มาพิสูจน์ทราบความเป็น “Fighter” กันเถอะ
คำจำกัดความ :
ทหารหาญ/นักการทหาร/นักรบ คนเหล่านี้ล้วนแล้วเป็นคนที่มีความพิเศษแตกต่างจากคนธรรมดาทั่วไปทางด้านขีดความสามารถทางด้าน (ก) จิตวิญญาณแห่งความเป็นทหารของชาติกล่าวคือ เป็นผู้มีปัญญามีเจตนารมณ์ทางด้านองค์ความรู้ภูมิปัญญาทางการทหาร (ข) มีความกล้าหาญ มีความเสียสละ และ (ค) มีร่างกายที่ต้องแข็งแรงทรหดอดทนกว่าประชาชนคนทั่วไป
ทหารหาญ คือ คนกลุ่มพิเศษที่ได้รับการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่เป็นฝ่ายเสนาธิการ(ที่ดี)ของชาติด้านความความปลอดภัย-ในการพิทักษ์แหล่งผลประโยชน์และการป้องกันประเทศ-ในการขจัดภัยคุกคามที่ส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์/ดินแดน/เขตอาณาในความครอบครอง (Security & Defense) ทั้งนี้ “ทหารหาญ” ทุกคนต้องมีความเป็น “นักการทหาร” อยู่ในสายเลือดเสมอ
นักการทหาร คือ ผู้มี/ผู้คิดค้นองค์ความรู้ภูมิปัญญาด้านการทหาร(ด้านความปลอดภัย/การป้องกันประเทศ-การป้องกันกลุ่มประเทศ) โดยนักการทหารอาจเป็นทหารหาญและ/หรือพลเรือนก็ได้
นักรบ คือ ผู้ทำการรบเพื่อชัยชนะ
ทหาร คือ ผู้ที่แต่งกายด้วยเครื่องแบบทหาร
Fighter คือ นักต่อสู้เพื่อพัฒนาบทบาทหน้าที่ของตนเองและองค์การ
ทั้งนี้ ทหารหาญ/นักการทหาร/นักรบถือว่าเป็นส่วนหลักของกำลังอำนาจของชาติด้านการทหารทั้งสิ้น
เกณฑ์ของความเป็น Fighter
ทหารกองประจำการ
ต้องมีจิตวิญญาณในความรักชาติ รับผิดชอบต่อหน้าที่ กล้าหาญ ยอมพลีชีพเพื่อชาติ ปฏิบัติตามและเชื่อฟังคำสั่งผู้บังคับบัญชา มีความรู้พื้นฐานทางการทหาร จึงจะถือว่าเป็น “นักรบ” และนั่นหมายถึงเป็น Fighter โดยปริยาย
นายทหารชั้นประทวน/พลเรือนต่ำกว่าสัญญาบัตร
๑. ชั้นยศนายสิบ/จ่า/จ่าอากาศถึงจ่า/พันจ่า/พันจ่าอากาศ-ข้าราชการพลเรือนกลาโหม
๒. อายุ ๑๘-๖๐ ปี
๓. สายงานทางการทหาร
๓.๑ สายกำลังรบ ต้องมีความรู้/ทักษะ/ประสบการณ์ มีความเชี่ยวชาญยุทโธปกรณ์ เข้าใจกลยุทธ์/เทคนิคการรบเป็นอย่างดี มีไหวพริบปฏิภาณในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า มีสำนึกในความสำเร็จตาม “ภารกิจ/หน้าที่” ที่ได้รับมอบ มีขีดความสามารถในการตัดสินใจระดับยุทธวิธี มีความรู้ทางการทหารระดับประยุกต์ มีจิตวิญญาณแห่งความเป็นครูจึงจะถือว่าเป็น “นักรบ” ชั้นเยี่ยม และนั่นหมายถึงเป็น Fighter โดยปริยาย
๓.๒ สายเทคนิค ต้องมีความรู้/ทักษะ/ประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีเฉพาะด้านของยุทโธปกรณ์เป็นอย่างดี มีความสามารถในการดัดแปลง/วิจัย/พัฒนา มีขีดความสามารถในการถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาด้านเทคโนโลยีทางทหาร แม้จะมิได้ทำการรบแต่ก็ถือเป็น Fighter โดยจิตวิญญาณก็ได้
