หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


นโยบาย Offset ของไทยอาจมีอุปสรรคจากการใช้นโยบายการค้าต่างตอบแทน

โดยคุณ : Ricebeanoil เมื่อวันที่ : 04/12/2012 23:38:02

สำนักข่าวทางด้านความมั่นคง Janes รายงานว่า แผนการของไทยที่จะออกนโยบายเกี่ยวกับ Offset อาจมีอุปสรรคเนื่องจากนโยบายของรัฐในการใช้การค้าต่างตอบแทนหรือ Countertrade
การนำนดโยบายการค้าต่างตอบแทนกลับมาใช้ได้รับการสนับสนุน จากหลายกระทรวง ซึ่งเห็นโอกาสในการส่งเสริมการส่งออกของสินค้าไทยผ่านนโยบายการค้าต่างตอบ แทนเพื่อแลกกับการจัดหาอาวุธจากต่างประเทศ
Janes กล่าวว่า ถ้ารัฐบาลตั้งใจที่จะนำนโยบายการค้าต่างตอบแทนกลับมาใช้จริง อาจกระทบกับแผนการของสถาบันเทคโนโลโยป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) ในการร่างนโยบาย Offset ของประเทศเพื่อพัฒนาความสามารถของภาคอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและเพิ่มการ พึ่งพาตนเองอย่างเป็นระบบ/Janes

 

ที่มา : http://dtad.dti.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=364:defense-news-around-the-world-3-9dec55&catid=3:defense-news&Itemid=3





ความคิดเห็นที่ 1


Thai offset plans could be derailed by a move to reinstate countertrade

By Jon Grevatt

11/27/2012

Thailands plan to introduce a formalised defence offset policy within the next few years could be derailed by a government move to reinstate countertrade, IHS Janes understands.

The proposal to reintroduce countertrade is being backed by several government ministries, which see opportunities to boost exports of Thai goods through barter deals attached to acquisitions of military equipment from abroad.

It is also notable that the last Thai government to use military countertrade to any great extent was Thaksin Shinawatras administration in the early- to mid-2000s. The present government, which took office following a 2011 general election, is politically aligned with Thaksin and is led by his sister, Prime Minister Yingluck Shinawatra.

Should political backing remain strong for the move, the government is likely to gradually reintroduce countertrade from 2013 alongside a continuing ad hoc effort to boost defence industry capability through collaboration. This, in turn, could halt plans currently being progressed by the Ministry of Defences Defence Technology Institute (DTi) to introduce a defence offset policy that is intended to develop – in a structured manner – industrial capabilities and enhance self-reliance.

 

ที่มา : http://www.janes.com/products/janes/defence-security-report.aspx?ID=1065973734

กระทู้ต้นทางครับ

โดยคุณ Ricebeanoil เมื่อวันที่ 04/12/2012 20:18:16


ความคิดเห็นที่ 2


เรื่องนี้ผมมองว่าการค้าต่างตอบแทนเป็นความจำเป็นที่ไทยต้องทำและทุกหน่วยงานจำเป็นต้องปรับตัว เพราะนโยบายของรัฐในการใช้เงินเข้าอุ้มภาคเกษตรจำนวนมากทำให้มีสินค้าภาคเกษตรตกค้างในคลังจำนวนมากซึ่งมีข้อจำกัดเรื่องระยะเวลาในการจัดเก็บด้วย ดังนั้นถ้าผมเป็นทหารก็จะปรับตัวเนื่องจากต้องการอาวุธใหม่แต่รัฐไม่มีเงินสนับสนุน ทางที่ทำได้คือ ขอสินค้าเกษตรเหล่านี้จากรัฐมาซื้ออาวุธจากมิตรประเทศ เช่น จ่ายเป็นสินค้าเกษตร 40% เงินสด 60% แลกกับการซื้ออาวุธที่ทันสมัยในระดับที่ดีกว่าที่มีอยู่ แต่อาจไม่ดีที่สุด

สินค้าที่ใช้ก็มีมากมาย ได้แก่ ข้าว ยางพารา กุ้ง ไก่ มัน น้ำตาล ผลไม้  ถุงมือแพทย์จากยางพารา  ยางรถยนตร์ เอทานาล น้ำผลไม้กระป่อง ปลาประป่อง การบริการด้านการส่งกำลังบำรุงต่างๆ เป็นต้น

ส่วนอาวุธที่ซื้อมาก็ขึ้นกับข้อตกลง เช่น ซื้อเป็นชิ้นส่วนแล้วมาประกอบในประเทศ อย่างเครื่องบิน เรือรบ รถถัง รถเกราะ  อาวุธมือสอง

ผมว่ามีหลายประเทศสนใจสนองนโยบายนี้ เช่น จีน เกาหลี สวีเดน อินโดนีเซีย รัสเซีย หรือแม้แต่สหรัฐ ครับ

โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 04/12/2012 22:42:06


ความคิดเห็นที่ 3


การทำการค้าต่างตอบแทน (Counter trade) ความจริงมันก็มีหลายประเภท

1.การแลกเปลี่ยนสินค้า (BARTER ) วิธีนี้เป็นวิธีขั้นปฐมคือ การใช้สินค้าแลกสินค้า หรือใช้สินค้าเป็นตัวชำระค่าสินค้า ที่ซื้อจากอีกประเทศหนึ่ง เช่น ประเทศ ก.ใช้น้ำมันแลกข้าว หรือใช้น้ำมันชำระค่าข้าว
2.การซื้อต่างตอบแทน (COUNTER PURCHASE) เป็นกรณีที่ผู้ขายสินค้าหรือบริการไปยังอีกประเทศหนึ่ง ตกลงที่จะซื้อสินค้าตามที่กำหนดจากประเทศที่ตนขายสินค้าหรือบริการ
3.การซื้อกลับ (Buyback) คือ กรณีที่ผู้ขายอุปกรณ์เครื่องจักรเครื่องมือที่ใช้ผลิตสินค้าตกลง ที่จะซื้อสินค้าที่ผลิตจากอุปกรณ์เครื่องจักรเครื่องมือที่ซื้อ จากตนเป็นการตอบแทน
4.ออฟเซท (OFFSET) เป็นการซื้อ-ขายที่ไม่ต้องใช้การชำระเงิน แต่ใช้การหักทอนบัญชีหรือหักกลบลบหนี้

Barter trade ก็เป็นหนึ่งในนั่นด้วยเช่นกัน เมื่อพิจารณาถึงประเทศเราตอนนี้แล้วมีสินค้าเกษตรอยู่ในคลังจำนวนมาก

การทำ Barter ก็เป็นทางออกที่ดีสำหรับการระบายสินค้าเกษตรที่คงค้างเหล่านั้นโดยแลกกับยุทโธปกรณ์ต่างๆ

แต่เมื่อทำ Barter trade ไปแล้ว ก็ลืมเรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยี (Offset) ไปเลยด้วยเหมือนกัน

เพราะตามข้อตกลงแล้วมักต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง

ถ้าเราเลือก Barter trade => ได้ยุทโธปกรณ์ ได้ระบายสินค้าเกษตร ตอนจบประเทศเราก็เป็นได้แค่ "ผู้ซื้อ"ต่อไป

ถ้าเราเลือก Offset => ได้ยุทโธปกรณ์ ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี ตอนจบประเทศเราก็อาจได้พึ่งพาตนเองได้อย่างแท้จริง

โดยคุณ Ricebeanoil เมื่อวันที่ 04/12/2012 23:38:02