หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


กองทัพอากาศเวียดนาม กับ โครงการปรับสู่ความทันสมัย

โดยคุณ : juldas เมื่อวันที่ : 11/11/2012 22:56:05

ตามข่่าวใน Defense-studies.blogspot

ที่ว่า ทอ.เวียดนาม พร้อมที่จะจัดซื้อ SU-34 จาก รัศเซีย...ถ้าเมื่อไหร่ ที่รัสเซีย พร้อมจะขายให้กับต่างประเทศ...โดยจะทดแทน กับ บ.SU-22

และเป็นที่คาดหมายว่า ทอ.เวียดนาม มีความสนใจใน Jas-39 เพื่อทดแทนกับ Mig-21

รวมถึง ทอ.เวียดนาม มีความต้องการ EC-295 เป็น บ.ควบคุมและเตือนภัยทางอากาศ...

ลองมาจัดภาพ กองทัพอากาศเวียดนาม สู่ยุค Modernization ครับ

 





ความคิดเห็นที่ 1


แผ่นภาพที่ 1

เปรียบเทียบ ปัจจุบัน กับ อนาคต ตามแผนความต้องการ

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 08/11/2012 17:50:01


ความคิดเห็นที่ 2


แผ่นภาพที่ 2

เมื่อมองในภาพรวม ของกลุ่มเครื่องบินชับไล่ ของ อาเซียน ในปัจจุบัน

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 08/11/2012 17:51:33


ความคิดเห็นที่ 3


แผ่นภาพที่ 3

เมื่อมองภาพรวม กลุ่มประเทศอาเซียน กับ โครงการ Modernization ของ ทอ.เวียดนาม


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 08/11/2012 17:52:46


ความคิดเห็นที่ 4


ตามแผ่นภาพ ถ้า ทอ.เวียดนาม สามารถจัดหา และ สั่งซื้อ มาได้ตามความต้องการ

ก็ดู เมื่อ ทอ.เวียดนาม กำลังไล่ตาม ทอ.สิงคโปร์ มาติด ๆ...

และ คงจะใกล้เคียงกับ ทอ.ไทย...ซึ่ง ทอ. เวียดนาม คงอาศัยเวลา เพื่อทำความชำนาญ และทำความเข้าใจ เท่านั้น...

ผลกระทบ ต่อ ภัยคุกคาม จาก ประเทศจีน ในบริเวณที่จะก่อเกิดความขัดแย้งในทะเล...สร้างภาพการสร้างเสริม และ สะสม อาวุธ ในภูมิภาคนี้ ได้จริง ๆ...

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 08/11/2012 17:57:16


ความคิดเห็นที่ 5


แผยภาพของไทยเรา ถ้าได้ F 15 มานี่ก็ครบภารกิจพอดีเลยนะครับ

อยากได้จังเลย

โดยคุณ delete เมื่อวันที่ 08/11/2012 18:07:41


ความคิดเห็นที่ 6


ถ้ารูปการเป็นตามตารางข้างบน ผมว่า ทอ. ไทยค่อนข้างจะเป็นรองนิดๆ ถ้าไม่มีการทดแทน F16A/B , F5T หรือแม้แต่ F16ADF ก็ยังดูเป็นรองเพื่อนบ้านอยู่

โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 08/11/2012 18:15:51


ความคิดเห็นที่ 7


ในระยะอันใกล้ ประเทศเพื่อนบ้าน ที่จะมีการจัดหา บ.ชับไล่ใหม่ เพิ่มเติม ก็มี

ทอ.มาเลเซีย เพื่อทดแทน Mig-29N และ บ. AEW&C

ทอ.พม่า ในระดับขั้นต่ำ คือ หา บ. ทดแทน A-5C

สำหรับ ทอ.ไทย...ผมคิดว่า F-16 MLU ที่กำลัง อัพเกรด...คงจะมี ประสิทธิภาพที่เหนือกว่า ADF ครับ...

ซึ่ง F-16 MLU คงรับบทบาทที่หลากหลายมากในอนาคต...

ส่วน F-16 A/B กับ F-5T มองดู คือ ฝูงบินเน้นป้องกันภายใน มากกว่าครับ...

จึงน่าจับตา สำหรับ ฝูงบินใหม่ของ F-16 ADF ว่าจะเป็น บ. อะไร มาทดแทน...

ผมว่า F-15 SE ยังมีเปอร์เซ็นต์ พอ ๆ กับ F-35 ซึ่งไม่รู้ว่าจะใช้ รุ่น A หรือ B...

