เมื่อเวลา 15.45 น. ที่รัฐสภา พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.กลาโหม กล่าวชี้แจงกรณีที่ถูกนายศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์อภิปรายไม่ไว้วางใจ ในเรื่องความไม่โปร่งใสในการปรับปรุงระบบแท่นยิงเป้าลวงของชุดเรือหลวง นเรศวร ว่า ชุดเรือดังกล่าวมีอายุการใช้งานมาแล้ว 17-18 ปี ส่วนการปรับปรุงทั้งระบบระยะ 2 มีผลผูกพันตั้งแต่ปี 2555-2557 เพื่อปรับปรุงระบบการรบใหม่ทั้งหมด โดยตั้งงบประมาณ 3,000 ล้านบาท แต่มีการปรับลดลงเหลือ 2,700 ล้านบาท ซึ่งในการปรับปรุงส่วนนี้บริษัท Saab AB (publ)ได้รับการประมูล ทางกองทัพเรือได้เรียกบริษัทดังกล่าวเข้ามาติดตั้งแท่นยิงเป้าลวง ระบบแท่นยิงหมุนได้ ยี่ห้อ SAGEM DECOY เมื่อเข้ามาติดตั้งพบว่า มี 11 จุดที่เหมาะสมแต่ปรากฏว่ามีจุดที่เหมาะสม 11 จุด แต่จุดที่เหมาะสมที่สุด คือบริเวณหลังคาและที่จอดเฮลิคอปเตอร์
พล.อ.อ.สุกำพล กล่าวว่า แม้อุปกรณ์นี้จะมีข้อดี แต่ก็มีข้อเสีย คือมีน้ำหนักมากและเมื่อติดตั้งกับเรือดังกล่าวแล้วระบบนี้จะมีประสิทธิภาพ การใช้งานเหลือเพียงครึ่งเดียวกว่าที่ออกแบบไว้ เพราะสภาพเรือเก่า ซึ่งกองทัพเรือ โดยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง รู้และเชี่ยวชาญ จึงได้หารือกันและได้ข้อสรุปว่า หากติดตั้งไปก็ไม่เหมาะสมและและประสิทธิภาพก็ใช้แค่ครั้งเดียว จึงเปลี่ยนมาเป็น TERMA DECOY ซึ่งเป็นระบบแท่นยิงอยู่กับโดยจะติดตั้ง 4 จุดรอบเรือ ซึ่งครอบคลุมทำงานได้ 360 องศา และมีประสิทธิภาพร้อยเปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้บริษัทดังกล่าวยังแถมติดตั้งระบบเป้าลวงตอร์ปิโดใต้น้ำและอากาศให้ อีก ทั้งนี้ระบบดังกล่าวต่างประเทศยังมีการใช้อยู่ เช่น เรือของประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และประเทศในกลุ่มนาโต้ อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ทางกองทัพเรือจะมีการแถลงข่าวชี้แจงในสัปดาห์หน้า
"ผมยืนยันว่าเรื่องนี้ไม่มีสินบน และผมรักทหารทุกเหล่า ซึ่งเราไม่ได้ต้องการนำของใหม่มาใช้กับเรือเก่า และไม่มีใครอยากเอาของเก่ามาใช้โดยไม่จำเป็น ส่วนเรื่องราคาที่ถูกระบุว่าต่างกัน 1,000 บาท ก็เป็นเรื่องที่คิดรวมทั้งระบบของเรือ จึงมีส่วนลดที่เขาให้ 1,000 บาท ไม่ใช่แค่ส่วนใดส่วนหนึ่งเท่านั้น "พล.อ.อ.สุกำพล กล่าว
ด้านนายศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวตอบโต้ว่า สเปกของเรือเป็นเรื่องที่ฝ่ายเสนาธิการทหารเรือ ซึ่งมีผู้ที่มีความรู้ความสามารถ นับสิบคน ประชุมและตรวจเรือทั้ง 2 ลำแล้วนำข้อมูลมากำหนดสเปก ระบบแท่นยิงเป้าลวงที่ให้เป็นแท่นหมุน ซึ่งสิ่งที่รมว.กลาโหมพูดนั้น เหมือนเป็นการดูถูกหรือกำลังบอกว่าฝ่ายเสนาธิการทหารเรือผิดพลาดตั้งแต่ต้น ใช่หรือไม่ และเอกสารที่ถูกเสนอเข้าครม.เพื่อพิจารณาอนุมัตินั้น ก็เป็นเอกสารที่มาจากบริษัท Saab AB (publ) ที่มีหนังสือยื่นขอเปลี่ยนเอง ขอให้พล.อ.อ.สุกำพล กลับไปอ่านเอกสารอีกรอบให้ดีก่อนที่จะตอบคำถามของตน
ลองลงข้อมูลของ SAGEM ดู เป็นไฟล์pdf ไม่รู้จะเห็นเปล่า
ข้อมูลการปรับปรุงชุด รล.นเรศวร ของ ทร.
