หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


Oplotงานเข้าโรงงานกำลังจะถูกฟ้องล้มละลาย

โดยคุณ : Akula เมื่อวันที่ : 14/12/2012 20:44:05

ได้ข่าวมาจากเฟสบุค Combatzones ครับ ถ้าเป็นจริงล่ะก็ซวยแน่ๆ

http://topwar.ru/20571-ukrainskiy-sud-otkryl-proceduru-bankrotstva-krupneyshego-File:Malyshev Factory logo.pngproizvoditelya-tankov.html





ความคิดเห็นที่ 1


http://topwar.ru/20571-ukrainskiy-sud-otkryl-proceduru-bankrotstva-krupneyshego-proizvoditelya-tankov.html

ผิดพลาดนิดหน่อยส่งlinkใหม่ครับ

โดยคุณ Akula เมื่อวันที่ 11/12/2012 21:23:04


ความคิดเห็นที่ 2


http://topwar.ru/20571-ukrainskiy-sud-otkryl-proceduru-bankrotstva-krupneyshego-proizvoditelya-tankov.html

อีกสักรอบ

โดยคุณ Akula เมื่อวันที่ 11/12/2012 21:23:55


ความคิดเห็นที่ 3


หวังว่ารัฐบาลยูเครนเค้าคงเข้าเทคโอเวอร์โรงงานเอง แล้วดำเนินการผลิตต่อนะครับ

ไม่งั้น Oplot-M ของเราคงช้ากว่านี้อีกไม่รู้เท่าไหร่

โดยคุณ Ricebeanoil เมื่อวันที่ 11/12/2012 21:54:22


ความคิดเห็นที่ 4


โรงงานถูกฟ้องล้มละลาย   ผมว่าล้มละลายตั้งแต่ตอนนี้ก็ดีนะครับ Oplot-M   จะได้ไม่เข้าระจำการในกองทัพไทย  แต่ถ้ามันเข้ามาประจำการแล้วโรงงานปิดนี้ จะมีปัญหาเรื่องอะไหล่อีก     ยังไงก็ขอให้รัฐบาลยูเครนเขาเข้าไปดูแลแทนละกันนะครับ  

โดยคุณ kok129 เมื่อวันที่ 11/12/2012 22:01:46


ความคิดเห็นที่ 5


เราก็ไปเทคโอเวอร์สิครับใด้เทคโนโลยีมาฟรีๆไม่ต้องเสียงบวิจัยแล้วเอาคนของเราไปฝึกพอเป็นระดับหนึ่งก็ขนเครื่องจักรมาที่เมืองไทยจ้างคนไทยทำซะเลยเป็นการจ้างงานภายในประเทศและก็สร้างความมั่นคงเรื่องการส่งกำลังบำรุงในอนาคต ไม่ต้องกลัวประเทศไหนไม่ส่งให้เพราะเราผลิตเอง

 

โดยคุณ talon เมื่อวันที่ 11/12/2012 22:44:51


ความคิดเห็นที่ 6


เสียค่ามัดจำไปอีกเท่าไหร่หละ นิ สั่งซื้อของแต่ละประเทศเชื่อถือได้ทั้งนั้น

โดยคุณ backsupport เมื่อวันที่ 11/12/2012 22:45:16


ความคิดเห็นที่ 7


บริษัทผมก็ใช้วิธีนี้ครับพอบริษัทคู่แข่งประสบภาวะวิกฤติก็เข้าไปเทคโอเวอร์เลยเป็นการตัดคู่แข่งแถมใด้เทคโนโลยีมาเป็นของแถม แบบว่าซ๊ำให้ตายเลยครับ

 

โดยคุณ talon เมื่อวันที่ 11/12/2012 22:50:05


ความคิดเห็นที่ 8


ซวยแล้ว!!! BTR-3E1 จะไปหาอะไหล่ที่ไหน 

โดยคุณ sam เมื่อวันที่ 11/12/2012 22:58:23


ความคิดเห็นที่ 9


Malyshev เป็นแค่โรงงานผลิตนี่ครับ ไม่ใช่เจ้าของกิจการทั้งหมดนิ อย่าง BTR-3E1 ของเราเท่าที่ทราบก็ไม่ได้ผลิตที่ Malyshev ผลิตที่อื่น เพราะฉะนั้นส่วนตัวคิดว่าก็ไม่น่ามีอะไร อาจแค่เปลี่ยนเจ้าของโรงงาน หรือ อย่างมากก็แค่เปลี่ยนโรงงานผลิตเท่านั้นครับ

