ต้นข่าวจาก web อินเดีย
http://livefist.blogspot.com/2011/09/saabs-official-brief-to-indian-navy-on.html
ลงรูปต่อครับ
มันต่างจาก เดิมยังไงครับ ดูไม่้ออก แล้วมันขึ่น-ลง911 ได้หรอครับ สวีเดน ถึงเอารูปเรือเรามาลง เนีย
อาจจะเป็นการโฆษณาของเขาก็ได้เเต่ในตารางมันขีดเส้นไว้ที่เรือเราเป็นลำสุดท้าย. ไม่รูว่าสวีเดนเอาข้อมูลอะไรมาพิจารณาว่าเรือของเราใช้กัยบ.รุ่นนี้ได้ หรือเเค่จัดว่ามันเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินเบาที่เล็กที่สุด เเต่ที่เเน่ๆเรือเรามันเป็นเรือบรรทุกฮ.เเต่ติดสกีจั๊มพ์เพิ่มฝรั่งเลยจัดเป็นเรือบรรทุกบ.
เเต่ถ้าสวีเดนสนใจมาพัฒนาเรือเราใช้ใช้การได้โดยที่เเลกกับถ้าใช้ได้เราจะซื้อซีกริพเพ่นเป็นบ.ประจำเรือ6-12เครื่อง เเละจะได้เป็นการโฆษณาว่าเครื่องบินของเขานอกจากลงบนถนนได้เเล้วยังลงในเรือบรรทุกบ.ที่มีขนาดเล็กได้อีก.....
ถ้าเขาทำให้สามารถใช้ร่วมกับเรือเราได้ก็น่าสนนะครับ หรือที่คณะ ทร.เยี่ยมชมกองบิน 7 บ่อยๆ จะมีอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้หรือปล่าว ^^
ตามแผ่นของ Saab
ผมคิดว่า เป็นกลุ่มเป้าหมาย ทางการตลาดของ Saab ครับ...
ว่าปัจจุบันมีเรือบรรทุกเครื่องบิน ที่ยังใช้งานจำนวนเท่าไหร่...
ซึ่งหมายถึง เป็นตลาดของ Sea Gripen ครับ...
ส่วน 911 จะทำได้หรือไม่...คงต้องมีการศึกษา ก่อนครับ...
ส่วน 911 ผมว่า ไม่ใช่ เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ ครับ..เป็นเรือบรรทุกเครื่องบิน ครับ...
เป็นแบบเรือบรรทุกเครื่องบินของ ทร.สเปน ที่ย่อส่วนลงครับ...
เพียงแต่ 911 เป็นผลสืบเนื่องจาก โครงการจัดหา เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ จากแบบเรือของ เยอรมัน ที่บริษัทฯ รับสร้าง ล้มละลาย ทำให้ถูกยกเลิก...
ประเทศ สเปน ไม่มีเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ ครับ..
ส่วนของ ทร. ผมคิดว่า ให้จับตา F-27 Mk 200 ที่กำลังปรับปรุงอยู่ครับ...
ถ้าเข้าใจไม่ผิด จะปรับปรุงเป็น ELINT...
ซึ่ง ELINT ของ ทร. จะสามารถช่วยเสริมประสิทธิภาพการ บูรณาการของ ทร. กับ ทอ. ในเรื่องข้อมูลของข้าศึก...
หรือ ช่วยเสริม กับ AEW ของ ทอ. ครับ...
ยกตัวอย่าง
ทอ. มี AEW
ทร. มี ELINT
ระบบอำนวยการรบร่วม Data Link
ผ่าน 911, 421, 422 และ Thai Link ?
ขอถามขัดจังหวะนิดหนึ่งครับป๋าจูล
ระบบ ESM กับ ELINT นั้นผมยังแยกความแตกต่างไม่ค่อยจะได้ ดูๆแล้วก็ไม่ได้ต่างกันสักเท่าไรเลย แต่ ESM จะนำไปใช้ร่วมกับ ECM ECCM ที่เป็นอุปกรณ์สงครามอิเลคทรอนิค โดยทำหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูลด้านอิเลคทรอนิคของข้าศึกทั้งการติดต่อสื่อสาร การค้นหาด้วยเรด้าร์และอุปกรณ์ค้นหาอื่นๆ หลังจากทราบข้อมูลการใช้งานอุปกรณือิเลคทรอนิคทั้งหลายของข้าศึกแล้ว จึงเอาข้อมูลเหล่ามาทำสงครามอิเลคทรอนิค โดยส่งต่อข้อมูลไปให้ระบบ ECM ECCM เพื่อรบกวนและทำลายการสื่อรวมถึงการค้นหาด้วยระบบอิเลคทรอนิคของข้าศึก
แต่ ELINT นี่ผมไม่ทราบว่าจะเอาไปทำหน้าที่อะไรครับ เพราะมันก็รวบรวมข้อมูลข่าวสารเหมือนๆกับ ESM แต่จะเอาไปใช้อย่างไรครับ โดยเฉพาะใช้ร่วมกับ AEW&C
ผมก็ไม่รู้เกี่ยวกับ ELINT เท่าไหร่ครับ...
อ่านจาก กูเกิ้ล ฉบับแปลภาษาไทย...
ELINT เหมือนกับการจับ เรดาห์ ฝ่ายตรงข้าม เพื่อหาข่าวให้กับ กองเรือ...(ก็คืน คล้าย ๆ กับ การแจ้งแตือน หรือ หาข้อมูล)
เพื่อส่ง ข้อมูลให้ ก่อนการ โจมตี ครับ...
ซึ่งรวมถึง การตรวจจับเรดาร์ จากระบบป้องกันภัยทางอากาศบนภาคพื้น ด้วยครับ...
ส่วน ELINT ของ ทร. คงไม่น่าจะร่วมกับ AEW ของ ทอ. ครับ...
แต่น่าจะเป็น ข้อมูล ที่ส่งผ่านจาก ศูนย์ยุทธการ ของ ทร. ไป ทอ. ครับ..
คุณ juldas ครับ 911 ตามแบบนั้นจำลองมาจากเรือบรรทุกเครื่องบินเสปนนั้นถูกต้องครับ แต่ผมว่าเรือเสปนออกแบบให้ช้กับฮาริเออร์ ดังนั้นเมื่อฮาริเออร์ไม่สร้างอีกการนำเครื่องบินแบบอื่นมาใช้แม้แต่ sea gripen ผมคิดว่ามันคงยาก อย่างน้อยที่สุดต้องเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินดาดฟ้ากว้างระวางขับตั้งแต่ ๒๐๐๐๐ ตันขึ้นไป
ผมคิดว่าโอกาศที่เครื่องบินที่จะใช้กับ911ได้คงมีแต่ ทูคารโน เท่านั้น
Sea Gripen คงมีการปรับแรงขับของเครื่องยนต์ และ พัฒนา เพื่อสำหรับการ ขึ้น-ลง บนบรรทุกเครื่องบิน ครับ...
ซึ่งคนละสมรรถนะ กับ Gripen ในปัจจุบัน ครับ...
Harrier เวลา Take-off ก็วิ่งขึ้น บน ดาดฟ้า บินครับ...
โดย Harrier เป็น STOVL คือ Short Take-off (STO) และลงโดยวิธีแนวดิ่ง คือ Vertical Landing (VL)
ซึ่ง Sea Gripen ถ้าจะทำเพื่อให้ใช้งานบน 911 ได้...คือ Sea Gripen ต้องเป็น STOL
คือ Short Take-off and Landing...
ปัญหาในการ ขึ้น คงไม่ยาก ครับ...เพราะ อากาศยาน คงขึ้นเหมือน Harrier...คงอาศัยเทคนิค เท่านั้น...
ส่วนที่ยาก คือ การลง....ครับ...ที่ผมมองว่า จะเป็นปัญหา...
คือ การต้องมี สลิง สำหรับเกี่ยว เพื่อหยุดเครื่อง....
ส่วนในเรื่อง การปรับเปลี่ยน หรือ เพิ่มเติม ตัวเรือ...ในอดีต ก็มีการปรับเปลี่ยน เพิ่มเติม จาก เรือบรรทุกเครื่องบินใบพัด เป็น บรรทุกเครื่องบินไอพ่น อยู่แล้วครับ...
ผมคิดว่า ในเทคนิค คงไม่ใช่เรื่องที่ทำไม่ได้....
อาจจะมีคำถามว่า...แล้ว ทำไม ไม่เห็นมีประเทศอื่น ๆ ทำ...หรือคิดจะดัดแปลงกับ เรือบรรทุกเครื่องบินของ อังกฤษ หรือ สเปน...
ผมก็มอง คำตอบ ที่ว่า...ปัจจุบัน มันไม่มี เครื่องบิน STOL ที่จัดหามาใช้งาน...มีเพียง F-35B เพียงแบบเดียวที่ในขณะนั้น กำลังพัฒนา...และ Sea Gripen ก็ยังไม่เปิดตัวในขณะนั้น...
การวางแผน จึงมองไปที่การ สร้างเรือ เพื่อรองรับการปฏิบัติงานด้วย F-35B เป็นหลัก...ไม่ได้มองที่ อากาศยาน แบบอื่น ครับ...
