เครื่องบินรบเยอรมัน
ประเทศที่คิดค้นเครื่องยนต์ไอพ่นประเทศแรกของโลกคือ เยอรมัน
ประเทศที่คิดค้นจรวดได้ประเทศแรกคือ เยอรมัน
เทคโนโลยีสุดยอดทางทหารอีกหลายๆประเภทถูกคิดค้นจากเยอรมัน แม้เยอรมันจะมีจำนวนประชากรไม่กี่ล้านคนก็ตาม (เดิมก่อนรวมประเทศมีประชากร ๖๐ ล้านคนเศษเท่ากับประชากรของไทย หลังปี ๑๙๙๐ เยอรมันมีประชากร ๘๐ ล้านคนเศษ)
เครื่องบิน Eurofighter : EF เป็นเครื่องบินผลิตร่วมกันระหว่าง เยอรมัน อังกฤษ สเปน อิตาลี เครื่องบิน EF ของ ๔ ประเทศ ดูรูปทรงภายนอกเหมือนกัน เครื่องยนต์ (เกือบ) เหมือนกัน Avionics/Weapon System (ไม่)เหมือนกัน อุปกรณ์Avionics/Weapon System อาจมีหน้าตาเหมือน แต่สมองกล (ซ้อฟแวร์)ของอุปกรณ์เหล่านี้ต่างกัน แต่ละประเทศต่างมี Concept ของตนเอง ไม่เหมือนกัน แม้จะออกแบบให้เป็น Multirole เหมือนกัน แต่ยุทธวิธีและการติดตั้งอาวุธไม่เหมือนกัน ดังนั้น ซ้อฟแวร์ในอุปกรณ์ที่ติดตั้งกับ EF ของแต่ละประเทศจึงต่างกัน ตามแต่ภารกิจ/แนวคิด/เป้าหมายของตน
EADS/Cassidian (MBB เดิม) เป็นบริษัทผู้ผลิต EF , อุปกรณ์, ซ้อฟแวร์ , Simulator ฯลฯ ให้กับกองทัพ(อากาศ) เยอรมัน นักบินเยอรมันบินเครื่อง EF ของตนด้วยความภาคภูมิใจ ภูมิใจในความแตกต่างของตนที่ไม่เหมือน EF ของประเทศอื่น แล้วก็มีความมั่นในเครื่องบินของตนมากเป็นอย่างยิ่ง (ชิ้นส่วนส่วนหนึ่งผลิตในประเทศเยอรมัน) และขีดความสามารถ (ซอฟต์แวร์ส่วนหนึ่งคิดค้นโดยคนเยอรมัน)
เยอรมันไม่เคยบ่นว่าเครื่องบิน EF ของตนราคาแพง แต่บ่นว่าเงินไม่พอ โดยยอมลดจำนวน EF ลงจากยอดเดิม ๒๓๐ เครื่องเหลือ ๑๔๐ เครื่อง ให้อยู่ภายใต้กรอบวงเงินที่ได้รับอนุมัติ และเยอรมันก็บอกเสมอว่า EF จำนวนที่พอจัดหาได้ ๑๔๐ เครื่องนี้ไม่ได้ทำให้ขีดความสามารถในการป้องกันประเทศ/ป้องกันกลุ่มประเทศยุโรป/EU ลดลง
ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
๑ จอมพลรอมเมล/จอมพลอากาศเกอริ่ง(เยอรมัน)-พระยาพหล(ไทย)-จอมพลโตโจ(ญี่ปุ่น) คือเพื่อนร่วมรุ่นสมัยเป็นนักเรียนนายร้อย ณ โรงเรียนนายร้อยพอสดัม เยอรมัน
๒ นายทหารอากาศไทยที่สำเร็จการศึกษาและกำลังศึกษาอยู่ในกองทัพเยอรมัน(กองทัพอากาศเยอรมัน)ตามโครงการความช่วยเหลือทางทหารที่มีมาตั้งแต่ปี ๑๙๖๒ มีจำนวนรวมไม่น้อยกว่า ๒๐๐ คน ในระดับปริญญาตรี-โท-เอก หรืออื่นๆ จากมหาวิทยาลัยทหาร (๒ แห่ง) ของเยอรมัน คนเหล่านี้มีความชำนาญภาษาเยอรมัน มีเพื่อนรวมรุ่นในกองทัพเยอรมัน(กองทัพอากาศเยอรมัน) จำนวนไม่น้อย มีเพื่อนๆทำงานในบริษัทเอกชนผู้ผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ของเยอรมันไม่น้อย เพื่อนเยอรมันบางคนเป็นผู้บริหารระดับสูงของ EADS/Cassidian
ทั้งนี้ ในแต่ละปีมีนักเรียนนายเรืออากาศ/นายทหารนักเรียนชั้นนายเรืออากาศศึกษาเล่าเรียนในกองทัพเยอรมัน (มหาวิทยาลัยทหารนอยบิแบร์กมิวนิค/ฮัมบรูก-ทุนให้เปล่า) จำนวนปีละ ๒ -๓ คน (เดิมปี ๑๙๖๒ จำนวน ๗ คน ต่อมาปี ๑๙๘๐ จำนวน ๓ คน และสุดท้ายเมื่อปี ๒๐๑๒ จำนวน ๒ คน)