http://fcsorm.dyndns.org/fcsorm/images/jobupdate/550605/laststatus550605.pdf
รูปเพิ่มเติม
ขอบคุณมากครับท่าน Ricebeanoil ชื่อ Log in ของท่านนี่บอกเลยว่าทำงานในด้านตลาด TFEX AFET แหง๋ๆ
เครดิตเวปเนชั่นออนไลน์เช่นเดิมครับ
ซาเจมมันดีกว่าก็จริง แต่ผิดที่เรือเรามันมีมุมอับ
ถ้าจะติดไห้คลอบคลุมหมดมันจะแพงมากถอดโน่น นี่ออก
แล้วก็ไส่เพิ่ม แล้วก็ป้องกัน บริเวณกลางลำตัวไม่ได้
แต่เทอร์ม่าถูกกว่า ถึงหมุนไม่ได้
แต่สามารถวางไว้ได้คลอบคลุมทั่วตัวเรือในราคาที่ถูกกว่าอ่ะครับ
ผมว่าเรื่องนี้ รอท่าน ผบ.ทร. อธิบายเองน่าจะดีกว่า
พวกเราเดากันไป ก็ไม่รู้ว่าเหตุผลที่แท้จริงมันคืออะไร
ถ้าอธิบายได้ดี เรื่องนี้ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร
สรุปแบบง่ายๆว่า sagem ทันสมัยกว่า terma แต่น้ำหนักเยอะและต้องออกแบบจุดที่ต้องติดตั้งไว้ล่วงหน้าเพื่อให้ใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพจึงเหมาะกับเรือใหม่แต่ไม่เหมาะกับเราเพราะเรือเราเป็นเรือเก่าและไม่ได้ออกแบบจุดติดตั้งไว้
ส่วน terma เก่ากว่าประสิทธิภาพด้อยกว่า(หมุนไม่ได้)แต่เบากว่าและสามารถติดตั้งให้ป้องกันเรือฟรีเกตชั้นนเรศวรของเราได้มีประสิทธิภาพมากว่า sagem (เพราะเรือเราเป็นรุ่นเก่าไม่ใช่รุ่นใหม่เช่น เรือชั้นลาฟาแยตของฝรั่งเศสหรือเรือชั้นformidable ของสิงค์โปร์ที่ออกแบบจุดสำหรับติดตั้งsagem ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดมาตั้งแต่ต้น )
ขอบคุณสําหรับข้อมูลครับ อ่านภาษาอังกฤษไม่ออก แต่ภาพประกอบชัดเจนดี
เข้ามาอ่านครับ
แต่ไม่ออกความเห็น
จะหมุนหรือไม่หมุนระบบมันก็คลุมทั้งลำเรือใด้อยู่แล้ว ปัญหาคือระบบอาวุธโจมตีเรือ ณ.ปัจจุบันมันไม่ใด้จะหลอกกันใด้ง่ายๆอีก MM-40/hapoon B-2/C-802 /RBS-15 mk3 ล้วนแต่มีระบบแยกแยะแสกนเป้าหมายและระยะที่ไกลขึ้น ควรเน้นการทำลายทั้งระยะกลางและไกล้มากกว่าการลวงเป้า ..
ขอดักคอหน่อยครับ งดการเมืองสำหรับท่านที่กำลังจะลากโยงเข้าไปด้วยนะครับ ผมมั่นใจว่าหลายๆคนต้องการเหตุผล ข้อเท็จจริงมากกว่า
จากบทเรียนในอดีต มีหลายชาติเคยรุ่งเรือง แต่พอไม่มีสงครามภายนอก ก็เกิดปัญหาทะเลาะเบาะแว้งกันเองในชาติ จนทำให้ถึงกับสิ้นชาติ อย่าให้ไทยเราต้องเป็นแบบนั้นเลยครับ รักชาติไทย เราต้องสามัคคีกันให้มากๆครับ
เข้ามาอ่านครับ ^^
เห็นด้วยครับงดการเมืองเดี๋ยวมันจะเสียบรรยากาศ
ต้องรอดูครับว่าทาง ทร.จะชี้แจงอย่างไร ถ้าในความเห็นส่วนตัวระบบของซาเจ้มน่าจะประสิทธิภาพดีกว่าอยู่แล้วจากข้อมูลที่เพื่อนสมาชิกเอามาลงเปรียบเทียบ แต่ถ้ามันติดที่พื้นที่การติดตั้งจริงก็ต้องใช้ระบบที่มันสามารถติดตั้งได้ง่าย และเสริมด้วยพวกต่อต้านระยะประชิดอีกทีหนึ่งจะดีกว่าครับ เพื่อให้ระบบมันเสริมกัน
ฝ่ายกล่าวหา กล่าวหาว่า รมว กห. ไปสั่งเปลี่ยน Spec ระบบ จากระบบ A ซึ่งเป็นของดีทันสมัย เป็นระบบ B ซึ่งของที่ดีน้อยกว่า (ตามความเห็นของผู้อภิปราย)
ฝ่าย รมว ชี้แจงว่า ระบบ A ทันสมัยกว่าก็จริง แต่ไม่เหมาะสมกับเรือของเรา สู้ระบบ B ที่แม้จะไม่ทันสมัยเท่า (ตรงที่มันหมุนไม่ได้) แต่เข้ากันได้กับเรือของเรามากกว่า เพราะฉะนั้น ใช้ระบบ B จึงดีกว่าใช้ระบบ A