โดยคุณ tow เมื่อวันที่ 11/12/2012 23:05:26


ความคิดเห็นที่ 10


ใจเย็นกันหน่อยครับข่าวนี้เดือนกว่าแล้ว ยังไม่มีความคืบหน้าเลยครับ

เรื่องล้มละลายนี่อาจเป็นแค่การแต่งขึ้น หรือเป็นการล้มเพื่อล้างหนี้แล้วตั้งใหม่(บริษัทอาวุธในรัสเซียก็ทำมาแล้ว)

แล้วนี่ก็เป็นสัญญารัฐต่อรัฐ(เช่นเดียวกับกรณีกริพเพ่น) ยูเครนต้องค่อยอุ้มบริษัทไว้ให้ทำตามสัญญาให้ได้ไม่งั้นก็เสียค่าปรับบานตไทแน่นอน

ปล.คนยูเครนที่มาเล่นบอร์ด TAF ยังไม่เห็นพูดอะไรเรื่องนี้เลยครับ

โดยคุณ markrura เมื่อวันที่ 11/12/2012 23:12:10


ความคิดเห็นที่ 11


หรือไม่ก็แค่ ต้องเข้าสู่กระบวนการปรับโครงสร้าง(โดยรัฐบาล) เพื่อฟื้นฟูกิจการเท่านั้นครับ

โดยคุณ tow เมื่อวันที่ 11/12/2012 23:13:39


ความคิดเห็นที่ 12


ขออภัยเป็นข่าวเก่าจริงๆครับ

โดยคุณ Akula เมื่อวันที่ 11/12/2012 23:26:20


ความคิดเห็นที่ 13


   โดยปกติบริษัมผลิตอาวุธชั้นนำของแต่ละประเทศนั้นรัฐบาลมักจะไม่ยอมให้เจ้งง่ายๆครับ  คงต้องเป็นแบบท่าน Tow กล่าวไว้     มิน่าทำไมพอเราเสนอโครงการร่วมมือระหว่างกัน  ทางโน้นถึงดีใจเป็นอย่างมากเลย

   เห็นแบบนี้แล้วนึกถึง  SAAB  ทุกทีสิน่า ......  ทบ.เริ่มลุยแล้ว      ทอ. กับ ทร.เอาไงดีครับ    TAI ก็ตั้งแล้ว    อู่ราชนาวีเสร็จไปเพียงครี่งทางเอง.....   

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 11/12/2012 23:41:48


ความคิดเห็นที่ 14


เดจาวู!! เคสเดียวกับ G222 เลยครับ รถถังมีเยอะแยะดั้นไม่เอา ผมขอแช่งไห้มันล้มไปเลยครับอีโครงการเนี้ย  เจ้า LEO จะได้มีลุ้นกะเขามั่ง

โดยคุณ YUKIKAZE เมื่อวันที่ 11/12/2012 23:46:30


ความคิดเห็นที่ 15


คิดไงไปซื้อของยูเครนงงแต่แรกแล้วเอาเงินมาซื้อรถเกราะให้ทหารตำรวจภาคใต้ดีกว่าเฉพาะค่าคอมก็ได้หลายคันแล้วเหมือนไปซื้อของก๊อบแทนที่จะซื้อของแท้

โดยคุณ warrock เมื่อวันที่ 12/12/2012 00:13:21


ความคิดเห็นที่ 16


^

ผมคิดว่า รัสเซียก๊อบรถถังยูเครนตั้งแต่รุ่นทวดตั่งแต่

T-34 รถถังหลังโซเวียติสมัยสงครามโลก

T-54 รถถังหลังโซเวียติสมัยต้นสงครามเย็น

T-64 ต้นตระกูลรถถัง T-80 รถถังหลังโซเวียติสมัยปลายสงครามเย็น

มากกว่าครับ

สมัยสหภาพโซเวียติ KMDB Omak Ural ต่างเป็นโรงงานของโซเวียติ แค่ภายหลังแยกประเทศกันอยู่ไม่ได้ทำให้มันกลายเป็นของก๊อปซักหน่อยนิครับ

โดยคุณ tow เมื่อวันที่ 12/12/2012 00:42:28


ความคิดเห็นที่ 17


ถ้าล้มละลาย ผมว่า ก็น่ากังวล อยู่ครับ...คงจะรวมถึง คุณภาพ ด้วย...

เรื่อง เทคโอเว่อร์ นั้น...

ลองคิด ตรรกะง่าย ๆ ครับ...ว่า...แค่ ออร์เดอร์ ของ ไทย...ยังมีมูลค่าไม่เพียงพอ จะทำให้บริษัท มีสภาพคล่องที่จะดำเนินการต่อได้...

การเทคโอเว่อร์ จะต้องใช้มูลค่า มากมาย ขนาดไหน...

และ ประเทศไทย ก็น่าจะเป็นประเทศเดียวในขณะนี้ ที่สั่งซื้อ รถถังรุ่นนี้....

