|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
Stingray® II is a light tank that features the firepower of a main battle tank. Equipped with a 105-mm low-recoil force gun/turret, Stingray II fires all standard rounds, including 105-mm NATO rounds. Known for its superior agility, Stingray II provides the lethality of a main battle tank at less cost. Development Late in 1996, Textron Marine & Land Systems completed the first preproduction example of the Stingray II light tank which has been developed by the company as a private venture specifically for the export market. Stingray II is a further evolutionary development of the Stingray I light tank (covered in detail in a separate entry) which is currently in service with the Royal Thai Army (RTA) which took delivery of 106 vehicles between 1986 and 1990. Like the earlier vehicle, the Stingray II uses proven and in production subsystems wherever possible to reduce procurement and total life-cycle costs. Description The overall layout of the Stingray II is identical to the Stingray I with driver in the front, three-man power-operated turret in the centre and power pack at the rear. For improved battlefield survivability, over the frontal arc, Stingray II is provided with the recently developed 2001 special high-hardness steel armour which provides protection against small arms fire up to 23 mm calibre. To protect the upper part of the suspension, side skirts with a similar level of protection are fitted. These can be quickly removed allowing access to the suspension for maintenance purposes. With this armour package fitted. Stingray II weighs 22,220 kg. If the user requires a higher layer of protection then an enhanced applique armour kit can be provided. This can be fitted by the user using standard tools in between 2 and 4 hours. When fitted with the enhanced armour package Stingray II weighs 26,308 kg, with protection over the frontal arc being provided against RPG-7-type hand-held anti-tank weapons. To provide a high degree of hit probability against stationary and moving targets the latest M1A1 digital fire-control system is fitted to the Stingray II. At present the stabilised gun control system is of the electrohydraulic type but if required by the user an allelectric system can be provided. An automatic deck clearance system is fitted as standard on the Stingray II. The gunner has the latest proven stabilised Raytheon Systems Company HIRE day/thermal night sight with integrated laser range-finder which is currently in volume production for a number of other applications. The gunner also has an auxiliary day telescope as a back-up with a magnification of x 6.2. The commander has an M36E1 day/image intensification night sight and is provided with a monitor which enables him to have the same thermal picture of the target as the gunner. The commander also has seven periscopes for all round observation. The upgraded independent trailing arm suspension either side consists of six dual rubber-tyred roadwheels with the idler at the front, drive sprocket at the rear and three track-return rollers. The standard tracks are 380 mm wide but these can be replaced by 460 mm wide tracks when the applique armour package is fitted to enable ground pressure to be maintained. The main armament of the Stingray II is still the stabilised Royal Ordnance 105 mm Low-Recoil Force (LRF) gun with a 7.62 mm M240 coaxial machine gun and a 12.7 mm M2 anti-aircraft machine gun. Optional equipment includes various radio and communications systems, a drivers night viewer, a GPS navigation system and a ventilated face mask NBC system. It can also be fitted with a laser warning system and a system that enables Stingray II to lay its own smoke screen by injecting diesel fuel into the exhaust outlet. Variants
Studies by Textron Marine & Land Systems have shown that the Stingray II can be fitted with the complete turret of the LAV-105 (8x8) assault gun covered in the following section. The LAV-105 turret was developed by Textron Marine & Land Systems and is armed with a 105 mm M35 gun fed by an automatic loader developed by FHL of the UK. This version of Stingray II would have a crew of three consisting of commander, gunner and driver and have a combat weight of 21,100 kg. To improve battlefield survivability, the Stingray II with the LAV-105 turret can also be fitted with a laminate armour package that covers the frontal arc of the hull and turret. This increases the combat weight of the vehicle to 25,500 kg. Status Development complete. Ready for production.