ขอยกตัวอย่างครับว่า โดยเทคนิค การปรับเปลี่ยน เพื่อเพิ่มระวางเรือ ไม่ใช่เรื่องที่จำเป็นไปไม่ได้น่ะครับ...
จาก เรือบรรทุกเครื่องบินใบพัด เป็น เรือบรรทุกเครื่องบินไอพ่น...
มีการปรับเปลี่ยนอยู่หลายครั้ง
ป๋าจู พูดได้ถูกต้องครับ ผมไปเถียงกับฝรั่งใน web ต่างประเทศมากกว่า สามครั้งเรื่อง
เรือจักรี เพราะ ฝรั่งบางคนเค้าไม่อยากนับเรือจักรีเป็นเรือบรรทุกเครื่องบิน
แต่ใน เว็บรวมรวบข้อมูล เรือบรรทุกเครื่องบินโดย เฉพาะ ยังให้เรือ จักรี เป็น เรือบรรทุกเครื่องบินเลย
และหลายหลายที่ เรือ จักรี ก็ยังถูกเรียกว่า air craft carrier
เรือของสเปน ใน ขนาดไกล้เคียงกัน ยังเป็น air craft carrierเลย
ส่วนเรื่อง sea gripen ผมว่าไม่เหมาะ ต้องเป็น ทอโบพร็อพ ถึงจะเหมาะ
เพราะจะลงบนเรือ จักรีง่ายกว่า เหมือน เรือบรรทุกเครื่องบินช่วง ww2
ผมว่า911คงรับไม่ไหว ถึงsea grippen จะใช้ระยะทางขึ้นลงสั้นแต่ดาดฟ้าของ911ไม่น่าจะพอคงต้องต่อเติมแล้วติดเครื่องดีดตัวอีกผมไม่รู้ว่าsea grippenจะใช้กับเครื่องดีดตัวได้มัย ส่วนเวลาลงก็ต้องใช้สลิงอีก ถ้าไทยอยากได้เรือบรรทุกเครื่องบินจริงๆคงต้องต่อเรื่อใหม่อย่างเดียวแล้วหาเครื่องอย่างF35มาประจำการบนเรื่อ
มีกระทู้เรื่องนี้ปักหมุดอยู่ข้างบนครับ รายละเอียดเถียงกันครำ่เครียดและข้อมูลมากพอเพียงพอแล้วครับ เป็นกระทู้เกี่ยงกับการดัดแปลงเรือจักรีของเราเป็น STOBAR นะครับ
เรื่อง Super Tucano นี่ ผมสนับสนุนมากที่สุด เหมือนกันครับ ถ้าทำได้...
แต่ปัจจุบัน Super Tucano ยังไม่ได้เป็น STOL ซึ่งคงต้องมีการพัฒนาระดับหนึ่งด้วย...
และยังไง ก็ต้องมีการ ติดสายสลิง เพื่อหยุดเครื่อง เพิ่มเติม เหมือนกันครับ..ซึ่งต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง หรืออาจจะขยาย พื้นที่ลานบิน บางส่วนครับ...
ซึ่งผมเคยให้ความเห็นไว้ในกระทู้เก่า เรื่อง Super Tucano กับ 911
ส่วนเรื่องความคุ้มค่า เมื่อเทียบกับเรือใหม่...
ยังไง ๆ ก็คุ้มกว่า อยู่แล้วครับ...
เรือใหม่ คือ ต้องสร้างเรือใหม่ ต้องมีระบบอาวุธ และ ระบบเรดาห์ ใหม่ ทั้งหมด นั่นคือ ค่าใช้จ่ายทั้งหมด 100%
เรือเก่า คือ การซื้อระบบ และ มีต้นทุนปรับปรุงเรือ บางส่วน ซึ่งค่าใช้จ่าย อาจจะอนู่ประมาณ 30-50% ของเรือใหม่...
และถ้าว่า 911 เก่ามากไหม...ก็เพิ่งจะมีอายุเพียง 15 ปี เท่านั้นครับ...
และถ้าจะถามว่า ทำไมจะต้องมี เรือบรรทุกเครื่องบิน...
คำตอบ ก็คือ เรามีเรือบรรทุกเครื่องบินอยู่แล้ว...แล้วเราจะใช้ประโยชน์สูงสุด จาก เรือดังกล่าว อย่างไร...
ซึ่งการใช้ประโยชน์สูงสูดของ 911 ก็คือ
การเป็นฐานบิน รองรับ อากาศยาน ทุกแบบ ของ ทร. ให้สามารถใช้งานลานบิน นี้ได้...
ส่วน F-35B กับ 911...ผมได้ให้ความเห็นไว้ใน กระทู้ข้างล่าง Naval Aviation ว่า...
ปัญหาของ F-35B คือ บุคลากร หรือ นักบิน...ที่ ทร. จะไม่มี...
เครื่องบินมูลคา 3,000 ล้านบาท ต่อ ลำ
ถ้า Jas-39 ต้องคัดนักบิน F-16 และ F-5 มาบิน...
F-35B ก็ต้องคัดนักบิน Jas-39, F-16 และ F-5 มาบิน...
ซึ่ง ทร. ไม่มี นักบิน เหล่านี้ ครับ...
สุดท้าย F-35B ก็คงต้องสังกัด กองทัพอากาศ...
ซึ่ง ถ้า ทร. จัดหา Super Tucano มา...และ สามารถลงทุนพัฒนา และ ปรับปรุงเรือ 911 ให้สามารถปฏิบัติการได้...
จะทำให้ 911 สามารถใช้ประโยชน์สูงสุด ได้จาก Super Tucano ของ ทร. เอง และ F-35B ของ ทอ. ที่จะมาปฏิบัติการบน 911 ได้ด้วย...
และถ้าจะถามว่า ไทย มีความจำเป็นต้องมี เรือบรรทุกเครื่องบิน หรือ ?
ผมก็จะให้คำตอบว่า...ในอนาคต ภูมิภาคเอเซีย และ ทะเลจีนใต้...จะมีภัยคุกคาม ด้วย เรือบรรทุกเครื่องบิน พอ ๆ กับ เรือดำน้ำ ครับ...
ซึ่งก็จะกลับไปสู่ คำถามที่ว่า...เราจะใช้ประโยชน์สูงสุด จาก เรือบรรทุกเครื่องบินของเรา อย่างไร น่ะครับ...
ทำไมเราไม่ปรับเรือ จักรีฯ เป็นเรือบรรทุก UAV ละครับดูพวก predator ไม่ก็ eurohawk ซักฝูงผมว่าน่ากลัวไม่น้อย ตอนนี้อาจสู้เครื่องบินรบไม่ได้แต่ต่อไปน่าจะพัฒนาได้มากขึ้นครับ ส่วนตัวผมว่า เรือบรรทุกเครื่องบินเป็นอาวุธเชิงรุก ผมว่าเรามีความจำเป็นอื่นมากกว่าเช่น เรือดำน้ำ ไม่ก็ เรือพิฆาต สมรรถนะสูง ครับ
เท่าที่ดูนะ น้องหยาดสามราถขึ้นจากเรือจักรีได้นะ ตั้งลำตรงท้ายเรือเลย แต่ลงคงไม่ได้ ผมว่าเจียร์ส่วน สกีจั้มพ์ ออก เสริมดาดฟ้าให้หนาๆ ติด คัตตาพัท ดีดเครื่องบิน ติดฮุคเบรคเครื่องบิน น่าจะทำได้ไม่ยากเย็นเกินไปนัก โดยให้บริษัทที่ต่อเรือของสเปนเป็นที่ปรึกษา ไม่งั้นก็เจรจากับอเมริกาขอซื้อ AV-8ซะก็แล้ว แต่จัยจริง ขอเป็นน้องหยาดจะหล่อมากๆ
ตามข้อมูลทั้งรูปภาพและข้อมูลเอกสารที่เพื่อนสมาชิกเอาเสนอ ในความเห็นของผมยังไงซะเรือหลวงจักรีก็เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินอยู่ดีเพราะเป็นไปตามการจัดหาตั้งแต่ครั้งแรก ส่วนต่างชาติเขาจะมองอย่างไรก็แล้วแต่ความคิดของพวกเขา เหตุที่ผมมองว่าเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินขนาดเล็กคือ ด้านหน้าของเรือมันมีสกีจั้มสำหรับการบินขึ้นของเครื่องบินปีกตรึงได้ เพราะถ้าเปรียบเรือบรรทุก ฮ. ของกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นซึ่งไม่มีสกีจั้มยิ่งทำให้เห็นภาพชัดเจน
ส่วนเรื่องกริฟเพ่นจะขึ้นหรือลงได้ไหม ขึ้นนะขึ้นได้แน่นอนแต่ตอนลงต่อให้มีสลิงดึงรั้งก็คงยากเพราะระยะทางไม่พอแน่นอน เพราะเครื่องต้องหยุดให้ได้ในระยะ 90 เมตร ถึงเรือจะยาว 180 กว่าเมตรก็จริงต้องมาหักระยะก่อนล้อเครื่องบินเเตะพื้นและส่วนของสกีจั้มออก แต่ถ้าเป็นเครื่องพวกเทอร์โบพร็อพน่าจะได้เพราะความเร็วร่อนลงไม่น่าจะสูงขนาดเครื่องบินไอพ่น
....ผิดพลาดประการใดขออภัยด้วยนะครับ
จัดตั้งโคลงการตั้งแต่แรกก็คือเรือบรรทุก ฮ.