๓ ผู้บัญชาการทหารอากาศเยอรมันคนปัจจุบันพลอากาศโท Muellner ปี ๑๙๗๙ นักเรียนนายเรืออากาศไทยหลายคนเป็นเพื่อนร่วมรุ่น
๔ กองทัพอากาศไทยสามารถยกระดับเป็นกองทัพอากาศชั้นแนวหน้าให้เป็นศูนย์กลางเครื่องบินรบ-UAV-Sattelite ใน ASEAN ได้โดยดำเนินโครงการความร่วมมือกับเยอรมัน/EADS/Cassidian (ทั้งนี้ ตามยุทธศาสตร์ชาติ –ยุทธศาสตร์ทหาร-ยุทธศาสตร์กองทัพอากาศ ซึ่งยุทธศาสตร์กองทัพอากาศก็มีอยู่แล้ว)
เครื่องบิน EF ไม่ได้แพงอย่างที่คิด อาจมีราคาแค่ ๒๐-๓๐ ล้านเหรียญต่อเครื่องเท่านั้น แม้ราคาเครื่องบินจะคำนวณกันไว้ว่าราคาเครื่องละ ๔๔-๖๐ ล้านเหรียญก็ตาม ประเทศไทยสามารถซื้อได้ในราคาถูกได้ วิธีการซื้อราคาถูกก็คือการดำเนินโครงการความร่วมมือกับเยอรมัน/EADS/Cassidian ในการผลิตสร้างเครื่องบินรบEF-UAV-Sattelite (ผลิตชิ้นส่วนส่วนหนึ่งในประเทศไทย ซอฟต์แวร์ก็สามารถให้คนไทยคิดกันเองได้) การผลิตชิ้นส่วนส่วนหนึ่งและ การพัฒนาซอฟต์แวร์โดยคนไทย (ศิษย์เก่าเยอรมัน ๒๐๐ คนเศษ-วิศวกรจากจุฬาฯ-มหาวิทยาลัยเกษตร-โรงเรียนนายเรืออากาศ- โรงเรียนจ่า- โรงเรียนช่างกล ฯลฯ รวมจำนวนแล้วหลายพันคน ) ในสัดส่วนจำนวนครึ่งหนึ่งนี้ทำให้เงินไหลหมุนเวียนในประเทศไทยครึ่งหนึ่งโดยปริยาย นั่นหมายความว่าเครื่องบิน EF จากราคาเครื่องละ ๔๐-๖๐ ล้านเหรียญ เงินไหลออกนอกประเทศไปเพียง ๒๐-๓๐ ล้านเหรียญต่อเครื่อง จะเหลือเพียงราคาเครื่องละ ๒๐-๓๐ ล้านเหรียญในทันที ถูกแสนถูก จากตรงนี้แล้ว จะซื้อกี่เครื่องเพื่อทดแทน F-16 ทดแทน F-5 L-39 ของแต่ละฝูงเช่นที่อุบล โคราช ตาคลี เชียงใหม่ ฯลฯ และหรือจะผลิตสร้างเครื่องบินรุ่นใหม่ๆ ที่เป็นของไทยครึ่งหนึ่งในอนาคตข้างหน้าอีก ๔๐ –๕๐ –๖๐-.... ๑๐๐ - ๑,๐๐๐,๐๐๐ ปีก็ได้
ที่สำคัญคือ
(ก) ปัญหางบประมาณของประเทศที่เป็นตัวเลขน่าตกใจในอีก ๓๐ ปีข้างหน้า สำหรับปรับปรุงพัฒนา/จัดซื้อทดแทนเครื่องบินรบที่หมดอายุการใช้งาน หลายฝูงบิน ก็จะจบสิ้นลงไป
(ข) เคื่องบินที่นักบินรบของไทยขึ้นไปทำการบินนั้นเป็นเครื่องบินที่มีสมองกลและชิ้นส่วนผลิต/สร้างโดยคนไทย
(ค) ถึงตรงนี้ ASEAN ไม่ว่า ลาว พม่า เขมร จะซื้อจะมาร่วมหุ้นส่วนด้วยก็ได้ เหมือนกับ อิตาลี อังกฤษ สเปน ที่ร่วมมือกันสร้าง EF ในยุโรป
ข้อมูล/ความเห็นประกอบแนวคิดของทหารหาญ(อากาศ) รุ่นใหม่
ของเยอรมันส่วนใหญ่ดีครับแต่ไม่ใช่สิ่งที่เหมาะสมที่สุดสำหรับทุกคน/ทุกที่
คนเยอรมันภูมิใจในตัวเองและคิดว่าทำได้ดีกว่าคนอื่นจนบางครั้งลืมความเป็นจริง
1-3 นักเรียนทหารมีทุนไปเรียนต่อหลายประเทศทุกปีครับ ไม่จำเป็นต้องเยอรมัน ถึงเป็นเพื่อนกันจริงคิดดูว่าเค้าจะมาอะไรกับเรา เพื่อนร่วมรุ่นกันชาติเดียวกันยังไม่ค่อยทำธุรกิจร่วมกันเลย
4 เค้าจะมาร่วมมือกับเราทำไม เค้าจะได้ประโยชน์อะไร ร่วมมือกับคนอื่นดีกว่าไหม