|
***ขอโทษครับที่ไม่ได้แปล พอดีผมก็ใช้ Google.com แปลอ่านเอาครับ
ขอบคุณ :http://www.army-guide.com/eng/product927.html
ถ้าซื้อได้ไทยเราจะได้มีรถถังเป็นของตัวเองมั่ง
ไหนๆมีใช้ประเทศเดียวแล้วก็พัฒนาต่อไป เหมือนกับว่า Commando Stingray เป็นรถของประเทศเรา
ตามความเห็นส่วนตัวถามว่าให้ผลิตเองนั้นดีไหม ดีครับ
แต่ว่ารถถังเบาจะเหมาะสมกับภัยคุกคามในอนาคตรึปล่าวเมื่อถ้าหากในอนาคต
ประเทศรอบๆบ้านเรารถถังเก่าหมดอายุต้องปลดแล้วนำเข้าประจำการรถถังใหม่
ถึงก็น่าจะเป็นรถถังหลักแน่นอน ซึ่งเวลาต่อสู้กันรถถังเบาย่อมเสียเปรียบแน่นอนทั้งเรื่องอำนาจการยิงและเกราะ
ถึงตอนนั้นคิดว่า Stingray II คงจะไม่เหมาะแล้วล่ะครับ
ผมว่าถ้าทำได้ ไม่ต้องกลัวเรื่องรถถังหลัก
เพราะเน้นที่ระบบต่อต้านแบบแอคทีฟก็จบ
แต่ผมว่าหน้าสนใจกว่าก็คือรถต่อสู้รถถังเอาไว้ล่อรถถังกันตรงๆ ใช้จรวดนำวิถีเป็นอาวุธหลัก
รถถังก็ไว้ยิงถล่ม เข้าตี
ผมรอโครงการร่วมทางอุตสาหกรรมระหว่างไทย-ยูเครนอยู่ครับ เราเป็นคนเสนอเอง และทางนั้นตอบรับแบบเนื้อเต้นทีเดียว ถ้ามีการตั้งโรงงานรับผลิต BTR-3E1 และ รถถังหลัก OPLOT-M ในประเทศไทย ประเทศเราจะมีขีดความสามารถที่จะผลิตรถถังเบาและยานเกราะแบบต่างๆโดยขอสิทธิบัตรจากต่างประเทศได้ ส่วนการออกแบบและพัฒนาเองได้แบบตุรกีนั้นคงต้องใช้เวลาสะสมความรู้และประสบการณ์ในการผลิตและแก้ไขแบบหรือปรับปรุงให้เหมาะสมกับเขตร้อนแบบบ้านเรา ซึ่งต้องทำการบ้านร่วมกันกับทางยูเครน นั่นล่ะครับเราจะพร้อมที่จะออกแบบเองได้เต็มตัว
ในกระทู้เก่าๆเคยพูดคุยกันแล้วในรื่องความเหมาะสมของรถถังหลักและรถถังเบา รวมถึงหลักนิยมของรถถังหลักและรถถังเบา
สรุป คือ พื้นที่บ้านเรา เหมาะสมกับทั้งรถถังเบาและรถถังหลัก ขึ้นกับพื้นที่ดูแล พื้นที่ที่ดินอ่อนนุ่มและในหน้าฝนที่ทำให้พื้นที่แทบจะกลายเป็นบ่อโคลน รถถังเบาเหมาะสมกว่ารถถังหลักมากครับ ส่วนพื้นที่อย่างในภาคอีสานที่ดินไม่อ่อนนุ่มนั้น รถถังหลักสามารถปฎิบัติการได้ดี
รถถังเบาเหมาะสมกับหน่วยเคลื่อนที่เร็วโดยทางอากาศ ในการทิ้งร่ม
หลักนิยมในชาติมหาอำนาจตะวันตกไม่นิยมรถถังเบา เขาจะไปใช้ IFV และ AFV แทน เพราะปืนขนาดกลาง 40-76 มม.นั้นสามารถเจาะเกราะรรถถังเบารุ่นก่อนได้เกือบทั้งหมด และสามารถนำพาทหารไปด้วยได้ 6-8 นาย เพื่อทำการคุ้มกันหน่วยยานเกราะจากทหารราบต่อต้านยานเกราะที่ติดอาวุธต่อสู้รถถังแบบแบกพาไปได้ครับ
