หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ส่งสัยเกี่ยวกับ oliver hazard perry class frigate ครับ

โดยคุณ : boatxp เมื่อวันที่ : 10/11/2012 07:42:46

เรือชั้นนี้มีดียังไงบ้างทำไมถึงมีคนเชียเยาะ

แล้วแท่นยิ่งจรวดตรงหัวเรือมันทำงานยังไงแล้วบรรจุจรวดได้กี่ลูก





ความคิดเห็นที่ 1


เรือชั้นนี้ เป็นกำลังทางเรือรบหลักของ ทร.สหรัฐ ครับ

มีประจำการกว่า 50 ลำ และเมื่อรวมกับประเทศอื่น ๆ จะมีเรือชั้นนี้ประจำการอยู่ ก็จะมีกว่า 70 ลำ ซึ่งเป็นแบบเรือฟริเกต ที่มีจำนวนประจำการมากที่สุดในโลก ในขณะนี้ก็ได้ครับ...

ถ้าเรามองว่า F-16 เจ๋ง ยังไง

OHP ก็คงเจ๋ง อย่างนั้น ครับ

ซึ่ง OHP ก็เกิดขึ้นในยุคช่วงสงครามเย็น ที่ สหรัฐ มองภัยคุกคามเรือดำน้ำ ของ สหภาพโซเวียต เป็นหลัก (เหมือนกับ สหรัฐ สร้าง F-16 มาเพื่อ ต่อกร กับ Mig-23,27 และ 29)...

เรือชั้นนี้ จึงเกิดขึ้นมาในลักษณะการป้องกันตัว ที่ครบทั้ง 3 มิติ และเน้นการตอบโต้ เมื่อถูกโจมตีจากเรือดำน้ำ....เรือจึงติดตั้ง แก๊สเทอร์ไบส์ จำนวน 2 เครื่องยนต์ ซึ่งทำให้มีความเร็วสูง และมีความเงียบกว่า เครื่องยนต์ดีเซล เมื่อถูกตรวจจับจากใต้น้ำ และมีระบบตรวจจับเรือดำน้ำ ทั้งแบบระยะใกล้ และ ระยะไกล...รวมถึง บรรทุก ฮ. ที่มีความสามารถต่อต้านเรือดำน้ำ ไปด้วยอีก จำนวน 2 ลำ...

แต่ประเด็นหลัก คงอยู่ตรงที่ว่า

ปัจจุบัน เรือฟริเกต ของ ทร.ไทย ใกล้จะปลดระวางประจำการ หลายลำ

ซึ่งเรือเหล่านั้น ก็ล้วนแต่เป็นเรือที่มีความสามารถปราบเรือดำน้ำ

-         เรือชั้น พุทธฯ จำนวน 2 ลำ

-         เรือชั้น ตาปี จำนวน 2 ลำ

-         ร.ล.มกุฎราชกุมาร จำนวน 1 ลำ

 

และโดยความต้องการของ กองทัพเรือ แล้ว การที่จะมีกำลังรบที่มีประสิทธิภาพ และพร้อมรบ ควรจะมี เรือฟริเกตสมรรถนะสูง จำนวน 6 ลำ ซึ่งเรือฟริเกตสมรรถนะสูง ควรเป็นเรือที่ต่อสู้ได้ครบทั้ง 3 มิติ คือ ต่อต้านอากาศยาน ต่อต้านเรือรบผิวน้ำ และปราบเรือดำน้ำ

ปัจจุบัน กองทัพเรือ จัดเรือฟริเกตที่มีอยู่ เป็น เรือฟริเกตสมรรถนะสูง คือ

-         เรือชั้น นเรศวร        จำนวน 2 ลำ

-         เรือชั้น พุทธฯ         จำนวน 2 ลำ

ซึ่งในอนาคต ทร. จัดหาเรือฟริเกตสมรรถนะสูงอีก 2 ลำ

รวม ทร. ก็จะมี เรือฟริเกตสมรรถนะสูง รวมจำนวน 6 ลำ ตรงความต้องการ

แต่เนื่องจากภายในปี 2560 เรือชั้นพุทธฯ ทั้ง 2 ลำ ก็ต้องปลดระวางหมด ทร. ก็จะกลับเข้าสู่ โหมด เดิม คือ มีเรือฟริเกตสมรรถนะสูง เพียง 4 ลำ ยังขาดอีก 2 ลำ ในขณะที่ ทร. ยังมีความต้องการ เรือดำน้ำ เป็นสิ่งสำคัญในอนาคต ซึ่งต้องใช้งบประมาณ อีกจำนวนมาก

