คือว่าผมได้เข้าไปดูในFacebook ของท่านSompong Nondhasa เห็นท่านบอก ว่าเฮลิคอปเตอร์ราชนาวีไทย.. Super Lynx 300 กองการบินทหารเรือ ทร.ซื้อเพิ่มอีก 2 เครื่องแล้ว นั้นเป็นความจริงหรือปล่าวครับ ท่านใดพอจะทราบโครงการจัดการเฮลิคอปเตอร์ประจำเรือฟริเกตของ ทร. 4ลำ ว่าเป็นความจริงหรือปล่าว ครับ
น่าจะเป็นอย่างนั้น ครับ...
เมือเดือน สิงหาคม...ครม. อนุมัติงบประมาณ กลาโหม จำนวน 50,000 ล้านบาท
ตามกระทู้ที่ ลิงค์ ครับ
โดยท่าน FatBoy ได้ให้ความเห็นไว้ว่า งบประมาณดังกล่าว มีรวม ฮ.ของ ทร. รวมจำนวน 6 ลำ และเรือฟริเกต จำนวน 2 ลำ อยู่ด้วยครับ...
แล้วทร.มีแผนจะติดเขี้ยวเล็บให้ซุปเปอร์ลิงค์หรือเปล่าครับ
ฮ.ของทร. 6ลำ ตอนนี้ก็มาSuper Lynx 300 2ลำก็ครบตามกำหนดแล้ว อีก4ลำมันคงจะเป็นMH-60S แบบไม่พลาดแน่เลยอ่ะครับ ผมเดาเอานะครับ แต่ก็น่าจะใช่ของใช่มากที่สุด ว่าแต่ยอย่างที่ท่านAkula ว่านะครับ ไม่เห็นกองทัพเรือจะจัดหาเขี้ยวเล็บให้กับSuper Lynx 300และก็S-70B ก็ยังไม่เห็นจะมีเขี้ยวเล็บเลยนะครับ แต่ถ้ามีเขี้ยวเล็บด้วยละก็ สนุกเลยนะครับ ผมว่าเพราะในเมื่อเรือดำน้ำไม่มีก็เอาทางด้านนี้ให้ดีที่สุดไปเลยก็จะดีกว่านะครับ มันจะได้ดูดุดันขึ้นมาหน่อย
ฮ.ซุปเปอร์ ลิงซ์ มีแผนปรับปรุงอยู่ครับ...แต่เงียบ ๆ ไป...สงสัย คงจะรอความชัดเจนของ ฮ.ที่จะเข้ามาเพิ่มเติม (ความเห็นส่วนตัวครับ)
ถ้า สมมติ ว่า ทร. เลือก ซุปเปอร์ ลิงซ์ จำนวน 2 ลำ จริง...ความคิดผมว่าส่วนที่ปรับปรุง คงจะทำพร้อมกันไปทั้งหมด 4 ลำ...หรือไม่แน่ อาจจะทำแค่ 2 ลำใหม่...เพราะ ฮ.ประจำเรือที่ใช้ในภาระกิจ SAR ที่จะประจำบน OPV...คงไม่จำเป็นต้องมีสเปค เต็ม...คงจะเน้น เนื้อที่บน เคบิน รองรับสำหรับการทำหน้า SAR และติดปืนกล แค่นั้น...
ถ้าให้ผม เดา ตามข้อมูลใหม่...อาจจะเป็น
Super Lynx 300 จำนวน 2 ลำ (สำหรับเรือชั้น นเรศวร เฟสอัพเกรด)
MH-60S จำนวน 2 ลำ (เพิ่มเติม สำหรับ ร.ล.จักรีฯ)
Z-9 จำนวน 2 ลำ (สำหรับเรือชั้น กระบุรี ซึ่งเฟสปรับปรุง มีการเปลี่ยนระบบอำนวยการรบเป็น โพไซดอน ของ จีน...ผมยังสงสัยว่า ฮ.Super Lynx จะส่งผ่านข้อมูลการตรบให้กับเรือชั้นนี้ได้เพียงใด...จึงอาจจะจัดหา ฮ.ปด. ที่เข้าระบบของเรือชั้น กระบุรี (อาจจะรวมถึง ชั้นเจ้าพระยา) ที่เป็นระบบจีน ทั้งหมดเลยก็ได้ครับ)
สำหรับความเห็นผม ที่ยังให้น้ำหนักของ Z-9EC อยู่ ก็ด้วยในเหตุ-ผล ของ เรือชั้นกระบุรี
1. ทร.ปรับสภาพเป็น เรือฟริเกตสมรรถนะสูง
2. อาวุธนำวิถี C-802A มีระยะยิงไกล้ พ้น ขอบฟ้า และมีระยะไกลกว่า 200 ก.ม.
3. จากเหตุของ ข้อ 1 และ 2 ทำให้ เรือชั้น กระบุรี ควรจะต้องมี เฮลิคอปเตอร์ ที่จะทำหน้าที่ส่งข้อมูลให้กับ เรือรบ และ ติดต่อกับอาวุธนำวิถีได้ด้วย
ภาพประกอบ ครับ
จากภาพประกอบครับ...
ทำให้ผม สงสัยว่า แล้ว Super Lynx 300 จะทำหน้าที่นี้ ให้กับเรือชั้น กระบุรี และ C-802A ได้เพียงใดครับ...
หรือว่าใช้ RTN Link เฉพาะสำหรับส่งข้อมูลให้เรือเท่านั้น...แต่ไม่สามารถติดต่อกับ C-802A ได้
ขอถามครับ ทำไม ทร.ไม่เลือกแบบเรือของเรือหลวงกระบี่ ให้มีรูปแบบเดียวกับเรือหลวงปัตตานีครับ และตอนนี้เรือหลวงกระบี่ติดตั้งเรดาร์ อาวุธไปถึงขั้นตอนไหนแล้วครับ
ความเห็นผมนะครับ..
เรือชั้นปัตตานี เป็นแบบเรือของประเทศจีน ครับ (ไม่ใช่ ไทย ออกแบบ)...และสั่งต่อจาก ประเทศจีน...ซึ่งเทคโนโลยี่ การต่อเรือ คงจะเป็นลักษณะมาตรฐานทั่วไป...ไม่ได้มีความทันสมัย เหมือนปัจจุบัน...
ส่วนเรือชั้น กระบี่...เป็นจุดเริ่มต้นของการต่อเรือด้วยอุตสาหกรรมภายในประเทศ...เป็นแบบเรือสมัยใหม่ ที่ออกแบบการต่อเรือ โดยแยกการผลิตเป็น บล็อค แล้วนำมาประกอบเป็นตัวเรือ...
การออกแบบรูปทรงเรือ ก็มีลักษณะเหมือนลดการตรวจจับในระดับหนึ่ง...
ซึ่งน่าจะมีการพัฒนา เพื่อให้มีรูปแบบของเรือฟริเกตรบทางยุทธวิธีในอนาคต ต่อไปอีก...
สำหรับเรือรบนั้น...เรื่องรูปทรงเรือ ไม่จำเป็นต้องเหมือนกันครับ...ไม่ได้มีผลต่อการซ่อมบำรุง...
สิ่งที่ควรจะต้องเหมือนกันให้มากที่สุด ก็คือ ระบบเครื่องยนต์ ระบบอาวุธ ระบบตรวจจับ ระบบอำนวยการรบต่าง ๆ...ซึ่งจะมีผลต่อการซ๋อมบำรุง การจัดเก็บอะไหล่ และสภาพความพร้อมรบ มากกว่า รูปทรงตัวเรือครับ...
ส่วนตัวคาดว่า S-70B อาจจะมีการปรับปรุงในเรื่องระบบค้นหาตรวจจับเรือดำน้ำเพิ่มเติม ส่วนซุปเปอร์ลิงค์อีกสองลำน่าจะมาประจำการบนเรือชุด ร.ล.นเรศวร อย่างที่ ป๋าจู ว่าครับ ส่วน Z-9 นี่จัดหาจริงเหรอครับ เพราะดูจากรูปแบบเรือชุด ร.ล.กระบุรี นั้นมีลานจอดเฮลิคอปเตอร์จริงแต่ไม่มีโรงเก็บครับ จะมีผลกระทบด้านความคงทนหรือไม่หากต้องจอดคาอยู่บนลานจอดท้ายเรือครับ
ผมคิดว่า เรือชั้น กระบุรี...เมื่อจัดเป็นเรือฟริเกตสมรรถนะสูง แล้ว...
