ตอบกระทู้
ขอบคุณมากครับที่ได้มีการตอบกระทู้ แลกเปลี่ยนความคิดกัน อันที่จริงก็ไม่อยากเปลี่ยนหัวข้อกระทู้เดิม “เรือดำน้ำ” แต่โปรแกรมมันพาไป ก็เลยต้องเปลี่ยน คราวนี้อีกเหมือนกันเขียนยาวๆ ใช้เวลานานๆ โปรแกรมมันก็ไม่รับข้อมูล ต้องเสียเวลาซ้ำซ้อน
๑ เรือดำน้ำเยอรมันมี U212 เพียง ๔ ลำ กำลังต่อเพิ่มอี ๒-๓ ลำ เยอรมันมีเรือดำน้ำไม่มาก โดยมีเอกชนเข้ามารับผิดชอบกิจการเรือดำน้ำ และกองทัพ (เรือ) ก็ซื้อผลผลิตจากเอกชน ผลประโยชน์ต่างตอบแทน เยอรมันต้องการครอบครองเรือดำน้ำและเทคโนโลยีเรือดำน้ำ เพื่อ “เป็นหลักประกันด้านความปลอดภัย” เข้าใจว่าคงไม่มีประเทศรอบบ้านเยอรมันกล้าทำสงครามเรือดำน้ำกับเยอรมัน การที่เยอรมันมีเรือดำน้ำไม่กี่ลำคงไม่ใช่เหตุผลของความปลอดภัย แต่เหตุผลอยู่ที่ “ การครอบครองเทคโนโลยีเรือดำน้ำ” มากกว่า เยอรมันต้องการครอบครองเทคโนโลยีเรือดำน้ำต่อไปตราบเท่าที่ยังมีมหาสมุทรแอตแลนติก-ทะเลเหนือ –ทะเลบอลติคเนื่องจากเป็นแหล่งผลประโยชน์ของตน Thyssen Krupps เป็นเอกชนที่ดูแลเรื่องเทคโนโลยีเรือดำน้ำให้กับเยอรมัน แต่ Thyssen Krupps ก็มีกิจการทางเรือซึ่งเกี่ยวข้องกับ “เรือ” อีกมากมาย ผลักดันให้เยอรมันเป็นจ้าวแห่งกองเรือพาณิชย์ในยุโรป /อันดับต้นของโลก การมีเทคโนโลยีเรือหมายถึงว่ามีเทคโนโลยีเรือรบด้วย การมีเทคโนโลยีเรือรบ/เรือดำน้ำหมายถึงมีเทคโนโลยีทางเรือพาณิชย์ด้วย
ในหลักการที่ว่าเรือรบ/เรือดำน้ำส่ามารถขยายผลไปยังกองเรือพาณิชย์ได้ ที่สำคัญคือการครอบครองเทคโนโลยีสุดยอดเรือดำน้ำเป็นหลักประกันด้านความปลอดภัยให้กับประเทศชาติได้อย่างดีทีเดียว
บุพการีการบินของกองทัพอากาศพลอากาศโทมุนี มหาสันทนะฯ นาวาอากาศเอก สกล ระสานนท์ วางรากฐานการบินรบ (กองทัพอากาศ) ในประเทศไทย และท่านก็วางรากฐานด้านการบินพลเรือนของประเทศไทย จนการบินไทยเจริญก้าวหน้ามาทุกวันนี้ แม้ไทยจะผลิตเครื่องบินเองไม่ได้ทั้งลำ แต่ปัจจุบันการบินไทยก็สามารถผลิตชิ้นส่วนให้กับAirbus ได้