ถ้าบริษัทนี้ ต้องจัดหาระบบเครื่องยนต์ หรือ ระบบอาวุธต่าง ๆ จากบริษัทฯ อื่น เพื่อประกอบเป็นรถถัง..บริษัทฯ อื่น ๆ เหล่านั้น จะยอมส่งสินค้าให้หรือเปล่า ?

ถ้าเขาไม่มีความมั่นใจว่าจะได้รับเงินค่าสินค้า...คงต้องมี การันตี แน่...

ถ้าล้มละลาย ปัญหายาว ครับ...

 

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 12/12/2012 08:12:08


ความคิดเห็นที่ 18


กองทัพบก ดีหมดครับ ยกเว้นซื้อของ ซื้ออาวุธ หลายงาน ละ

โดยคุณ cananac11 เมื่อวันที่ 12/12/2012 08:43:31


ความคิดเห็นที่ 19


ส่วน รัฐบาลยูเครน จะอุ้มต่อไหม ?

ก็คงต้องเปรียบเทียบกับ การยอมคืนเงินให้ไทย พร้อมค่าปรับ (ถ้ามี) อาจจะน้อยกว่า การต้องใช้เงินให้ บริษัทฯ ดำเนินการต่อ...เพราะต้องชำระหนี้บางส่วนด้วย...

ซึ่งคาดว่า ไทยเอง คงน่าจะชำระเงินไปอย่างมากสุด คือ เงินล่วงหน้า เท่านั้น...เพราะน่าจะชำระเงิน ตามสัดส่วนงานที่ทำเสร็จ...

ผมว่า รัฐบาลยูเครน ก็คงต้องเปรียบเทียบครับ...อาจจะ ลงทุนใน บริษัทฯ ใหม่ อาจจะคุ้มกว่า ก็เป็นได้ครับ...(ไม่ต้องใช้หนี้ด้วย)

ลองดูตัวอย่าง เรือ OPV ของ บริษัท Vosper ที่จะล้มละลาย และ BAE SYSTEM ไปเทคโอเวอร์ ต่อ...

เรือที่ต่อขายให้ ประเทศทรินิแดด แอนด์ โทเบโค่ ประเทศผู้ซื้อก้ไม่ยอมรับมอบ...เพราะมองว่า เรือคุณภาพไม่เป็นไปตามที่กำหนด...

ส่วนเรือที่ต่อให้ โอมาน ก็ล่าช้า ไม่พร้อมส่งมอบ...จน โอมาน ขอปรับเป็นเงินกว่าเท่าตัว...ทั้ง ๆ ที่ เรือก็เสร็จสมบูรณ์แล้ว...

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 12/12/2012 08:45:51


ความคิดเห็นที่ 20


ในความเห็นของผม ถ้า oplot และ BTR-3E มีประสิทธิภาพดีจริง นี่ถือเป็นโอกาสดีที่เราจะซื้อเทคโนโลยี  เครื่องจักรที่ใช้ผลิตและจ้างบุคลากรจากทางยูเครนมาเป็นของไทย ความหมายคือ ซื้อมาผลิตในไทยทุกชิ้นส่วนโดยไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับทางบริษัทในยูเครนอีกเพื่อป้องกันปัญหาที่จะตามมาในภายหลัง ถ้าจำไม่ผิดคงเหมือนกรณีไทยซื้อลิขสิทธิในการผลิตลูกกระสุนปืนใหญ่จากบริษัทในยุโรปที่ต่อมาก็ล้มละลายแต่ทุกวันนี้เครื่องจักรที่วื้อมาก้ยังผลิตกระสุนปืนป้อนกองทัพได้ปกติ  ข้อมูลถูกผิดอย่างไรก็ขออภัยเพราะจำได้เลาๆในสมัยเด็กที่หัดอ่านนิตยสารสงคราม สมรภูมิ ครับ และที่สำคัญเราสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้ทันทีไม่ต้องเริ่มจากหนึ่ง ครับ

ส่วนเงินที่ใช้ซื้อลิขสิทธิก็ใช้เงินที่เราจ่ายมัดจำค่าอาวุธไปแล้วนั่นแหล่ะครับดีที่สุด

โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 12/12/2012 10:40:03


ความคิดเห็นที่ 21


เทคโอเวอร์ มา จะทำรถถังออกมากี่คันครับ 2-3 พันคันก็ว่าไปอย่าง ส่งออกได้อะไรแบบนั้น(จะมีคนซื้อมั้ยนี่อิกเรื่อง) เหมือนกับอยากจะกินหมูทอด ต้องตั้งฟาร์มเลี้ยงหมูเองแทนที่จะซื้อเอาจากตลาด  อย่าถลำไปมากกว่านี้ครับ กำเงินไปซื้อเจ้า LEO จะสวยงามกว่า  