ผมสรุปประเด็นได้ราวๆ นี้ ไม่รู้ว่าถูกไหมนะครับ
ในทางเทคนิค ระบบ A จะดีกว่า ระบบ B หรือจะเหมาะสมที่จะนำมาติดตั้งบนเรือของเรากว่าระบบ A หรือไม่ เรื่องนี้ ผมขอข้ามเพราะไม่มีความรู้ครับ แต่มีประเด็นทางการบริหารที่ผมมองว่าน่าจะต้องพิจารณาด้วย คือ
การกำหนดว่า อยากได้ระบบ A มาติดตั้งบนเรือของเรา ได้ผ่านการพิจารณาจาก ทร. มาแล้ว และได้มีการขอตั้งงบประมาณเพื่อการจัดซื้อระบบ A มาแล้วใช่หรือไม่ หากใช่ก็จะมีคำถามว่า
- ทร. ควรทราบตั้งแต่แรกแล้วหรือไม่ ว่า เรือชุดนี้ เหมาะสมหรือไม่เหมาะสมที่จะติดตั้งระบบ A
- หาก ทร. พิจารณามาแล้วว่าเหมาะสม การสั่งให้ปรับเปลี่ยนมาเป็นระบบ B นี้เป็นการดำเนินการในชั้นใด
- ผู้ที่สั่งให้มีการปรับเปลี่ยนมีอำนาจหรือไม่ ทำโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
- เมื่อเปลี่ยนมาเป็น B แล้ว งบประมาณที่ได้ขอตั้งไว้เดิม ทำอย่างไร
ประเด็นน่าจะอยู่ตรงนี้ ซึ่งก็คงต้องรอให้ทาง ทร. ชี้แจงต่อไปครับ
ขอบคุณทุกท่านครับ ที่นำข้อมูลซึ่งเป็นความรู้ในเชิงลึกมานำเสนอ หลาย ๆ ท่านที่มาแสดงความคิดเห็นก็เป็นผู้รู้จริง รวมทั้งท่าน Naris ก็เป็นฝ่ายตรวสอบอยู่ด้วย ถ้าตัดความขุ่นเคืองในอารมณ์ และความรู้สึกในอดีตออกไป กระทู้ที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ความรู้อย่างมากครับ ใจเย็น ๆ รอฟังเหตุผลจากทุกฝ่ายครับ
ปกติระบบป้องกันภัยทางอากาศระยะใกล้ระบบเดียวไม่มีหรอกครับที่คลุม 360 องศา ( นอกจากเอาไปติดบนยอดเสาอากาศ ฮา)
ต้องติดอย่างน้อยก็สองตัวสองข้าง ก็ไม่ถึง 360 องศาอยู่ดี ได้แค่เกือบๆ
ถ้าไปดูกราฟฟิก เรือรบชั้นนำที่มีอาวุธครบๆจะเห็นเลยว่าต้องติดหลายระบบให้มันครอบคลุมทุกด้าน
ลิงค์ภาพครับ ต้องสโครลลงไปหน่อยนะครับถึงจะเห็นระบบป้องกันภัยทางอากาศ
http://www.militaryphotos.net/forums/showthread.php?144822-Large-aircraft-carriers-compared
ผมหาได้แต่ของเรือบรรทุกเครื่องบิน
เข้ามาอ่าน แต่อยากจะบอกว่า เป้าลวง คือลวงให้อาวุธนำวิถีหักเหออกไปจากเรือ ไม่ใช่เอาไว้สกัดกั้น ไม่ได้ยิงเข้าหาตัวจรวด แต่ยิงออกไปแล้วจะต้องล่อจรวดให้พ้นจากตัวเรือ การทำงานต้องแม่นเป๊ะหรือไม่ ต้องครอบคลุม 360 องศาหรือไม่ บางอย่างเกินความจำเป้นหรือไม่ ก็ต้องศึกษาข้อมูลกันให้ละเอียด จะหวังว่าแต่ละระบบจะมีประสิทธิภาพเต้มร้อยก็ไม่ใช่ทั้งหมด ข้อมูลที่ระบุกับการใช้จริง แผนกับการติดตั้งจริงบางอย่างมันก็มีการแก้ไข ใช้จริงเป้าลวงอาจจะแป็กลวงไม่หลุดก็หรือเป้าลวงล่อได้ชัร์อันนี้มีการทดสอบมาอย่างไร ผมสนใจตรงนี้มากกว่าว่าจะต้องเป็นแท่นหมุนทันสมัยหรือจะต้องครอบคลุม 360 องศา เพราะอย่างไรเสีย ระบบนี้ก็ต้องยิงออกไปให้พ้นตัวเรือจะในลักษณะใดก็ได้ให้จรวดนำวิถีมันเห็นและหลงกล แต่ว่าการที่มีการทักท้วงในการจัดจัดหาแบบนี้ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีและถูกต้องและเป็นหน้าที่ ผู้จัดหาก็ออกมาชี้แจงก็เป็นเรื่องที่จะต้องดำเนินต่อไปเพื่อความโปร่งใส แต่ไม่ได้ให้มาเถียงกันทางการเมืองและนำมาเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งครับ