คงน่าจะเน้นเป็นเรือพี่เลี้ยง ให้กับ ร.ล.จักรีฯ หรือ ร.ล.อ่างทอง ครับ...กรณี ถ้าต้องทำภาระกิจนาน ๆ หรือเดินทางไกล คงฝากไว้บนเรือทั้ง 2...
เวลาเข้าสู่ภาระกิจพร้อมรบ...ก็คงจะเหมือนกับ การวาง S-70B บนดาดฟ้า บน ร.ล.จักรีฯ ตลอดเวลา น่าจะเหมือนกันครับ..
สำหรับ Z-9EC ความคงทนทะเล ผมว่า น่าจะสูงกว่า Bell-212 ครับ...
ตัวอย่าง Bell-212 การเข้าโรงเก็บของ ร.ล.ปัตตานี ก็ไม่ได้ 100% ครับ...ตามภาพที่ปรากฎในภาระกิจปราบโจรสลัด โซมาเลีย...
ถ้า Bell-212 ไม่มีปัญหา...Z-9EC ก็น่าจะไม่มีปัญหามากกว่าครับ...
และ ทร.จีน ก็จัดเป็น ฮ.ประจำเรือฟริเกต ด้วย...รวมถึง ทร.ปากีสถาน เมื่อจัดหา เรือรบชั้น F-22P จาก จีน...ก็จัดหา Z-9EC เป็น ฮ.ประจำเรือ เหมือนกันครับ...
น่าจะมองได้อย่างหนึ่งว่า Z-9...จะจัดเป็น ระบบอาวุธแบบหนึ่งของเรือรบ ที่คงจะต้องมาคู่กันกับ เรือรบ สัญชาติ จีน ครับ...ถึงจะสร้างประสิทธิภาพได้เต็มที่...
ถ้าการจัดหาทั้ง 6 ลำนี้เป็น
2 super Lynx (ใช้ในเรือชั้นนเรศวร)
2 MH-60s (ใช้บนจักกรี)
2 Z-9 (ใช้บนกระบุรี)
ผมรู้สึกเสียดายฮ. super Lynx ที่จะต้องเอามาใช้งานกับเรือชั้นปัตตานีจังครับ เพราะ Lynx 300 ทั้ง 4 ลำ เมื่อมีการปรับปรุงขีดความสามารถในการต่อต้านเรือดำน้ำและเรือผิวน้ำแล้ว มีประสิทธิภาพจะสูงขึ้นมากมายเลย ในขณะที่เรือชั้นปัตตานีไม่ได้มีขีดความสามารถในการต่อต้านเรือดำน้ำ แบบนี้ใช้ Z-9 ในเรือชั้นนี้ไปดีกว่าครับ เพราะราคาย่อมเยากว่าและก็มีขนาดเล็กเหมือนกัน แค่จัดหาอุปกรณ์ให้ Z-9 มีขีดความสามารถใช้อาวุธนำวิถีต่อตีเรือขนาดเล็กและภาระกิจกู้ภัย ก็เหลือเฟือสำหรับเรือชั้นปัตตานีแล้ว Lynx 300 น่าจะเอาไปใช้ในเรือฟรีเกตตัวอื่นที่มีระบบต่อต้านเรือดำน้ำชั้นดีด้วยดีกว่า หรือเอาไปประจำการบนเรือจักกรีก็ได้
ถ้าออกมาแบบนี้ผมยังพอใจกว่า
2 Super Lynx (ใช้บนเรือชั้นนเรศวร)
4 Z-9 (สำหรับเรือชั้นปัตตานี และ รล.กระบี่)
แล้วทำการปรับปรุง Lynx 300 ทั้ง 4 ลำให้มีขีดความสามารถต่อต้านเรือดำน้ำและยิงจรวด ซีสกัว ได้จะดีกว่า ยิ่งตอนนี้เราต้องการความพร้อมด้านการต่อต้านเรือดำน้ำสูงสุดอยู่ด้วย เอา Lynx 300 ของเรือชั้นปัตตานีไปใช้บนเรือจักรีไปก่อนก็ได้ครับ
ถ้าวันข้างหน้าทร.เกิดได้ OHP 2-4 ลำ และเรือฟรีเกตต่อใหม่อีก 2 ลำ แบบนี้ทร.จะต้องจัดหา ฮ.ต่อต้านเรือดำน้ำใหม่อีก 4-6 ลำ หรือว่าอาจจะโอน S-70B จำนวน 4-6 ลำ จากเรือจักกรีไปประจำบนเรือเหล่านั้นครับ แล้วปล่อยพื้นที่บนเรือจักกรีให้กับ Harrier 2+ ถ้าจะต้องทำแบบนี้ Lynx 300 ของเรือปัตตานีในขณะนี้ น่าจะเอามาใช้ในเรือจักรีมากๆเลยครับ และมันก็มีขนาดเล็กกินพื้นที่บนเรือน้อยมากด้วย
Z-9ec เอาไปใช้บนเรือชั้นปัตตานี ไม่รู้ว่าระบบอำนวยความสะดวกบนเรือจะรองรับ Z-9 ได้หรือเปล่า แต่มีขนาดเล็กพอๆกับ Lynx 300 แต่น้ำหนักตัวเปล่าน้อยกว่าประมาณ 1 ตัน ราคาก็ถูกกว่าเยอะเลย
Z-9 + รล.ปัตตานี
Z-9 + รล.กระบุรี
ติดตั้งให้ใช้จรวตค่อต้านเรือรบได้ดังรูป
รูปเรือชั้นปัตตานีไม่มาลองอีกที เรือจีนกับ ฮ. จีนก็เหมาสมกันดีครับ
โอน Lynx 300 จากเรือชั้นปัตตานีไป จักกรี ทำการปรับปรุงให้มีขีดความสามารถต่อต้านเรือดำน้ำและต่อต้านเรือผิวน้ำเพื่อประสิทธิภาพสูงสุด
เมื่อได้ perry class และ MEKO มา อาจจะโอนย้าย S-70b ไปประจำเรือเหล่านั้น เพื่อปล่อยพื้นที่ให้แก่ Harrier2+
OHP + S-70B
MEKO-D หรือ MEKO-A + S-70B
เรือจักกรีจะได้มีพื้นที่สำหรับ Harrier2+ Lynx 300 MH-60S(บางส่วน)
ส่วน MH-60S บางส่วน เอาไปใช้บน รล.อ่างทอง
รล.อ่างทอง + MH-60S ซึ่ง hanga ของรล.อ่างทองใหญ่พอที่จะจัดเก็บ ชินุก หรือ CH-53 ได้ 2 เครื่อง น่าจะเก็บ MH-60S ได้ 3-4 เครื่องเลยทีเดียว โอน MH-60S บางส่วนมาที่เรือดำนี้ครับ อีก 2 ลำเหลือไว้บนจักรีในภาระกิจ SAR
แบบนี้จะได้ใช้เงินน้อยที่สุด แต่เรือทุกลำมี ฮ. และ เครื่องบิน ประจำเรือทุกลำ ส่วน Lynx 300 ทั้ง 4 เครื่องก็ได้ใช้งานเต็มประสิทธิภาพที่ออกแบบมาครับ
ผมคิดว่าถ้า ทร. นำเจ้าลิงซ์ติดอาวุธปราบเรือผิวน้ำและเรือดำน้ำ มาประจำการบน รล.ปัตตานี และนราธิวาส จะทำให้เรือทั้ง 2 เป็นเรือฟริเกตดีดีเลยที่เดียว ใจจริงผมอยากให้เรือทั้ง 2 ติดฮาร์พูน ลำละ 4 ท่อยิงจังเลย เพราะทร.วางระบบมาหมดแล้ว เพียงแค่ติดไปเท่านั้น แต่ติดทางภารกิจของเรือหนิ 55 เป็นเพียงเรือตรวจการณ์จะติดอาวุธยาวก็ใช่ที่ และติดเจ้าซาดรัลบนโรงเก็บฮ. (ใช้งบเท่าไรหว่า 555)