๓.๓ สายสนับสนุน ต้องมีความรู้/ทักษะ/ประสบการณ์ด้านแบบธรรมเนียม/พิธีการทางทหาร มีความสามารถในการพัฒนาประยุกต์วิธีปฏิบัติทางทหารให้สอดรับทันการเปลี่ยนแปลงโลกาภิวัตน์ มีขีดความสามารถในการถ่ายทอดแบบฉบับทางทหารแม้จะมิได้ทำการรบแต่ก็ถือเป็น Fighter โดยจิตวิญญาณได้เช่นกัน
นายทหารสัญญาบัตร
(ก) นายทหารสัญญาบัตรชั้นต้น
(ก-๑) ระดับชั้นยศร้อยตรี/เรือตรี/เรืออากาศตรีถึงพันตรี/นาวาตรี/นาวาอากาศตรี
(ก-๒) อายุ ๒๑-๒๓ ถึง ๓๑-๓๓ ปี
(ก-๓) ต้องมีความรู้/ความชำนาญในการปฏิบัติการระดับยุทธวิธีของแต่ละมิติ-การรบทางบก-เหล่าราบ/ม้า/ปืน...../การรบทางเรือ/เรือดำน้ำ..../การปฏิบัติการทางอากาศยุทธวิธี.....ทั้งนี้ ในฐานะที่ต้องรับผิดชอบทำหน้าที่เป็นผู้บังคับบัญชาหน่วยกำลังแต่ละขนาด/มิติ จึงจะถือว่าเป็น “นักรบ” ชั้นเยี่ยมและนั่นหมายถึงสุดยอดของการเป็น Fighter
(ข) นายทหารสัญญาบัตรชั้นกลาง
(ข-๑) ระดับชั้นยศพันโท/นาวาโท/นาวาอากาศโทถึงพันเอก(พิเศษ)/นาวาเอก(พิเศษ)/นาวาอากาศเอก(พิเศษ) ผู้ซึ่งเติบโตมาจาก “นักรบ”
(ข-๒) อายุ ๓๒-๓๔ ถึง ๔๕-๔๘ ปี
(ข-๓) ต้องมีความรู้ความสามารถทางด้านฝ่ายเสนาธิการ (กำลังพล-ข่าว-ยุทธการ-ส่งกำลังบำรุง) ความสามารถทางด้านฝ่ายอำนวยการ (กิจการพลเรือน-เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร-การงบประมาณ-การตรวจสอบควบคุมทางการทหาร) การวิจัยพัฒนากลยุทธ์การรบ/ยุทธวิธีการรบ-การพัฒนาหน่วยกำลังทางยุทธวิธีใน ๓/๔ มิติ การกำหนดขีดความสามารถหน่วยกำลัง/ระดับความพร้อมรบของหน่วยกำลังภายใต้ภัยคุกคาม/ความท้าท้ายที่เป็นปัจจุบันและอนาคต การสถาปนาองค์ความรู้ภูมิปัญญาทางการทหาร (หลักนิยมทางทหาร/ประวัติศาสตร์ทหาร/กลไกทางทหาร(กฎหมายทหาร-ระเบียบ/คำสั่ง-ระบบบัญชาการและควบคุม)/ยุทธศาสตร์ทหาร)/การวิจัยทางการทหาร การเตรียมกำลัง(คิดค้นพัฒนากำลังรบ/แผนพัฒนาระยะสั้น/๔ปี-แผนระยะกลาง๘ปี-แผนพัฒนาระยะยาว๑๒ปี-แผนอนาคต/๓๐ปีเพื่อให้ได้มาซึ่งขีดความสามารถและความพร้อมรบที่ต้องการอย่างสอดรับกับสภาพภูมิยุทธศาสตร์ของประเทศ) การวางแผน/การสร้างกระบวนการตัดสินใจในการใช้กำลัง(การวางแผนการรบ/การปฏิบัติการระดับยุทธการ/ยุทธศาสตร์-การสร้าง/พัฒนาระบบออกคำสั่ง/คำสั่งปฏิบัติการ/C4ISTAR-Network Centric) การผนึกกำลังรบในทุกมิติจากศักย์สงครามของประเทศ/การระดมสรรพกำลังจากทุกภาคส่วนของประเทศ รวมทั้งการทำหน้าที่เป็นครู/อาจารย์/ศาสตราจารย์ให้ความรู้ทางด้านการทหารในกระบวนการสืบทอดทายาท/คนรุ่นหลัง จึงจะได้รับการยอมรับว่าเป็น “นักการทหาร”
(ค) นายทหารสัญญาบัตรระดับชั้นสูง ผู้ซึ่งเติบโตมาจาก “นักการทหาร”
(ค-๑) ระดับชั้นยศพันเอก(พิเศษ-รองนายพล)/นาวาเอก(พิเศษ-รองนายพล)/นาวาอากาศ(พิเศษ-รองนายพล)ถึงพลเอก(จอมพล)/พลเรือเอก(จอมพล)พลอากาศเอก(จอมพล)
(ค-๒) อายุ ๔๖-๔๙ ถึง ๖๐(-๖๕) ปี