ที่ท่านเด็กทะเลว่ามา ผมก็สงสัยเหมือนกันแหละครับ ปกติ ก่อนที่อาวุธที่เป็นภัยคุกคามจะมาถึงเรือ เราควรจะต้องตรวจพบก่อนใช่ไหมครับ (ถ้าตรวจไม่พบ จะมีระบบอะไรป้องกันตัว ก็ไม่น่ารอดหรอกครับ) แล้วถ้าตรวจพบก่อน เรือไม่ได้อยู่นิ่งๆ นี่หน่า เราจะหันลำเรือ ไปในทิศทางที่ระบบป้องกันจะทำงานได้ดี เพื่อรับภัยคุกคามไม่ได้หรือครับ
คิดแบบชาวบ้านๆ ผมว่า น่าจะทำได้นา (อุปมาว่า คงไม่มีใครหรอกที่พูดว่า ระบบเป้าลวงของ บ. มันไม่ครอบคลุม 360 อาศา เพราะมันอยู่เฉพาะที่ตูดเครื่องบิน อะไรแบบนั้น)
คุณ : fantom
"จะ หมุนหรือไม่หมุนระบบมันก็คลุมทั้งลำเรือใด้อยู่แล้ว ปัญหาคือระบบอาวุธโจมตีเรือ ณ.ปัจจุบันมันไม่ใด้จะหลอกกันใด้ง่ายๆอีก MM-40/hapoon B-2/C-802 /RBS-15 mk3 ล้วนแต่มีระบบแยกแยะแสกนเป้าหมายและระยะที่ไกลขึ้น ควรเน้นการทำลายทั้งระยะกลางและไกล้มากกว่าการลวงเป้า"
ผมเห็นด้ัวยครับ แต่ไม่ทั้งหมด
การป้องกันเรือจากอาวุธนำวิถีมีทั้งแบบ soft kill และ hard kill ซื่งไม่ว่าวิธีใดก็ไม่ได้ผล 100% ต้องใช้ควบคู่กันไปทั้ง
- การใช้ระบบอิเล็คทรอนิค
- การใช้เป้าลวง
- การใช้อาวุธทำลาย
และการทำลายต้องใช้อาวุธที่มีระยะยิงใกล้พอสมควรด้วย การปล่อยให้อาวุธนำวิถีมาระเบิดใกล้เรือไม่ใช่เรื่องที่ดีนัก
ประกอบกับอาวุธนำวิถีรุ่นใหม่ๆสามารถกำหนดเส้นทางการเดิืนทางได้ด้วย (set way point) จึงสร้างปัญหาให้กับการป้องกันเรือได้มากทีเีดียว
ส่วนตัว มองว่าการใช้อาวุธนำวิถี 4 ลูก (set way point ให้เข้ามา 4 ทิศ) เพียงเพื่อจมเรือฟริเกตลำเดียว ยังไงก็คุ้มค่า เมื่อเทียบราคากันแล้ว
เป็นธรรมดาของการเมือง ถ้าติดTerma แล้วเปลี่ยนมาเป็น Sagem ก็จะโดนว่าแพงขึ้นคุ้มค่าหรือไม่(มีอะไรหรือเปล่า แหงๆ) ครอบคลุม360องศาหรือไม่ ตัวเรือจะรับน้ำหนักได้หรือไม่ ก็กลับไปกลับมาแค่นี้ จบจ้ะ
ขอบคุณครับท่าน FatBoy สำหรับข้อมูลเรื่องปัญหาที่เกิด พูดง่ายๆปัญหาทางเทคนิคที่คาดไม่ถึงจากการทำงานจริงจนจำเป็นต้องเปลี่ยนระบบกลางทาง แต่ขั้นตอนของระบบราชการทำให้มันดูยุ่งยากขึ้น และมาบานปลายเมื่อการเมืองลากเอามันมาใช้
คิดว่าการแถลงและแจงข้อสงสัยของทร.คงลดปัญหาที่เกิดขึ้นได้ครับ
จากปัยหาเรื่องเมื่อกองเรือถูกโจมตีด้วยอาวุธนำวิถีต่อตีเรือ ซึ่งยากแก่การต่อต้าน เพราะมีเวลาตัดสินใจน้อยมาก จะจัดการง่ายขึ้นเพราะเราสามารถมองเห็นแหล่งยิงมันออกมาได้ก่อน ทำให้มีเวลาตัดสินใจนานขึ้น ดังนั้นตลอดเวลาผมจึงสนับสนุนการมีกำลังทางอากาศประจำติดตัวกองเรือไปตลอดเวลาครับ นั่นคือการมีเรือบรรทุกบ. และเครื่องบินประจำเรือทำให้งานแบบนี้ง่ายขึ้น
ใจจริงๆอยากให้มีการลงทุนตรวจจับเพิ่มเติมเมื่อการเงินสะดวก นั่นคือระบบตรวจจับและติดตามด้วยดาวเทียม และระบบสถานีดักฟังใต้ใน ทำให้กองเรือของเราทราบภัยคุกคามได้แทบตลอดเวลาเมื่อต้องการ แต่มันเป็นการลงทุนระบบที่แพงมากกว่าราคากองเรือบรรทุกบ.ทั้งหมดของเราในตอนนี้ซะอีกด้วยซ้ำครับ
ภาพจาก ทวิตเตอร์ การชี้แจงของ เสนาธิการทหารเรือ
พล.ร.อ.จักรชัย ภู่เจริญยศ เสนาธิการทหารเรือ แจง เหตุเปลี่ยนสเปกแท่นยิงเป้าลวง จากแบบหมุนได้มาเป็นแบบหมุนไม่ได้ เนื่องจากไม่เหมาะกับติดตั้งบนเรือรบไทย และจะทำให้ประสิทธิภาพลดลง แถมประหยัดงบได้ 100 ล้านบาท...