ดังนั้น ในขณะนี้ ทางเลือกที่จะมีโอกาสได้มากที่สุด คือ การจัดหาเรือฟริเกต มือสอง ในราคาถูก เพื่อมาทดแทน เรือชั้น พุทธฯ

และ OHP ก็เป็น หนึ่งในทางเลือกนั้น ครับ

ซึ่งคนที่เชียร์ ก็คาดหมายว่า มันจะได้มาในราคาถูก ซึ่งล่าสุดตามข่าว สหรัฐ เสนอขายเรือชั้นนี้ จำนวน 2 ลำ ให้ ไตหวัน ในราคาลำละ 20 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 660 ล้านบาท

แต่ผมไม่คาดหวังว่า มันจะถูกขนาดนั้น...คงต้องพิจารณา ระบบอาวุธ ที่จะมากับเรือเป็นส่วนประกอบด้วย

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 06/11/2012 08:19:12


ความคิดเห็นที่ 2


คุณ juldas ให้ข้อมูลพร้อมวิเคราะห์ได้ดีครับแบบผู้ใหญ่ดี ก็อปข้อมูลมาเพิ่มเติมให้คุณ boatxp ช่วยวิเคราะห์ ดังนี้

จากข่าวของ Bangkok Post สหรัฐฯจะเสนอขายระบบอาวุธและอุปกรณ์จำนวนมากให้ไทย
เช่นรถ HMMWV มือสอง 1,150คัน เครื่องยนต์ F-16 5เครื่อง และการจัดซื้อ ฮ.Blackhawk 3เครื่อง
ในส่วนของกองทัพเรือนั้นมีการเสนอขายเรือฟริเกตชั้น Oliver Hazard Perry 2ลำด้วย

ที่จริงการเสนอขายเรือฟริเกตชั้น Oliver Hazard Perry นั้นไม่ใช่เรือใหม่สำหรับกองทัพเรือไทย
เพราะช่วงที่สหรัฐฯทำการปลดประจำการเรือชั้น Oliver Hazard Perry รุ่นลำตัวเรือสั้นในช่วงปี 1990s นั้น
กองทัพเรือไทยก็เคยพิจารณาเรือชั้นนี้มาแล้ว แต่ไม่เอาเพราะเรือชั้นนี้ใช้เครื่องยนต์ Gas Turbine ล้วนสองเครื่อง 
ซึ่งถ้าเทียบกับเครื่องยนต์Diesel แล้วมีความสิ้นเปลืองเชื่อเพลิงสูงกว่ามาก
กองทัพเรือซึ่งจึงเลือกจัดหาเรือชั้น Knox ซึ่งใช้ ย.กังหันไอน้ำแทนซึ่งก็คือเรือชุด ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
แต่อย่างไรก็ตามจากอายุการใช้งานเรือโดยรวมเรือชุด ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทั้งสองลำจะต้องปลดในราวปี ๒๕๕๘-๒๕๖๐
และเรือที่ใช้ ย.กังหันไอน้ำนั้นก็ค่อนข้างยุ่งยากในการบำรุงรักษาด้วย

โครงการจัดหาเรือฟริเกตชั้น Oliver Hazard Perry ถ้าจะมีจริงคงเป็นคนละส่วนกับโครงการจัดหาเรือฟริเกตใหม่2ลำ 30,000ล้านบาท
เพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการปราบเรือดำน้่ำให้กับกองทัพเรือทดแทนเรือชุด ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
(เชื่อเถอะว่าถึงตอนที่กองเรือดำน้ำก่อตั้งครบรอบ10ปี อย่างไรตอนนั้นกองทัพเรือก็อาจจะยังไม่มีเรือดำน้ำประจำการ)
แต่โดยส่วนตัวแล้วคิดว่ากองทัพเรือต้องการเรือชั้น Oliver Hazard Perry จริงๆหรือไม่
และเรือชั้น Oliver Hazard Perry อาจจะมีคุณสมบัติที่ไม่เหมาะสมกับกองทัพเรือไทยก็ได้ครับ