โดยคุณ YUKIKAZE เมื่อวันที่ 12/12/2012 16:07:25


ความคิดเห็นที่ 22


ผมว่านี่อาจจะเป็นคำตอบหรือเปล่าว่าทำไมการผลิตการส่งมอบที่ผ่านมาถึงล่าช้าออกไปมาก

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 12/12/2012 16:24:51


ความคิดเห็นที่ 23


1.ตราบใดที่ KMDB ยังอยู่ ยังไงทางนั้นก็ต้องจัดหารถถังมาขายให้เราครับ ย้ำนะครับ ว่ามันเป็นแค่โรงงานครับ ไม่ใช่บริษัทผู้ผลิต จะได้เจ๊งแล้วเจ๊งเลยนี่ครับ (จริงๆแล้วการยื่นฟ้องล้มละลายก็ไม่ได้แปลกอะไรนัก japan airline ของญี่ปุ่นก็เคย) อย่าพึ่งคิดมากกันนักครับ

 

2. เท่าที่มีการบอกกล่าวจากทางคนยูเครน (andrei ใน TAF) BTR-3 ของเราไม่ได้ผลิตที่  Malyshevเพราะฉะนั้นไม่เกี่ยวครับ

 


โดยคุณ tow เมื่อวันที่ 12/12/2012 17:17:00


ความคิดเห็นที่ 24


ทำไมต้องเราต้องซื้อของที่เขาไม่ยอมขายให้ ถ้าเรามีทางเลือกที่พอจะเป็นไปได้ ถ้าไปง้อจนเขายอมขายมือสองรุ่นเก่าให้ แต่ถ้าการเมืองในประเทศมีข่าวไม่แฮปปี้เขาก็แบนอีกเกิดไม่ยอมส่งอะไหล่ให้จะทำยังไง ประจวบเหมาะกับเพื่อนบ้านเกิดข้อขัดแย้งกันกับเราในเวลาเดียวกัน มันจะแย่เอานา

leopard มันดีจริงๆ ผมก็เชียร์เหมือนกัน แต่มันติดที่คนขายเขาเรื่องมากเต็มไปหมด

ถ้าได้ oplot-M มาแล้วผลิตตัวถัง ระบบขับเคลื่อน ปืนใหญ๋ ได้เองในประเทศ ขาดแต่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบควบคุมการยิง และเครื่องยนต์ที่ต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ ก็น่าจะดีกว่า เพราะถ้าอยู่ในสภาวะสงครามจริงๆหรือโดนแบนการจัดหาอาวุธจากประเทศอื่นจะได้ไม่เดือดร้อนมาก เหมือนกองทัพเรือที่ต่อ OPV เอง

ไม่ได้คาดหวังว่าจะต้องทำให้ได้ทั้งหมด ไม่ได้ซื้อเบนซ์ก็เอาแคมรีไปก่อนก็ได้ ขอแต่ถ่ายทอดเท๕โนโลยีการผลิตมาให้บ้างก็น่าจะดีกว่า ซื้ออย่างเดียว

โดยคุณ ccguy เมื่อวันที่ 12/12/2012 18:03:04


ความคิดเห็นที่ 25


ผมลองนึกดูความต้องการรถถังทดแทนของเก่าอย่าง M41 , M60 , M48 , T69 รวมกับที่ นย. ต้องการรวมแล้วก็ประมาณ 500-600 คัน

ด้วยงปประมาณจำกัด สมมุติผลิตได้ปีล่ะ 30 คัน ก็เท่ากับผลิตได้ 20 ปี (ปรับปรุงเป็นรุ่นใหม่ทุก 10 ปี เป็น A1 ,A2)

ส่วน BTR-3E ก็ใช้ร่วมกัน 4 เหล่าทัพ ทบ ทอ ทร ตร ร่วมกันก็กว่า 1,000 คัน

แค่นี้ไทยก็สามารถยืนอยู่บนขาตัวเองได้ในระดับที่น่าพอใจแล้ว ครับ

โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 12/12/2012 20:54:53


ความคิดเห็นที่ 26


ถ้าสามารถเทคโอเวอร์โรงงานได้ แล้วได้เทคโนโลยีด้วย แบบนี้ก็น่าลุ้นนะครับ

เห็นด้วยกับความเห็นของคุณ Rayong ที่ว่างบประมาณเรามีจำกัด ก็ไม่ต้องเปิดไลน์การผลิตใหญ่ๆ เหมือนพวกส่งออก

ผลิตปีละไม่มาก แต่ผลิตเรื่อยๆ ปรับปรุงทุกๆ 10 ปี แบบนี้มันก็อยู่ได้แล้ว

เหมือนโรงงานผลิตกระสุนปืนใหญ่ของ ทบ. นั้นละครับ ผลิตปีละไม่มาก แต่ผลิตเรื่อยๆ ไม่เน้นส่งออก ก็เห็นอยู่ได้ดี 