ปัญหาก็คือ เรือชั้นปัตตานีนั้น ใช้อุปกรณ์ต่างๆของตะวันตก และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกใน Hanga รองรับ Lynx ได้ ถ้านำเอา Z-9EC มาใช้งานบนเรือชั้นปัตตานี มันจะสามารถสื่อสารส่งข้อมูลพิกัดเรือข้าศึกให้ รล.ปัตตานีได้หรือเปล่า เพราะระบบคนละค่ายกันแม้ว่าจะมาจากจีนเหมือนกัน และ สิ่งอำนวยความสะดวก Hanga สามารถรองรับเครื่อง Z-9EC ได้หรือเปล่า Z-9EC ติดตั้งระบบ SAR หรือระบบสำหรับยิงจรวดนำวิถีต่อตีเรือรบ ไม่จำเป็นต้องติดตั้งระบบต่อต้านเรือดำน้ำ เพราะเรือชั้นปัตตานีถูกใช้งานในฐานะ OPV เพียวเลยตอนนี้ แม้ว่ามันจะออกแบบมาเผื่อเป็นฟรีเกตเบาก็ตาม เสียดาย Lynx 300 อ่ะครับ มันดีเกินไปถ้าจะเอามาทำภาระกิจกู้ภัยเฉยๆ
Z-9EC ติดตั้งจรวดต่อตีเรือรบ C-701/703 นี่น่าเกรงขามใช้ได้ทีเดียวเลย 4 ลูกแนะ
เรือชั้นปัตตานีไม่ได้ออกแบบเผื่อสำหรับสงครามต่อต้านเรือดำน้ำครับ ประสิทธิภาพในสงครามเรือดำน้ำแทบเป็นศูนย์ ถึงแม้เราจะปรับปรุงให้ Lynx 300 ใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพทั้งการไล่ล่าเรือดำน้ำและต่อตีเรือรบ แต่ว่า ฮ.ต่อต้านเรือดำน้ำต้องพึ่งพาเรือแม่ในเรื่องข้อมูลต่างๆที่ครวจจับเรือดำน้ำ ซึ่งเรือชั้นปัตตานีแทบจะไม่มีเลย...! และถ้า ฮ.ตรวจจับเรือดำน้ำได้และต้องการการยิงสนับสนุนเพิ่มเติมจากเรือแม่ เรือชั้นปัตตานีก็ไม่มีระบบอาวุธใดๆเลยสำหรับสงครามต่อต้านเรือดำน้ำครับ
เอา Lynx 300 ไว้บนเรือชั้นปัตตานีดูจะเป็นการใช้มันไม่ค่อนคุ้มค่าเท่าไรครับ เพราะมันสามารถ upgrade ให้เจ๋งได้
ส่วน Z-9 นี่รู้สึกว่าจะได้สิทธิบัตรมาจากเครื่องของฝรั่งเศสนะถ้าผมจำได้ น่าจะมาจากฮ.ดอร์ฟิน ดังนั้นน่าจะปรับปรุงติดตั้งระบบสื่อสารแบบตะวันตกเข้าไปได้ รวมทั้งเรด้าร์ประจำเครื่องด้วย แต่ก็จะใช้จรวด C-701/703 ไม่ได้(ไม่รู้ว่าเมื่อปรับปรุงแล้วใช้มาเวอร์ริคได้หรือเปล่า)) แต่น่าจะสามารถใช้ชี้เป้าให้เรือชั้นปัตตานีได้ เมื่อเรือชั้นปัตตานีติดตั้งจรวดต่อต้านเรือรบแล้วครับ
เรือชั้น ปัตตานี ตามข่าวแผนพัฒนา...
ทร. มีโครงการ จะเสริมสร้าง สมรรถนะ ให้กับเรือชั้นนี้ ครับ...
ผมเลยคิดว่า น่าจะ สัมพันธ์ กับ การจัดหา Super Lynx 300 ใหม่ จำนวน 2 ลำ ครับ...
ตามความเห็น จะให้ความหมาย คือ
Super Lynx 300 จำนวน 2 ลำ ใหม่...จะสำหรับ เรือชั้น นเรศวร คงจะติดตั้งอุปกรณ์เป็น ฮ.LAMPS
Super Lynx 300 จำนวน 2 ลำ เก่า....จะสำหรับ เรือชั้น ปัตตานี และ กระบี่...
ซึ่ง เรือชั้น ปัตตานี อาจจะมีการปรับปรุงเพิ่มในส่วน ระบบอำนวยการรบ และ Data Link และท่อยิง ตอร์ปิโด อาจจะรวมถึง ระบบโซนาร์ เพื่อให้ เทียบเท่ากับ เรือชั้น ตาปี...แต่อาจจะไม่ได้ ติดตั้ง อาวุธนำวิถีต่อต้านเรือ...
โดย Super Lynx 300 ลำเก่า จะติดตั้งระบบป้องกันตัวเอง และ ระบบสื่อสาร ระหว่างเรือเพิ่มเติม...และอาจจะติดตั้ง แท่นยิง จรวด อากาศ สู่ พื้น แบบ เฮลไฟล์ หรือ อื่น ๆ ซึ่งไม่น่าจะถึงขั้น Sea Skua...ซึ่งปัจจุบัน Super Lynx ก็สามารถแบก ตอร์ปิโด ได้อยู่แล้ว...
ก็จะทำให้ เรือชั้น ปัตตานี + Super Lynx 300 สมรรถนะในด้านภาระกิจใกล้เคียงกับ OHP + SH-60B...
ตามความเห็นข้างต้น...จะเห็นภาพทำนองว่า...
เรือชั้น ปัตตานี จำนวน 2 ลำ....นำมา ทดแทน เรือชั้น ตาปี จำนวน 2 ลำ...และย้ายไป สังกัด กองเรือฟริเกตที่ 1 (ปัจจุบัน ร.ล.ตาปี ก็ทำหน้าที่ OPV อยู่)
ส่วนเรือชั้น กระบี่...ก็จะมีการ สร้างเพิ่มอีก จำนวน 3 ลำ คือ
จำนวน 2 ลำ ทดแทน เรือชั้น ปัตตานี...อีก จำวน 1 ลำ ทดแทน ร.ล.มกุฎราชกุมาร...
ก็จะเป็น
เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง จำนวน 6 ลำ ประกอบด้วย
กองเรือตรวจอ่าว
เรือชั้น กระบี่ จำนวน 4 ลำ ( ฮ.S-76B จำนวน 4 ลำ )
กองเรือฟริเกตที่ 1
เรือชั้น ปัตตานี จำนวน 2 ลำ ( ฮ.Super Lynx 300 (ลำเก่า) จำนวน 2 ลำ )
ถ้าเป็นแบบนั้นเรือชั้นปัตตานีจะถูกปรับให้เป็นเรือฟริเกตเบา แต่ก็น่าเสียดายครับที่อาจไม่มีโอกาศให้ติดจรวดต่อต้านเรือผิวน้ำ (ขอลำละ4ท่อยิงก็ยังดี) แล้วฮ.ลิงซ์ ที่จะมาประจำการบนเรือสามารถติดฮาร์พูนได้ไหมครับ
ลองเทียบเคียง ครับ...
ทั้งหมดของ ความเห็น...คือ การ คาดเดา ทั้งนั้น นะครับ...