ส่วนที่เสริมก็คือสกีจั้มที่มาเพิ่มเพื่อให้ AV 8s ใช้ขึ้นเพื่อย่นระยะเวลาในการออกตัว
ที่ใช้ใด้ก็มีพียงเครื่องบินแบบพิเศษขึ้นลงทางดิ่งเท่านั้น และ ฮ.ปีกหมุน
ถ้างบถึง ทร.จัดมาเลยครับ Sea Gripen กับเรือจักรีฯเดิมๆเรานี่แหละ
ไหนๆ Saab ก็ขึ้นรูปเรือเราซะขนาดนี้ ใช้ได้แน่นอนครับ !
Short Take Off but COnventional Landing : STOCOL 55555..
ขึ้นจากเรือกลางอ่าวไทยนี่แหละ! 4ลำมีแอบลุ้นเน้อ (Meteor4x4=16 หรือ RBS-15 2x4=8)
ถ้าเป็น air defense จับเป้าได้ก็ซัลโวลูกยาวโลด ดีกว่า SM2 เป็นไหนๆ ทั้งระยะและแทคติค
ถ้า Anti ship ก็ย่องๆเข้าไปได้อีกซักครึ่งชั่วโมงอยู่น่า รับรองไปได้ไกลกว่า SSM จากเรือโข
หลังจากนั้นหรือครับ อิอิ จะเป็นกองบิน 7 สุราษฏร์, อู่ตะเภา หรือนิมิทซ์คลาสที่กำลังแล่นเข้ามาเที่ยวพัทยาก็แล้วแต่อัธยาศัย
ปล.ขาไปกับขากลับขออิรี่อายกับพี่ F อยู่เป็นเพื่อนหน่อยได้ป่ะ เอ่อ..จัดแทงเก้อร์ให้ผมและพองเพื่อนซักลำด้วยนะ
ทำไมเราพูดแต่ av8 กับ f35 มาใช้กับเรือจักรี น่าจะลองพิจารณาของรัสเซียดูนะมีเครื่องบินที่ขึ้นลงแบบ av8 อยู่แต่ผมจำชื่อไม่ได้ ไม่รู้ว่ายังผลิตอยู่ไหม น่าสนใจหรือป่าว ใช้กับระบบกองทัพไทยได้ไหม
บ.ขึ้น-ลง ทางดิ่ง ของ รัสเซีย ไม่มีแล้วครับ...
ปลดระวางไปหมดแล้วครับ...ซึ่งไม่ประสบความสำเร็จ เท่าไหร่ ครับ...รัสเซีย ประจำการ Yak-38 ประมาณ 10 กว่าปี ก็ปลดหมดครับ..
ส่วน Yak-141 มีแต่รุ่นต้นแบบ...ไม่มีการจัดหาเข้าประจำการแต่อย่างใด...
ส่วน F-35B นี้...ถ้าจำไม่ผิด ล็อทฮีค มาร์ติน มาซื้อแบบ Yak-141 หรือ ร่วมทุน ไม่แน่ใจครับ...
ซึ่งน่าจะมีส่วนของ F-35B ที่มีส่วนหนึ่ง พัฒนามาจาก Yak-141 น่าจะเป็นเรื่องระบบการขึ้น-ลง แนวดิ่ง..
มาเพิ่มเติมข้อมูล การจัดหา เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ ของ กองทัพเรือ...
แบบเรือของ ร.ล.จักรีนฤเบศร มาจากแบบเรือ Sea Control Ship ของ กองทัพเรือสหรัฐ
โครงการ Sea Control Ship ของ กองทัพเรือสหรัฐ
การการออกแบบเรือ สำหรับ VSTOL = Vertical Or Short Take-Off and Landing
หรือ STOLV = Short Take-Off and Vertical Landing
ต้องดูจากระยะ take off ของเครื่องบินนั้นๆครับ ว่าจะขึ้นจากเรือ จักรี ได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องดีดหรือไม่
ระยะtake off at maximun weight ของ harrier คือ 435 เมตร ซึ่งมันขึ้นได้แน่ๆไม่มีใครเถียง
ถ้าระยะ take off ของเครื่องบินใด มันเท่ากันหรือสั้นกว่านี้ มันก็ต้องขึ้นจากเรือจักรีได้โดยไม่ต้องใช้ เครื่องดีด
สรุปในความเห็นส่วนตัว
ถ้าsea gripen กับ อากาศยานแบบอื่นๆ ใช้ระยะวิ่งสั้นกว่า 435 เมตร บนพื้นราบ ก็สามารถขึ้นจากเรือจักรี โดยไม่ต้องใช้เครื่องดีด ใส่เพิ่มแค่ ลวดหน่วงความเร็ว แต่ไม่รู้ว่าระยะทางสองอันนี้ รวมกันจะมากกว่าความยาวดาดฟ้าหรือเปล่า
แบบที่สอง แบ่งดาดฟ้าออกเป็นสองเลน แบบรูปในโบรชัว ของซีกริปเปน ใส่เครื่องดีด ในเลนขวามือเมื่อมองจากท้ายเรือ(เลนที่มีหอบังคับการบินอยู๋น่ะครับ) ส่วนเลนซ้ายมือใส่ลวดหน่วงความเร็ว(เลนยาวตั้งแต่ท้ายเรือ) เพราะกริปเปน ใช้พื้นที่ในการลงแค่ 9x600 m. เพราะฉะนั้นด้านความกว้างลงได้แน่นอน ถ้ามีลวดหน่วงความเร็ว
คุณลักษณะเรือ อ้างอิงจาก หนังสืออนุสรณ์ พล.ร.อ.ประพัฒน์ กฤษณจันทร์
ความยาวตลอดเรือของ 911 คือ 180 กว่าเมตรครับ...
ในแง่การใช้ อากาศยาน ที่ใช้ สลิง เกี่ยว...ควรจะมีพื้นที่ความยาวประมาณ 90 เมตร เป็นอย่างต่ำ ครับ...
ซึ่งการจะปรับปรุงลานบิน คือ น่าจะต้องวางแนวการลงเป็นแนวเฉียง ออกจากตัวเรือ ครับ...คือ ต้องมีการเพิ่มเติมตัวเรือ บางส่วน..
เพื่อความปลอดภัยของเรือ ถ้า อากาศยานเกิดเสียหลัก ก้จะได้ตกลงน้ำไป ไม่ไปทำความเสียหายในส่วนอื่นของตัวเรือ...
และป้องกันการ ชน ISLAND เรือ ด้วย...ซึ่งนั่นแหล่ะครับว่า...ต้องอาศัย เทคนิคการลง และ ตัวอากาศยานเอง ที่ต้องมีคุณลักษณะ STOL...ด้วยข้อจำกัดของขนาดเรือ...
ซึ่งถ้า Sea Gripen ไม่มีคุณสมบัติ STOL ก็ต้องอาศัยเครื่องดีดเพื่อขึ้น...
ในแนวคิดที่จะมี อากาศยาน บน 911...เบื้องต้นข้อกำหนดแรก บ. ต้องมีคุณลักษณะ STOL ก่อน ครับ...
ในความเห็นผม...ยกตัวอย่างนะครับ..
ตามภาพของท่านjuldas ผมเพิงรู้นะครับว่าเรือของเราติดMK41ได้1เเท่นยิง ถ้ามันติดได้จริงตามภาพบอกมานั้น จะมาเสียเวลาดัดเเปลงเรือทำไม ไม่ติดMK41ซะเลยเเล้วหาฮ.โจมตี ฮ.ปราบเรือดำน้ำเเบบเทพๆกับฮ.กู้ภัยทางทะเลมาซะเลย ส่วนการป้องกันระยะประชิดก็หาฟาร์ลังมาอีกซักระบบ ได้เเบบนี้รับรองหรูขึ้นเป็นกองเเล้วมันจะได้เป็นเรือบรรทุกฮ.ที่จะไม่มีใครกินได้ง่ายๆในเเถบนี้
ที่ต้องดัดแปลง เพราะมีเรือบรรทุกเครื่องบินอยู่แล้ว น่ะครับ...ในความคิดผม..
MK-41 จะยิง บ. ได้ ก็คือ ต้องให้มันบินมาใกล้ในระยะ 40-50 ก.ม. ถึงจะสอยได้...
ในขณะนี้ เรดาห์ เรือ อาจจะตรวจเจออากาศยาน ตั้งแต่ 150 - 200 ก.ม. แล้ว...
แต่ เรือก็ทำอะไรไม่ได้ครับ...ได้แต่ ดู...และ ก็มอง ๆ แล้วก็ ระวัง ๆ ให้ อากาศยาน บินเข้ามาในระยะ 50 ก.ม. หรือในขณะที่ บ. ก็บินเข้าระยะ 100 ก.ม. แล้วก็อาจะปล่อยอาวุธนำวิถี (ถ้ามี)...เข้าโจมตีเรือ เรียบร้อยแล้ว...แล้วก็บินหนีหายไป ไม่เข้าไปในระยะหวังผลของ ESSM
แทนที่ เรือ จะสามารถ ส่งอากาศยาน ไป ขัดขวาง หรือ เข้าทำลาย นับตั้งแต่ ตรวจเจอ ตั้งแต่ 150 - 200 ก.ม. เพราะความสามารถของเรือ พอที่จะทำได้อยู่...
