หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ข้อมูลรถถังหลัก T-84 OPLOT

โดยคุณ : kaypui42 เมื่อวันที่ : 30/12/2012 23:32:41

กล่าวทั่วไป
รถถังหลัก T-84 OPLOT ออกแบบโดยบริษัท Kharkiv Morozov Machine Building Design Bureau (KMDB) และสร้างโดย Malyshev Plant ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ (State-owned Enterprise) ของประเทศยูเครน คำว่า “OPLOT” เป็นภาษายูเครน ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “Bulwark” ซึ่งหมายถึง “ป้อมปราการหรือที่มั่นสาหรับต่อสู้กับข้าศึก” เป็นรถถังยุคใหม่ที่มีความทันสมัย ถูกออกแบบให้เป็นรถถังที่มีอำนาจการยิงที่รุนแรง มีความแม่นยาสูง มีระบบป้องกันตัวเองที่เชื่อถือได้ และมีความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่สูง สามารถปฏิบัติการในสภาพพื้นที่ที่มีอุณหภูมิแตกต่างกันอย่างมาก คือตั้งแต่ -40 องศาเซลเซียส ถึง + 55 องศาเซลเซียส หรือแม้กระทั่งการปฏิบัติการในพื้นที่ ที่อยู่สูงจากระดับน้าทะเลถึง 3000 เมตร รถถัง OPLOT ก็ยังสามารถปฏิบัติภารกิจได้เป็นอย่างดี
รถถังหลัก T-84 OPLOT เป็นรถถังที่พัฒนาต่อเนื่องมาจากตั้งแต่ รถถังหลักรุ่น T-64 ซึ่งเป็นรถถังที่ใช้ระบบบรรจุกระสุนแบบอัตโนมัติ (Autoloader) รุ่นแรกของโลก จนมาถึงรถถัง รุ่น T-80UD ก่อนจะกลายมาเป็นรถถัง T-84 OPLOT ในปัจจุบัน รถถังรุ่นนี้ มีการเปลี่ยนแปลงจากรุ่นเดิมหลายรายการ อาทิเช่น ป้อมปืนรุ่นใหม่ เครื่องยนต์ดีเซลขนาด 1,200 แรงม้า เกราะปฏิกิริยาแบบใหม่ กล้องเล็งแบบใหม่ ระบบต่อต้านการตรวจการณ์ด้วยสายตาที่เรียกว่า “Varta” ที่สามารถปูองกันการตรวจจับหรือการเล็งเกาะเป้าหมาย (Tracking) ด้วยแสงเลเซอร์ รวมถึงการมีระบบก่อกวนสัญญานคลื่นอินฟราเรด ซึ่งนิยมใช้ในระบบอาวุธนาวิถีต่อสู้รถถังทั่วๆไปอีกด้วย ซึ่งทำให้รถถังรุ่นนี้สามารถเพิ่มความอยู่รอดในสนามรบได้มากขึ้น
องค์ประกอบหลัก ที่สาคัญของรถถังหลักโดยทั่วไปประกอบด้วย
 อำนาจการยิง (Fire Power)
 การป้องกันตนเอง (Protection)
 ความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ (Mobility)


อำนาจการยิง ของรถถัง OPLOT ได้แก่ระบบอาวุธ ประกอบด้วย อาวุธหลัก และอาวุธรอง ดังนี้
1.อาวุธหลัก : ปืนใหญ่รถถังแบบลำกล้องเรียบ ขนาด125 มม. แบบ KBA-3 (ตระกูลเดียวกับปืนใหญ่รถถัง แบบ 2A46M1 หรือ D-81 TM ของสหพันธรัฐรัสเซีย) ผลิตโดยสาธารณรัฐยูเครน ใช้การบรรจุกระสุนแบบอัตโนมัติ (Autoloader ) ความเร็วในการยิง 8 นัด/นาที สามารถทาการยิงกระสุนได้ 4 ชนิดได้แก่
 APDSFS
 HEAT
 HE-FRAG
 ATGM (Anti-Tank Guided Missiles)

2.อาวุธรอง
 ปืนกลร่วมแกน แบบ KT-7.62 (PKT) ขนาด 7.62 มม.
 ปืนกลต่อสู้อากาศยานแบบ KT-12.7 ขนาด 12.7 มม แบบควบคุมระยะไกลจากภายในตัวรถ (Remote Control)

ระบบป้องกันตนเอง
สิ่งที่ช่วยในการป้องกันการถูกโจมตีด้วย การยิงด้วยกระสุนชนิดต่างๆ จากรถถังข้าศึก ประกอบด้วย เกราะแบบหลายชั้น , เกราะปฏิกิริยาชนิดป้องกันหัวรบแบบ Tandem แบบติดตั้งจากโรงงาน (BATW-ERA) เกราะป้องกันทุ่นระเบิด ซึ่งจัดเป็นการป้องกันเชิงรับ รถถัง OPLOTยังมีระบบป้องกันตนเองเชิงรุก ได้แก่ ระบบต่อต้านการโจมตีโดยอาวุธนาวิถีที่ใช้สายตาในการควบคุม (Optronic) ที่เรียกว่า Varta ซึ่งหมายถึงการคุ้มกัน (Guard) นั่นเอง ระบบนี้จะประกอบด้วย การแจ้งเตือนการถูกเล็งเกาะเป้าหมาย (Tracking) ด้วยแสงเลเซอร์เพื่อนำวิถีให้อาวุธต่อสู้รถถังหรือวัดระยะเพื่อทำการยิงปืน ใหญ่รถถัง, การรบกวนคลื่นอินฟราเรดและการสร้างฉากควันเพื่อป้องกันตัว รถถังรุ่นนี้ยังมีระบบป้องกัน นชค., ระบบช่วยลดการมองเห็นจากข้าศึก โดยการใช้สีพรางตัวแบบพิเศษระบบป้องกันการแพร่รังสีความร้อนจากเครื่องยนต์ อีกทั้งสามารถติดตั้งอุปกรณ์เพื่อกวาดทุ่นระเบิดได้อีกด้วย
    ภาพแสดงระบบป้องกันตัวเองแบบ Varta

ความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่
รถถัง OPLOT มีเครื่องยนต์ที่มีกาลังเครื่องยนต์สูงและยังมีระบบช่วยการทำงานของเครื่อง ยนต์ อันได้แก่ ระบบจ่ายน้ำมัน ระบบป้อนอากาศ ระบบหล่อลื่น ระบบให้ความเย็น ระบบระบายแก๊สจากเครื่องยนต์ ระบบให้ความร้อนเครื่องยนต์เบื้องต้นและระบบทำความร้อนในห้องทำงานพลประจำ จุดเด่นอีกประการหนึ่งของ รถถัง OPLOT คือ การเคลื่อนที่ถอยหลังได้อย่างรวดเร็ว อันเป็นผลมาจากมีการออกแบบชุดส่งกำลัง อันประกอบไปด้วย กล่องเกียร์ เฟืองท้ายส่งกำลังถอยหลัง ทำงานร่วมกับระบบควบคุมการเคลื่อนที่แบบซับซ้อนเช่น เฟืองขับ ระบบสายพาน ระบบพยุงตัวรถ นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์พิเศษอื่นๆ อีกเช่น อุปกรณ์ลุยน้ำลึก อุปกรณ์ตรวจการณ์ด้วยสายตาและนำทางเบื้องต้น อุปกรณ์ตรวจการณ์ด้วยสายตาเวลากลางวัน อุปกรณ์ช่วยขับเวลากลางคืน อุปกรณ์ช่วยนำทางเบื้องต้น (นำทางด้วยไจโร) อุปกรณ์เป่าลมที่ช่วยทำความสะอาดอุปกรณ์ตรวจการณ์ด้วยสายตาของป้อมปืนและตัว รถ ระบบช่วยนำทางด้วยดาวเทียม ( GPS )

สาหรับการติดต่อสื่อ สารของรถถัง OPLOT นั้น คาดว่าทางกองทัพบกคงใช้ชุดวิทยุที่สามารถใช้ร่วมกันกับชุดวิทยุที่มีใช้อยู่ เดิมในกองทัพบกแล้ว เพื่อง่ายต่อการฝึกและสอดคล้องกับการปฏิบัติงานด้านยุทธการและการส่งกำลัง บำรุง

ระบบป้อนกระสุนปืนใหญ่รถถัง
เป็นระบบที่ทำหน้าที่ป้อนกระสุนที่มี อยู่เข้าสู่ปืนใหญ่รถถังโดยอัตโนมัติ ประกอบไปด้วยสายพาน เครื่องบรรจุกระสุนอัตโนมัติและระบบควบคุม เป็นชนิด กลไกไฟฟ้าไฮดรอลิค ด้วยมุมบรรจุคงที่มีแบบของกระสุน 4 แบบ ความจุกระสุนในช่องใส่กระสุนพร้อมยิง (Carouselle) มีจานวน 28 นัด การหมุนตัวของช่องใส่กระสุนพร้อมยิง (Carouselle) สามารถหมุนได้สองทิศทางที่ความเร็วในการหมุนประมาณ 25-33 องศาต่อวินาที อัตราเร็วในการบรรจุกระสุนต่อนัดประมาณ 7 วินาที
การคัดปลอกกระสุนเมื่อทำการยิงไปแล้ว จะถูกนำกลับไปใส่เอาไว้ในช่องว่างในถาดปูอนกระสุนโดยไม่ทำให้เกะกะในห้อง ปฏิบัติการของพลประจำรถ ชนิดของการป้อนกระสุนแบบสองหัวรบเรียงตามกันป้อนกระสุนและดินส่งพร้อมกันใน หนึ่งรอบ ระบบขับอุปกรณ์ป้อนกระสุนสามารถทำการช่องใส่กระสุนพร้อมยิง (Carouselle) ด้วยมืออันประกอบไปด้วยกลไกกระสุนด้วยมือ, ล็อคช่องใส่กระสุนพร้อมยิง (Carouselle) ด้วยมือและล็อคปืนด้วยมือเวลาที่ใช้ในการเติมกระสุนลงช่องใส่กระสุนพร้อมยิง (Carouselle) (ในโหมดเติมกระสุน) 15-20 นาที

ระบบควบคุมการป้อนกระสุนติดตั้งเอาไว้ใน รถถังเพื่อ ทำการควบคุมกลไกและไฮดรอลิคของระบบป้อนกระสุน ควบคุมวงรอบการยิงปืนใหญ่และปืนกลร่วมแกนเก็บข้อมูลเกี่ยวกับชนิดกระสุนที่ ถูกบรรจุเอาไว้ในช่องใส่กระสุนพร้อมยิง (Carouselle)

ระบบควบคุมการยิงของปืนใหญ่รถถัง
ได้รับการปรับปรุงให้สามารถทำงาน อัตโนมัติในการควบคุมระบบอาวุธไม่ว่าจะเป็นการยิงมุมสูงมาก หรือในมุมยิงทางข้างภายใต้สภาพการณ์ต่างๆ ของการยิงนอกเหนือไปจากการยิงแบบมาตรฐาน ผู้บังคับรถสามารถทำการควบคุมปืนใหญ่รถถังและปืนกลร่วมแกนแยกจากพลยิงได้โดย ตรง และยังทำให้สามารถทำการยิงปืนกลต่อสู้อากาศยานได้จากสถานีผู้บังคับรถ
 เมื่อทำการเล็งอย่างประณีตตั้งแต่ 0.05 ถึง 1 องศา/วินาที ใช้เวลามากที่สุดไม่เกิน 3 องศา/วินาที
 มุมทิศ ไม่ต่ากว่า 0.05 องศา/วินาที

เครื่องหาระยะด้วยแสงเลเซอร์
สามารถหาระยะได้ตั้งแต่ 400 – 9,000 เมตร ความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 10 เมตร ใช้เวลาเตรียมการภายใน 3 นาที

เวลาในการเตรียมการยิงสำหรับกระสุนนัดแรกของปืนใหญ่รถถัง
 เมื่อรถถังอยู่กับที่ ใช้เวลาในการเตรียมการประมาณ 10-12 วินาที
 เมื่อรถถังเคลื่อนที่ใช้เวลาในการเตรียมการประมาณ 10-15 วินาที

ระยะยิงหวังผลของปืนใหญ่รถถังในกระสุนแต่ละประเภท
 กระสุน APDSFS มีระยะยิงหวังผล 2,800 เมตร
 กระสุน HEAT มีระยะยิงหวังผล 2,600 เมตร
 กระสุน HE-FRAG มีระยะยิงหวังผล 2,600 เมตร

ระบบเครื่องควบคุมการยิง
ประกอบไปด้วย กล้องเล็งกลางวันแบบ 1G46M ของพลยิง, กล้องเล็งสร้างภาพด้วยความร้อนแบบ PTT-2 กล้องเล็งและตรวจการณ์ของผู้บังคับรถแบบ PNK -6 ศูนย์เล็งปืนกลต่อสู้อากาศยานแบบ PZU -7, ระบบควบคุมการยิงปืนกลต่อสู้อากาศยานแบบ 1ETs 29M1, คอมพิวเตอร์คำนวณ ขีปนวิธีแบบ LIO–V พร้อมด้วยเซ็นเซอร์ป้อนข้อมูล, อุปกรณ์รักษาการทรงตัวของอาวุธแบบ 2E42M และอื่นๆ

