คิดว่าทุกคนคงรู้จักเรดาร์ easa กันนะครับ ว่าเป็นระบบที่ใหม่ที่สุดดีที่สุดในโลก แต่ดียังไงนั้นแต่ก่อนผมก็ไม่เคลียร์ จนไปไล่อ่านไล่ค้นดู เลยอยากนำมาแชร์กันครับ เผื่อใครยังไม่รู้(ประมาณว่ากริฟเฟ่นเอ็นจีติดเรดาร์อีซา ขนาดใต้ฝุ่นยังไม่มีเลยนะเว้ย แกงบฯหมดก่อนเลยไม่ได้พัฒนาต่อ)
ข้อมูลมาจากวิกิเป็นหลักเลยครับ
ข้อแตกต่างในการทำงานของเรดาร์แบบ pesa (passive electronically scanned array) กับ aesa (active electronically scanned array)
ในเรดาร์แบบ pesa ซึ่งเป็นแบบหลักในเครื่องบินยุคปัจจุบัน หรือ phase array redar นั้น จะมีแหล่งกำเนิดสัญญาณแหล่งเดียว ซึ่งจะส่งสัญญาณวิทยุออกมาเป็นจังหวะสั้นๆ จากนั้นจะมีตัวแยกสัญญาณออกเป็นหลายๆสาย แล้วเชื่อมกับจานรับ-ส่งสัญญาณ (antenna) สัญญาณจะถูกส่งออกไปหลายๆทิศทาง เมื่อกระทบกับเป้าหมายก็จะสะท้อนกลับมา จานรับ/ส่งสัญญาณผ่านเข้ารีซีฟเวอร์แล้วคำนวนระยะทาง+ทิศทางของเป้าหมายจากสัญญาณที่สะท้อนกลับมา เรดาร์แบบนี้ยังสามารถควบคุมสัญญาณที่ส่งออกไปแต่ละสายได้ ว่าจะชะลอบางสาย หรือโฟกัสสัญญาณไปยังจุดใดจุดหนึ่ง หรือหลายๆจุดได้ อย่างที่เราทราบกันว่า เรดาร์ (เครื่องบิน/เรือรบ ฯลฯ)สามารถติดตามเป้าหมาย หรือล็อคเป้าหมายได้คราวละหลายๆ(เป็นหลักสิบๆ)เป้าหมาย พร้อมกับแสกนท้องฟ้า พื้นน้ำ/ดิน ตรวจการณ์ไปด้วย
มากันที่เรดาร์ aesa บ้าง เรดาร์ชนิดนี้แทนที่จะมีแหล่งกำเนิดสัญญาณตัวเดียว เซ็นเซอร์โมดูล (transmitter/receiver module, TRM) บนจานรับสัญญาณแต่ละตัวกลับเป็นเอกเทศจากกัน เป็นทั้งตัวส่งตัวรับแถมยังสร้างสัญญาณเองไปในตัว เรียกว่าออลอินวันเลย ทำให้สามารถส่งสัญญาณทีเดียวได้หลายคลื่นความถี่พร้อมกัน (แบบ pesa สามารถส่งได้หลายคลื่นความถี่เช่นกัน แต่ไม่สามรถส่งที่เดียวหลายความถี่) เนื่องจากแต่ละโมดูล (ที่เห็นเป็นจุดๆบนหน้าจานสัญญานเรดาร์อีซานั่นแหละครับ) สามารถส่งสัญญาณได้หลายความถี่ โดยปกติคอมฯที่ควบคุมจะส่งความถี่ออกมาแบบแรนดอม ขณะที่ระบบแสดงผลก็จะรวมข้อมูลเข้าด้วยกันหมดแสดงผลบนจอ
ข้อดีของเรดาร์แบบอีซ่าที่เหนือกว่าเรดาร์แบบอื่นๆก็คือ
1 การตรวจถูกจับต่ำ