แต่รถถังเบารุ่นใหม่ที่พัฒนาทิ้งเอาไว้อย่าง M-8 นั้นมีเกราะที่ทนทานได้เกินกว่าปืน 40-76 มม. ของ IFV จะเจาะได้ ยกเว้นจรวดต่อต้านรถถังที่ IFV นำพาไปด้วย ส่วนสติงเรย์ เสริมเกราะจนทน RPG ได้ และถ้ามีการพัฒนาเกราะ Level สูงกว่านี้ อาจจะทนได้ถึง 105 มม. แบบ M-8 ก็ได้ และอำนาจการยิงรถถังเบาก็ 105 มม. มีอำนาจการยิงสูงกว่า IFV และสามารถติดตั้งจรวดต่อต้านรถถังได้ถ้ามีการพัฒนาต่อเนื่อง ซึ่งสามารถน็อครถถังหลักได้ครับ
ดังนนั้นสรุปว่า รถถังเบาสมัยใหม่ มีเกราะระดับรถถังหลักแล้ว อำนาจการยิงระดับรถถังหลัก GEN ก่อน ความคล่องตัวระดับเดียวกับรถถังหลัก ดังนั้นโดยรวมจะเหนือกว่า IFV และ AFV มาก และเหมาะกับพื้นที่ของประเทศเราและหน่วยนาวิกโยธินเป็นอย่างมากครับ
ลืมครับ
สติงเรย์ 2 ที่มีการพัฒนาต่อเนื่องมา สามารถติดตั้งระบบ Auto loader ได้ ทำให้ลดจำนวนพลประจำรถลงเป็น 3 นาย ระบบคอม ระบบควบคุมการยิงก็สามารถรับการติดตั้งรุ่นใหม่ๆได้ แม้ระยะยิงปืน 105 มม.(ประมาณ 3-3.5 กิโล) จะสั้นกว่า 120 มม.(5 กิโลเมตรขึ้น) และมีอำนาจการทำลายน้อยกว่าก็ตาม และด้วยระบบบรรจุกระสุนอัตโนมัติ ระบบคอมและระบบควบคุมการยิงรุ่นใหม่ๆ ทำให้มันสามารถยิงได้เร็วพอๆกับรถถังหลักในปัจจุบันได้ แต่เกราะรรถถังหลักปัจจุบันก็หนามากเกินกว่ากระสุน 105 จะเอาอยู่ คงต้องพัฒนาให้รถถังเบาสามารถยิงจรวดต่อต้านรถถังจากลำกล้องปืน หรือ จากกล่องจรวดที่ติดตั้งด้านข้างป้อมปืนแทน จึงจะน็อครถถังหลักได้
แต่ผมว่าราคามันก็คงจะไม่น้อยกว่า 200 ล้านบาทต่อคันแน่ๆ ข้อมูลเพื่อนๆเคยลงไว้ในกระทู้ก่อนครับ
ดังนั้นผมยังคงเห็นว่า รถถังเบาแท้ๆ ที่ไม่ใช่เอายานเกราะมาปรับเป็นรถถังเบา (เช่น Ander , CV-90/120) นั้นเหมาะสมกับพื้นที่ประเทศเราเป็นอย่างมากครับ เหมาะสมกับหน่วยนาวิกโยธินและหน่วยเคลื่อนที่เร็วที่ต้องทิ้งร่มทางอากาศมากๆ เพราะเหนือชั้นกว่า IFV/AFV มาก เพียงพอกระทบไหล่รถถังหลักได้ครับ
ภาพ M-8 ติดเกราะ Level-3 ทนทานกระสุนขนาด 105 มม หนาและทนพอๆกับเกราะรถถังหลัก และเบาพอที่สามารถทิ้งร่มได้ ขนส่งทางอากาศได้รวดเร็ว และเหมาะสมกับหน่วยนาวิกโยธินของเราเป็นอย่างมาก
รูปถัดไปเป็น Ander พัฒนามาจาก CV-90 เกราะหนาพอที่จะทน RPG ได้ แต่ความคล่องตัวน้อยกว่าสติงเรย์ M-8
รูปถัดไป CV-90/120 เอายานเกราะมาทำเป็นรถถังเบา
จะเห็นว่าความบึกบึนทนทาน ความคล่องตัว ของรถถังเบาแท้ๆนั้นเหนือกว่ารถถังเบาที่เอายานเกราะมาดัดแปลง แม้อำนาจการยิงจะใกล้กันก็ตาม
ถ้าโครงการร่วมกับยูเครนได้เกิด และสามารถดำเนินงานได้ราบลื่นไม่ติดขัด เมื่อเราต้องการรถถังเบาแท้ๆมาทดแทนสติงเรย์ 1 เราอาจจะเลือกให้
