หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ยืนยันมาแล้ว OHP 2 ลํา ครับ

โดยคุณ : FatBoy เมื่อวันที่ : 12/05/2013 08:56:59

ได้รับการบอกกล่าวมาแล้วครับ เรือฟริเกต ชั้น OHP. ที่สหรัฐ เสนอมาให้ทร. 2 ลํา คือ USS RENTZ ( FFG 46 ). และ USS VANEGRIFT. ( FFG 48 ) ครับ.




ความคิดเห็นที่ 1


แก้ไขชื่อเรือ FFG 48 เป็น USS VENDEGRIFT ครับ
โดยคุณ FatBoy เมื่อวันที่ 30/12/2012 17:44:20


ความคิดเห็นที่ 2


.........ช่วยลงภาพ USS RENTZ (FFG 46)

USS RENTZ (FFG 46)


โดยคุณ สกายนาย เมื่อวันที่ 30/12/2012 18:33:25


ความคิดเห็นที่ 3


............ช่วยลงภาพ USS VANDEGRIFT (48)

USS VENDEGRIFT (FFG 48)


โดยคุณ สกายนาย เมื่อวันที่ 30/12/2012 18:40:28


ความคิดเห็นที่ 4


นำภาพมาจาก http://www.excellencelogistic.com/Ships/Vandegrift.html

โดยคุณ สกายนาย เมื่อวันที่ 30/12/2012 18:42:14


ความคิดเห็นที่ 5


   ขอบคุณครับท่าน  FatBoy  ยินดีกับทร.ด้วยนะครับ    เรือค่อนข้างใหม่ด้วย.....  รู้สึกว่าเรือชั้นนี้สร้างมา 50-60 ลำ  

เลขสำหรับลำท้ายๆถ้าจำไม่ผิดก็ No 60 กว่า 70 กว่าถ้าจำไม่ผิด......... ก็เหลือรอปลดสัก 20 กว่าลำได้นะครับ    ถ้า 2-3 ปี ข้างหน้าจัดหางบได้  น่าจะสอยมาอีกสัก 2 ลำนะครับ

  

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 30/12/2012 18:44:18


ความคิดเห็นที่ 6


เก่ามากน๊ะครับ ..........เอาจริงหรอ ไม่อยากให้ทร.ซื้อเลย

USS Curts (FFG-38)

 

Ordered: 27 April 1979
Builder: Todd Pacific ShipyardsSan Pedro,California
Laid down: 1 July 1981
Launched: 6 March 1982
Acquired: 2 September 1983

Commissioned:

8 October 1983

 

 

Class & type: Oliver Hazard Perry-class frigate
Displacement: 4,100 long tons (4,200 t), full load
Length: 453 feet (138 m), overall
Beam: 45 feet (14 m)
Draught: 22 feet (6.7 m)


12


โดยคุณ konthairakchart เมื่อวันที่ 30/12/2012 18:56:29


ความคิดเห็นที่ 7


ถ้าไม่มีเงื่อนไขอะไรแปลกๆ อย่างข้อห้ามในการปรับปรุงบางอย่าง หรือต้องใช้ระบบอาวุธต่างๆของสหรัฐหรือนาโต้เท่านั้น

ทัพเรือเราก็น่ารับเอาไว้พิจารณานะครับ ถึงแม้เรือจะมีอายุเกือบ 30 ปีก็แล้วเถอะ

แล้วส่วนที่เหลือก็ไปลงทุนกับ Modern Frigate หรือ OPV ดีกว่า

โดยคุณ evill เมื่อวันที่ 30/12/2012 18:58:15


ความคิดเห็นที่ 8


หรือ อย่างนี้ หรือเปล่า ครับ...น่าจะน๊ะ

เเหล่งที่มา: http://www.bangkokpost.com/news/local/318403/us-to-supply-cut-price-weaponry

จากข่าวของ Bangkok Post สหรัฐฯจะเสนอขายระบบอาวุธและอุปกรณ์จำนวนมากให้ไทย
เช่นรถ HMMWV มือสอง 1,150คัน เครื่องยนต์ F-16 5เครื่อง และการจัดซื้อ ฮ.Blackhawk 3เครื่อง
ในส่วนของกองทัพเรือนั้นมีการเสนอขายเรือฟริเกตชั้น Oliver Hazard Perry 2ลำด้วย

ที่จริงการเสนอขายเรือฟริเกตชั้น Oliver Hazard Perry นั้นไม่ใช่เรือใหม่สำหรับกองทัพเรือไทย
เพราะช่วงที่สหรัฐฯทำการปลดประจำการเรือชั้น Oliver Hazard Perry รุ่นลำตัวเรือสั้นในช่วงปี 1990s นั้น
กองทัพเรือไทยก็เคยพิจารณาเรือชั้นนี้มาแล้ว แต่ไม่เอาเพราะเรือชั้นนี้ใช้เครื่องยนต์ Gas Turbine ล้วนสองเครื่อง 
ซึ่งถ้าเทียบกับเครื่องยนต์Diesel แล้วมีความสิ้นเปลืองเชื่อเพลิงสูงกว่ามาก
กองทัพเรือซึ่งจึงเลือกจัดหาเรือชั้น Knox ซึ่งใช้ ย.กังหันไอน้ำแทนซึ่งก็คือเรือชุด ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
แต่อย่างไรก็ตามจากอายุการใช้งานเรือโดยรวมเรือชุด ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทั้งสองลำจะต้องปลดในราวปี ๒๕๕๘-๒๕๖๐
และเรือที่ใช้ ย.กังหันไอน้ำนั้นก็ค่อนข้างยุ่งยากในการบำรุงรักษาด้วย

โครงการจัดหาเรือฟริเกตชั้น Oliver Hazard Perry ถ้าจะมีจริงคงเป็นคนละส่วนกับโครงการจัดหาเรือฟริเกตใหม่2ลำ 30,000ล้านบาท
เพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการปราบเรือดำน้่ำให้กับกองทัพเรือทดแทนเรือชุด ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
(เชื่อเถอะว่าถึงตอนที่กองเรือดำน้ำก่อตั้งครบรอบ10ปี อย่างไรตอนนั้นกองทัพเรือก็อาจจะยังไม่มีเรือดำน้ำประจำการ)
แต่โดยส่วนตัวแล้วคิดว่ากองทัพเรือต้องการเรือชั้น Oliver Hazard Perry จริงๆหรือไม่
และเรือชั้น Oliver Hazard Perry อาจจะมีคุณสมบัติที่ไม่เหมาะสมกับกองทัพเรือไทยก็ได้ครับ

เรือฟริเกตชั้น Oliver Hazard Perry เป็นเรือที่ออกแบบมาในยุคปี 1970s 
ภารกิจหลักของเรือชั้นนี้คือการปราบเรือดำน้ำและคุ้มกันกองเรือพาณิชย์
การออกแบบระบบอุปกรณ์และอาวุธของเรือชั้นนี้ถือว่าค่อนข้างประหลาดและล้าสมัยไปแล้วในยุคปัจจุบัน
เช่น การที่มีป้อมปืนใหญ่ Mk75 (OTO Melara 76/62) ติดบนหลังคาหลังเสากระโดงเรือหน้าปล่องควัน ซึ่งมีย่านมุมยิงจำกัด
ระบบ Sensor และอุปกรณ์แบบดังเดิมก็ล้าสมัย การปรับปรุงสามารถทำได้จริง 
เช่น เรือชั้น Adelaide ของออสเตรเลีย หรือ เรือชั้น G ของตุรกี ที่ติดแท่นยิง Mk41 สำหรับ ESSM และยิง SM-2MR จากแท่นยิง Mk13ได้
แต่ก็มีข้อจำกัดมากจากโครงสร้างเรือและมีค่าใช้จ่ายระดับหนึ่ง

 

โดยคุณ konthairakchart เมื่อวันที่ 30/12/2012 19:01:50


ความคิดเห็นที่ 9


^ http://aagth1.exteen.com/20121101/oliver-hazard-perry

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 30/12/2012 19:08:02


ความคิดเห็นที่ 10


อย่างงี้ ท่าน juldas   ดีใจ เลยสิครับถ้ามีการอนุมัติจัดหาอีก คงจะต้องมีฉลอง ถ้าจัดหามาได้จริงก็ดีไปอย่างนะครับ เพื่อเอามาแทนเรือชั้นKnox  แต่ที่ผมกลัวในตอนนี้ก็คือการที่กองทัพเรือจะโดนเล่นงาน แบบลับๆ พวกกระจิตรสูงอะไรพวกนี้ เพราะอายุเรือก็29ปีเกือบจะ30ปี   เอ  มันคล้ายๆ กับเรือดำน้ำU-206เลยนะครับ อายุก็ประมาณเนี้ย พอขออนุมัติก็โดนกระแสจิตรทางลับเอาสะหน้าเศร้ากันไปหลายคน   แต่ไงผมก็เชียร์นะครับ  สำหรับเรือOHP หมายเลข46,48 ว่าแต่เขาจะแถม SH-60ทั้ง2ลำมาให้ด้วยหรือปล่าวนิครับ   

โดยคุณ kok129 เมื่อวันที่ 30/12/2012 19:22:37


ความคิดเห็นที่ 11


ไม่รู้อะไรกันนักติกันจริง ใครก็อยากได้ของใหม่ แต่ปัญหาอยู่ที่งบ แต่ผมว่าusa คงขายให้เราในราคาที่ถูกมากมาก มันเป็นเรื่องการเมืองนะหว่างประเทศ อีกอย่างเราต้องดู้ข้าศึกสมมุติของเราด้วยว่าเป็นใคร ระะดับที่เราคาดกันผมว่า ohpหรือknoxพอแน่แน แต่ต้องมีปริมาณมากกว่านี้ 2ลำน้อยเกินไป ควรจะ4 ลำเป็นอย่างต่ำ

โดยคุณ trai เมื่อวันที่ 30/12/2012 19:33:47


ความคิดเห็นที่ 12


ผมว่าหากไม่เอาohpแต่เพิ่มงบจ้ดหา frigate hiend เป็น6 ลำวงเงิน100,000ล้านบาท คงมีคนออกมาค้านว่าใช้บมาก จะเอาเงินที่ใหนจ้ดหาfrigateมือ2อย่าง ohp.lupo or type22(uk)ดีกว่า