กล้องเล็งของพลปืน แบบ 1G46M
กล้องเล็งแบบกลางวันของพลยิงมีระบบการ ทรงตัวแบบสองแกนตามแนวสายตาทำงานร่วมกับอุปกรณ์หาระยะด้วยเลเซอร์และทำ หน้าที่ในการนำวิถีจรวดต่อสู้รถถังได้อีกด้วย มีการติดตั้งอุปกรณ์คำนวณแก้การเอียงของปืนแบบอัตโนมัติ กล้องเล็งมีกำลังขยายตั้งแต่ 2.7-12 เท่า ภายในกล้องเล็งของพลยิงจะแสดงข้อมูลอื่นๆ เช่น เส้นเล็งแบบมีมาตราสาหรับใช้ยิงกระสุนชนิดต่างๆ เช่นเดียวกับข้อมูลสำหรับปืนกลร่วมแกน โดยเส้นเล็งแบบมาตรานี้มีประโยชน์ในการใช้เป็นระบบวัดระยะสำรองในกรณีที่ เครื่องหาระยะด้วยแสงเลเซอร์ใช้งานไม่ได้ และเพื่อป้องกันกล้องเล็งจากแสงวาบจากประกายไฟจากการยิงของอาวุธของตัวเองใน ช่องเล็งได้มีการติดตั้งเซ็นเซอร์แสง ซึ่งจะปิดกล้องเล็งเมื่อมีการยิง ระบบควบคุมกล้องเล็งช่วยให้พลยิงสามารถเล็งตามเป้าได้อย่างรวดเร็วและแม่นยา อุปกรณ์หาระยะด้วยเลเซอร์มีระยะปฏิบัติการถึง 9,990 เมตร คลาดเคลื่อนเพียง +/- 10 เมตร ระยะที่วัดได้จะแสดงเป็นตัวเลขพร้อมๆ กับข้อมูลการเตรียมการยิงอื่นๆ เช่น ชนิดของกระสุนที่ส่วนล่างของกล้องพลยิง

กล้องเล็งสร้างภาพด้วยความร้อนแบบ PTT-2
กล้องเล็งแบบสร้างภาพด้วยความร้อน PTT-2 ประกอบไปด้วยกล้องเล็งของพลยิง และจอมอนิเตอร์ของผู้บังคับรถรวมทั้งแผงควบคุม โดยปกติกล้องนี้จะถูกควบคุมการทำงานโดยพลยิง แต่ผู้บังคับรถสามารถควบคุมแยกจากพลยิงได้ไม่ว่าจะเป็นการเล็ง หรือทำการยิงทั้งปืนใหญ่รถถัง หรือปืนกลร่วมแกนโดยใช้ระบบควบคุม และจอมอนิเตอร์สร้างภาพด้วยความร้อนของตน กล้องเล็งสร้างภาพด้วยความร้อนนี้ช่วยให้ทั้งพลยิงและผู้บังคับรถสามารถทำ การยิงได้อย่างแม่นยาในสภาพทัศนะวิสัยจากัด เช่น มีหมอกควัน หรือการปฏิบัติในเวลากลางคืน รวมทั้งปฏิบัติงานในลักษณะ Hunter killer ได้



กล้องตรวจการณ์ของผู้บังคับรถแบบ PNK -6
เป็นระบบกล้องเล็งและตรวจการณ์ของ ผบ.รถ โดยผสมผสานกล้องกลางวันและกล้องกลางคืนแบบ TKN -5 ไว้ด้วยกัน มีระบบรักษาการทรงตัวของกล้อง โดยกล้องกลางวันมีกาลังขยาย 7.6 เท่า และกล้องกลางคืนมีกาลังขยาย 5.8 เท่า โดยกล้องนี้จะทำงานร่วมกันกับเครื่องวัดระยะด้วยแสงเลเซอร์



ระบบอาวุธนำวิถีของรถถัง
มีไว้เพื่อใช้ทำการยิงอาวุธนำวิถีจากลำ กล้องปืนใหญ่รถถัง ด้วยการเล็งจากกล้องเล็งแบบ 1G46M ของพลยิง อาวุธนำวิถีที่ใช้ยิงเป็นแบบ IZD 621, 3UBK 14, 3UBK 20 ชนิดหัวรบแบบระเบิดต่อสู้รถถัง (HEAT ระบบนำวิถีเป็นกึ่งอัตโนมัตินำวิถีด้วยแสงเลเซอร์ ระยะยิงไกลสุด 5,000 เมตร ซึ่งเป็นระยะยิงที่ไกลกว่าระยะของปืนใหญ่รถถัง ทำให้รถถัง OPLOT ได้เปรียบรถถังอื่นๆ


เครื่องคำนวณขีปนวิธีของรถถังแบบ TIUS-VM
ใช้ในการคำนวณแก้ค่าขีปนวิธีของกระสุน ปืนใหญ่รถถัง โดย คอมพิวเตอร์แบบ LIO-V จะนำข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่างๆ จากระบบเซ็นเซอร์ที่วัดค่าได้ เช่น ความเร็วรถถัง, ความเร็วเชิงมุมของเป้าหมาย, อาการเอียงของแกนลำกล้องปืนใหญ่, ความเร็วของลมพัดขวาง, ระยะเป้าหมาย และมุมภาคของเป้าหมาย นอกจากนี้ข้อมูลอื่นๆ ก็จะถูกนำเข้าด้วยมือ เช่น อุณหภูมิโดยรอบ, อุณหภูมิดินส่งกระสุน, อาการสึกของลำกล้องปืนใหญ่ และความดันของอากาศโดยรอบเป็นต้น นอกจากนี้คอมพิวเตอร์ยังทำการคำนวณเวลาที่เหมาะสมสำหรับกระสุนแบบ ดินระเบิดแรงสูงแบบมีสะเก็ด ( HE-FRAG ) ให้ระเบิดเหนือเป้าหมายได้อีกด้วย ระบบควบคุมการยิงมีประสิทธิภาพสูง เมื่อปุ่มไกปืนถูกกด ปืนจะทำการยิงก็ต่อเมื่อมีการแก้ค่าความแตกต่างระหว่าง แนวเส้นเล็งกับแนวแกนปืนใหญ่รถถังอยู่ในย่านที่ยอมรับได้ ขนาดของ “มุมยิง” ขึ้นอยู่กับระยะยิง และปัจจัยอื่นๆ ลำกล้องปืนใหญ่รถถังสามารถทำงานผิดเพี้ยนไปได้ด้วยสาเหตุต่างๆ เช่น ความร้อนจากการยิง, ฝนตกบนพื้นผิว, การแพร่กระจายคลื่นความร้อน หรือลมพัดขวางเป็นต้น ผลจากปัจจัยเหล่านี้ถูกลดลงโดยการนำเอาแผ่นกันความร้อนลำกล้องมาใช้ และเพื่อแก้ไขอาการคลาดเคลื่อน เนื่องจากความร้อนที่แพร่ออกจากลำกล้องปืนใหญ่ ได้มีการติดตั้งอุปกรณ์เซ็นเซอร์ที่ปากลำกล้องเพื่อส่งข้อมูลเกี่ยวกับการ คลาดเคลื่อนของลำกล้องให้กับคอมพิวเตอร์คำนวณขีปนวิถีทำการแก้ไขทันที