EF ของคุณมันช่าง ถู๊กถูกๆๆ ดีจัง
กลับบ้าน กินนมนอนดีกว่า
เป็นไปได้เหรอท่าน ที่ราคา ยูโรไฟเตอร์ จะถูกกว่า F-16C/D บล็อกต้นๆ ยิ่งพัฒนาซอฟต์แวร์เอง ผมว่างบมันจะยิ่งบานปลาย
ราคาปัจจุบัน ยูโรไฟเตอร์ tranche 3A ค่าตัวเปล่าๆก้เกือบ 100 ล้านเข้าไปแล้ว
ศึกษาข้อมูลให้มากกว่านี้ดีไหมครับ การวิจัยไม่ใช่ว่าทำฟรีนะครับ อินเดียกี่ปีแล้วเจตาสเพิ่งจะหัดบิน บางทีโลกความจริงกับจินตนาการมันคนละอย่างกันครับ
ร่วมมือกับสวีเดนดีกว่า สวีเดนเป็นประเทศเล็กๆ แต่ด้านการผลิตอาวุธแล้วฝีมือพอตัวเลยทีเดียว (เสียดายตอนฟอร์ดขายวอลโว่ นักลงทุนไทยไม่ไปซื้อ สุดท้ายเสร็จจีน)
ในขณะที่ประเทศใหญ่ๆจะหยิ่งมาก ประเทศเล็กๆน่าจะคุยกันได้ง่ายกว่า
ราคา ผมว่าเราอย่าไปสนใจเรื่องราคามาก บางครั้งในการจัดซื้อคิดว่าได้ของถูก แต่ใช้ๆไปกระสุนหมด พังซ่อมเองไม่ได้
พอจะซื้อทดแทนก็ได้ราคาเดิม การร่วมมือกันลงเงินลงทุนเพื่อได้เทคโนโลยีมาผลิตเอง ในระยะยาวคุ้มค่ากว่า
เสียซ่อมเอง พังก็ผลิตขึ้นมาทดแทนเสียแค่ค่าแรงงานและวัตถุดิบ
ราคาสินค้าทั้งหลายที่แพงส่วนหนึ่งแพงเพราะรวมค่าคิดค้นเข้าไปด้วย ซึ่งเขาเรียกเราทุกครั้งที่ซื้อ แม้ว่าจะเป็นเทคโนเมื่อสิบปีที่แล้ว
- ถ้าเป็นไปตามหลักการของท่าน แล้วทำไม F35 ที่มีหลายชาติร่วมการลงทุน และใช้เวลานานในการพัฒนา ถึงมีราคาต่อลำทะลุ 115 ล้านเหรียญ ละครับ(คิดว่าเอาไม่อยู่แล้วราคานี้) หรือว่าเหมือน EF ที่มี 4 ชาติรวมกันพัฒนาที่พัฒนาเสร็จจะเหลือ 40ล้านเหรียญ ถ้าเป็นจริงบอกพี่ไทยไม่ต้องซื้อกริเพน ซื้อ F35 ดีกว่า ราคาเท่ากัน
- ถ้า ชาติ อาเชียน รวมมือพัฒนา เครื่องบิน ถามว่าแต่ละชาติมีเทคโนโลยีในมืออะไรบ้างที่จะมีผลิตเครื่องบิน ผลิตแล้วต้องผลิตกี่ลำถึงจะคุ้มทุน
EF ถ้ามันถูกจริง สวิสเซอร์แลนด์ ก็เลือก EF ไปนานแล้ว ไม่ต้องเลือก กริพเพน EF หรอกแพงกว่าตั้งหลายเท่า
ศึกษาข้อมูล ก่อนตั้งกระทู้ดีกว่าไหม กระทู้เก่าดี ๆ ตกหมด
รถถัง เรือดำน้ำ เครื่องบินรบเยอรมัน ฮะฮ่า มาทั้ง3เหล่าทัพเลยแฮะ
ก็ชอบซื้อกัน เหมือนเดิม
ไม่ชอบคิดค้นกัน เอาเป็นว่าลองไปถามเด็กเยาวชนรุ่นใหม่ๆ ก็แล้วกันเขาคิดอย่างไรกับกองทัพและประเทศชาติของเขา เพราะพวกเขาต้องรับผิดชอบกองทัพและประเทศชาติต่อไปในอนาคต
ไม่มีใครอยากซื้อหรอกครับ ทั้งเว็บนี้ก็ลุ่นกันตัวโก่งว่าเราผลิตอะไรได้บ้าง คลอดมาแต่ละตัวก็เฮกันยังกับผลิตยานอาวกาศสำเร็จ ประเด็นคือหลักฐานหรือข้อมูลอ้างอิงของคุณน้ำหนักไม่เพียงพอครับ
การคำนวนเรื่องตัวเลขเข้าข่ายกะๆเอา เดาๆเอา คนเขาเลยแย้งว่าที่คุณพูดไม่ถูก แต่ถามว่าอยากให้มีการสร้างเองมั้ยก็อยากทุกคนครับ ทอ.6 ไงครับ สร้างทีก็เพ้อกันทั้งเว็บแล้ว จะติดจรวดจะนู่นจะนี่ เอาเป็นว่าคุณไปหาข้อมูลเรื่องที่คนอื่นๆเขาแย้งดูก่อนครับ แล้วมานำเสนอใหม่ เพราะตอนนี้เหมือนคุณจะหนักไปทางประวัติศาสตร์มากกว่า
เครื่องบิน