ผมมองว่า ถ้า ทอ. มีการบูรณาการกับ ทร. เป็นอย่างดีแล้ว...

ฝูง 102 ถ้าได้ F-35B มา ก็ไม่เลว ครับ...นำมาบูรณาการ สามารถปฏิบัติการบน 911 ได้...จะทำให้ ทอ. รับงานคุ้มครองน่านฟ้า ทั้งบนบก และทะเล

ซึ่ง F-35 สร้างมา ก็เพื่อ ต่อกรกับ บ.ตระกูล SU อยู่แล้ว...ซึ่งประเทศรอบบ้านของ ไทย ก็ล้วนมีแต่ บ.ตระกูล SU ประจำการเป็นหลัก....

 

 

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 08/11/2012 18:38:56


ความคิดเห็นที่ 8


ซึ่ง สิงคโปร์ เอง ก็ยังสนใจใน F-35B เหมือนกัน...ซึ่งสำหรับสิงคโปร์ ผมว่า F-35B ก็เป็น บ.ขับไล่ ที่ยืดหยุ่น สำหรับเขาดี ที่มีพื้นจำกัด ในอนาคต คงได้เห็น เรือ LST ลำใหม่ของ ทร.สิงคโปร์ ที่รองรับการ ปฏิบัติการด้วย F-35B ก็ได้ครับ...

Analysts and industry experts interviewed for this article are all but unanimous that Singapore will one day obtain Lockheed Martins F-35. Like Israel, Singapore is a tier four "security co-operation participant" in the programme. While it cannot influence the design of the aircraft, it has access to programme information and can request special studies. Sources say Singapore could also be interested in the F-35B, the types short take-off and vertical landing variant.

http://www.flightglobal.com/news/articles/in-focus-singapore-steps-up-deterrent-capabilities-367582/

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 08/11/2012 18:44:06


ความคิดเห็นที่ 9


แล้วเครื่องบินรบ ทอ. ไทย เพียงพอต่อภัยคุกคามไหมครับ เวียดนามจัดเยอะ โหดๆๆขนาดนี้ มีโอกาศเพิ่มฝูงบิน หรือจัดซื้อเพิ่มไหมครับ 

โดยคุณ cananac11 เมื่อวันที่ 08/11/2012 22:07:47


ความคิดเห็นที่ 10


   ในปัจจุบันณ.ขณะนี้ ทอ.ยังมีขีดความสามารถเพียงพอที่จะต่อต้านเพื่อนบ้านแทบทุกประเทศ ยกเว้น สิงคโปร์ครับ    

แต่ในวันข้างหน้าถ้าทอ. เวียตนามสามารถจัดหาได้จริงตามแผน   เมื่อนั้นก็จะเกินขีดความสามารถของเราแล้วละครับ   เพราะตัวอันตราย คือ  SU-30(ขับไล่คุ้มกันครองอากาศ)  SU-34(โจมตีทางลึก) และ AWAC  EC-295   ซึ่งเราคงต้องปรัตัวใหม่แทบทั้งหมดโดยเฉพาะขึดความสามารถเชิงรุก

   แม้มาเลย์จะจัดหาฝูงบินใหม่ ก็เพื่อทดแทน MIG-29N ที่สาระพัดปัญหา   ทำให้ความพร้อมและขนาดกองบินยังด้อยกว่าเราอยู่มากครับ  

  ดูเหมือนว่า ทอ. เมื่อทำการ MLU F-16 เสร็จ  คงตามมาด้วยการ Upgrade F-5T  ใหม่  ประสิทธิภาพน่าจะพอๆกับ F/A-50 น่าจะใช้ในภาระกิจสกัดกั้นได้ดีไปสัก 15-20 ปีได้    ส่วน F-16 MLU  น่าจะประสิทธิภาพใกล้เคียง bloak 50/52 มากพอควร  ก็ยังรับภาระกิจไปได้อีกนาน  

  มาวัดกันที่ฝูง 701 จะได้ครบ 18 ตัวหรือเปล่า  กับฝูง 102  F-16 ADF  ที่จะเริ่มหมดอายุการใช้งานและต้องเปลี่ยน   ก็เห็นว่าทอ.รักชอบ JAS-39 c/d   เห็นว่าต้องการอีก 2 ฝูง   แต่ผมว่าเอามาทดแทนฝูง 102 น่ะดีแล้ว   แต่จะมาแทน 103 หรือ F-5T ด้วยนี่ผมไม่ค่อยเห็นด้วยนะ   เพราะเพื่อนบ้านเริ่มจัดหาเครื่องบินเชิงรุกมากขึ้นในอัตราที่น่าตกใจ   มันเสียวถ้าต้องเน้นเป็นฝ่ายรับแต่ประการเดียว   ไม่มีตัวทำประตูแบบ SU-30  SU-34  F-15SE  