๒ Airbus 319 กับ Airbus 320 มีโครงสร้างพื้นฐานเดียวกัน Avionics เดียวกัน แต่ A320 มีความยาวมากกว่า มีที่นั่งผู้โดยสารมากกว่า A319 กว่า ๕๐ ที่นั่ง น้ำหนักบรรทุกต่างกันมิใช่น้อย โดยปรับปรุงเครื่องยนต์ ให้มีพลัง กว่าเล็กน้อย ตามหลักวิชาการ/วิศวกรรมนั้น ทำได้ไม่ยาก การที่ U 206A U212 U214 มีน้ำหนักต่างกัน การที่ Uxxมี น้ำหนักต่างกันจึงไม่ใช่เรื่องแปลก ตามหลักวิชาการ-ทางวิทยาการ/วิศวกรรมสามารถทำได้ แล้วก็ทำกันมาเช่นนี้โดยตลอด เช่น เครื่องบิน รบ F-5 F-16 รวมไปถึงเครื่องบินพลเรือน B 747-200 จนถึง B747- 400 ที่มีคุณลักษณะและน้ำหนักบรรทุกมากกว่ารุ่นแรกๆ เดิมหลายเท่า แต่เทคนิคกับวิศวกรรมคงเดิม/ทันสมัยขึ้นตามกาลเวลา
๓ อุตสาหกรรมทางเรือ เรือดำน้ำ รวมไปถึง อุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องบิน ฯลฯ ล้วนมีพื้นฐานมาจากวิชาการพื้นฐานทั้งสิ้น เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ เครื่องกล ไฟฟ้ากำลัง/ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ โลหะ/อโลหะวิทยา มานุษยวิทยา ฯลฯ วิศวกรทุกคนเรียนวิชาพื้นฐานเหล่านี้จากมหาวิทยาลัยเหมือนกัน เพียงแต่ใครจะเน้นสาชาวิชาใดแขนงใดจบการศึกษาก็ไปเน้นเฉพาะทางด้านนั้น เช่น ใครสนใจเรือ/เรือรบก็ก็ไปทางนั้น Thyssen Krupps ก็ใช้พื้นฐานวิชาการ-วิทยาการ/วิศวกรรมพื้นฐานเช่นเดียวกัน และก็ได้นำพื้นฐานเหล่านี้ไปใช้ในการผลิตสร้างรถไฟฟ้า ลิฟต์ ฯลฯ จนร่ำรวยมหาศาล ดังนั้น คำกล่าวที่ว่าจะต้องทำแป้ง ต้องทำกะทิ ฯลเพื่อเรือรบ/เรือดำน้ำอย่างเดียวถือว่ามิใช่ แนวคิดที่ถูกต้องนัก เอกชนสามารถนำกะทิ ฯลฯ เปใช้ผลิตสร้างอุตสาหกรรมของประเทศได้อีกมาก เกาหลีใช้หลักการเดียวกัน เกาหลีสามารถสร้างเครื่องบิน เรือรบ/เรือดำน้ำ/เรือพาณิชย์ รถยนต์ ฯลฯ เป็นประเทศ(เกือบ) พัฒนาแล้ว)ก็อาศัยแนวคิดนี้ (อันที่จริงไม่อยากเปรียบเทียบกับใคร ) อยากให้คนไทนดูตัวเอง
ขอบคุณครับ
แบนสัก 7 วันท่าจะดี
ของเก่ายังไม่ตกไปไหน ปั๊มของใหม่ขึ้นมาอีก
ท่าน evill ฮาๆกันไปครับ *--* ปีใหม่แล้วนะครับ ยังไงก็ขอสุขสวัสดีมีแด่ทุกๆท่านครับ
ตามหลักวิชาการของท่าน จขกท นั้น ถ้าทำใด้ไม่ยากอย่างที่ท่านเข้าใจ ก็คงทำกันบานแล้วล่ะครับ
ท่าน จขกท ลองเสนอเข้า กห. ดูครับ..ถ้าสิ่งใดที่ท่านทำใด้ตามหลักวิชาการ/วิศวกรรมของท่าน จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อประเทศ...