๑ เทคโนโลยีชั้นสูงทางทหารเป็น “หลักประกัน” ด้านความปลอดภัยของประเทศ ดังนั้น เทคโนโลยีจึงมิใช่สิ่งของที่ตีเป็นมูลค่า/เป็นตัวเงินมากหรือน้อยได้ เทคโนโลยีชั้นสูงเป็นหัวใจของการรบในอนาคต ยิ่งหากเทคโนโลยีชั้นสูงมีความซับซ้อนมากยิ่งราคาแพง ด้วยแล้วไม่จำเป็นต้องมียุทโธปกรณ์มาก/แต่มีเทคโนโลยีล้ำสมัยกว่าคนอื่นใด หากแพงมากก็ลดจำนวนลง หลายๆ ประเทศทั่วโลกเหลือยุทโธปกรณ์ไม่กี่แบบ จำนวนไม่มาก แต่ทันสมัย สอดรับกับสภาพ/แนวโน้มของสงครามในแบบ/นอกแบบ-อสมมาตรในอนาคต นั่นหมายถึงว่ายุทโธปกรณ์แพงเป็นที่สุดด้วยจะแพงก็ต้องยอมลงทุน การลงทุนคิดค้นผลิตสร้างเทคโนโลยีราคาแพงหมายถึงการลงทุนเพื่อสร้างองค์ความรู้ภูมิปัญญาทางทหารของคนในชาติ โดยเฉพาะการผลิตสร้างเทคโนโลยีชั้นสูงทางทหาร (ยุทโธปกรณ์ขนาด/คุณสมบัติ/คุณลักษณะที่เหมาะสม) ที่สอดรับกับสภาพภูมิศาสตร์/ภูมิยุทธศาสตร์ของประเทศไทยที่มีเขตอาณาเหมาะสมที่จะเป็นศูนย์กลางใน ASEAN ย่อมก่อให้เกิดการสร้างปัญญาให้กับคนในชาติและสร้างตำแหน่งงานให้กับคนในชาติเป็นการลงทุนที่เกิดประโยชน์ไม่สูญเปล่า เงินทองยังหมุนเวียนอยู่ในประเทศ ต่างกับการจัดซื้อจัดหาที่เงินทองรั่วไหล หาเท่าไรก็ไม่พอ
๒ เทคโนโลยีชั้นสูงทางทหารเป็นของใหม่เกิดขึ้นมาเมื่อร้อยกว่าปี เป็นระยะเวลาไม่นานนักหากเปรียบเทียบกับอนาคตของชาติอีกร้อย-พัน-หมื่นปี ฯลฯ ข้างหน้า หลายประเทศโดยเฉพาะประเทศเจริญแล้ว ต้องยอมลงทุนสร้างเทคโนโลยีชั้นสูงทางทหารไว้ในครอบครอง เช่น สวีเดน (ประชากร ๙-๑๐ ล้านคน แต่ความจำเป็นทางภูมิยุทธศาสตร์จึงต้องมีเทคโนโลยีสุดยอดทางทหาร-แม้ว่าบางส่วนต้องขายให้กับต่างชาติ) จีน(อาวุธนานาชนิดกำลังจะครอบครองเทคโนโลยีชั้นเลิศ) อินเดีย(กำลังเพียรพยายามและอีกไม่นานก็น้าจะได้ครอบครองเทคโนโลยีชั้นสูงและเริ่มผลิตออกจำหน่าย) ยุโรป(ต้องผนึกกำลังกันหลายๆประเทศเพื่อการรวมตัวกันเป็นประชาคมและจะไม่เป็นศัตรูต่อกัน) สหรัฐฯ (F-35 ซึ่งต้องเพียรพยายามกันไป)
๓ ประเทศที่น่าร่วมลงทุน
(ก) ประเทศที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน หรือ ต้องการแสวงผลประโยชน์ร่วมกัน
(ข) ประเทศที่มีความสัมพันธ์ที่ดีในทุกระดับ
(ค) ประเทศที่มีกลไกความร่วมมือ/มีเจตนารมณ์สร้างความร่วมมือ เช่น ยุโรป(อาวุธนานาชนิด) สหรัฐ (JSF)
ดังนั้นจะร่วมโครงการกับประเทศไหนก็ได้ มิใช่เฉพาะเยอรมัน สวีเดน แต่ต้องถามว่าประเทศไทยจะร่วมมือกับประเทศใดให้ครบถ้วนในเงื่อนไขดังกล่าว
ผมว่าตั้งแต่ผมสมัครเข้าบอร์ดนี้มา สมาชิกที่นี่ทุกคนอยากให้ประเทศเรายืนได้ด้วยตนเองทั้งนั้น
แต่ที่พวกเค้าแย้งคุณนั้น ก็เพราะว่าข้อมูลของคุณมันไม่ถูกต้องนะครับ
เครื่องบิน EF ที่คุณว่า 30-40 mUSD นั้น ราคาจริงๆ มันก็ไม่ใช่แล้วครับ
แล้วอีกอย่างผมอยากให้คุณช่วยมองภาพความเป็นจริงด้วย
อุตสาหกรรมต่อเนื่องต่างๆ เกี่ยวกับการผลิตนั้น เรายังไม่มีความพร้อม