1. ขอให้บริษัทผู้ผลิตสติงเรย์ทำการพัฒนายกระดับสติงเรย์ 2 ให้ได้ระดับเดียวกับ M-8 ทั้งเกราะ น้ำหนัก(เกราะ Level3 มีหน้ำหนักพอกับ สติงเรย์ 1 เท่านั้น) กำลังขับเคลื่อน โดยให้เหนือกว่า M-8 ด้วยระบบ Auto loader ระบบคอมและระบบควบคุมการยิงรุ่นใหม่ รวมถึงเกราะ Active แบบต่างๆ อาจจะทำการตลาดร่วมกันกับผู้ผลิตสติงเรย์ได้
2. ขอแบบและสิทธิบัตรการผลิตและต่อยอด M-8 เดิมมาทำการพัฒนาต่อ
ข้อมูลเรื่องสติงเรย์ในกระทู้เก่าครับท่าน Topper0011 แถมเรื่องวิชาการเกี่ยวกับเกราะจากหลวงพี่ Icy ด้วยครับ
ข่าวยูเครนสนใจร่วมมือไทยผลิตยานเกราะ
เรื่องสติงเรย์2
http://www.thaifighterclub.org/webboard.php?action=detailQuestion&questionid=16956&topic=Stingray%20%E4%B7%C2%E0%BB%E7%B9%BC%D9%E9%E3%AA%E9%C3%D2%C2%E0%B4%D5%C2%C7%E3%B9%E2%C5%A1%20%BC%C1%E0%CB%E7%B9%A2%E9%CD%A4%C7%D2%C1%B9%D5%E9%E1%C5%E9%C7%CD%C2%D2%A1%A8%D0%B6%D2%C1%B7%E8%D2%B9%BC%D9%E9%C3%D9%E9%C7%E8%D2%B7%D3%E4%C1%B6%D6%A7%C1%D5%E1%B5%E8%E4%B7%C2%E3%AA%E9
ผมฝันแบบท่าน Kaewmusik เหมือนกันครับ เมื่อจบจากผลิต OPLOT-M แล้วสัก 1 กองพล (800 กว่าคัน) ไทยเราก็ผลิต stinray-2 A2 ออกมาตามแบบที่ว่านะครับสัก 1 กองพล คาดิแลก Say YES! ตามยูเครน แ้ล้วจับมือทำตลาดร่วมกัน
การพัฒนา Commando Stingray 2 จาก Commando Stingray 1
@ท่านแก้วมุสิค เกราะหนา 14.5 มม. มันบางไปไหมครับ ^^ หรือว่าใช้หน่วยมาตราวัดผิดผมว่าน่าจะเป็น 14.5 ซ.ม. หรือเปล่าครับเพราะดูจากรูปมันน่าจะประมาณนนั้น ถ้าหน้าแค่ 14.5 ม.ม. นี่กระสุนเจาะเกาะ .50 นิ้ว ก็ทะลุแล้วครับ ยิ่งเจอ 20 มม.ไม่ต้องพูดถึง
ที่ว่าเกราะหนา 14.5mm น่าจะหมายความความว่า เกราะสามารถกันกระสุนได้ถึงขนาดขนาด 14.5x114mm ของอดีตสหภาพโซเวียตได้มากกว่าครับ
ผมว่าน่าจะเป็นความหนาของเกราะนะครับ เคยอ่านว่าทางผู้ผลิตแก้ไขให้เกราะบริเวณตอนหน้าของป้อมปืนหนาขึ้นจนทน RPG ได้ จากรูปนี้จะเห็นว่าหนาขึ้นมาชัดเจนจากสติงเรย์ 1 แต่ด้านข้างผมว่าไม่น่าจะหนาขนาดนั้น สภาพเกราะแบบนี้ของ stingray2 ก็ยังด้อยกว่า Ander ด้วยซ้ำครับ
syringray 2 ทำการปรับปรุงให้มีการติดตั้งระบบ auto loader และปืนใหญ่ 105 มม แบบใหม่ ผมขอเรียกเป็นรุ่น A1 แล้วกันครับ แต่ความหนาทนทานของเกราะก็ยังไม่น่าประทับใจครับ ผมแอบเชียร์ว่าถ้าเราคิดจะจัดหา stingray 2 อีกครั้ง ควรจะพัฒนาต่อเป็นรุ่น A2 ที่ต้องได้เกราะเยี่ยมยอดแบบ M-8 ครับ เพราะทนทานและน้ำหนักเบา