ไม่มีวี่แววว่าจะเจ๊งซักนิด 

มีโอกาสยืนได้บนขาตัวเองก็รีบยืนเถอะ จะมามัวรอยืมจมูกคนอื่นหายใจ ยังไงก็เสี่ยงอยู่ดี

โดยคุณ Ricebeanoil เมื่อวันที่ 12/12/2012 22:51:18


ความคิดเห็นที่ 27


   เห็นด้วยกับท่าน rayong และ ท่าน Ricebeanoil ครับ  BTR-3E1  อย่างเดียวถ้าใช้ทุกเหล่าและจัดหาให้พอสำหรับทุกเหล่าก็น่าจะเกิน 1000 คันจริงๆ   ผลิต 20 ปี  ก็ตกปีละกว่า 50 คัน   รวม OPLOT-M และอาจรวมรถถังเบาที่จะผลิตมาทดแทน stingray 1 อีก 106+106(ความต้องการเดิม)   ผมว่าปีหนึ่งๆต้องผลิตยานเกราะประมาณราวๆ 100 คันได้เลยทีเดียว   เป็นจำนวนไม่น้อยครับ

   ผมว่าจากท่าน Akula ยืนยันว่าเป็นข่าวเก่า    เรื่องน่าจะจบไปแล้ว   ไม่งั้นกองทัพคงไม่จัดหามาใช้งานหรอกครับ    แต่การทีี่ฐานะทางการเงินของบริษัทไม่ดีนัก   พอเราเสนอความร่วมมือทางธุรกิจ และเขาก็สนองตอบแทบจะทันที (เอาไปโม้ผ่านสื่ออีกด้วย)  แสดงว่าเขาพร้อมที่จะถ่ายทอดเทคโนโลยีของเขาให้เรา   เพราะตลาดเอเชียกำลังบูมมมมในทุกสาขา    สำหรับเขาได้พันธมิตรในเอเชียถือว่ามีช่องทางเติบโตทางการตลาดและอยู่รอดในตลาดโลกต่อไปได้    สำหรับเราก็ได้เทคโนโลยีด้วย     และถ้างานนี้สำเร็จ     ถ้าเรายื่นข้อเสนอแบบเดียวกันกับ  คาดิแลก  เพื่อผลิต  Stingray 2A2  ในประเทศไทยต่อจาก OPLOT-M   BTR-3E1   ทางอเมริกาที่กำลังย่ำแย่เช่นกันน่าจะยินดีเป็นอย่างมากด้วย    ยังไงซะก็ขายให้ใครไม่ได้อยู่แล้วและไม่ไปทับกับตลาดของ M-1    ส่วนเราก็ได้ของที่เหมาะสมกับตัวเอง   และถ้าบริษัททางยุโรปกับอเมริกาเกิดเดี้ยงขึ้นมา   เราอาจจะเทคโอเว่อร์กิจการแล้วบริษัทในไทยกลายเป็นบริษัทแม่ไปก็ได้     เหมือนคริสเตียนนี่แอนด์นีลเซ่น(CNT)  ที่บริษัทไทยร่วมทุนกับเขา   พอบริษัมแม่ในยุโรปเจ้ง    ทางหุ้นส่วนในไทยก็ยึดกิจการแล้วบริษัทในไทยก็กลายเป็นบริษัทแม่ไปเสียเองครับ    ถ้าไม่เจอวิกฤตปี 40  ป่านนี้ CNT คงยังเกรียงไกร พอๆกับ CK และ ITD เลย

   ดีลแบบนี้น่าจะไปเสนอกับ  SAAB  และ Bohm and Voss ดูบ้างนะ    ผมว่ามันเวิร์ค

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 13/12/2012 10:25:04


ความคิดเห็นที่ 28


สมมุติว่าได้โรงงานมาจริงๆ แล้วเราได้เทคโนโลยีที่สามารถผลิตได้ ก็ใช้วิธีแบบ ทร. นั้นละครับ

ที่มีบริษัทอู่กรุงเทพ เป็นรัฐวิสาหกิจในกำกับ ต่อเรือเอง ช่วงไหนงานด่วนต่อไม่ทัน

ก็ให้อู่เอกชนช่วยต่อ เช่นอู่มาร์ซัน ได้งานเร็วขึ้น แถมเป็นการยกระดับอุตสาหกรรมในประเทศไปด้วยในตัว

ช่วงไหนงานน้อยก็ไม่มีปัญหาขาดทุน เพราะการให้บริษัทเอกชนรับจ้างก็เป็นการ outsource ไปในตัวอยู่แล้ว