ยกตัวอย่างใกล้ตัวที่สุด อุตสาหกรรมรถยนต์ เราเป็นดีทรอยแห่งเอเซีย
ผลิตได้เกือบทุกส่วนของรถยนต์ แต่แปลกไหมทำไมไม่มียี่ห้อรถของตัวเอง
เพราะเราผลิตเครื่องยนต์เองไม่ได้ไงละครับ วิศวกรรมด้านโลหะนั้น เรายังไม่มีความรู้พอที่จะทำ
เรื่องแบบนี้ทุกประเทศถือว่าเป็นความลับทางการค้ากันทั้งนั้น
ถ้าจะถามว่าทำไมมาเลเซียมีรถยนต์แห่งชาติได้ ก็ต้องย้อนไปว่ามาเลเซียปิดตลาดรถยนต์ตัวเอง
แล้วออกกฏว่า ยี่ห้อโปร์ตอนเท่านั้น ที่ขายได้โดยไม่ต้องเสียภาษี แต่เครื่องยนต์ก็ยังใช้ของมิตซูบิชิอยู่
เพราะญี่ปุ่นเค้าไม่เปิดเผยความลับตรงนี้ไงละ
ข้อมูลเลี่อนลอยแล้วยังแอบใจน้อยอีกเนอะ
ทำเองได้ดีอยู่แล้วครับแต่ถ้าจะทำเองหลายๆโครงการไม่รอดแน่ สุดท้ายจะมีแค่งานวิจัยกับต้นแบบที่ไม่สามารถใช้งานได้จริง อาวุธที่จะใช้ป้องกันประเทศจริงๆคงไม่มีเงินซื้อเพราะเรามีเงินจำกัด
งบวิจัยพัฒนาและค่าเครื่องมือเครื่องจักร เป็นfix costซึ่งสูงเป็นหลายสิบหลายร้อยเท่าของ variable cost เมื่อ tc=fc+vc ดังนั้นกว่าจะได้อาวุธชิ้นแรกเราอาจต้องจ่ายเป็นร้อยเท่าของราคาในการซื้อ แล้วถ้าทำมาแล้วขายไม่ออกเนื่องจากสิ้นค้าของคนอื่นดีกว่าก็ต้องรอใช้เองคนเดียว ถ้าแบบนั้น pay back preiod คงนานเป็นศตวรรษ เราคงถังแตกก่อนหรือไม่ก็โดนคนอื่นบุกก่อน เพราะไม่มีเงินพอจะซื้อของที่ใช้ได้มาใช้งานครับ มีแต่งายวิจัย ไม่มีอาวุธไว้ป้องกันประเทศก็ไม่รอดครับ ค่อยๆทำทีละอย่างน่ะดีอยู่แล้ว
เข้ามาขำ ๆ อีกที 555.... ทุกคนในเวปนี้ก็อยากให้ไทยทำ ไทยใช้ ไทยเจริญกันทุกคนแหละครับ แต่เหตุผลที่เรายังไปไม่ถึงจุดฝันก็ตามที่ทุกท่านได้กล่าวมานั้นแหละครับ วาน จขกท. ย้อนกลับไปอ่านคนที่มาตอบกระทู้ของท่านดู แล้วทำความเข้าใจใหม่นะครับ
ตอบกระทู้
๑.๑ ราคา EF ที่เขียนไว้ข้างต้นคือ ๔๐(๔๔)- ๖๐ ล้านเหรียญ ไม่ใช่ ๓๐-๔๐ ล้านเหรียญตามที่คุณ Ricebeanoil คอมเม้นท์มา ราคา EF เดิมที่เคยประมาณการกันไว้นั้นสูงไปจากเดิมมาก เนื่องจากพัฒนาการของเทคโนโลยีก้าวหน้ามากกว่าที่คิด และจำเป็นต้องพัฒนาเทคโนโลยีชั้นสูงนี้ให้ล้ำหน้าขึ้นไปด้วยเพื่อให้ EF สามารถเผชิญกับสภาพภัยคุกคาม/ความท้าทายที่มีพัฒนาการตามสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วได้ ราคา EF จึงแพงขึ้นกว่าเดิมจากที่ได้ประมาณการไว้ซึ่งก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดา ถึงตรงนี้กว่าสายการผลิตเครื่องสุดท้ายจะมาถึง ก็ยังไม่รู้เลยว่า EF จะตกราคาเครื่องละเท่าไร วิธีการแก้ปัญหาของกลุ่มยุโรปก็คือลดจำนวนการผลิต EF ลงให้งบประมาณในภาพรวมอยู่ภายในกรอบ การแก้ปัญหาเรื่องราคาบานปลายจึงมิใช่เรื่องยาก เรื่องยากคือทำอย่างไรยุโรปจึงจะมีเทคโนโลยีสุดยอดในครอบครอง ซึ่งยุโรปก็เข้าใจธรรมชาติของการผลิตสร้างนวัตกรรมล่ำยุคเป็นอย่างดี ทั้งนี้ ราคา EF ก็มิใช่ประเด็นสำคัญที่อยากจะถกแถลงมากนัก ประเด็นสำคัญกว่าคือว่าการทำอย่างไรเราถึงจะมีองค์ความรู้ภูมิปัญญาด้านการทหารเป็นของตัวเอง (บ้าง หรือเกือบทั้งหมดยิ่งดี) เนื่องจากความอยู่รอดปลอดภัยของประเทศมิอาจตีมูลค่าเป็นตัวเงินได้