โดยคุณ trai เมื่อวันที่ 30/12/2012 19:41:39


ความคิดเห็นที่ 13


มันไงเนี่ยผิดพลาดทางเทคนิคครับ postจากมือถือ

โดยคุณ trai เมื่อวันที่ 30/12/2012 19:47:13


ความคิดเห็นที่ 14


   ยินดีกับป๋าจูลด้วยนะครับ  มาดังใจหวังแล้วครึ่งหนึ่ง

  อุปกรณ์ต่อต้านเรือดำน้ำในเรือชั้นนี้นี่ต้องขอบอกว่าดีที่สุดในภูมิภาคนี้แล้วครับ  แม้ว่าอายุเรือจะมากอยู่    แต่เคยทำการปรับปรุงไปแล้ว   และเป็นระบบต่อต้านเรือดำน้ำนิวเคลียร์ด้วย   จะขาดก็แค่ติดตั้ง  VLS Mk-41 8 cell  เพื่อทำการยิง  ASROC  เท่านั้น  Fire control ของเรือก็รองรับแท่นยิง Mk-41 ได้อยู่แล้ว(ดังที่ป๋าจูลได้เคยอธิบายไว้)   ซึ่งถ้าเงินสะดวกก็สามารถติดตั้งได้ทีหลัง(คงต้องลงทุนอีกสัก 1,500 - 2,000 ล้านสำหรับ 2 ลำ)     และเรือทำการ refit มาเรียบร้อยให้ใช้งานได้อีก 20 ปี   

   ดังนั้นจะบอกว่าเรือเก๊าเก่าซื้อมาทำไมไม่ได้หรอกครับ     งั้นเรือชั้นนเรศวรก็เก่าเอาเรื่องสิครับ  18 ปีแล้ว    พอ Upgrade ใหม่แทบทั้งลำแจ๋วใช่ไหมครับ    

    ถ้าจัดหามาเกือบพร้อมๆกับไต้หวันแบบนี้   หวังว่าคงได้ราคาและเงื่อนไขเดียวกันนะครับ    คือราคาประมาณเกือบ  7,000 ล้านบาท   และขายระบบ SM-2 ให้ด้วย  ไม่รู้ว่า Block-3A ขึ้นไปหรือเปล่า   ถ้าได้ SM-2 มาด้วย    ประเทศเราก็จะเป็นชาติแรกในภูมิภาคที่อเมริกันขายระบบนี้ให้ก่อน (พี่เขาเริ่มใช้ระบบ SM-3 แล้ว)    ดังนั้นเมื่อจัดหาเรือฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศเมื่อไหร่   ก็มีความเป็นไปได้ที่จะได้ระบบ AEGIS ชุดเล็กพร้อม SM-2  ในราคาโคตรโหด......   ระยะยิง SM-2 block 3A  ก็ไม่ไกลมาก  แค่ราวๆ 170-180 กิโลเมตรเท่านั้นเอง   

  ผมเอาว่าผ่าน   ดูเกมส์การเมืองแล้วน่าจะผ่าน   เพราะมาแปลกและรัฐบาลเอางานช้างมาให้ระทึกใจกับทุกๆฝ่ายกันใน มค. ปีนี้    คาดว่าอีก 3-4 เดือนลุย   ฝ่ายจ้องล้มโครงการคงไม่มีเวลามาจัดการเรื่อง OHP กับเรือฟรีเกตต่อใหม่ของทร.หรอกครับ


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 30/12/2012 20:16:29


ความคิดเห็นที่ 15


ร.ล.จักรีนฤเบศร ใช้เครื่องยนต์ก๊าซเทอร์ไบน์ General Electric LM 2500 เหมือนเรือฟริเกต ชั้น Oliver Hazard Perry เช่นเดียวกัน ไม่ใช่เรื่องที่น่าจะต้องกังวล และเรือฟริเกต ประเภทนี้ ไม่ได้ออกปฎิบัติการบ่อยๆอยู่แล้ว คล้ายกับเรือฟริเกต ชุด ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ครับ   สุดท้าย ทร.ไทยไม่ได้เป็น กองทัพที่จะได้งบประมาณจัดหาเรือฟริเกตใหม่ง่ายๆนะครับ ครั้งสุดท้าย ถ้าไม่รวมเรือฟริเกตมือสอง อย่างชุด ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ก็ประมาณ 20 กว่าปี มาแล้ว    ตอนนี้ทร. มีโอกาสจัดหาเรือฟริเกตสมรรถนะสูงใหม่ 2 ลำ  และจะได้เรือฟริเกตชั้น OHP อีก 2 ลำ มาทดแทน เรือฟริเกตชุดร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ที่เรารับมอบตั้งแต่ปี 2537 และ 2539 ซึ่งผมว่าเหมาะแล้วครับ สำหรับ ทร. ถ้าได้เรือชั้น OHP มาจริงๆ ในราคาแบบการช่วยเหลือทางทหาร คล้ายตอนที่เราได้เรือชุด ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เมื่อเกือบ 20 ปี มาแล้ว 

โดยคุณ Mr. Bean เมื่อวันที่ 30/12/2012 20:00:23


ความคิดเห็นที่ 16


   เอารูปสวยๆมาดูเล่นกันดีกว่าครับ 

ส่วน SH-60  คงไม่ได้แถมหรอกครับ   คงต้องไปซื้อเอาเองใหม่  เรือชั้นนี้ 1 ลำใช้ฮ.ต่อต้านเรือดำน้ำ 2 เครื่อง    ฮ. 2 ลำ พร้อมอุปกรณ์เต็มพิกัด   น่าจะกว่า 3,500 ล้านบาท   55555.......แพงกว่าราคาเรือซะอีก   แต่ถ้าแถมจรวดมาเต็ม MAG ลำละ 40 ลูก  ลูกละ 40 กว่าล้านบาท     2 ลำนี่ก็หลายพันล้านบาทแล้วครับ   เห็นไหมราคามิตรภาพจริงๆ  ไม่งั้นคุณต้องไปซื้อจรวดใหม่เอาเอง (หวังว่าอเมริกาจะแถมให้จริงๆแบบไต้หวันนะครับ  สาธุ....)

 


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 30/12/2012 20:30:55


ความคิดเห็นที่ 17


   แล้วมาลุ้นว่าจะเป็น MEKO-D หรือ MEKO-A  ซื้อเรือฟรีเกตใหม่แถมแพ็คเกตเรือดำน้ำเก่าสำหรับฝึก 2+2 ลำ    แบบปฎิเสธไม่ออก   แบบทอ.จัดหา Jas-39 พร้อม SAAB 340   

   งานนี้ได้มาแค่ 2 ลำ   และถ้าได้ SM-2 มาด้วยแบบไต้หวันจริง  สงสัยจะ  MEKO-D แฮะ   มาเพื่อเติมเต็มในเรือฟรีเกตต่อต้านเรือดำน้ำ 4 ลำ    ยกเว้นจะมีแผนจัดหา OHP อีกสัก 2 ลำใน 1-3 ปีข้างหน้า    เออแบบนี้อาจจะเป็น MEKO-A-200  ที่เหมาะสมกับภาระกิจป้องกันภัยทางอากาศมากกว่า

 เอารูปสวยๆของ MEKO-A-200 ไปชมครับ




โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 30/12/2012 20:39:03


ความคิดเห็นที่ 18


ยินดีกับ ทร. ด้วยครับ ผมสงสัยจากในรูป OHP ที่เสนอมายังมีแท่นยิงจรวด SM-1  ติดมาให้ด้วยเหรอครับ ถ้ายังติดมาจะดีมากเลยครับแค่ปรับปรุงให้ยิง SM-2 และขอถามอีกอย่าง แท่นยิงจรวดรุ่นนี้ใช้ยิงได้เฉพาะ SM-1 หรือ ยิงจรวดอื่นๆด้วย เช่น Harpoon , Asroc ตรงนี้ถ้าผมเข้าใจผิดก็ขออภัยไว้ก่อน เพราะไม่รู้จริงๆ ครับ

ปล. ถ้ามาแบบนี้น่าจะจัดหามาอีกสัก 2 ลำ ครับ

โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 30/12/2012 20:53:21


ความคิดเห็นที่ 19


สำหรับรูปเรือ MEKO-A-200 ของคุณ neosaimese2 ยอมรับว่าสวยกว่า ทันสมัยกว่า เรือ จีน เกาหลี ครับ ยิ่งถ้าแถม U206 ให้จริงๆ ผมขอยกมือสนับสนุน ครับ (ขอเพิ่ม option ต่อเองในประเทศอีก 2-4 ลำในเวลา 10 ปี ด้วยจะดีขึ้นไปอีก ครับ)

โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 30/12/2012 21:00:16


ความคิดเห็นที่ 20


ยินดีกับ ทร. และกองเชียร์ทุกท่านครับ

ขอให้ข่าวของท่าน fatboy เป็นจริง และอย่าได้มีอะไรมาทำให้เบี่บงเบียนไปจากนี้นะครับ

ขอถามหนึ่งข้อครับ เรือทั้งสองลำจะมีแท่นยิงจรวดอะไรติดมาด้วยหรือว่าจะโล้นๆ เปลือยๆ ครับ ?

โดยคุณ เสือใหญ่ เมื่อวันที่ 30/12/2012 21:26:00


ความคิดเห็นที่ 21


สุดยอดมากครับ เรือเก่าประสิทธิภาพสูงเช่นนี้ หาไม่ได้ง่ายนัก ได้มาถือว่าคุ้มค่ามากแล้ว แถมเราสามารถใช้ต่อได้อีก 20-30 ปี คุ้มค่ามาก ๆ ครับ

 

เครื่องยนต์แก๊สเทอร์ไบน์ มันสิ้นเปลืองก็จริง แต่มันไม่ไได้แปลว่ามันไม่ดีนะครับ สมรรถนะแก๊สเทอร์ไบน์นั้น เมื่อมีความจำเป็นต้องรีดสมรรถนะออกมา มันออกมาแบบมหาศาลจริง ๆ ดูอย่าง ร.ล.นเรศวร ที่ทำความเร็วได้มากกว่า 32 น๊อต (บางครั้งเคยทำได้ถึง 34 น๊อต) ก็เพราะแก๊สเทอร์ไบน์นี่แหละครับ เคยดูคลิปเรือเพอร์รี่ตอนปฏิบัติการ มันคล่องตัวมาก ๆ เลยครับ

 

ก็ลุ้นว่า สหรัฐฯ จะติดตั้งแท่นยิงคืนมาให้หรือไม่ ซึ่งถ้าติดตั้งคืนให้ ก็จะทำให้ประสิทธิภาพเรือชั้นนี้ยังสูงเพียงพอต่อภัยคุกคามอยู่ครับ

โดยคุณ krubannok เมื่อวันที่ 30/12/2012 21:30:54


ความคิดเห็นที่ 22


ตอบท่าน rayong แท่นยิงมาร์ค 13 ม๊อด 4 นั่น เป็นแท่นยิงอาวุธนำวิถีอเนกประสงค์แบบ single arm ยิงอาวุธนำวิถีได้หลายประเภทครับ เช่น ฮาร์พูน, สแตนดาร์ด ครับ แค่ติดตั้งคืนลงไปก็ยังใช้ได้อยู่ครับ
โดยคุณ krubannok เมื่อวันที่ 30/12/2012 21:55:04


ความคิดเห็นที่ 23


ถ้าเป็นจริงก็แสดงว่า กองทัพเรือก็ไม่สามารถผ่านด่านการเมืองไปได้

 

น่าเสียดาย ได้รุ่นนี้มาคงใช้งานได้ไม่เต็มที่เท่าไหร่นักเหมือนเรือชั้น Knox สองลำที่มีอยู่

ถ้าได้รุ่นนี้มาจริง เสียดายหลายๆอย่างในหลายๆเรื่อง แต่ก็นั่นล่ะ ประเทศไทยไม่ใช่เของเราคนเดียว

หันไปเล่นปืนดีกว่า สนใจรุ่นไหนที่สามารถมีได้ก็เอา เพราะอำนาจเงินอยู่ในมือเรา......