เรือฟริเกตชั้น Oliver Hazard Perry เป็นเรือที่ออกแบบมาในยุคปี 1970s 
ภารกิจหลักของเรือชั้นนี้คือการปราบเรือดำน้ำและคุ้มกันกองเรือพาณิชย์
การออกแบบระบบอุปกรณ์และอาวุธของเรือชั้นนี้ถือว่าค่อนข้างประหลาดและล้าสมัยไปแล้วในยุคปัจจุบัน
เช่น การที่มีป้อมปืนใหญ่ Mk75 (OTO Melara 76/62) ติดบนหลังคาหลังเสากระโดงเรือหน้าปล่องควัน ซึ่งมีย่านมุมยิงจำกัด
ระบบ Sensor และอุปกรณ์แบบดังเดิมก็ล้าสมัย การปรับปรุงสามารถทำได้จริง 
เช่น เรือชั้น Adelaide ของออสเตรเลีย หรือ เรือชั้น G ของตุรกี ที่ติดแท่นยิง Mk41 สำหรับ ESSM และยิง SM-2MR จากแท่นยิง Mk13ได้
แต่ก็มีข้อจำกัดมากจากโครงสร้างเรือและมีค่าใช้จ่ายระดับหนึ่ง

ปัจจุบันกองทัพเรือสหรัฐกำลังทะยอยปลดประจำการเรือชั้น Oliver Hazard Perry รุ่นลำตัวยาวที่ต่อในช่วงปี 1980s
ซึ่งส่วนหนึ่งมีการส่งมอบให้ปากีสถานแล้ว และนอกจากไทยสหรัฐฯก็เสนอให้มาเลเซีย 2ลำเช่นกัน
และไต้หวันกำลังสนใจจัดหาแทนเรือชั้น Knox 4ลำรวมกับของเดิมที่มี 8ลำ เป็น12ลำด้วย
ลำที่ปลดประจำการไปแล้วก็เช่น
FFG-33 USS Jarrett ปลดประจำการในเดือนเมษายน ปี2011
FFG-39 USS Doyle ปลดประจำการในเดือนกรกฎาคม ปี2011
(มีข้อมูลว่าสองลำนี้เข้าโครงการ FMS แล้ว ซึ่งอาจจะหมายถึงมีประเทศที่จองไว้แล้วอย่างปากีสถานหรือไต้หวัน)
FFG-28 USS Bone ปลดประจำการเดือนกุมภาพันธ์ปี 2012
FFG-29 USS Stephen W. Groves ปลดประจำการเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2012
FFG-32 USS John L. Hall ปลดประจำการเดือนมีนาคม ปี 2012
FFG-37 USS Crommelin ปลดประจำการเดือนตุลาคม ปี 2012
กลุ่มเรือในข้างต้นนี้เป็นเรือที่เข้าประจำการในช่วงปี 1982-1983 ครับ ซึ่งยังมีเรืออีกหลายลำที่มีกำหนดปลดประจำการในปี 2013 ประมาณ 5-6ลำ เช่น 
FFG-36 USS Underwood และ FFG-38 USS Curts ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2013
FFG-42 USS Klakring และ FFG-52 USS Carr ในเดือนมีนาคม ปี 2013
FFG-57 USS Reuben James เดือนสิงหาคม ปี 2013
ซึ่งเรือที่เข้าประจำการในปี 1984-1989 ก็จะทะยอยปลดประจำการไปเรื่อยๆ(บางลำก็ปลดไปบ้างแล้ว) จนหมดในปี 2019
คืออายุการใช้งานเรือชั้นนี้เฉลี่ยประมาณ 30ปี

