หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ภาพจากงานสาธิตการยิงปืนใหญ่ ณ พลับพลาสาธิตเขาพุโลน จ.ลพบุรี

โดยคุณ : Ricebeanoil เมื่อวันที่ : 23/11/2012 11:58:03

 

เมื่อวันที่ 12 พ.ย. 55 ที่ผ่านมา ศูนย์การทหารปืนใหญ่ ได้สาธิตการยิงปืนใหญ่ ณ พลับพลาเขาพุโลน จ.ลพบุรี ให้กับคณะนักศึกษาหลักสูตรต่าง ๆ พร้อมทั้งคณาจารย์และเจ้าหน้าที่อื่น ๆ เข้าเยี่ยมชมการบรรยายสรุป และชมสาธิตอาวุธยุทโธปกรณ์ และอำนาจการยิงของเหล่าทหารปืนใหญ่ ซึ่งประกอบด้วยระบบค้นหาเป้าหมาย ระบบอำนวยการยิง ระบบควบคุมและแจ้งเตือนภัย ระบบอาวุธ – กระสุน และระบบควบคุมบังคับบัญชา รวมทั้งสาธิตการยิงปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน ทางฝ่ายวิเคราะห์เทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป. ได้มีโอกาสเข้าร่วมรับชมการสาธิตดังกล่าว จึงเก็บภาพ และข้อมูลมาฝากกันตามรายละเอียดต่อไปนี้

 

 

รถบรรทุกและบรรทุกจรวด

ข้อมูลทั่วไป: บรรทุกตัวจรวดพร้อมเครื่องกันกระแทกจรวด, บรรทุกจรวดและบรรจุจรวดใส่ท่อยิง, ยกเลิกการบรรจุจรวดจากรถแท่นปล่อยจรวด
ข้อมูลทางเทคนิค:
 
รถบรรทุกพร้อมแขนกล (Crane), ระบบบรรจุและยกเลิกบรรจุ, ระบบไฮโดรลิกและควบคุมด้วยระบบไฟฟ้า, ระบบควบคุมปฏิบัติการของไฮโดรลิก, รถบรรทุกเฉพาะการบรรทุก/บรรทุกจรวด
ข้อมูลทางเทคนิค:

น้ำหนักบรรทุก รวมจรวด 4 นัด 27,100 กก., ไม่รวมจรวด 24,100 กก.
ความเร็วในการเคลื่อนที่     75 กม./ชม.
ขนาดของตัวรถ                11010L x 2500W x 3310H mm
จำนวนบรรทุกจรวด            4 นัด
วิธีการบรรจุจรวด               ควบคุมด้วยไฟฟ้าใช้ไฮโดรลิค
เวลาในการบรรจุจรวด         >20 นาที
พื้นระดับในการบรรจุจรวด   ลาดเอียงน้อยกว่า 3 องศา
พลประจำรถ                     3 นาย
น้ำมันเต็มถัง                     300 ลิตร

 

 

 

จรวดหลายลำกล้องแบบ DTI-1

ข้อมูลทั่วไป: เป็นอาวุธหลักใช้ในการทำลายเชิงรุก บนพื้นที่เป้าหมายที่อยู่ลึกในพื้นที่ข้าศึก เช่น ค่ายทหาร สนามบิน คลังน้ำมัน ศูนย์โทรคมนาคม โรงงานซ่อมสร้างทางทหาร ศูนย์บัญชาการทางการเมืองและเศรษฐกิจ และเป้าหมายทางทหารที่สำคัญอื่น ๆ
ข้อมูลทางเทคนิคและยุทธวิธี:
เวลาตอบสนองการยิง 20 นาที
ระบบแท่นปล่อย               Salvo or single launch
ระยะยิงไกลสุด                180 กม.
ระยะยิงใกล้สุด                 60 กม.
ความเร็วเวลาแล่นสูงสุด      5.2 มัค
ความยาวจรวด                  6.376 ม.
เส้นผ่าศูนย์กลางจรวด        302 มม.
น้ำหนักมวลรวมของจรวดเมื่อทำการยิง    724 ก.
น้ำหนักมวลรวมองหัวรบ      150 กก.
ชนิดของหัวรบ                  ZDB-2B (หัวรบชนิดระเบิด)
การปฏิบัติงานภายใต้สภาวะแวดล้อม:
ความสูงเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง  <3,000 ม.
อุณหภูมิ                         30 องศาเซลเซียส ถึงประมาณ +55 องศาเซลเซียส
ความชื้นสัมพัทธ์               น้อยกว่า 98% (25 องศาเซลเซียส)
ความเร็วลมผิวพื้น             น้อยกว่า 8 ม./วินาที
ฝนตกหรือหิมะตก             น้อยกว่า 3 มม./ชม.