ผมว่า u206 vs u212/214 นั้นไม่เหมือนกับ airbus a319vs a320 vs a321 หรือ b747-200 vs 400 แต่เหมือน boeing 767 vs 777 มากกว่า
แถม u212/214 กับ u206 ไม่ใช่แค่ขนาดต่างกัน แต่เปลี่ยนไปเยอะ มี api ฯลฯ รูปทรงก็คนละเรื่องแล้ว
ผมเรือดำน้ำที่สถานะคล้ายๆ กับเครื่องบินที่ท่านไล่ๆ มาน่าจะเปรียบได้กับ u206 vs u209 มากกว่าครับ
ที่จริงแล้วเราทำได้ทุกอย่างละครับถ้ามีเงินและเวลาอย่างไม่จำกัด อาจเป็นเหตุผลที่ ธุรกิจนิยมเช่ามากกว่าซื้อ นิยมซื้อมากกว่าทำเอง อาวุธที่ร้ายแรงกว่าอาวุธตามแบบคืออาวุธทางการเงินนะครับ
เห็นว่าสวีเดนก็สร้างเรือดำน้ำได้นะครับ
สวีเดนสร้างได้จริงครับ แต่อู่ Kockums ของสวีเดนที่ผลิตเรือดำน้ำ Gotland นั้น
โดน ThyssenKrupp ของเยอรมันซื้อไปแล้วครับ ในปี 2000s
ตอนนี้พอจะกล่าวได้เต็มปากแล้วละครับว่า
เยอรมัน คือผู้ครอบครองเทคโนโลยีเรือดำน้ำขนาดเล็ก (< 1500 ton) เพียงผู้เดียวในตลาดมาตราฐาน NATO ตอนนี้
เรื่องเรือดำน้ำตอนนี้อย่าว่าแต่ต่อเลยครับ การใช้งานเรือดำน้ำให้มีประสิทธิภาพสุงสุด ความชำนาญ เรายังไม่พร้อมเสียด้วยซ้ำไปเพราะเราห่างหายจากการมีเรือดำน้ำมากว่า 60 ปี ครั้นจะจัดหาเรือที่จะเอามาใช้ฝึกใช้เรียนรู้ในราคาไม่แพงยังชวด ผมไม่ได้ขวางความคิดใครนะครับ แต่ลองคิดให้ละเอียด หลายประเทศที่ใช้เรือดำน้ำมาก่อนหลายประเทศยังไม่สามารถต่อเรือดำน้ำดีๆใช้เลย เรายังไม่มีใช้จะต่อใช้เองยังยากอยู่ครับ แต่ก็เป้นความคิดที่ดีครับที่ยังคิดแนวทางที่จะให้มีการพึ่งพาตนเอง การผลิตในประเทศ น่าสนับสนุน แต่ต้องเริ่มจากของที่มัยง่ายกว่านี้ก่อนครับ เช่น เรียนรู้วิธีการซ่อมบำรุงให้ได้ก่อน เก้บความรู้ประสปการณ์ แล้วค่อยศึกษาต่อยอดไปถึงเรื่องการผลิต
การทำกันบาน ไม่ทำกันบาน คงอยู่ที่ตัวคนแต่ละคนครับ คนอยากทำเขามีน่ะครับ
อยาเพิ่งแบนเลยครับ เรามาแก้ป้ญหา
๑ ให้ Webmaster มาย้ายไฟล์กระทู้ให้อยู่ในกระทู้เดียวกันจะดีกว่า
๒ ปรับปรุง Software ให้ทันสมัย ส่งข้อความงายๆ ไม่ใช่พิมพ์ไป ๑๕ นาทีแล้วส่งไฟล๋ไม่ได้
ขอบคุณครับ