๑.๒ ตอบคุณ System_4 ในประเด็นที่ว่า เมื่อรวมกลุ่มกันผลิต EF แล้ว มิใช่ว่าราคาจะถูกลง ราคาเป็นเช่นเดิมตามราคาเทคโนโลยี มิใช่ลดมาเหลือ ๔๐ ล้านเหรียญ ตามที่คอมเม้นท์ แต่การที่เครื่องบินที่เกิดจากการรวมตัวกันของหลายๆประเทศ แต่ละประเทศจะเสมือนกับว่าซื้อ EF ถูกลงตามสัดส่วนของการมีส่วนร่วมในการผลิตสร้าง หมายความว่า เงินที่จ่ายไปในการซื้อเครื่องบินนั้น ส่วนหนึ่งไม่ไหลออกนอกประเทศ ไหลเวียนอยู่ในประเทศของตนเองเป็นผลดีทางทหารและทางเศรษฐกิจพร้อมๆกัน
๑.๓ ตอบกระทู้คุณ numgmt ประเทศไทยเคยผลิตเครื่องบินได้ (ยกเว้นเครื่องยนต์) เมื่อครั้งกองทัพอากาศถือกำเนิด แต่ต้องมายุติลง เพราะเหตุผลบางประการ นั่นเป็นบทเรียนที่แสนเจ็บปวด ประเทศไทยต้องเพียรพยายามใหม่แม้จะต้องคลุกลานแต่เชื่อว่าอีกไม่นานคงลุกเดินได้ แต่คงมิใช่เป็นการลงทุนแต่ผู้เดียว มีวิธีการพัฒนาประเทศอีกหลายวิธีการ เช่น ความร่วมมือกับประเทศเจ้าของเทคโนโลยี การผลิตชิ้นส่วนบางชิ้นส่วนในก้าวแรกๆ โดยไม่จำเป็นต้องผลิตสร้างเองทั้งหมด ของบางอย่าง(เอกชน)ผลิตได้เองก็เริ่มผลิตเพื่อใช้งานเอง ของบางอย่างก็ยังต้องซื้อ ค่อย ๆ ลงทุน ค่อยๆทำไป ทำไปพร้อมๆกับการสร้าง “คน” ๓๐-๕๐ ปีก็น่าจะบรรลุความสำเร็จ และอยู่ถาวรต่อไปอีกหลายร้อยหลายพันปี การพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศไม่จำเป็นต้องให้รัฐเป็นผู้ลงทุนทั้งหมด เชื่อว่าภาคส่วนเอกชน/ร่วมกับต่างชาติพร้อมลงทุน เพียงแต่ต้องมียุทธศาสตร์ที่ดีที่ทำงานร่วมกัน ๓ ฝ่ายคือ รัฐบาล –เอกชน/ผู้ร่วมทุน-หน่วยงานผู้ใช้อากาศยาน หลายๆประเทศใช้วิธีการนี้ นำเงินในกรอบโครงการที่จะไปซื้อผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปมาใช้เปลี่ยนให้เป็นเงินต้นทุนภายใต้ความร่วมมือตามสัดส่วนวงเงินที่รัฐบาลจัดสรร โดยใช้กรอบเงินเท่าเดิม และเงินส่วนนี้จำนวนหนึ่งก็ไหลวน ในประเทศมิได้ไหลออกไปนอกประเทศทั้งหมด ที่สำคัญ คือ ประเทศไทยมีเครื่องบินมาตรฐานเหมือนกับประเทศร่วมทุนโดยส่วนหนึ่งผลิตสร้างด้วยฝีมือ (เอกชน) คนไทยเอง
๑.๔ ตอบกระทู้คุณ Toeytei ประวัติศาสตร์เป็นพื้นฐานของอนาคต ประเทศยุโรปสร้างทายาทของตนด้วยการนำเด็กเยาวชนไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ของตนต่อเนื่องตลอดเวลาเพื่อให้เห็นพัฒนาการและปลูกฝังจิตวิญญาณในการสืบทอดเจตนารมณ์ ประเทศเจริญแล้วมีพิพิธภัณฑ์ทุกแขนงสาขามากมายทั่วทุกหัวระแหง เด็ก/เยาวชนเข้าเยี่ยมชมฟรี ทั้งนี้ ก็เพื่อให้ประวัติศาสตร์เป็นฐานรากของอนาคต เป็นวิธีการสร้างชาติของประเทศเจริญแล้ว
ตอบกระทู้คุณ FireFly
