเพิ่มหรอครับ แบบเรือหลวงนเรศวร หรือว่าเรือฟรีเกตใหม่เราก็มีความสามารถต่อสู้กับเรือรบผิวน้ำได้สบาย
เรือฟริเกตลำใหม่ ก็มีระบบต่อต้านเรือผิวน้ำ อยู่แล้วครับ เป็น ระบบมาตรฐาน อยู่แล้ว...
ความจริง ทร. มีความต้องการ เรือดำน้ำ มากกว่าครับ...แต่ในเมื่อไม่สามารถจัดหา เรือดำน้ำ มาได้...
แล้ว ทร. จะใช้ อะไร ปราบเรือดำน้ำ...ในเมื่อปัจจุบัน ประเทศเพื่อนบ้าน ล้วนมีเรือดำน้ำ ประจำการหมดแล้ว ยกเว้น พม่า กับ กัมพูชา เท่านั้น...
เรือดำน้ำของ เวียดนาม ก็เพิ่งทำการปล่อยลงน้ำ ไปจำนวน 2 ลำ ชื่อ เรือ ฮานอย กับ โฮจิมินต์...ซึ่งคงจะรับมอบเร็ว ๆ นี้...ครับ...
ซึ่ง เรือรบผิวน้ำ ของ ทร. ที่สามารถปราบเรือดำน้ำ ได้ ก็เป็นเพียงระบบ โซนาร์ระยะใกล้...และต้อง วิ่งเรือ เข้าหา เรือดำน้ำ...ไม่มี ฮ. ประจำเรือ ที่จะบินเข้าไปหา เรือดำน้ำ...ในขณะที่ เรือดำน้ำ ในประเทศเพื่อนบ้าน ก็มีความสามารถ ยิงอาวุธนำวิถีต่อต้านเรือ จากพื้นน้ำใต้...ในความสามารถของเรือดำน้ำปัจจุบัน...การที่ ร.ล.ชั้นตาปี หรือ ร.ล.มกุฎฯ หรือ เรือชั้นรัตนโกสินทร์...จะวิ่งเข้าหา เรือดำน้ำ เพื่อยิงตอร์ปิโด ก็มีความเสี่ยง เหมือนกับ การวิ่งเรือเข้าหา อาวุธนำวิถีต่อต้านเรือยิงจาก ใต้น้ำ...นั่นเองครับ...
ตอนนี้ จึงมีเรือรบผิวน้ำ ที่พอจะต่อกรณ์ กับ เรือดำน้ำ ในปัจจุบัน คือ เรือชั้น นเรศวร กับ ชั้นพุทธฯ เท่านั้นครับ...กรณี เจอ ตัว ต่อ ตัว...
นอกนั้น ผมว่า คงเป็นเพียงเรือสนับสนุน หรือ เป็น เรือวงล้อม ที่ต้องให้เรือฟริเกตสมรรถนะสูง ไล่ต้อน มาให้....หรือเป็นเรือที่ต้องรับการสนับสนุน จาก ร.ล.จักรีฯ...
หรือ มองในมุมนึงว่า จะปราบเรือดำน้ำ สัก 1 ลำ...ทร. จะต้องมีอัตราสูญเสีญเรือรบผิวน้ำ อย่างน้อย 1 ลำ หรือ ถึง 2 ลำ...ถึงจะล้อมปราบเรือดำน้ำได้ จำนวน 1 ลำ...
เนื่องจาก ระยะยิง ตอร์ปิโด จากเรือมีระยะไม่เกิน 11 ก.ม. นั่นหมายถึง เรือรบผิวน้ำ เช่น เรือชั้น ตาปี จำนวน 2 ลำ, ร.ล.มกุฎฯ, เรือชั้นรัตนโกสินทร์ จำนวน 2 ลำ, เรือชั้น คำรณสินธุ จำนวน 3 ลำ...ต้อง วิ่งเข้าหาเรือดำน้ำ ให้ได้ระยะยิงของ ตอร์ปิโด...เนื่องจาก ไม่มี ฮ. ประจำเรือ...
ฮ.ปด.1 ที่ทร.จัดหามา 6 ลำนั้น ปกติจะต้องเข้ารับการซ่อมบำรุงเป็นวงรอบ คาบเกี่ยวกัน 1-2 ลำ เสมอ างตรั้ง 3 ลำ ดังนั้นหากจะกล่าวตรงๆ คือ ทร.มี ฮ.ปด.1 ที่สามารถปฎิบัติงานจริงๆ 3-4 ลำเท่านั้น ซึ่ง 1 ลำ ในจำนวนนี้ จะถูกใช้ในภารกิจพิเศษ เป็นบางกรณี ดังนั้นในสถานะการณ์ปกติ ที่มิใช่สภานะการสงคราม ทร.มี ฮ.ปด.1 ใช้งานได้ไม่เกิน 3 ลำ ครับ
ดังนั้น ไม่ว่า ทร. จะจัดหาเรือฟริเกตใหม่ 2 ลำ และจะจัดหาเรือฟริเกต ชั้น OHP หรือชั้น F122 อีก 2 ลำ ขีดความสามารถด้านการใช้ ฮ.ปราบเรือดำน้ำ ก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นครับ เพียงแต่การเพิ่มจำนวนเริอฟริเกต ที่สามารถบรรทุก ฮ.ปด.1 อีก 2 - 4 ลำ จะทำให้ ทร. คล่องตัวขึ้นในการใช้ ฮ.ปด.1 แทนที่ต้องพึ่งการใช้ ร.ล.จักรีนฤเบศร เป็นฐานปฎิบัติการเดี่ยวๆเท่านั้น
สำหรับเรือดำน้ำ ทร.ยังยืนยันความต้องการจัดหาเสมอครับ เพียงแต่ต้องพยายามมากขึ้นเท่านั้น ทร.มีโครงการฝึกศึกษามาตลอดครับ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ดังนั้น ทร.จึงมีแนวคิดการจัดหา ฮ.ปด. อยู่ 3 แนวทาง คือ จัดหา ฮ.ปด.1 เพิ่ม หรือ จัดหา ฮ.ปด.2 หรือปรับปรุง ฮ.ตผ.1 ให้มีขีดความสามารถในการค้นหาเรือดำน้ำ ซึ่งที่ผ่านมามีหลายบริษัท มาบรรยายคุณสมบัติของ ฮ.ปราบเรือดำน้ำให้ ทร. พิจารณา แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการเสนอโครงการจัดหาในช่วงนี้ เพราะต้องดูสถานการณ์ ของดครงการจัดหาเรือดำน้ำจะคืบหน้าหรือไม่ ถ้าไม่ โครงการจัดหาฮ.ปราบเรือดำน้ำเพิ่ม หรือปรับปรุง ฮ.ตผ.1 จะถูกดันเข้าสู่การพิจารณาครับ
ถึงว่า ปีที่แล้ว สปจ.มาให้ข้อมูล ฮ.Z-9EC และ UK ก็มาบรรยาย ฮ.AW159 Lynx Wildcat ให้ ทร.
ฟังท่าน FatBoy อธิบายยิ่งเหนื่อยใจแทนเลยนะครับ ถ้าต้องมองถึงวงรอบการซ่อมบำรุงด้วยทร.คงต้องจัดหาฮ. S-70B อีกอย่างน้อยก็ต้อง 10 เครื่อง เครื่องละกว่า 1,000 ล้าน ต่อเรือฟรีเกต MEKO-D ใหม่ได้อีก 1 ลำเลย โอ้ยยยเหนื่อยแทน
ส่วนราคาเรือใหม่ ให้ผมเดาเอานะครับ..... ถ้าทร.ต้องการจรวดต่อต้ายอากาศยานแค่ป้องกันเฉพาะจุด คงต้องจัดหา ESSM และ ถ้าต้องการจรวดต่อต้านเรือดำน้ำด้วยคงต้องจัดหา ASROC คงต้องใช้ VLS Mk-41 16 cell ส่วนจรวดต่อต้านเรือรบก็คงเป็น Harpoon เช่นเดิม และถ้าต้องการระบบ CIWs โดยดูจากการติดตั้งของทร.เยอรมันเป็นหลัก ก็ต้องจัดหา RAM แท่นยิง 21 นัด และ ฟาลังก์ อย่างละ 1 ระบบ ส่วนปืนใหญ่ก็อาจจะเลือก 76 SR ก็เป็นได้(รุ่นใหม่สามารถทำหน้าที่เป็น CIWs ได้ และตอร์ปิโดพร้อมท่อยิงแฝด 3
VLS Mk-41 16 cell ราคาประมาณหยาบๆราวๆ 20 กว่าล้านเหรียญ หรือ ประมาณ 700 ล้านบาท
ESSM 32 ลูก ราคาประมาณ 1,000 ล้านบาท
ASROC 8 นัด Harpoon 8 นัด รวมกันน่าจะประมาณ 650 ล้านบาท
RAM + ฟาลังก์ พร้อมลูกจรวดครบ น่าจะประมาณ 1,200-1,300 ล้านบาท
ตอร์ปิโดและปืนใหญ่ 76 SR รวมเป้าลวง segem และเป้าลวงตอร์ปิโด น่าจะอีกราวๆ 1,000 ล้านบาท
ดังนั้น ระบบอาวุธและเป้าลวงก็ต้องใช้เงินกว่า 4600 ล้านบาทแล้วครับ
ถ้าคำนึงถึงระบบตรวจจับด้วย
ใช้ SMART-S mk-2 เป็นเรด้าร์อำนวยการรบ
STIR 1.2EQ สองตัวหน้าหลัง
เฉพาะเรด้าร์ 3 ตัวนี้ก็น่าจะราวๆ 1,000 ล้านบาท
เรด้าร์ตรวจการณ์อากาศ 2D LW-08 และระบบอำนวยการรบ TACTICOS ราคาก็อีกประมาณ 1,000 ล้านบาท
ระบบโซน่าร์หัวเรือ และ โซน่าร์ ลากท้าย ราคาอีก ประมาณ 1,000 ล้านบาท
รวมระบบตรวจจับก็อีกประมาณ 3,000 ล้าน
ดังนั้นราคาระบบอาวุธและระบบตรวจจับ ระบบอำนวยการรบ ก็ประมาณ 7,600 ล้านบาทแล้วครับ ไม่นับ ESM ECM ECCM
ราคาเรือน่าจะตกตันละ 2 ล้านบาทแล้วละครับป๋าจูล คือ ประมาณ 7,000 ล้านบาท ซึ่งเมื่อรวมกับระบบอาวุธและระบบตรวจจับแล้วก็ประมาณ 15,000 ล้านบาทพอดี
เรือเปล่าต่อจากเยอรมันนี่แพงได้ใจจริงๆนะครับ แพงมาก ถ้าต่อที่สิงคโปร์หรือจากเกาหลี คงถูกลงไปสัก 2500-3000 ล้านบาทได้สำหรับเรือระวาง 3500-4000 ตัน แต่ต้องยอมรับครับว่า ของเยอรฒันมันสุดยอดจริงๆ
แต่เรือยังสามารถปรับปรุงให้มีขีดความสามารถต่อต้านอากาศยานระยะไกลได้ดีกว่านี้เมื่อมีเงิน ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนระบบเรด้าร์เป็นเฟสอะเรย์ เรด้าร์ STIR 2.4 HP SMART-L และขยายระบบอำนวยกการบเดิมให้รองรับภาระกิจป้องกันภัยทางอากาศ(ไม่ได้เปลี่ยนใหม่ทั้งยวง) ราคาของระบบตรวจจับและขยายระบบอำนวยการรบผมว่าก็กว่า 2500 ล้านบาทแล้ว
และเรือ MEKO-D ยังสามารถติดตั้ง VLS Mk-41 ได้เพิ่มอีก 32 cell เหมือน MEKO-A-200 ซึ่งถ้าอเมริกันขาย SM-2 block-3 ให้เรา(ฝันหวาน) เฉพาะ MK-41 32 cell ก็เกือบ 1500 ล้าน รวมจรวดด้วยน่าจะถึง 3,000 ล้านบาท
ถ้าใช้ไปสักพักแล้วทำการปรับปรุงเพิ่ม คงต้องใช้เงินถมไปอีกลำละประมาณ 5000-6000 ล้านบาท หรือ 10,000-12,000 ล้านบาท สำหรับเรือ 2 ลำ แต่เราก็จะได้เรือฟรีเกตที่มีขีดความสามารถระดับเรือพิฆาตเลยที่เดียวครับ เทพทั้งการต่อต้านเรือดำน้ำและป้องกัยภัยทางอากาศ ลำละเฉลี่ยกว่า 20,000 ล้านบาท.......!