(ค-๓) ต้องมีขีดสมรรถนะ/มีเจตนารมณ์มุ่งมั่น/มีองค์ความรู้เชิงยุทธศาสตร์เกี่ยวกับยุทธศาสตร์เหล่าทัพ/ยุทธศาสตร์กองทัพ (ขีดความสามารถ-ความพร้อมรบของกองทัพในแต่ละมิติ- การสนธบูรณาการกำลังรบทั้ง ๓/๔ มิติ มิติที่ ๔ คือมิติอวกาศ) การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ทหาร(การสถาปนาศักยภาพทางการทหารภายใต้การสนธิบูรณาการกำลังอำนาจของชาติด้านการทหารเข้ากับกำลังอำนาจของชาติด้านอื่นๆเพื่อสถาปนาองค์ความรู้ภูมิปัญญาทางการทหาร-การสร้างกำลังรบ-การสร้างศักย์สงครามของประเทศ รวมทั้งการสร้างทายาททางการทหาร) การปฏิบัติภารกิจทางการทหารให้ตอบสนองต่อหน้าที่ของทหารตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด การตอบสนองต่อผลประโยชน์สูงสุดของชาติ(กำลังอำนาจของชาติด้านการทหารเป็นเครื่องมือนำมาซึ่งผลประโยชน์ของประเทศชาติ)(ตามยุทธศาสตร์ชาติในการแสวงผลประโยชน์ของชาติตามลักษณะภูมิศาสตร์/ภูมิยุทธศาสตร์/ภูมิรัฐศาสตร์ - การแสดงท่าทีในบทบาทระหว่างประเทศตอบสนองการก้าวเดินของประเทศชาติสู่สังคมโลก)/ ทั้งนี้ นายทหารสัญญาบัตรระดับชั้นสูงนี้ต้องเป็นผู้นำที่ “กล้า” นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อสถาปนา(สร้างฐานราก)กำลังอำนาจของชาติด้านการทหารให้มีศักยภาพ/มีขีดความสามารถพร้อมเผชิญและ/หรือมีความล้ำหน้ากว่าสภาพภัยคุกคาม/ความท้าทายที่มีพัฒนาการไปตามเทคโนโลยีขั้นสูงและพัฒนาการของสังคมโลก สู่เป้าหมายสูงสุดทางการทหารที่ว่า “ชนะโดยไม่ต้องรบ” จึงจะถือว่าเป็น “ทหารหาญ” อย่างแท้จริง
(ง) วิศวกร/เจ้าหน้าที่เทคนิคผู้ซึ่งดำรงสถานะเป็น
(ง-๑) ทหาร-พลเรือน(กลาโหม) พลเรือน(ภาคเอกชน-บริษัท)
(ง-๒) ทุกระดับอายุตั้งแต่ ๑๘-๖๐ ปี (พลเรือนไม่จำกัดอายุ)
(ง-๓) ผู้มีความรู้ความสามารถด้านวิศวกรรม-เทคนิคโดยทำหน้าที่ออกแบบ-วิจัย-ผลิตสร้าง-ใช้งาน-ซ่อมบำรุง-การวิจัยพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ ฯลฯ ตอบสนองความต้องการหน่วยกำลังเพื่อบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์เหล่าทัพ/กองทัพ-ยุทธศาสตร์ทหาร การทำหน้าที่เป็นนักวิชาการ/อาจารย์/ศาสตราจารย์-นักคิดค้นวิจัยด้านวิศวกรรมชั้นสูงทางทหาร แม้จะมิได้มีพื้นฐานของความนักรบแต่ก็ถือเป็น Fighter โดยจิตวิญญาณโดยจะได้รับการยกย่องว่าเป็น “นักการทหาร” กิตติมศักดิ์อย่างสมภาคภูมิ
(จ) เจ้าหน้าที่สนับสนุนผู้ซึ่งดำรงสถานะเป็น
(จ-๑) ทหาร-พลเรือน(กลาโหม) -พลเรือน
(จ-๒) ทุกระดับอายุตั้งแต่ ๑๘-๖๐ ปี (พลเรือนไม่จำกัดอายุ)
(จ-๓) ผู้มีความรู้ความสามารถทางด้าน
(จ-๓-๑) แบบธรรมเนียม/วิธีปฏิบัติทางการทหาร/ประวัติศาสตร์ทหาร/กฎหมายทหาร/องค์ความรู้ภูมิปัญญา-วิชาการทางด้านการทหาร การวิจัยค้นคว้าทางการทหาร แม้จะมิได้มีพื้นฐานของความนักรบแต่ก็ถือเป็น Fighter โดยจิตวิญญาณก็ได้ อาจจะได้รับการยอมรับให้เป็น “นักการทหาร” ก็ได้เช่นกัน