มิใช่จะฝักใฝ่ “เยอรมัน” มิใช่อะไรๆก็เยอรมัน ต้องเข้าใจธรรมชาติคนเยอรมันเพราะเยอรมันเองก็เป็นคนที่โลภโกรธหลง มองผลประโยชน์ของตนเองเหมือนปุถุชนทั่วไป คนเยอรมันพูว่า “ไม่มีความเป็นเพื่อนมีแต่ผลประโยชน์ - Not a freindship but Interest” ฝ่ายไทยตกเป็นเบี้ยล่างของเยอรมันไม่น้อยเช่น Mercedes Benz Siemens ฯลฯ ที่ทำธุรกิจในประเทศไทย(ตามกฎหมายเดิม)ที่มิได้บังคับให้ต้องมีการลงทุนร่วม (เป็นกิจการต่างประเทศร้อยละ ๑๐๐) ปัจจุบันบริษัทยักษ์ใหญ่ของเยอรมันเหล่านี้กอบโกยเงินทองของตนเองกลับบ้านอย่างเดียว นี่คือวิธีการบริหารจัดการประเทศของไทย อันที่จริงเยอรมันพร้อมที่จะดำเนินธุรกิจร่วมทุนตามกฎหมาย เพียงแต่ “ผลประโยชน์” ที่ชัดเจน อย่าไปโกงเขาอย่างกรณี วาลเทอร์เบา จนกลายเป็นคดีสะท้านโลก
กิจการทางทหารของไทยยุคใหม่ส่วนหนึ่งสืบตำนานมาจากเยอรมัน รัชกาลที่ ๕ ท่านทรงพัฒนากิจการทหารของประเทศสยาม (รร.นายร้อย จปร.) โดยส่งคนมาเรียนที่โรงเรียนนายร้อยเยอรมัน เพื่อนำความรู้ไปพัฒนากิจการทหารของสยาม และเหตุผลอีกส่วนหนึ่งก็คือต้องการสร้างเกราะสยามให้รอดจากการตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ/ฝรั่งเศส ท่านเสด็จประพาส ๒ ครั้ง ด้วยความสนิทสนมทำให้เยอรมันประกาศว่า “สยามเป็นรัฐเอกราช” จนมหาอำนาจอื่นๆ ต้องวางมือ ท่านสงบุตรหลานมามากมายหลายสิบคน หนึ่งในนั้นก็คือพระบรมราชชนกซึ่งเมื่อท่านจบจากโรงเรียนนายร้อยเยอรมันพอสดัมแล้วก็ได้เข้ารับการศึกษาต่อที่โรงเรียนนายเรือเยอรมัน ท่านกับพระสหายชาวเยอรมันอีก ๔ คน ได้ร่วมกันออกแบบเรือดำน้ำเข้าประกวดและได้รับรางวัลที่ ๑
รัชกาลที่ ๕ ท่านทรงนำวิทยาการ/นวัตกรรมอื่นๆ จากเยอรมันมาสู้ประเทศไทย ได้แก่
รถไฟ (Thysen Krupps) แต่เสียดายว่าขาดการพัฒนาต่อยอดมานับร้อยปี มีสภาพเห็นเป็นเช่นทุกวันนี้
ระบบชลประทาน การขุดคลองธัญญะ/คลองรังสิต เพื่อป้องกันน้ำหลากกรุงเทพ มิได้รับการพัฒนาต่อ ถูกบุกรุกเป็นที่ขายก๋วยเตี๋ยวเรือชั้นเยี่ยม
ไปรษณีย์ ปัจจุบันเติบโตขยายกิจการ ส่งแหนมเนืองจากอุดร/หนองคายไปทั่วประเทศในราคาไม่แพง
การสร้างความร่วมมือกับต่างประเทศ (ประเทศใดๆก็ได้) ไม่ยาก
ตอบกระทู้คุณ numgmt (อีกรอบ)
๑ โครงการจัดหาอาวุธ ของเหล่าทัพมีอะไรบ้าง
๑.๑ เหล่าทัพ ก มีโครงการ x ปี ๒๐๑๓ - ๒๐๑๘ มูลค่า ๖,๐๐๐ ล้านบาท
เหล่าทัพ ก มีโครงการ x1 ปี ๒๐๑๕ - ๒๐๒๐ มูลค่า ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท
เหล่าทัพ ก มีโครงการ x2 ปี ๒๐๑ ๙ - ๒๐๒๓ มูลค่า ๑๒,๐๐๐ ล้านบาท
เหล่าทัพ ก มีโครงการ x ปี ๒๐xx - ๒๐xn มูลค่า nn,๐๐๐ ล้านบาท
......
๑.๒ เหล่าทัพ ข มีโครงการ y ปี ๒๐๑๓ - ๒๐๑๘ มูลค่า ๕,๐๐๐ ล้านบาท
เหล่าทัพ ข มีโครงการ y1 ปี ๒๐๑๕ - ๒๐๒๐ มูลค่า ๑๕,๐๐๐ ล้านบาท
เหล่าทัพ ข มีโครงการ y2 ปี ๒๐๑ ๙ - ๒๐๒๓ มูลค่า ๓๐,๐๐๐ ล้านบาท
เหล่าทัพ ข มีโครงการ y ปี ๒๐xx - ๒๐xn มูลค่า nn,๐๐๐ ล้านบาท
......