บุพการีกองทัพอากาศ จำนวน ๓ คน ได้ทำการบินและริเริ่มริเริ่มทำการบินในประเทศไทยปัจจุบันผ่านมา ๑๐๐ ปี บรรพบุรุษของทหารอากาศหลายคนในยุคต่อมา พลอากาศโทมุนี มหาสันทนะฯ ได้เพียรพยายามสร้างเครื่องบิน (ภายหลังถูกลืมไป-ปัจจุบันกองทัพอากาศกำลังรื้อฟื้น-UAV เครื่องบินใบพัด) จอมพลอากาศเฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร ได้ก่อร่างสร้างกิจการการบินพลเรือนของไทยให้เป็นสายการบินมาตรฐานจนสำเร็จโดยสนับสนุนการบินพลเรือนจนกลายเป็นสายการบินแห่งชาติ ในหลายยุคต่อมาบรรพบุรุษของทหารอากาศก็ได้พัฒนากิจการท่าอากาศยานจนกลายเป็นท่าอากาศยานแห่งชาติ สร้างกิจการวิทยุการบินจนกลายเป็นบริษัทวิทยุการบินที่(เคย)ควบคุมห้วงอากาศไปจนถึงทะเลจีนใต้ ล่าสุดในสมัยพลอากาศเอกคงศักดิ์ วันทนา กองทัพอากาศก็ได้สนับสนุนการจัดตั้งบริษัทอุตสาหกรรมการบินจำกัด (TAI) แม้ว่าปัจจุบัน TAI จะยังไม่ก้าวหน้าถึงระดับ ASEAN มากนักแต่ก็ถือว่าเป็นการสร้างคน/การสร้างองค์ความรู้ภูมิปัญญาให้กับประเทศชาติ/กองทัพอากาศได้มากพอสมควร อย่างไรก็ตาม TAI คงจะต้องได้รับการพัฒนาระดับยิ่งๆขึ้นไปโดยคนรุ่นใหม่โดยมันสมองคนไทยรุ่นใหม่ๆ (Top Ten Top Twenty Top ....) ยกระดับกิจการการบิน/อุตสาหกรรมการบินให้เป็นศูนย์กลางการบินในภูมิภาคสอดรับกับสภาพภูมิยุทธศาสตร์ที่ดีเลิศต่อไป ซึ่งเมื่อถึงขณะเวลานั้นประเทศไทยคงมีอุตสาหกรรมใหญ่ (อุตสาหกรรมหนัก-โลหะ/อโลหะ เคมี ฯลฯ ) /อุตสาหกรรมย่อยๆรองรับกิจการการบิน (อุตสาหกรรมยานยนต์/ยานเกราะ ฯลฯ ) อีกมากมาย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยางเครื่องบินที่ทำมาจากยางพาราจากภาคใต้ของไทยที่เกษตรกรกรีดน้ำยางพาราสดมาแล้วภายใน ๑-๒ สัปดาห์แล้วน้ำยางพาราสดจะกลายเป็นยางเครื่องบินพร้อมขาย-เปลี่ยนทันทีเมื่อเครื่องบินลงจอดในประเทศไทย (รวมถึงการเปลี่ยนยางเครื่องบินรบของกองทัพอากาศ/เหล่าทัพ/พลเรือน/ภาคส่วนเอกชนในประเทศไทยนับเป็นจำนวนไม่น้อยด้วย) ยางเครื่องบินที่ผลิตมาจากยางพาราสามารถผลักดันประเทศไทยเข้าสู่วงการการตลาดโลกที่มีแนวโน้มเข้มงวดกับค่าคาร์บอนได้ ซึ่งยางพาราจากธรรมชาติที่ดูดซับคาร์บอนก็สามารถตอบสนองเงื่อนไขดังกล่าวได้ดี
นี่คือแบบอย่างของบรรพบุรุษที่ได้กระทำมา
การผลิตสร้างเครื่องบินรบ/อากาศยานของประเทศไทยมีแนวทางก้าวหน้าในทางที่ชัดเจนในส่วนหนึ่งแล้ว ทั้งนี้ เรือรบ/เรือดำน้ำ-อุตสาหกรรมทางเรือ รวมไปถึงยานเกราะ ซึ่งถือว่าเป็นฐานรากของกำลังอำนาจของชาติด้านการทหาร (กำลังทางเรือหรือทางบก) ก็สามารถใช้หลักการเดียวกัน มิได้แตกต่างกัน
คุณเจ๋งมาก มาถึงปุ๊บเว็บผิด ระบบมันเอาไว้กันแบบนี้ไง กลัวมาเขียนแบบนี้ก็เลยจัดการล็อกเอาท์เอง เจ๋งไหมล่ะ ล้อเล่นครับ