 

โดยคุณ น่าคิด เมื่อวันที่ 30/12/2012 22:00:10


ความคิดเห็นที่ 24


รุ่นเดียวกับเรือที่เคยฝากชื่อไว้ในสงครามอ่าวเลยนน่ะนี่.....ไม่ธรรมดา

USS Stark

http://en.wikipedia.org/wiki/USS_Stark_%28FFG-31%29

โดยคุณ น่าคิด เมื่อวันที่ 30/12/2012 22:04:25


ความคิดเห็นที่ 25


ไม่ได้หมายความว่า ทร. จะได้ เรือชั้น OHP 100% นะครับ เพียงแต่ได้รับการยืยยันว่าทางสหรัฐ เสนอ เรือชั้นOHP ให้ประเทศไทย จํานวน 2 ลํา คือ FFG-46 และ FFG-48 แต่ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับรัฐบาลไทยจะอนุมัติหรือไม่ เพราะมีค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่าบํารุงรักษา ค่า refurbishment ค่าใช้จ่ายด้านการนํากลับ และค่าฝึกศึกษา เป็นต้น แต่ที่สําคัญคือ การอนุมัติการ transfer นี้มีผลเพียง 3 ปี นับจากวันที่ประกาศ คือถ้า รัฐบาลไทยไม่ตอบตกลง ใน 3 ปี ทางสหรัฐ จะแยกส่วนหรือ transferให้ประเทศอื่นครับ. ส่วนเรื่องเรือจะมาในสภาพเช่นใรนั้น ไม่ทราบเลยครับ
โดยคุณ FatBoy เมื่อวันที่ 30/12/2012 22:32:02


ความคิดเห็นที่ 26


กลัวการเมืองแทรกแซงไม่ว่าฝ่ายไหนซื้ออีกฝ่ายเป็นต้องขัดขา พวกที่สบายคือสื่อขายๆข่าวอย่างเดียว ไม่รู้อันไหนจริงอันไหนไม่จริง จบตรงที่โครงการล่มไม่งั้นก็ได้ของห่วย พูดแล้วคิดถึงเรืดำน้ำ Modern Frigate  ก็กลัวจะกลายเป็นของจีน

โดยคุณ pop04 เมื่อวันที่ 30/12/2012 23:46:37


ความคิดเห็นที่ 27


คิดว่ายังไงก็ควรจัดหามานะครับ เรือเก่ากว่านี้ทั้ง ชุดร.ล.ตาปี ร.ล.มกุฎราชกุมาร ร.ล.ปิ่นเกล้า จะได้พักยาวสักที ยังไงทร.ก็ต้องหาเรือมาแทนของเก่าอีกเยอะ

คงไม่มีปัญญาซื้อของใหม่มาแทนให้หมดอยู่แล้ว

 

โดยคุณ dcalpha เมื่อวันที่ 30/12/2012 23:55:22


ความคิดเห็นที่ 28


ถ้าให้ดีเอามาได้ 4 ลำจะดีมาก 

โดยคุณ Ricebeanoil เมื่อวันที่ 31/12/2012 00:04:09


ความคิดเห็นที่ 29


ไม่ขออะไรมาก ขอให้ได้มาครบแบบก่อนที่จะปลดประจำการ (เอาPhalanx มาด้วยนะ ไม่ใช่อย่างปากี แท่นยิงMark 13 ก็ไม่ได้ Phalanx ก็โดนถอด)

โดยคุณ kitty70 เมื่อวันที่ 31/12/2012 01:06:20


ความคิดเห็นที่ 30


โอ้ว...ขอบคุณครับสำหรับข่าวดีต้อนรับปีใหม่ ของ ท่าน FatBoy....

FFG-48  สหรัฐ ปลดระวางปี 2013

FFG-46  สหรัฐ ปลดระวางปี 2014

ความเห็นผมว่า สหรัฐ คงส่งมอบตามสภาพปัจจุบัน ครับ...แต่คงทำ Refurbish ให้ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายของ ทร. อยู่แล้วครับ...

ส่วน Phalanx ถ้าไม่ได้มา...ก็อาจจะด้วยเหตุผล สหรัฐ อาจจะสำรองไว้ใช้ สำหรับเรือรบของสหรัฐ ลำอื่น ๆ ครับ...เพราะ Phalanx เพิ่งได้รบัการ อัพเกรด ไปเมื่อเร๋็ว ๆ นี้ ครับ...แต่ถ้าได้มาด้วย ก็ดีครับ...

แต่ถึงไม่ได้มา...ผมว่า ทร. ก็สามารถจะนำ Phalanx จากเรือชั้น พุทธฯ มาปรับใช้ได้...สหรัฐ คงไม่มีปัญหาอะไรครับ...

ซึ่ง เรือชุดนี้ จุดเด่นของเรือ...ที่ ผมเชียร์ หนักหนา ก็เรื่อง ระบบปราบเรือดำน้ำ ครับ...ส่วนอื่น ๆ เช่น MK-13 หรือ Phalanx คงไม่ใช่่วัตถุประสงค์หลัก ของเรือชั้นนี้ ที่ ทร. จะต้องจัดหามาครับ...

ตามที่ ท่าน FatBoy เคยให้ความเห็นไว้ว่า...ถ้า ทร. จะติดตั้ง ฮาร์พุน คงติดตั้งตรงหน้าเรือ...ซึ่งผมมีความเชื่อส่วนตัวว่า...ทร.น่าจะคงทำตรงนี้...เพราะมี ฮาร์พูน จากเรือชั้น พุทธฯ พร้อมใช้อยู่แล้ว...

เรือชั้นนี้ จะน่าใช้ คือ มี ระบบปราบเรือดำน้ำ ติดมาด้วยครับ...แต่ถ้า ไม่มี มาด้วย...ก็ไม่น่าใช้ เท่าไหร่ ครับ...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 31/12/2012 06:55:10


ความคิดเห็นที่ 31


ก็หวังว่า รัฐบาล จะสนับสนุนน่ะครับ...ผมว่า ถ้า ทร. ชี้แจงให้ละเอียด และ หาทางหนี ทีไล่ ให้ด้วย...

ปี 2556 เก็บข้อมูล วางแผน...เตรียมเสนอ

ขออนุมัติประมาณปี 2557...

เพื่อใช้งบประมาณปี 2558...

ซึ่งก็ใกล้จะครบวาระรัฐบาลแล้ว...รัฐบาล อาจจะเอาใจอนุมัติให้ นะครับ...อิ อิ อิ

 

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 31/12/2012 07:05:45


ความคิดเห็นที่ 32


ขอทำความเข้าใจอีกครั้งครับ  การ Transfer กรณีเรือฟริเกต ชั้น Oliver Hazard Perry เป็นข้อเสนอในการช่วยเหลือทางทหารให้แก่มิตรประเทศของสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายค่าเรือ แต่จะมีค่าใช้จ่ายในการ repair and refurbishment ( ถ้ามี.......เพราะเป็นการส่งมอบหลังเรือปลดประจำการ  )  ค่าใช้จ่ายการนำกลับประเทศ และ การฝึกศึกษา ( ถ้าร้องขอ )    

  

โดยคุณ FatBoy เมื่อวันที่ 31/12/2012 07:53:33


ความคิดเห็นที่ 33


ขอบคุณครับ...ท่าน FatBoy...

ถ้าเป็นเช่นนั้น ยิ่งน่าสนใจที่สุดเลยครับ...

ไม่มีค่าใช้จ่ายในการซื้อเรือ...

รัฐบาล น่าจะยอมรับได้...ถ้าใครโจมตีเรื่องค่าใช้จ่าย...ผมว่า ก็เป็นค่าใช้จ่ายปกติ ที่ต้องใช้สำหรับเรือชั้นพุทธฯ อยู่แล้ว...

ไม่ได้สร้างภาระเพิ่มขึ้น จนเป็นสาระสำคัญที่จะกระทบโครงการอื่น ๆ ของ ทร.

ที่สำคัญ คือ ทร. ยังมีเรือรบ ไม่เพียงพอ ต่อ สมดุลย์ในภูมิภาค ที่เปลี่ยนแปลงไปในเรื่อง สงครามใต้น้ำ..

เนื่องจาก การยังไม่สามารถจัดหา เรือดำน้ำ มาประจำการได้...

กองทัพเรือ ไม่ได้จัดหามาเพื่อจะไปรบกับใคร...แต่ กองทัพเรือ จัดหามาเพื่อ จะป้องกันจากใครก็ตามที่จะใช้สงครามใต้น้ำ มาทำลายผลประโยชน์ทางทะเลของ ประเทศไทย...

แผ่นภาพนี้ คือ การเดา นะครับ...ถ้าได้ ระบบพวกนี้มาด้วย ถึงจะไม่มี Phalanx (แต่ผมว่า น่าจะมีติดมาด้วย)...คงสบาย งบประมาณ ทร. ไปเยอะ ครับ...

 

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 31/12/2012 08:21:41


ความคิดเห็นที่ 34


มันมีตัวเลือก แค่ 2 ลำนี้ เองเหรอ

แล้ว ของเยอรมัน ของอิตาลี ล่ะ

.. อย่าว่าผมเป็นไอ้เข้ขวางคลองเลยน่ะ

แค่ อยากรู้ว่า สองลำนี้ มีข้อดี มากกว่า ของ เยอรมัน ของอิตาลี่ ยังไง

 

แต่ ถ้าได้ของอเมริกันมาจริงๆ ผมก็ไม่ขัด แต่ไม่ค่อยไว้ใจอเมริกาซักเท่าไหร่

ประมาณว่า ลื้อซื้อไปแล้ว ห้ามดัดแปลงนู่นนี้น่ะ ไม่งั้นอั๊วไม่ยอมขายอะไหล่

โดยคุณ soda77 เมื่อวันที่ 31/12/2012 12:56:18


ความคิดเห็นที่ 35


ก็มันเป็นโครงการความช่วยเหลือทางทหารของอเมริกาไงครับ จ่ายตังค์น้อย เพราะจ่ายแค่ค่าปรับปรุง ส่วนของที่อื่นนั้นต้องซื้อเป็นมือสองนี่ครับ

โดยคุณ krubannok เมื่อวันที่ 31/12/2012 13:17:15


ความคิดเห็นที่ 36


ตามข้อมูลของท่าน FatBoy ครับ...ท่าน soda77...