๑.๑ เหล่าทัพ ค มีโครงการ z ปี ๒๐๑๓ - ๒๐๑๘ มูลค่า ๙,๐๐๐ ล้านบาท
เหล่าทัพ ค มีโครงการ z1 ปี ๒๐๑๕ - ๒๐๒๐ มูลค่า ๑๕,๐๐๐ ล้านบาท
เหล่าทัพ ค มีโครงการ z2 ปี ๒๐๑ ๙ - ๒๐๒๓ มูลค่า ๕๐,๐๐๐ ล้านบาท
เหล่าทัพ ค มีโครงการ z ปี ๒๐xx - ๒๐xn มูลค่า nn,๐๐๐ ล้านบาท
......
๓ ตามหลักการที่ว่า fix cost สูงเป็นหลายสิบหลายร้อยเท่าของ variable cost เมื่อ tc=fc+vc
หากรวมตัวเงินของเหล่าทัพ ก ข ค ตั้งแต่ปี ๒๐๑๓ – ปี ๒๐xn เป็นตัวเลข c(mm,๐๐๐ ล้านบาท) ต่อไปเรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุดน่าจะมีคนมาลงทุน ผลิตสร้างอาวุธยุทโธปกรณ์ในประเทศไทยก็ได้ อย่าง EADS/เครื่องบิน KMW/รถถัง Thyssen Krupps/เรือด้ำ/รถไฟ/ลิฟต์ ที่ผลิตสร้างร่วมกับ Rhein Metall/ลำกล้องกระสุน ฯลฯ รวมถึงอีกหลายบริษัท ที่เป็นเจ้าของเทคโนโลยีแต่ละแขนงสาขา บริษัทเหล่านี้ซื้อเครื่องจักร (เครื่องกลึง เครื่องตัด - Robot มาจากบริษัทสร้างเครื่องมืออีกทอดหนึ่ง-ไทยก็ซื้อได้) และซื้อโลหะแท่งสำเร็จมาอีกบริษัทหนึ่งซึ่งเชี่ยวชาญด้านโลหะ (ไทยก็ซื้อโลหะสุดแกร่งซื้อได้) ทั้งนี้ EADS KMW Thyssen Krupps Rheinmetall เพียงแต่ออกแบบวิศวกรรมด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ด้วยองค์ความรู้ภูมิปัญญาเองเท่านั้น
เงิน c(mm,๐๐๐ ล้านบาท) ดังกล่าว จ่ายให้บริษัทเหล่านี้ไปทังหมดในปีแรกๆ แต่จะได้ยุทโธปกรณ์มาน้อยกว่าที่ต้องการเนื่องจากส่วนหนึ่งเป็นค่าเครื่องมือ แต่หลังจากนั้น ๓๐ ปี เราก็จะผลิตสร้างแบบมาตรฐานต่อยอดได้ ประเทศไทยก็จะมีเครื่องบินแบบเดียวกับประเทศที่เข้ามาร่วมลงทุน เทคโนโลยีใกล้เคียงกัน เสียเงินเท่าเดิม (ปีหลังๆ เงินไหลวนอยู่ในประเทศ) มีอาวุธยุทโธปกรณ์ใช้เหมือนเดิม แต่เป็นยี่ห้อเดียว ไม่หลากหลายยี่ห้อจนซ่อมบำรุงไม่ไหวเหมือนปัจจุบัน
ปีที่ ๑๐ ต้องถ่ายทอดเทคโนโลยีให้คนไทย (วิศวกร/นักการทหาร) เข้าไปเป็นบุคลกรของบริษัทร้อยละ ๓๐
ปีที่ ๒๐ ต้องถ่ายทอดเทคโนโลยีให้คนไทย (วิศวกร/นักการทหาร) เข้าไปเป็นบุคลกรของบริษัทร้อยละ ๕๐
ปีที่ ๓๐ ต้องถ่ายทอดเทคโนโลยีให้คนไทย (วิศวกร/นักการทหาร) เข้าไปเป็นบุคลกรของบริษัทร้อยละ ๗๐
และรักษาสัดส่วนการลงทุนให้อยู่ในระดับ ๔๙-๕๑ ตามกฎหมายไทย
๔ ความแพงของเทคโนโลยีชั้นสูงด้านการทหารอยู่ที่
F=ma
E=mc2
E= ½ mv2+mgh
L=Cl@Av2
......
ซึ่งเหล่านี้เป็นสูตรทางวิชาการสากล ใครๆก็เรียนรู้ได้ ความยากอยู่ที่ การดัดแปลงประยุกต์สูตร ซึ่งเด็กไทย/สมองคนไทยรุ่นใหม่ทำได้ โดยเฉพาะเด็กเยาวชนไทยที่ชนะการประกวดโอลิมปิควิชาการทำได้แน่นอน
ก็ดีฮะ ขอให้ก้าวหน้าในเส้นทาง เป็นใหญ่เป็นโตก็ทำให้ไทยเราเป็นได้เช่นนั้นก็เยี่ยมครับ