พล.ร.อ.จักรชัย ภู่เจริญยศ เสนาธิการทหารเรือ แถลงข่าวชี้แจงโครงการเรือสนับสนุนปฏิบัติการทางเรือ และโครงการปรับปรุงเรือฟรีเกต ชุดเรือหลวงนเรศวร หลังจากถูกนายศิริโชค โสภา ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ หยิบยกมาอภิปรายไม่ไว้วางใจ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รมว.กลาโหม โดยยืนยัน ว่าการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ ของกองทัพเรือ คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของทางราชการ และผลประโยชน์ของชาติเป็นหลัก และถูกต้องตามระเบียบของทางราชการ
ส่วนการเปลี่ยนสเปกแท่นยิงเป้าลวง จากแบบหมุนได้มาเป็นแบบหมุนไม่ได้ ของเรือชุดนเรศวร เนื่องจากใช้พื้นที่มาก ทำให้ต้องรื้อถอนและย้ายอุปกรณ์บนดาดฟ้าเรือออก กระทบต่อการขึ้นลงของเฮลิคอปเตอร์ และระบบควบคุมการยิง ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพลดลง 50 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ การเปลี่ยนระบบเป้าลวง จากบริษัท SAGEM มาเป็นของบริษัท TERMA ยังจะทำให้ประหยัดงบประมาณได้อีกกว่า 100 ล้านบาท แต่ประสิทธิภาพไม่แตกต่างกัน และไม่ใช้ระบบที่ล้าสมัย
ส่วนเรื่องการจัดหาเรือสนับสนุนปฏิบัติการทางเรือ 3 ลำ ที่ถูกร้องเรียนต่อ สตง. กระบวนการคัดเลือกบริษัทมาร์ซัน ซึ่งเป็นผู้ชนะการประมูล ไม่โปร่งใส ยืนยัน ทุกอย่างเป็นไปอย่างระเบียบราชการทุกประการและพร้อมจะชี้แจงต่อ ป.ป.ช. ด้วย
ภาพรวม ของการปรับปรุงเรือชั้น นเรศวร
(ในเรื่องระบบ โซนาร์ เป็นความเห็นส่วนตัวครับ)
เทียบเคียงระบบอาวุธต่าง ๆ กับ เรือสมรรถนะสูงของ ประเทศอื่น
ระบบอาวุธประจำเรือ
แก้ไขเพิ่มเติม
ของระบบป้องกันภัยจาก อาวุธนำวิถีโจมตีเรือ และ ตอร์ปิโด จากระบบเป้าลวง Terma + ES-3601 ESM
ภาพรวมอีกครั้งครับ...น่าจะใกล้เคียงกว่า
ตามทฤษฎีแท่นหมุนควรจะมีประสิทธิภาพสูงกว่า เพราะยิงเป็นแพทเทิร์นไปในตำแหน่งที่ต้องการได้เลยโดยหมุนแท่น ไม่ต้องหมุนเรือ ซึ่งย่อมใช้เวลานานกว่า แต่ในเมื่อเป็นเรือเก่าที่ไม่ได้ออกแบบไว้ให้ติดแท่นหมุนในตำบลที่ที่เหมาะสมคือยิงได้รอบตัวโดยไม่ติดเสา เสาอากาศ แท่นปืน ตัวเรือเหนือดาดฟ้าฯลฯ เราจะตะบี้ตะบัน(คงต้องใช้คำนี้)ติดเข้าไปเพื่อให้เหมือนเขียนแผนครั้งแรก ก็ยัิ่งทำให้มันใช้งานไม่ได้มากขึ้น(คงเลวกว่าด้วยซ้ำ)ทั้งที่จ่ายเงินแพงกว่า ผมว่าถ้าจะมีการผิดพลาดก็ตอนที่ทำแผนปรับปรุง น่าจะพิจารณาได้เลย ว่าควรจะติดแบบใหนเพราะเรือก็จอดอยู่ตรงนั้น ไปดูที่เรือก็เห็น ผมจึงคิดว่าถึงตอนนี้แล้ว น่าจะต้องติดแบบประจำที่ จะให้ทำอย่างอื่นจะทำได้อย่างไร และแบบประจำที่นั้นก็ใช้งานกันมากมาย หลายลำรวมทั้งของ ทร.ไทยด้วย
แท่นยิงแบบหมุนนั้น มีค่าใช้จ่ายเริ่มแรกสูงและที่ตามมาก็คือค่าบำรุงรักษาแท่นยิง กับราคาลูกที่อยู่ในแมกกาซีน ซึ่งต้องเปลี่ยนเป็นชุดๆเมื่อเก็บไว้นานๆ ราคาแพงมหาศาล ลองไปถามราคาลูกดาเก้ที่ใช้ใน ทร.ดูซิครับว่ามันแมกกาซีนหนึ่งกี่ล้าน แท่นยิงประจำที่มันเปลี่ยนเป็นลูกๆได้ ของพวกนี้เหมือน Ink Jet Printer นะครับ ตัวเครื่องพิมพ์ราคาประมาณหนึ่ง แต่ค่าหมึกไม่กีครั้งก้จะเท่าตัวเครื่องแล้ว ต้องชั่งน้ำหนักเหมือนกันว่าเรา operate อยู่ใน environment ที่มีภัยคุกคามที่ sophisticate ระดับใหน คุ้มค่าการลงทุนหรือไม่ แต่ถ้าเรือต่อใหม่ก็ OK ลองดูเรือชั้น SAAR 5 ของอิสราเอล เครื่องยิง chaff และ CIWSเต็มลำ ยังถูกอวป. C-802 เมื่อ ปี2006 มันอยู่ที่ความพร้อมของเรือขณะนั้นด้วยครับ