เป็นการช่วยเหลือทางทหารให้แก่มิตรประเทศ...ค่าเรือไม่ต้องเสียครับ...คงมีค่าใช้จ่ายในส่วนการ Refurbished และการขนส่ง ครับ...

ส่วนระบบอื่น ๆ ถ้าต้องการเพิ่มเติม ก็ใชั้ในโครงการ FMS ครับ...

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 31/12/2012 15:54:46


ความคิดเห็นที่ 37


  ขอขอบคุณเป็นครั้งที่ 3 ครับท่าน FatBoy  อเมริกาท่าทางเอาใจเราน่าดู   ไม่ต้องจ่ายค่าเรือ   แต่ต้องไปจ่ายค่าปรับปรุงเอาเอง   ถ้าสามารถร้องของเอาระบบอาวุธเดิมที่ติดตั้งมากับเรือกลับมาติดใหม่ได้ด้วย   สุดยอดมากที่สุดเลยครับ     เงื่อนไขดีกว่าไต้หวันซะอีก    แบบนี้เท่ากับยกเรือให้ฟรีๆ    แต่ค่าซ่อมคืนสภาพ  ค่าระบบอาวุธเก่าหรือจะติดตั้งระบบใหม่เพิ่มเติม   ก็ออกตังค์เอง  อะรไเทือกนั้น

   แจ๋วววว.....ของขวัญปีใหม่สำหรับกองเชียร์จริงๆเลยครับ  

ถ้าจ่ายไม่มาก   ก็น่าจะขอทำการ Upgrade ติดตั้ง  VLS Mk-41 สำหรับ  ASROC มาด้วยเลยครับ     เรือ 2 ลำนี้ก่อนปลดก็ทำการ Upgrade มาก่อนแล้วด้วย   เราจะได้เรือที่มีระบบต่อต้านเรือดำน้ำสมบูรณ์แบบที่สุดในอาเซี่ยน 

ยินดีกับหน่วยงานของท่าน ครูบ้านนอกด้วยนะครับ    ถ้าดีลนี้ไม่พลาดถือว่าทร.ได้ของดีมาในราคาถูกมากๆ    อีก 2-3 ปี   สอยได้อีกสัก 2 ลำ ก่อนเรือชั้น Nkox ทั้งสองลำจะปลด   จะดีมากๆเลยครับ 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 31/12/2012 23:35:23


ความคิดเห็นที่ 38


  ปล.  ผมหน้าแหกอีกแล้ว   

     SM-2 MR ออกแบบสำหรับ NTU และ AEGIS  โดยเฉพาะ AEGIS   ก็ คือ  RIM-66 C/D 

     SM-1 MR  ออกแบบสำหรับ NTU และ Mk-92 ที่ใช้ใน OHP   รุ่นสุดท้ายก็จะเป็น RIM-66E   เทียบได้กับ SM-2 block 2   เพียงแต่ใช้กับระบบอำนวยการรบคนละตัวกัน 

ถ้าได้แท่นยิง Mk-13 ติดตั้งกลับมาและอมริกันขายจรวด standard missile ให้แก่เราจริง    รุ่นที่เราจะได้ต้องเป็น  SM-1 MR  ที่อยู่ใน  RIM-66E  ที่ออกแบบสำหรับ  Mk-92 ที่ใช้สำหรับ  OHP   แต่ก็เทียบได้กับ  SM-2 MR block 2  ใน  RIM-66 G/H

    SM-2 block 3 หรือ  RIM-66 K เป็นต้นไปจะใช้กับ AEGIS  และ NTU   ไม่รองรับ  Mk-92      ถ้าจะใช้ block 3 ต้องปรับปรุงให้ระบบอำนวยการรบจาก Mk-92 เป็น  NTU  ที่ใช้ในชั้น KIDD class ครับ  

 ถ้าได้เทียบเท่า  Block 2 ก็ยังดี...........

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 01/01/2013 01:52:03


ความคิดเห็นที่ 39


มาช่วยต่อเติมฝันครับ

ถ้าได้แท่นยิง Mark13 กลับมาใส่จริงๆ ก็ต้อง modify ให้ยิง SM-2MR แบบที่ออสเตรเลียทำให้ได้ครับ และต้องขอซื้อลูกจรวดให้ได้ด้วย เพราะ SM-1MR เท่าที่จำได้ US เลิกผลิตแล้วและที่มีอยู่จะมีอายุใช้งานถึงปี 2020

โดยคุณ kitty70 เมื่อวันที่ 01/01/2013 13:10:54


ความคิดเห็นที่ 40


ผมขอบเรือ OHP ตรงที่ความแข็งแรงของโครงสร้าง เพราะเป็นมาตราฐานUS และได้พิสูจน์ในการรบมาแล้วว่าโดน Exoxe ไป 2ลูก ลูกหนึ่งด้านลูกหนึ่งระเบิด เรือเสียหายแต่ไม่จมและสามารถลอยลำกลับไปเข้าอู่ได้ (ถ้าจำไม่ผิด)

และถ้าได้เรือมาแบบเดิมๆได้แท่นยิงMark13กลับมา แล้วถ้าทุ่มงบปรับปรุงแบบออสเตรเลีย(แต่ขอให้สำเร็บอย่างราบรื่น) ปรับปรุงแท่นยิง Mark13 ให้ยิง SM-2MR+Harpoon ใส่แท่นยิง Mark41 VSL สำหรับ ESSM ป้องกันระยะกลาง+ใกล้  ได้Phalanx block1B เราก็จะได้เรือที่รบได้ทั้ง 3 มิติ ออกลุยเดี่ยวๆได้ในราคาย่อมเยา

โดยคุณ kitty70 เมื่อวันที่ 01/01/2013 13:19:18


ความคิดเห็นที่ 41


รู้สึกผิดหวังอย่างแรงครับ
โดยคุณ boatxp เมื่อวันที่ 01/01/2013 16:47:13


ความคิดเห็นที่ 42


ตามที่ผมเข้าใจคือเรือ OHP 2 ลําไม่เกี่ยวกับ เรือฟรีเกตใหม่สมรรถนะสูงที่งบ 3 หมื่นล้านบาทใช่ไหมครับ

OHP 2 ลํา เอามาเน้นปราบเรือดํานํ้า ส่วนเรือฟรีเกตสมรรถนะสูง เน้นไปที่ 3 มิติ 

โดยคุณ alexoff เมื่อวันที่ 01/01/2013 17:54:41


ความคิดเห็นที่ 43


เข้าใจถูกต้องแล้วครับ...ท่าน alexoff

เรือฟริเกตสมรรถนะสูงใหม่ จำนวน 2 ลำ...ตามการออกข่าวของ ทร. คือ ทดแทน ร.ล.ประแส และ ร.ล.ท่าจีน

ส่วน OHP จะทดแทน เรือชั้น พุทธฯ ครับ...

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 02/01/2013 09:50:00


ความคิดเห็นที่ 44


ในแง่นี่หมายความว่า อาวุธที่ติดมากับเรืออาจจะเป็นของเดิมๆที่ติดมากับเรือตั้งแต่แรก แต่เราสามารถที่จะอัพอาวุธใหม่ๆได้แต่ต้องออกค่าใช้จ่ายส่วนนี้เองใช่หรือไม่ ส่วนตัวมองว่ากองทัพเรือน่าจะมีงบประมาณเพียงพอที่จะกระทำได้แน่นอน ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับงบจัดหาเรือใหม่ ยังไงก็ขอแสดงความยินดีกับกองทัพเรือและกองเชียร์ด้วยนะครับ

โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 04/01/2013 07:45:39


ความคิดเห็นที่ 45


ตามที่ท่าน FatBoy ให้ข้อมูล คงไม่มีการอัพเกรดเพิ่มจากเดิม...แต่ผมคิดว่า คงต้องมี มิติ อาวุธ เหมือนกับ เรือชั้น พุทธฯ ครับ...

คือ มี อาวุธนำวิถีต่อต้านเรือ และ ระบบปราบเรือดำน้ำ...แต่ ระบบต่อต้านภัยทางอากาศ คงจะไม่มี เหมือนเรือชั้น พุทธฯ....

คงเน้น ภาระกิจ ปราบเรือดำน้ำ...ซึ่ง คงน่าสนใจ ในเรื่องของ เฮลิคอปเตอร์ ประจำเรือ...ซึ่ง ถ้า ทร. ได้จัดหา OHP มาจริง...คงมีการปรับปรุง S-70B เพิ่มเติมของ อีก 3 ลำ...ในเรื่องการใช้ โซโนบุย...ถ้า ทร. ได้ระบบ Fire Control System สำหรับการปราบเรือดำน้ำ คือ Mk-116 มาด้วย...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 04/01/2013 09:16:21


ความคิดเห็นที่ 46


ถ้าไม่อัพอาวุธก็น่าเสียดายประสิทธิภาพครับ ถึงจะได้มาแล้วเน้นปราบเรือดำน้ำอย่างเดียว จะกลายเป็นว่า เรือสองลำนี้จำเน้นจอดทอดสมอที่ฐานมากกว่าจะออกปฏิบัติภารกิจเพราะค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติภารกิจค่อนข้างสูง ซึ่งจะออกไปลาดตระเวณตรวจจับค้นหาเรือดำน้ำหรือลาดตระเวณตระเวณทั่วไปอย่างเดียวดูจะไม่คุ้มค่า แต่ถ้าอัพระบบอาวุธต่อสู้อากาศยานเพิ่มเข้ามาให้มีภารกิจต่อตีได้ทั้งสามิติน่าจะยังมีความคุ้มค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติภารกิจมากขึ้นครับ

โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 04/01/2013 09:56:35


ความคิดเห็นที่ 47


ผมว่า ค่าใช้จ่ายและการปฏิบัติการ ก็เหมือนกับ เรือชั้นพุทธฯ น่ะครับ...ไม่แตกต่างกันครับ...

แต่ OHP อาจจะใช้งานได้มากกว่า เรือชั้น พุทธฯ...เพราะ สามารถรองรับการปฏิบัติการด้วย S-70B กับ MH-60S ได้ด้วย...

กรณี เกิดภัยพิบัติทางทะเล...เรือ OHP จะมีสภาพพร้อมเข้าช่วยเหลือ มากกว่า เรือรบทุกลำของ ทร. ทั้งด้วยขนาด และความคงทนทะเล รวมถึง ความเร็วเรือ ครับ..และ สามารถติด ฮ. S-70B หรือ MH-60S ไปกับเรือได้ด้วย 2 ลำ...

