ในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2555 พล.อ.อ.มานิต สพันธุพงษ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด รับเอกสารประจำเครื่อง บ.F-16 จากนาวาอากาศเอก กฤษฎา สุพิชญ์ ผู้บังคับการกองบิน 4 ในพิธีส่งมอบ บ.F-16 เครื่องแรกเข้ารับการปรับปรุงขีดความสามารถตามโครงการ F-16 Mid Life Update โดยมีตัวแทนจากกองทัพอากาศ บริษัท Lockheed Martin Aero และบริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด เข้าร่วมพิธี ณ ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานตาคลี บริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด จ.นครสวรรค์
http://www.taithailand.com/News/News2012/news13112012.html
เราส่ง F-16 เข้าปรับปรุงตามโครงการนี้ทั้งหมดกี่่เครื่องครับ
พบรายละเอียดแล้วคับ
ตามรายละเอียดของเอกสารที่แจ้งต่อสภาคองเกรสระบุว่า กองทัพอากาศไทยร้องขอการขายชุดอุปกรณ์ในการทำ MLU ให้กับ F-16A/B Block 15 ทั้ง 18 ลำ (ซึ่งเป็น F-16 ของฝูง 403 กองบิน 4 ตาคลี) โดยการดำเนินงานจะแบ่งการลงนามในสัญญาเป็น 3 เฟส เฟสละ 1 ปี รวมมูลค่าทั้งหมดรา 700 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีรายนามอุปกรณ์ที่แจ้งต่อคองเกรสดังนี้
- ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมภารกิจ (Modular Mission Computer)
- ระบบเรดาร์แบบ APG-68(V)9 Improved Multimode Fire Control Radar
- ระบบพิสูจน์ฝ่ายแบบ APX-113 Combined Interrogator and Transponder
- ระบบจัดการสงครามอิเล็กทรอนิกส์แบบ ALQ-213 Electronic Warfare Management System
- ระบบเป้าลวงอัตโนมัติแบบ ALE-47 Countermeasures Dispenser System
- อะไหล่ อุปกรณ์สนับสนุน เอกสาร ข้อมูลทางเทคนิค การฝึกเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์การฝึก และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการส่งกำลังบำรุง
ทั้งนี้ มีอุปกรณ์ที่น่าสนใจอย่างเช่นระบบเรดาร์แบบ APG-68(V)9 ซึ่งจะเป็นหนึ่งในระบบเรดาร์ที่ทันสมัยที่สุดของกองทัพอากาศไทย โดยเรดาร์แบบ APG-68(V)9 นั้นมีระบบสร้างภาพความละเอียดสูงของพื้นดิน (Synthetic Aperture Radar: SAR) เพิ่มพิสัยในการตรวจจับอีก 33% และลดค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการลง 25% - 45% เป็นต้น ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการปฏิบัติการเป็นอย่างมากแล้ว ยังทำให้ F-16 จากฝูง 403 ของกองทัพอากาศไทยที่จะเข้ารับการปรับปรุงช่วงครึ่งชีวิตนี้สามารถใช้อาวุธปล่อยที่ทันสมัยได้หลายแบบขึ้น โดยเฉพาะอาวุธปล่อยอากาศสู่อากาศพิสัยกลางแบบ AIM-120 AMRAAM
ข่าวจาก http://www.thaiarmedforce.com/taf-military-news/55-rtaf-news/534-first-f-16-go-to-mlu.html
สุดยอด รอมานาน ข่าวก็น้อยด้วย
ว่าแต่ถ้าทำสปีดนี้มันจะครบในอีกกี่ปีล่ะเนี่ย
น่าจะนานโขอยู่
หรือว่าลองทำลำแรกก่อน หลังจากนั้นอาจทำสองสามลำพร้อมๆกัน?
โอ้ ยินดีกับกองบิน 4 ด้วยครับ ปรับเสร็จแล้ว น่าจะแจ่มขึ้นเยอะหละครับ
แต่ ปัจจุบัน ฝูง403 เหลือเครื่องประจำการอยู่ 17 ลำ ตกไป 1ลำ คงจะนำเครื่อง จาก ฝูง 103 มาเพิ่มเติม อีก 1 ลำครับ
ไม่มี ด้าต้าลิงค์ ไช่ไหมครับ
จัดหนักไปครับ ทอ สู้ๆ อยากรูปเครื่องบินที่มาแทน f16 ฝูงที่ีไม่ปรับปรุงแล้วสิ
ล๊อกฮีทมาร์ตินไม่ไห้ไส่ครับ
data-link 16 รู้สึกว่าจะให้เฉพาะกับมิตรประเทศที่ใกล้ชิดกับสหรัฐเท่านั้นครับ สหรัฐเองก็กลัวจีนจะเข้าล้วงความลับ code รหัส
18 ลำ 700 ล้านเหรียญ US ราคาดุเอาเรื่องน่ะครับ และเสียดายไม่มี data link แต่จริงๆ F16 โคราชยังเหลืออายุการใช้งานอีกสัก 10-15 ปี ก็อยากให้ปรับปรุงไปด้วยเลยโดยเฉพาะรุ่น F16A 12 ลำ ส่วนรุ่น F16B คงใช้งานมาเยอะอายุคงเหลือน้อย
งกอะ เซงเลย แล้วจะคุยกับ กริพเพ่น ได้ไหมนี้
โอ๋ ค่าตัวเกือบ 40 ล้านเหรียญสหรัฐ / ลำ
แล้วอะไหล่และ เรดาร์ของเครื่องที่ถอดออกเอาไปไหนครับ จับโมยัดใส่ A-jet หรือ L39 เปลี่ยนฝาครอบเรดาร์ใหม่
คิดเล่นๆ รู้ว่าคงทำไม่ได้อยู่แล้ว
เสียดายจัง ลําละ 39 ล้านUS ไม่มีด้าต้าลิงค์
น่าจะแบบนี้หรือเปล่าครับ
F-16MLU ภาคพื้นดิน JAS-39
JAS-39 ภาคพื้นดิน F-16MLU
เมื่อ 13 พฤศจิกายน 2555 ได้มีพิธีส่งมอบเครื่องบินรบ F-16 หมายเลข 40308/90021 จากฝูงบิน 403 ของกองทัพอากาศไทย เครื่องแรกเข้ารับการปรับปรุงขีดความสามารถ ตามโครงการ Mid-Life Update (MLU) ที่ ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานตาคลี บริษัท อุตสาหกรรมการบิน จำกัด
http://thaidefense-news.blogspot.com/2012/11/f-16.html
เยี่ยมครับ...กองทัพเรามีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เเค่นี้ก็อุ่นใจได้เเล้วครับ....