เครื่องวางหลังก็ให้กำลังขับที่ดีกว่า Ander แน่นอน และขนาดก็เล็กกว่าเพราะไม่ต้องเพิ่มพื้นที่ให้ทหารราบที่ต้องนำติดตัวไปด้วย ความคล่องตัวน่าจะเหนือกว่า Ander ถ้าปรับปรุงเรื่องเกราะได้แบบ M-8 ผมว่าสตริงเรย์นี่เป็น ถ.เบาในอุดมคติเลยครับ
อ่ะ ขอโทษครับ 14.5 มม. ถ้าเป็นความหนาของเกราะมันบางสนิทจริงๆอย่างท่าน ALpha001 ว่า เพราะ 1 นิ้วมันก็หนา 25.4 มม แล้ว เกราะ Level2 ของ M-8 เป็น ไทเทเนี่ยมอัลลอยด์หนาถึง 1 นิ้ว (25.4 มม) เกือบรอบคัน เกราะของสตริงเรย์เป็นเกราะ แคตลอยด์ ที่เป็นอลูมิเนี่ยมอัลลอยด์แบบแข็ง เกราะสมัยใหม่น่าจะดีกว่าเกราะไทเทเนี่ยมอัลลอยด์ของ M-8 ไม่น้อยแล้วครับ
สำหรับสคริงเรย์นี่ เสียที่เกราะจริงๆ
ข้อมูลจากเว็ป DTI ครับ ...(เกราะหนา 23 มม. ไม่ทราบว่าทั้งคัน รวมป้อมปืนด้วยรึเปล่า)
รถถังเบา Stingray
ประเภท: รถถังเบา
ประเทศผู้ผลิต: สหรัฐอเมริกา
ข้อมูลจำเพาะ
น้ำหนัก: 22.6 เมตริกตัน
ความยาว: (เมื่อปืนหันไปข้างหน้า) 9.3 เมตร
กว้าง: 3 เมตร
ความสูง: 2.7 เมตร
ลูกเรือ: 4 คน (พลควบคุมรถ, พลขับ, พลยิง, เจ้าหน้าที่วิทยุ / Loader)
เกราะหนา: 23 มม.
อาวุธหลัก: ปืนรถถัง L7A3 ขนาด 105 มม.
อาวุธรอง: ปืนกลร่วมแกนขนาด 7.62 มิลลิเมตร, ปืนกลต่อสู้อากาศยานขนาด 12.7 มม.
เครื่องยนต์: ดีทรอยต์ดีเซล Allison 8V - 92TA 535 แรงม้า (399 กิโลวัตต์), หรือเครื่องยนต์ V - 8 เครื่องยนต์ดีเซล 550 แรงม้า (410 กิโลวัตต์) ระบายความร้อนด้วยของเหลว มีเทอร์โบชาร์จ 2 จังหวะ
ระบบกันสะเทือน: อิสระแถบแขนแรงบิดที่ต่อท้าย
การปฏิบัติการ:
ระยะปฎิบัติการ: 300 ไมล์ (480 กม. )
ความเร็ว 70 กม. / ชม.
ประเทศผู้ใช้: กองทัพบกไทย
สติงเรย์เกราะหนา 23 มม.
ซึ่งความจริงสติงเรย์ขึ้นชื่อเรื่องเกราะบางอยู่แล้ว
ผมขอแย้งคุณ neosiamese นิดนึงนะครับ
คือผมหาอ่านที่ไหน ก็ไม่มีอันไหนบอกว่าเกราะเลวเว่ว 3 ของรถถังเบา m8 กันกระสุน105มม.ได้
ทุกแหล่งที่ผมอ่านเจอคือเกราะเลวเว่วสามสามารถกันได้สูงสุดคืออาวุธต่อต้านรถถังแบบประทับบ่า(hanheld)ขนาดเบา หรือปืนใหญ่ 30 มม.เท่านั้น
เรียนคุณ atith27009 สีพรางรถถังส่วนมากเคยเห็นแต่รถถังที่อยู่ ตาม พัน.ม ที่สังกัดตาม พล.ร. แต่ไม่ค่อยจะเหมือนกันจริง ๆ ส่วนสีเขียวด้าน ๆ เคยมีเพื่อน ๆ บอกว่ามันเป็นสีที่ลดการแพร่อินฟราเรด หรือลดการตรวจจับด้วยกล้องอินฟราเรด รายละเอียดที่แน่นอนไว้พี่ ๆ ที่เป็นทหารม้า มาตอบให้อีกทีครับ