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 04/01/2013 11:03:06


ความคิดเห็นที่ 48


ถ้าเปรียบเทียบ คุณลักษณะเรือ ระหว่าง เรือชั้นพุทธฯ กับ เรือ OHP...ถ้า สมมติ ทร. ได้มาตามสภาพเดิม...

สิ่งที่แตกต่างระหว่าง 2 แบบนี้ คือ การติดตั้งระบบอาวุธ ฮาร์พูน เท่านั้น ครับ...ที่ เรือชั้นพุทธฯ สามารถยิงจาก แท่นยิง ASROC ได้...แต่ OHP ไม่มี...ซึ่ง ผมคิดว่า ทร. ก็คงต้องทาง ติดตั้ง เพิ่มเติม....

ส่วนอื่น ๆ เรือชั้นพุทธฯ ก็เหมือนกับ OHP...และระวางขับน้ำ ก็ไม่ได้แตกต่างกัน ครับ...

แต่ ภาระการซ่อมบำรุง ระบบอาวุธ จะน้อยกว่าเรือชั้น พุทธฯ เพราะมีระบบอาวุธต่าง ๆ ใกล้เคียงกับเรือลำอื่นของ ทร....ซึ่ง ที่กังวล ก็คงจะเป็นเรื่องค่าใช้จ่าย เชื้อเพลิง เท่านั้น...ซึง่ ตามทีอ่านระบบเครื่องยนต์ เดินเรือ แบบ COGAG...

OHP จะใช้ เครื่องยนต์ ระบบแก้สเทอร์ไบ จำนวน 1 ระบบ...แต่เดินเครื่องได้เต็มกำลัง จะทำให้การใช้เชื้อเพลิงเผาผลาญเต็มประสิทธิภาพ...ในเวลาปฏิบัติการปกติ...อาจจะประหยัดกว่า เรือชั้น พุทธฯ ครับ...ซึ่ง OHP เกิดขึ้นมา ก็มีส่วนของ ค่าใช้จ่ายปฏิบัติการ ที่ควรจะน้อยกว่าชั้น Knox....

ในขณะเดียวกัน ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด OHP มีระบบเครื่องยนต์เดินเรือด้วย กำลังไฟฟ้า...ซึ่งเป็นมีกำลังเดินทางประมาณ 4-5 นอต...

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 04/01/2013 11:19:51


ความคิดเห็นที่ 49


จากเว๊ป อ้างอิง ครับ...จะเห็นถึง คอนเซ๊ปส์ ของเรือ OHP

http://destroyerhistory.org/coldwar/oliverhazardperryclass/

The US Navy’s lone third-generation frigate class, a low-cost gas turbine-powered anti-submarine platform with secondary anti-aircraft and anti-ship capability, was the Oliver Hazard Perry class.

Planned while the US Navy was retiring its last World War II destroyers, the Perrys were designed for construction in sufficient numbers to replace them—particularly their ASW capabilities. With a different hull form than the preceding Knox class, the Perrys were slightly lighter but longer, with more sharply-raked stems. As with all earlier ASW escorts, their two General Electric LM 2500 gas turbines drove a single shaft—here developing 41,000 shp, good for more than 29 knots. Two 350 hp motors in retractable pods were added forward for maneuvering and docking—capable of 5–6 knots on their own in an emergency.

Detailed design commenced in 1973, before the era of modular design and vertical launch systems. As built, the “FIG-7s” batteries included 36 SM-1MR Standard Missiles and four RGM-84 Harpoon antiship cruise missiles, all launched from a single Mk 13 launcher mounted forward. Other armament included a single Mk 75 76mm (3-inch/62 caliber) rapid-fire cannon mounted amidships, CIWS and antisubmarine torpedoes. For sonar, they carried an AN/SQS-56 mounted below the hull—no more bulbous bow.

The Perrys’ initial 445-foot hull provided a hanger for one LAMPS (Light Airborne Multi-Purpose System) Mk I SH-2 Seasprite helicopter. Later, two improved LAMPS Mk III Sikorsky SH-60B Seahawks were substituted. With hangers for both plus a RAST (Recovery, Assist, Secure and Traverse) hauldown system aft, this change required the stern to be redesigned with a raked transom, which added eight feet to their length but, when combined a TACTAS towed array system, made for a breakthrough in ASW effectiveness.

GENERAL INFORMATION

Length: 445 or 453 overall; 415 waterline.

Beam: 45.

Draft: 10 to 10 11" maximum.

Displacement: 3,020 tons light; 3,638 or 4,100 tons full load.

Propulsion: 2 x gas turbines, 41,000 shaft horsepower; 1 shaft; variable pitch screw.

Designed Speed: 29 knots.

Endurance: 4,500 nm at 20 knots.

Designed Complement: 14 officers; 214 enlisted.

Perry was initially classified as a patrol frigate (PF) but changed to a guided missile frigate (FFG) in June 1975 (when the larger guided missile “frigates” of the fifties and sixties were redesignated DDG and CG). That was the same month her keel had been laid at Bath Iron Works; she completed in 1977. Two years later, McInerney followed from the same yard, the second FIG-7 and the first “long-hull” ship (which became the sole US production version after Aubrey Fitch was laid down in 1981).Inside the Danger Zone by Harold Wise

 

Two books describe the 1987 Exocet missile attack on Stark and the 1988 mining of Samuel B. Roberts in the Persian Gulf during the Iran-Iraq War.

No Higher Honor by Bradley Peniston

Seventy-one “OHPs” were built. Through 1989, the US Navy commissioned 51 ships from three shipyards while foreign navies added 20 through 2004: six by the Royal Australian Navy, six by Spain and eight by Taiwan. Thirty of the US Navy ships completed with the long hull but 21 entered service with the short hull and were never modified. In addition to their ASW capabilites, strengths of the Perrys included their durability and their positive example of cost containment in construction. Early hull torsion weaknesses that resulted in cracking were resolved and, in the Persian Gulf during the closing stages of the 1980–1988 Iran-Iraq War, Stark and Samuel B. Roberts showed they could survive serious damage.

The FIG-7s were upgraded over time as older first-line destroyers and frigates were retired and when the last Knox decommissioned in 1994, they became the US Navy’s only operational frigate class. Then, burdened as they were with proprietary hard-wired electronics that left little room for growth, the US Navy began to phase out the short-hull ships (including Oliver Hazard Perry herself) rather than upgrade them. Over the next nine years, all 21 were sold to Turkey (8), Egypt (4), Poland (2), Bahrain (1) or otherwise retired—eight after US navy careers of 15 years or less (rivaling the Claud Jones class for brevity).

The year 2003 was significant for the Perrys in the US Navy: while the Turkish navy took possession of its last operational short-hull ship (Estocin) and Raytheon terminated support for the obsolete SM-1MR missile, it embarked on a program not only to remove the missile launchers from the 30 long-hull ships but to modernize them, reducing their cost of operation and extending their service lives to up to 40 years. Through 2009, still valued for their helicopter-delivered ASW capabilities, durability and seakeeping, with new-found margin for growth and no near-term prospect of being replaced, these Perrys remained active with the US Navy, either in commission or with the Naval Reserve Force.

Attrition resumed in 2010, when McInerney was decommissioned and transferred to Pakistan. Hawes was also decommissioned, followed in 2011 by Doyle and Jarrett and in 2013 by Underwood, Curts, Carr, Klakring and Reuben James.

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 04/01/2013 14:16:22


ความคิดเห็นที่ 50


ประเทศ ยูเครน ก็เคยมีความต้องการจัดหา OHP เหมือนกันครับ...ในปี 2008...

 

  C O N F I D E N T I A L KYIV 000685

SIPDIS

NAVYIPO FOR STEVE POPPE, EUCOM J5 FOR LEE GABEL/JOHN
DRISCOLL, DSCA FOR DIANE LAMB, OSD/ISA FOR GARY ESPINAS,
EUR/PRA FOR MATT HARDIMAN

E.O. 12958: DECL: 04/07/2019
TAGS: MASS MCAP MARR PREL UP
SUBJECT: UKRAINIAN ACQUISITION OF PERRY CLASS FRIGATE:
COUNTRY TEAM ASSESSMENT

Classified By: Ambassador William B. Taylor, Reason 1.4 (B,D)

Summary
-------
1. (SBU) Summary. On 23 September 2008, in a letter from
First Deputy Minster of Defense V.V. Ivashenko addressed to
U.S. Ambassador William Taylor (MoD Letter #220/3918) the
GoU formally requested the U.S. to consider providing an
Oliver Hazard Perry class frigate FFG) to the Ukrainian
Navy.  Following subsequent briefings and discussions, U.S.
Embassy Kyiv provides the following Country Team Assessment
in support of such a transfer, per IAW DoD 5101.38-M,
Chapter 5.  End Summary.

Reason Ukraine desires FFGs
---------------------------
2. (C) The Ukrainian Navys aging Soviet-era capability is
difficult to maintain and rapidly approaching obsolescence.
As part of Ukraines ongoing Strategic Defense Review
process, Ukraine is re-evaluating its threat assessment and
capability requirements, particularly in light of the August
2008 Georgia-Russia conflict.  This ongoing reevaluation is
creating a desire to enhance Ukrainian naval capability for
both coalition operations and national defense.  Obtaining
and fielding a FFG would also provide valuable opportunities
to broaden cooperation with the USN through training and
technical cooperation, another key Ukrainian Navy goal.
Finally, the transfer would provide a visible symbol of
Ukraines close relationship with the U.S. and enhance the
prestige of the Ukrainian Navy.

How articles would affect Force Structure
-----------------------------------------
3. (SBU) In initial discussions, Ukrainian Navy officials
indicated their intent to meet personnel and other
requirements for this fielding through decommissioning of
outdated ships and reapportionment of existing personnel.
Post does not anticipate a net increase in Ukrainian Navy
end strength.

How articles would contribute to U.S. and host nation
security goals:
--------------------------------------------
4. (C) Increasing Ukrainian Navy capability and
interoperability for coalition operations, particularly
maritime domain awareness and maritime interdiction
operations, are key U.S. and Ukraine objectives as agreed in
the bilateral U.S.-Ukraine Work Plan for Military
Cooperation, the USEUCOM Strategy for Active Security and
Country Campaign Plan for Ukraine, and in guidance resulting
from U.S.-Ukraine Bilateral Defense Consultations.
Expanding the scope of our security cooperation was called
for in the recently-concluded U.S.-Ukraine Charter.

5. (SBU) Ukraine has and intends to continue active
participation in all NATO-flagged operations (the only PfP
partner state to do so), including OPERATION ACTIVE
ENDEAVOR, even though most Ukrainian warships lack adequate
station keeping capability and are extremely difficult to
operate on extended deployments far from home waters.  A
recent deployment of a Ukrainian corvette highlighted the
need for larger and more capable ships.  Ukraine has
expressed interest in participating in counter piracy
operations off the coast of Somalia and security
cooperation/capability development activities such as AFRICA
PARTNERSHIP STATION, and greater cooperation with the EU, a
goal the U.S. supports.