ซึ่งถ้าดูจากจัดหาจัดหาเรือชั้น Oliver Hazard Perry ของปากีสถานล่าสุด
(FFG-8 USS McInerney เป็นรุ่นลำตัวยาวในชื่อใหม่ PNS Alamgir ในปี 2010 ปากีสถานต้องการเรือ 6ลำ)
ก็เป็นแบบเรือที่สหรัฐฯใช้อยู่หลังปี 2004 คือมีการถอดแท่นยิง Mk13 แล้วติดปืนใหญ่กล 25mm แทน 
และถอดระบบควบคุมการยิงอาวุธปล่อยนำวิถีออกไปหลังอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ SM-1MR ที่เลิกใช้งาน
ทำให้เรือชุดนี้ที่สหรัฐฯประจำการในปัจจุบันไม่สามารถใช้อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำและอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านอากาศยานได้เลย
ไม่ว่าจะทั้ง Harpoon หรือ Standard ทำให้เป็นเรือมีขีดความสามารถในการปราบเรือดำน้ำอย่างเดียวด้วย 
การปราบเรือดำน้ำให้มีประสิทธิภาพก็ต้องใช้ ฮ.ปราบเรือดำน้ำทำงานร่วมด้วยโดยฮ.Seahawk 2เครื่องที่นำไปกับโรงเก็บ ฮ.ของเรือได้ 
และแท่นยิงTorpedoแฝดสาม Mk32 2แท่นซึ่งระยะทำการสั้นกว่า ASROC มาก

สำหรับกองทัพเรือไทยถ้ามีการจัดหาเรือชั้นนี้มาจริงคงจะเป็นในลักษณะใกล้เคียงกับตอนที่จัดหาเรือชุด ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มาครับ
คือกองทัพเรือคงไม่น่าจะใช้งบประมาณดัดแปลงระบบอาวุธอุปกรณ์เรืออะไรมากแบบเรือของออสเตรเลียหรือเรือของตุรกี
และอย่างที่กล่าวในข้างต้นว่าเรือชั้น Oliver Hazard Perry นั้นใช้ ย.Gas Turbine ล้วนซึ่งสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงมากกว่าเรือที่ใช้ ย.Diesel 
ปกติเรือชุด ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทั้งสองลำซึ่งใช้ ย.กังหันไอน้ำนี่ก็ค่อนข้างจากมีความยากลำบากในการบำรุงรักษาและใช้งานอยู่ระดับหนึ่ง
(ซึ่งเคยทราบมาว่าเดิมทีกองทัพเรือต้องการเรือชุดนี้ถึง 4ลำครับ แต่จากหลายๆปัจจัยก็จัดหามาเพียง 2ลำ)
แล้วส่วนใหญ่เรือชุด ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทั้งสองลำก็ไม่ค่อยได้ออกเดินเรือมากนักครับถ้าเทียบกับเรือชุดอื่นที่ใหม่กว่าที่ใช้ ย.Deisel
ถ้ามีการจัดหาเรือชั้น Oliver Hazard Perry ค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงรวมคงจะสูงมากและเรือคงจะไม่ออกเดินเรือบ่อยด้วย
การดัดแปลงให้ใช้ ย.Diesel ถ้าทำจริงจะยุ่งยากมากๆเพราะตัวเรือไม่รองรับ และ ย.Deisel ที่กำลังเท่ากับ ย.Gas Turbine จะใหญ่มากกว่าด้วยครับ

คำถามคือกองทัพเรือไทยต้องการเรือฟริเกตชั้น Oliver Hazard Perry จริงหรือครับ

ที่มา : http://aagth1.exteen.com/20121101/oliver-hazard-perry

 

โดยคุณ yam เมื่อวันที่ 06/11/2012 14:29:55


ความคิดเห็นที่ 3


ในส่วนตัวถ้าหากว่า โครงการเรือฟริเกตชั้น OHP มือสอง แยกออกไปจากโครงการเรือฟริเกตใหม่นั้นก็ค่อนข้างจะสนับสนุนครับ เพราะเป็นการเสริมขีดความสามารถในการไล่ล่าค้นค้อนหาปราบเรือดำน้ำได้เพิ่มขึ้น เนื่องจากเพื่อนบ้านที่มีน่านน้ำติดกันมีเรือดำน้ำเกือบทั้งหมด ส่วนอาวุธที่จะติดตั้งในเรือนั้นก้น่าจะเป็นตามแบเดิมที่ติดตั้งกับเรือในปัจจุบันมากกว่าที่จะอัพเกรดเพิ่มเติมให้ขีดความสามารถมารถสูงขึ้นเช่นเดียวกับตอนจัดหาเรือฟริเกตชั้น Knox

โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 07/11/2012 08:30:43


ความคิดเห็นที่ 4


ผมคิดอย่างนี้ว่า

ถ้า ทร. จัดหามา...ทร. คงต้องมีการ อัพเกรดในระบบอาวุธ บางส่วน ด้วยครับ...เพราะ กลุ่ม ประเทศที่มีประจำการ ก็จะล้วนมีโปรแกรม การยืดอายุใช้งาน กันออกมาครับ...