ขอบคุณครับป๋าจูลดาส สำหรับข้อมูลข่าวสารใหม่ ในเรื่องการปรับปรุงยกระดับเรือชั้นปัตตานีให้กลายเป็นเรือฟรีเกตเบาต่อต้านเรือดำน้ำ เป็นข้อมูลใหม่เอี่ยมอ่องเลย
ถ้าต้องปรับปรุงใหม่ ต้องติดตั้งโซน่าร์ ติดตั้งท่อยิงตอร์ปิโด ระบบอำนวยการรบ ระบบดาต้าร์ลิ้งค์ ส่วนจรวดต่อต้านเรือรบนั้น อาจจะ ติดตั้งก็ได้ นี่เท่ากับว่าแทบจะเปลี่ยนเรือให้กลายเป็นลำใหม่เลย ต้องใช้เงินไม่น้อยเลยนะครับแค่การปรับปรุงเรืออย่างเดียวก็ตกลำละเป็นพันล้านบาทแล้ว ไม่นับในส่วนการ upgrade Lynx 300 อีก ไม่ทราบว่าจะทำการปรับปรุงให้ถึงขนาดเป็น LAMP-3 เลยหรือเปล่า ถ้าทำได้ ฮ. รุ่นนี้เทียบได้กับ S-70B เลยทีเดียวครับ การปรับปรุงทั้งหมดคงต้องหมดเงิน ไม่น่าจะต่ำกว่า 2,500-3,000 ล้านบาทสำหรับเรือ 2 ลำนะครับนี่ เป็นการปรับปรุงเรือที่มีนัยสำคัญมากเลย แสดงให้เห็นถึงความต้องการเร่งด่วนขีดสุดจริงๆสำหรับการต่อต้านเรือดำน้ำ
ไหนๆจะต้องลงทุนมากขนาดนี้ ผมเสนอว่าให้ถอดถอนปืน 76 มม.ออก ทำการติดตั้งแท่นยิง ASROC แบบเดียวกับเรือชั้น Knox ไปเลยดีกว่าครับ เรือจะได้มีอำนาจการยิงสนับสนุนให้แก่ ฮ. Lynx 300 ได้เต็มที่
ถ้าทร.เร่งด่วนขนาดนั้น ชวนให้คิดว่า OHP อาจจะไม่ใช่แค่ 2 ลำ อาจจะเป็น 2+2 จริงๆ ( FFG-28 FFG-29 FFG-37 FFG-38) และยังต้องเรือต่อใหม่อีก 2 ลำ และยังต้องนับรวมเรือชั้นปัตตานีอีก 2 ลำเข้ามาในกองเรือฟรีเกต มันจะทำให้จำนวนเรือฟรีเกตก็จะเพิ่มขึ้นกระทันหันเลย 14 ลำ...!
ส่วนเรือ OPV ที่มีอยู่จำนวน 6 ลำ ใหม่ 3 เก่า 3 และพูดชัดเจนว่าต้องการจริงๆ แต่ OPV 2 ลำต้องปรับปรุงโอนย้ายไปเป็นเรือฟรีเกต แบบนี้ก็ต้องต่อเรือ OPV ใหม่ 8 ลำ....! ชั้นกระบี่ 8 ลำ
โห .... แมงป่องทะเลแค่ 2 ลำส่งผลต่อทร.ได้มหาศาลขนาดนี้จริงๆ
พิมพ์ตกหล่นครับ ต้องบอกว่า
ผบ.ทร.ท่านพูดชัดเจนว่าต้องการ OPV 9 ลำ มีแล้ว 6 เก่า 3 ใหม่ 3 (รวมชั้นปัตตานี) แต่เมื่อต้องย้ายเรือชั้นปัตตานีไปเป็นเรือฟรีเกตต่อต้านเรือดำน้ำ งานนี้เรือ OPV จะเหลือแค่ เก่า 3 ใหม่ 1 ต้องการทั้งหมด 9 ดังนั้นต้องต่อใหม่ทดแทน 3 ลำเก่า ต่อใหม่ทดแทนชั้นปัตตานี 2 และเพิ่มเติมอีก 3 แบบนี้ก็ต้องต่อใหม่ทั้งหมด 8 ลำ เรือ OPV ก็จะกลายเป็นชั้นกระบี่ทั้งหมด 9 ลำ
ข้อเสนอเพิ่มเติมของผม ในเมื่อจะปรับปรุงกันขนาดนี้ ก็ถอดปืน 76 มม. ออกใส่แท่นยิง MK-16 เก่าของเรือชั้น Knox สำหรับยิง ASROC และ Harpoon มาติดตั้งทดแทน หรือไม่ก็ Mk-41 ใหม่ 8 cell สำหรับ ASROC เพียวๆไปเลย ประสิทธิภาพการต่อต้านเรือดำน้ำของเรือชั้นปัตตานีจะได้ถึงระดับเดียวกับเรือชั้นนรเศวร คงไม่ถึงขั้น OHP หรอกครับ ขนาดนี้เรือดำน้ำมีหนาวแน่ๆ
ยกระดับเรือชั้นปัตตานีให้ได้แบบเรือชั้นนเรศวร......! ถ้าทำได้ ไม่ธรรมดานะครับ น่าสนใจมากทีเดียว
ลองจินตนาการการ upgrade เรือชั้นปัตตานีโดยยึดการปรับปรุงเรือชั้นนเรศวรเป็นแบบหลัก (เอาแบบเต็มสูบให้ทัดเทียมกัน)
1 .เปลี่ยนระบบอำนวยการรบเป็น 9LV mk4
2. mk-41 (ถอดปืน 76 มม.ออก)
3. ติดตั้งโซน่าร์ spherion mk3 เพิ่ม
4. ติดตั้ง sea giraft
5. ติดตั้ง ceros200
6. ติดตั้ง Sagem decoy
7. ติดตั้ง harpoon
8. ติดตั้ง IFF ECM ESM แบบเดียวรุ่นเดียวกับเรือชั้นนเรศวร
9. ปรับปรุง Lynx 300 ให้ได้ระดับ LAMPS-3
แบบนี้เรือก็จะมีขีดความสามารถทั้งต่อต้านอากาศยานเฉพาะจุดและต่อต้านเรือดำน้ำ และต่อต้านเรือรบผิวน้ำ ได้ทัดเทียมเรือชั้นนเรศวรทีเดียว คงใช้งบประมาณมากกว่า 3000 ล้านบาทสำหรับเรือ 2 ลำ แต่ผมว่าคุ้ม
ผมทำแผนภาพและรูปไม่เก่ง วานป๋าจูลกับเพื่อนๆหน่อยเถอะครับ
10. ติดตั้ง DATA Link E + Link G เชื่อมโยงระบบกับทอ.ได้
11. ติดตั้ง ESSM 8-16 นัด ASROC 4-6 นัด
ประสิทธิภาพน่าจะได้ระดับเดียวกับเรือชั้นนเรศวร แม้ว่าระวางจะเล็กกว่าเยอะ งบน่าจะพอๆกับเรือชั้นนเรศวร แต่ผมว่าคุ้มนะ เพราะเรือมีให้ทำอยู่แล้วและใช้เวลาสั้นในการอับเกรด เร็วกว่าต่อใหม่
ถ้าจะต้องมีขีดความสามารถป้องกันภัยทางอากาศเฉพาะจุด ก็ต้องติดตั้งเรด้าร์ตรวจการณ์อากาศแบบ 2D ด้วย ซึ่งผมเห็นว่าเรด้าร์ LW08 แบบเดียวกับที่ติดตั้งบนเรือสุโขทัยและเรือรัตนโกสินทร์นั้นเหมาะสม มีขนาดเล็กน้ำหนักเบา ระยะตรวจจับได้ประมาณ 250 กิโล ตำแหน่งการติดตั้งที่เหมาะสม ก็ต้องบนหลังคาโรงเก็บฮ. ติดตั้งทั้ง LW-08 และ CEROS ชุดที่สอง
การติดตั้งแท่นยิงตอร์ปิโด Mk-46 ถ้าติดตั้งกลางลำตัวเรือ ตรงบริเวณใกล้กับพื้นที่ว่างสำหรับแท่นยิง Harpoon อาจจะทำให้ไม่สามารถติดตั้งแท่นยิง Harpoon ได้ หรือถ้าทำได้ อาจจะติดตั้งได้แค่ 4 ลูก
ส่วนการติดตั้งแท่นยิง MK-41 VLS ก็ถอดถอนปืน 76 มม. ทำดาดฟ้ายกเพื่อติดตั้ง MK-41 และอาจเผื่อสำหรับการติดตั้ง Harpoon 4 ลูก harpoon คงต้องเลือกเอาว่าติดตั้งจุดไหน หรือไม่ต้องติดตั้งเลย
ผมฝันหวานไปไกลแล้ววว.....ดึงกลับมาที.......