   แต่  EC-295 นี่มันจะเข้ากันได้กับระบบของ SU-30/34 หรือครับ   ผมยังสงสัยว่าจะเกิดปัญหามากกว่า    แต่กับไทยเราแล้ว  ถ้าเราได้ Jas-39 เฟส 3 จริงก็น่าจัดหา  SAAB 340 มาเพิ่มอีก 1 เครื่อง   ส่วนฝูงถดๆไปน่าเล่น  EC-295 มากๆเลยครับ    เหมาะสมทั้งทอ.และทร.ไทยมากๆ 

   ผมว่าเราต้องการเครื่องบินเชิงรุก 2-3 ฝูงได้แล้วนะครับ  เราก็ควรมี  6  ฝูงบินขับไล่/โจมตีทางลึกได้แล้ว  ให้เท่าๆกับแผนในอนาคตของเวียตนาม   ส่วนฝูงฝึกและโจมตีเบา  ผมสนับสนุน T/F/A-50 อยู่เช่นเดิมครับ    แม้ว่าทอ.แสดงออกมาให้เห็นว่าชอบพอ M-346 ก็ตามที    เพราะราคา M-346 แพงกว่าด้วยซ้ำ   แต่ประสิทธิภาพเครื่องเกาหลีสูงกว่าจนเกินความต้องการของทอ.    แต่ต้องให้มาประกอบและผลิตชิ้นส่วนบางชิ้นที่ไทยด้วยนะครับถึงน่าสนใจ


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 08/11/2012 23:38:26


ความคิดเห็นที่ 11


   ถ้าเป็นไปได้ผมอยากให้ทอ.มีฝูงบินแบบนี้ครับ

 ขับไล่สกัดกั้น  Ja-s39 c/d  จำนวน 3 ฝูง  

ขับไล่ครองอากาศ/stirk fighter  จนวน 3 ฝูง  (ดูทอ.รักชอบ F-35 มากๆจัง   แต่ผมสนับสนุน F-15 SE)

  AEW&C  6  เครื่อง  กองบิน 7 จำนวน 3 เครื่อง(SAAB-340)   กองบิน 1 จำนวน 3 เครื่อง(EC-295) 

ก็จะมี 6 ฝูงบินเท่ากับทอ.เวียตนามพอดี   มากพอรับมือได้สบายๆครับ 

 ส่วนฝูงฝึก 40 เครื่อง  ผมสนับสนุน T/A-50  

ฝูงโจมตีเบา  F/A-50 จำนวน 40-50 เครื่อง    และขอประกอบและผลิตชิ้นส่วนเครื่องในประเทศไทย 

 

  ไม่ใช่ลดทั้งจำนวนฝูงบิน และ จำนวนเครื่องในฝูงบินเหลือแค่ 12 เครื่องต่อ 1 ฝูงแบบที่กลัวๆอยู่   มันจะไม่พอรับมือเพื่อนบ้านสิครับ

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 08/11/2012 23:49:48


ความคิดเห็นที่ 12


อีกปัจจัยหนึ่งที่ต้องดูคือเศรษฐ์กิจและการเงินของเวียดนาม ช่วง2-3ปีมานี้เวียดนามซื้อทั้งเรือรบ เครื่องบินรบ ยังไม่ได้รวมเรื่องค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมการดูแลรักษาอีก ในระยาวเวียดนามเองอาจต้องเจอปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายในอนาคต

โดยคุณ kus911 เมื่อวันที่ 09/11/2012 11:26:27


ความคิดเห็นที่ 13


รบกวนท่านผู้รู้ ช่วยอธิบาย แต่ละภาระกิจ ว่าแตกต่างกันอย่างไร ได้ไหมครับ 
ทำไม กริฟเพ่น ถึง ไม่ได้อยู่ใน ภาระกิจครองอากาศ

แล้ว ภาระกิจ ขัดขวางการครองอากาศ  มันเป็นเยี่ยง ไร   สับสนมากๆครับ  

โดยคุณ hs3mmq เมื่อวันที่ 09/11/2012 12:05:28


ความคิดเห็นที่ 14


ท่าน hs3mmq ครับ...