เซ็นเซอร์ป้อนข้อมูลคอมพิวเตอร์คำนวณขีปนวิธีปืนใหญ่
เครื่องวัดมุมเอียง (Cant Sensor) ตัวเซ็นเซอร์หรือตัวตรวจจับนี้มีหน้าที่พิจารณาตำแหน่งของการเอียงของปืน ทั้งสองแนวระนาบ เพื่อป้อนให้กับคอมพิวเตอร์คำนวณการยิง
เครื่องวัดความเร็วลมทางข้าง (Cross Wind Sensor) มีหน้าที่วัดความเร็วลมที่เกิดการพัดขวาง เพื่อป้อนข้อมูลให้กับคอมพิวเตอร์คำนวณขีปนวิถีของปืนใหญ่รถถัง
      ภาพแสดง เครื่องวัดความเร็วลมทางข้าง (Cross Wind Sensor)

เครื่องวัดความเร็วรถถัง (Tank Speed Sensor) มีหน้าที่วัดความเร็วรถถังในขณะเคลื่อนที่ เพื่อป้อนข้อมูลให้กับคอมพิวเตอร์คำนวณขีปนวิถีของปืนใหญ่รถถัง
เครื่องวัดค่าตำแหน่งป้อมปืนเชิงมุม (Turret Attitude Sensor) มีหน้าที่วัดตำแหน่งเชิงมุมของป้อมปืนที่ทำกับตัวรถ (มุมป้อมปืน) เพื่อป้อนให้กับคอมพิวเตอร์คำนวณขีปนวิถีปืนใหญ่รถถัง

ระบบจุดอ้างปากลำกล้อง (Muzzle Reference System : MRS)
ระบบนี้มีหน้าที่ในการวัดค่าการบิดงอตัวของลำกล้อง เพื่อทำการป้อนข้อมูลให้กับคอมพิวเตอร์คำนวณขีปนวิธีปืนใหญ่รถถัง

แผ่นเกราะปฏิกิริยา (ERA) ประกอบด้วย
โมดูลผลึกแก้ว และแผ่นชายน้าที่ติดเอาไว้ที่ตัวรถ เช่นเดียวกับชุดเกราะที่นำมาติดเอาไว้ด้านนอกของป้อมปืนตอนหน้าและด้านข้าง และด้านบนของป้อมปืน เกราะปฏิกิริยาแบบ Nozh ติดตั้งเอาไว้บริเวณตำแหน่งต่างๆ เพื่อป้องกันหัวรบแบบดินโพรง(Shape Charge) จากกระสุนระเบิดต่อสู้รถถัง (HEAT) ทุกแบบ และกระสุนเจาะเกราะทรงตัวตัวด้วยครีบหางสลัดครอบทิ้งเอง (APFSDS) เกราะปฏิกิริยาแบบ Nozh ที่เป็นส่วนหนึ่งของชุดเกราะ จะไม่ระเบิดเมื่อถูกยิงด้วยกระสุน 12.7 มม., 30 มม.เจาะเกราะและสะเก็ดของกระสุนขนาดต่างๆ เกราะ Nozh จะถูกเก็บเอาไว้ในกล่องเก็บ หรือไว้ในตัวรถถังเพื่อป้องกันแสงอาทิตย์ หรืออุณหภูมิที่แตกต่างกันมากตั้งแต่ -50 ถึง+55 องศาเซลเซียส และยังสามารถเก็บรักษาเอาไว้ในสภาพความชื้นสูงถึง 100 % ที่อุณหภูมิ +35 องศาเซลเซียส เกราะ Nozh นี้สามารถรักษาคุณสมบัติเหล่านี้เอาไว้ได้นาน 10 ปี


ระบบป้องกัน นชค.
ระบบป้องกันอาวุธนิวเคลียร์ชีวะเคมีแบบ สร้างแรงดันสูงมีหน้าที่ป้องกันพลประจำ และอุปกรณ์ต่างๆ ภายในรถจากพลประจำ และอุปกรณ์ต่างๆ ภายในรถจากผลของอาวุธนิวเคลียร์, ฝุ่นกัมมันตภาพรังสี, สารพิษและอาวุธชีวภาพ ตัวป้องกันการแผ่รังสีถูกออกแบบให้มีลักษณะเป็นเส้นที่ติดเอาไว้ด้านใน และภายในสถานีของพลยิงด้านนอกของผิวรถถัง และยังมีการติดตั้งแผ่นยางเอาไว้ภายใน เพื่อปูองกันการกะเทาะของเกราะจากภายใน ระบบมีหน้าที่ป้องกันพลประจำรถ และอุปกรณ์ภายในรถจากการระเบิดของนิวเคลียร์, การแพร่กระจายของรังสีเรเดียม, สารพิษหรืออาวุธชีวะ เช่น เดียวกับการตรวจหา และดับไฟในห้องปฏิบัติการของ พลประจำรถถัง และในห้องเครื่องยนต์
ด้วยระบบป้องกันต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นทำให้ รถถังOPLOT ถือได้ว่าเป็นรถถังที่ได้รับการป้องกันดีที่สุดแบบหนึ่งในโลก




ระบบช่วยนำทางแบบ TIUS (TIUS-NM Navigation Support System)
ระบบช่วยนำทางอาศัยข้อมูลพื้นฐานจากดาว เทียม GLONASS และ GPS NAVSTAR ระบบจะแสดงข้อมูลให้กับผู้บังคับรถเกี่ยวกับตำแหน่งที่อยู่ของรถถังของตนมุม ภาคทิศ และตำแหน่งต่างๆ ของกำลังฝ่ายเดียวกัน ช่วยให้ง่ายต่อการควบคุมการดำเนินกลยุทธ์ของหน่วยรถถัง โดยเฉพาะเมื่อต้องมีการปฏิบัติการในสภาพที่มีการสู้รบอย่างรุนแรงที่ต้องมี การปิดป้อม, ในเวลากลางคืน หรือในพื้นที่หมอกควันปกคลุมหนาแน่น ระบบยังแสดงข้อมูลอื่นๆ เช่นทิศทางการหันเลี้ยวให้กับพลขับ เพื่อให้มั่นใจต่อการเคลื่อนที่เข้าหาที่หมายที่ได้เลือกเอาไว้ล่วงหน้า ระบบช่วยนำทางยังช่วยให้ผู้บังคับรถถังสามารถส่งข้อมูล (รวมถึงข้อมูลที่เข้ารหัส) ผ่านทางช่องการติดต่อสื่อสารแบบดิจิตอล โดยใช้ชุดวิทยุมาตรฐานที่ติดอยู่ในรถ คุณสมบัติดังกล่าวได้แสดงให้เห็นถึงขีดความสามารถ ในการควบคุมบังคับบัญชา เพื่อรองรับกับระบบ C4I ในอนาคต