ขอย้ำ อีก ครั้ง นะครับ...
ว่า เป็นการ เดา ล้วน ๆ ครับ...
แค่มีข้อมูลว่า จะปรับปรุงเรือชั้น ปัตตานี เท่านั้น...
แต่ไม่ได้ หมายถึง ติดตั้งอะไรก็ตาม ที่ผมแสดงความคิดเห็น นะครับ...
บางที อาจจะแค่ เพิ่มเติมระบบสื่อสาร อย่างเดียว ก็ได้ครับ...
ขอย้ำ นะครับ...ว่า แค่ เดา...ครับ...
เดี๋ยวจะหลงประเด็น เอาการ เดา ผม ไป อ้างอิง จะหน้าแตก กันครับ...
ส่วนการปรับปรุง ฮ.Super Lynx ก่อนหน้านี้ ก็มีข่าวออกมาตามโครงการของ ทร. ครับ...
แต่เป็นเพียงติดตั้ง ระบบ FLIR และติดตั้งปืนกล และถ้าจำไม่ผิด เพิ่มเติมระบบสื่อสาร อะไรสักอย่างเนี่ยล่ะครับ...
ซึ่ง ตามความเห็น ที่ผมแสดงไว้นั้น...
ยังคงให้ความหมาย คือ เรือ OPV ครับ...ไม่ใช่ เรือ FFG ครับ...
ซึ่ง ปัจจุบัน ทร. ก็จัดให้เรือชั้น ตาปี (สังกัด กองเรือฟริเกตที่ 1) เป็นส่วนหนึ่งของเรือ ตรวจการณ์ไกลฝั่ง ในปัจจุบัน ครับ...
ดังนั้น ความต้องการเรือ OPV ของ ทร. คือ ต้องการเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ที่ไม่ต้องแบกอาวุธอะไรไป มากมาย ครับ...
เพียงแต่ บางลำ อาจจะต้องติดตั้งโซนาร์ ก็เพราะด้วยหน้าที่ คือ เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ครับ...ในบางภาระกิจ จึงอาจจะต้องมีการตรวจการณ์ใต้น้ำ ด้วย...
ซึ่งปัจจุบัน เรือ OPV ของ ทร. ยังไม่ครบความต้องการครับ...พอ ๆ กับ เรือฟริเกตสมรรถนะสูง...
เหมือนกับ เรือชั้น คำรณสินธุ ซึ่งก็เป็น เรือตรวจการณ์ เช่นกันครับ แต่อยู่ในสังกัด กองเรือฟริเกตที่ 1...ไม่ได้ สังกัด กองเรือตรวจอ่าว...แต่ด้วยภาระกิจ ก็จะเหมือนกับ กองเรือตรวจอ่าว ครับ...
ในความเห็นผม จึงออกมาเป็น คือ เรือชั้น ปัตตานี...คงเป็นเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ครับ...เพียงแต่ เพิ่ม การตรวจการณ์ใต้น้ำ ไกลฝั่ง เพิ่มเติม เท่านั้น ครับ...ไม่ได้เป็น เรือฟริเกต หรือ เรือฟริเกตสมรรถนะสูง ครับ...
ปัจจุบัน ทร.จะมี เรือตรวจการณ์ปราบเรือดำน้ำใกล้ฝั่ง คือ เรือชั้น คำรณสินธุ (สังกัด กองเรือฟริเกตที่ 1)
และมี เรือตรวจการณ์ปราบเรือดำน้ำ ไกลฝั่ง คือ เรือชั้น ตาปี (สังกัด กองเรือฟริเกตที่ 1)
และมี เรือตรวจการณ์ปืน ไกลฝั่ง คือ เรือชั้น ปัตตานี (สังกัด กองเรือตรวจอ่าว)
ซึ่ง สมมติว่า ทร. มีการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพให้เรือชั้น ปัตตานี ในการปราบเรือดำน้ำ จะหมายถึงว่า เรือชั้น ปัตตานี น่าจะมา ทดแทน เรือชั้น ตาปี ก็จะเป็น
เรือตรวจการณ์ปราบเรือดำน้ำ ใกล้ฝั่ง คือ เรือชั้น คำรณสินธุ (สังกัด กองเรือฟริเกตที่ 1)
เรือตรวจการณ์ปราบเรือดำน้ำ ไกลฝั่ง คือ เรือชั้น ปัตตานี (สังกัด กองเรือฟริเกตที่ 1) (ปลดระวาง เรือชั้น ตาปี ซึ่งปัจจุบันอายุเรือ 38 ปี ถ้าสมมติมีการปรับปรุงเรือชั้น ปัตตานี กว่าโครงการจะเสร็จสิ้น อายุเรือก็จะประมาณ 40 ปี ขึ้นไป)
เรือตรวจการณ์ปืน ไกลฝั่ง คือ เรือชั้น กระบี่ (สังกัด กองเรือตรวจอ่าว) ซึงต้องมีการสร้างเพิ่มเติมอีกอย่างน้อย 3 ลำ (ตามโครงการเดิม) คือ ทดแทนเรือชั้น ปัตตานี กับ ร.ล.มกุฎราชกุมาร ปัจจุบันอายุเรือ 39 ปี ซึ่งกว่าโครงการจะดำเนินการเสร็จสิ้น อายุเรือก็จะมีอายุประมาณ 45 ปี
ทำแผ่นภาพ ครับ...จะเห็น คุณลักษณะเรือปัจจุบัน และ ที่น่าจะทำการปรับปรุง เพื่อทดแทนของเดิม เมื่อถึงเวลาปลดระวาง เรือชั้น ตาปี และ ร.ล.มกุฎฯ ครับ...
จึงเป็นที่มา ในความเห็นของผมว่า....เรือชั้น ปัตตานี น่าจะเพิ่มสมรรถนะ เพียงในส่วนของ การปราบเรือดำน้ำ ที่คงไม่แตกต่างจาก เรือชั้น ตาปี มากมายนักครับ...แต่ด้วย ตัวเรือ สามารถขน ฮ. ได้ด้วย...อาจจะเพิ่มในส่วนของ Data Link เพิ่มขึ้น ครับ...
การ สมมติ จัดความสัมพันธ์ ระหว่าง ฮ. กับ เรือต่าง ๆ
และ ร.ล.จักรีนฤเบศร์
อุ๊ยหน้าแหก.....................เรือชั้นรัตนโกสินทร์ใช้เรด้าร์ DA-05 ของ Thales ระยะตรวจจับ 135 กิโลเมตร.............55555555.........จำสลับกับ LW-08 ของเรือชั้นนเรศวร.....
DA-05 data
For any warship at sea, control of the situation starts with a clear and reliable picture of the environment. To amply satisfy this vital requirement, Thales Nederland developed the DA 05 radar system. The DA 05 is a high power E/F-band (S-band) radar for medium-range surveillance and target indication to weapon control systems.
Capable of detecting a jet fighter at approximately 135 km, the DA 05 is a stable and very reliable system, distinguished by its high-gain antenna, powerful transmitter, and sensitive receiver. A narrow beam with and short pulse length result in clear resolution.
This helps ensure accurate target indication. Further enhanced by a choice of frequencies and a video processor, the system is capable of performing effectively in a cluttered environment.
The DA 05 has a magnetron-powered transmitter, a solid-state receiver with digital MTI, and interference suppression circuits ensuring high reliability in rain, sea, and land clutter. A low side-lobe level assists the system to continue operation in ECM environments. The carbon-fibre version because of its lowweight enables installation in positions high on a mast and on smaller ships.