 

 

 

Caesar 155mm

ข้อมูลทั่วไป: 
ปืนใหญ่อัตราจรขนาด 155 มม. ติดตั้งบนรถบรรทุกล้อยาง Renault Sherpa 5 6x6 ล้อ มีความคล่องตัวสูง สามารถทำความเร็วบนถนนได้ 100 กม./ชม. และความเร็วเดินทาง 50 กม./ชม. ระยะทำการ 600 กม. สามารถทำการรบได้ทุกสภาพพื้นที่ มีระบบการทำงานที่เรียกว่า onboard terminals ใช้การสื่อสารแบบเรียล์ไทม์ จัดลำดับเป้าหมายที่ต้องการทำการยิงที่ตั้งไว้ และการยิงตามการร้องขอตามเป้าหมายที่หลากหลาย การควบคุมตัวปืนด้วยระบบไฮโดรลิคและระบบการยิงกึ่งอัตโนมัติ สามารถเตรียมการยิงได้น้อยกว่า 1 นาที ตัวปืนสามารถใช้กระสุนยิงได้หลายแบบตามแต่ชนิดของเป้าหมาย

ข้อมูลทางเทคนิค: 
ปืนใหญ่ขนาด            155 ม.ม./52คาลิเบอร์
อัตรายิงสูงสุด            6นัด/นาที (3 นัดใช้เวลาเพียง 15 วินาที)
ระยะยิง                    42 กม.
มุมยิง                       0 - 60 องศา มุมส่าย 30 องศา (15 องศา ซ้าย-ขวา)
ระบบควบคุมการยิง FAST-Hit
ระบบแผนที่ดาวเทียม SAGEM Sigma 30
ระบบควบคุมการยิง/ค้นหาเป้าหมายด้วยเรดาห์ ROB4 muzzle สำหรับโจมตีเป้าหมายในทะเล
ระบบสั่งการรวม C4I ( command, control, communications and intelligence) 
เครื่องยนต์ดีเซลขนาด 240 แรงม้า อัตราขับ 13.6 แรงม้า/ตัน 
ใช้พลประจำรถ           6 นาย 

 

 

จรวดหลายลำกล้องแบบ 31 อัตตาจร

ผลิตในประเทศจีน
แท่นปืนประกอบด้วยท่อยิงขนาด 130 มม. จำนวน 30 ท่อ
จรวดทั้ง 30 นัดยิงได้หมดภายในเวลา 18 วินาที ครอบคลุมพื้นที่ 30,000 ตร.ม.
ระยะยิงไกลสุด 10 กม.

 

 

ปตอ.12.7 มม.M16 (อจ.)

ผลิตจากประเทศสหรัฐอเมริกา
ปตอ.ระยะใกล้ ประกอบด้วย ปก.ขนาด 12.7 มม. 4 กระบอก
ระยะยิงไกลสุด 6,660 ม.
หวังผลทางอากาศ 725 ม.
อัตราเร็วในการยิง 450 - 500 นัด/นาที
พลประจำปืน 5 นาย

 

 

ปตอ.40L70

ผลิตจากประเทศอังกฤษ
ระยะยิงไกลสุด 12.5 กม.
ระยะยิงหวังผลทางอากาศ 2,000 ม.
อัตราเร็วในการยิง 300 นัด/นาที
พลประจำปืน 8 นาย

 

 