ถ้า ทบ. จะทำจริงๆ ก็ตั้งรัฐวิสาหกิจซักแห่ง แล้วรับถ่ายทอดเทคโนโลยีมา

ทำเองส่วนหนึ่ง ถ้าทำไม่ทันก็ให้บริษัทเอกชนเช่น บ.ชัยเสรี รับไปทำบ้าง

ทำเองก็ได้ ยกระดับอุตสาหกรรมภายในประเทศไปด้วย

win-win ทั้งนั้น

โดยคุณ Ricebeanoil เมื่อวันที่ 13/12/2012 20:51:28


ความคิดเห็นที่ 29


   ท่าน ricebeanoil กล่าวได้ตรงใจมากครับ   แสดงว่าเป็นพ่อค้าหรือนักธุรกิจหรือทำงานกับบริษัทเอกชนที่รู้เรื่องงานทางด้านค้าขายอุตสาหกรรมเป็นอย่างดี ( Log in ก็ฟ้องอยู่แล้ว  ข้าว ถั่วแดง น้ำมัน คอมมูนิตี้ล้วนๆเลย 555)  

งานนี้ต้องให้เอกชนมีเอี่ยวด้วย   โดยจดทะเบียนบริษัทร่วมทุนเป็นรัฐวิสาหกิจ (แบบเดียวกับโรงงานซ่อมเครื่องบินของการบินไทยที่กำลังจะสร้าง)   ให้ไปร่วมทุนกับทางยูเครน  เปิดโรงงานที่นี่และผลิตตามสิทธิบัตร    โดยกรณีที่งานเยอะจนผลิตไม่ทัน   โยนงานให้ซับคอนแทรคทั้งชัยเสรีและล๊อคซ์เร่ย์ได้ครับ   สองบริษัทนี้มีความพร้อมสูง   โดยมีฝ่าย QC ไปควบคุม      ถ้างานน้อยก็ให้โรงงานหลักทำไป     ความเสี่ยงต่ำครับ

   ทร.เดินงานแบบนี้มาก่อน  ร่วมกับเอกชนถึงเดินหน้ามาไกลลิ่วกว่าเพื่อน    แต่ขาดพันธมิตรต่างชาติที่มีเทคโนโลยีและการตลาดสูงๆมาเป็นหุ้นส่วน   และอู่ต่างๆก็ลงทุนไปได้แค่ครึ่งทางเท่านั้นเอง   ถ้าสานต่อจนหมดและได้พันธมิตรชั้นเยี่ยมจจากเยอรมัน   แบบนี้ทร.พุ่งโลดครับ    ใครจะไปถึงดวงดาวก่อนระหว่างทบ.กับทร.   มาลุ้นกัน 

  ส่วนทอ.คงต้องไปลุ้นว่าเมื่อไหร่จะไฟเขียวให้ญี่ปุ่นมาลงทุนสร้างโรงงานผลิตเครื่องบิน   นั่นละถึงหวังได้ครับ 

 

ส่วนเจ้าหน้าที่กองทัพ  พอเกษียรก็สามารถไปร่วมงานกับบริษัทเหล่านี้ได้ครับ   เงินเดือน  ค่าคอม  ค่าที่ปรึกษา  หรือหุ้นลม   ดีกว่าทำงานในกองทัพเย๊อะ......ยิ่งบริษัทได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์   ยิ่งสามารถระดมทุนเพื่อพัฒนาโรงงานและศูนย์วิจัยได้ง่ายยิ่งขึ้น    กิจการโตเร็วขึ้นด้วยครับ   ดูตัวอย่างระหว่างกลุ่ม central กับ the mall    central ระดมทุนในตลาด   แป๊บเดียว   มีสาขาในเมืองใหญ่ทั่วประเทศ   มีทั้งห้าง central  Big-C และเพิ่งยึดเมกสโตร์ระดับโลกอย่างคาร์ฟูมาอยู่ในมือ 

ในขณะที่กลุ่ม the mall ไม่ยอมระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์   ทั้งๆที่ตนเองเดิมเป็นพันธมิตรของคาร์ฟู   พอคาร์ฟูเดี้ยง   ก็เลยไม่มีเงินไปเทคโอเว่อร์กิจการครับ   ทำให้กลุ่ม central ที่เป็นคู่แข่งยึดคาร์ฟูไปแทน  

   โอกาสโตของอุตสาหกรรมป้องกันประเทศมันอยู่ตรงหน้าจริงๆ   แต่ต้องได้รับความร่วมมือจากทั้งกองทัพ  รัฐบาล   เพื่อเอกชนจะสานต่อได้โดยง่ายครับ

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 13/12/2012 21:48:39


ความคิดเห็นที่ 30


การที่โรงงานถูกฟ้องล้มละลาย ก็หมายความว่า บริษัทฯ ที่เป็นเจ้าของโรงงาน ถูกฟ้องล้มละลายนั่นเอง..ครับ...