ส่วนใหญ่ที่เป็นข่าวเรื่องการทุจริตใน ทร.เวลาจัดซื้ออาวุธนั้น ก็เป็นเพราะคนใน ทร.ที่เห็นต่างจากคณะกรรมการ อาจจะอยู่ในคณะกรรมการบริหารโครงการ หรือไม่อยู่ หรือเป็นคนที่สนิทสนมกับบริษัทที่ไม่ได้รับเลือก ป้อนข้อมูลระดับลึกมากให้บริษัทนั้นนำไปร้องเรียน เรื่องบางเรื่องถึงจะเป็นข้อมูลของบริษัทที่ดูเหมือนจะเปิดเผย แต่บางส่วนก็ไม่ควรนำออกสู่สาธารณะชน เช่นเรื่องนี้ ถือเป็นความอยู่รอดของเรือ รู้เซตเตอร์ในการยิง มุมอับ จำนวนแท่น ลูกเป้าลวงมีแบบใหนบ้าง แม้แต่ข้อมูลของบริษัทเขาก็ให้เฉาะกองทัพที่ซื้อ เป็น company confidencial หรือ confidential/secret released to (Thailand) นำมาเปิดไปหมด ถ้าไม่เปิดก็กล่าวหาว่าปกปิดความผิด อย่างรายการนี้ ราคาเป็นร้อยล้านเท่านั้น ไม่ใช่ หลายพันล้าน หลายหมื่นล้าน หรือแสนล้านแบบจำนำข้าว แต่เอามาเป็นประเด็นเล่นได้หลายวัน เพราะต้องการเล่นงาน รมว.กห. มากกว่า ทร. แต่ถึงอย่างไร ทร.ก้แถลงข่าวไปแล้วครับ
เรื่องนี้...คนจำนวนมาก"หลงประเด็น"
เรื่องนี้ไม่ต้องมาพูดไม่ต้องมาอธิบายกันเรื่องเทคนิค อาวุธ อีกแล้ว เทคนิคอาวุธมันจบไปก่อนกำหนด TOR แล้ว
ช่างสาขาต่างๆของกองทัพเรือศึกษาพิจารณาแล้วตรวจสอบแล้ว เลือก SAGEM และกำหนดลงใน TOR เอง ใช่หรือไม่
ดังนั้นตอนนี้ต้องพูดกันเรื่องกฎหมายการพัสดุ---จัดซื้อจ้าง
TOR ก่อนหน้านี้บอกว่า SAGEM ก็แปลว่า ต้อง SAGEM
เมื่อ SAGEM มีส่วนให้ บริษัทใดชนะ
ก็ไม่สามารถเปลี่ยน TOR หลังการตัดสินเลือกบริษัท
ผมเห็นด้วยกับคุณ boonrat ส่วนหนึ่งนะครับ ว่าการอภิปรายเรื่องนี้ ฝ่ายแค้น เอ้ย ฝ่ายค้านรวมทั้งบริษัทที่ร้องเรียนมุ่งประเด็นว่า ทร.ทำไม่ถูกต้องตามระเบียบฯ บอกว่าจะเอาบริษัทนี้แล้วไม่เอา ไม่ได้พิจารณาเรื่องเทคนิคกันลึกซึ้งอะไร ผมเองและคนส่วนใหญ่ไม่ทราบรายละเอียดจริงๆว่าขั้นตอนที่เปลี่ยนแบบอาวุธนั้น อยู่ในขั้นตอนใหน และเมื่อจะเปลี่ยนได้ทำขั้นตอนถูกต้องเช่นเสนอขอนุมัติเปลี่ยนแปลงจากผู้มีอำนาจตามที่ควรจะเป็นหรือไม่ เพียงแต่ได้รับทราบว่า บ. Saab ซึ่งเป็นบริษัทหลักในการปรับปรุงเรือ เป็นคนเสนอขอเปลี่ยนในขั้นตอนทำรายละเอียดเพราะเห็นว่าติดแท่นหมุนแล้วจะไม่ได้ผล ถ้าจะล้มโครงการเพราะเรื่องนี้เรื่องเดียวแล้วทำข้อพิจารณาใหม่ จะคุ้มหรือไม่ (รายการ300ล้านล้มไม่รู้กี่พันล้าน)นี่พูดแบบไม่รู้จริงๆนะครับว่า ทร.เขียนสเปคไว้ชัดเจนตอนออก TOR ว่าเป็นแท่นหมุนหรือเป็นแท่นหมุนของ Sagem เลยหรือครับ และอย่างที่ผมว่าเห็นด้วยส่วนหนึ่งก็คือ ในท้ายที่สุดแล้ว(นี่แยกส่วนมาคิดอีกครั้งในด้านเทคนิคและความคุ้มค่า)ทร.ควรจะยอมติดแท่นหมุนของ Sagem เพราะเขียนไว้แต่แรก โดยไม่เสนอขอนุมัติแก้ไข ทั้งที่รู้ว่าจะใช้งานไม่ได้ดีเท่าแท่นติดประจำที่+แพงโดยใช้งานได้ 50-60%อย่างนั้นหรือ อันนี้เป็นเรื่องที่ ผู้บังคับบัญชาต้องตัดสินใจ ผมคิดว่าถ้าท่าน Boonrat เป็น รมว.กห. ท่านคงเลือกที่จะชะลอโครงการแล้วเริ่มใหม่ (ซึ่ง งป.อาจหายไปแล้ว )
กว่าจะได้ TOR ช่างทุกสาขาต้องศึกษา แล้วกำหนดว่าจะเลือกอุปกรณ์อะไรบ้าง--ตรงความต้องการทางการรบ?--ติดได้หรือติดไม่ได้--ติดตั้งที่ไหน--รายละเอียดหนาเป็นปึกๆ-------ไม่ใช่เหตุบังเอิญ
บริษัทต่างๆรับทราบแล้วเข้ามาแข่งขัน จนได้บริษัทที่เสนอราคาต่ำสุด
แต่ต่อมาภายหลังบอกว่าอุปกรณ์สำคัญบางตัวไม่เหมาะสม--ก็อาจมีข้อสงสัยว่า "ทำ TOR ครั้งแรกมีข้อพิจารณาอย่างไร"
ไม่อยากถามก้าวล่วงไปลึกกว่านี้
ใจผมนะ-------ทำให้เหมือน TOR-----ครับ