จ่ายเงินประมาณ 55%-60% ของราคาเครื่องใหม่ block 50/52 ครับ แต่ประสิทธิภาพใกล้เคียงเครื่อง block 50/52 ขึ้นมาก แต่เครื่องยนต์ตัวเดิม แต่เห็นจากกระทู้ข้างล่างว่าอเมริกันขายเครื่องยนต์ใหม่ให้ 5 เครื่อง ถ้าทอ.ซื้อมันมา ก็คงเพื่อการนี้ล่ะครับ เครื่องเก่า 5 ตัวจะได้เอามาเป็นอะไหล่
ส่วนระบบดาต้าร์ลิ้งค์ ทอ.ก็กำลังพัฒนาเองอยู่ครับ ถ้าอเมริกามันไม่ขายให้ก็ช่างมัน ถ้าพัฒนาแล้วเสร็จก็นำมาติดตั้งบนเครื่องของเราได้ ใช้งานร่วมกับระบบเครือข่ายอิเลคทรอนิคที่วางโดยสวีเดนได้อยู่แล้ว น่าจะทำงานร่วมกับ AEW&C ได้ดีกว่า Link 16 กลัวแต่ว่าเมื่อเราพร้อมจะติดตั้ง มันก็ดันไม่ยอมให้ติดบนเครื่องที่เราซื้อจากมันอีก แต่ไม่น่าจะมีปัญหานะครับ น่าจะติดตั้งได้
ดูแล้วคงต้องเปลี่ยนสถาปัตยะกรรมภายในห้องนักบินในระดับหนึ่งด้วยเลย น่าจะระดับ Glass cockpitch เพราะอุปกรณืที่เพิ่มเข้ามาก็ไม่น้อยทีเดียว เท่ากับว่าอีก 3 ปีได้เครื่องหรูมาใช้งาน ในราคา 50%-60% ของเครื่องใหม่
ที่เหลือรอคิวปรับปรุง F-5T น่าจะมีประสิทธิภาพพอๆกับ F/A-50 ที่เพิ่งลงตลาด ลงทุนเพิ่มในราคาประมาณ 10 ล้านเหรียญเท่านั้น
แล้วมาลุ้น Jas-39 เฟส 3 พร้อม AEW&C อีก 6 เครื่องกันต่อครับ เท่ากับว่าในอนาคตอันใกล้ ทอ.ไทยเราจะมีฝูงบินรบทันสมัย 3 ฝูงบิน และจะมีฝูงบินทำการรบแบบ BVR ได้ 4 ฝูงบิน (รวมฝูง 102 ด้วย)
เมื่อการปรับปรุงเครื่องเก่าจบ ถึงเวลานั้นพวกเราก็คน่างจะเริ่มได้ข่าวคราวฝูง 102 ว่าจะเอาอย่างไรดีเมื่อทำการปลด มาลุ้นกันว่าจะยังคงเป็น Jas-39 หรือเปล่า เพราะฝูง 102 ก็ทำหน้าที่ขับไล่สกัดกั้นอยู่แล้ว ซึ่งตรงสเปกของเครื่อง Jas-39 พอดี ไหนๆก็ไหนๆแล้ว แม้ผมจะชอบเครื่องแบบ SU-30/34/35 แต่ถ้าเลือก Jas-39 มาแล้ว ก็อยากให้ทอ.ใช้เครื่องน้อยแบบที่สุดครับ Jas-39 ครบ 3 ฝูงตามความต้องการเดิมไปเลยก็ดี ( F-5T ก็สำรองประจำการไป) ส่วน 2 ฝูงที่เหลือ ผมอยากได้ strike fighter มากกว่า F-35C แต่ทอ.สนใจ F-35C มากที่สุดครับ ถ้าจะเอา F-35C ก็น่าจะเป็น 3 ฝูงไปเลย จะได้มีฝูงบินขับไล่โจมตีหลักเท่าๆกับเวียตนาม
อ่ะ ขอโทษครับ ทอ.สนใจ F-35A ครับ รุ่น C สำหรับเรือบรรทุกบ. จำสลับกัน