เพราะ เมื่อ ทร. ประจำการไปในระยะหนึ่ง จะทำให้ ระบบอาวุธหมดสภาพ ซะก่อน

เช่น ประเทศโปแลนด์ หลังจากประจำการมาระยะหนึ่ง ก็มี โปรแกรมยืดอายุใช้งาน

July 26/11: The US Defense Security Cooperation Agency announces [PDF] Poland’s official request to buy follow-on technical support and a Service Life Extension Program for its 2 “short hull” FFG-7 Oliver Hazard Perry Class frigates. The USS Clark [FFG-11], commissioned in 1980, is now ORP Gen. K. Pulaski [FFG-272]. USS Wadsworth [FFG-9], commissioned in 1979, is now ORP Gen. T. Kosciuszko [FFG-273]. Poland will need spare and repair parts, support and test equipment, publications and technical documentation, system overhauls and upgrades, personnel training and training equipment, and other forms of US government and contractor support.

Polish upgrades will be focused on converting their 20mm MK15 Phalanx Close-In Weapon Systems (CIWS) from MK15 Block 0 to MK15 Block 1B, Baseline 2 configuration, which can handle fast boats, helicopters, and UAVs as well as missiles.

The proposed sale will involve “multiple contractors, as well as U.S. Atlantic Coast shipyards who will compete for planning and execution of the system overhaul and upgrade projects.” The Phalanx systems are a Raytheon product, however, which means that Raytheon will deliver the upgrade, even though they aren’t mentioned specifically. Implementation of this proposed sale will require only periodic travel to Poland on a temporary basis, as requested for program, technical, and management oversight and support.

Poland plans frigate life extension, SIGNALS

 
Polands Ministry of National Defence (MND) has confirmed that it plans to embark on a project to extend the operational lives of the Polish Navys two Oliver Hazard Perry-class (FFG 7) frigates in 2011.


The modernisation of ORP General Kazimierz Pulaski and ORP General Tadeusz Kosciuszko will cost an estimated PLN450 million (USD156 million) and allow the ships to remain in service until 2025, the MND said in response to a parliamentary question

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 07/11/2012 09:32:48


ความคิดเห็นที่ 5


โดยตามแผนกลุ่มประเทศที่ใช้งาน OHP จะมีแผนปลดประจำการ คือ

ปี 2019 ทร.สหรัฐ

ปี 2020 ทร.ออสเตรเลีย

ปี 2025 ทร.โปแลนด์

เมื่อเทียบอายุใช้งานของ ทร.โปแลนด์ ซึ่งเป็นแบบ hot transfer

เรือประจำการปี 1976 โดย ทร.โปแลนด์ วางแผนปลดระวางประมาณปี 2025 อายุประจำการของเรือ ก็จะประมาณ 49-50 ปี...

ซึ่งถ้า ทร. มีการอัพเกรดเรือให้ เทียบเคียง เหมือนกลุ่มประเทศอื่น ๆ คือ ออสเตรเลีย ตุรกี และ โปแลนด์ แล้ว...

หลังการปลดประจำการของเรือเหล่านี้...

ทร.ไทย จะยังสามารถขอซื้ออะไหล่ หรือ อุปกรณ์ต่าง ๆ จากกลุ่มประเทศนี้ โดย ผ่านโปรแกรม FMS ของ สหรัฐ ได้ครับ...

ซึ่งจะทำให้ อายุใช้งานเรือของ ทร. จะขยายไปได้ อาจจะประจำการใน กองทัพเรือไทย ได้อย่างต่ำ 20 - 25 ปี...

โดยเราคาดว่า เรือตามโปรแรกม EDA จะเป็นเรือช่วงอายุ 82 - 85 เมื่อบวกอายุเรือ 50 ปี จะอยู่ประมาณปี 2032 - 2035

ถ้า ทร. ได้ประจำการในปี 2014 - 2015 และวางแผนปลดระวางขั้นต่ำ ในปี 2035 อายุเรือจะประมาณ 21 ปี...