คนที่มีสิทธิในการฟ้องล้มละลายได้ก็คือเจ้าหนี้..ครับ  คนอื่นไม่มีสิทธิฟ้อง...

แสดงว่าเจ้าหนี้ประเมินแล้วรู้ว่า  บริษัท แห่งนี้มีหนี้มากกว่ามีทรัพย์สิน  จึงต้องร่วมกันฟ้องล้มละลายได้สถานเดียวครับ

หากต้องการใช้สิทธิเรียกร้อง  เอาสินทรัพย์เท่าที่มีเหลืออยู่ มาแบ่งปันกันในหมู่ เจ้าหนี้ทั้งหลาย

แต่แว้วๆ ว่า...บริษัท แห่งนี้เค้าขอล้มละลายเองไม่ใช่เหรอ ครับ (ไม่ใช่เจ้าหนี้ ฟ้อง)

เพื่อขอคุ้มครองจากอำนาจศาล เพื่อจะดำเนินกิจการต่อไปได้โดยไม่ถูก บังคับขายทรัพย์สิน

ยังไง...เรื่องจริง ผมก็ไม่รู้ นะ ครับ  ใครรู้ก็บอกๆกันด้วยครับ

โดยคุณ airy เมื่อวันที่ 14/12/2012 02:05:49


ความคิดเห็นที่ 31


ออฟลอต.......คุ้มค่า

 

ขอให้ร่วมทุนจริงเถอะ............แล้วย้ายฐานมาผลิตในประเทศไทย

อย่างนี้...สุดยอดครับ

โดยคุณ jaidee เมื่อวันที่ 14/12/2012 11:21:54


ความคิดเห็นที่ 32


....ทำไง..หว่า...มันเบิล...เฉยเลย  อยากจะลบทิ้งไปซักอันหนึ่งจัง..ครับ

 

 

โดยคุณ airy เมื่อวันที่ 14/12/2012 02:19:49


ความคิดเห็นที่ 33


 โรงงานผลิตรถถัง...ไม่น่าจะมีเทคโนโลยี่อะไรมากมายครับ  น่าจะเป็นผู้ซื้อเทคโนโลยี่เข้ามาประกอบจากภายนอกมากกว่าครับ

เทคโนโลยี่น่าจะอยู่ที่ บริษัทผลิตอุปกรณ์ควบคุมคอนโทรลต่างๆ  ผู้ผลิตเครื่องยนต์  ผู้ผลิตอาวุธ และชิ้นส่วนต่างๆ มากกว่านะครับ

และก็ไม่ควรจะไปเทคโอเวอร์อะไรด้วยครับ  โรงงานประเภทนี้ เราสามารถจะเซ็ดขึ้นมาได้เอง โดยไม่ได้ยากเย็นอะไรเลยครับ

พอเซ็ดขึ้นมาก็สามารถจะผลิตอะไรก็ได้ครับ  ไม่จำเป็นต้องเป็นรถถังครับ  ขอให้เป็นเป็นงานเกี่ยวกับเหล็กก็แล้วกัน ครับ

กระบวนการผลิตก็เป็นแบบ Cell Production หรือการผลิตแบบแผงลอย (ชิ้นงานอยู่กับที่ คนและเครื่องจักรขนาดเล็กเข้าล้อมชิ้นงาน)

ไม่ใช่การผลิตแบบระบบสายการผลิต Line Production (ชิ้นงานเคลื่อนที่ คนและเครื่องจักรจะรอทำงานตามสถานีงาน)

เพราะฉะนั้น ด้วยกระบวนการผลิตเป็นแบบแผงลอย เราจะใช้โรงงานประเภทนี้ไปผลิตอะไรก็ได้ ครับ..............................

โดยคุณ airy เมื่อวันที่ 14/12/2012 02:37:28


ความคิดเห็นที่ 34


การผลิตเครื่องบิน "กรีเพน",  ก็ใช้ระบบการผลิตแบบแผงลอยครับ Cell Production

ไม่ได้ใช้ระบบการผลิตแบบสายการผลิต Line Production ครับ...