For upgrade and ship-life-extension-programs (SLEP), a solid state transmitter is available. Combined with an improved automated tracking and track initiation processor with an open-architecture interface, life extension is an effective solution from operational and cost perspective as recognized by a number of navies.
ขอบคุณข้อมูลจากเวป thales7sea
ขอบคุณครับป๋าจูล ถ้าปรับปรุงเรือเพียงเท่านี้ และยังจัดให้เป็นเรือตรวจการณืไกลฝั่งอยู่ ในความคิดผมก็ยังคิดว่าเป็นการใช้ Lynx 300 ไม่ค่อยจะคุ้มค่าเท่าไร เพราะราคาแพงกว่า Z-9 EC มาก และ Lynx 300 ยังสามารถ upgrade ให้มีระบบสุดยอดแบบ LAMPS-3 ได้ ซึ่งสภาวะของทร. ตอนนี้มีความจำเป็นที่ต้องได้ระบบต่อต้านเรือดำน้ำชั้นดีให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ครับ การปรับปรุง Lynx 300 ให้ได้ระดับ LAMPS-3 แล้วนำไปใช้ในเรือรบหลักที่สำคัญน่าจะให้ประโยชน์สูงกว่านี้
ข้อมุล เรือชั้น ปัตตานี ของ กองทัพเรือ ครับ...
ซึ่งแบบเรือ คงสามารถติดตั้ง ระบบปราบเรือดำน้ำ ได้ครับ...เป็น สเปค อยู่ครับ...
เรือหลวงกระบี่สามารถปรับปรุงให้เป็นเรือฟริเกตเบาได้หรือไม่ ดูจากพื้นที่เรือแล้วไม่มีพื้นที่ติดตั้งจรวดต่อต้านเรือผิวน้ำได้เลย ไม่มีโรงเก็บอากาศยาน ถ้าเทียบตัวต่อตัวแล้วผมคิดว่าเรือชั้นปัตตานีมีความยืดหยุ่นใบการปรับปรุงมากกว่าเรือชั้นกระบี่นะครับ
สำหรับเรือชั้นปัตตานี ถ้าสามารถนำระบบอาวุธของเรือชั้นพุทธฯ มาติดตั้งได้ ก็ขอฟาลังค์มาด้วยตัดไว้เหนือโรงเก็บ ฮ. รวมๆแล้ว ติด Harpoon Asroc ฟาลังค์ ก็ถือว่าไม่เลว ครับ แต่ถ้าฟาลังค์ไม่ติดที่เรือชั้นปัตตานี ก็เอาไปติดที่เรือจักรีฯ ก็ได้ ครับ
รล.กระบี่ เห็นว่าได้ทำการโมดิฟายด์แบบเพื่อให้เป็นเรือฟรีเกตเบาเมื่อจำเป็นได้ครับ ใน TAF แจ้งข่าวไว้แล้ว
ถ้าเดือน มกราคม มีความชัดเจนในเรื่องเรือ OHP ว่าจะได้ 2 ลำ หรือเปล่า ถ้าได้แค่ 2 ลำโดยไม่อ๊อปชั่นจัดหาเพิ่มเติมภายหลังอีก 2 ลำ แค่นี้ก็ต้องใช้ฮ.ต่อต้านเรือดำน้ำชั้นเยี่ยมถึง 4 ลำแล้วครับ เพราะเรือ OHP สามารถบรรทุกฮ.ต่อต้านเรือดำน้ำระดับ LAMPS-3 ถึง 2 เครื่อง ต่อเรือหนึ่งลำ เพื่อสร้างทีมต่อต้านเรือดำน้ำที่แข็งแกร่งครับ ตัวเรือก็มีระบบตรวจจับเรือดำน้ำที่ยอดเยี่ยมอยู่แล้ว แถมการปรับปรุงแบบที่ป๋าจูลบอกคือติดตั้ง Mk-41 VLS ซึ่งจะทำให้ใช้ ASROC ได้อีกด้วย ซึ่งความสามารถเดิมของ OHP ไม่มี เมื่อบวกรวมกับ ฮ. ต่อต้านเรือดำน้ำที่ติดตั้งระบบระดับ LAMPS-3 ถึง 2 เครื่อง ก็จะเป็นทีมต่อต้านเรือดำน้ำที่ดีที่สุดในอาเซียนทีเดียวครับ ป๋าจูลเสนอแนวคิดนี้ ผมถึงสนับสนุนสุดตัวครับ เพราะมันยอดเยี่ยมจริงๆ
และเมื่อเรือฟรีเกตต่อใหม่ที่คาดว่าเป็น MEKO จากเยอรมันมาถึง ก็ต้องใช้ ฮ. ต่อต้านเรือดำน้ำชั้นเยี่ยมที่มีระบบ LAMPS-3 อีก 2 เครื่อง ดังนั้น ถ้าทร.จัดหา OHP 2 ลำ MEKO 2 ลำ จะต้องใช้ ฮ. S-70B ทั้งหมด 6 ลำเพื่อใช้งานบนเรือ ด้วยเหตุนี้จักกรีจึงไร้ฮ.ต่อต้านเรือดำน้ำใดๆทั้งสิ้นอีก ถ้าไม่มีการจัดหาเพิ่มเติมครับ ดังนั้น Lynx-300 2 ลำเดิมที่ใช้กับเรือชั้นปัตตานี ควรอย่างยิ่งที่จะติดตั้งระบบต่อต้านเรือดำน้ำให้ถึงระดับ LAMPS-3 แล้วโอนย้ายมายังเรือจักกรีครับ
ถ้าได้ OHP 2+2 ทร.ต้องไปจัดหา ฮ.ต่อต้านเรือดำน้ำมาเพิ่มอีก 4 ลำครับ เพื่อให้ทีมต่อต้านเรือดำน้ำสมบูรณ์ตามแผนแบบของเรือ OHP นี้
สำหรับความเห็นของผมนั้น
ใน 10-15 ปีต่อจากนี้ ไม่ว่าจะเป็น 431-433 และ 461 หรือ 462 ไม่มีเธอลำใดต้องถูกปลดประจำการอย่างแน่นอนครับ สังเกตได้จากการเรือเหล่านี้ เพิ่งรับการปรับปรุงระบบบางรายการไปเมื่อไม่นานนี้เอง ดังนั้นจึงต้องคงกำลังรบเอาไว้
ส่วนเรือที่มาเพิ่มนั้น ก็น่าจะมาเพิ่มจากส่วนที่มันขาดนี่เองครับ เพราะเรือของ ทร.เอง ต้องยอมรับว่าไม่เคยพอใช้งาน เราเดินได้ช้ากว่าแผนที่เราวางเอาไว้พอสมควร (พูดง่าย ๆ คือเราทำไม่ได้ตามแผน) ดังนั้น หากจะคงกองเรือรบไว้ให้พร้อมต่อการป้องกันประเทศนั้น กองเรือของเราต้องสมบูรณ์ทั้งปริมาณและคุณภาพ
ส่วน ร.ล.กระบี่นั้น สามารถ MOD ได้แน่นอนให้สามารถติดอาวุธนำวิถีได้ แต่จะถึงระดับ Light Frigate หรือไม่นั้น ผมไม่แน่ใจ รู้แต่ว่า ทร. MOD เรือลำนี้ไปเยอะทีเดียว
ส่วนการถอด ASROC จาก 461, 462 มาติดที่ชั้นปัตตานีนั้น ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง เพราะ
1. เรือไม่ได้ออกแบบมาให้ติดตั้ง ASROC ตั้งแต่แรก มีปัญหาเรืองการ Re-Load กลางทะเลแน่นอน หรือคิดจะติดไปเพียงแต่เท่าจำนวนกล่องยิง ไม่น่าจะเหมาะสม หรือถ้าจะโมระบบ Re-load ลูกอาวุธนำวิถี ต้องโมสะพานเดินเรือกันใหม่เชียว