สว่น ฮ.โจมตี ราคาถูกสุด ก็ยังแพงกว่า Super Tucano กว่า 2 เท่า ( ฮ.โจมตี แบบถูกสุด ราคาประมาณ 35 ล้านเหรียญ มีเพียงปืนกล กับ ติดจรวดปราบรถถัง ส่วน Super Tucano ราคาประมาณลำละ 12 ล้านเหรียญ )
ฮ.โจมตี แท้ ๆ จำนวน 8 ลำ ถ้ามือหนึ่ง ต้องใช้งบประมาณกว่ 280 ล้านเหรียญ (ลำละ 35 ล้านเหรียญ)
บ.ซุปเปอร์ ทูคาโน จำนวน 8 ลำ แบบแพงสุด ใช้งบประมาณ 128 ล้านเหรียญ (ลำละ 16 ล้านเหรียญ)
ถ้า 911 จะมี ฮ.โจมตี...ก็คงต้อง มือ 2 อย่างเดียว แม้ัจะมือสอง ราคาก็คงจะแพงกว่า Super Tucano อยู่ดี (ลำละประมาณ 18-20 ล้านเหรียญ)...
นั่นคือ ขั้นต่ำ ถ้าสามารถบรรทุก Super Tucano ได้...ซึ่งแม้ Super Tucano จะไม่สามารถต้านทาน บ.ขับไล่ ไอพ่น ได้...แต่ก็มีโอกาส ต่อกร ด้วย ไซด์ไวนเดอร์ ได้ เพราะ อากาศยาน ต้องบินเข้าระยะหวังผลของ จรวด อากาศ สู่ พื้น...คือ เข้าระยะ 100 ก.ม. ขึ้นไป...
หรือ Super Tucano ก็อาจต่อกร หรือ ปราบ กับ ฮ.ติดอาวุธ อากาศ สู่ พื้น ระยะไกล แบบ ฮ.ซุปเปอร์ พูม่า ติด เอ็กโซเซต...ที่ ฮ. แบบนี้ สามารถยิงอาวุธแบบในระยะสายตา...ที่ 911 เอง ไม่สามารถทำอะไรได้แม้ติดตั้ง MK-41...เพราะ ฮ. สามารถบินอยู่นอกระยะยิงของ ESSM แล้ว ปล่อยจรวด แบบด้วยสายตาได้...
ตามกระทู้ช้างต้น...ยกตัวอย่างในส่วนของ Super Tucano...
ส่วน สมมติว่า 911 สามารถแบก Sea Gripen ไปได้จริง...
ความสามารถคุ้มครองกองเรือ จะมีระยะเป็น 100 ก.ม. ขึ้นไป...
สามารถคุ้มครอง กองเรือพาณิชย์ ไม่ให้ได้รับความเสี่ยง ได้ตั้งแต่ระยะไกล...หรือ ความเสี่ยงของ กองเรือพาณิย์ (Convoy) จะน้อยกลง...
ซึ่งน่าจะเรียกว่า วัตถุประสงค์ ของ Sea Control Ship
ผมมีความเห็นว่า เรือจักรีฯ ควรที่จะมี บ.ปีกตรึงประจำการ จะเป็น AV8 , Jas39 , Tucano อะไรก็ได้ที่สามารถขยายขอบเขตการป้องกันและโจมตีออกไปเกินกว่าอาวุธนำวิถีโจมตีเรือของฝ่ายตรงข้าม คือ ต้องมากกว่า 200 km. ส่วนจำนวนเครื่องบินปีกตรึงที่ประจำบนเรือก็น่าจะอยู่ที่ 4-8 เครื่อง ที่เหลือก็จัด ฮ. แบบต่างๆมาประจำการ ส่วนระบบป้องกันระยะประชิดก็ควรเพิ่มฟาลังค์อีก 2 ระบบ กาบซ้ายและขวา ครับ หรือจะดีเข้าไปอีกขอ แอสปิเด้ ของ ทบ. (ถ้า ทบ. ไม่อยากใช้แล้ว) ชนิด 6 นัดต่อแท่นยิงมาติดตรงที่เคยกำหนดว่าจะติด MK41 เท่านี้ก็สุดๆแล้ว ครับ
ถ้ามองแนวโน้มในอนาคต ภัยคุกคามจาก ฮ.ซุปเปอร์ พูม่า + เอ้กซ์โซเซต์ จะยังไม่มี...
แต่ในอนาคต แนวโน้ม มันก็อาจจะมีเกิดขึ้น...ซึ่ง จะวางแผนแก้ไว้ ล่วงหน้า เกินภัยคุกคามในปัจจุบัน หรือเปล่า...
ในอนาคต ไม่ไกลนัก...
มาเลเซีย จะจัดหา เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ จำนวน 2-3 ลำ...
อินโดนีเซีย ก็จะจัดหา เรือบรรทุกเอลิคอปเตอร์ ด้วยเช่นกัน...
ปัจจุบัน
มาเลเซีย และ อินโดนีเซีย ก็ล้วนแต่จัดหา EC-725 เข้าประจำการ...
ซึ่ง ปัจจุบัน ยังไม่ปรากฎข่าวว่า EC-725 มีโครงการติดตั้งอาวุธนำวิถี EXOCET ใช้งานทาง นาวี....
แต่ ทร. บราซิล มีการจัดหา EC-725 เข้าประจำการใน กองทัพเรือ...ซึ่งคงต้องรอดูว่า ทร.บราซิล จะมีการใช้งาน ต่อต้านเรือผิวน้ำ ด้วย EXOCET หรือไม่ต่อไป...
ซึ่งแม้ต้องการติดตั้ง มันก็คงไม่ใช่เรื่องยากเย็น อะไร...เพราะ ก็มีการใช้งานในรุ่นก่อนหน้านี้อยู่แล้ว...
ปัจจุบัน ในภูมิภาคนี้ มี ฮ.ทางนาวี ที่มีความสามารถยิงอาวุธนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำได้ มีเพียงประเทศ มาเลเซีย ซึ่งมีระยะไกลสุด ไม่เกิน 35 ก.ม. (Sea Skua)
ซึ่งคงต้องพิจารณาถึงอนาคตว่า เมื่อ ทร.มาเลเซีย มีการจัดหา เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ แล้ว...จะมีแนวโน้มการประจำการด้วย EC-725 หรือไม่...และโอกาส แนวโน้มของ EC-725 จะมีการติดตั้ง EXOCET หรือไม่...ซึ่งจะทำให้ อำนาจการทำลายเรือผิวน้ำ ของเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ มาเลเซีย มีระยะไกลกว่า 50 ก.ม.
ซึ่งเกิน ระยะของ ESSM ที่จะทำลาย เฮลิคอปเตอร์ ก่อนการยิง EXOCET ได้...
ก็คงต้องใช้ เฮลิคอปเตอร์ ปราบ เฮลิคอปเตอร์...หรือจะใช้ Super Tucano ปราบ เฮลิคอปเตอร์...
ซึ่งภาพของ อินโดนีเซีย ที่จะจัดหา เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ ก็จะเหมือนกับ มาเลเซีย ตามที่กล่าวข้างต้น...
เปรียบเทียบ ในแง่ สมดุลย์ ทางการทหาร นะครับ...ไม่ได้มองว่า มาเลเซีย และ อินโดนีเซีย จะเป็นศัตรูกับไทย...
ผมว่ามันก็สมควรนะครับ อย่างที่ท่าน juldas ว่า แล้วก็อีกอย่าง ผมก็สงสัยมานานแล้วว่า STIR ที่ถอดออกมาจากเรือชุด นเรศวรจะเอามาติดกับ เจ้า911 ตรงไหนหว่า ก็จะรู้ก็ตอนนี้อ่ะครับ ว่าแต่เขาจะเอามาติดแล้วให้เจ้าSTIR มาควบคุมอะไรเหรอครับ
AV-8B+ ตอนนี้เท่าที่มองดู พอจะมีโอกาส ก็คือ ของ ทร.อิตาลี่ ครับ...
แต่ ตุรกี ได้ขอซื้อ เรือบรรทุกเครื่องบินของ อิตาลี่ Italian aircraft carrier Giuseppe Garibaldi (551)
โดยรวมฝูงบิน AV-8B+ จำนวน 16 ลำ ด้วย (แบบที่นั่งเดียว 14 ลำ แบบ 2 ที่นั่ง 2 ลำ)
ซึ่งฝูงบิน AV-8B+ จำนวน 16 ลำ ได้ตีราคามูลค่าลำละ 12 ล้านเหรียญ รวมมูลค่า 192 ล้านเหรียญ...
โดย ทร.อิตาลี่ วางแผนจะปลดระวางเรือลำนี้ในปีนี้ และคาดว่าจะส่งมอบได้ในปี 2015 เป็นต้นไป...เพราะ ตุรกี ต้องทำการ Refit และปรับปรุงใหม่...
เรือลำนี้มีอายุประมาณ 27 ปีแล้ว...ซึ่งเป็นเรือระดับเดียวกับ ร.ล.จักรีนฤเบศร...