อุปกรณ์ติดต่อสื่อสาร
อุปกรณ์ติดต่อสื่อสาร ระบบสื่อสารประกอบไปด้วยชุดวิทยุความถี่สูงมากแบบ R-030-U และชุดวิทยุความถี่สูงแบบ R-163-50K และยังมีระบบติดต่อ ภายในรถ หรืออินเตอร์คอม (สามารถติดตั้งระบบวิทยุตามที่ลูกค้าต้องการได้ทุกประเภท)



ประสบการณ์ในการทำงานร่วมกันกับประเทศต่างๆ
เป็นไปตามความต้องการของลูกค้ารถถังหลัก แบบ รถถัง OPLOT สามารถติดตั้งอุปกรณ์ได้อย่างหลากหลาย เพื่อสนองตอบตรงกับความต้องการ สิ่งอุปกรณ์เหล่านั้นผลิตโดยโรงงานในประเทศต่างๆ ที่เป็นผู้นำในแต่ละชนิดอุปกรณ์ได้แก่
 กล้องสร้างภาพด้วยความร้อนผลิตโดยบริษัท THALES ฝรั่งเศส
 ระบบติดต่อสื่อสารภายในของพลประจำรถ ผลิตโดยบริษัท THALES ฝรั่งเศส
 ปืนกลผลิตโดย Fn HERSTAL เบลเยียม
 อุปกรณ์นำทางผลิตโดยบริษัท LITEF เยอรมัน
 เซ็นเซอร์วัดสภาพอากาศผลิตโดย บริษัท IRDAM สวิสเซอร์แลนด์
รถถังหลักแบบ OPLOT ได้เคยผ่านการทดสอบมาอย่างหนักในหลายภูมิภาค เช่น ตุรกี, มาเลเซียและกรีซ จากการทดสอบได้แสดงให้เห็นว่ารถถังหลัก OPLOT นั้นสามารถปฏิบัติการได้เป็นอย่างดีไม่ว่าจะเป็นในภูมิภาคยุโรป, เอเชียและในที่อื่นๆ สามารถปฏิบัติการได้อย่างยอดเยี่ยมในทุกๆ สภาพอากาศ และในทุกๆ สภาพภูมิประเทศ การออกแบบของรถถัง OPLOT เน้นความอ่อนตัวที่สามารถปรับแต่งให้ได้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้ เพื่อให้เข้ากับภารกิจที่แตกต่างกันออกไป ความอ่อนตัวเพื่อการส่งออกเหล่านี้ได้แก่ ระบบปรับอากาศ, ระบบช่วยนำทางแบบก้าวหน้าของเยอรมัน, ปืนกลร่วมแกน และปืนกลต่อสู้อากาศยานทำในเบลเยียม, ชุดวิทยุที่ออกแบบโดยฝรั่งเศส, อิสราเอล ฯลฯ รถถังถูกออกแบบโดยเน้นระบบเป็นแบบชุดสำเร็จรูป (Modular) ช่วยให้การสับเปลี่ยนชิ้นส่วนอุปกรณ์สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว เพื่อสนองตอบปรับเปลี่ยนไปตามภัยคุกคามที่พัฒนาไปไม่หยุดยั้ง เช่น อาวุธนำวิถีต่อสู้รถถัง หรือแม้แต่การปรับแต่งให้ตรงกับความต้องการของแต่ละกองทัพก็สามารถทำได้ง่าย โดยคงไว้ซึ่งอำนาจการยิง,เกราะป้องกันและความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ ปัจจุบันมีการพัฒนาปรับปรุงขีดความสามารถทางเทคนิคอยู่หลายรายการ รวมถึง ระบบปฏิบัติการในสนามรบที่ทำงานร่วมกับแผนที่ดิจิตอล ทำให้ผู้บังคับรถมีความเข้าใจสถานการณ์การรบดีขึ้น ทำให้รถถังสามารถตอบสนองความต้องการทางยุทธวิธีได้อย่างรวดเร็ว ลดภาระการทำงานของพลประจำลงรวมถึงความเสี่ยงในการยิงฝ่ายเดียวกัน, ระบบควบคุมติดตามเป้าหมายแบบอัตโนมัติในระบบควบคุมการยิง จะช่วยยกระดับความสามารถในการยิงเป้าหมายที่กำลังเคลื่อนที่ ลดความผิดพลาดในการติดตามเป้าหมายของพลยิงลง, การพิสูจน์ฝ่ายในสนามรบ, ระบบจัดการเครื่องยนต์แบบอิเลคทรอนิคส์, ระบบติดต่อสื่อสารแบบดิจิตอลระหว่างรถถัง ฯลฯ