ผมว่าอย่าแบนเลยครับ เก็ยไว้ก็ดีแล้ว นานๆมาแบบนี้ทีแก้เหงาได้ครับ
ผมว่าเวลาคุณเขียนมาแล้วก็น่าจะช่วยสรุปนะครับว่าที่ร่ายมาทั้งหมด ต้องการนำเสนออะไร
คือคุณก็ปูพื่นมานะว่าอดีตเป็ีีนยังงี้ๆๆๆๆ แต่ก็น่าจะสรุบว่าจะทำไม เช่นเพราะฉะนั้น ควรมีการทำอะไรก็ว่าไป ไม่ใช่เล่ามาเฉยๆแล้วคนอ่านก็งงว่าแล้วไงวะ
ระบบที่ Webmasterวางไว้จะเป็นระบบที่ ถ้ามี Login แช่ไว้ สมาชิกมีมากว่า10,000 จะกิน Memory Server มาก ทำให้เว็บล่มบ่อยครับ ซึ่งตรงนี้ ทั้ง WebmasterและAdmin ก็เป็นครับในเรื่องที่ Lonin แล้วเด้งออก ส่วนวิธีที่จะแก้ในเรื่องที่พิมพ์ข้อความยาวๆแล้วพอกดส่งระบบมันเด้งออกทำ ให้ข้อความหาย ผมว่าวิธีแก้มันเบสิคง่ายมากครับ ซึ่งผมเองใช้วิธีนี้ตั้งแต่ก่อนเป็น Adminแล้ว คือ
1.พิมพ์ใน Word แล้ว Copy มาโพส
2.พิมพ์ในเว็ป ก่อนส่งข้อมมูลก็ Copy ไว้กันเหนียว ถ้าหลุดจากระบบก็ Login อีกครั้งแล้วเอาข้อมูลที่Copyมา วางไว้อีกที
เคลียร์นะครับสำหรับประเด็นนี้ วิธีแก้มันง่ายมากครับ /Admin
อยากให้ประเทศเราทำได้ ทุกคนก็ต้องการแบบนี้ทั้งนั้นละครับแต่ให้พูดจริงๆ การทำเรือดำน้ำนั้น ยากกว่าการทำเครื่องบินด้วยซ้ำผมว่าคุณคงอยากให้เราเอาอย่างประเทศเกาหลีใต้ ที่สามารถสร้างเรือดำน้ำได้ผมก็อยากให้เป็นแบบนั้นเหมือนกัน แต่เมื่อดูในสภาพของประเทศเราแล้วการก้าวข้ามขั้นตอนไปขนาดนั้น ระวังซักวันจะตกลงมาขาหักก็แล้วกันเกาหลีใต้ที่สร้างเรือดำน้ำได้นั้น ใช้เวลาเตรียมการเรื่ององค์ความรู้ไม่ต่ำกว่า 20 ปี แล้วเกาหลีใต้ก็ยังไม่สามารถสร้างเรือดำน้ำได้เองทั้งหมด ต้องนำเข้าชิ้นส่วนบางอย่างจากเยอรมันมาประกอบในประเทศเทคโนโลยีพวกนี้ไม่มีใครสอนให้คุณทั้งหมดหรอกครับ ก็เหมือน DTI-1 นั้นละครับอยากได้ก็ต้องซื้อของเค้าก่อน เค้าจะสอนคุณแต่เบื้องต้น เทียบกับ DTI-1 = จรวดไม่นำวิถี อยากได้มากกว่านี้ก็ไปพัฒนากันเอาเอง
ตอบกระทู้คุณ Toeytei (อีกครั้ง) ประวัติศาสตร์เป็นพื้นฐานของอนาคต ประเทศยุโรปสร้างทายาทของตนด้วยการนำเด็กเยาวชนไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ของตนต่อเนื่องตลอดเวลาเพื่อให้เห็นพัฒนาการและปลูกฝังจิตวิญญาณในการสืบทอดเจตนารมณ์ ประเทศเจริญแล้วมีพิพิธภัณฑ์ทุกแขนงสาขามากมายทั่วทุกหัวระแหง เด็ก/เยาวชนเข้าเยี่ยมชมฟรี ทั้งนี้ ก็เพื่อให้ประวัติศาสตร์เป็นฐานรากของอนาคต เป็นวิธีการสร้างชาติของประเทศเจริญแล้ว