ปบค.49 ขนาด 105 มม. M119

ผลิตจากสหราชอาณาจักร
ระยะยิงไกลสุด 19.5 กม.
น้ำหนักปืนและรถรองปืน 1,841 กก.
อัตราเร็วในการยิง
- ปกติ 3 นัด/นาที
- สูงสุด 6 นัด/นาที
พลประจำปืน 6 นาย

 

 

ปบค.95 ขนาด 105 มม.เอ็ม 101เอ1 (ปรับปรุง)

ปรับปรุงโดย ศอว.ทบ.
ระยะยิงไกลสุด 17.5 กม.
อัตราเร็วในการยิง
- ปกติ 3 นัด/นาที
- สูงสุด 10 นัด/นาที
พลประจำปืน 10 นาย

 






ความคิดเห็นที่ 1


 

โครงการวิจัยและพัฒนาปืนใหญ่ขนาด 155 มม. แบบอัตราจรล้อยาง
โดยศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร

คุณลักษณะทั่วไป:
ลำกล้องปืน                 155 มม. 39 คาลิเบอร์
มุมยิง                        300 - 880 มิลเลียม
เขตสาย                     400 มิลเลียม
ระยะยิงไกลสุด            32 กม.
ระยะยิงใกล้สุด            4 กม.
เวลาพร้อมยิง              ประมาณ 1 นาที
อัตราการยิง                3 นัด/นาที
บรรจุกระสุนพร้อมยิง    20 นัด
บรรจุกระสุนแบบกึ่งอัตโนมัติ
พลประจำปืน               6 นาย
รถรองปืนขนาด           10 ตัน 6 x 6 
ใช้เครื่องยนต์              480 แรงม้า
ความจุถังน้ำมัน            315 ลิตร
ระยะปฏิบัติการ            900 กม.
ความเร็วสูงสุดบนถนน   90 กม./ชม.
ความเร็วสูงสุดในภูมิประเทศ 60 กม./ชม.

 

 

ปกค.37 ขนาด 155 มม.M109 A5

ผลิตจากประเทศสหรัฐอเมริกา
ความเร็วสูงสุด 55 กม./ชม.
ระยะปฏิบัติการ 354 กม.
ระยะยิงไกลสุด 30 กม.
บรรทุกกระสุน 36 นัด
ลุยน้ำลึก 1.07 ม.
อัตราเร็วในการยิง
- ปกติ 1 นัด/นาที
- สูงสุด 4 นัด/นาที
พลประจำปืน 6 นาย

 

 

ปกร.28 ขนาด 130 มม. T59-1

ผลิตจากประเทศจีน
ระยะยิงไกลสุด 27,490 ม.
น้ำหนัก 6,500 กก.
อัตราเร็วในการยิง
- ปกติ 5 นัด/นาที
- สูงสุด 8 นัด/นาที
พลประจำปืน 10 นาย

 

 

เรียงลำดับจากซ้ายไปขวา

เรดาร์ LAADS
ผลิตจากประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นเรดาร์เตือนภัยระดับต่ำ มีระบบต่อต้านการรบกวน ระยะตรวจจับ 30 - 60 กม. สามารถตรวจจับเป้าหมายได้สูงสุด 64 เป้า ใชเวลาในการติดตั้ง 5 นาที ใช้พลประจำเครื่อง 4 นาย

เครื่องควบคุมการยิง (Field Guard MK-2)
เป็นระบบการควบคุมการยิง ป.ติดตั้งบนยานยนต์ล้อขนาด 5.5 ตัน มีส่วนประกอบหลักคือเรดาร์ติดตามกระสุน, ห้องควบคุมของเจ้าหน้าที่ประจำเครื่อง, จอแสดงผลที่หมู่ปืน, และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
ควบคุมการยิง ป. หรืออาวุธจรวดได้ถึง 24 หน่วยยิง, รัศมีของเรดาร์ติดตามกระสุน ป.หรือจรวดได้ในระยะ 59 กม., ปรับการยิงให้เข้าเป้าหมาย โดยใช้กระสุน PILOT 1 - 3 นัด แล้วยิงหาผลได้อย่างแม่นยำ
เจ้าหน้าที่ประจำเครื่อง 3 นาย คือ นายทหารอำนวยการยิง, Operator และพลขับ