อย่าไปคิดมาก หรือ สับสน เลยครับ...

แผ่นภาพ ของผม ก็เป็นการ อนุมาน เปรียบเทียบ ครับ...

เพื่อให้มองเห็นภาพ รวม ๆ...

แต่เวลาเกิดสงครามขึ้นจริง...การใช้งาน มันก็ใช้ตามภัยคุกคามที่เกิดขึ้นในขณะนั้น แหล่ะครับ...

ไม่ได้ ระบุ ว่า เกิดสงครามลักษณะนี้ ต้องใช้ เครื่องบินแบบนี้ ไปสู้ ฝูงนี้ ไปสู้ น่ะครับ...

เพียงแต่ให้มองเห็นว่า ลักษณะของอากาศยาน แบบใด ที่ประเทศในกลุ่ม อาเซียน มีประจำการ...เพื่อจะได้ให้เห็นว่า เรายังไม่มี อากาศยาน คุณลักษณะแบบไหน ครับ...

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 09/11/2012 15:04:03


ความคิดเห็นที่ 15


   เอาหยาบๆนะครับ   ผู้รู้ท่านอื่นอาจจะให้รายละเอียดมากกว่านี้ได้

 

   ภาระกิจขับไล่ครองอากาศ 

      ชื่อก็บอกแล้วครับว่าเพื่อการครองอากาศ   ต้องเป็นเครื่องบินขับไล่ประสิทธิภาพสูงมากๆที่จะสามารถต่อกรเครื่องทุกแบบและสอยข้าศึกให้หมดไปจากท้องฟ้า   และเมื่อสอยข้าศึกหมดแล้ว  ต้องสามารถประจำสถานีรบในอากาศได้เป็นเวลานานมากเช่น 8-10 ชม.เหนือพื้นที่การรบ   ดังนั้นต้องเป็นเครื่องที่มีขนาดใหญ่  ถังเชื้อเพลิงบรรจุได้มาก   แบกระบบอาวุธ Air to Air ได้เพียบ  สองเครื่องยนต์   และควรมีนักบินสองคน  ระบบอิเลคทรดนิคบนเครื่องเพียบ  เพราะต้องตรวจจับและทำลายข้าศึกให้ได้ก่อน  เช่น  SU-30   F-15 E   Typoon

  strike  fighter

 ทำหน้าที่โจมตีก็ได้ดี  ด้วยการแบกอาวุธได้มากๆ  พิสัยไกล    และในภาระกิจขัดขวางการครองอากาศของข้าศึก  คือ  สามารถขึ้นไปต่อกรกับเครื่องขับไล่ครองอากาศของข้าศึกเพื่อช่วงชิงการครองอากาศมาอยู่ที่เราอีกครั้ง    เครื่องที่เป็น strike fighter  ก็พวก   SU-30    F-15E   Typoon

  เครื่องโจมตี

    ออกแบบเพื่อการโจมตีเป็นหลัก   การโจมตีภาคพ้นดินต้องการเครื่องที่บรรทุกอาวุธได้มาก  สามารถบินช้าๆมากได้โดยไม่สั่นเพื่อใช้อาวุธได้ดี   บินได้ไกล    และไม่จำเป็นต้องเป็นเครื่องบินที่สามารถทำหน้าที่ขับไล่   ดังนั้นเมื่อเจอเครื่องขับไล่ข้าศึก  ก็หนีอย่างเดียว

เครื่องโจมตีทางลึก

   โดยรวมก็เหมือนเครื่องโจมตี   แต่ออกแบบเพื่อเจาะระบบป้องกันภัยทางอากาศที่หนาแน่น  แล้วเข้าไปโจมตีลึกเข้าไปในดินแดนข้าศึกมากๆเพื่อสร้างความเีสียหายแก่แกนกลางที่สำคัญของประเทศข้าศึก   เช่น  เมืองอุตสาหกรรมสำคัญ    เคื่องพวกนี้ก้เช่น  SU-34   F-15E  

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 09/11/2012 22:05:29


ความคิดเห็นที่ 16


 swingroll  /  multiroll

     พวกเครื่องบินที่สามารถทำหน้าที่ได้ดีในทุกๆภาระกิจเลยทีเดียว  คือ  ทั้งภาระกิจขับไล่  โจมตี  สงครามอิเลคทรอนิค  ถ่ายภาพ  ที่ทำได้เพราะการออกแบบที่ดีและเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากๆในปัจจุบัน   เช่น  A-4    F-16   mirage  F/A-50  F-18