ถ้าจัดหา MEKO-D หรือ MEKO-A200 จริง แม้จะแพงใจหาย แต่ถือว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าครับ โดยเฉพาะถ้าเราเรียนรู้การต่อเรือและการติกตั้งระบบต่างๆจากเขาได้ด้วย
ทำแผ่นภาพมาให้ครับ
สำหรับความสมดุลย์ จำนวน เรือดำน้ำในภูมิภาค ASEAN ในระยะอีก 10 ปีข้างหน้า กับ จำนวนเรือรบ ที่มีความสามารถปราบเรือดำน้ำ ของ กองทัพเรือไทย...
แยกเป็น 2 แผ่น
แผ่นที่ 1 กรณี ไม่มี การจัดหาเรือ OHP มือสอง จาก สหรัฐฯ
แผ่นที่ 2 กรณี มี การจัดหาเรือ OHP มือสองจาก สหรัฐฯ ครับ...
จากแผ่นภาพ...การจัดหา เรือ OHP มือสอง จำนวน 2 ลำ...ไม่ได้ เพิ่มอำนาจ กับความสมดุลย์กับเรือดำน้ำ ในระยะอีก 10 ปีข้างหน้า...แค่เป็นเพียงทำได้เท่าปัจจุบัน...
แต่ถ้าไม่มีการจัดหา ก็น่าจะเป็น ลดอำนาจ ไปในอนาคตมากกว่า ถ้าเทียบกับ ดุลย์กำลังทางเรือของ กองทัพเรือไทย ในปัจจุบัน...
ส่วนที่จะเพิ่มในเรื่องดุลย์ของเรือดำน้ำในภูมิภาค ของ กองทัพเรือไทย ก็คงเป็นเรื่อง การจัดหาเรือดำน้ำ ที่จะต้องเกิดขึ้นให้ได้ เท่านั้น...และการจัดหา OHP มือสอง ดูน่าจะสร้างผลบวกให้ อนาคต เมื่อ ทร. ได้จัดหา เรือดำน้ำ มาประจำการได้...
ซึ่ง ผมมองว่า การจัดหา ฮ.ปด.1 เพิ่มเติม...น่าจะเป็นทางเลือกที่ดูน่าจะดีที่สุด...และใช้สำหรับ เรือฟริเกตสมรรถนะสูง ลำใหม่ รวมถึงกับ OHP ซึ่งก็ควรจะจัดหามาเช่นกัน...
ส่วน เรือชั้น กระบี่ ลำต่อ ๆ ไป แม้จะมีการเพิ่มเติมระบบการปราบเรือดำน้ำ นั้น...ในอนาคต เรือชั้นนี้ ที่จะสร้างเพิ่มเติม ก็จะดูเป็นการ ทดแทน เรือชั้น ตาปี กับ ร.ล.มกุฎราชกุมาร นั่นเอง...ซึ่งในปี 2565 เรือทั้ง 3 ลำ ก็จะอายุเกือบจะ 50 ปี...ซึ่งก็จะใกล้เคียงกับ โครงการเรือ OPV ที่ขอสิทธิการสร้างเป็นระยะเวลา 10 ปี...
จากแผ่นภาพที่ 1
ในปี 2565 มีเรือดำน้ำ เพิ่มขึ้น ในภูมิภาค ASEAN จากปี 2556 จำนวน 6 ลำ...แต่ กองทัพเรือ มีเรือรบที่สามารถปราบเรือดำน้ำได้ เพิ่มขึ้น จำนวน 2 ลำ น้อยกว่าเรือดำน้ำที่เพิ่มขึ้น 2 เท่า
จากแผ่นภาพที่ 2
ในปี 2565 มีเรือดำน้ำ เพิ่มขึ้น ในภูมิภาค ASEAN จากปี 2556 จำนวน 6 ลำ...แต่ กองทัพเรือ มีเรือรบที่สามารถปราบเรือดำน้ำได้ เพิ่มขึ้น จำนวน 4 ลำ น้อยกว่าเรือดำน้ำที่เพิ่มขึ้น 1/2 เท่า
แต่ถ้า ทร. จัดหาเรือดำน้ำ มาได้ จำนวน 2 ลำ และจัดหาเรือ OHP มือสอง ด้วย จำนวน 2 ลำ
ในปี 2565 มีเรือดำน้ำ เพิ่มขึ้น ในภูมิภาค ASEAN จากปี 2556 จำนวน 6 ลำ...แต่ กองทัพเรือ มีเรือรบที่สามารถปราบเรือดำน้ำได้ เพิ่มขึ้น จำนวน 6 ลำ ในจำนวนที่เท่ากัน...
ตามแผนภาพของป๋า แสดงว่าถ้าทร.ยังไม่สามารถดันโครงการเรือดำน้ำผ่านภายใน 5-6 ปีข้างหน้าจริง 10 ปีที่จะถึงข้างหน้านี้ ทร.ต้องจัดหาฟรีเกตปราบเรือดำน้ำ 6 ลำใช่ไหมครับถึงจะรักษาสมดุลย์ได้
เนื่องจาก OHP มีค่าใช้จ่ายปฎิบัติการสูง แม้จะออกแบบมาสำหรับต่อต้านเรือดำน้ำโดยเฉพาะและยังสามารถปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพเหลือแบบทร.ออสซี่หรือ G class ของตุรกี ก็คงทำให้ทร.ลำบากใจอยู่ที่จะจัดหาถึง 4 ลำ
ถ้า 5-6 ปีข้างหน้าจัดหาเรือดำน้ำไม่ได้จริงๆแล้ว ทร.คงต้องจัดหาเรือฟรีเกตปราบเรือดำน้ำมาเพิ่มอีกอย่างน้อย 2 ลำ เพื่อให้ได้ 6 ลำ ภายใน 10 ปีข้างหน้า ถ้าไม่เอา OHP อีก เงินก็ยังไม่รู้ว่าจะราบลื่นแบบนี้ไปตลอดไหม อาจจะต้องจบที่เรือฟรีเกตมือสองสภาพดีและสามารถ Upgrade ได้ง่าย ก็คงต้องเป็นเรือชั้น F-122 Bremen class แล้วล่ะครับ
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย
Displacement: | 3,680 tonnes |
Length: | 130.50 m |
Beam: | 14.60 m |
Draft: | 6.30 m |
Propulsion: | CODOG (Combined diesel or gas) 2 × MTU 20V956 TB92 diesel engines, 8.14 MW total 2 × General Electric LM2500 gas turbines, 38 MW total 2 × Renk STG 150-50 gearboxes, 10:1 (diesel) and 720:47 (turbine) 2 × propeller shafts, controllable pitch, five-bladed Sulzer-Escher propellers, later replaced with seven-bladed ones from Wegemann & Co. ("Bremen" only) 4 × Deutz MWM diesel-generators, 750 kW |
Speed: | 30 knots |
Range: | more than 4,000 nautical miles (7,000 km) at 18 knots |
Complement: | 202 crew plus 20 aviation |
Sensors and processing systems: |
1 × EADS TRS-3D air search radar (three dimensional) 1 × WM 25 combined surface search and fire control radar I/J band 1 × Thales Nederland STIR 180 fire-control radar I/J/K band 1 × Kelvin Hughes Nucleus 5000 I band navigation radar 1 × STN Atlas DSQS-23BZ hull-mounted sonar |
Electronic warfare & decoys: |
ESM/ECM EADS FL 1800S 2 × SCLAR decoys SLQ-25 Nixie torpedo decoy |
Armament: |
|
Aircraft carried: | Place for 2 Sea Lynx Mk.88A helicopters equipped with torpedoes, air-to-surface missiles Sea Skua, and/or heavy machine gun. |
จากข้อมูลแสดงว่าเรือผ่านการ Upgrade มาแล้วครั้งหนึ่งเป็นอย่างน้อย ระบบตรวจจับและอาวุธยังดีทีเดียวครับ ใช้เครื่องยนต์ MTU และ LM2500 เหมือนๆกันกับที่เรานิยมใช้ แม้เรือไม่ได้ใช้ในภาระกิจต่อต้านเรือดำน้ำ แต่ดูเหมือนว่าจะออกแบบเผื่อเอาไว้แล้ว เพราะโรงเก็บฮ.ก็รองรับ Lynx ได้ 2 เครื่อง มีโซน่าร์หัวเรือ และน่าจะสามารถปรับปรุงให้ติดตั้งโซน่าร์ลากท้ายแบบใหม่ๆได้ครับ อาจจะต้องปรับปรุงตัดเอาแท่นยิง สแปโรว์เดิมออก ติดตั้ง VLS mk-41 เพื่อทำการยิง ASROC ได้ ถ้าเน้นแค่ปราบเรือดำน้ำปรับปรุงเพียงเท่านี้ก็น่าจะเพียงพอ
ยกเว้นทร.เกิดต้องการขีดความสามารถป้องกันภัยทางอากาศเฉพาะจุดด้วย คงต้องเปลี่ยนเรด้าร์ควบคุมการยิง 180 ออกไปใช้ 1.2 EQ แทน เพื่อรองรับ ESSM ได้ด้วย เท่านี้ประสิทธิภาพก็น่าชื่นชมแล้วครับ
จากแผ่นภาพข้างต้น...
นั่นหมายถึงว่า มาเลเซีย ไม่มีการจัดหา เรือดำน้ำ เพิ่มอีก 2 ลำ ตามความต้องการ...และ ในระยะ 10 ปีข้างหน้า...พม่า...ยังไม่มีการจัดหา เรือดำน้ำ ประจำการ...
ทำสรุปมาให้อีกที ครับ...
เมื่อดู สมดุลย์ เรือดำน้ำ กับ เรือปราบเรือดำน้ำของ ทร.ไทย ในปัจจุบัน
ข้อมูลจากเวป naval-technology ยืนยันว่ามีการปรับปรุงระบบอำนวยการรบและระบบเรด้าร์มาไม่นานเอง ปี 2005
The ships combat system integrates the target acquisition, navigation, communications, signal processing and weapon control functions. The combat system software was developed by ATLAS Elektronik.
The combat system central computer computes and evaluates the target data and allocates data to the weapon systems. The system carries out multiple target search and track, target prioritisation and automatic engagement of weapons.
The German Navy began an upgrade programme for the combat system on the eight Bremen Class (F122) and four Brandenburg frigates. A contract was awarded to Thales in September 2005 to provide a new open architecture system to replace the SATIR. The upgrade was completed in 2011. IBM supplied and installed the Link 16 capability enhancement and also installed the EADS Defence Electronics multifunctional information distribution system (MIDS).
The ships radar systems include the Thales Nederland (formerly Signaal) DA 08, air / surface search radar. The DA 08 is scheduled to be replaced by the EADS Systems & Defence Electronics TRS-3D air and surface search radar, to improve the close-in weapon system (CIWS) capability.
The ships navigation radar is the SMA 3 RM20 operating in I band. The fire control radars are the I/J band WM25 and the I/J/K band STIR radars from Thales Nederland. The bow sonar dome is fitted with a rubber window for the hull mounted search sonar, the DSQS-21 from Atlas Elektronik. The DSQS-21 operates in active and passive mode up to high sonar frequencies.
In November 2007, EADS Defence Electronics was contracted to supply the MSSR 2000 IFF Mode S information friend or foe (IFF) system for installation on Bremen Class frigates.
ดังนั้นถ้าเราจะทำการปรับปรุงอีกครั้งจึงใช้เงินไม่มาก ประมาณ 1500 ล้านบาทต่อเรือ 1 ลำ คือ ปรับปรุงใส่แท่นยิง VLS Mk-41 แทน Mk-29 เปลี่ยนเรด้าร์ควบคุมการยิงจาก STIR 180 ไปเป็น 1.2 EQ และปรับปรุงติดตั้ง โซน่าร์ลากท้าย แต่ราคาเรือขายต่อมือสองนี่จะเท่าไร ในขณะที่ OHP 2 ลำ ยกให้ฟรีจ่ายแค่ค่าปรับปรุงคืนสภาพ
เรือดีนะครับนี่ สมกับของเยอรมัน
อ๊ะ ขอโทษครับ หน้าแหกอีกแล้วจำผิด ต้อง STIR 1.2 EO รองรับทั้ง RAM ESSM MICA
STIR 1.2 (STING) is a multi-purpose, multi-sensor naval fire control tracking system for missiles and guns.
