ข้อตกลงข้ามทวีปมูลค่านับหลายล้านดอลลาร์ระหว่างบริษัทด้านความมั่นคงสัญชาติอินเดียและสวีเดนคาดว่าจะนำไปสู่ความใกล้ชิดมากยิ่งขึ้นระหว่างเอเชียและประชาคมโลกในฐานะผู้จำหน่ายเรือสงครามและเทคโนโลยีด้านการทหารแบบครบวงจร
ข้อตกลงนี้คาดว่าจะส่งผลให้อินเดียต้องจัดซื้อยุทโธปกรณ์จากต่างประเทศสำหรับใช้ในกองทัพลดลง
ไปพาวาว์ ดีเฟนซ์ บริษัทสัญชาติอินเดียและบริษัทออฟชอร์ เอ็นจิเนียริ่งจำกัด [PDOECL] ร่วมกันลงนามความร่วมมือด้านเทคโนโลยีกับซาบเทคโนโลยี เอจี บริษัทสัญชาติสวีเดนภายใต้กลุ่มบริษัท วอลเลนเบิร์ก รายงานระบุว่าบริษัทใช้อิทธิพลที่มีในกระทรวงกลาโหมของสวีเดนเพื่อผลักดันแผนการลงทุนในเอเชียและอินเดีย
ไปพาวาว์ คาดหวังว่าเทคโนโลยีด้านการทหารชั้นนำระดับโลกจากซาบจะเป็นประโยชน์ต่อกองทัพอินเดียทำให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น ซาบถือเป็นบริษัทผู้พัฒนาเทคโนโลยีด้านความมั่นคง อากาศยานและความปลอดภัยชั้นนำแห่งหนึ่งของโลก PDOECL สร้างอู่ต่อเรือที่ใหญ่ที่สุดในอินเดีย
กำหนดเป้าหมายผู้ซื้อจากทั่วโลก
หลังจากมีการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์บอมเบย์ PDOECL ระบุว่า ซาบมีแผนลงทุน 250 ล้านโครน่า (1.96 พันล้านรูปี; 37.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) และอีกจำนวนเท่า ๆ กันนี้จาก "นักลงทุนที่ไม่เปิดเผยโดยการรับรองของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนของต่างชาติ (FIPB)"
บริษัททั้งสองแห่งมีเป้าหมายเจาะตลาดทั่วโลก และเพื่อตอบรับความต้องการด้านยุทโธปกรณ์ในอินเดียและสวีเดน เหตุการณ์ดังกล่าวถึงเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของไปพาวาว์ซึ่งจะช่วยให้หุ้นของบริษัทปรับตัวดีขึ้นตามการคาดการณ์ของทางบริษัท
การลงทุนจากซาบจะช่วยให้ไปพาวาว์มีขีดความสามารถในการผลิตและซ่อมบำรุงยุทโธปกรณ์สำหรับกองทัพอินเดียและตลาดส่งออกยุทโธปกรณ์ แผนความร่วมมือดังกล่าวยังช่วยให้ PDOECL สามารถเจาะตลาดยุโรปได้อีกด้วย
ภายใต้โครงการพัฒนาความมั่นคงทางทะเลแห่งชาติ (NMDP) กองทัพอินเดียจะต้องจัดหาเรืออย่างน้อยห้าลำทุกปีต่อเนื่องเป็นเวลา 10 ปี รัฐบาลอินเดียยังมีแผนการลงทุนกว่า 20 พันล้านดอลลาร์เพื่อพัฒนาแผนความมั่นคงทางทะเล
PDOECL ได้รับอนุมัติการลงทุนจากต่างประเทศ