คุณลักษณะทางเทคนิคของรถถัง OPLOT
ประเภท : รถถังหลัก (Main Battle Tank : MBT)
 น้ำหนักรวม : 48 ตัน +-3%
 พลประจารถ : 3 นาย
 อัตราส่วนกำลังต่อน้าหนัก : ไม่ต่ำกว่า 18.2 kw / ตัน (24.7 แรงม้า/ตัน)
 น้ำหนักกดบนพื้นดิน : ระหว่าง 0.097 MPa ( 0.097 kg/ cm2 )
 ย่านอุณหภูมิใช้งาน : -40 ถึง +55 องศาเซลเซียส
ความยาว :
 ปืนใหญ่ชี้ไปข้างหน้า 9,720 มม.
 ปืนใหญ่หันไปข้างหลัง 9,750 มม.
 ตัวรถ 7,075 มม.
ความกว้าง :
 ไม่รวมชายน้ำด้านข้างแบบถอดได้ 3,400 มม.
 รวมชายน้ำด้านข้างแบบถอดได้ 4,275 มม.
 สูง วัดถึงกล้องตรวจการณ์ผู้บังคับรถ 2,800 มม.
 ความยาวของสายพานบนพื้น 4,290 มม.
 ท้องรถสูงพ้นพื้น 470–500 มม.
 สายพาน 2,800 มม.
อาวุธ :
 ปืนใหญ่ลำกล้องเรียบแบบ 2A46M-1 ( KBA-3 ) ขนาด 125 มม. 1 กระบอก (สามารถยิงอาวุธนำวิถีต่อสู้รถถังได้)
 ปืนกลร่วมแกนแบบ PKT ( KT-7.62 ) ขนาด 7.62 มม. 1 กระบอก
 ปืนกลแบบ NSVT ( KT-12.7 ) ขนาด 12.7 มม. 1 กระบอก
 เครื่องยิงลุกระเบิดควัน 12 ท่อยิง
ความเร็วในการเคลื่อนที่ :
 เฉลี่ย (บนถนนดินธรรมชาติ) 40-45 กม./ชม.
 สูงสุด (บนถนนพื้นแข็ง) 70 กม./ชม.
เมื่อใช้เกียร์ถอยหลัง :
 ต่ำสุด 4.8 กม./ชม.
 สูงสุด 31.3 กม./ชม.
ความสิ้นเปลืองน้ามันเพลิงต่อ 100 กม.
 บนถนนดินธรรมชาติแห้ง 325-370 ลิตร
 บนถนนผิวแข็ง ไม่เกิน 300 ลิตร
ระยะปฏิบัติการ :
 บนถนนดินธรรมชาติ :
-ใช้น้ำมันเชื่อเพลิงจากรถถังหลัก 350 กม.
-ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจากถังอะไหล่เพิ่ม 450 กม.
 บนถนนผิวแข็ง :
-ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจากรถถังหลัก 400 กม.
-ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจากถังอะไหล่เพิ่ม 500 กม.
 การข้ามเครื่องกีดขวาง :
-ลาดชัน 58 องศา
-ลาดทางข้าง 25 องศา
-คู กว้าง 2.85 เมตร
-เครื่องกีดขวางแนวตั้ง (สูง) 1 เมตร
-ลุยน้ำลึก (โดยไม่ต้องเตรียมการ) 1.8 เมตร
-ลุยน้ำลึกโดยใช้อุปกรณ์ลุยน้า 5 เมตร โดยไม่จำกัดความกว้าง และระยะทาง
กระสุน :
 กระสุนสำหรับปืนใหญ่รถถัง : ทั้งหมด 46 นัด (28 นัดในช่องใส่กระสุนพร้อมยิง (Carouselle) สำหรับเครื่องบรรจุกระสุนอัตโนมัติ)
 ชนิดของกระสุนปืนใหญ่รถถัง :
o APDSFS
o HEAT
o HE-FRAG
o ATGM (Anti-Tank Guided Missiles)
กระสุนสำหรับอาวุธอื่นๆ :
 ปืนกล KT – 7.62 จานวน 1,250 นัด
 ปืนกล KT – 12.7 จานวน 450 นัด
 ปืนไรเฟิลแบบ AKS จานวน 450 นัด
 กระสุนปืนยิงพลุสัญญาณ จานวน 12 นัด
 ระเบิดมือแบบ F-1 จานวน 10 ลูก
 ระเบิดสำหรับสร้างฉากควัน จานวน 12 ลูก

หลักฐานอ้างอิง
1. http://www.morozov.com.ua/eng/body/oplot_mbt.php
2. http://www.morozov.com.ua/eng/body/kba3.php
3. http://articles.janes.com/articles/Janes-Armour-and-Artillery-Upgrades/Malyshev-Plant-125-mm-KBA3-smoothbore-tank-gun-Ukraine.html
4. http://www.pmulcahy.com/atgm/russian_atgm.htm
5. http://www.tanknutdave.com/component/content/article/244
6. http://web.ruammid.com/t84-oplot-m/
7. PRESENTATION of State–owned Enterprise Kharkiv Morozov Machine Building Design Bureau ( KMDB )
แปลและเรียบเรียงโดย : พ.อ.ญัฐชัย บุญมาก และ พ.ท.จรัญ สุวรรณวงศ์
……………………………………………….

[PDF] ข้อมูลรถถังหลัก T-84 OPLOT : สาธารณรัฐยูเครน

 

http://thaidefense-news.blogspot.com/2012/12/t-84-oplot.html





ความคิดเห็นที่ 1


      พยายามมองดูว่าปืนกลร่วมแกนมันอยู่ตรงไหน

โดยคุณ เด็กบ้านนอก เมื่อวันที่ 26/12/2012 09:08:40


ความคิดเห็นที่ 2


ตกลงปืนกลด้านบนนี้ไม่สามารถหมุนได้รอบไช่มั้ย ออกแบบมาได้งงงวยมาก เพิ่งเคยเห็น กล้องตรวจการนี่ตัวล่อเป้าชั้นดีเลย

โดยคุณ YUKIKAZE เมื่อวันที่ 26/12/2012 10:20:55


ความคิดเห็นที่ 3


ตามความเห็น เด็กบ้านนอก หาอยู่เหมือนกันว่าปืนกล ติดตรงไหน ^^

โดยคุณ nok43 เมื่อวันที่ 26/12/2012 10:21:23


ความคิดเห็นที่ 4


ขอบคุณ ท่าน kaypui42

ปืนกลร่วมแกนอาจเก็บอยู่ภายในรถ จุดที่จะใช้น่าจะมีอยู่ 2จุดคือ จุดติดตั้งกราบซ้ายบนของป้อมปืน และช่องเล็กข้างๆแกนฐานปืนหลัก(เกาะที่ป้อมปืนอาจบดบังอยู่)

ที่น่าสนใจคือ เกาะที่ป้อมปืน กับปืนใหญ่ขนาด125 มม (ที่ยิงอาวุธนำวิถีใด้ไกลกว่า)แล้วที่ใด้ข่าวว่าจะเปลี่ยนลำกล้อง สรุปว่าอย่างไรบ้างครับ สมาชิกท่านใดพอทราบบ้าง ..?

โดยคุณ fantom เมื่อวันที่ 26/12/2012 11:03:20


ความคิดเห็นที่ 5


นึกว่ามีผมคนเดียวซะอีกที่นั่งหาปืนกลร่วมแกน

โดยคุณ Akula เมื่อวันที่ 26/12/2012 12:10:12


ความคิดเห็นที่ 6


เป็นรถถังใหม่ที่เก่าที่สุดในโลกมาจริงๆสภาพจะได้อย่างคุยไว้เหร๊อเรือเหาะยังบินไม่ได้เลยนี่เห็นสภาพรถถังแล้วอยากร้องไห้

โดยคุณ warrock เมื่อวันที่ 26/12/2012 12:38:27


ความคิดเห็นที่ 7


โดยส่วนตัวผมคิดว่า รถถังแบบนี้มันก็ไม่ได้ขี้เหร่อะไร รูปแบบดีไซด์ถึงแม้จะไม่ได้ดูดี (ตามสไตล์รถถังยุโรปตะวันออกและรุสเซีย) แต่ถ้ามีประโยชน์เหมาะกับการใช้งาน ผมว่ามันก็ได้เสียหายนะ เห็นแต่คนชอบรุมปรามาสมัน เอาไปเปรียบกับเลพเพิร์ดบ้างหล่ะ ทั้งที่ยังไม่ได้เห็นตัวมันเต็มๆเลย และตามที่คุณ YUKIKAZE ได้ตั้งข้อสังเกต เรื่อง ปตอ ผมคิดว่า มันน่าจะหมุนได้นะ ไม่น่าจะเกี่ยวกับว่ากล้องตรวจการณ์จะกีดขวาง เพราะชื่อก็บอกอยู่ว่า ปตอ เป้าหมายน่าจะเป็นการยิงมุมสูง หวังผลเป้าอากาศมากกว่า กล้องนั้นเลยไม่น่ากีดขวางแต่อย่างใด .... ด้วยความเคารพ