STIR 1.2 supports missile and gun fire control, performs kill assessment and makes a valuable contribution to classification and identification of threats. For air target engagement the STIR 1.2 is applied for assignment of missiles like RAM, VL MICA and ESSM and as gun fire solution for OTOMelara 76mm and the AK176.
STIR 1.2 can also track surface targets; obtained track data can be used for the SSM, as well as for surface target engagements with the available guns. STIR 1.2s EO package enables for observation and tracking under all conditions.
In addition, the system can be used as a surveillance sensor, even under radar silence conditions.
STIR 1.2 overcomes the tracking problems often associated with low-flying missiles. By applying dual radar bands (I- and K-band), and complemented by EO sensors, STIR 1.2 realizes extremely high track continuity, even in littoral, high-clutter and jamming scenarios.
The EO sensor suite supports long range search, identification and classification of asymmetric threats as piracy and insurgency.
เป็นการ อธิบายเรื่อง สนับสนุนการจัดหา เรือ OHP จำนวน 2 ลำ ครับ....ว่า
1. ถ้าไม่จัดหา OHP มา แล้ว โครงการเรือดำน้ำ ก็ยังไม่เกิด ได้ภายในอนาคต 10 ปี ข้่างหน้า ดุลย์อำนาจกำลังทางเรือปราบเรือดำน้ำ กับ เรือดำน้ำ ในภูมิภาคนี้ ทร. ด้อยกว่า ปัจจุบัน คือ ปี 2556 แน่นอน ครับ...
2. ถ้าได้จัดหา OHP มา และถ้าโครงการเรือดำน้ำ ก็ยังไม่เกิด ภายใน 10 ปีอีก...การมี OHP ก็จะยังพอจะ กล้อมแกล้ม ไม่ได้ ดุลย์อำนาจกำลังทางเรือปราบเรือดำน้ำ กับ เรือดำน้ำ ในภูมิภาคนี้ ทร. ยังพอจะ แก้ปัญหาเฉพาะหน้า ได้ระดับหนึ่ง...
3. ถ้าได้จัดหา OHP มา และโครงการเรือดำน้ำ ก็สามารถจัดหามาได้ ภายใน 10 ปีนี้...ก็จะทำให้ ดุลย์อำนาจกำลังทางเรือปราบเรือดำน้ำ กับ เรือดำน้ำ ในภูมิภาคนี้ ทร. จะดู มีความเข้มแข็งเพียงพอระดับหนึ่ง ที่จะป้องกันผลประโยชน์ทั้งของชาติ และ นานาชาติ ที่ทำธูรกิจอยู่ภายในประเทศไทย...
ดังนั้น การจัดหา OHP มา ดูจะมีประโยชน์ มากกว่า การไม่จัดหา แล้วต้องรอลุ้น โครงการเรือดำน้ำ...ถึงแม้ว่า ในอนาคตอีก 3-5 ปี ข้างหน้า ทร. ได้รับอนุมัติโครงการ เรือดำน้ำ...ซึ่งกว่า เรือดำน้ำ จะมีความพร้อมรบ ก็คงเลยปี 2565 ไปแล้ว...ซึ่งในการประเมินปี 2565 นี้ ก็หมายถึงว่า อีก 10 ปีข้างหน้า เรือดำน้ำของประเทศต่าง ๆ ข้างต้น เขาก็มีความพร้อมรบ...และ แข่งขัน กันเป็น กองเรือดำน้ำ ลำดับต้น ๆ ของ ภูมิภาค ASEAN...
แต่ ทร.ไทย...ยังจะ เพิ่งเริ่มต้น เท่านั้น...
ซึ่งจากข่าวกองทัพเรือ ในเว๊ปไซด์ ของ ทร.
จีนจัดทำแผนที่หมู่เกาะในทะเลจีนใต้อย่างเป็นทางการเพื่อเผยแพร่ในปลายเดือนมกราคม ๒๕๕๖ |
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สำนักการสำรวจแผนที่และข้อมูลทางภูมิศาสตร์แห่งชาติจีน แถลงว่า ได้จัดทำแผนที่หมู่เกาะในทะเลจีนใต้อย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก ครอบคลุมหมู่เกาะและเกาะกว่า ๑๓๐ แห่ง โดยจะเผยแพร่ต่อสาธารณชนในปลายเดือนมกราคม ๒๕๕๖ การจัดทำแผนที่ครั้งนี้มีความสำคัญต่อการส่งเสริมการตระหนักรู้ของประชาชนต่ออาณาเขตของจีน การปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ทางทะเล และแสดงถึงจุดยืนทางการเมืองของจีน พร้อมกันนี้ ได้มีการประกาศจัดตั้งสมาคมกิจการทางทะเล (China Association of Marine Affairs - CAMA) ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาด้านการพัฒนาทางทะเล ทั้งด้านเศรษฐกิจ การใช้ทรัพยากร การรักษาสภาพแวดล้อม และการคุ้มครองสิทธิ์และผลประโยชน์ทางทะเล (ที่มา : ขว.ทร.) |
ซึ่งก็คงน่าจะรวมถึง หมู่เกาะ สแปชรี่ย์ ด้วย...
ความร้อนของ ในบริเวณดังกล่าว อาจจะมากขึ้น โดยอาจจะเริ่มขึ้นจากเดือน ม.ค. นี้ ก็ได้ครับ...
ซึ่งผมก็เคยให้ความเห็นไว้ว่า...ผมกลัวว่า เรือดำน้ำ อาจจะมาไม่ทันใช้...
แต่ก็อาจจะทำให้ รัฐบาล ตัดสินใจ สนับสนุน ทร. ได้ง่ายขึ้น...ทั้งในเรื่อง เรือฟริเกตสมรรถนะสูง และ เรือ OHP มือสอง...
ซึ่ง ประเทศไทย แม้จะไม่ใช่ 1 ในประเทศคู่กรณี....
แต่ในความเห็นผม มองว่า...
ไทย ก็ต้องคุ้มครองความปลอดภัยให้กับ การเดินเรือของประเทศคู๋กรณี ทั้ง จีน มาเลเซีย เวียดนาม บรูไน และ ฟิลิปปินส์ ในบริเวณอ่าวไทย และช่องแคบมะระกา...เพื่อลดความขัดแย้ง...และเหตุการณ์ที่จะนำไปสู่ การมีการ จัดตั้ง กองทัพเรือจีน ในภูมิภาคนี้ (คาดหมายว่า จะเป็น กัมพูชา...ซึ่ง อาจจะเกิดความไม่วางใจกัน หรือ กระทบกระทั่ง จากผลการพิจารณาคดี เขาพระวิหาร...ซึ่งจะทำให้ รัฐบาลกัมพูชา และอาจจะรวมถึงประชาชน สนับสนุนการตั้ง ฐานทัพเรือจีน ใน ท่าสีหนุวิลล์)
ซึ่ง ศักยภาพของ ทร.ไทย ก็ต้องมีความสามารถไกลฝั่ง มากขึ้น ซึ่งมันจะกลายเป็นหน้าที่ ที่นอกเหนือหรือเพิ่มเติม มาจาก การคุ้มครองแท่นขุดเจาะน้ำมันต่าง ๆ
และประเทศคู่กรณี ทั้ง จีน มาเลเซีย และเวียดนาม ก็มี เรือดำน้ำ ประจำการ...
ทร.ไทย...คงต้องมีขยับตัวมากขึ้น เป็นไปตามสถานะการณ์ความรุนแรงที่อาจจะขึ้นได้...
จะเกี่ยวกับการที่ สหรัฐ ยังไม่ยอมรับเรือ LCS ชั้น Freedom หรือเปล่าครับ ?
และการถูกตัดลดงบประมาณ....สหรัฐ เลยอาจจะกลับหันมาใช้ โครงการ Modified เรือ OHP อีกครั้ง...
หรือเป็นเรื่อง การเมืองระหว่างประเทศ ครับ...ท่าน FatBoy
ผมก็สงสัยว่า...ปัจจุบัน ทร. ก็ดำเนินการตามแผนพัฒนากองทัพในระยะเวลา 10 ปี ตามแผนเดิม (ปี 2549)...ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง หรือ เพิ่มเติม ไปจากเดิมแต่อย่างใด...
ทำไม ถึง ต้องมีปัญหาในเรื่องงบประมาณ...ซึ่งตามแผนที่เสนอ ก็เป็นการ สร้างเสริมกำลัง ก็เหมือนกับ กองทัพบก และ กองทัพอากาศ ที่ก็กำลังดำเนินการตามแผนในครั้งนั้น เช่นเดียวกัน...
ซึ่งดูแล้ว กองทัพอากาศ ดูเหมือนจะทำได้ตามแผน สร้างเสริมกำลัง ได้หลายโครงการ คงเหลืออีกไม่กี่โครงการ...รวมถึง กองทัพบก ก็ทะยอย ทำตามแผนเดิม...ตามหลัง กองทัพอากาศ มาติด ๆ...ส่วนของ กองทัพเรือ ผมว่า ดำเนินการได้จนถึงปัจจุบัน ไม่น่าจะถึง 20%
ซึ่งเมื่อเสร็จจากตามแผนเดิมแล้ว ก็เข้าสู่แผนการ สร้างเสริม ใหม่...
ซึ่ง ถ้า ทร. ไม่ตัดสินใจในทางใด ทางหนึ่ง กับ รัฐบาล ให้แน่ชัด...ในเรื่องการสนับสนุนงบประมาณว่าจะกำหนดอัตราเพิ่มกี่เปอร์เซ็นต์ ในช่วงระยะเวลาไหน เท่าไหร่ อย่างไร...หรือ เพิ่มในเงื่อนไข ถ้ารัฐบาลไม่สามารถสนับสนุนได้ตามเปอร์เซ็นต์ที่กำหนด ก็เปิดโอกาสให้ใช้ โครงการเงินกู้ แบบของ รัสเซีย ที่เสนอให้กับ อินโดนีเซ๊ย หรือ เวียดนาม...เพื่อ ทร. จะได้วางแผนการจัดหา และเตรียมการแก้ปัญหาพิจารณาทางเลือกอาวุธ จากประเทศอื่น ๆ...ซึ่ง ผมคิดว่า สำนักงานปลัดบัญชีกองทัพเรือ น่าจะมีความสามารถที่จะช่วยแก้ปัญหา และวางแผนในเรื่องนี้ได้...
ก็คงทำคล้าย ๆ กับ ฟิลิปปินส์ ที่รัฐบาลมีการกำหนดชัดเจนว่าจะสนับสนุนงบประมาณจัดหาอาวุธ เพื่อสร้างเสริมกำลัง เท่าไหร่ ให้ชัดเจน...หรือ จะแบบ มาเลเซีย ที่ผูกงบประมาณพัฒนากองทัพออกมาเป็นแผนแม่บทให้ทุกรัฐบาล ดำเนินการตามแผน ควบคู่กับ แผนพัฒนาเศรษฐกิจ ไปเลย...
งบประมาณ กองทัพเรือ ในอนาคตก็อาจจะต้องถูก กระทบ จากการที่ กองทัพอากาศ จัดหา ฝูงบินรบใหม่ ซึ่งคงเข้าสู่ แผนการสร้างเสริมกำลังใหม่ ซึ่งในปี 2565 ฝูง 102 ของ ทอ. คือ F-16 ADF ก็จะมีอายุประจำการ 20 ปีแล้ว คงน่าจะมีโครงการจัดหาฝูงบินรบใหม่ และอาจจะรวมถึงการจัดหาฝูงบินฝึกใหม่ ในส่วนของ L-39Z อีก...ซึ่งน่าจะเป็นงบประมาณ ชนกับ โครงการใหญ่ของ กองทัพเรือ ในขณะนั้นแน่...
ในขณะที่ ทร. เอง ยังจัดหาตามแผนเดิม ได้ไม่เท่าไหร่...ในขณะที่ สถานะการณ์ความขัดแย้งในทะเลจีนใต้...ดูจะมีความเสี่ยงขึ้นเรื่อย ๆ...