แถมอีกนิดนึง----เรื่องนี้ว่าตามกฎหมายแล้ว---ไม่มีโจทย์---ไม่มีผู้เสียหายมาร้องเรียนครับ
พูดตรงๆคือ---ไม่มีปัณหา
TOR สามารถเปลี่ยนแปลงภายหลังได้นะครับ ถ้ามีเหตุผลอันสมควร
คำสั่งกระทรวงกลาโหม ที่ ๓๙/๓๙ เรื่อง การพัสดุ
เพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับการพัสดุของกระทรวงกลาโหม เป็นไปด้วยความเหมาะสมเรียบร้อย และสอดคล้องกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.๒๕๓๕ และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๘ จึงให้ปฏิบัติดังนี้
http://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j& ... U7LaiOzssw
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ข้อ ๑๓๖ สัญญาหรือข้อตกลง เป็นหนังสือที่ได้ลงนามแล้ว จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงมิได้ เว้นแต่การแก้ไขนั้น จะเป็นความจำเป็น โดยไม่ทำให้ทางราชการ ต้องเสียประโยชน์ หรือเป็นการแก้ไข เพื่อประโยชน์แก่ทางราชการ ให้อยู่ในอำนาจของ หัวหน้าส่วนราชการ ที่จะพิจารณาอนุมัติ ให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ แต่ถ้ามีการเพิ่มวงเงิน จะต้องปฏิบัติตามกฏหมาย ว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือขอทำความตกลง ในส่วนที่ใช้เงินกู้ หรือเงินช่วยเหลือ แล้วแต่กรณีด้วย
การแก้ไข เปลี่ยนแปลงสัญญา หรือข้อตกลง ตามวรรคหนึ่ง หากมีความจำเป็น ต้องเพิ่ม หรือลดวงเงิน หรือ เพิ่มหรือลดระยะเวลาส่งมอบของ หรือระยะเวลาในการทำงาน ให้ตกลงพร้อมกันไป
สำหรับการจัดหา ที่เกี่ยวกับความมั่นคงแข็งแรง หรืองานเทคนิค เฉพาะอย่าง จะต้องได้รับ การรับรอง จากวิศวกร สถาปนิก และวิศวกรผู้ชำนาญการ หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งรับผิดชอบ หรือสามารถรับรอง คุณลักษณะเฉพาะ แบบและรายการ ของงานก่อสร้าง หรืองานเทคนิค เฉพาะอย่างนั้น แล้วแต่กรณีด้วย
http://www.tu.ac.th/internet/ref/regulations/gbid/
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
ส่วนทำไมถึงออก TOR พลาดนั้นคงให้ ทร. มาตอบเองครับ
แต่โดยปกติการออก TOR มีโอกาสพลาดนิดพลาดหน่อยได้ครับ เพราะเป็นการศึกษาข้อมูลของผู้ซื้อเอง ส่วนผู้ขายก็มักจะใช้ประสบการณ์ตอบว่าได้หรือไม่คราว ๆ โดยอาจจะมีการถามรายละเอียด หรือขอเอกสารจากผู้ผลิตอุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ มาบ้างเท่านั้น ถึงแม้ว่าจะมีการเชิญผู้เชี่ยวชาญมาดูหน้างาน ก็เถอะแต่ก็คงหวังให้เก็บรายละเอียดทุกจุดภายในเวลา วันสองวัน คงเป็นไปไม่ได้ครับ ก็คงได้แค่ Focus ที่จุดที่เป็นสาระสำคัญเท่านั้น ในกรณีนี้ก็น่าจะเป็นระบบอำนวยการรบ ESSM และเรดาร์
ถ้ายังไม่ประกาศผลผู้ชนะ Bidding ไม่มีใครทำอะไร
ถ้ายังไม่รู้ผล ก็จะยังไม่มีการคำนวณ วิเคราะห์ทางวิศวกร หรือตรวจสอบความเข้ากันได้ของ H/W และ S/W อย่างละเอียดครับ
ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น เพราะเรื่องพวกนี้ต้องใช้เงินและเวลามาก ไม่มีใครอยากทำงานฟรี ๆ หลอกครับ ขืนทำแบบละเอียดทุกงานก็คงเจ๊งกันพอดี Bidding แล้วไม่ได้ก็ทำงานฟรีนะครับ
ถ้าอยากให้ทำละเอียดก่อนก็ได้ครับ ง่าย ๆ คือก็จ่ายมาแพงมากขึ้นแค่นั้นแหละครับ (แต่ก็เห็นยังต้องมีแก้บ้างนะครับ) โครงการใหญ่ ๆ เท่านั้นที่ทำแบบนี้ได้
เรื่อง TOR ผมว่าก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไม่ได้ครับ...ถ้าเมื่อเหตุการณ์เปลี่ยน...และในส่วนนี้ ผมว่าไม่ใช่สาระสำคัญมากนัก...