ขับไล่สกัดกั้น

    ต้องเป็นเครื่องที่สามารถขึ้นสู่ท้องฟ้าได้อย่างรวดเร็วที่สุดเท่าที่ทำได้   เมื่อระบบตรวจจับภาคพื้นดินหรือระบบตรวจจับในอากาศอย่างเครื่อง AWAC ตรวจพบเครื่องบินข้าศึกแอบเจาะระบบป้องกันภัยทางอากาศเข้ามา    ไม่จำเป็นต้องเป็นเครื่องที่มีระบบเรด้าร์และตรวจจับเพียบพร้อม  แบกอาวุธไม่ต้องมาก   เพราะพึ่งพาหน่วยตรวจจับจากภาคพื้นดินและอากาศได้ในการให้ข้อมูล   แต่ตัวเครื่องต้องมีความคล่องตัวในการรบระยะประชิดตัวที่ดีมากๆ(dog fight)    ดังนั้นเครื่องพวกนี้จะเบา  คล่องตัว  ขนาดเล็ก  เครื่องยนต์เดียว(ส่วนมาก)   เช่น   F-5  Mig-21   Jas-39   mirage-2000  F/A-50 

เครื่องบินโจมตีเบา

   เน้นการโจมตีต่อเป้าหมายที่ไม่ได้มีระบบป้องกันภัยทางอากาศซับซ้อนและหนาแน่น   บรรทุกอาวุธไม่มากนัก  ส่วนมากทำหน้าที่สนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิดหรือ CAS ( close air support)   ประสิทธิภาพไม่ถึงขนาดเครื่องโจมตีและขับไล่หลัก   เช่น   Yak-130  M-346   T/A-50   L-39   Hawk  

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 09/11/2012 22:19:38


ความคิดเห็นที่ 17


 เครื่องโจมตีเพียงอย่างเดียวที่ดังๆก็เช่น  SU-22   A-7   A-6   ซูปเปอร์เอตองดาร์ท (ผลงานเลิศในการจมเรืออังกฤษสมัยสงครามฟอร์กแลนด์)   A-5   พวกนี้จ๊ะเอ๋เครื่องขับไล่จากข้าศึก   ก็ต้องเผ่นสถานเดียว  อยู่ต่อตาย......

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 09/11/2012 22:29:11


ความคิดเห็นที่ 18


ขอบคุณครับ   ท่าน  juldas        และ ท่าน neosiamese2 

   พอจะเข้าใจได้ว่า ก็คล้ายๆรถยนต์   ที่มี ขับเคลื่อนล้อหน้า  ขับเคลื่อนล้องหลัง  ขับเคลื่อน 4 ล้อ   เครื่อง 1500cc   เครื่อง 3000cc

   ทั้งๆที่เป็นรถยนต์เหมือนๆ กัน  

โดยคุณ hs3mmq เมื่อวันที่ 10/11/2012 08:54:34


ความคิดเห็นที่ 19


เป็นธรรมดาที่เขาต้องเสริมสร้างกองทัพขนาดนั้นเพราะเขามีปัญหากับจีนอยู่ ผมกลัวอย่างเดียวว่ามันจะเหมือนนิทาน อึ่งอ่างกับแม่วัว

ถ้ามองมาที่กองทัพของเราผมว่าเรามาถูกทางโดยเราเน้นที่คุณภาพและประสิทธิภาพตามกำลังที่เราจะมีได้ ค่อยๆก้าวที่ล่ะก้าวไม่ต้องตกใจตามเวียดนามเขาหรอกไปด้วยความมั่นคงทั้งการทหารและเศรษฐกิจดรกว่า

โดยคุณ ALPHA001 เมื่อวันที่ 10/11/2012 15:47:39


ความคิดเห็นที่ 20


สำหรับภาระกิจครองอากาศ และ โจมตีทางลึก  ผมคงไม่เลือก F15SG เนื่องจากแพง  operation cost สูง ดังนั้นผมจะเลือก F16 Block 60 , F16 block 52 plus , F16 I ที่สามารถติดตั้งถังน้ำมันบนลำตัวได้ 2 ถัง  ราคาไม่แพงมากนัก ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการต่ำ  ค่าซ่อมบำรุงต่ำ  ใช้ได้หลายภาระกิจ

โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 10/11/2012 18:33:21


ความคิดเห็นที่ 21


  ท่าน rayong เลือกได้เก่งครับ   นอกจากนี้การเตรียมความพร้อมรบก็ง่ายกว่าด้วยครับ  เหมือนเครื่อง  AH-64 กับ AH-1W  ที่ AH-1W  พร้อมรบกว่ามากเพราะซับซ้อนน้อยกว่า   จึงมีความน่าเชื่อถือและเตรียมความพร้อมรบได้สูงกว่า AH-64   ทั้งๆที่ AH-64 ประสิทธิภาพสูงกว่าพอควร

   ด้วยเหตุผลนี้ อิสราเอลจึงใช้ F-16I   F-16 50/52  + CFT  ในภาระกิจโจมตีทางลึกครับ   และให้ F-15I ใช้ในภาระกิจครองอากาศและคุ้มกันฝูงบินโจมตีทางลึก     แต่ที่ผมเลือกสนับสนุน  F-15E หรือ SU-30 mki  เพียงแบบเดียวใช้สำหรับโจมตีทางลึก/ขับไล่ครองอากาศ/คุ้มกันฝูงบินโจมตีทางลึก/strike fighter  ก็ด้วยเหตุที่ว่า  จำนวนแบบเครื่องบินจะได้ลดลงครับ   ใจจริงถ้าเลือกได้อยากได้แบบอิสราเอล   แต่ฝูงเชิงรุกต้องเป็น 4 ฝูงบิน   F-16 block 60 สำหรับโจมตีทางลึก/strike fighter   และ  F-15se ในภาระกิจขับไล่ครองอากาศ/คุ้มกันฝูงบินโจมตีทางลึก   หรือไม่ก็ไปใช้  SU-34 สำหรับฝูงโจมตีทางลึก 2 ฝูง  SU-35 สำหรับฝูงขับไล่ครองอากาศ/คุ้มกันเครื่องโจมตีทางลึก 2 ฝูง แทนเพื่อลดแบบเครื่องบิน   แต่ก็จะกลายเป็นมี 7 ฝูงบิน

 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 10/11/2012 21:32:04


ความคิดเห็นที่ 22


   ส่วนฝูงฝึกขั้นมัธยม   เป็นผมจะเลือก  40-60 เครื่อง EMB 141  Super Tucano   และฝูงโจมตีเบา CAS   AT-26  super tucano  จำนวน 40-60 เครื่อง  เช่นกัน    และขอสิทธิบัตรการผลิตทั้ง  80-120 เครื่อง

   ที่เลือกฝูงฝึก/โจมตีเบาใบพัด  และฝูกฝึกเจ็ต/โจมตีเบาเจ็ต  แบบนี้ก็เพื่อผลทางอุตสาหกรรมเป็นเหตุผลอันดับแรกครับ      ส่วนอันดับสองก็คือ ผลในด้านการรบจริง   ซึ่ง F/A-50 ที่นำมาใช้ฝูงโจมตีเบานั้น   สามารถทำหน้าที่ฝูงขับไล่ได้ทันทียามสงคราม  เพียงแค่สับสวิชต์เท่านั้น   เพราะเป็น Multiroll อยู่แล้ว    และ T/A-50  ในยามสงครามก็สามารถเปลี่ยนเป็นเครื่องโจมตีที่สามารถเจาะระบบป้องกันภัยทางอากาศประจำหน่วยยานเกราะได้สบายๆครับ    และเหตุผลสุดท้าย  คือ ราคาของ F/A-50  นั้นถูกมากเพียง 30 ล้านเหรียญเท่านั้น      ส่วนฝูง AT-26 นั้นเหมาะสมในการรบมากกว่า PC-9  T-6 2  มากกว่ามาก  เพราะออกแบบมาสำหรับการรบโดยเฉพาะ

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 10/11/2012 21:43:44


ความคิดเห็นที่ 23


   เวียตนามมีขนาดทางเศรษฐกิจเล็กกว่าเรา 3-4 เท่าครับ   รายได้ต่อหัวก้ต่ำกว่าเราประมาณ 3 เท่า   และบ่อน้ำมันที่ไม่ได้เป็นปัญหากับเพื่อนบ้านก็ดันไปให้สัมปทานต่างชาติจนหมดแล้ว   เหลือแต่บ่อเจ้าปัญหาในหมู่เกาะสแปตลี่ย์