ซึ่งผมลองดูใน รายละเอียด พรบ.งบประมาณปี 2556
มันจะมีงบประมาณอยู่ 2 วงเงิน คือ 2,750 ล้านบาท กับ 2,200 ล้านบาท ซึ่งผม เดา ไม่ออก ว่าจะเป็นงบประมาณโครงการอะไร...
แต่ก็คาดหมายว่า ทร. น่าจะจัดทำงบประมาณเพื่อจัดหา ฮ.ปด และ ฮ.MH-60S ... ซึ่งได้ตั้งไว้ในปีงบประมาณ 55 - 56 แต่ยังไม่ได้จัดหา...ซึ่งหมายถึง รัฐบาลอนุมัติการจัดหาแล้ว...
ต่อมาปลายปี 2555 รัฐบาลเกิดอนุมัติโครงการจัดหาเรือฟริเกตใหม่...โดยให้ใช้งบประมาณ ปี 2555 - 2559
ซึ่ง ทร. เอง ก็ยังไม่ได้ตั้งงบประมาณสำหรับโครงการนี้ไว้เลยในปี 2555 และ 2556...
แต่เหมือนกับว่า รัฐบาลอนุมัติ ให้ใช้งบประมาณในการจัดหาอาวุธอื่นที่ตั้งไว้ในปี 2555 - 2556 นำมาใช้ในโครงการเรือฟริเกตใหม่ นี้ ได้ก่อน...
มันไม่น่าจะหมายถึงว่า ยกเลิก หรือ ระงับ การจัดหาโครงการนั้น ๆ ที่ ทร. นำมาใช้....
และโครงการ เรือฟริเกตใหม่ นี้ ก็ควรเป็นการตั้งงบประมาณใหม่ ซึ่งไม่เกี่ยวกับ โครงการจัดหา ฮ.ปด. และ ฮ.MH-60S (ข้อสมมติ)...
ดังนั้น งบประมาณโครงการเรือฟริเกตใหม่ ก็คงจะตั้งขึ้นใหม่ในปีงบประมาณ 2557...
ซึ่ง งบประมาณ ฮ.ปด. และ ฮ.MH-60S (ข้อสมมติ) ก็น่าจะยังคงอยู่เหมือนเดิม...
งบประมาณที่เพิ่มขึ้นของ ทร. ในปีงบประมาณ 2557 ก็ควรจะเป็น โครงการจัดหาเรือฟริเกตใหม่ แบบ 100%...
ไม่ควรจะกระทบกับโครงการที่อนุมัติไว้แล้ว ในปี 2555 - 2556...
คุณ Fatbay ครับที่ว่าเรือ OHP ไม่แน่นอนหมายถึงไม่แน่ว่าจะซื้อหรือไปซื้ออย่างอืนครับ
ส่วน F122 มือสองเขาจะขายราคาเท่าไรครับแล้ว ทร.ต้องการ 2 ลำเท่า OHP หรือเปล่าครับ
รบกวนผู้รู้ช่วยตอบด้วยครับ
เสียงแตกเละเลยนะครับ.......
แสดงว่าแนวคิดเรือซื้อเรือฟรีเกตใหม่พ่วงเรือดำน้ำฝึก type 206A มีลุ้นแหง๋เลย เพราะถ้าทร.สามารถจัดหาเรือดำน้ำได้จริงๆ (พร้อมเรือฟรีเกตต่อใหม่) เรือ OHP 2 ลำก็ไม่จำเป็นแล้ว เพราะหลังจากนั้นอาจจะจัดหาเรือดำน้ำมือหนึ่งชั้นเยี่ยมได้ 2-4 ลำ แสดงว่าค่าใช้จ่ายในการปฎิบัติการของ OHP นี่เอาเรื่องแม้ประสิทธิภาพน่าประทับใจมากๆ
ดังนั้นถ้าได้เรือดำน้ำจริง เรือเยอรมัน F-122 มาแหง๋ๆ 4 ลำ เพราะค่าใช้จ่ายในการปฎิบัติการต่ำกว่าและสามารถ Upgrade ได้ว่าจะเอาไปใช้ในภาระกิจอะไร รวมถึงเรือ MEKO-D ด้วย
ผมเห็นด้วยครับว่าจะตัดสินใจอะไรก็รีบๆเถอะครับ การแข่งขันเริ่มดุเดือดขึ้นเรื่อยๆแล้ว ถ้าจำเป็นก็เหมามันทุกโครงการไปเลย
กรณีไม่เอา OHP 2 ลำ ผมเกรงว่าอเมริกันอาจจะมีเคืองหรือระแวงนะครับ ซึ่งเขาน่าจะเสนอให้ SM-1MR มาด้วยแหง๋ๆ นับเป็นข้อเสนอที่ไม่ได้ให้ใครในอาเซี่ยนนี่ครับ และเป็นการเปิดทางสำหรับ SM-2 block 3 ในวันข้างหน้า หรือว่าลำบากใจเพราะจีนก็กระทุ้งสีข้างเราบ่อยเหมือนกัน ถ้าไวน่าจะรับๆ OHP 2 ลำนี้ไปก่อน เพื่อผลทางการเมืองระหว่างประเทศ ส่วนเรือเยอรมัน F-122 นั้น ถ้าสามารถจัดหาเรือดำน้ำได้จริงก็สามารถจัดหาต่อไปเลย 4 ลำเป็นตัวยืนหลัก ส่วน OHP 2 ลำก็จอดเอาไว้สำรองพร้อมรบเสมอแทนก็ได้
ส่วนฮ.ปราบเรือดำน้ำยังไงก็ต้องเร่งจัดหาอยู่ดีล่ะครับ ต่อให้ได้เรือดำน้ำมาแล้ว ยังไงก็ต้องจัดหา เพราะเรือที่ต้องการใช้มันมีหลายลำ ระหว่างวุ่นวายนี้ก็ทยอยจัดหามาเรื่อยๆสิครับ 2-4 ลำในแต่ละงวด
ดูท่าทางเสียงสนับสนุน F-122 จะเยอะเกินคาดนะ ถ้าทร.สนใจมันมากขนาดนั้น และถ้าต้องรับ OHP 2 ลำด้วยความเกรงใจอเมริกา(กันถูกมองแบบหวาดระแวง) ฮ.ปราบเรือดำน้ำก็เน้นการจัดหา Super Lynx 300 ไปอีกสัก 4 - 6 เครื่องก็ได้นี่ครับ เพราะทร.มี S-70B อยู่แล้ว 6 ลำ และราคา Lynx 300 ก็ถูกกว่าพอสมควรด้วย
ยังไงผมก็ชอบ OHP มากกว่า เพราะมันถูกออกแบบมาให้มีขีดความสามารถต่อต้านเรือดำน้ำสูงมาก แถมยังสามารถบ้าพลังในด้านการต่อต้านอากาศยานระยะไกลได้อีกด้วย สามารถ Upgrade ให้ดีเยี่ยมได้ แต่ถ้า F-122 ก็ได้ความประหยัดมากกว่า คุณภาพเยอรมัน
จัดหามันทั้ง OHP และ F-122 โดย F-122 เป็นตัวยืนหลัก เรือใหม่ก็ MEKO-D จากเยอรมัน ถ้าเรือดำน้ำก็ของเยอรมันอีก ทร.ไทยนี่แทบจะเหมาของเยอรมันมาหมดเลยนะครับ
ส่วนกรณีถ้าจำนวนเรือมันจะเยอะเกินไป ก็อาจจะปลดเรือชั้นเจ้าพระยา 2 ลำที่ไม่ได้ Upgrade ให้ไปเป็นเรือ OPV แทน รล. ตาปี รล.คีรีรัฐ ไปก่อนก็ได้นี่ครับ แล้วนำเรือ F-122 ไปประจำการทดแทน
งั้นเหมามันทั้ง OHP 2 ลำ F-122 4 ลำไปเล้ยยย............
ผมมีความเห็นว่า ด้วยสถานการณ์ในทะเลจีนใต้กำลังร้อนแรงขึ้นอย่างรวดเร็วและเริ่มมีสัญญาณการกระทบกระทั้งด้วยกำลังบ้างแล้ว เช่น การปะทะกันของกองเรือตรวจการณ์ของคู่กรณีบางคู่ ( แมม้จะไม่มีการใช้อาวุธ ใช้เพียงน้ำแรงดันสูงยิงใส่กัน หรือ เอาเรือเข้าเบียดกัน) ทำให้ไทยมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดที่ต้องเสริมสร้างกำลังทางเรือ แต่การจัดหาอาวุธใหม่ทั้งหมดต้องใช้ระยะเวลานานมากและราคาที่แพงมากเช่นกัน ดังนั้นด้วยความเหมาะสมกับสถานการณ์ งบประมาณ จำนวนอาวุธ และเงื่อนเวลา จึงต้องใช้วิธีจัดหาอาวุธผสมกันระหว่างจัดหาอาวุธใหม่จำนวนหนึ่งและจัดหาอาวุธมือสองที่ยังคงมีความทันสมัยมาใช้ ผมจึงสนับสนุนการจัดหา เรือ OHP 2 ลำจากสหรัฐ และโครงการจัดหา เรือฟริเกต F122 , เรือดำน้ำ U206 แถมควบคู่กับการทำสัญญาจัดสร้างเรือฟริเกตใหม่ 2 ลำจากเยอรมัน ครับ
ตามความเห็นของ ท่าน FatBoy....
น่าจะพอเข้าใจได้ว่า...ทั้งหมดนี้...ปัญหา อยู๋ที่...งบประมาณ...ครับ...
น่าจะเป็นด้วยข้อจำกัด การเพิ่มวงเงินงบประมาณของ ทร. ที่คงถูกจำกัดด้วย เปอร์เซ็นต์ การโตของ งบประมาณ....
ทำให้เป็นว่า...
ถ้าเลือก...เรือดำน้ำ....จะต้องชะลอ โครงการบางโครงการออกไป เช่น เรือฟริเกตมือสอง หรือ อื่น ๆ....
แต่ด้วย ความไม่ชัดเจนของ รัฐบาล และ กลาโหม ว่าจะอนุมัติ เรือดำน้ำ เมื่อไหร่แน่...
กองทัพเรือ อาจจะต้องตัดสินใจด้วยตัวเอง...
ซึ่งถ้า ทร. เลือกซื้อเรือฟริเกต มือสอง และ ทำโครงการอื่น ๆ ต่อไป...
เมื่อถึงเวลา ที่ รัฐบาล หรือ กลาโหม...ไฟเขียว เรื่อง เรือดำน้ำ...
ทร. ก็จะกลับตัวไม่ทัน...ด้วย วงเงินงบประมาณผูกพันของโครงการต่าง ๆ นั้น มันจะโตไปเรียบร้อยแล้ว...
การจัดหา เรือดำน้ำ จะทำให้เปอร์เซ็นต์ งบประมาณของ กองทัพเรือ จะเป็นสัดส่วนที่สูง....และก็จะชวดอีกเป็น ครั้งที่ 4...
เพราะมันจะกระทบต่อ ภาพรวมงบประมาณของ กระทรวงกลาโหม ทั้งหมด...