Justification of type/quantity
-------------------------------
6. (C) Provision of an Oliver Hazard Perry class FFG to the
Ukrainian Navy will enhance existing capabilities and
promote the durability of these capabilities into the
future.  Based on initial discussions, the Ukrainian Navy
intends to use the ship for maritime defense and security
operations, including potential participation in
expeditionary counter terrorism and counter piracy
deployments as part of an international coalition.  An
Oliver Hazard Perry class FFG would be appropriate for such
requirements, since it is capable of extended blue water
operations, and its station-keeping capability would greatly
enhance Ukraines contribution to coalition operations.  At
the same time, the FFG would be small enough for the
Ukrainian Navy to operate and maintain.  Capabilities
necessary to meet anticipated mission requirements are, but
not limited to:  air, surface, and sub-surface surveillance;
point air defense; under-sea/anti-submarine warfare;

surface-to-surface missiles; and interoperable command; and
contro
l
capability IAW guidance from EUCOM J6.

7. (C) Specific systems needed would include retention or
addition of:
- MK 75 76mm gun and ammunition
- MK15 CIWS Blk 1B and suitable ammunition
- Surface Vessel Torpedo Tubes (SVTT) and MK46-equivalent
torpedoes
- MK 38 25mm gun
- SPS-55 surface search radar
- SPS-49 air search radar
- AN/S-89 ASW suite
- MK13 GMLS (missile launcher)
- Combined Antennae System (CAS)
- MK92 gun and fire control sy
stem (retain CAS)
- Harpoon missiles and canister launch system (CLS) (or
alternative MK13 re-installation)
- Sea RAM as alternative point air defense system
- Interoperable voice and data communication capability

Combatant Commanders concurrence/assessment
-------------------------------------------
8. (C) Will be provided SEPTEL

Anticipated Reaction of neighboring nations
-------------------------------------------
9. (C) Reactions of neighboring nations are likely to be
mixed. There is an exaggerated belief among many Ukrainian
officials that the frigates could provide the Ukrainian Navy
with the ability to defend Ukraines shores from, among
others, Russia.  Although these ships could, depending on
how they are eventually outfitted, provide the Ukrainian
Navy with a real combat capability, this capability would
not be something to challenge Russia or Turkey (with the
regions most serious naval presence).  At the same time, we
assess that it is quite likely that Russia will use the
acquisition as an opportunity for an anti-Ukrainian and
anti-NATO public information campaign - most particularly
directed to media outlets in Crimea, where Russia still
hopes to maintain the Black Sea Fleet after the current 2017
expiration of its basing treaty with Ukraine.

10. (C) The negative public relations campaign
notwithstanding, our assessment is that an FFG is likely to
do little or nothing to change the balance of power in the
region.  We would not expect either Russia or Turkey to
share Ukraines assessment of the strategic impact or
military importance of a frigate in the region.  Likewise,
we would expect little militarily substantive reaction from
either country in response (e.g., serious objection,
diplomatic protests, or changes in posture).

11.  (C) We believe other Black Sea littoral states are
likely to have a muted response or take a neutral position.
While political relations with Romania are currently
strained, we would anticipate that, by the time this
purchase (if approved) were ready to move forward, relations
are likely to have recovered.  Georgia, which is allied with
Ukraine and which depends on Ukraine for political support
in the region, may see a Ukrainian frigate purchase as a
positive development.

Assessment ability to support, safeguard, maintain
--------------------------------------------- -------
12. (C) The Ministry of Defense has been chronically
underfunded; this situation has been exacerbated by drastic
cuts to the defense budget resulting from the current
financial crisis (see paras 15-17).  Absent the question of
resourcing, the current sophistication of Ukrainian Navy
planning gives post high confidence in the tactical and
technical ability of the Ukrainian Navy to support,
safeguard, and maintain these ships.  Ukrainian Navy Staff
is already reviewing requirements and preparing initial
plans for on-shore upgrades and modifications, and compiling
data on the capabilities of shipyards in Ukraine and
throughout the region to support different requirements, as
well as visiting/consulting with regional partner states
that have experience with EDA FFGs.

Training required either in-country or in the United States
and anticipated reactions resulting from the presence of
U.S. trainers in country
--------------------------------------------- ---


13. (C) Operation and maintenance of such a ship would
require extensive crew and officer training and maintenance,
primarily in the U.S. but also at training facilities in
Ukraine.  As part of case development, the embassys Office
of Defense Cooperation will develop a detailed Integrated
Training Plan in cooperation with the Ukrainian Navy and
U.S. NETSAFA.  Presence of USN and civilian personnel on
Ukrainian naval bases to conduct security cooperation
activities have been a common occurrence for several years
and would not present a significant change to current
practice.

Possible impact of any in-country U.S. presence that might
be required as a result of providing the article
--------------------------------------------- -----
14. (C) In-country U.S. presence that would be required as a
result of providing a frigate would be minimal, as the
contract for maintenance and support is likely to be handled
through existing Ukrainian facilities in Mikolayev, and
conducting the necessary End Use Monitoring in conjunction
with normal visits to the Ukrainian Navy HQ in Sevastopol
would be well within the means of the Embassys Office of
Defense Cooperation.  As stated in paragraph 8, requirements
for training are not anticipated to depart from existing
practice.

Source of Financing and the economic impact of the proposed
acquisition
--------------------------------------------- ---------
15.  (SBU) Ukraine will source the financing for the
acquisition from the national budget. Making funds available
for the purchase is largely a question of Ukrainian
political will.  In recent years, a lack of political will
at the national level has led to chronic underfunding of
defense budgets by the Ukrainian parliament, and spending
has not met levels needed to achieve defense modernization
and reform goals.  The current financial crisis has led to
additional cuts in current defense spending.  The cost of
the acquisition is high given todays economic situation and
low levels of defense funding.

16. (C) Nevertheless, post also notes that the expected
timeline would put the transfer, if approved, no earlier
than 2012.  In addition, the first decision point to
apportion funds for this purchase is likely come in spring
2010, when money will be needed for training.  This moment
will be reached well after presidential elections (currently
being planned for October, 2009), by which time Ukraines
political and economic situation will be more clear.

17.  (C) Post does see the possibility that the purchase
will be viewed as a priority by political leaders, despite
positioning and posturing among rival political groups in
Kyiv and despite current budgetary pressures.  The Ministry
of Defense will need to work with Ukrainian leaders to
increase their understanding of the costs associated with
their strategic defense goals.  The cost of a frigate should
be viewed as strategically related to, but financially
separate from other important defense reform goals, such as
establishing a professional force, equipment maintenance and
upgrades, modernizing training, and improved
compensation/benefits for military personnel - areas also in
need of substantial funding.

Human rights considerations relevant to the proposed
acquisition
--------------------------------------------- -------

18.  (SBU)  None &
#x000A;
End Use Monitoring Plan
-----------------------
19.  (SBU) Conducting the necessary End Use Monitoring in
conjunction with normal visits to the Ukrainian Navy HQ in
Sevastopol would be well within the means of the Embassys
Office of Defense Cooperation.

Recommendation whether the USG should approve transfer of
the article and justification
---------------------------------------------
20.  (SBU) Recommend approve.

Night vision devices
--------------------
21. (SBU)  N/A

TAYLOR

 

 

VZCZCXYZ0002
PP RUEHWEB

DE RUEHKV #0685/01 1071109
ZNY CCCCC ZZH
P 171109Z APR 09 ZDK
FM AMEMBASSY KYIV
TO RHMFISS/NAVY IPO WASHINGTON DC PRIORITY
INFO RUBDPLA/USEUCOM  PRIORITY
RUEHC/SECSTATE WASHDC PRIORITY 7677

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 04/01/2013 15:03:17


ความคิดเห็นที่ 51


โดยความต้องการของ ยูเครน คือ ที่น่าสนใจ คือ

- Harpoon missiles and canister launch system (CLS) (or alternative MK13 re-installation)
- Sea RAM as alternative point air defense system

การ re-installation ของ MK-13 สำหรับการ ยิงฮาร์พูน

และการขอติดตั้ง Sea RAM ด้วยครับ...

แต่ไม่รู้ผลเป็นอย่างไร บ้างครับ...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 04/01/2013 15:05:41


ความคิดเห็นที่ 52


   ผมเห็นด้วยกับป๋าที่ว่ายังไงทร.คงต้องหาทางให้เรือสามารถใช้ ASROC ได้   เพราะการไม่มี ASROC ใช้งานบนเรือ  ทำให้ขีดความสามารถการต่อต้านเรือดำน้ำลดลงไป   แม้ว่าระบบตรวจจับและประสิทธิภาพของเครื่องยนต์สูงกว่า แถมยังสามารถนำพาฮ. ปราบเรือดำน้ำไปได้ 2 เครื่องก็ตาม    ถ้าจะต้องปรับปรุงโดยเจาะช่องใส่ Mk-41 เพื่อติดตั้ง ASROC ก็ไม่น่าจะต้องมีค่าใช้จ่ายอะไรมากนัก

   แต่ถ้าเอาแท่นยิง Mk-13 เดิมมาติดตั้ง   และเงื่อนไขแบบไต้หวัน   ทร.ไทยก็น่าจะได้  SM-1 MR มาด้วยนี่ครับ   

ตามที่ป๋าจูลบอก  ถ้าเรือต่อใหม่สมรรถนะสูงจะมาแทนเรือ รล.ประแส  และ รล. ท่าจีนที่ปลดประจำการไปนานแล้ว  ซึ่งเรือทั้งสองเป็นเรืิอฟรีเกตต่อต้านเรือดำน้ำเช่นกัน   ดังนั้นทั้ง OHP 2 ลำ และ เรือฟรีเกตต่อใหม่ทั้งสองลำ  ก็ต้องประจำการอยู่ในกองเรือฟรีเกตต่อต้านเรือดำน้ำเช่นกัน   เท่ากับว่าเป็นการจัดหาเรือฟรีเกตต่อต้านเรือดำน้ำครบตามจำนวน 4 ลำ  

  ดังนั้น  ถ้าจะเอาเรือฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศใหม่   คงต้องจัดหาใหม่ด้วยวงเงินมากกว่า 40,000 ล้านบาทน่ะสิครับ   ......ถ้างั้นจัดหา OHP เพิ่มอีก 2 ลำดีกว่า  โดยเฉพาะถ้ามาเลย์ไม่เอาเรือ OHP 2 ลำที่อเมริกาเสนอมาให้    กลัวจริงๆว่ามาเลย์จะตกลงจัดหาเรือ OHP ทั้ง 2 ลำนั้นด้วยเช่นกัน เมื่อเห็นว่าเราจัดหา OHP มา   และคงจะมีการ Upgrade เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการต่อต้านเรือดำน้ำและต่อต้านอากาศยานมาด้วย   ถ้าเป็นแบบนั้น ทร.ไทยก็คงต้อง Upgrade ตาม   