เป้าบินพิสัยกลาง (Snipe)
น้ำหนักโดยประมาณ       80 กก.
เครื่องยนต์                   22 แรงม้า 350 ซีซี
ความเร็วสูงสุด              250 กม./ชม.
เพดานบินสูงสุด            1,000 ม.
ความจุน้ำมันเชื้อเพลิง    15 ลิตร
บินได้นาน                   1.30 ชม.
ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงแบบผสมน้ำมันหล่อลื่น เบนซิน 95
การควบคุมทางระยะ - ใช้วิทยุไม่มีอุปกรณ์ภาคขยายกำลังส่งควบคุมระยะได้ไกล 2 กม. สามารถเพิ่มอุปกรณ์ภาคขยายกำลังส่งในตู้ควบคุมจะได้ระยะไกล 30 กม.

 

 

ระบบตรวจอากาศด้วยวิทยุหยั่งอากาศแบบ VAISALA RadioTheodolite RT20A

ผลิตจากประเทศฟินแลนด์
ผลิตข่าวสภาพอากาศที่ใช้ประกอบการหาหลักฐานยิง
ให้ข่าวจริง Real Data สำหรับใช้ข่่าวสภาพอากาศชั้นสูงที่เกิน 18 กม.
รัศมีปฏิบัติการในการบริการข่าว
- ทางระดับ 150 กม
- ทางดิ่ง 30 กม.

 

 

เครื่องมือทำงานแผนที่อัตโนมัติ SSS (Simplifies Survey System)

ผลิตโดยประเทศสหรัฐอเมริกา
การทำงานใชเวลา 8 นาทีในการตั้งแนวระดับ
ตำแหน่ง: 7.0 เมตร CEP และ 10 นาที ของความเร็วในการปรับค่าศูนย์
ระดับ: 3 เมตร PE
ตำแหน่งการย้ายสายตา: 1.0 มิล. PE
แนวราบ 2 ตำแหน่ง : 2.0 มิล.PE

 

 

เครื่องมือทำงานแผนที่อัตโนมัติ (MAPS/APLSS)

ผลิตจากประเทศสหรัฐอเมริกา
เป็นระบบทำงานแผนที่อัตโนมัติ มีระบบหาทิศทางด้วย Ring Laser GYRO
รัศมีการปฏิบัติการไม่จำกัด
การทำ Alignment ใช้เวลา 90 วินาที ถึง 30 นาที ขึ้นอยู่กับระบบที่เลือกใช้
Range Finder < 1,000 ม.
กำลังไฟ 13 - 36 Vole 4/5 AMPS
การแสดงพิกัด
- พิกัดทางทหาร
- พิกัดภูมิศาสตร์

 

 

เรดาร์ AN/TPQ-36

ผลิตจากประเทศสหรัฐอเมริกา
เป็นเรดาร์ตรวจจับกำหนดที่ของตั้งปืนใหญ่ เครื่องยิงลูกระเบิด และจรวดของข้าศึก
สามารถตรวจจับตำบลกระสุนตกของฝ่ายเรา เพื่อทำการปรับการยิงได้
ขีดความสามารถในการตรวจจับ
- ตรวจจับเป้าหมายได้พร้อมกัน 10 เป้าหมาย
- ตรวจจับ ป. และ ค. ได้ภายในระยะ 24 กม.
คอมพิวเตอร์บันทึกเป้าหมายได้ 99 เป้าหมาย

 

นอกจากการสาธิตอาวุธยุทโธปกรณ์ และอำนาจการยิงของเหล่าทหารปืนใหญ่ระบบต่าง ๆ แล้ว ยังมีการแสดงการบิน และความสามารถของเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์แบบต่าง ๆ อีกด้วยดังภาพต่อไปนี้

 

 

 

Enstrom 408B

 

 

UH-60L Blackhawk

 

 

Mi-17V5

 

 

ที่มา : http://dtad.dti.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=362%3Aartillery12nov2012&catid=8%3Aspecial-article&Itemid=10


โดยคุณ Ricebeanoil เมื่อวันที่ 23/11/2012 11:58:03