การใช้งบประมาณของเรานั้นปัจจุบันยังไม่ถึง 2% ของ GDP เลยครับ  ในทางเศรษฐศาสตร์อนุญาติได้ไม่เกิน 5% ของ GDP   ถ้าเราใช้มากถึง 2.5%-3% ก็ไม่ได้เยอะอะไรทั้งสิ้นครับ   % น้อยกว่าอเมริกาและยุโรปด้วยซ้ำ  ในปัจจุบันก็เกือบเท่าญี่ปุ่นแล้ว  คือ 1%  กว่าๆเท่านั้น สูงกว่าญี่ปุ่นหน่อยนีง     แต่เราจัดสรรงบทหารไม่เหมาะสมเอง   ทบ. ได้เฉียด 90,000 ล้าน   ทอ. ทร.  ได้ไปแค่คนล่ะประมาณ 35,000 ล้าน    ซึ่งจัดว่าต่ำเกินไปถึงเท่าตัวของที่ควรจะเป็น   จริงๆ  ทอ  ทร ควรจะได้ 70,000-80,000 ล้านบาทด้วยซ้ำครับ   เพราะความจำเป็นมันมากขึ้นเรื่อยๆ  

   ถ้าจัดสรรงบประมาณแบบนี้  ทบ  90,000 ล้าน  ทอ 70,000 ล้าน   ทร  80,000 ล้าน  รวมกัน  240,000 ล้าน  ไม่นับงบส่วนผบ.สูงสุดและงบสำหรับ DTI  แต่ถ้านับรวมอีกประมาณ 30,000 ล้าน    รวมกัน 270,000 ล้านบาท    ถ้าเทียบกับ  GDP ขนาดประมาณ 10.5  ล้านๆบาทแล้ว   จะประมาณเพียง  2.6%  เท่านั้นครับ    ยังถือว่าไม่มากอะไร  และไม่ใช่อึ่งอ่างแต่ประการใดๆทั้งสิ้นครับ     เพียงแต่จัดสรรงบได้แย่มากๆเท่านั้น

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 10/11/2012 22:01:53


ความคิดเห็นที่ 24


   มาเลย์ใช้งบแกว่งอยู่ในช่วง 2.1% - 2.5% ของ GDP     ถ้าเราจัดสรรตามที่ผมแนะนำ  จะกลายเป็น 2.5%-2.6% ของ GDP ก็มากกว่ามาเลย์ติ๊ดเดียวเท่านั้น     ถ้าได้ขนาดนี้   ทั้งทร.และทอ.จะมีงบมากพอที่จะสามารถปรับปรุงฝูงบินได้เท่าที่บอกสบายๆ  ส่วนทร.ก็สามารถจัดหากองเรือบรรทุกบ เบา พร้อมเรือฟรีเกต 16-20 ลำ  เรือดำน้ำ 8-10 สำหรับสองฝั่งทะเลได้ครับ   แต่สำหรับทร.  ถ้ามีการจัดสรรด้วยงบประมาณ 80,000 ล้านต่อปี  คงจะไม่สามารถขยายหน่วยนาวิกมากกว่า 2 กองพลได้ (ไม่ถึง 40,000 นาย)   เพื่อให้ได้กองเรือขนาดที่ผมบอกครับ  

    ต้องบอกว่า  การจัดสรรงบประมาณทหารในปัจจุบันของเราแย่มากครับ 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 10/11/2012 22:12:57


ความคิดเห็นที่ 25


ขออภัยครับ ท่าน นีโอสยาม ที่ผมกล่าวถึงนิทาน อึ่งกับแม่วัว ผมหมายถึงเวียดนามครับ ^__^

แต่ถ้ามองในเรื่องการจัดงบประมาณนั้นผมก้มีความเหมือนกับที่ท่าน นีโอสยามกล่าวไว้ครับ ว่าการจัดสรรค์งบประมาณในส่วนของแต่ล่ะเหล่าทัพนั้นไม่สมดุลเอามากๆ(เฉียดแล้วเรา)