ประเด็น
๑ การตอกย้ำอดีตให้คนรุ่นปัจจุบันได้หวนระลึกถึงอดีตที่ล้มเหลวและให้คนรุ่นหลังได้รับทราบปัญหาเพื่อหาหนทางหลีกเลี่ยงมิให้ปัญหา/เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์เกิดซ้ำแล้วซ้ำอีกเป็นกระบวนการสำคัญของการสร้างชาติ
๒ การนำอดีตอันงดงามที่บุพการีและบรรพบุรุษของกองทัพอากาศได้สร้างไว้จนทำให้กิจการการบินของประเทศรุ่งเรืองทำรายได้ให้กับประเทศไม่น้อย
ความต้องการก็คือ กิจการอีกหลายๆ กิจการเช่น กิจการเดินเรือ กิจการขนส่งทางรางที่เป็นความจำเป็นของชาติยังไม่รุ่งเรืองเท่าที่ควร แม้ว่าภูมิยุทธศาสตร์ของไทยจะดีเยี่ยมเหมาะเป็นศูนย์กลางการสัญจร/คมนาคมในทุกมิติในภูมิภาคก็ตาม พลเรือนไม่ทำ ทหาร(อากาศ)ทำมาแล้วหลายสิบปี
ตอนสรุปในกระทู้หลังบรรยายประวัติศาสตร์ จึงได้เขียนว่า “การผลิตสร้างเครื่องบินรบ/อากาศยานของประเทศไทยมีแนวทางก้าวหน้าในทางที่ชัดเจนในส่วนหนึ่งแล้ว ทั้งนี้ เรือรบ/เรือดำน้ำ-อุตสาหกรรมทางเรือ รวมไปถึงยานเกราะ ซึ่งถือว่าเป็นฐานรากของกำลังอำนาจของชาติด้านการทหาร (กำลังทางเรือหรือทางบก) ก็สามารถใช้หลักการเดียวกัน มิได้แตกต่างกัน”
จะมีใครสักคนในวงการการเดินเรือ การขนส่งระบบล้อ-ระบบรางนี้คิดจะทำตามบุพการี/บรรพบุรุษของทหารอากาศบ้าง
อย่าพยายามมองแต่ผลสรุปครับ มองลงไปที่ปัญหาต่างๆด้วย
ยุโรปเค้าเมืองอุตสาหกรรมซะส่วนใหญ่ เราเมืองเกษตรกรรม ความแตกต่างมันมีความจำกัดมันมี
อย่างใหนทำใด้เค้าก็ทำกัน คิดง่ายแต่ทำยาก ฉะนั้นจงอย่าคิดง่ายๆแล้วโทษส่วนนั้นส่วนนี้
ถ้าเราไม่เริ่ม จะไม่มีวันทำได้ครับ เพราะการเดินทางหมื่นลี้ล้วนแต่เริ่มที่ก้าวแรก
อู่เรือดำน้ำสวีเดนนั้นถ้าตอนนั้นไทยมีเงินมีความสัมพันธ์ที่ดีกับสวีเดน อาจจะเป็นไทยก็ได้ที่ซื้อมา
แต่เพราะเราเป็นประเทศจน จนเพราะไม่เคยทำอะไรเองเลยเพียงเพราะยังทำได้ไม่ดีพอ
ถ้าไม่เริ่มทำอะไรด้วยตัวเองจะไม่มีวันนั้นครับ
นักรบนั้นมันก็จะต้องมีของที่จะช่วยให้เรานั้นได้
เปรียบคู่ต่อสู้ของเราการที่เรานั้นไปรบกับคนที่
ถือดาบแต่เรานั้นเดินไปสุ้กับเขาด้วยมือป่าวนั้น
ก็เหมือนกับเรานั้นเอาชีวิตของเรานั้นไปทิ้งราว
กับว่าเดินไปให้เขานั้นกระทำเราอยู่ฝังเดียวดัง
นั้นการที่เรานั้นได้ซื้อเรือดำน้ำมานั้นก็เหมือนกับ
ว่าเรานั้นเมัประตูบ้านที่ดีที่จะสามารถปกป้องเรา
จะคนที่คิดร้ายกับเราได้