การผลิตแบบแผงลอย มีข้อดีคือ ไม่จำเป็นต้องผลิตจำนวนมากก็ได้ครับ บางทีผลิตงานชิ้นเดียวก็คุ้มค่า แล้วครับ

เช่นการต่อเรือ.. หากต้องการเพิ่มปริมาณการผลิตให้มากขึ้น  ก็ทำการขนานแผงลอยใหม่ขึ้นมาทำการผลิตเพิ่มได้อีก

พูดง่ายเราจะมีแผงลอยกี่แผงก็ได้  ขึ้นอยู่กับออเดอร์ที่มีเข้ามา  แผงลอยแต่ละแผงก็ไม่จำเป็นต้องผลิตสินค้าอย่างเดียวกันด้วย

.......แล้ว  พวกท่านๆๆๆ ทั้งหลาย คิดว่า  รถถัง คันละ 250 ล้านบาทนี้  ถ้ามีคนมาจ้างคุณ สร้างเพียงคันเดียว

จะคุ้มค่าที่จะรับจ้างสร้าง มันได้ไหม...................................................................................

...................................................................................คำตอบคือ (..ได้...) .....ครับ  มีกำไรมากด้วยครับ

 

โดยคุณ airy เมื่อวันที่ 14/12/2012 02:53:45


ความคิดเห็นที่ 35


Malyshev กับ KMDB มันเป็นคนล่ะบริษัทกันไม่ใช่หรือครับ แล้วเจ้าของ oplot ก็น่าจะเป็น KMDB ผู้ออกแบบ ไม่ใช่ Malyshev ด้วยครับ เพราะฉะนั้นผมว่าเราไม่น่ามีทางที่จะเอา oplot มา โดยการเทคโอเวอร์โรงงานครับ เพราะน่าจะติดลิขสิืทธิ์ครับ

โดยคุณ tow เมื่อวันที่ 14/12/2012 02:59:42


ความคิดเห็นที่ 36


......ผมอยากให้  โครงการจัดซื้อ "ออฟลอต" ไอ้ป้อมปราการปืน  นี้ล่มครับ

อาจเป็นบุญของประเทศไทย  เลยทีเดียว ครับ ถ้าโครงการนี้ล่ม ขึ้นมาจริงๆ ครับ

สาธุ...สาธุ....สาธุ....   ล่มทีเถอะ...ล่มทีเถอะ....ล่มทีเถอะ

 

 

โดยคุณ airy เมื่อวันที่ 14/12/2012 03:10:16


ความคิดเห็นที่ 37


""""Malyshev กับ KMDB มันเป็นคนล่ะบริษัทกันไม่ใช่หรือครับ แล้วเจ้าของ oplot ก็น่าจะเป็น KMDB ผู้ออกแบบ ไม่ใช่ Malyshev ด้วยครับ เพราะฉะนั้นผมว่าเราไม่น่ามีทางที่จะเอา oplot มา โดยการเทคโอเวอร์โรงงานครับ เพราะน่าจะติดลิขสิืทธิ์ครับ""""


......ผมเข้าใจว่า Malyshev เป็นโรงงานผลิตชิ้นส่วนและประกอบงานขั้นสุดท้าย  ของรถถัง-ยานเกราะแห่งหนึ่่งเท่านั้น  ซึ่่ง"ยูเครน" คงมีโรงงานอย่างนี้

อยู่หลายแห่ง  ทางบริษัท Leader ที่เป็นผู้รับสัญญาโดยตรง คงเป็น KMDB ก็คงมีโรงงานให้เรียกใช้งานอีกหลายแห่ง (โรงงานรับจ้าง) เพราะการทำงาน

คงต้องกระจายงานผลิตชิ้นส่วนให้ Supplier หลายๆ แห่งช่วยผลิต  แห่งไหนขาดสภาพคล่อง เจ้งไป ก็มีแห่งอื่่นรับจ้างผลิตให้  (คงเหมือนเมืองไทย)

แล้วไปประกอบขั้นสุดท้วยที่โรงงานใดโรงงานหนึ่่ง  มันคงไม่มีปัญหาอะไรหรอกครับ  

      ออเดอร์จากเมืองไทย 2 ออเดอร์  5 พันล้าน กับ 7 พันล้าน  ทำยังไงก็  รวย...รวย...รวย  ปานนี้บริษัท Leader พนักงานคงทำงานกันหัวฟูแล้วละ ครับ 

โดยคุณ airy เมื่อวันที่ 14/12/2012 04:45:36


ความคิดเห็นที่ 38


คิดอีกด้านหนึ่งอาจจะดีก็ได้นะครับ บริษัทบ้านเราอาจได้เกิด ถ้ากองทัพไทยเรา ยังซื้อของที่มีปัญหาเข้ามาใช้กันเรื่อยๆแบบนะอะครับ อย่างน้อยๆก็ได้ซ่อมเองเรื่อยๆซักวันคงได้ผลิตอะมั่ง

โดยคุณ potmon เมื่อวันที่ 14/12/2012 18:31:09


ความคิดเห็นที่ 39


 รอดูต่อไปยาวๆ

โดยคุณ ALPHA001 เมื่อวันที่ 14/12/2012 20:44:05