งบประมาณ ก็คงเป็นปัญหาส่วนที่สำคัญ
แต่ที่สำคัญกว่า ก็ คือ นโยบายของฝ่ายการเมืองครับ
จริงๆแล้ว ถ้า เราได้ U206a มา 6 ลำ ใน งบ 7,000 ล้าน มันก็จบไปแล้ว สำหรับเรือดำน้ำในช่วง 10 ปีข้่างหน้า หลังจากนั้นค่อยว่ากันใหม่
แล้วโครงการอื่น ๆ ก็ จะไม่สะดุดมาก ฟรีเกตสมรถนะสูงก็ชะลอออกไปก่อน เดินหน้า เรืออ่างทองลำที่สอง, ฮอประจำฟรีเกต, OPV ส่วนเรือฟรีเกตต่อต้านเรือดำน้ำ
ก็น่าจะเป็น เรือมือสอง 4 ลำ เพื่อทดแทนเรือเดิมที่กำลังจะปลดระวาง อาจจะเป็น OHP 4 ลำ หรือ เรือ F122 Bremen 4 ลำ
เทื่อทะยอยครบตามโครงการต่างๆก็มา มองฟรีเกตสมรรถนะสูงอีกรอบ(แอบเป็นarea defense นิดๆจะดีมาก)สัก 2-3 ลำ
ที่นี้ ปัญหาคือไม่อนุมัติเรือดำน้ำ มือสอง ซึ่งราคาถูกประสิทธิภาพคุ้มเกินราคา
ก็ต้องมา ซื้อเรือดำน้ำมือหนึ่ง (อย่างน้อยๆก็ 2ลำ ) หรือไม่ก็ กองเรือฟรีเกตต่อต้านเรือดำน้ำ(แปลว่าน่าจะต้องมากกว่า สองลำ) + ฮอปราบเรือดำน้ำ
แต่ทางฝ่ายการเมืองก็เลือกตัวเลือกสุดท้าย คือฟรีเกตใหม่สองลำ คือมันเหมือน อนุมัติขัดตาทัพไปกลายๆ ถ้าไม่อนุมัติอะไรเลยก็ คงมีคนไม่เห็นด้วยมากเหมือนกัน
ทีนี้มันก็เลยมีปัญหาลูกโซ่ทันที เพราะถ้าเอาเรือใหม่ไปสองลำ แล้วถ้าไม่ให้เงินแยกมาต่างหาก ให้ใช้เงินในกรอบเดิมที่เคยได้ ก็ต้องไปปิดโครงการอื่น เอาเงินมาใส่เรือใหม่ สองลำ
จากบทความนี้ ครับ...
มีข้อมูลว่า ค่าปรับสภาพใหม่ จะมีค่าใช้จ่าย อยู่ระหว่าง 40 - 80 ล้านเหรียญสหรัฐ (1,200 - 2,400 ล้านบาท)
และมีค่าใช้จ่ายใช้งานปรับระบบสั่งการประมาณ 1.1 ล้านเหรียญ ( 33 ล้านบาท)...ส่วนค่าบำรุงรักษาเรือ มีค่าใช้จ่ายประมาณปีละ 30,000 เหรียญต่อปี ( 900,000 บาท )
Having failed to produce timely defense spending bills or avoid a chaotic end to a yearlong march toward sequestration, the recently deceased 112th Congress also failed to approve a normally prosaic measure allowing the transfers of old Navy ships to friendly navies.
Failure of the transfer bill means the Navy will now need to spend millions of dollars, U.S. ship repairers won’t get a hefty dose of foreign work, and allied countries won’t have the chance — at least for now — to avail themselves of surplus Navy warships.
At issue is the Naval Vessel Transfer Act of 2012, a short, straightforward bill that lays out, by name and hull number, which ships the U.S. wants to transfer, what countries they would go to, and the terms of the transfer — loan, grant or sale. The measure long was a regular part of the annual defense authorization bills, but for the past few years has been submitted separately in order to give congressional foreign relations committees a chance to consider them.
This year’s proposal, to transfer 10 Oliver Hazard Perry-class to Mexico, Taiwan, Thailand and Turkey, was sent to Capitol Hill on June 4 and referred to the House Foreign Affairs Committee. There it languished for nearly seven months until New Year’s Eve when — only because Congress was in session to debate the so-called fiscal cliff situation — it was brought to the floor of the House for debate and a vote.
In remarks Dec. 31 to introduce the bill, Rep. Ileana Ros-Lehtinen, R-Fla., chairman of the committee, noted concerns about the deterioration in Turkish-Israeli relations. But she also commented on Turkey’s support for coalition anti-piracy and NATO operations.
Each frigate transferred, Ros-Lehtinen said, will require $40 million to $80 million in repairs and refurbishment, money spent almost entirely in the U.S. Each ship also, she added, has “the potential for millions more in follow-on services, equipment, and training.”
Without the transfers, Ros-Lehtinen said, the alternative “is to place the decommissioned ships into cold storage or have them be sunk. Navy funding is required for both the storage and the sinking option.”
The cost to inactivate each ship, according the Naval Sea Systems Command, is about $1.1 million, with annual maintenance costs of about $30,000.
Rendering the ships environmentally safe for recycling or sinking also would bring a hefty price tag.
None of the 10 ships has yet been decommissioned. The U.S. and receiving navies prefer a “hot transfer” situation, whereby the U.S. Navy decommissions its ship, walks its crew off, papers are signed, a new, non-U.S, crew walks aboard and raises the receiving nation’s flag. No inactivation costs are incurred during such a turnover.
Three of the 10 frigates, the Curts, Halyburton and Carr, are set to decommission early this year — the Curts in January, and the other two in March.
The other frigates are set to leave active U.S. service over the next two years.
No deals have been set for the ship’s transfers — they can’t be arranged until the legislation is passed and signed into law.
Approval of the transfer act does not transfer the ship — it merely means lawmakers have approved the proposed plan. The Navy, State Department and the foreign nation are then free to work out the details of the transfer. If any of the parties don’t agree, or the foreign nation decides it doesn’t want the ship, the deal doesn’t happen.
But without Congressional approval, no deal can be arranged.
The House, on Dec. 31, approved the measure by voice vote and sent it to the Senate, where it was expected to pass easily if it could be brought to the floor for a vote. But an unknown senator put a last-minute hold on the bill, effectively killing it, and the measure appears to have expired on Jan. 3, along with the 112th Congress.
While some Hill sources on Jan. 4 were unclear what the future held for the bill, others said the measure was dead. An entirely new bill would need to be submitted under the new Congress, sworn into office on the 3rd.
“These things usually are not controversial,” a Hill source said about the annual vessel transfer bills, even though negative comments are often made in debate about one country or the other.
No mention was made in the House debate about Mexico, Taiwan or Thailand. Two lawmakers expressed concerns about Turkey — one for its relations with Israel, the other for threats against Cyprus — concerns also expressed by conservative Greek organizations lobbying against the Turkish transfers.
Objections about Turkish policies are not unusual, but Turkey is a traditional U.S. ally and NATO partner which has been the recipient over the years of dozens of ex-U.S. warships, and the Turkish Navy already operates eight Perry-class frigates.
The 10 frigates included in the 2012 transfer request, the countries they would have been authorized for, with their scheduled decommission dates, are:
• Curts (FFG 38); Grant to Mexico; Jan. 25, 2013
• Halyburton (FFG 40); Grant to Turkey; March 22, 2013
• Mcclusky (FFG 41); Grant to Mexico; Fiscal year 2014
• Thach (FFG 43); Grant to Turkey; Fiscal year 2014
• Rentz (FFG 46); Grant to Thailand; Fiscal year 2014
• Vandegrift (FFG 48); Grant to Thailand; Fiscal year 2015
• Taylor (FFG 50); Sale to Taiwan; Fiscal year 2015
• Gary (FFG 51); Sale to Taiwan; Fiscal year 2015
• Carr (FFG 52); Sale to Taiwan; March 15, 2013
• Elrod (FFG 55); Sale to Taiwan; Fiscal year 2015
ทางแก้ก็คือ
1. ให้เงินงบประมาณ ฟรีเกตใหม่แยกออกมาจากโครงการอื่น แล้วโครงการอื่นก็เดินต่อไป แต่ถ้าเป็นแบบนี้บอกได้เลย 10 ปีข้างหน้ากองทัพเรือก็ยังไม่มีเรือดำน้ำ แต่อย่างอื่น อาจจะได้เกือบครบ(ไม่มีใครอยากอนุมััติโครงการที่ทำให้ตัวเองเป็นเป้านิ่ง ทางการเมืองและในสายตาสื่อ ยกเว้นจะเกิดสงครามทะเลจีนใต้ให้คนไทยได้เห็นผ่านทีวี อย่างนั้นก็คง อนุมัติไม่ยาก แต่คงไม่ทันกาล ประเทศไทยคงเป็น ผู้ชม ข้างเวทีที่ดี คงไม่มีอำนาจไปเป็นคนกลางหรือห้ามใคร) แต่อาจมีพลิกโผ ได้เรือดำน้ำก่อน 10 ปีถ้ายอมเอาเรือดำน้ำเกาหลีหรือจีน ตามคนเซ็นอนุมัติ
2. ขอดีล ฟรีเกตสมรรถนะสูง สองลำ แล้วพ่วง U206a 4 ลำที่เหลือมาด้วย แล้วไปรับ OHP 2 ลำมาด้วย ชะลอโครงการ เรืออ่างทอง และ ฮอประจำฟรีเกตออกไปก่อน เดินหน้า โครงการ OPV ต่อ เมื่อไหร่งบคล่อง ค่อยเดินโครงการอ่างทองและฮอประจำฟรีเกต อีกรอบ
3. ยุบโครงการ ทุกอย่าง ไม่จัดหาอะไรใช้เท่าที่มี แล้วดันเรือดำน้ำอีกรอบ
ส่วนตัว ผมว่า ข้อสอง แล้วรัฐบาล ให้งบประมาณเพิ่ม ดูจะเหมาะสมที่สุด หรือไม่ก็ เป็นข้อหนึ่ง แล้วอนุมัติเรือดำน้ำ U209 หรือ U214 เกาหลี มาให้กองทัพเรือใช้ฝึกไปพลางๆก่อน จะได้วินๆกันทั้งสองฝ่าย
ทะเลจีนใต้ก็เดือดขึ้นทุกวัน แถม ถ้ารอบนี้ปฎิเสธ OHP แล้วเมื่อไหร่จะมี standard missile ใช้กับเขาสักรุ่น ไม่แคล้วต้องเสียเงินมากมายเปลี่ยนระบบไปซื้อ aster30 อีก
ประเทศไทยเรา ให้ความสำคัญกับ สมุทรานุภาพ น้อยมาก ประชาชนส่วนใหญ่ก็เป็นคนบก ไม่ใช่ชาวทะเล ดังนั้น สำหรับกองทัพเรือ ถือว่าน่าเห็นใจมาก
จากที่อ่านความเห็นของแต่ละท่านผมว่าพอจับใจความได้สั้นๆว่า เรื่องทั้งหมดที่จะทำให้ ทร.ชวดทั้งเรือเก่าเรือใหม่คือ ความไม่แน่นอนของการอนุมัติงบประมาณในการจัดหา และความไม่แน่นอนของรัฐบาลที่จะสนับสนุนการจัดหาโครงการใดก่อนของ ทร. รวมไปถึงความเห็นที่แตกต่างใน ทร. เองด้วยถ้าสถานการณ์รอบบ้านเป็นแบบนี้ รัฐบาลและ ทร. ต้องเลือกแล้วล่ะครับว่าจะอนุมัติในการจัดหาแบบใดก่อน จะเป็นแพคเกจหรือโครงเดี่ยวก็ต้องรีบมัวแตเงื้อง่าราคาแพงอยู่แบบนี้ เหมือนรอให้เขาเอาปืนมาจ่อหัวแล้วค่อยหาที่กำบัง มันจะสายไปไหม
ขอบคุณ คุณจูดาสที่ค้นมาให้ครับ
ผมอ่านดูแล้ว เหมือนกับว่า ถ้า เขา ส่งเรือมาให้เรา จะมีค่า refurbish ประมาณ 1,200 - 2,400 บาทต่อลำ ซึ่งเราต้องจ่ายและเป็นเงินรายได้เข้าอเมริกา และนอกจากนั้น อเมริกันยังมีรายได้เพิ่มจากการจำหน่ายอาวุธ ฝึกสอน และเซอร์วิส ถ้าเขาโอนเรือ สิบ ลำ นี้ให้กับต่างประเทศ
แต่ถ้าไม่โอนให้ อเมริกาจะต้องเสีย ค่าปลดประจำการเรือ(จาการแกะระบบอำนวยการรบ) ลำละ 33 ล้านบาท x 10 ลำ = 330 ล้านบาท ไม่ว่าจะจมเรือหรือเก็บเรือไว้เฉยๆ และถ้าเห็บไว้เฉยๆจะต้องเสียค่ารักษาสภาพ ปีละ 900,000 บาทต่อลำ x 10 ลำ = 9 ล้านบาทต่อปี
ที่ผมเคยคุณจูดาสเอามาโพสนานมาแล้ว จะเป็นค่า operate cost หรือค่าปฎิบัติงานต่อปี ของ OHP ของอเมริกา ไม่ทราบว่า มีค่าปฎิบัติงาน ของเรือ ชั้น knox ไหมครับ เพราะมีหลายท่านเหมือนกันที่กังวล ว่าค่าปฏิบัติงานต่อปี ของเรือชั้น OHP จะสูงกว่า ชั้น knox มาก แต่คนที่ทราบดีที่สุดก็คงจะเป็นกองทัพเรือไทยของเราแหละครับ แล้วค่อยเทียบกับของ OHP จากต่างประเทศ
อ้อเกือบไปครับ ถ้าในบทความบอกว่าอเมริกันจะมีรายได้เพิ่ม จากการจำหน่ายอาวุธ
ผมเดาเอาเองนะครับว่า ไทยก็น่าจะมีโอกาสที่จะได้รับ MK13 มาด้วย และอาวุธที่จะเซอร์วิส+จำหน่าย น่าจะเป็น อัพเกรด MK13+SM2blockIII
ถูกผิดอย่างไร ก็เป็นแค่การคาดการณ์ส่วนตัว ของผมเอง จากบทสัมภาษณ์นะครับ
ผมว่า ที่ท่าน ccguy แปล น่าจะถูกต้องครับ...เพราะผมก็ใช้ กูเกิ้ล แปลเอา...อ่านแล้วก็ งง ๆ...เลยสรุปเอาเองครับ...