ถ้าเราจะมองการพัฒนากองทัพของทางเวียดนามหรืออินโดนีเซียมาเป็นแผนการพัฒนาของเรา(จริงแล้วเราก็พัฒนาอยู่แต่ในเชิงรับมากกว่า) เรื่องการจัดหาไม่ว่าจะเป็นอาวุธทาง บก อากาศ ทะเล ผมอยากให้หันมาเน้นที่ทางทะเลกับทางอากศเพิ่มขึ้นจากเดิมครับ เพราะอำนาจการต่อรองมันหันไปหาทะเลและกำลังทางอากาศมากขึ้น การมีเครื่องบินรบขับไล่โจมตีทางลึกเห็นว่าควรจะมีอย่างน้อย 1 ฝูงบิน(18ลำ) ที่แน่ๆผมจะมองไปที่ ซู-32/34 ถึงแม้จะใช้นาโต้ไม่ได้ก็ตามเราอัพเกรดได้ ส่วนขับไล่ครองอากาศถ้าเป็นไปได้อยากมองที่ตระกูลซูเหมือนกันแต่มันคงเป็นไปไม่ได้ เลยต้องมองดูที่ เอฟ-15 หรือ ใต้ฝุ่น ในส่วนของ ทร.นั้นสนับสนุนให้มีเรือดำน้ำมากกว่าเรือปราบเรือดำน้ำ ไม่ใช่เรือปราบเรือดำน้ำไม่สำคัญแต่เป๋นเพราะว่าเราต้องการความชำนาญในการปราบเรือดำน้ำมากขึ้นจากที่เราเป็นอยู่และเป็นการป้องปรามที่ดีที่สุดแบบหนึ่งในทางทะเล....

โดยคุณ ALPHA001 เมื่อวันที่ 10/11/2012 22:40:40


ความคิดเห็นที่ 26


   ไม่ซีเรียสอะไรหรอกครับท่าน ALPHA001     สำหรับการใช้งบประมาณทางทหารของเวียตนามนั้น  น่าจะอยู่แถวๆ  6%-8% ได้แล้วครับ   ก็จัดว่าเกินงาม  และยิ่งนานวันก็ไม่มีทีท่าว่ามันจะลดลงเลย   ท่าทางเวียตนามจะกลัวจีนแบบขนหัวลุกขนานแท้จริงๆ    แต่แบบนี้ก็ทำให้เวียตนามไม่สามารถนำเงินจำนวนมากไปพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศได้   ทำให้เสียโอกาสเมื่อส้มมันหล่นตรงแทบเท้าตอนที่เรากำลังมีปัญหาการเมืองรุนแรงฟาดปากกันแบบสุดๆ   ตอนนั้นถ้าเวียตนามทุ่มงบสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานและบุคคลากรให้พร้อมกว่านี้   บางที  ญี่ปุ่นอาจจะไปตั้งทั้งโรงงานถลุงเหล็ก  โรงงานผลิตเครื่องบิน  โรงกลั่น  และย้ายฐานการผลิตยานยนต์แทนเราไปแล้วครับ    พลาดโอกาสสำคัญไปมากๆเลย

   ปัจจุบันเวียตนามแข่งขันการส่งออกด้วยการลดค่าเงินตนเองเป็นประจำครับ   พอยอดส่งออกดูไม่ดีก็ลดค่าเงินจนบางครั้งสภาวะเงินเฟ้อกระโดดไปถึง 25%  ก็เคยมี   และบางปีก็ยืนเหนือ 10% ตลอดทั้งปี   ประชาชนยากลำบากทั้งๆที่มีการลงทุนพัฒนาจากต่างประเทศต่อเนื่องมาโดยตลอด   แค่เรามีเงินเฟ้อแค่ 2-4%  ก็ก่นด่ากันทั้งเมืองแล้ว    เงินเฟ้อระดับ 10% ขึ้นไปนี่  ประชาชนทุกข์ยากทีเดียว   แต่เสียงบ่นไม่ได้ยินเพราะเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ครับ   

   แต่การกระทำแบบนี้จะบั่นทอนเวียตนามในระยะยาวเป็นอย่างมาก   และการเมืองไทยก็เริ่มกลับมามีเสถียรภาพมากขึ้นๆตามลำดับ  อินโดก็เริ่มฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว  แบบนี้ เวียตนามจะยิ่งสูญเสียโอกาสครับเพราะกำลังซื้อของประชาชนจะไม่ดี   ทำให้นักลงทุนจากต่างชาติคิดหนัก 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 11/11/2012 22:29:11


ความคิดเห็นที่ 27


   SU-30  สามารถให้อิสราเอลทำการโมดิฟายเครื่องให้ใช้ระบบอาวุธตะวันตกได้ครับ   ยกเว้น AMRAAM  แต่สามารถใช้  A-to-A missile  BVR ทุกแบบของอิสราเอลได้ครับ     ดังนั้นมีความเป็นไปได้ที่ SU-34 ก็น่าจะสามารถโมดิฟายได้เช่นกัน   

   แต่ต้องเผื่เรื่องการกินน้ำมันและเครื่องยนต์อายุการใช้งานสั้นด้วยครับ

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 11/11/2012 22:56:05