ซึ่ง ถ้าผู้รับสัญญา ดึงดัน ว่าจะติด Sagem..แล้วมันจะม่ีประโยชน์อะไรล่ะครับ...เมื่อ คณะกรรมการ พิจารณาดูแล้วว่า...ติดได้ แต่มันมีผลกระทบที่จะลดประสิทธิภาพ...ก็ควรจะเลือกสิ่งที่ดีกว่า...
ให้ดู BTR-3E เป็นตัวอย่างครับ...
ยิ่งกว่า SAGEM เยอะครับ...ก็ไม่เห็นจะยกเลิกอะไร...ก็ทำเรื่องขอเสนอเปลี่ยนเครื่องยนต์...
ทำไม ไม่ล้มประมูลไปเลยล่ะ...เพราะ ตราสัญลักษณ์ไม่ตรงกับ TOR...?
แถมยังมีการทดสอบเครื่อง ก่อนผลิตอีก...
ไม่เห็นจะผิดระเบียบราชการเลย...ก็รับมอบมาครบใน เฟสแรกแล้ว...
ผมคิดว่า คงต้องดูสาระสำคัญมากกกว่าครับ...
และที่ผ่านมา...กองทัพเรือ จะคัดเลือกจาก คุณลักษณะที่ตรงความต้องการ มากกว่า เรื่องราคา ครับ...
เกือบทุกครั้งที่ กองทัพเรือ เลือกแบบเรือที่ราคาสูงกว่า งบประมาณ...ไม่ได้สนใจว่าใครเสนอราคาต่ำสุด...เมื่อคัดเลือกแบบแล้วก็จะทำการต่อรองราคา เพื่อให้ผู้เสนอ ลดราคาลงมาให้อยู่ในงบประมาณ...
ถ้าผู้เสนอประมูล ไม่ยอมลดราคา ถึงจะคัดเลือกแบบรองลงไป...
ในกรณีนี้ ผมว่าก็เช่นเดียวกัน...
กองทัพเรือ คัดเลือกที่แบบตรงความต้องการ ไม่ใช่ คัดเลือกจาก ใครเสนอราคาต่ำสุด ครับ...
กฎหมายที่อ้างมาน้ะ--ใช่ครับ---แต่ตอนพิสูจน์ถึงความจำเป็นมันยากมาก เห็นรึยังล่ะ
อ้างแต่กฎหมาย แต่ถ้ากรณีโดนร้องเรียนมันจะเสี่ยงทำให้หยุดโครงการและกระทบหลายอย่าง
ก็ดูตัวอย่างเอาแล้วกัน
เรื่องสองเรื่องนี้อาจไม่จบแค่นี้
คนที่ชำนาญการซื้อของหลวง--เค้าไม่นิยม "เรียกแขก"
เงียบๆไว้ดีกว่า
ผมว่าคุณ boonrat มีปมอะไรกับกองทัพเรือหรือคนในกองทัพเรือมากกว่า กรณีนี้เฉพาะเรื่องนี้เป็นเศษส่วนเล็กนิดเดียวในโครงการใหญ่ อย่างที่คุณ Juldas ว่า โครงการ BTR-3E มูลค่ามากกว่านี้มหาศาล และเปลี่ยนองค์ประกอบหลักของยาน ยังผ่านไปได้ โครงการของ ทร.ทุกโครงการสะดุด ก็เพราะอดีตคนของ ทร.เองครับ ต้องปล่อยวางเสียบ้าง
เพิ่มเติมข้อมูล เรื่อง Sonar จากเว๊ป TAF
แก้ไขภาพ
..เป็นกระทู้อุ่นๆไปซะแล้ว..
ประเด็นคือทัพเรือกำหนดใว้แต่แรก โดยที่ต้องการให้เรือมีความทันสมัยและประสิทธิภาพสูงสุด
ผู้รับโคลงการไปมีความเชี่ยวชาญสูง ในรายละเอียดต่างๆดูความเหมาะสมและประสิทธิภาพสูงสุด เลยเสนอปรับเปลี่ยน
ฉะนั้นเราก็จะใด้ระบบเป้าลวงที่ทำงานใด้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด มากกว่า ระบบเป้าลวงที่มีความทันสมัย
น่าจะเป็นเช่นนี้แล..
อย่างท่าน น่าคิด ว่าใว้ก็ถูก ทั้ง soft & hard มีความจำเป็นต้องทำงานประสานกัน แต่ก็ขอเชียร์ระบบแกตลิ่งค์นะครับ ถึงแม้จะเคยพลาดมาบ้าง
ในส่วนนี้อยากให้ทัพเรือและทัพอากาศ ร่วมมือกันพัฒนา โดรน ลักษณะเดียวกันหรือไกล้เคียงกับ BQM-74 ของสหรัฐ
ไม่ ว่าจะเป็นเรื่องการกำหนดวางวงโคจรหรือ ระดับเพดานบิน ความเร็วที่ไกล้เคยงกับ อวป ฯลฯ นั้นก็เพื่อการซ้อมรบที่มีประสิทธภาพสูงสุดของกองทัพ