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 07/11/2012 09:48:23


ความคิดเห็นที่ 6


โครงการจัดหา OHP นี้ ถ้า ทร. จัดหามาจริง...เราจะไปเทียบเคียงกับการจัดหา เรือชั้น Knox ในอดีต ไม่ได้ครับ...คนละเหตุการณ์กันครับ...

โครงการจัดหาเรือชั้น Knox นั้น...เราจัดหามาจำนวน 4 ลำ ครับ...แต่เกิดภาวะเศรษฐกิจก่อน เลยลดเหลือ 2 ลำ....

ซึ่งถ้า ตอนนั้น ทร.จัดหามาได้ครบ จำนวน 4 ลำ เมื่อรวมกับเรือชั้น นเรศวร จำนวน 2 ลำ...

ทร.จะมีเรือฟริเกตสมรรถนะสูง จำนวน 6 ลำ ครบตามแผนการความต้องการ…

ซึ่งเรือทั้ง 4 ลำ ของ ทร. ก็จะเป็นเรือที่เป็นลักษณะ hot transfer บางส่วนและมีแบบ refurbished บางส่วน อายุประจำการของเรือชั้นนี้ ก็ควรจะอยู่ที่ประมาณ 30 ปี (ก็ควรจะสิ้นสุดประจำการประมาณปี 2567)...

เพราะการใช้งานของ ทร. จะใช้งานสูงสุด ปีละประมาณ 1,200 ชั่วโมง ต่อลำ เมื่อครบ 6,000 ชั่วโมง ก็จะมีการซ่อมทำ...และการที่ ทร. มีเรือจำนวนมากขึ้น จำนวนชั่วโมงใช้งาน ต่อปี ต่อลำ ก็จะลดลง อายุประจำการของเรือก็จะมากขึ้น...

แต่ปัจจุบัน เรือชั้นนี้ มีอายุใช้งานประมาณ 20 ปี เพราะมีเพียงจำนวน 2 ลำ (ข้อสังเกตุ)

และแม้ต่อมา ทร. จะลดเหลือ 2 ลำ...ตามสภาพงบประมาณ

ทร.ก็ ได้รับ เรือชั้น Knox แบบ hot Transfer จำนวน 1 ลำ คือ หมายเลข 461

ส่วนอีก 1 ลำ  ทร.จะต้องทำ refurbished เนื่องจากเป็นเรือที่ปลดประจำการไปแล้ว...แต่ ทร. ไม่มีเงินชำระให้ ทร.สหรัฐ...ทำให้ เรือหมายเลข 462 ทำให้ ปรับปรุงได้ลักษณะหนึ่ง เท่านั้น...ซึ่งเป็นการช่วยเหลือของ ทร.สหรัฐ (เกือบจะไม่ได้รับมอบ)

ผมเลยวิเคราะห์ ได้ว่า...

ซึ่งถ้า สมมติว่า ทร. มีเงินชำระค่า refurbished ของหมายเลข 462 ได้ในอดีต...

จะทำให้ เรือหมายเลข 462 มีสภาพดีกว่าหมายเลข 461 จนเมื่อประจำการมาถึงประมาณปีที่ 10 ( ปี 2547-2548)...ก็ควรจะปลดระวาง หมายเลข 461 และใช้ หมายเลข 462 เป็นหลัก (ซึ่งควรจะเข้าประจำการ ปี 2539) โดยให้ หมายเลข 461 เป็นเรืออะไหล่...

และตามแผนของ ทร. ในระยะเวลาดังกล่าวที่ปลด หมายเลข 461 (ประมาณปี 2549) ทร. ก็ควรจะมีเรือดำน้ำ เข้าประจำการ อย่างน้อย 1 ลำ(โครงการจัดหาเรือดำน้ำ มีแผนตั้งแต่ปี 2549)....ซึ่งจะทำให้ ทร. ไม่มีช่องโหว่ เรือสงครามใต้น้ำ...โดยเรือหมายเลข 462 จะประจำการ ควบคู่กับ เรือดำน้ำ จำนวน 1 ลำ...

และเมื่อ ทร. ได้รับ เรือดำน้ำ หมายเลข 2...เรือหมายเลข 462 ก็จะปลดประจำการ ไป (ประมาณปี 2559)...เรือชั้นนี้ ก็จะมีอายุประจำการประมาณ 20 ปี...

ช่องโหว่ของ สงครามใต้น้ำ ของ ทร. ก็จะถูกปิดลง....