2. ปืนเรือ 3 นิ้วนั้น อำนาจการยิงสูงพอตัว หาก 551, 552 ไม่มีปืนใหญ่เรือ อำนาจการยิงจะลดลงไปอย่างเห็นได้ชัด มันมีหลายภารกิจที่ปืนเรือเหมาะสมกว่าอาวุธนำวิถี ซึ่งหากถอดปืนเรือออกไป 551-552 จะหมดความเป็น OPV อเนกประสงค์ในทันที
3. ฟาลังซ์สองระบบจาก 461-462 จากถึงเวลาปลดประจำการเรือ เอาไปติดให้ 441,442 ตามแผนแบบเดิมดีกว่าครับ เขาออกแบบไว้ให้มีตั้งแต่ต้น แต่เราไม่มีตังค์เอง (หรือไม่ก็มะกันไม่ขาย ผมจำไม่ได้)
4. CIWS ซื้อเอาใหม่ดีกว่าครับ ทั้งถอดทั้งโม ยุ่งยากมาก แถมทำไปแล้วจะคุ้มหรือเปล่ายังไม่รู้เลย เพราะอายุการใช้งานก็ไม่ใช่น้อย ๆ แล้ว
เรือชั้นปัตตานีออกแบบเผื่อสำหรับเป็นเรือฟรีเกตเบาในยามจำเป็น (ซึ่งผมก็ว่าเวลานั้นได้มาถึงแล้ว) แต่ไม่ได้ออกแบบเผื่อมากนักในสงครามต่อต้านเรือดำน้ำ โซน่าร์น่า ผมว่าน่าจะสามารถติดตั้งได้ครับ ตอร์ปิโดสามารถติดตั้งได้ครับ ก็ใช้พื้นที่ติดตั้ง Harpoon ไง ส่วนโซน่าร์ลากท้ายถ้าจะติดตั้ง ก็งานใหญ่ทีเดียว และ VLS Mk-41 8 cell แม้นำหนักจะไม่มาก แต่ก็ใช้พื้นที่ความลึกถึงกว่า 7 เมตร ก็ 3 ชั้นสำหรับเรือรบครับ ต้องถึงขนาดทำดาดฟ้ายกกันเลยทีเดียว ยุ่งเอาเรื่อง แม้ไม่ติดตั้งเรด้าร์สำหรับยิง ESSM แค่นี้ก็เรื่องใหญ่แล้วครับ
ดังนั้นการปรับปรุงมันเป็นเรือฟรีเกตต่อต้านเรือดำน้ำ จึงเป็นงานช้างครับ แค่ปรับปรุงให้เป็นเรือฟรีเกตเบาตามแผนงานก็พอ แค่ติดตั้งแท่นยิง Harpoon และติดตั้งโซน่าร์ไม่หรูหรานักก็จบแล้ว
แต่เรือชั้นนี้กลับบรรทุก ฮ. ต่อต้านเรือดำน้ำชั้นดี ซึ่งสามารถ Upgrade ได้ถึงระดับชั้นเยี่ยม ผมเลยว่าไม่คุ้มค่า ถ้าไม่ปรับปรุงเรือแม่ที่ใช้มันให้มีระบบขนาดที่ผมว่า เรือชั้นปัตตานีใช้แค่ Z-9 ก็เหลือเฟือแล้วครับสำหรับภาระกิจของมัน กองเรือยังขาดแคลน ฮ.ต่อต้านเีรือดำน้ำชั้นดีอีกหลายเครื่องครับ ควรอย่างยิ่งที่จะเอาของดีที่สุดมาใช้งานสำคัญที่สุดก่อนครับ
เหมาะสมอย่างยิ่งครับท่านครูบ้านนอกที่จะย้ายฟาลังก์จากเรือชั้นพุทธ...ทั้งสองลำมายังเรือชั้นรัตนโกสินทร์ทั้งสองลำ เพราะพื้นที่ของเรือ corvette ทั้งสองรองรับอยู่แล้ว และเรือชั้นรัตนโกสินทร์ก็เพิ่งปรัปรุงระบบต่อต้านเรือดำน้ำไปไม่น้อยทีเดียว หลายร้อยล้านต่อเรือ 1 ลำ ดังนั้นเรือชั้นนี้ถ้าได้ติดตั้ง CIWs จากเรือที่จำต้องปลดประจำการ ดูจะคุ้มค่าทีเดียว
สำหรับผม ยังยืนยันครับว่า ถ้าจะใช้เรือชั้นปัตตานีเป็น OPV หรือ เรือฟรีเกตเบาตามแผนแบบที่วางเผื่อเอาไว้ ฮ. แค่ Z-9 เหมาะสมสำหรับภาระกิจของมันแล้วครับ แล้วทำการปรับปรุง Lynx 300 ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด แล้วโอนย้ายไปยังเรือรบหลักอื่นๆที่ได้ออกแบบมาสำหรับสงครามต่อต้านเรือดำน้ำโดยตรง จะเป็นการใช้เงินน้อยและคุ้มค่าที่สุดครับ ดีกว่าการไป upgrade เรือชั้นปัตตานีให้เป็นเรือตรวจการณ์ปราบเรือดำน้ำที่ประสิทธิภาพในด้านสงครามต่อต้านเรือดำน้ำยังครึ่งๆกลางๆอยู่ หรือ ดีกว่าการทุ่มเทปรับปรุงเรือชั้นปัตตานีให้กลายเป็นฟรีเกตต่อต้านเรือดำน้ำชั้นดี ซึ่งต้องใช้เงินมากมายเป็นพันๆล้าน
ยกเว้น OHP แห้ว.................. ถ้าแบบนั้น คงต้องลงทุนกันเป็นพันล้านเพื่อปรับปรุงเรือชั้นปัตตานีให้กลายเป็นเรือฟรีเกตต่อต้านเรือดำน้ำกันจริงๆล่ะครับ อย่างนั้นถึงจะใช้ Lynx 300 ประจำเรือต่อไปถึงจะคุ้มครับ
โอ้ววว..... ขอบคุณมากครับท่าน FatBoy สำหรับข้อมูล เป็นอันว่า OHP ได้ 2 ลำ ซึ่งต้องใช้ S-70B มาประจำเรือถึง 4 เครื่อง แต่น่าเสียดายครับที่ไม่ได้ทำการปรับปรุงติดตั้งระบบ VLS Mk-41 8 - 16 cell ซึ่งถ้าติดตั้ง 8 cell ตามแบบที่ป๋าจูลเชียร์ ทร.ก็จะได้เรือฟรีเกตต่อต้านเรือดำน้ำที่ดีที่สุดในอาเซี่ยนทีเดียว แต่ถ้าติดตั้ง 16 cell ก็จะได้ขีดความสามารถในการต่อต้านอากาศยานแบบเฉพาะจุดมาด้วยเลยและระบบก็เข้ากับของทอ.ด้วย
น่าจะเพราะเรื่อง...เงิน หรือไม่ก็ ....ลดอาการถูกเพ่งเล็ง หรือไม่ก็.......อันสุดท้าย เราได้รับเงื่อนไขแบบที่ทร.ไต้หวันได้ นั่นคือ ได้ใช้ SM-2 กับเขาด้วย ถ้าเป็นอันหลังนี่น่าสนใจมากนะครับ เพราะระบบต่อต้านเรือดำน้ำเท่าที่เรือชั้นนี้ติดตั้งอยู่ก็ไม่น้อยแล้ว ถ้าได้ SM-2 ก็เท่ากับว่าการที่เราจะแปลงเรือต่อใหม่ให้กลายเป็นเรือฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศนั้นมีความเป็นไปได้สูง............
ขอบคุณครับ ท่าน FatBoy...ได้ความกระจ่างขึ้นเยอะ...
ดูทรงแล้ว...แนวโน้มเรือชั้น ปัตตานี ยังคงเป็นเรือ OPV แบบนี้ไปอีกนาน...
ถ้า ทร. จะปรับแบบสำหรับการติดตั้ง อาวุธนำวิถี พื้น สู่ พื้น กับเรือ OPV ชั้น กระบี่ ลำใหม่..