ปกติแล้ว สัญญาณเรดาร์ที่ส่งออกไปจากเครื่องบิน กว่าจะไปถึงเป้าหมายแล้วสะท้อนกลับมา สัญญาณที่สะท้อนกลับมาจะอ่อนกว่าที่ส่งออกไปมาก หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ระยะที่ทางฝ่ายตรงข้ามจะรู้ตัวว่ามีเราอยู่ในบริเวณ จะไกลกว่าระยะที่เราจะตรวจจับฝ่ายตรงข้ามได้ (กว่าเราจะปิดระยะเข้ามาจนสัญญาณแรงพอที่จะสะท้อนกลับมาถึงเครื่องเรา) ระบบตรวจจับแจ้งเตือน RWR (redar warning receiver ) จะทำงานโดยการ รับสาญญาณที่ส่งมาถึง แต่เพราะนอกจากสัญญาณเรดาร์แล้วยังมีเคลื่อนรบกวนอีกมาก ระบบตรวจจับจึงต้องเก็บข้อมูลสัญญาณมา
ประมวลผล หากพบเคลื่อนความถี่ได ที่ปล่อยออกมาเป็นจังหวะซ้ำๆก็สันนิษฐานว่าเป็นเรดาร์จากข้าศึก จากนั้นก็นำเคลื่อนความถี่ไปเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลที่มี บวกกับทิศทางที่จับได้ก็จะสามารถประมาณการณ์ได้ว่าไอ้เรดาร์นี้ส่งมาจากไหน เช่น เป็นเครื่องบินขับไล่ข้าศึก เรือข้าศึก มิสไซล์ข้าศึก เครื่องบินบัญชาการ ฯลฯ
แต่เนื่องจากเรดาร์อีซาสามารถส่งสัญญาณได้ทีเดียวหลายคลื่นความถี่ ผลก็คือระบบตรวจจับเป็นงง เพราะแยกไม่ออกว่าไหนคลื่นรบกวนหรือคลื่นเรดาร์ขณะ เดียวกันเรดาร์พีซาก็ถือว่าตรวจจับได้ยาก เนื่องจากการส่งสัญญาณแต่ละครั้งจะเปลี่ยนคลื่นความถี่ไปเรื่อยๆ ระบบที่จะตรวจจับเรดาร์อีซาได้จึงต้องมีความละเอียดสูงกว่าทั่วไป สามารถแยกแยะสัญญาณได้ละเอียด
2 การแจมเรดาร์ทำได้ยาก
ปกติการแจมเรดาร์ข้าศึกทำโดยการส่งสัญญาณรบกวนที่ตรงกับคลื่นความถี่ที่อีกฝ่ายใช้อยู่ (รู้ได้จากการตรวจจับสัญญาณฝ่ายตรงข้าม) ทำให้ฝ่ายตรงข้ามงงว่าอันไหนสัญญาณสะท้อนที่ตัวเองส่งออกไป อันไหนคลื่นรบกวนที่ฝ่ายตรงข้ามส่งมา เรดาร์อีซาบ่ยั่นครับ เพราะเมื่อฝ่ายตรงข้ามส่งสัญญาณแจมมาก็รบกวนได้คลื่นความถี่เดียว ขณะที่เราส่งออกไปหลายสิบคลื่นความถี่ ฉะนั้นเราก็ยังสามารถเก็บข้อมูลได้เป็นปกติ ฝ่ายตรงข้ามสามารถเลือกการส่งคลื่นรบกวนแบบเทกระจาด คือส่งคลื่นรบกวนออกไปทุกความถี่ แต่ก็ทำให้ความแรงของแต่ละคลื่นลดลงไป เพราะต้องเฉลี่ยๆพลังงานกันไปแต่ละความถี่ ทำให้โอกาสที่สัญญาณจะแรงพอที่จะรบกวนฝ่ายเราก็น้อยลงไป)
ที่เหนือกว่านั้นคือ ขณะฝ่ายตรงข้ามจะแจมเราก็เปิดระบบพาสซีฟมันเลย เนื่องจากเซ็นเซอร์โมดูลสามารถทั้งรับทั้งส่งข้อมูล ความสามารถในการรับสัญญาณของเรดาร์ชนิดนี้จึงสูง สามารถเปิดเรดาร์เป็นโมดพาสซีฟแล้วติดตามเป้าหมายได้สบายๆ ขณะที่ระบบเรดาร์แบบเก่าตัวรับสัญญาณในการเปิดโมดพาสซีฟต้องแยกอีกชิ้นต่างหาก ขณะที่อีซ่าทำทุกอย่าง