แต่ปัจจุบัน ยังไม่มีข่าวออกมา...และไม่แน่ใจว่า ตุรกี จะยกเลิกหรือไม่ เพราะอยู่ระหว่างการเจรจา...
ด้วยเหตุที่ว่า รัฐสภา ตุรกี ก็เสนอว่า ถ้าจัดหารเรือบรรทุกเครื่องบินลำนี้...ทร.ตุรกี จะต้องลดจำนวนการจัดหาเรือใหม่ จำนวนหนึ่ง ด้วย...
ซึ่งถ้า ดีล นี้ ไม่สำเร็จ...ก็มีโอกาส สำหรับ AV-8B+ มือสอง ฝูง นี้...เพราะ อิตาลี่ จะใช้ F-35B ประจำการแทนฝูงนี้ ที่ประจำการอยู่บนเรือบรรทุกเครื่องบินอีกลำหนึ่ง Italian aircraft carrier Cavour (550)
ก็อยู่ที่ว่า ทร. จะมีงบประมาณจัดหาหรือเปล่า...ถ้า ดีล ของ ทร.ตุรกี ล้มลง...
ตามที่ได้อ่านของ ท่าน rinseaver ว่าไว้...
STIR มันจะช่วย ตรวจจับเป้า ให้กับ ซาดรัล ด้วยครับ...
STIR ก็เป็น เรดาห์ตรวจจับ แบบหนึ่ง ครับ ในขณะเดียวกัน ก็เป็น ระบบควบคุมการยิ หรือ ล็อคเป้า ให้กับระบบอาวุธ ทั้ง ปืน และ มิสซายส์...
ก็ไม่แน่....อาจจะได้มีลุ้น MK-41 ก็ได้ครับ สำหรับ 911...เพราะเป็น สเปค ของเขาอยู่แล้ว...
สำหรับอะไหล่ของ AV-8B+ ของ ทร.อิตาลี่...ถ้าจำไม่ผิด ก่อนหน้านี้ บ.โบอิ้ง ได้ทำสัญญาระหว่าง สหรัฐ สเปน และ อิตาลี่...ว่าจะสำรองอะไหล่ และ การซ่อมบำรุง ให้ตลอดอายุการใช้งานของ AV-8B+..
แต่อย่างไรก็ตาม...ฝุงบินนี้ ผมคิดว่า ก็คงต้องผ่านความเห็นชอบจากสหรัฐ เหมือนกัน ถ้า อิตาลี่ จะจำหน่ายให้ประเทศที่สาม...ถ้าเข้าใจไม่ผิด เป็นโครงการผ่าน โปรแกรม FMS...
ทั้งหมด 16ลำก็ราคา 5760ล้านบาท แถมได้เอาไว้เป็นเครื่องสำรอง อะไหร่อีกด้วยนะครับ น่าสนมากๆๆ เลยนะครับ แต่ก็มีอยู่หลายโครงการที่ ทร.ต้องรีบจัดหาอีกเยอะเลยนะครับ ก็คงได้เป็นฝันเล็กๆๆ
ขอบคุณมากครับป๋าจูลในเรื่องข้อมูลการขายเรือ กาลิบัลดิ ของทร.อิตาลี
เมื่อ 7-8 ปีก่อน ป๋าน่าจะจำได้ ทร.เคยถกเถียงกันว่าจะจัดหาเรือบรรทุกบ.ลำที่สองในฝั่งอ่าวไทย กับการจัดหาเรือดำน้ำมาประจำอ่าวไทย เอาอันไหนก่อนดี ตอนนั้นผมลุ้นครับว่าอาจจะได้ กาลิบัลดิ หรือ ปริ้นซิเป้ แต่เรื่องมาจบที่ทร.จัดหาเรือดำน้ำก่อน ซึ่งมาตอนนี้ผมว่าทร.ตัดสินใจถูก แต่มันก็โดนไวรัส type 206A ไปเรียบร้อยแล้วล่ะสำหรับเรือดำน้ำ รู้งี้เอากาลิบัลดิมาก่อนดีกว่า
แต่ราคาเครื่อง AV-8 B+ ราคาที่อิตาลีเสนอขายให้ตุรกีนี่น่าสนใจนะครับ ทั้ง 16 เครื่องราคาไม่ถึง 6,000 ล้านบาท หรือเครื่องละ 360 ล้าน และใช้งานมาไม่มาก อายุการใช้งานน่าจะเหลือไม่น้อยทีเดียว แต่ถ้าซื้อ AV-8B+ จากนย.อเมริกาที่กำลังจะปลดออกใน 2-3 ปีข้างนี้ที่จะถึงนี้ เราจำเป็นต้อง refit แบบแทบสร้างใหม่เพราะพี่แกใช้งานหนักมากๆ ดังนั้นผมว่าราคาน่าจะตกลำละ 500 ล้านบาท ซึ่งเป็นราคาที่เราเคยเกือบจะจัดซื้อเมื่อสิบกว่าปีก่อน เหมือนต้องซื้อใหม่เลย
แต่เอาเถอะ ผมเชื่อว่า ทร.ได้รับการสนับสนุน คงจะจัดหามาประจำการเรืออย่างแน่นอน แต่ต้องได้ EH-101 รุ่น AEW มาด้วย 2-3 ลำ จึงจะพร้อมรบครับ
ขอแก้คำผิดครับ เรือบรรทุกบ.ลำที่สองในฝั่งอันดามันครับ กับเรือดำน้ำในฝั่งอ่าวไทย จบที่เลือกเรือดำน้ำในฝั่งอ่าวไทยต้องมาก่อน ถ้ารู้ว่ามันจะแห้วแบบนี้ เอาเรือบรรทุกบ.ลำที่สองก่อนดีกว่า แต่อย่างว่าใครจะไปรู้อนาคต
ทั้งเรือดำน้ำ เรือบรรทุกบ. เรือพิฆาต เรือลาดตระเวน จัดเป็นอาวุธเชิงรุกทั้งหมดล่ะครับ
จะหามาอีกลำ ขอ ตระกูล SAC เถอะครับ จะ 200 ,220 ,245 ได้ทั้งนั้นคราวนี้ไม่ต้องลุ้นว่า บ.อะไรมันลงได้มั่ง แถมเรือดำน้ำยังไม่มีอนาคตในช่วงนี้(ใจจริงอยากให้มีเรือดำน้ำมาก) ก็พัฒนากำลังอากาศนาวีและจัดหาเรือบรรทุกบ. มาก่อน ถ้าขอเรือดำน้ำแล้วยังไม่ได้อีกก็เพิ่มเรือฟรีเกต เรือยกพล เพิ่มรถถังนาวิก AAV พอพม่าหรือกัมพูชา จัดหาเรือดำน้ำรับรองว่ากลาโหมอนุมัติทันที แถมนั่งไม่เป็นสุขอีกต่างห่าง โดยเฉพาะถ้ากัมพูชามีเรือดำน้ำก่อนไทย
เพราะฉะนั้นอันไหนที่มันจัดหามาก่อนได้ก็ควรเร่งดำเนินการ เพราะถ้าอำนาจกำลังรบเราไม่ได้สมดุลกับเพื่อนบ้านแล้ว ในเวทีการเมืองระหว่างประเทศเขาก็จะไม่เกรงใจเราแบบทุกวันนี้แหละ เดี๋ยวก็มีส่งผู้สังเกตการณ์มาประจำตามชายแดนเราซะงั้น ถ้ากำลังรบทางทะเลและอากาศเราเข้มแข็ง หรือมีจรวดและขีปนาวุธ(ยังไม่ต้องนิวเคลียร์)พิสัยคลอบคลุมแถวอาเซียนทั้งหมด ภาพการเมืองระหว่างประเทศคงออกมาอีกแบบ
ตอนที่มีการพิจารณาเรื่องเรือบรรทุกเครื่องบินลำที่สองนั้นผมไม่แน่ใจว่าเป็นหนังสือสมรภูมิหรือเปล่าที่เอาข้อมูลของเรือทั้งของ อิตาลีและสเปนมานำเสนอ
ตอนนั้นผมกลับลุ้นให้ ทร.มีเรือบรรทุกเครื่องบินลำที่สองมากกว่า เพราะเรื่องดำน้ำผมกลัวมันจะไปไม่รอดเพราะเหตุ....(ขอย้ำว่าตอน8ปีที่แล้วครับ)..มีการถกเถียงเรื่องความตื้นของอ่าวไทยและปากแม่น้ำเจ้าพระยาประมาณนี้ล่ะจำไม่ค่อยได้ และก็มีเรืออยู่ 2 แบบที่น่าสนใจในตอนนั้นคือ เรือดำน้ำ กิโล-877 EKM กับ A-19 Gotland สุดท้าย ทร. เลือก A-19 แต่แล้วมันก็จบเหมื่อมหากาพฬ์เรือดำน้ำ 206 ที่ผมลุ้นให้มีเรือบรรทุกเครื่องบินลำที่สองก็เพราะว่าเราจะได้มีกองเรือที่ยิ่งใหญ่ทั้ง 2 ฝั่ง และมีเครื่องบินบนเรือจะไปที่ไหนก็ได้ที่เราต้องการไปควบคุม
และตอนนี้ถ้าจะเอาแบบเดิมผมว่าเอาพวก SAC-200 หรือ 220 ดีกว่าไหมไม่จำเป็นต้องเอาสาว AV ก็ได้ ขอเป็นฮ.แบบจัหนัก+วุปเปอร์ทุคาโน่ อย่างที่ท่าน จูลดาส ว่าไว้ก็แหล่มล่ะ ส่วนการจัดการเป้าหมายทางอากาศก็จัดพวกขับไล่ครองอากาศ 2เครื่องยนต์ประจำการที่กองบิน 7 สัก 16-18 ตัว ติดอาวุธแบบจัดเต็มแค่นี้แถบนี้ก็หงอยป็นไก่ได้น้ำแล้ว
อ้าวพิมพ์ตกแก้ครับ....หงอยเป็นไก่ไม่ได้น้ำ.... T_T
ถ้าเอา Super Tucano มาติดสกี แล้วให้ร่อนลงในน้ำแทนอ่ะครับ
ตอนบินขึ้น ก็ใช้สกีนั่นแหละ
แต่ตอนลง ก็ลงในน้ำแทน แล้วจากนั้นก็เอาเครนยกขึ้นแทน
หรือไม่ก็เจาะตูด ให้วิ่งเข้าด้านล่างแทน
พอจะเป็นไปได้ไหมครับ
แต่ในสถานการณืปกติ จะอยู่บนบก แต่ถ้าอยากเพิ่มศักยภาพก็สามารถลง 911 ได้ด้วยวิธีอย่างที่ผมว่า
ผมว่าน่าจะใช้งบประมาณน้อยที่สุด เรือไม่ช้ำด้วย
เรื่องเรือบรรทุกเครื่องบิน หรือ บรรทุกเฮลิคอปเตอร์ ลำที่ 2...ผมว่าจะยากกว่า เรือดำน้ำ ครับ...