(จ-๓-๒) งานธุรการ/งานพิธีการ/สายวิทยาการ-การจัดซื้อจัดจ้างให้เป็นไปตามความต้องการทางด้านการทหาร แม้จะมิได้มีพื้นฐานของความนักรบ มิได้เป็นนักการทหาร แต่ก็ถือเป็น Fighter ได้โดยจิตวิญญาณเช่นเดียวกัน
(ฉ) ผู้เกี่ยวข้องกับกำลังอำนาจของชาติด้านการทหาร
(ฉ-๑) สมาชิกรัฐสภา-สมาชิกสภาความมั่นคงแห่งชาติ-คณะรัฐบาล-คณาจารย์ของสถาบันการศึกษาสาขาวิชารัฐศาสตร์ความมั่นคง-ผู้รักษาความมั่นคงภายใน/ตำรวจ-สมาคม/มูลนิธิ/บริษัทเอกชนที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและป้องกันประเทศ
(ฉ-๒) ทุกวัย
(ฉ-๓) มีจิตวิญาณความเป็นทหาร มีความรู้เชิงยุทธศาสตร์ทหาร มิต้องเป็นนักรบ มิต้องเป็นนักการทหาร และมิต้องเป็นทหารหาญ เพียงแต่ทำหน้าที่เป็นพลเมืองที่ดีของชาติ ทำหน้าที่ได้ครบถ้วนสมบูรณ์ตามบทบาทในฐานะเป็นผู้รับผิดชอบกิจการด้านความปลอดภัยและการป้องกันประเทศ ก็ (อาจ)ถือเป็น Fighter โดยจิตวิญญาณก็ได้
(ช) แฟนพันธ์แท้ทางด้านการทหาร
(ช-๑) บุคคลทั่วไป (อาจรวมถึงคนในเครื่องแบบด้วยก็ได้)
(ช-๒) ทุกวัย
(ช-๓) มีพรสวรรค์สามารถรู้ลึกเกี่ยวกับข้อมูลอาวุธยุทโธปกรณ์/ประวัติศาสตร์การทหาร โดยมิจำเป็นต้องมีความรู้เชิงยุทธศาสตร์ทหาร มิต้องเป็นนักรบ มิต้องเป็นนักการทหาร มิต้องเป็นทหารหาญ เพียงแต่ทำหน้าที่เป็นพลเมืองที่ดีของชาติ พร้อมทำหน้าที่ยามวิกฤติในภาคส่วนของศักย์สงครามของประเทศตามปรัชญาที่ว่า “ประชาชนทุกคนคือทหาร” ก็ถือเป็น Fighter โดยจิตวิญญาณเช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ เงื่อนไขที่จะต้องยอมรับกันในวงการทหาร (คนแต่งกายเครื่องแบบทหาร” ก็คือ
(๑) มีการจัดระเบียบ “คน” ในวงการทหาร (ประทวน-สัญญาบัตร) อันนำมาซึ่งการจัดลำดับอาวุโสทางทหาร (ชั้นสัญญาบัตร) โดยปริยาย โดยสมควรพิจารณา/ยึดถือหลักการทางด้านขีดความสามารถ/ขีดสมรรถนะบุคคลตามเกณฑ์ ก-ข-ค-ง-จ ที่ระบุไว้ข้างต้น มิจำเป็นต้องยึดถือ “วัยวุฒิ” หรือยึดถือการแต่งตั้งยศ (เฉพาะผู้ที่แต่งกายด้วยเครื่องแบบทหารและได้รับการประดับยศ) ในลำดับ “ก่อน-หลัง” แต่ประการใด
(๒) ผู้ที่เป็นหัวกะทิของรุ่นทหาร (ประทวน-สัญญาบัตร) ในอันดับ Top Ten, Top Twenty, Top .... (ตามคะแนนสะสมต่อเนื่อง) มีสิทธิในเส้นทางสู่การเป็นผู้นำทางทหารตามลำดับความเฉลียวฉลาดเป็นอันดับแรก นัยสำคัญที่ต้องการเน้นย้ำคือมิใช่ว่าทุกคนที่แต่งเครื่องแบบทหารจะมีสิทธิเท่าเทียมกันสู่ความเป็นผู้นำทางทหารเหมือนกันทุกคน การที่คนในวงการทหารไม่ได้ยึดเกณฑ์ข้างต้นจึงเป็นสาเหตุนำมาซึ่งแก่งแย่ง(ตำแหน่ง)เนื่องจากต่างมิคำนึงถึงกำเนิดและพื้นฐานของตน กองทัพและประเทศชาติก็อาจจะเกิดความเสียหาย/หรือเสียโอกาสได้
การประเมิน/พิสูจน์ทราบตนเองเป็นเรื่องที่ดี การพิจารณาตนเองตามเกณฑ์ข้างต้นจะทำให้รู้ว่าตนสมควรถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเภทใดใน “กลุ่ม ก-ข-ค-ง-จ-(ฉ-ช)”
ไฟแรงสุดๆ