นอกจากนี้เรดาร์ชนิดนี้ยังสามารถใช้ในการส่งข้อมูลกันได้ เนื่องจากมีรีซีฟเว่อร์ที่ทรงพลัง ในการทดลองของบริษัท northrop ,lockheed, l-3 communication เอฟ 22 สามารถส่งข้อมูลด้วยเรดาร์ที่ความเร็ว 548 กิ๊กกะไบท์ต่อวินาที เร็วกว่า link 16 ที่ส่งข้อมูลได้ 1 เมกกะไบท์ต้อวินาที ซึ่งเป็นดาต้าลิงค์มาตรฐานของอเมริกากับนาโต้ปัจจุบันด้วย
ความเสถียรของเรดาร์ชนิดนี้ยังสูงมากอีกด้วย เพราะหากเกิดการล้มเหลวของเซ็นเซอร์ ก็ไม่เป็นไรเพราะ
เซ็นเซอร์แต่ละตัวแยกกัน ตัวอื่นๆก็ยังทำงานต่อได้
แถมอีกนิดนะครับ เป็นข่าวลือ (คงไม่มีใครเชื่อ ฮ่าๆ) ในอเมริกา ว่าระบบเรดาร์ของเอฟ 22 สามารถเปิดโมดการโจมตีทางอิเล็กทรอนิค เพราะมันแรงโคตรๆ สามารถแจมเครื่องบินอื่นจนตก คือล่อจนระบบอิเล็กทรอนิครวนหมดว่างั้น หรือเข้าควบคุมระบบอิเล็กทรอนิคฝ่ายตรงข้ามได้ ซึ่งรัฐบาลอเมริกาไม่เคยเปิดเผยว่ามีระบบนี้ ก็มีทั้งคนเชื่อและไม่เชื่อ
พูดถึงการแจม ในอดีต สมัยสงครามโลกตอนท้าย ที่ฝ่ายนาซีมีจรวดร่อนนำวิถีด้วยวิทยุโจมตีเรือ ฝ่ายอเมริกาสามารถแจมจรวดดังกล่าวได้เป็นผลสำเร็จ จนถึงตอนท้ายๆพัฒนาจนสามารถบังคับจรวดฝ่ายตรงข้ามได้ เทคโอเวอร์ว่างั้น แล้วบังคับบินลงน้ำ อันนี้เรื่องจริงครับ
จริงหรือครับที่ว่าของอเมริกันดี แล้วทำไมโดรนรุ่นล่าสุดของไอ้กัน ถึงได้ถูกอิหร่านสอยได้ล่ะครับ
- พูดถึงเรดาร์ ไม่ได้พูดถึงประเทศ
- easa ออกแบบมาใหม่โดยเอาประสบการณ์และปัญหาเรดาร์แบบดั้งเดิมมาเป็นโจทย์ ดีกว่าเก่าอยู่แล้ว
โดรนอเมริกายังไม่เคยโดนสอยร่วงนะครับ ที่อิหร่านนั่นมีสองกรณี อันแรกคือ rq-170 อันนั้นน่าจะระบบขัดข้องมากกว่า เพราะเนื้อตัวยังเรียบร้อย ถ้าโดนยิงคงระเบิดไปแล้ว กรณีนั่นอิหร่านอ้างว่าใช้ระบบสงครามอิเล็กโทรนิกส์ทำการเทคโอเวอร์การควบคุม ซึ่งก็คงเวอร์ตามสไตล์อิหร่าน
กรณีที่สอง อเมริกาบอกว่าอิหร่านยิงจริง แต่ไม่โดน แล้วอเมริกาหนีออกจากน่านฟ้าอิหร่านก่อน
First European Fighter รายแรกที่ติด เรดาร์ AESA แล้วเข้าประจำการ น่าจะเป็น RAFALE ครับ เพราะตอนนี้ RAFALE C รหัส C137 ลำล่าสุดที่ออกจากโรงงาน ก็มาพร้อมกับ เรดาร์ AESA แล้วครับ พร้อมจำหน่ายให้กับ อินเดีย ในมาตรฐานเดียวกันแล้วด้วย
ส่วน Eurofighter Typhoon รู้สึกว่า เรดาร์ AESA จะพัฒนาเสร็จ และพร้อมส่งมอบพร้อมกับเครื่องบิน ในช่วงปี 2015 ครับ