แล้ว ทร. ก็จัดหา เรือฟริเกตสมรรถนะสูง อีกจำนวน 2 ลำ...ซึ่งคงจะเน้น การป้องกันภัยทางอากาศแบบพื้นที่...(ซึ่งเรือชั้นนเรศวร ก็จะเป็นเรือป้องกันภัยทางอากาศเฉพาะจุด)

แต่ด้วย ทร. ถูก สกัด โครงการเรือดำน้ำ....

ทำให้ ทร. ต้องขยายอายุใช้งาน เรือชั้น พุทธฯ ออกไปอีก 10 ปี ตามข่าว ข้อมูล ที่ปรากฏ ซึ่งการขยายอายุในครั้งนี้ กลับเป็นว่า ทร. ขยายอายุการใช้งานของ เรือหมายเลข 461...มากกว่า ที่จะขยายอายุการใช้งาน เรือหมายเลข 462...

ซึ่งน่าจะแสดงให้เห็นอย่างหนึ่งว่า...ความปรับสภาพเรือ หมายเลข 462 ที่รับมอบมาจากสหรัฐ นั้น...คงไม่ได้ทำเต็มที่...ในขณะที่ เรือที่ได้รับมอบมาแบบ hot transfer กลับจะมีความน่าเชื่อถือที่มากกว่า...

และส่งผลให้ ทร. ต้องจัดหาเรือฟริเกตสมรรถนะสูงใหม่ ให้เน้นในเรื่องการ ปราบเรือดำน้ำ เพื่ออุดช่องโหว่ ในเรื่อง สงครามใต้น้ำ....ที่ ประเทศไทย กำลังจะด้อยที่สุด ในกลุ่มประเทศชั้นนำ ของ อาเซียน...

ผมเลยคิดว่า ถ้า ทร. จัดหา OHP มาจริง...รูปแบบ คงไม่เหมือนเรือชั้น knox ในอดีตครับ...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 07/11/2012 11:43:07


ความคิดเห็นที่ 7


ท่าน Juldas ครับ  จริงหรือเปล่า ? .......ครับ  ที่ว่า "461 เป็นเรือซื้อ   ส่วน 462 เป็นเรือให้ยืม" 

 (เค้าสามารถเรียกคืนเมื่อไรก็ได้.....เพราะไม่ได้จ่ายสตางค์)

โดยคุณ airy เมื่อวันที่ 08/11/2012 01:40:08


ความคิดเห็นที่ 8


ไม่แน่ใจครับ...แต่ถามที่อ่านมาในอดีต...

เรือนี้ สหรัฐ ให้มาเลยเพื่อ แทน เรือชั้น ไซโคลน ที่เคยจะบริจาคให้ไทย สำหรับภาระกิจ ต่อต้านยาเสพติด ครับ...

แต่ สหรัฐ นำไปบริจาคให้ ฟิลิปปินส์ แทนครับ...ทร. สหรัฐ ใช้ข้อนี้ ในการโอนให้ ไทย ครับ...

แต่อาวุธ ที่ผ่านระบบ FMS...ไม่ว่า จะซื้อ หรือ ได้รับฟรี...ก็ล้วนแต่ต้องขอความยินยอมจาก สหรัฐ ครับ...ในการดำเนินการใด ๆ หลังจาก เลิกใช้งานแล้ว...

ซึ่งเป็นเหมือนกันทุกประเทศครับ...

ส่วนเรื่องขอ เรียกคืน เมื่อไหร่ก็ได้...ก็ไม่น่าจะมีเกิดขึ้นครับ...ผมคิดว่า ต้อง ผ่านสภาครองเกรส ครับ...เพราะ การได้รับมา ก้ต้องผ่าน สภาครองเกรส เห็นชอบก่อน...ดังนั้น การเรียกคืน ก็คงต้องผ่าน สภาครองเกรส ด้วยเช่นกัน...เว้นแต่ มันจะมีระบุ สาเหตุ ที่สามารถกระทำได้...ซึ่งก็คงต้องมีเหมือนกันทุกประเทศครับ...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 08/11/2012 11:41:14


ความคิดเห็นที่ 9


ขอบคุณมากครับ  ท่าน  "จูลดัส" 

ผมสงสัยอีกนิดครับ  เรือไซโครนนี่มันพึ่งโอนให้ "ปิน" เมื่อ 2 ปี  ก่อนเองนี่ครับ

แต่เรือ 462 นี่มาอยู่เมื่อไทยตั้ง 15 ปี แล้ว ครับ มันทำไมไปเกี่ยวพันกันได้ยังไง หรือครับ ?