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 04/01/2013 16:00:01


ความคิดเห็นที่ 53


ด้วยขนาดเรือที 4000 ตันเศษ  และอดีตเคยมี MK13 ไว้ยิงจรวด SM1 , Harpoon ก็น่าจะติดมาให้ครบเพื่อให้สามารถใช้งานได้อเนกประสงค์ คือ ต่อสู้อากาศยาน  ต่อสู้เรือผิวน้ำ  ต่อสู้เรือดำน้ำ  และถ้าได้สเปกนี้ก็น่าจะจัดหามาสัก 4 ลำ  ก็จะทำให้ ทร. มีความน่าเกรงขามทั้ง 2 ฝากฝั่ง สามารถปิดจุดบอดได้เกือบทุกด้าน  แต่หากไม่มีระบบ MK13 มาให้ก็คิดว่าน่าจะไม่ค่อยจะคุ้มค่าเท่าไหร่เมื่อดูจากขนาดของเรือเพราะต่อต้านเรือดำน้ำได้ แต่ต่อต้านอากาศยานไม่ได้ ซึ่งผมมองว่าสำคัญกว่าการต่อต้านเรือดำน้ำครับ เพราะเครื่องบินแถวนี้มีแต่ของหนัก มาเร็ว โจมตีเร็ว  สร้างความเสียหายได้มาก 

โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 04/01/2013 17:02:41


ความคิดเห็นที่ 54


เรียนเพิ่มเติมครับ เพื่อความเข้าใจตรงกัน สหรัฐอนุมัติ transfer ให้ ประเทศไทย 2 ลําเท่านั้น หากทร.ไทยมีความสนใจ เรือฟริเกตชั้นนี้ จะต้องเสนอให้กระทรวงกลาโหมเพื่อพิจารณา หากเห็นชอบจะนําเสนอรัฐบาลต่อไป ซึ่งผมเรียนตั้งแต่ต้นว่า ผมยืนยันเชื่อเรือ ทั้ง 2 ลํา ที่สหรัฐเสนอให้ประเทศไทยเท่านั้น ไม่ได้หมายความว่า ทร.ได้จัดหาแล้ว ดังที่หลายท่านเข้าใจคาดเคลื่อน โดยเฉพาะประเด็น สับสนเรื่องสหรัฐเสนอเรือฟริเกตชั้น OHP กับโครงการเรือฟริเกตสมรรถนะสูงว่าเป็นโครงการเดียวกัน และเรื่องการคาดหวังว่าทร.จะสามารถจัดหาเรือฟริเกตชั้น OHP ลําที่ 3 หรือ 4 ได้ ขอยืนยันครับว่า ทร.ได้รับข้อเสนอเพียง 2ลําเท่านัั้น และไม่ใช่โครงการเดียวกับโครงการเรือฟริเกตสมรรถนะสูง
โดยคุณ FatBoy เมื่อวันที่ 04/01/2013 22:26:50


ความคิดเห็นที่ 55


ความคิดส่วนตัวครับ ถ้าทร. ได้รับมอบเรือฟริเกตชั้น OHP 2 ลํา และได้รับงบประมาณในการปรับปรุงขนานใหญ่ตามที่คุณJuldasหรือที่หลายท่านเสนอ แสดงว่าโอกาสที่ทร.จะมีเรือดําน้ํา น่าจะอีกนานครับ แต่ถ้ารับมอบเรือOHP มาในสภาพปัจจุปันแต่ refurbishment แล้ว แสดงว่าอาจมีข่าวดีก่อนปี 2560 ครับ
โดยคุณ FatBoy เมื่อวันที่ 04/01/2013 23:16:28


ความคิดเห็นที่ 56


แต่ปีนี้มาลุ้นดีกว่าครับว่าทร. จะตัดสินใจกับโครงการเรือฟริเกตสมรรถนะสูงในแนวทางไหน ระหว่าง เลือกแบบเรือสําเร็จรูป ชึ่งมีราคาสูงมาก. ซึ่ต้องมีการลดทอนประสิทธิภาพ กับการว่าจ้างต่อเฉพาะตัวเรือ ในราคาที่ต่ํากว่าแต่ ทร.จะได้เรือที่มีขัดความสามารถ ตรงกับความต้องการมากที่สุด ก่อนเมษายน น่าจะทราบครับ ถ้าไม่มีเหตุการณ์พิเศษแปลกๆครับ
โดยคุณ FatBoy เมื่อวันที่ 04/01/2013 23:32:14


ความคิดเห็นที่ 57


   ขอขอบคุณอีกครั้งนะครับท่าน FatBoy   เรือต่อใหม่ถ้าเอาสำเร็จรูปแล้วแพงขนาดนั้น  ก็เห็นด้วยนะครับว่าสั่งเขาต่อแค่ตัวเรือ (ให้คนของเราไปเรียนรู้ด้วยระหว่างการต่อก็น่าจะดีนะครับ)    แล้วเอาตัวเรือเปล่ามาทำการติดตั้งระบบตรวจจับ  ระบบอาวุธ  ระบบอำนวยการรบที่เมืองไทยเอง       ซึ่งผมมั่นใจในทีมงานอู่ราชนาวีว่าจะทำได้   และเราก็จะได้มีประสพการณืในการติดตั้งระบบต่างๆกับเรือฟรีเกตประสิทธิภาพระดับโลกด้วย   

   ส่วน OHP ผมแค่อยากให้มันสามารถใช้ ASROC ได้เหมือนเรือชั้นพุทธ...ครับ    เพราะระบบเดิมๆของมันก็ดีใช้ได้ทีเดียวอยู่แล้ว    ไม่ว่าจะเป็นระบบต่อสู้อากาศยานแบบ  SM-1MR   ซึ่งเราเองก็ไม่เคยมีจรวดพิสัยไกลขนาดนี้ประจำการเลยแม้แต่ระบบเดียว    แม้ว่าจะตกรุ่นและเลิกผลิตไปแล้วก็ตาม    แต่ก็ยังมีอีกหลายประเทศใช้งานมันอยู่    ก็เทียบเท่า SM-2mr block 2 แล้ว     น่าจะเป็นประสบการณ์ที่ดีสำหรับทร.ที่จะใช้จรวดพิสัยไกลแบบเก่าให้คุ้นเคยก่อนที่จะจัดหาเรือฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศรุ่นใหม่  และระบบใหม่ๆทันสมันสุดๆ  

   และถ้าจะให้ปรับปรุงขนานใหญ่แบบออสเตเรียทำ   ซึ่งตกลำละ  10,000 ล้านบาททีเดียว    ต่อเรือใหม่ชั้นดีแบบ  ฟอร์มินเดเบิล สบายๆได้เลยครับ    ซึ่งผมว่ามันไม่คุ้ม....  

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 05/01/2013 22:30:46


ความคิดเห็นที่ 58


เห็นด้วยกับคุร neosiamese2 ครับ ขอแค่ OHP มี SM1 กลับมาด้วยก็พอแล้ว ส่วนระบบอื่นที่มีอยู่แล้วก็ไม่ต้องปรับปรุงอะไรถือว่าคุ้มค่ามากในราคาถูกมากเมื่อเทียบกับอายุประจำการอีก 15-20 ปีและภัยคุกคามจากภายนอกทั้ง 3 มิติ  สามารถยกระดับการป้องกันกองเรือให้มีระยะป้องกันที่ไกลขึ้นอย่างมากชนิดที่ ทร. ไม่เคยทำได้มาก่อน  ส่วนที่ว่า SM1 ใกล้จะหมดอายุการใช้งานแล้ว ผมว่าดีเสียอีกสหรัฐจะได้แถมจรวดให้มาด้วยอาจจะใช้ได้สัก 5-10 ปีแล้วหมดอายุ  จากนั้นเราสั่งซื้อเพิ่มผู้ผลิตก็คงจะไม่ปฏิเสธและสหรัฐก็น่าจะยินดีขายให้ไทย หรือถ้างบประมาณพอมีเหลือก็ปรับปรุงเป็นรุ่น SM2 ก็น่าจะได้

 กรณี SM1 รุ่นเก่าแต่มีระยะยิงได้ไกล ถ้า  OHP ตรวจพบเครื่องบินข้าศึกแล้วยิง SM1 ออกไป จะยิงถูกหรือไม่ก็อีกเรื่องนึง แต่ที่สำคัญมันจะบีบให้ฝ่ายเครื่องบินข้าศึกต้องหันหลังกลับ ล่ะทิ้งการโจมตีเรือ เพราะนักบินคงไม่เสี่ยงที่จะฝ่าจรวด SM1 เข้ามาโจมตีกองเรือแน่นอน

โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 06/01/2013 07:34:30


ความคิดเห็นที่ 59


เห็นด้วยกับคุณ neosiamese2 ครับ ถ้า SM-1MR มาจริง ก็จะเป็นประสบการณ์ใหม่ของ ทร. ที่เริ่มใช้ SAM เป็นครั้งแรก เรียนรู้จากระบบเก่าก่อน แล้วเตรียมพร้อมสำหรับเรือฟริเกต AAW ตัวใหม่ที่จะมาถึง

อีกอย่างการได้ SM-1MR ก่อน แล้วขยับไปขอซื้อ SM-2 นั้น ดูแล้วก็เป็นการง่ายกว่าที่ทางสหรัฐจะขาย SM-2 ให้เราในครั้งแรกทีเดียว อายุ SM-1MR ที่เหลือเพียง 10 ปี ก็ทำให้ทางสหรัฐลดความกังวลไปได้มาก ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่ดูเป็นภัยต่อสหรัฐเอง

โดยคุณ Ricebeanoil เมื่อวันที่ 06/01/2013 08:29:09


ความคิดเห็นที่ 60


มา confirm ด้วยอีกคนครับว่า ทางนู้นน่าจะไฟเขียวมาแล้ว

 

ตามนี้ครับ






โดยคุณ ccguy เมื่อวันที่ 06/01/2013 11:09:29


ความคิดเห็นที่ 61


รูปไม่ขึ้นงั้น แปะทีล่ะอันนะครับ



โดยคุณ ccguy เมื่อวันที่ 06/01/2013 11:11:32


ความคิดเห็นที่ 62


อ่าลองอีกทีน่ะครับ






โดยคุณ ccguy เมื่อวันที่ 06/01/2013 11:47:24


ความคิดเห็นที่ 63


แต่ส่วนที่ไม่เข้าใจคือส่วนนี้ครับ


โดยคุณ ccguy เมื่อวันที่ 06/01/2013 12:12:32


ความคิดเห็นที่ 64


สดุดตาตรงที่ว่า OHP class guided missile frigates นี่แหล่ะครับ  สรุป 2 ลำนี้มี MK13 มาด้วยหรือเปล่าน้อ

โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 06/01/2013 12:12:52


ความคิดเห็นที่ 65


คล้ายๆกับว่า จะไม่นับรวมมูลค่า ของโปรแกรมนี้ กับมูลค่าความช่วยเหลือในอดีตถูกต้องไหมครับ

โดยคุณ ccguy เมื่อวันที่ 06/01/2013 12:19:09


ความคิดเห็นที่ 66


  ขอบคุณครับท่าน  ccguy   เรื่องกฎหมายด้านนี้ของอเมริกานั้นจนด้วยปัญญาจริงๆครับ

   อ้าว.......ของไต้หวันเป็นการ "ซื้อ"  เหรอเนี่ย    ไอ้ผมก็นึกว่าเงื่อนไขเดียวกัน    มิน่าของเราถูกแบบใจหาย  แล้วทางไต้หวันได้เรือที่อายุน้อยกว่าเพื่อน   รหัสถึงหลัก 55 แล้ว    เหลืออีกไม่มากแล้วครับเรือชั้นนี้    แม้แต่ตุรกีที่มีเรือชั้นนี้ประจำการมาก่อน   ก็ยัง OK. นะที่สนใจเพิ่มเติมอีก   แสดงว่าประสิทธิภาพน่าประทับใจตุรกี  

  ค่าทำการซ่อมคืนสภาพตามที่ไต้หวันทำ  660 ล้านบาทต่อลำ (ซื้อ 4 ลำรวดเลย)   ค่าเรือไม่ต้องจ่าย   ระบบอาวุธเดิมๆไป   บางทีอาจจะไม่ติดตั้งฟาลังก์มาด้วยแบบที่ป๋าจูลว่านะครับ    เพราะฟาลังก์ตัวที่ติดตั้งให้เรือที่ยกให้เรานั้นเป็นรุ่นใหม่    ป่านนี้เอาไปติดตั้งที่เรือลำอื่นไปเรียบร้อยแล้ว   

     ดังนั้นถ้าเราจะต้องการระบบ CIWs   ผมว่าเอา  Sea RAM แบบยูเครนก็ไม่เลว    ราคารวมลูกจรวด 11 ลูก ประมาณ 600 ล้านบาท     ราคาระบบ VLS mk-41  8 cell  รวม ASROC  น่าจะไม่เกิน 700-800 ล้านบาท    รวมๆค่าใช้จ่ายก็ประมาณ  2,000 ล้านบาทเท่านั้น   ถูกกว่า OPV ชั้นกระบี่ซะอีกครับ  

   พอลูกจรวด SM-1MR (RIM66E ผลิตปี 1983  ผลิตปีเดียวกับ  SM-2MR RIM66 G/H ซึ่งเป็น  SM-2 block 2  ผลิตปี 1983 เช่นกัน  แต่เอาไว้สำหรับเรือที่ใช้ระบบ AEGIS  เทคโนโลยีน่าจะพอๆกันกับ  SM-1MR  RIM66E ที่ใช้กับ OHP ครับ)  หมดอายุ    ก็ใช้ RAM ในการต่อสู้อากาศยานไป 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 06/01/2013 19:52:55


ความคิดเห็นที่ 67


ตามข่าวที่ลองค้นหาดูครับ...

สำหรับ 3 ประเทศ คือ เม็กซิโก ตุรกี และ ไทย  เป็นการ บริจาค หรือ ช่วยเหลือแบบให้เปล่า

ส่วนของ ไตหวัน เป็นแบบ...ขาย...

ในความเห็นผม การโอนเรือ ทั้ง 3 ประเทศ คงเป็นลักษณะเดิมของ เรือ ในปัจจุบัน ครับ...(ซึ่ง คราวนี้ ผมว่า มีลุ้นว่า อาจจะได้ Phalanx มาด้วย) ซึ่งก็คนละ กรณี กับ ปากีสถาน...

ซึ่งถ้า ทั้ง 3 ประเทศ ต้องการอะไรเพิ่มเติม...ก็คงต้องยื่นขอซื้อ ระบบอาวุธ อีกครั้งหนึ่ง ครับ...ซึ่งอาจจะซื้อผ่านระบบ FMS...

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 07/01/2013 07:40:07


ความคิดเห็นที่ 68


ในเบื้องต้น ผมเห็นด้วย ที่ ทร. จะขอให้ รัฐบาล ตอบรับข้อเสนอ...รับเรือตามสภาพ โดยชำะค่าใช้จ่าย Refurbisment...

เพื่อมาทดแทน เรือชั้น พุทธฯ ที่ตามแผนพัฒนากองทัพ เรือชั้นนี้ ควรจะต้องปลดระวางไปแล้วอย่างน้อย 1 ลำ...

ซึ่งเรือชั้น OHP ระบบอาวุธหลัก คือ ประสิทธิภาพปราบเรือดำน้ำ...ส่วน ระบบการต่อต้านภัยทางอากาศ กับ เรือรบผิวน้ำ ก็เป็นระบบอาวุธรอง...ตามข้อมูลที่อ้างถึง...

The US Navy’s lone third-generation frigate class, a low-cost gas turbine-powered  anti-submarine platform with secondary anti-aircraft and anti-ship capability, was the Oliver Hazard Perry class.

ซึ่งค่าใช้จ่ายการปฏิบัติงาน ก็เป็น งบประมาณส่วนเดิมของ เรือชั้นพุทธฯ อยู่แล้ว...ซึ่ง เรือชั้นพุทธฯ ก็ไม่ได้มีระบบการป้องกันภัยทางอากาศ...แต่สามารถใช้ อาวุธนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ ได้ จากแท่นยิง...ส่วนระบบต่อต้านเรือดำน้ำ ในส่วนของ เรือ OHP ก็จะมีความทันสมัยกว่า และเป็นระบบมาตรฐานของ ทร.สหรัฐ ซึ่งคงยืนยัน ถึงความน่าเชื่อถือในระดับหนึ่งอยู่แล้ว...

โดยสาเหตุหลัก ก็คือ การที่ กองทัพเรือยังไม่สามารถจัดหาเรือดำน้ำ ในขณะนี้...

และ ตามแผนการป้องกันของ กองทัพเรือ แต่เดิม กองทัพเรือ มีความต้องการเรือชั้น พุทธฯ จำนวนถึง 4 ลำ...แต่ด้วยประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ จึงหามาได้เพียง 2 ลำ ซึ่งเป็นอัตราขั้นต่ำ....

การจัดหา OHP ครั้งนี้ ก็เพื่อมา ทดแทน เรือชั้นพุทธฯ เท่านั้น...ซึ่งไม่ได้ทำให้ กองทัพเรือ มีจำนวนเรือรบที่เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด...

ส่วน การอัพเกรด หรือ ปรับปรุงเรือ OHP...ก็คงเป็นเรื่องในอนาคต...ในท่าทีของ โครงการเรือดำน้ำ ว่าจะมีแนวโน้มอย่างไร...

ในระหว่างนี้ คงต้องลุ้นว่า รัฐบาล จะรับข้อเสนอหรือไม่...ส่วนเรื่องการอัพเกรด หรือ ปรับปรุง ผมว่า อาจจะต้องพักเรื่องไว้ก่อน...

ซึ่งผมว่า ก็ยังไม่สาย แม้ว่าอีก 2-3 ปี หลังการรับมอบ แล้ว ทร. จะมีโครงการพัฒนา หรือ อัพเกรด...เพราะอย่างน้อย...ถ้าตุรกี ยอมรับในการรับมอบเรือจำนวน 2 ลำ...ตุรกี ก็คงต้องมีโครงการอัพเกรด ในโครงการ G Class อยู่แล้ว...และเรือชั้น OHP...คงยังประจำการอยู่กับชาติต่าง ๆ ไปอีก ไม่น้อยกว่า 15-20 ปี อย่างแน่นอน...(อย่างน้อยก็ ไตหวัน)

 

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 07/01/2013 08:01:05


ความคิดเห็นที่ 69


เอารูป cutaway OHP มาฝากคุณ judas ครับ

ดู จากรูปตัดผ่ากลางลำเรือ ผมว่าใส่ MK41 VLS ได้ถึง 16 cell แบบสบายๆเลย





โดยคุณ ccguy เมื่อวันที่ 10/01/2013 18:54:44


ความคิดเห็นที่ 70


   mk-13  ทั้งแมกบรรจุจรวดได้ 40 นัด   ผมว่า  mk-41 16 cell น่าจะสบายๆ   แถมน้ำหนักน้อยกว่าด้วย  เพราะมีลูกจรวดแค่ 16 ลูก   ยกเว้นใส่  ESSM  32 นัดสำหรับ 8 cell แรก  และใส่  ASROC  8 นัดสำหรับ 8 cell ถัดไป  ก็ 40 นัดเท่ากันแต่  ESSM  มีน้ำหนักน้อยกว่า  SM-1MR      แต่ถ้าใส่ SM-1 หรือ SM-2 แทน ESSM ก็ได้แค่ 8 นัด         

   แต่ไม่ว่าจะแบบไหน   ก็คงต้องลงทุนอีกเยอะ   แต่ประสิทธิภาพจะน่าสนใจมาก    อันนี้ก็แล้วแต่ทร.แล้วล่ะครับ 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 11/01/2013 14:19:52


ความคิดเห็นที่ 71


ถ้าดีลนี้ไม่เอาผมยอมรับว่าคงพูดไม่ออกกันอีกนานเลย

โดยคุณ Batnight เมื่อวันที่ 11/01/2013 22:44:22


ความคิดเห็นที่ 72


ของฟรีรับไว้เถอะ เสียค่าปรับสภาพและค่าบำรุงรักษาบ้าง เรือมือสองก็ใช้มาตั้งหลายลำ ถ้าไม่เอารอบนี้ อเมริกาอาจจะคิดว่าเราจะไม่อยากได้อีกเลยในอนาคต เรือเก่าจะให้เหมือนใหม่คงไม่ได้ แต่อย่างน้อยก็มีค่าทางยุธการและประสิทธิภาพระดับนึง

หมายเหตุ :ไม่มีเหตุผลที่เราจะเล่นตัวครับ

โดยคุณ ajaydf เมื่อวันที่ 15/01/2013 10:11:26


ความคิดเห็นที่ 73


เขาให้ก็รับไว้ ค่าบำรุงรักษา คงจะไม่เท่าซื้อของใหม่หลอกคับ ผมว่านะ  อย่างน้อยก็มีเรือเพิ่มมาอีก 2 ลำ

โดยคุณ natta เมื่อวันที่ 12/05/2013 08:56:59