เพราะดูแล้ว การจัดหาเรือประเภทนี้ ไม่ใช่ว่า จะจัดหาเรือเพียง 1 ลำ นะครับ...
จะต้องมีการจัดหา เรือพี่เลี้ยง หรือ เรือฟริเกต เพื่อคุ้มกันเรือเพิ่มเติม ด้วยครับ...
ตอนที่ ทร. เริ่มโครงการจัดหา เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์...ทร. จึงต้องจัดหา เรือฟริเกตเพิ่มเติม จำนวน 6 ลำ (คือ กองเรือฟริเกตที่ 2 ในปัจจุบัน) เพื่อเป็นเรือพี่เลี้ยงให้กับเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ ครับ...
ซึ่งในช่วงนั้น ทร. วางแผนจะมีเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ จำนวน 2 ลำ...
โครงการ เรือชั้น นเรศวร ก็มีโครงการจัดหา จำนวน 8 ลำ...เมื่อรวมกับ เรือชั้น เจ้าพระยา จำนวน 4 ลำ ก็จะเป็นมีจำนวน 12 ลำ...
หรือ เรือฟริเกต พี่เลี้ยง จำนวน 6 ลำ ต่อ เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ จำนวน 1 ลำ...
แบบเดียวกับ ทร. สเปน ที่มีเรือบรรทุกเครื่องบิน จำนวน 1 ลำ ทร.สเปน ก็มีการสร้างเรือฟริเกตชั้น OHP จำนวน 6 ลำ เพิ่มเติม...
ทูคาโน่ เหมาะสมี่สุด ไม่ง่าด้านราคาหรือแ้แ่สมรรถนะผมว่าน่าจะเหมาะกับ911ที่สุด แฮริเออร์เลิดผลิตไปแล้วครับจะเอาของเก่ามาทำไมยังไงรวมกันมันก็หลักพันล้านขึ้นไปอยูแล้วเงินไม่น้อยนะครับืsea gripenยังไม่เกิดและผมว่ามันจะเกินกำลังของ911 F35เลิกพูดครับเมื่อไหร่จะมา ราคาไม่ต้องพูด ทร.จัดหางบในส่วนนี้พร้อมค่าบำรุงรักษาไม่ไหวหรอกครับิทูคาโน่น่าจะเหมะที่สุดสำหรับทร
ขอโทษครับใช้มือถือpostืผิดมากครับ
ทูคาโน่ เหมาะสมี่สุด ไม่ง่าด้านราคาหรือแ้แ่สมรรถนะผมว่าน่าจะเหมาะกับ911ที่สุด แฮริเออร์เลิดผลิตไปแล้วครับจะเอาของเก่ามาทำไมยังไงรวมกันมันก็หลักพันล้านขึ้นไปอยูแล้วเงินไม่น้อยนะครับืsea gripenยังไม่เกิดและผมว่ามันจะเกินกำลังของ911 F35เลิกพูดครับเมื่อไหร่จะมา ราคาไม่ต้องพูด ทร.จัดหางบในส่วนนี้พร้อมค่าบำรุงรักษาไม่ไหวหรอกครับิทูคาโน่น่าจะเหมะที่สุดสำหรับทร
ป๋าจูได้ดีน่าฟัง ต้องนี้ครับ
เราจะซื้อ เรือบรรทุกเครื่องบิน เราที่สองทำไม เมื่อเรมมีอยู่แล้ว
ถือว่าเป็นความจริงมากครับ และที่สำคัญเราไม่มี เรือพี่เลี้ยงตามที่ ป๋าจู พูดไว้อีกนั่นแหละครับ
ส่วนที่น่ากลัวของเรือ บรรทุกเครื่องบิน จริงจริง คือ อากาศยาน ของเรือ ไม่ใช่ตัวเรือ
ตัวเรือเป็นเพียง สนามบินลอยน้ำ เคลื่อนเท่าเท่านั้น
ส่วนในเรื่อง ฮ เราก็พร้อมแล้ว สามารถใช้ anti sub กับ กู้ภัย ยกพลขนบก
แต่อากาศยาน แต่ใช้รุก เข้าไปโจมตีนั้น ผมว่า มันไม่ใช่หน้าที่ ฮอนะครับ
ส่วนเรือง เครื่อง jet ผมว่าไม่เหมาะ เพราะความเร็วสูง ลดความเร็วลงมากไม่ได้
สำหรับผม ที่รู้จัก เรือ บรรทุกเครื่องบิน เก่าเก่ามา
นั้น ผมว่า เรือจักรี รองรับ เครื่องบิน ทอร์โบพรอพ ได้นอน เพราะเค้าทำกันมานานมากแล้ว
และเห็นด้วยมากที่จะ จัดซื้อจัดจ้างมาประจำการ ครับผม
สำหรับ Super Tucano เห็นด้วยอยู่แล้วครับ...
ผมว่า ไม่ว่ายังไง ทร. ก็ควรจะจัดหามา เพื่อทดแทนหน้าที่ T-337 บางส่วน และ ทดแทน หน้าที่ A-7 บางส่วน
1. สามารถสนับสนุน นย. และ ภาระกิจโจมตี เช่น ระเบิดนำวิถีด้วยเรเซอร์
2. สามารถรักษาความสงบชายแดน บริเวณ จันทบุรี - ตราด ในส่วนความรับผิดชอบของ นย. โดยไม่แสดงถึงการคุกคาม เท่า บ.ขับไล่ไอพ่น
3. เตรียมความพร้อมของ นักบิน กบร. ที่จะสามารถเปลี่ยนแบบเป็น เครื่องบินขับไล่ไอพ่น ได้ในอนาคต เมื่อ ทร. มีความสามารถจัดหา
4. การไม่ขาดหายระยะเวลาจาก ยุทธวิธีการรบทางอากาศ ของ บ.ขับไล่ ในส่วนของ กบร.