สำหรับเรื่องงบประมาณ มีแนวคิดเดียวกันครับ...เดี๋ยวพรุ่งนี้ วันเสาร์ ผมจะนำเสนอในแนวคิดเหมือนกับท่านครับ...และใส่ แนวคิดส่วนตัวไปด้วย...เพื่อให้เห็นคร่าว ๆ ถึง งบประมาณของ กองทัพเรือ ในอีก 10 ปีข้างหน้า จะมีมูลค่างบประมาณ ประมาณใด ครับ...
ถ้ารวมเรื่องเพดานงบประมาณสำหรับทร.ที่ตันด้วยแล้ว แสดงว่าโครงการเรือฟรีเกตต่อใหม่ MEKO-D หรือ MEKO-A คงต้องพ่วงงบการจัดหาเรือดำน้ำ type 206A ที่เหลือ 4 ลำมาด้วยแน่ๆ เพราะต้องใช้งบอีกประมาณ 5,000 ล้าน สำหรับเรือดำน้ำ 4 ลำ (ใช้งาน 2 เป็นอะไหล่ 2)
5,000 ล้านบาทนี้ื จะแบ่งเค็กอย่างไรให้ลงตัว จะจัดหา OHP 2 ลำ ทำการซ่อมคืนสภาพ มีค่าใช้จ้าย 1200-2400 ล้านบาท ถ้าซ่อมคืนสภาพเต็มที่ ซึ่งก็น่าจะได้ทั้งฟาลังก์ หรือ sea RAM และได้ทั้ง SM-1MR อาจจะมีแถมการปรับปรุง MK-92 ให้รองรับ ESSM ได้แบบตุรกี ก็ต้องใช้เงินอีกราวๆ 5,000 ล้านพอดี ถ้ายื่นจัดหาเรือ MEKO พร้อม type 206A แล้วไม่ผ่าน แต่ตนเองปฎิเสธรับมอบ OHP 2 ลำไปแล้ว จ๋อยยยยยย.......สนิท ชวดฟรีเกตของดีไปแถมอดเรือดำน้ำด้วย
ครั้นเมื่อจะไม่เข็นโครงการ MEKO พ่วงเรือดำน้ำ type 206A แล้วตัดใจไปเอา OHP 2 ลำมากันเหนียว ถ้าเกิดรัฐบาลกล้าให้ผ่านขึ้นมา ก็ใบ้รับประทานอีก เพราะเรือดำน้ำสำคัญกว่า จริงๆแล้วก็สำคัญที่สุดน่ะแหล่ะสำหรับเวลานี้ จ๋อยยย....สนิทอีก แต่ดีลนี้อย่างน้อยก็ได้เรือฟรีเกตขั้นดีมานะครับ 2 ลำ แถมซ่อมคืนสภาพมาดีด้วย
ส่วน F-122 นั้น ตอนนี้ยังไม่ได้ปลดประจำการนะครับ อีก 2-3 ปี ถึงจะทยอยปลด เพราะทร.เยอรมันกำลังต่อ F-125 ที่จะเข้ามาทดแทนอยู่ ยังไม่มีการส่งมอบเรือ F-125 ครับ จะทยอยปลดตั้งแต่ปี 2016 เป็นต้นไป ดังนั้นเรื่อง F-122 รอได้ครับ
OHP 2 ลำ จะต้องให้คำตอบเขาในปีหน้านี้แล้ว.........
ส่วน ฮ. Lynx 300 คงต้องรอจบดีล OHP 2 ลำ หรือ MEKO+type 206A ลุ้นก่อน
ยกเว้นสามารถขยายเพดานงบประมาณในส่วนของทร.ให้มากขึ้น ด้วยการไปลดเพดานของเหล่าอื่นๆลงมา งานนี้คงต้องพึ่งพลังของผบ.ทร.และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของทร.แล้วล่ะครับ ว่าจะสวมหัวใจนักขายพูดกล่อมให้กลาโหมเพิ่มเพดานให้ทร.ได้อีกหรือไม่ เพื่อจะได้สอยทั้ง OHP และ type 206A มาทั้งสองดีลพร้อมกันได้
ปัญหาของทร. ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ส่วนหนึ่งเป็นดังที่เพื่อนสมาชิกกล่าวครับ ไม่หนีจากที่วิเคราะห์กันเท่าใด งบประมาณและความไม่แน่นอนของการตัดสินใจอนุมัติโครงการเป็นเหคุผลต้นๆครับ ส่วนตัวแปรอื่นๆ คือสถานการณ์ทางการเมือง มักเกิดเปลี่ยนแปลงอำนาจบ่อยครั้ง ในช่วงที่ทร.มีโครงการจัดหายุทโธปกรณ์หลัก จึงเกิดความไม่แน่นนอนเสมอ และสำคัญที่สุดคือ เรือรบ ไม่เหมือนรถถัง เครื่องบินรบ เรือรบเป็นอะไรที่เหนือกว่าคำว่ายุทโธปกรณ์ การจะจัดหาหรือต่อเรือรบซักลำ เปรียบเสมือนการสร้างโรงงานสร้างบริษัท มีข้อมูลให้ ทร.เลือกมากมาย การตัดสินใจเลือกที่จะต่อเรือหรือจะลงมือปรับปรุงเรือ ทร.คิดหลายแง่ จึงเป็นสิ่งบางครั้งอาจดูช้า ไม่ทันใจครับ
............................................................................
ตอบ คุณ Juldas ครับ
" พรบ.งบประมาณปี 2556 มันจะมีงบประมาณอยู่ 2 วงเงิน คือ 2,750 ล้านบาท กับ 2,200 ล้านบาท "
เท่าที่ทราบ วงเงินแรก 2,750 คือ โครงการปรับปรุงเรือล่าทำลายทุ่นระเบิดใกล้ฝั่ง ชุด ร.ล. บางระจัน ครับ ส่วน 2,200 ถ้าจำไม่ผิดคือ โครงการจัดหา ฮ.ประจำเรือฟริเกต
แต่เข้าใจว่าถูกชะลอโครงการออกไป ( ไม่แน่ใจครับ ) แต่งบปี 2556 มีโครงการหลักๆ เริ่มใหม่ เพียง 2 โครงการครับ คือ โครงการปรับปรุงเรือฟริเกต ชุดนเรศวร ระยะที่ 3 กับโครงการจัดหาเรือ ตกป.
แท่นยิงMk-13 นั้น ผมเดาเอาว่าน่าจะสามารถใช้ยิง SM-2 block 2/3 ได้ เพราะดีลของทร.ออสซี่มันฟ้องว่าสามารถยิงได้ครับ
แต่ระบบอำนวยการรบและเรด้าร์ Mk-92 แบบเดิมนั้นไม่รองรับจรวด SM-2 MR ทั้ง Block2 และ Block 3 ครับ เพราะ SM-2 MR ถูกออกแบบมาสำหรับระบบอำนวยการรบ NTU และ AEGIS เท่านั้น ดังนั้นถ้าจะให้มันยิง SM-2 block 2 / 3 ได้ คงต้องปรับปรุงที่ระบบอำนวยการรบและเรด้าร์ Mk-92 แบบที่ทร.ตุรกีทำในโปรเจค G class น่ะแหล่ะครับ เรนเทียร์รับ Upgrade ให้ ซึ่งเมื่อทำการ Upgrade แล้วจะสามารถป้อนข้อมูลและควบคุม SM-2 block 2 ได้ด้วย (ส่วน block 3 นั้นไม่แน่ใจครับ เพราะ ตุรกีใช้ SM-1 MR รุ่นสุดท้ายหรือ RIM 66E) และยังสามารถควบคุม ESSM ได้ด้วย ซึ่ง mk-92 เดิมทำไม่ได้
มิน่า ราคาการปรับปรุงคืนสภาพจึงไม่เท่ากัน แล้วแต่ว่าเราจะเอาดีแค่ไหนด้วย
ทร.ลองวิ่งเต้นอีกรอบสิครับ เพื่อผลักดันให้สามารถจัดหา OHP 2 ลำได้ทันที โดยยังสามารถยื่นเรื่องลุ้น type 206A 4 ลำที่เหลือด้วยเลยในคราวเดียวกัน เอาเรื่อง 3 จังหวัดชายแดนและทะเลจีนใต้มาหว่านล้อมว่ารัฐบาลจะมีผลเสียอย่างไร เพราะถ้าได้ 2 โครงการนี้พร้อมกันจะเป็นผลดีต่ออำนาจต่อรองได้ขนาดไหน ส่วน type 206A ถ้ายังไม่ผ่านอีก ก็โยกงบไปจัดหา ฮ.ปราบเรือดำน้ำ Lynx 300 ได้สัก 4 ลำทันทีครับ
F-122 และ เรือ LPD คงต้องรออย่างเดียวแล้วล่ะครับ
Type-206A เข้าใจว่าไม่น่าจะจัดหาได้แล้วครับ โอกาสเกิดในทร.ยากครับ ถ้าทร.จะได้รับการอนุมัติจัดหาเรือดำน้ำ คงต้องเป็นเรือดำน้ำใหม่
ในส่วนของฮ. ประจำเรือฟริเกต ปัจจุบันทร.ต้องการเพิ่มอีกเพียง 2 ลำ ครับ ( ตามแผนปัจจุบัน )
เรือชั้น OHP ทร.ต้องตัดสินใจ และบอกรัฐบาลครับว่าจะเอาหรือไม่เอา โอกาสเกิดในทร. มีเปอร์เซ็นต์สูง แต่สิ่งสำคัญ คือกระแสสังคมครับ ถ้าจัดหามาเงียบๆแบบกรณืเรือฟริเกตชั้น Knox โอกาสที่จะประจำการในทร. สูงมาก ส่วนที่ผมกล่าวว่าไม่แน่ว่า OHP จะเกิด นั้นผมหมายถึงตอนนี้ ตลาดเป็นของผู้ซื้อครับ มีตัวเลือกมากกมาย ที่สำคัญหากทร.เลือก F122 จะคุ้มค่ากว่ามาก แต่เกรงเหมือนกันกันว่า ยุทโธปกรณ์เยอรมันเกิดยากในกองทัพไทยในปัจจุบันครับ
แต่ดังที่กล่าวข้างต้น ทร.มีโครงการผูกพันมาก รวมถึงโครงการเริ่มใหม่ที่มีความสำคัญกว่า แต่ส่วนตัวเชื่อครับ ว่าถ้าหาก OHP จะประจำการในทร. จะมาในรูปแบบคล้ายกรณี เรือชั้น Knox เพราะอย่างไรเสีย หากทร.เลือก OHP ทั้ง 2 ลำ โอกาสที่ทร.จะติดตั้ง MK-41 แทบไม่มีครับ ยิ่งจะหวังให้ติด MK-13 กลับเข้าไป ยิ่งมีโอกาสน้อยมากๆ และ SM-2 Block2/3 ไม่มีในแผนครับ แผนของ ทร. คือฝากความหวังการป้องกันภัยทางอากาศระยะไกลกับทอ. ครับ โดยทร.จะเน้นการป้องกันเป็นจุดเป็นพื้นที่เท่านั้น
Mk.13 ปกติจะยิงได้แค่ SM-1MR ครับ ดีลของออสเตรเลีย ปรับปรุง Mk.13 เสียวิจัยรวมติดตั้ง 20 mUSD/4 ลำ
ทำให้ Mk.13 สามารถยิง SM-2MR ได้ แท่นยิงปกติของ SM-2MR คือ Mk.26
ส่วนระบบอำนวยการยิงก็ต้องอัพใหม่เป็น Mk.92 FCS สามารถรับรองการใช้ ESSM ได้
เพราะเรือชั้น Adelaide ก็ใช้ Mk.41 8 cell ESSM เหมือนกันครับ
ข้อมูลเรือชั้น Adelaide http://en.wikipedia.org/wiki/Adelaide_class_frigate
อันนี้คลิปยิง SM-2MR จาก Mk.13 ของเรือชั้น Adelaide สัังเกตุด้านหน้ามี Mk.41 8 cell for ESSM
ลองจัดทำ ประมาณการ งบประมาณ ทร. ครับ...