โดยคุณ tawporn เมื่อวันที่ 26/12/2012 13:34:07


ความคิดเห็นที่ 8


ปืนกลร่วมแกนมันอยู่ข้างขวาของลำกล้องปืนใหญ่ครับ  ภาพที่เราเห็นคือเอาถุงผ้าใส่ครอบไว้  แต่ต้นแบบป้อมมาจากT-80 ลองหาภาพT-80ดูจะเห็นชัดเจนเลยครับ

โดยคุณ MIG31 เมื่อวันที่ 26/12/2012 15:07:28


ความคิดเห็นที่ 9


เป็นหลักการออกแบบที่น่าแปลกมาก จิงๆปืนกลบนป้อมมันไม่ควรจะเอาไว้ยิงเครื่องบินอย่างดียวนะ(น่าจะถอดปืนกลออกแล้วติดสตริงเจอร์ไปเลย) น่าจะอเนกประสงค์กว่านี้ เจ้า โอทอป นี่ แหวกแนวกว่ารถถังชาวบ้านหลายอย่างเหมือนกันนะ

โดยคุณ YUKIKAZE เมื่อวันที่ 26/12/2012 15:57:27


ความคิดเห็นที่ 10


ปืนกลหนักเหนือป้อมมันแปลกกว่าคนอื่นยังไงเหรอครับ? เค้าก็มีกันทุกรุ่นแค่อยู่ที่จะบังคับดวยพลยิงหรือรีโมทแค่นั้นเอง  

แล้วปืนปตอ.หรือปืนกลหนักที่ว่านี่ ใช้ยิงสนับสนุนได้รุนแรงกว่า7.62มม.ทั้งเป้าทางอากาศและภาคพื้นได้หลากหลายกว่า ติดสตริงเจอร์ที่ว่าอีก สตริงเจอร์มันยิงได้แต่อากาศยานอย่างเดียวนะครับ  ปืนกลหนักเหมือนใช้ยิงภาคพื้นเป็นหลักแต่ต่อสู้อากาศยานเหมือนพอเป็นพิธิแค่นั้น

โดยคุณ MIG31 เมื่อวันที่ 26/12/2012 16:59:18


ความคิดเห็นที่ 11


ถ้าจะไม่ชอบรถรุ่นนี้ก็เห็นจะเป็นที่กล้องพาโนรามิคนั่นแหละ ใหญ่เกินไป ทำให้บังปืนบนป้อม ไม่สามารถยิงได้ 360 องศา ปืนKT-12.7 ยิงได้ทั้งอากาศยานและภาคพื้นนั่นแหละ มันเป็นปืนอเนกประสงค์ เรื่องยิงบนอากาศไม่มีปัญหาแน่นอน แต่การยิงแบบปกติเนี่ยสิ มันดันไปบังปืนกลเข้า ถ้าเกิดมีทหารราบอยู่ในทิศทางที่เป็นจุดบอดของปืนกล พลยิงคงต้องหันทั้งป้อมเพื่อมายิงทหาร แทนที่จะหันเฉพาะปืนบนป้อม แล้วถ้าเกิดมีเป้าหมายหลายๆเป้าหมาย พลยิงคงหมุนป้อมไปมากันสนุกล่ะงานนี้

โดยคุณ cardrock เมื่อวันที่ 26/12/2012 18:41:17


ความคิดเห็นที่ 12


อ้อ คืองี้ครับ ผมข้องใจว่าทำไมรถถังรุ่นนี้มันแปลกประหลาดตรงป้อมปืนกลมันไม่สามารถหมุ่นได้รอบตัวเหมือนรถถังรุ่นอื่นๆ เพราะมันติดที่อีกล้องตรวจการณ์มันขวางอยู่(ตามความเห็นคุณcardrock น่ะแหละ) ซึ่งผมไม่แน่ใจนะว่า มันเป็นรถถังที่มีกล้องตรวจจับใหญ่ที่สุดในโลกรึเปล่า พอดีคุณ tawporn  บอกว่ามันเป็นปตอ,เอาไว้สอยพวกอกาศยาน ไม่มีปัญหาด้านการสวิง หมุนได้รอบ(กระดกยิงมุมสูง) เพราะใช้ยิงอากาศยาน  ผมก็เข้าใจซะที ที่แท้เจ้า โอทอป นี่เป็นรถถังไฮบริด รถถังประจัญบาณต่อต้านอากาศยาน งัน้ก็ถอดอีปืนกลออกซะเถอะ แล้วติดสตริงเจอร์เข้าไปแทน จะได้สมน้ำสมเนื้อรถถังเทพๆซะ (อยากให้ติดมิซซายด์ต่อต้านเรือรบด้วยจะดีมาก) 

โดยคุณ YUKIKAZE เมื่อวันที่ 26/12/2012 20:15:55


ความคิดเห็นที่ 13


T-90ML Tagil

ไม่สนใจเจ้านี่บ้างหรอครับ รถถังค่ายรัสเซีย ผมว่า อุสาหกรรมด้านรถถัง ของเขามีความมั่นคงสูงนะ ทุกวันนี้ และได้รับการพัฒนาตลอด แถมรัสเซีย ตอนนี้ ก็มีเศรษฐกิจที่ดีมาก

โดยคุณ seetha456 เมื่อวันที่ 26/12/2012 21:04:09


ความคิดเห็นที่ 14


T-90MS TAGIL โทษทีครับ ตัวแรก พิมพ์ผิด เป็น MS ครับ ไม่ใช่ ML

โดยคุณ seetha456 เมื่อวันที่ 26/12/2012 21:08:09


ความคิดเห็นที่ 15


ที่กระทู้ข้างบนน่ะครับมีคลิปสาธิต ทองจันทร์ แอ๊ย!!!  ไม่ใช่ ^^ คลิปสาธิตการยิงทั้งปืนใหญ่ปืนกลหนักว่ามันทำงานยังไงครับลองไปดูครับ

แต่ก็น่ะขอติที่เดียวก็แล้วกันที่กล้องนี่ล่ะมันใหญ่เกินไปนิดนึง

โดยคุณ ALPHA001 เมื่อวันที่ 26/12/2012 21:33:32


ความคิดเห็นที่ 16


รถถังรัสเซียคงเป็นแค่ความฝันครับ แต่เห็นกล้องกับก็ปืนบนกล้องพาโนรามิคเจ้า t-90 MLเเล้วอยากเอามาติดแทนกล้องพาโนรามิคของเจ้า oplot จัง ใครก็ได้ตัดต่อเจ้านี่บนรถ oplot ให้ชมหน่อย รู้สึกว่ากล้องจะรุ่นเดียวกันด้วยรึปล่าว?