"งงครับ"  (อย่าซีเรียต จริงจัง กับคำถามนี้ของผมมาก นะ ครับ)

 

โดยคุณ airy เมื่อวันที่ 08/11/2012 22:18:55


ความคิดเห็นที่ 10


ไม่เป็นไรครับ ท่าน airy สงสัยแล้วถามได้ครับ...บางที ผมก็เข้าใจผิดเหมือนกัน...จะได้หา คำตอบ ร่วมกันครับ...

เรือชั้น Cyclone ของ ทร.ฟิลิปปินส์ เข้าประจำการในปี 2004 ครับ..

ซึ่งเหตุการณ์ น่าจะเป็นเรื่องต่อเนื่องจากปี 1999 ครับ...

ในปีนั้น Congress อนุมัติโครงการต่าง ๆ ที่ กองทัพเรือสหรัฐ ได้โอนให้กับ ประเทศต่าง ๆ ครับ...และตามโครงการที่ได้มีข้อตกลงร่วมกันกับ ประเทศต่าง ๆ ครับ...

แผ่นภาพที่ 1 และ 2 นี้ เป็นการอนุมัติ ร.ล.พุทธยอดฟ้าฯ

 



โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 09/11/2012 09:31:02


ความคิดเห็นที่ 11


แผ่นภาพที่ 3 การอนุมัติในการจำหน่าย ร.ล.พุทธเลิศหล้าฯ

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 09/11/2012 09:31:57


ความคิดเห็นที่ 12


และแผ่นภาพที่ 4 เป็นการอนุมัติโอนเรือ USS CyClone ให้ ไทย...ซึ่งในเอกสารระบุไว้ ทุกรูปแบบการโอน ครับ ทั้ง ขาย หรือ เช่า หรือ ในฐานะมิตรประเทศเก่าแก่

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 09/11/2012 09:33:40


ความคิดเห็นที่ 13


ในส่วนเรื่องการ โอน FF-1077 ทดแทน CyClone นั้น เดี๋ยวผมลองกลับไปหาเอกสารที่บ้านก่อนครับ...จำได้ว่า เคยพิมพ์เก็บไว้...ตอนนี้ หาใน กูเกิ้ล ไม่เจอ...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 09/11/2012 09:38:02


ความคิดเห็นที่ 14


ตามเอกสารข้างต้นจะเห็นว่า เรือชั้นพุทธฯ ทั้ง 2 ลำ

ลักษณะการโอนจะแตกต่างกันครับ...

หมายเลข 461 ใช้ grant basic

หมายเลข 462 ใช้ Arms Export Control

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 09/11/2012 09:41:50


ความคิดเห็นที่ 15


ซึ่ง เรือชั้น Cyclone ใช้ Grant Basic เหมือน เรือหมายเลข 461

แล้วรู้สึกว่า ทร.สหรัฐ ก็ได้เปลี่ยนจาก โครงการ Arms Export Control ของเรือหมายเลข 462 มาเป็น Grant Basic โดยใช้โครงการ Cyclone มาทดแทน...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 09/11/2012 09:44:54


ความคิดเห็นที่ 16


ยังหาไม่เจอครับ ข้อมูลเรื่อง Cyclone โอนให้ phillippine...เดี๋ยวลองหาดูใหม่...

และจากวิกฤติเศรษฐกิจ ก็น่าจะยกเลิกการจัดหาเรือ LST ชั้น Newport จากสหรัฐ ด้วย..

 



โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 10/11/2012 07:40:13


ความคิดเห็นที่ 17


แต่เรือ LST-1185 ดูจะไม่ค่อยมีประเทศอยากได้...ซึ่งนอกจากเสนอให้ ไทย แล้ว ก็มีการเสนอให้อีกประเทศหนึ่ง....แต่ก็ไม่ได้มีการจัดหาไป

สุดท้าย ก็เลยเป็นเป้าทดสอบการทิ้งระเบิดให้ ทอ.สหรัฐ น่าจะแถวเกาะกวม

 





โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 10/11/2012 07:42:46