5. Super Tucano สามารถจะ บูรณาการข้อมูลร่วม กับ บ.ของ ทอ. ได้ คือ Erieye กับ Jas-39 แบบเดียวกับ ทอ.บราซิล
ปัจจุบัน ในภูมิภาคอาเซียน ที่มี Super Tucano และ กำลังจะมี คือ
อินโดนีเซีย จำนวน 16 ลำ
ฟิลิปปินส์ จำนวน 6 ลำ
ถ้า ทร. จัดหามาได้ อย่างน้อย 8 ลำ
และไม่แน่ ในอนาคต ทบ. อาจจะมีความต้องการ ฝูงบินโจมตีเบาแบบปีกตรึง Super Tucano ก็อาจจะเป็นตัวเลือกแบบหนึ่ง
และอาจจะเป็น ระบบอาวุธแบบแรก ที่จะสามารถ บูรณาการข้อมูลการรบร่วม ของ ทบ. ทอ. และ ทร. ก็ได้นะครับ...ในความเห็นของผม
ด้วยมิติของ super tucano ที่มีขนาดเล็ก การตรวจจับด้วย radar จะทำได้ยากและทำการบินเรี่ยผิวน้ำ(เพื่อหลบหลีกradar)เข้าหาเรือรบฝ่ายตรงข้ามแล้วปล่อยจรวดต่อต้านเรือรบอย่าง Hapoon หรือ RBS15 คงสร้างความหนักใจให้กับฝ่ายตรงข้ามได้ไม่น้อย...คำถามของผมคือ Super tucano มีความสามารถแบกอาวุธขนาดหนักอย่าง RBS15 หรือ Hapoon แล้ว take off จากดาดฟ้าเรือ 911 ได้หรือไม่ครับ....ทั้งนี้และทั้งนั้นคงต้องทำการ Modify software ให้สื่อสารกับอาวุธสองตัวนี้ให้ได้ก่อน ซึ่งตรงนี้คิดว่าบราซิลคงไม่น่าจะมีปัญหานะครับ
สำหรับผม มองว่าถ้าทร.จะจัดหา Super tucano น่าจะจัดหามาเป็นเครื่องฝึกน่าจะดีกว่าครับ เอามาสัก 12-16 ตัว จะได้ไม่ต้องพึ่งทอ.อีกต่อไป และทำการทดสอบการขึ้นลงบนเรือจักกรีโดยไม่มีลวดหน่วงความเร็วและใช้สกีจัมพ์ ว่ามันสามารถขึ้นลงได้ไหม เพราะเครื่องบินใบพัดสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ก็สามารถขึ้นลงจากเรือที่เล็กกว่าจักกรีได้โดยไม่ต้อง Arrestor และ คาตาพลัสต์แต่อย่างใด การมีเครื่องชนิดนี้ประจำการในทร. น่าจะเหมาะสมกรณีที่ใช้ในภาระกิจ CAS มาก แต่ไม่เหมาะสมในภาระกิจต่อต้านกองเรือรบข้าศึกแต่ประการใด เสี่ยงเกินครับ สนับสนุนการยกพลขึ้นบกได้ดีมากทีเดียว
แต่ภาระกิจป้องกันภัยทางอากาศและโจมตีกองเรือข้าศึก ยังไง Harrier 2+ ก็ยังเหมาะสมกว่ามากเช่นเดิมครับ เพราะสามารถบรรทุก Harpoon ได้ 4 ลูก ยิง AMRAAM ได้ และมีผลงานรบกับเครื่องบินเจ๊ตขับไล่อย่าง mirage 3 ได้ไม่ด้อยกว่าแต่อย่างใด Harrier 2+ จำนวน 12 - 16 เครื่อง จะสามารถสร้างอำนาจการยิงให้แก่กองเรือบรรทุกบ. ของเราได้อย่างดุดันขึ้นมาก เมื่อต้องทำสงครามเต็มรูปแบบ และมันสามารถใช้งานร่วมกับ EH-101 AEW ได้ ซึ่งทำให้ทร.ไม่ต้องพึ่งพาเครื่อง AEW&C จากทอ.อีก และเป็นการปลดโซ่ตรวนที่ล่ามกองเรือออกไปได้ครับ ทำให้ทร.สามารถส่งกองเรือไปที่ใดในโลกก็ได้ครับ
ดังนั้นผมสันบสนุนให้ทร.จัดหาเครื่องทั้งสองแบบ เพราะ 911 ก็คือสนามบินลอยน้ำ สามารถเลือกแบบเครื่องบินไปปฎิบัติการได้ หรือจะเอาติดเรือไปทั้งสองแบบก็ได้ ทร.ก็มีเครื่องฝึกเป็นของตนเองด้วย ส่วนเครื่องฝึกขั้นต้น ก็อุดหนุน บ.ทอ.6 ก็ได้ครับ ราคาเพื่อนฝูงกัน สัก 12-16 ตัว
ทั้ง Harpoon และ RBS-15 จำเป็นต้องได้รับข้อมูลจากระบบเรด้าร์ป้อนค่าให้ก่อนครับ ซึ่ง super tucano ไม่มีเรด้าร์ประจำเครื่อง อย่างดีก็ระเบิดนำวิถีด้วยเลเซอร์ และจรวด A-to-A missile ระยะยิงใกล้แบบ AIM-9 (นำวิถีความร้อน)และ Hellfire(นำวิถีความร้อน) ซึ่ง Hellfire มีรุ่นใช้งานทางทะเลด้วย จะทำให้มันสามารถโจมตีเรือตรวจการณ์และเรือปืนขนาดเล็กได้ และการที่ติดตั้ง A-to-A missile ระยะใกล้ ก็ทำให้มันสามารถต่อตี ฮ. ใช้งานทางทะเลที่สามารถติดตั้งจรวดต่อตีเรือรบได้
แต่ถ้าจะเอามันไปโจมตีเรือฟรีเกต ผมว่ายากมากครับ เพราะระบบเรด้าร์ประจำเรือสมัยใหม่สามารถตรวจจับเป้าหมายขนาดเล็กแบบลูกอาวุธนำวิถีในระยะ 40 กิโลเมตรได้ แม้ว่าจะบินต่ำแทบติดน้ำ แล้วสามารถใช้จรวดต่อต้านเครื่องบินรบจัดการเครื่องใบพัดได้อย่างง่ายดายครับ นอกจากนี้เครื่องใบพัดก็ไม่สามารถทำหน้าที่ป้องกันภัยทางอากาศแต่อย่างใด เพราะคงสู้เครื่องบินขับไล่สมัยใหม่ไม่ได้เลย
แต่ผมก็สนับสนุนให้ทร.จัดหา Super tucano มาใช้งานครับ แม้แต่ทอ. ผมก็คิดว่าเมื่อ PC-9 ปลดประจำการ Super tucano น่าจะเป็นคำตอบที่ดี รวมถึงฝูงโจมตีเบาใบพัดในภาระกิจ CAS ด้วย ( AU-23) น่าจะเหมาะสมในการใช้งานอย่างใน 3 จังหวัดชายแดน
แต่ยังไง Harrier 2+ ก็ยงัจำเป็นสำหรับจักรีอยู่ดีครับ
อันนี้เป็นข้อมูลระยะทางการวิ่งขึ้นและร่อนลงของ super tucano ครับ
|
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
จะเห็นว่าระยะทางที่ใช้ในการวิ่งขึ้นและลงยาวเกือบเท่า Jas-39 เลยทีเดียว ถ้าจะนำมันมาใช้บนจักรีต้องมีการปรับปรุงเป็นรุ่นใช้งานบนเรือบรรทุกบ.ครับ แสดงว่ามันไม่ได้รับการออกแบบให้เป็น STOL แต่แรก(เครื่องหนักแค่ 3 ตันเศษเท่านั้น แต่ใช้ระยะทางวิ่งสั้นกว่าเครื่องเจ็ตขนาด 7.5 ตันนิดหน่อย ต้องบอกเลยว่า Jas-39 นี่เป็นเครื่องบินเกือบจะเป็น STOL เต็มทนแล้ว) ซึ่งมีทางเลือกสองทาง หนึ่งปรับปรุงจักรี ข้อสองออกเงินให้ Embraer ปรับปรุง super tucano รุ่นการใช้งงานบนเรือบรรทุกบ.ครับ ล้อคงปรับปรุงไม่มาก แต่ต้องเพิ่มพื้นที่ปีกและชนิดของแพนอากาศใหม่ ต้องสามารถพับปีกได้ และอาจจะต้องปรับปรุงกำลังเครื่องยนต์ให้สูงขึ้นด้วย
ดังนั้นการที่ทร.เคยเกือบซื้อมันมาใช้งาน คงจะใช้งานมันจากสนามบินบนบกเท่านั้นครับ โดยเฉพาะการฝึกนักบิน แสดงว่าทร.คงยังไม่ตัดใจจากฝูงบินขับไล่และฝูงโจมตีแต่ประการใด ดูได้จากการพยายามจัดหา super tucano ครับ
เวปอ้างอิง
http://www.aircraftcompare.com/helicopter-airplane/Embraer-EMB-314-Super-Tucano/110
จะมี AV8B Tucano หรือมีแต่ ฮ. ลองมาดูสถานการณ์สมมุติดีกว่าครับ
สถานการณ์
เวลา 00:00 มีการเผาสถานฑูตไทยในประเทศ XX
เวลา 00:01 กองทัพไทยสั่งให้ กองเรือรบและเรือ 911 ออกไปลอยลำในอ่าวไทย ณ. พิกัดลับ (กรณีนี้จึงไม่สามารถส่ง F16 บินคุ้มกันในทะเลได้) ขณะเดียวกัน ทอ. ส่ง F16 MLU 6 ลำขึ้นบินวนเหนือแผ่นดินใกล้ชายแดน
เวลา 00:02 ฝ่ายตรงข้ามเกิดตรวจพบจึงส่งฝูงบิน มิราจ 2000 (อนาคตอาจมี) ขึ้นบินประกบก่อกวน F16 ตามแนวชายแดน แต่ไม่เข้าปะทะ พร้อมกันนั้นก็ส่งฝูง ฮ. Z9ติดอาวุธนำวิถีโจมตีเรือ(สมมุติ ตระกูล C7XX , C8xx) จำนวน 6 ลำเข้าโจมตีกองเรือในอ่าวไทย ฝ่ายกองเรือ 911 สามารถตรวจพบฝูง ฮ. ที่ระยะ 150 กม แต่ไม่มีอาวุธใดยิงถึงจึงแจ้งไปกองบิน 701 ขอ Jas39 มาสนับสนุน
เวลา 00:03 ฮ.Z9 ยิงอาวุธนำวิถีทั้ง 12 ลูกเข้าใส่กองเรือที่ระยะ 70 กม แล้วบินหนีกลับไป
เวลา 00:04 กองเรือเริ่มยิงต่อต้านอาวุธนำวิถีที่ระยะ ต่ำกว่า 40 กม ด้วยอาวุธทุกชนิดจากเรือนเรศวร เรือพุทธฯ เรือสุโขทัย เรือ911
คำถามคือ
1.กองเรือจะสามารถสกัดอาวุธทั้ง 12 ลูกได้หรือไม่
2.Jas39 จะมาทันก่อน ฮ.Z9 จะยิงอาวุธหรือไม่
3.ถ้ากองเรือมี AV8B standby บนเรือ 911 จะสามารถขึ้นสกัด ฮ.Z9 ได้ทันหรือไม่
สำหรับผมคำตอบคือขอมี AV8B สัก 4 ลำไว้บนเรือ911 จะอุ่นใจกว่า ครับ
ในลำดับต่อมาคงเอาแมงป่องเข้ารอบกัดแล้วคราวนี้เอาไรสู้อ่ะไม่ใช่เรือดำน้ำเหรอครับ
ก็คงต้องจัดหาของตามความต้องการและได้รับอนุมัติก่อนล่ะครับ
เรือดำน้ำำคัญที่สุด แต่ยังไม่ได้รับความยินยอมจากผู้มีอำนาจ ก็ต้องผ่านไปก่อน 5-6 ปีข้างหน้าก็ต้องแกล้งลืมไปก่อน
2. เรือ OHP จำนวน 2-4 ลำ เพื่อเสริมขีดความสามารถต่อต้านเรือดำน้ำอย่างเร่งด่วน
3. เรือฟรีเกตสมรรถนะสูงใหม่ถอดด้าม 2 ลำ ทั้งปราบเรือดำน้ำ ป้องกันภัยทางอากาศเฉพาะจุด และจะสามารถ upgrade เป็นเรือป้องกันภัยทางอากาศเป็นพื้นที่ในภายหลังได้
4. OPV 3 ลำที่เหลือ เห็นว่า mod มาด้วย
5. harrier 2+ อเมริกาจะปลดภายใน 2-3 ปีข้างหน้า หรือถ้าตุรกีไม่เอาดีลของอิตาลี เราน่าเสียบแทนนะครับ
6. LPD ลำที่ 2
เรือดำน้ำที่สำคัญที่สุดอาจจะต้องกลายเป็นว่าได้ทีหลังสุดไปก็ได้ครับ วัยดึกเซ็ง........