ในเงื่อนไข จัดหาเสริมสร้างอาวุธ ตามโครงการพัฒนากองทัพแผน 10 ปี
1. จัดหา เรือ LPD ชั้น อ่างทอง เพิ่มอีก 1 ลำ ครบตามจำนวน
2. จัดหา เรือ OPV ชั้น กระบี่ เพิ่มอีก 3 ลำ ครบตามจำนวน
3. จัดหา ฮ.ประจำเรือฟริเกต เพิ่มอีก 4 ลำ ครบตามจำนวน
4. จัดหา เรือฟริเกตสมรรถนะสูง จำนวน 2 ลำ ครบตามจำนวน
5. จัดหา เรือดำน้ำ จำนวน 2 ลำ ครบตามจำนวน
จัดหาเสริมสร้างอาวุธ ตามแผนต่อเนื่อง
1. จัดหา เรือตรวจการณ์ปืน เพิ่มอีก 2 ลำ ครบตามจำนวน
2. จัดหา เรือฟริเกตมือสอง จำนวน 2 ลำ ทดแทนเรือเก่าปลดระวาง
3. จัดหา ฮ.MH-60S จำนวน 4 ลำ ครบตามแผนการจัดหาฝูงบิน ร.ล.จักรีฯ
เป็นตัวเลข ประมาณ และ ใช้สมมิตฐาน ส่วนตัว นะครับ...อย่าไป ยึดถือ เป็นหลักการ...แค่ทำให้มองเห็นภาพคร่าว ๆ เพื่อจะหาจุดทำความเข้าใจกันครับ
ข้อ 1. ตามที่ท่าน ccguy ออกความเห็นไว้ครับว่า...การจัดหา เรือฟริเกตสมรรถนะสูง และ เรือดำน้ำ ควรเป็นงบนอก กรอบงบประมาณประจำปีของ กองทัพเรือ...เหมือนกับ กองทัพอากาศ จัดหา กริพเพน ครับ...
และการชะลอโครงการอื่น เพื่อจะทำการจัดหาเรือฟริเกตสมรรถนะสูงในปีนี้ ควรจะเป็นเพียงวิธีการ ยืดหยุ่น งบประมาณเพื่อการจัดหา เท่านั้น...ไม่ควร เบียด งบประมาณเสริมสร้างเดิมตามแผนปี 2555 และ 2556
2. กองทัพเรือ ขอจัดเป็น งบพิเศษ เพื่อดำเนินการเป็นระยะเวลา ประมาณ 10 ปี ที่ บวกเพิ่ม จากงบประมาณปกติของ กองทัพเรือ เมื่อรวมมูลค่าโครงการเรือฟริเกตสมรรถนะสูง และ เรือดำน้ำ จะมีมูลค่าโครงการ ประมาณ 63,000 ล้านบาท ถัวเฉลี่ย บวกเพิ่มงบประมาณปีละประมาณ 6,000 - 8,000 ล้านบาท ต่อ ปี
จะทำให้ งบประมาณประจำปีของ ทร. จะอยู่ช่วงระหว่าง 40,000 ล้านบาท ต่อ ปี
แผ่นภาพ อธิบายตามความเห็นข้างต้น ครับ
3. หลังปี 2560 งบประมาณของ ทร. จะมีแนวโน้มลดลง แม้จะมีการจัดหาเรือดำน้ำ...และ กองทัพเรือ จะเสร็จสิ้นโครงการใหญ่ ไปอีกกว่า 20 ปี...
รวมถึง กองทัพเรือ จะมี กรอบประมาณอยู่ระหว่าง 35,000 - 40,000 ล้านบาท ต่อ ปี เป็นกรอบงบประมาณปกติ...ก็จะทำให้มีวงเงินงบประมาณจัดหาอาวุธตามแผน ได้อย่างต่อเนื่อง...และถ้า ทร. จะจัดหา เรือฟริเกตใหม่ หรือ เรือดำน้ำ เพิ่มเติม ก็น่าจะมีความสามารถจัดหาด้วยงบประมาณประจำปีปกติ...ไม่ต้องของบประมาณพิเศษ เพิ่มเติม...
โห คุณJudas ข้อมูลละเอียดมาก ถ้าคนนอกTFCมาอ่านคงเข้าใจว่าคุณJudas ทำงานสำนักงบประมาณ หรือไม่ก็คงเป็นใหญ่ในกองทัพเรือนะครับ อ่านข้อมูลแล้วรู้สึกอึดอัดแทนกองทัพเรือกับงบประมาณที่มีจำกัดเทัยบกับภาระที่ต้องแบกรับ แถมยังต้องสู้กับแรงต้านจากภายนอกกองทัพ เห็นแล้วเหนื่อยแทน ถ้าการจัดสรรงบประมาณเป็นตามที่คูณJudasคิดไว้ ปัญหาที่เหลือก็คงเป็นที่รัฐบาลจะเป็นชุดนี้หรือชุดต่อไปว่าจะจริงใจกับกองทัพเรือแค่ไหน ผมคิดว่า ถ้าได้เรือดำนำ้แค่2ลำ จะแก้ปัญหาการจัดกำลังทางเรือได้มากเลยครับ
พอดีผมทำเกี่ยวกับ บัญชี น่ะครับ...ท่าน RAF...
ซึ่ง ข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ ก็มีข้อมูลเปิดเผยโดยทั่วไป ครับ...เพียงแต่ เราต้องศึกษาและนำข้อมูฃมา ประกบ ข้อมูล กันครับ...(ก็เอามาจาก เว๊ปไซด์สำนักงบประมาณแหล่ะครับ)
และคิดว่า คงไม่น่าจะเป็นความลับอะไร...เพราะ กองทัพ ก็มีข่าวประกาศการจัดหา อยู่แล้ว ครับ...และเราก็ทราบข้อมูลมูลค่าโครงการอยู่แล้วครับ...
และข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้ ก็เป็นไปตาม หลักกลุ่ม AEC น่ะครับ...ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด...มีการเปิดเผย ตามสมควร เพื่อลดความระแวง ระหว่างกัน ครับ...
เพียงแต่ ผมไม่เก่ง ภาษาอังกฤษ น่ะครับ...เลย ยังไม่ได้ไปดูของประเทศเพื่อนบ้านอื่น ๆ....
อย่างเช่น ฟิลิปปินส์ ที่เว๊ป Timawa ก็มีการเปิดเผย มูลค่าโครงการต่าง ๆ ที่ กองทัพฟิลิปปินส์ มีการดำเนินการครับ...ซึ่งดูแล้ว...ก็ต้องยอมรับว่า ฟิลิปปินส์ เขาก็เก่งในเรื่อง การซ่อมบำรุงอาวุธต่าง ๆ ไม่เบาเหมือนกัน...จึงยังเห็นอาวุธ สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และ สมัยเกาหลี สมัยเวียดนาม...ยังใช้งานได้ในปัจจุบัน...
และดูเหมือน พม่า เอง ก็มีการ เปิดเผย การพัฒนากองทัพมากขึ้น...ซึ่ง ก็เป็น ปกติ ที่ทุกประเทศ ก็ล้วนต้องป้องกันตนเอง เพื่อให้ ทัดเทียม เพื่อนบ้าน ครับ...
ซึ่งตามรายละเอียดงบประมาณปี 2555 และ 2556
ทร. มีการของบประมาณ ตามข้อมูลที่ท่าน FatBoy ให้ความเห็นไว้ ครับ...
คือ มี โครงการปรับปรุงยืดอายุใช้งาน และ เพิ่มประสิทธิภาพ เรือชั้น บางระจัน และ การจัดหา ฮ. ประจำเรือ ฟริเกต....
มี งบประมาณ 2,750 และ 2,200 ล้านบาท ตามลำดับ....
แต่เมื่อปลายปี มีข่าวว่า รัฐบาล และ กลาโหม ไฟเขียว ให้จัดหา เรือฟริเกตสมรรถนะสูง ก่อน...และอนุมัติ ให้ใช้ งบประมาณปี 2555 - 2559 สำหรับ เรือลำที่ 1...
แต่ด้วยในปี งบประะมาณ 2555 และ 2556 ยังไม่มีการตั้งงบประมาณ เรือฟริเกตสรรถนะสูง แต่อย่างใด...
ดังนั้น ทร. ก็คงต้องขะลอ โครงการที่ยังไม่ได้จัดหา หรือ ทำสัญญา...เพื่อนำ งบประมาณของ 2 ปี ดังกลาว...มาใช้ในการจัดหา เรือฟริเกตสมรรถนะสูง ลำที่ 1 ก่อน...
แต่ งบประมาณเรือฟริเกตสมรรถนะสูง ลำที่ 1...คงจะปรากฎ และ เกิดในปี 2557...
ดังนั้น โครงการที่ ชะลอไว้ก่อน...ก็ควร น่าจะได้ดำเนินการต่อไป ในปี 2557 หรือ ในปีต่อ ๆ ไป...ถ้าเกิด ในปีงบประมาณ 2557...รัฐบาล มีข้อจำกัดในเรื่องงบประมาณ...