ก็ยังสงสัยว่า...ในขณะที่ เรือดำน้ำ รอบภูมิภาค มีจำนวนที่เพิ่มขึ้น...ล่าสุด เรือดำน้ำ ลำแรกของ เวียดนาม เริ่มทดสอบเดินทะเลแล้ว...
แต่ เรือฟริเกต ปราบเรือดำน้ำของ ทร. มีจำนวนที่ลดลง หรือ อาจจะเพียงเท่าเดิม...
ปัจจุบัน มีเรือรบ ที่มีโซนาร์ ตรวจจับเรือดำน้ำ และ ท่อยิง ตอร์ปิโด
1. เรือชั้น ตาปี จำนวน 2 ลำ
2. ร,ล.มกุฎราชกุมาร
3. เรือชั้น รัตนโกสินทร์ จำนวน 2 ลำ
4. เรือชั้น พุทธฯ จำนวน 2 ลำ
5. เรือชั้น นเรศวร จำนวน 2 ลำ
6. เรือชั้น คำรณสินธุ จำนวน 3 ลำ
7. เรือชั้น เจ้าพระยา จำนวน 4 ลำ
รวมทั้งสิ้น 16 ลำ
อนาคต ในอีก 10 ปี ข้างหน้า
1. เรือฟริเกตสมรรถนะสูง จำนวน 2 ลำ
2. เรือชั้น รัตนโกสินทร์ จำนวน 2 ลำ
3. เรือชั้น คำรณสินธุ จำนวน 3 ลำ
4. เรือชั้น OHP (ถ้าสมมติได้อนุมัติ) จำนวน 2 ลำ
5. เรือชั้น นเรศวร จำนวน 2 ลำ
6. เรือชั้น เจ้าพระยา จำนวน 4 ลำ
รวมทั้งสิ้น 15 ลำ
และ เรือบรรทุก ฮ. ปราบเรือดำน้ำ (ร.ล.จักรีนฤเบศร์) จำนวน 1 ลำ
ในขณะนี้ รอบภูมิภาค มีเรือดำน้ำ
1. มาเลเซีย จำนวน 2 ลำ
2. สิงคโปร์ จำนวน 4 ลำ
3. อินโดนีเซีย จำนวน 2 ลำ
รวม 8 ลำ
ในอนาคต 10 ปี ข้างหน้า
1. มาเลเซีย จำนวน 4 ลำ
2. สิงคโปร์ จำนวน 4 ลำ
3. อินโดนีเซีย จำนวน 5 ลำ
4. เวียดนาม จำนวน 6 ลำ
รวม 19 ลำ
ลองจัดทำ แผ่นภาพ
ดูแล้ว ในอนาคตอีก 10 ปี ข้างหน้า...ดู ตัวเลข เรือที่มีความสามารถ ปราบเรือดำน้ำ ได้ ก็มีจำนวนอยู่เท่าเดิม หรือ น้อยกว่า นะครับ...
แผ่นแรก เรือรบในปัจจุบัน
แผ่นที่ 2
ผสม ผสาน ข้อมูลของท่าน FatBoy และโครงการจัดหาของ กองทัพเรือ
แผ่นที่ 3
กรณี ไม่ได้ เรือ OHP มา...
ในอนาคตอีก 10 ปี ข้างหน้า...ผมก็ยังสงสัย เรื่อง ความสมดุลย์ ของ กำลังทางเรือในภูมิภาคนี้ น่ะครับ...
ขอบคุณอีกครั้งครับท่าน FatBoy แสดงว่าเรือชั้นกระบี่จะได้รับการติดตั้ง จรวดต่อต้านเรือรบแน่นอน ส่วนขีดความสามารถด้านอื่นต้องรอดูลำที่ 2 เป็นต้นไปเลย สงสัยจะเพิ่มขีดความสามารถต่อต้านเรือดำน้ำด้วย.....ต้องยอมรับครับ สภาพรอบบ้านที่ทยอยจัดหาเรือดำน้ำกันอย่างทุ่มเทแบบนี้ ทร.ไทยเรากลับถูกบีบให้เป็นฝ่ายตั้งรับแบบนี้ เหนื่อย
การที่ถูกบีบให้จัดหาเรือดำน้ำไม่ได้ และเรือรบที่มีขีดความสามารถในด้านการต่อต้านเรือดำน้ำก็ทยอยปลดประจำการลงไปเรื่อยๆ การจัดหาใหม่ก็มีความพยายามที่จะขัดขวาง (ไม่รู้คิดกันได้ยังไง) มันทำให้กองเรือเราด้อยลงไปเรื่อยๆ
ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ถ้าเรือชั้น OHP ลำถัดๆมาทยอยปลดประจำการลง แบบนี้น่าจะจัดหาเข้ามาเพิ่มเติมอีกอย่างน้อยก็ 2 ลำนะครับ และควรจะต้องจัดหาเรือฟรีเกตต่อใหม่เพิ่มเติมด้วย เพราะรู้สึกระยะหลัง ทร.เริ่มมีงบประมาณที่ไหลลื่นมากขึ้น หวังว่าจะมีแนวโน้มดีขึ้นเรื่อยๆนะครับ
OHP 2 ลำที่กำลังจะจัดหา ถ้าได้มาด้วยเงื่อนไขแบบไต้หวัน ราคาเท่าๆกัน สำหรับผมถือว่า OK. เลยครับ วันข้างหน้าสามารถติดตั้ง VLS mk-41 8 cell ตามรูแบบของทร.ออสซี่ได้ ซึ่งจะสามารถยิง ASROC ได้โดยไม่ต้องปรับปรุงอะไรมากนัก ถ้าในระยะ 2-3 ปีข้างหน้า สามารถจัดหาได้อีกสัก 2 ลำ ควรอย่างยิ่งครับที่ต้องรีบจัดหาอีก
ส่วนอากาศยานต่อต้านเรือดำน้ำก็ดูเหมือนจะเป็นอีกส่วนที่ขาดแคลนมากทีเดียว อยากให้มีการจัดหามาเพิ่มเติมครับ ถ้า 4-5 ปีนี้ เรื่องเรือดำน้ำยังไม่อาจฝันถึงได้ ก็คงได้แต่จัดหาเรือและเครื่องบินสำหรับต่อต้านเรือดำน้ำเท่านั้น ซึ่งผมมีความเห็นว่าเป็นการสิ้นเปลืองสูงกว่าการจัดหาเรือดำน้ำมาคานอำนาจกันกับเพื่อนบ้านโดยรอบครับ เพราะแค่แมงป่องทะเล 2 ลำ ยังปั่นป่วนได้ขนาดนี้ ถ้า 10 ปีข้างหน้ากลายเป็น 4 ลำ โดยที่ฝ่ายเรายังจัดหาเรือดำน้ำไม่ได้ ลำบากมากครับอย่างนี้
แต่ผมยังมีความหวังลึก ๆ ว่าเราจะได้ลูกอ๊อดที่เหลือ 4 ลำมานะครับ เป็นลางสังหรณ์ส่วนตัว ซึ่งลางสังหรณ์นี้ จะมีเปอร์เซ็นต์เป็นจริงยิ่งขึ้นถ้า FFG ชุดใหม่มาจากเมืองเบียร์ อิอิ
วงเงิน 30,000 ล้านบาท ถ้าซื้้อเรือเยอรมัน 2 ลำ แล้วแถม option เรือดำน้ำเก่า(ที่ีไม่มีประโยชนืกับเยอรมันแล้ว) 2 spare อีก 2 คงได้ลุ้น เบียดกับ ของจีนที่ เรือ 3 แลกสินค้าเกษตร ส่วน สเปน ผมคิดว่าคงหมดสิทธิ์ลุ้น ครับ ส่วนของเกาหลี ถ้าจะสู้ต้องเป็น เรือ 2 แถม U209 มือสอง 1 ลำ ครับ ที่ว่าแบบนี้เพราะ ความเห็นส่วนตัวของผมคิดว่า เรื่องความสัมพันธ์ในฝั่งรัฐบาลไทย กับ จีน เกาหลี ค่อนข้างดีกว่าเจ้าอื่นๆ ครับ