สมมุติว่าเราได้ Harrier 2+ มาใน 5-6 ปีข้างหน้า (เรือดำน้ำยังดำไม่โผล่) 911 ของพวกเราก็อายุราวๆ 20 ปีได้แล้วล่ะครับ เกือบครึ่งอายุการใช้งานแล้ว Harrier2+ คงต้องประจำการบนเรือไปอีกสัก 20 ปีได้ ดังนั้นเมื่อถึงเวลาที่ต้องปลดประจำการ Harrier เรือก็แทบจะต้องปลดประจำการแล้วล่ะครับ จะเอา F-35B มาใช้ ดูไม่คุ้มเลยยยยเมื่อถึงเวลานั้น
ถึงแม้เรือจะสามารถปรับปรุงเป็น STOBAR ได้ก็ตามที เสียดายมากครับ ถึงเวลานั้นต่อเรือใหม่อาจจะคุ้มค่ากว่าแล้วก็ได้
ผมหวังว่าผู้มีอำนาจกลุ่มใหม่คงจะเห็นถึงความสำคัญของกองทัพเรือและกองทัพอากาศมากกว่าเก่านะครับ ผมจะตามดูจากงบประมาณกองทัพในแต่ละปีที่จัดให้ทอ.และทร. ไปเรื่อยๆ ว่า% เทียบกับทัพบกและเทียบกับยอดรวมนั้นดีขึ้นมาหรือไม่ครับ
ลองแสดงความเห็นเล่นๆดู ถ้านิคมอุตสาหกรรมการบินของไทยที่โคราชก่อตั้งแล้ว น่าจะลองซื้อลิขสิทธิ์ SEA HARRIER FA2 จากอังกฤษมาแล้วปรับปรุง เรดาร์ให้ใช้เรดาร์แบบเดียวกับ JAS 39 ถ้าคิดจะสร้างอย่างจริงจัง สร้าง SEA HARRIER FA2 ในประเทศยังถูกกว่าให้ซื้อ F-35B อีก
ผมว่า "Gippen 39" น่าจะเหมาะสมที่สุดครับ เพราะว่าเรือจักรีสามารถรับน้ำหนักกระแทกได้ มากกว่า 20 ตันต่อจุดอยู่แล้วครับ
แรงกระแทกจากการลงของเครื่องบิน แม้จะมีน้ำหนักมากกว่าเครื่องบินหลายเท่า แต่เป็นแรกกระทำเชิงมุม (แรงโมเมนต์ตัมเชิงมุม)
ทำให้น้ำหนักลดลงไปได้มากครับ แล้วยังเฉลี่ยไปยังล้อหลังอีก 2 ล้อ รับภาระคนละครึ่ง (มุมยิ่งน้อยน้ำหนักกดยิ่งลดลง)
ปกติเครื่อง "เฮอริเออ" ก็ลงจอดแบบร่อนลงด้วยเหมือนกัน ไม่ได้ลงแบบทางดิ่งอย่างเดียวครับ
ตอนขึ้นไม่เป็นปัญหาครับ จะเลือกแบบสันดาบท้าย หรือแบบสไลดิ่ง ก็ได้ครับ
ผมสรุปของผมเองครับ ว่า Gippen เป็นคำตอบสุดท้ายครับ (ความเห็นส่วนตัวครับ)
ซัก 8 เครื่องก็พอ ครับ เรือจักรีก็แค่ติดตั้งสลิงลงจอดเข้าไปเท่านั้นก็พอครับ ไม่ต้องไปทำอะไรให้ เอิกกระเลิก คึกโครมครับ
ส่วนเครื่อง Tucano จะเอามาใช้ในงานอื่น บนเรือจักรีด้วยก็ได้ครับ แต่เอามาใช้งานสงครามเต็มรูปแบบยุคก์ใหม่คงไม่ได้แล้วครับ
เพราะข้าศึกสมมติ มันเหนือกว่าแบบ "ไร้เทียมทาน" เอาไปโชว์หุ้น สุ่มสี่สุ่มห้าไม่ได้เลยครับ กลายเป็นเป้าบินไปเปล่าๆ
แฮร์รีเออร์ไม่ลงแบบร่อนหรอกครับ บนจักรีน่ะ
โดนปกติแฮรรีเออร์จะปฏิบัติการในโหมด stovl หรือ short take off and vertical landing
เหตุที่ไม่ใช้ในโหมด vtol หรือทั้งขึ้นทั้งลงทางดิ่ง เพราะการขึ้นด้วยการวิ่งในแนวราบแล้วใช้สกีจัมพ์กับท่อปรับทิศทางความดัน ทำให้สามารถสร้างแรงยกได้มากกว่าการขึ้นในแนวดิ่งซึ่งก็หมายถึงจำนวนอาวุธที่สามารถขนได้ในแต่ละครั้ง
พอจะลงจอดก็น้ำหนักก็ลดลงพอที่จะลงแนวดิ่งได้สบายๆแล้ว ทิ้งระเบิด+น้ำมันลด
แล้วผมว่าไม่น่ามีที่พอนะครับบนลานดาดฟ้าบินเรือ อันตรายมาก ขอเกี่ยวอะไรไม่มีเลย พลาดที ระบบนำร่องสำหรับลงจอดแบบปกติในเรือก็ไม่มีอีก
แล้วก็ไม่มีความจำเป็นต้องทำด้วย ง่ายๆก็คือในเมื่อลงทางดิ่งได้+ดี ก็ไม่มีความจำเป็นต้องพยายามวิ่งลงแบบปกติ
ลำนี้เขาขายไหมครับหน้าจะถูกด้วยแต่ระบบไม่นาโต้
YAK-141 Freestyle V/STOL multirole fighter
พ่อของ F-35
ถ้าเราติด ร่มหน่วงความเร็วให้ A-29 Super Tucano
ตอนลงบนเรือโดยที่ไม่มีสลิงรั้งจะหยุดทันไหมครับ ผมเห็นเครื่องค่ายรัสเซียใช้ อย่างเช่น Su-34
รบกวนท่านที่เก่งด้านเครื่องบินช่วยหน่อย ครับ
ติดร่มหน่วงให้ A-29 Super Tucano ระยะการจอดน่าจะสั้นลง
ร่มเบรกคงช่วยได้ไม่เกิน 30% ครับเพราะแต่ก่อนติดตามรถ Drag บ้านเราก่อนทำหนามใหม่ ระยะเบรกอยู่ที่ 200กว่าเมตร รถวิ่งเข้าเส้น ที่ความเร็วเกือบ 300กม./ชม.
ยังวิ่งเลยระยะเบรกไปชนกำแพงสนามเลยครับ(เบรกก่อนเข้าเส้นชัย ใช้เวลา 8วินาที กว่าๆ) ถ้าเทียบกลับ Sp. ทูคาโน่ ผมว่าคงตกเรือพอดีกว่าจะเบรกอยู่(ด้วยร่มเพียงอย่างเดียว)