โดยคุณ cardrock เมื่อวันที่ 26/12/2012 21:55:56


ความคิดเห็นที่ 17


ขออภัยครับ t-90 ms 

โดยคุณ cardrock เมื่อวันที่ 26/12/2012 21:58:26


ความคิดเห็นที่ 18


 

เจ้าตัวนี้อ่ะ ชอบจริงๆ แต่ถ้าไม่ได้ก็ขอให้กล้องมันสั้นเหมือนในรูปก็ได้

โดยคุณ cardrock เมื่อวันที่ 26/12/2012 22:02:08


ความคิดเห็นที่ 19


ผมวีนเรื่องกล้องบดบังการยิงของปืนกล12.7บนป้อมไม่น่ามีปัญหานะครับเพราะสมมุติว่าปืนกล12.7 จะยิงทิศทางตรงๆไม่ได้จริงๆ แต่อย่าลืมว่าทิศทางตรงนั้นคือทิศทางของปืนใหญ่และปืนกลร่วมแกน เพราะฉะนั้นถึงปืนกลบนป้อมจะยิงใสรทราบราบตรงๆหน้ารถไม่ได้ แต่รถก็ยังสามารถใช้ปืนใหญ่หลักและปืนกลร่อมแกนจัดการกับข้าศึกตรงหน้ารถได้นี่ครับ 

โดยคุณ champ thai army เมื่อวันที่ 26/12/2012 23:45:35


ความคิดเห็นที่ 20


ผมไม่แน่ใจว่ามีใครพูดถึงเรื่องนี้ไปหรือยัง คือผมไม่กังขาในประสิทธิภาพของตัวรถเท่าไร แต่มีอย่างหนึ่งที่ผมกังวล
ปืนหลักของรถถังรุ่นนี้ทำมุมก้ม(depression)ได้แค่ -4 องศา(เช่นเดียวกับรถถังฝั่งสังคมนิยมอื่นๆ)ซึ่งมันน้อยมากๆ ทำให้น่าคิดว่ามันเหมาะกับประเทศเราจริงหรือเปล่า
โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาจากภูมิประเทศแถวๆชายแดนแล้วส่วนใหญ่เป็นภูเขา/เนิน ไม่ใช่ที่ราบโล่งทำให้เวลาจะยิงปืนหลักต้องเคลื่อนรถถังทั้งคันขึ้นไปบนเนิน(ต่างกับรถถังฝั่งยุโรปที่โผล่มาแค่ป้อมก็ยิงเป้าหมายบนเนินได้แล้ว) 

ภาพใหญ่ ลองกดดูเองนะครับ
http://img.ihere.org/uploads/3b558207a0.jpg
(ที่มา: http://www.militaryphotos.net/forums/showthread.php?182337-Military-reform-a-formidable-task-for-Russia/page5) 

ลองพิจารณารถถัง 2 คันประจันหน้ากัน มีเนิน(หรือถนนยกสูง/สะพาน)อยู่ตรงกลาง ต่างฝ่ายต่างวิ่งเข้าหากัน
คันหนึ่งทำมุมก้ม(depression)ได้ -10 องศา(รถถังฝั่งโลกเสรีส่วนใหญ่) อีกคันทำได้ -4 องศา
คันที่ทำมุมก้มได้ -4 องศา จำเป็นต้องวิ่งขึ้นมาบนเนินทั้งคันถึงจะยิงได้(เผลอๆยังยิงไมได้ด้วยซ้่ำถ้าอีกฝ่ายยังไมได้ขึ้นมาบนเนินทั้งคัน) 
ในขณะที่คันที่ทำมุมก้มได้ -10 องศา ไม่จำเป็นต้องวิ่งขึ้นไปบนเนิน แต่สามารถโผล่มาแต่ปืนกับส่วนป้อมนิดหน่อยแล้วยิงได้ทันที และเมื่อยิงเสร็จถอยหลังแค่เล็กน้อยก็หายไปจากสายตาแล้ว โอกาสที่จะถูกยิงสวนน้อยมาก 

ยิ่งกว่านั้นมุมเงย(elevation)ก็ค่อนข้างน้อยเช่นกัน คือทำได้แค่ +15 องศา
ถึงแม้มุมเงยจะไม่เป็นปัญหาเท่ามุมก้ม(depression)แต่หากเจอสถานการณ์ที่เป้าหมายอยู่บนที่สูงกว่ามากๆเช่นบนหน้าผาหรือบนอาคารสูงๆก็แย่เหมือนกัน

ปล. M60 Pattonทำมุมก้ม(depression)ได้ -9 องศา มุมเงย(elevation)ได้ +20 องศา

โดยคุณ MagicD เมื่อวันที่ 27/12/2012 13:59:16


ความคิดเห็นที่ 21


ไม่มีใครพูดถึงดีลที่ล่าช้ากับค่าย...ยูเครน กันบ้าง

ขนาดรถหุ้มเกราะสั่งซื้อไปล็อตใหญ่ยังได้ไม่ถึงกองร้อยเลย  เปลี่ยน ผบ.ทบ. มา 3 คนแล้วนะครับ

ถ้าเป็นภาคเอกขน คงคิดค่าเสียโอกาสไปมากโขแล้ว

โดยคุณ C2001 เมื่อวันที่ 27/12/2012 19:30:36


ความคิดเห็นที่ 22


ยังไม่เห็นตัวจริงก็ยังบอกไม่ได้นะครับว่าดีหรือไม่ดี ยังไงก็ใจเย็นๆหน่อยแล้วกันครับ

โดยคุณ funmode77 เมื่อวันที่ 27/12/2012 23:31:32


ความคิดเห็นที่ 23


ในความรู้สึกส่วนตัวอีกหนึ่งเสียง.......รถถังตัวนี้....คุ้มค่าที่รอคอยครับ

โดยคุณ jaidee เมื่อวันที่ 28/12/2012 09:03:29


ความคิดเห็นที่ 24


ขอบคุณ จขกท.สำหรับข้อมูลดี ๆ และรูปสวย ๆ

โดยคุณ dhitis เมื่อวันที่ 28/12/2012 10:00:23


ความคิดเห็นที่ 25


ผมคอยพูดตลอดเรื่องช้า ฮา ตอนนี้ได้รับทั้งหมด 97 คันแล้วครับ

ขาดนิดหน่อยก็จะครบล็อตแรก(รวมที่แถมมา) ล็อตสองยังไม่ได้เริ่มส่งมอบเลย

นานแต่ก็เอาวะ เอาไงก็เอา

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 28/12/2012 14:15:21


ความคิดเห็นที่ 26


ถ้าตั้งโรงงานประกอบในไทยกินขาดรถถังทุกแบบครับรอดูมากว่าตัวรถอีกครับ

โดยคุณ pop04 เมื่อวันที่ 30/12/2012 23:32:41