ถ้าดูจาก ตารางของคุณจูดาสนะครับ
ถ้าแยกโครงการฟรีเกตสมรรถนะสูงกับเรือดำน้ำออกจากโครงการอื่น จะมีทางเลือกสองแบบ
1. รัฐบาลให้เงินเพิ่มสำหรับฟรีเกตสมรรถนะสูงและเรือดำน้ำ แปลว่าโครงอื่นๆดำเนินการต่อไปได้ไม่สะดุด และกองทัพเรือจะเริ่มจัดหาฟรีเกตสมรรถนะสูง
(บวกเรือดำน้ำ ในกรณีที่ได้รับอนุมัติเพิ่มด้วยนะครับ)ได้ในปีงบประมาณ 57 ได้เลย
2. ไม่ได้รับเงินงบประมาณเพิ่ม แต่อนุมัติให้จัดหาฟรีเกตสมรรถนะสูงมาแล้ว จึงต้องเลือก
2.1 จัดหาฟรีเกตสมรรถนะสูงต่อไปตามที่ได้รับอนุมัติ แล้วโยกงบในอนาคต ของโครงการที่จะเริ่ม ในปีงบ 57 เป็นต้นไป เอามาลงจัดหาฟรีเกตสมรรถนะสูง 2 ลำนี้ก่อน
ข้อดีคือ ได้เรือฟรีเกตสมรรถนะสูงเร็วเหมือนข้อ1. แต่โครงการที่โดนโยกงบ ก็จะเริ่มต้นช้าออกไปอีกสามถึงสี่ปี ทำให้กว่าจะปิดโครงการได้ก็อีก
เจ็ดถึงแปดปีต่อจากนี้ (นี่ยังไม่ได้เรือดำน้ำมานะครับ)
2.2 ดีเลย์โครงการฟรีเกตสมรรถนะสูงออกไปสักหนึ่งปี แล้วรอความหวังที่งบประมาณเพิ่ม และลองเสี่ยงยื่นขออนุมัติโครงการใหม่ ในปี57 ถ้าได้รับอนุมัติโครงการใหม่
และได้งบเพิ่มสำหรับฟรีเกตสมรรถนะสูงก็หมดปัญหา แต่ถ้าไม่ได้งบเพิ่มก็มาเลือกเอาว่า จะเทงบให้โครงการไหน
แต่ปัญหาที่สำคัญของงบประมาณคือ ได้มาแล้วต้องใช้ในปีนั้นๆถ้าใช้ไม่หมดต้องส่งคืนคลังแล้วเบิกจ่ายงบใหม่ในปีต่อไป ทีนี้เวลากรอบการอนุมัติงบประมาณของฟรีเกตสมรรถนะสูง มันก็กำหนดระยะเวลาของปีงบประมาณไว้แล้ว การดีเลย์ออกไปอาจจะทำให้โยกงบได้ไม่ทันงวดการส่งมอบงานและการเบิกจ่าย ก็จะมีปัญหาตามมาได้
แต่ที่สำคัญ ที่สุดคือการอนุมัติฟรีเกตสมรรถนะสูงก่อนเรือดำน้ำ แล้วถ้าไม่ให้งงบเพิ่ม การเริ่มจัดหาเรือดำน้ำอาจจะต้องรอออกไปหลังปี65
ถ้ากองทัพเรือ เรียงลำดับเป็น 1.ฟรีเกตสมรรถนะสูง 2.โครงการอื่นๆที่ยังไม่ได้เริ่ม 3.เรือดำน้ำ
การแก้ปัญหาคือ ต้องอนุมัติ งบประมาณแยกส่วน ของฟรีเกตสมรรถนะสูงและเรือดำน้ำออกไปจากงบประมาณประจำปีปรกติ หรือเพิ่มสัดส่วนงบประมาณกลาโหมในปีงบประมาณหน้าและเพิ่มเปอร์เซ็นงบประมาณกองทัพเรือเป็นการชั่วคราวจนกว่าการจัดหาเรือฟรีเกตสมรรถนะสูงและเรือดำน้ำจะแล้วเสร็จครับ ส่วนกองทัพเรือเองคงจะต้องหาทางตกลงเรื่องเรือดำน้ำกับกลาโหมให้ได้เร็วที่สุด ตัวผมเองเชียร์เรือจากเยอรมัน แต่ถ้าจะวินๆกับกลาโหมเปลี่ยนเป็นเรือเกาหลีไปก่อนได้ก็จะเร็วเพราะมันคือเรือเยอรมันนั่นแหละ แต่การถ่ายทอดเทคนิคการรบจริงคงไม่เหมือนต้นตำรับ หรืออย่างไม่ได้จริงๆรัฐบาลถังแตกจะบาร์เตอร์เทรดก็ไปแลกชั้นกิโลมาจากรัฐเซียให้กองทัพเรือใช้ไปก่อนก็ยังดีแต่มันก็ลำบากใจที่ เวียดนามและจีน อินเดีย เขา ก็รู้เทคนิคเรือรุ่นดีพอสมควรเลย ดังนั้น สำหรับไทยน่าจะเป็น เรือรุ่น U214 หรือไม่ก็ U212 เพราะ U209 ระยะตรวจจับที่อินเดียทดลองก็เหมือนจะแพ้ เรือดำน้ำชั้น กิโล ส่วน U206a ส่วนตัวแล้วคิดว่าคงหมดหวังแล้วกับประเทศไทยตามที่คุณFatboy กล่าวมาครับ ยกเว้นจะจัดหา U214 จากเยอรมันภายใน 1-2 ปีแล้วเขาแถมมา ซึ่งโอกาสคงยากมากครับ
แต่สิ่งที่ ทร. ดำเนินการชะลอ โครงการทัง 2 ดังกล่าว และนำมาใช้ในโครงการเรือฟริเกต ลำที่ 1 ก่อน ในปีนี้ นั้น...มันจะหมายถึงว่า ทร. ใช้งบประมาณตัวเอง ในการดำเนินการ...
ซึ่ง รัฐบาล ควรจะสนับสนุน งบประมาณพิเศษ แยกต่างหาก สำหรับการจัดหา เรือฟริเกตสมรรถนะสูง จำนวน 2 ลำ ดังกล่าว แล้วบวกเพิ่มเข้าไปให้ กองทัพเรือ...
จะได้ไม่กระทบแผนการพัฒนากองทัพเรือในโครงการอื่น ๆ...
ซึ่ง ผมคิดว่า ความรุนแรง ในทะเลจีนใต้...น่าจะเริ่มเกิด ในเร็ว ๆ นี้ ครับ...เพราะ ผมเชื่อว่า...ถ้า จีน แสดงจุดยืนอย่างแข็งขัน ในเรื่องหมู่เกาะที่มีความขัดแย้ง ต่าง ๆ...
จีน คงไม่รอให้ คู่กรณี มีความเช้มแข็งทางทะเล เกิดขึ้นก่อน...จีน น่าจะลงมือก่อน ที่ ฟิลิปปินส์ จะมีเรือรบใหม่เพิ่ม...หรือ เวียดนาม จะมีความพร้อมรบของ เรือดำน้ำ....
ผมถึง เคยได้ให้ ความเห็นไว้ว่า...กองทัพเรือ อาจจะได้เรือรบ หรือ เรือดำน้ำ มา ไม่ทันใช้ ครับ...ซึ่งมีบทเรียนในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาอยู่เสมอ และดูถ้าจะเป็นอยู่ต่อไป เช่น สมัย ร.ศ.112 และ การจัดหา เรือลาดตระเวณเบา ชั้น นเรศวร...
ดังนั้น...ผมว่า รัฐบาล ควรจะต้องหันมาดู กองกำลังทางเรือ และให้ความสำคัญ ได้แล้วครับ...ผมว่า ช้าไปกว่านี้ คงไม่ดีแน่ครับ...
คุณJuldas ครับ วงเงิน 810 ล้านบาท คือ โครงการปรับปรุงเรือ ฟก. ชุด ร.ล. นเรศวร ระยะที่ 3 ครับ
ทางของมาเลเซียที่เค้ามีนี่ meko - A ใช่มั้ยครับ (เน้นป้องกันภัยทางอากาศมากกว่า? ตามโพสท์คุณนีโอ?) แต่ meko - D นี่เอนกประสงค์กว่าไม่ทราบเข้าใจถูกต้องไหมครับ?
ขอบคุณครับท่าน FatBoy.... สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม....
เมื่อลองจัดทำแผ่นภาพใหม่...และอธิบายความเพิ่มเติม...
กองทัพเรือ ควรจะให้ รัฐบาล ตัดสินใจสนับสนุนในกรอบงบประมาณ อย่างต่อเนื่อง อย่างน้อย 6 - 10 ปี....ไม่วงเงินงบประมาณ ไม่ควรจะต่ำกว่า 40,000 - 41,000 ล้านบาท...
ไม่เช่นนั้น...รัฐบาล เอง จะเกิดการถูก มะรุ้มมะตุ้ม งบประมาณ ในอนาคต...เนื่องจาก อาวุธหมดอายุใช้งาน ของทุกเหล่าทัพ...ในขณะที่ ความรุนแรง ทั้ง ทะเลจีนใต้ และ/หรือ ทะเลญี่ปุ่น จะส่อการเกิดสงคราม กระทบกระทั่ง มากขึ้น...แต่ศักยภาพของ ไทย จะเพียงพอต่อการคุ้มครอง ความปลอดภัย ในการเดินเรือของ นานาชาติ เพียงใด ? ในขณะที่ ไทย เอง กำลังจะเป็น เสมือน ศูนย์กลางการขนส่ง และ คมนาคม...
การวางกำลังทางเรือของ สหรัฐ ในสิงคโปร์ และ อาจจะรวมถึง ฟิลิปปินส์ ที่มากขึ้น...
ความไม่วางใจของ จีน ต่อผลประโยชน์ของจีน ในทะเลจีนใต้ จะผลักดัน ให้เกิดการตั้ง ฐานทัพเรือจีน ใน กัมพูชา...
การที่ อินเดีย จะแสดงบทบาท ในทะเลจีนใต้ มากขึ้น เพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของอินเดีย ใน ทะเลจีนใต้...
และแนวโน้ม อาจจะเกิดความ สมยอม ของ กัมพูชา เพื่อให้ได้รับการสนับสนุนจากจีน ผ่าน ยูเครน...ในแง่งบประมาณทหาร ผ่าน การจัดซื้อสินค้าเกษตรของ กัมพูชา...จากเหตุความขัดแย้ง กรณี เขาพระวิหาร....ซึ่งจะนำไปสู่ แรงกดดันของ จีน ต่อ กัมพูชา ในการตั้งฐานทัพเรือ...
ในโครงการใหญ่ ๆ ที่จะมีผลต่อการเพิ่มขึ้นของ งบประมาณ กลาโหม...ก็จะมาจาก ของ กองทัพเรือ และ กองทัพอากาศ...ทีในการจัดหา แต่ละครั้ง มีความจำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมาก...
ซึ่งในส่วนของ กองทัพเรือ ถ้ารัฐบาล สนับสนุนและเห็นเป็นสำคัญ...เปอร์เซ็นต์ การโตของ งบประมาณ กลาโหม มันจะโต เพียงปีแรก ของโครงการสนับสนุน...และหลังจากนั้น จะเป็นงบประมาณที่ สม่ำเสมอ...ซึ่ง กองทัพเรือ ก็จะสามารถแก้ปัญหาได้อย่างต่อเนื่อง และเพียงพอ...โดยหลังจากนั้น เมื่อ กองทัพเรือ จัดหาได้ครบตามโครงการนี้เสร็จสิ้น...
ผมคิดว่า...กองทัพเรือ จะสามารถทะยอย จัดหา และ ทดแทน เรือเก่า หรือ จัดหา อาวุธใหม่ ๆ ได้ อย่างต่อเนื่อง...โดยอาจจะไม่เกิดการโตของ งบประมาณอีก...
จากแผ่นภาพ จะเห็นว่า กองทัพอากาศ ในช่วงระยะเวลาอีก 10 ปี ข้างหน้า...จะยังมีโครงการจัดหา เครื่องบินรบอีก อย่างน้อย 2 ฝูง ที่จะเป็น งบประมาณ ก้อนใหญ่...
ซึ่งถ้า รัฐบาล เกิดกลับใจ หันมาเห็นความจำเป็นของ กองทัพเรือ ภายหลัง เกิดเหตุความรุนแรง ในทะเลจีนใต้ เรียบร้อยแล้ว...
งบกลาโหม ก้จะถูก มะรุ้มมะตุ้ม ทันที...เพราะ อาวุธต่าง ๆ ก็ถึงเวลาล้วนจะหมดอายุใช้งาน และมีความจำเป็น ทั้งนั้น...และการจัดหา ก็จะได้อาวุธมา ภายหลัง อาจจะไม่ทันต่อเหตุการณ์และภัยคุกคามที่เกิดขึ้น...
Meko-A ของ มาเลเซีย เขาจะเน้นเป็น เรือ OPV หรือ เรือตรวจการณ์ ครับ...
แต่ด้วยรูปแบบเรือของ Meko ที่มีการออกแบบเรือไว้ ยืดหยุ่น สำหรับใน อนาคต ถ้า ผู้ใช้เรือ ต้องการเปลี่ยนแปลง ติดตั้ง อาวุธ เพิ่มเติม ในภายหลัง
จะกระทำได้ง่าย กว่า และ ประหยัด ค่าใช้จ่าย กว่า...
มาเลเซีย คงมองใน คุณลักษณะ การปรับปรุงเรือในภายหลัง...จึงเลือกแบบเรือ Meko...แต่จะเป็นการติดตั้งระบบอาวุธอะไร เพิ่มเติม คงไม่แน่ชัดครับ...
เพราะ ล่าสุด...มาเลเซีย ก็สั่งซื้อเรือใหม่ ชั้น Gowing ซึ่งจะ เน้นภาระกิจ ปราบเรือดำน้ำ...น่าจะเป็น กองเรือผสมกับเรือดำน้ำ เป็นหน่วยเรือ ปราบเรือดำน้ำ โดยเฉพาะ...
อันนี้เป้น แผ่นภาพ วิเคราะห์ส่วนตัวครับ...
วิเคราะห์ กองเรือปราบเรือดำน้ำ ของ มาเลเซีย ครับ...
ผมคิดอยู่ อย่างเดียว นะครับ ตอนนี้ทำไม รัฐบาล ไม่มาสนใจกับในสิ่งพวกนี้บ้าง หรือว่าต้องรอให้มันเกิดเรื่องขึ้นมาจริงก่อน พอเกิดเรื่องก็มาโทษกันไปๆๆ มาๆๆ กองทัพเรือ น่าสงสารที่สุดของที่สุด
ขอบคุณ คุณJuldasสำหรับคำตอบครับ :)