PDOECL หรือ ไปพาวาว์ ชิพยาร์ด เดิมได้รับอนุญาตจาก FIPB เมื่อเร็ว ๆ นี้ให้สามารถรับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ การอนุมัติดังกล่าวทำให้ภาคเอกชนของอินเดียสามารถยื่นเสนอราคาต่อเรือรบ เรือขนาดกลาง เรือพิฆาต เรือบรรทุกเครื่องบิน เรือดำน้ำและยุทโธปกรณ์อื่น ๆ ของกองทัพเรือและหน่วยลาดตระเวณชายฝั่งของอินเดีย
บริษัทมีการติดตั้งและเดินเครื่องต่อเรือที่ทันสมัยที่สุดไปบางส่วนแล้วที่เมืองไปพาวาว์ รัชคุชราตครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 491.53 เอเคอร์ โดยแยกออกเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEZ) เป็นพื้นที่ 234.75 เอเคอร์และส่วนการส่งออก (EOU) เป็นพื้นที่ประมาณ 256.79 เอเคอร์
ระหว่างเดือนกันยายนปี พ.ศ. 2554 PDOECL ได้จดทะเบียนบริษัทร่วมทุนชื่อบริษัทมาซากอน ด็อก ไปพาวาว์จำกัด ขึ้นกับบริษัทมาซากอน ด็อก จำกัด (MDL) ของรัฐเพื่อก่อสร้างเรือรบแนวหน้าสำหรับกองทัพอินเดีย
PDOECL ถือเป็นบริษัทเอกชนแห่งแรกหลังจากที่อินเดียประกาศอิสรภาพที่ได้รับสัญญาโครงการต่อเรือรบ ครอบคลุมทั้งเรือลาดตระเวณนอกชายฝั่งของรัฐบาลอินเดีย ยอดสั่งต่อเรือพาณิชย์ของ PDOECL สูงถึงเกือบ 1.5 พันล้านดอลลาร์ โดยเป็นการสั่งเพื่อส่งออกไปยังตลาดประเทศและแก่กลุ่มลูกค้าด้านความมั่นคง
ที่มา : http://apdforum.com/th/article/rmiap/articles/online/features/2012/10/18/india-technology-pact
อืมม......ขอบคุณสำหรับข่าวสารนะครับ น่าสนใจตรงที่ว่าเหมือนเป็นนโยบายจากทางรัฐบาลสวีเดนที่จะให้บริษัททางทหารเอกชนของตนเข้ามาร่วมลงทุนกับชาติสำคัญๆในเอเชีย ระบุชัดเจนเลยว่า อินเดียและเอเชีย
ที่ลงในอินเดียเป็นอุตสาหกรรมต่อเรือทางทหารเป็นหลัก แต่ไม่ระบุถึงอุตสาหกรรมทหารทางทัพบกและอากาศ สำหรับผมถ้าทร.ไทยสนใจ ก็อย่าที่เคยลงไป น่าจะขยายอู่ราชนาวีมิดลให้มีอู่หมายเลข 2 แล้วถมอ่าวส่วนที่เหลือเพื่อทำ อู่หมายเลข 3 อาคารต่อเรือ สลิปเวย์ โรงงานงานจำเป็นต่าง โดยลงทุนกับเอกชนแล้วให้เอกชนเช่าใช้พื้นที่ระยะยาว ต่อวัญญากันทุกๆ 20-30 ปี ส่วนเครื่องไม้เครื่องมือน้น บริษัทเอกชนนั้นน่าจะเป็นบริษัทร่วมทุนจากเยอรมันเป็นหลัก (คานอำนาจกับพวกญี่ปุ่นบ้างก็ดี) ผมสนใจ Bohm & Voss ของเยอรมันมากที่สุดครับ ถ้าเป็นพวกญี่ปุ่นก็ต้อง มิตซูบิตชิ แล้วนำบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อระดมทุน ซื้อเครื่องจักรและเครื่องมือต่อเรือมาให้ครบๆ
ส่วนอุตสาหกรรมอากาศยาน ผมสนับสนุนให้ร่วมมือกับ SAAB มากที่สุดครับ ยังทัน.......