ติดตั้งวันนี้เองครับ เลยนำมาแจ้งความคืบหน้าให้สมาชิกรับทราบ
1
2
3
โปรดสังเกตุ ภาพที่ 3 เรดาร์ติดตั้งดรียบร้อยแล้วนะครับ :))
ขอบคุณครับท่าน tantawanlove
เห็นเสากระโดงแล้วระบบเรด้าร์ทั้ง เรด้าร์ตรวจการณื 2D variant ก็ติดตั้งเรียบร้อย เรด้าร์ควบคุมการยิง LIROD ก็เรียบร้อย ปืน 76/62 ก็ติดตั้งเสร็จแล้ว ปืนรองก็ติดตั้งแล้ว ใกล้เวลาทดสอบเพื่อการส่งมอบซะที ล่าช้ามาเยอะหลายเดิอนอยู่
จากที่เข้าไปอ่านใน TAF เห็นว่าล่าช้านอกจากเหตุผลอื่นๆแล้ว ยังมาจากการ Mod เรือให้สามารถรองรับลูกเรือจาก 55 นายไปเป็น 90 นายด้วยนี่ครับ รองรับทั้งเจ้าหน้าที่อากาศยาน(ฮ.) หน่วยซีล หรืออื่นๆ และเห็นสมาชิก TAF ท่านหนึ่งบอกว่าอาจจะ Mod ให้รองรับอาวุธนำวิถีต่อต้านเรือรบได้ด้วย ถ้าเป็นดังว่าจริงๆตามคลิปที่เพื่อน TFC เคยลงไว้ เห็นว่าทร.อยากให้มันสามารถติดตั้งระบบอาวุธนำวิถีได้ในยามสงคราม น่าจะจริงแท้แล้ว เหมือนแก้ไขแบบเรือให้พร้อมที่จะเป็นคอร์เวตหรือฟรีเกตเบาได้ แบบเรือชั้นปัตตานี
ไหนๆก็พูดถึงเรือ OPV ที่ต่อที่อู่ราชนาวีแล้ว อยากสอบถามผู้รู้ครับว่า โครงการอู่แห้งหมายเลข 2 ของอู่ราชนาวีนี่จะกลับมาก๋อสร้างอีกครั้งหรือเปล่าครับ เพราะจำได้ว่าก่อนวิกฤตปี 40 ทร. มีแผนทำอู่แห้ง 2 อู่ และอู่หมายเลข 2 นี่ใหญ่โตมากๆ เห็นว่าสามารถรองรับเรือพานิชย์ขนาด 100,000 ตันกรอชได้ (ถ้ารองรับเรือรบน่าจะได้ขนาด 50,000-60,000 ตันทีเดียว)
หรือว่าเลื่อนไปไม่มีกำหนดต่อไปเรื่อยๆอีก เพราะเท่าทีรู้โครงการในสมัยท่านชวลิตนั้น อู้ราชนาวีนี่จัดว่าจะมีอู่แห้งใหญ่ที่สุดในอาเซี่ยน มีเครื่องไม้เครื่องมือสำหรับงานซ่อมและต่อเรือทันสมัยระดับแนวหน้าของอาเซี่ยนไม่แพ้อู้ของสิงคโปร์เลย ไม่รู้ว่าโครงการนี้จะยังสานต่ออยู่ไหมครับ
จริงๆที่พื้นที่ของอ่าวก็ยังมีที่ว่างเพียงพอสำหรับถมทะเลทำโรงต่อเรือขนาดใหญ่เป็นแสนตันพร้อมสลิปเย์ด้วยก็ยังได้ อยากให้โครงการพัฒนาอู่ของราชนาวีทำให้ครบทุกเฟสสักทีครับ และเพิ่มโรงต่อกับสลิปเวย์ขนาดใหญ่ด้วย
ภาพโมเดลอู่ราชนาวีและภาพดาวเทียมของอู่ราชนาวี เครดิตท่านสมาชิก TAF ท่าน Logieng ครับ ขอบคุณสำหรับเอื้อเฟื้อภาพถ่าย
จะเห็นพื้นที่ว่างๆอยู่ ไม่รู้ว่าอู่แห้งขนาดใหญ่นั้นจะได้เกิดหรือเปล่า เพราะตอนนี้อู่ราชนาวีได้ทำงานร่วมกับภาคเอกชนแล้ว ถ้าอู่แห้งหมายเลข2 ได้รับการก่อสร้างพร้อมกับเครื่องไม้เครื่องมือต่อเรือซ่อมเรือมาพร้อมครบจริงสักที ประเทศเราก็จะมีขีดความสามารถต่อเรือพานิชย์ขนาดใหญ่ถึง 100,000 ตันได้ ต่อเรือรบขนาดใหญ่ทุกแบบที่ทร.ต้องการได้ แม้แต่เรือบรรทุกบ.
TTA ที่เป็นบริษัทเดินเรือยักษ์ใหญ่เจ้าหนึ่งของไทยเพิ่ใเพิ่มทุนเพื่อต่อเรือขนาด แฮนดี้เคป ( 50,000-60,000 ตันกรอช) อีก 3-4 ลำ แต่อู่ภายในประเทศไม่มีอู่ไหนพร้อมต่อเรือขนาดนี้เลยจึงต้องไปต่อที่ต่างประเทศ คราวก่อนก็ต้องไปต่อที่เวียตนาม มันน่าเจ็บใจครับ ทั้งๆที่มีแผนงานแล้วแต่ต้องล้มและไม่ได้รับการสานต่อโครงการเฟสที่เหลือ ไม่อย่างนั้นบริษัทเดินเรือภายในประเทศเราคงจะต่อเรือที่อู่ภายในประเทศตัวเองได้ สถานที่ก็เห็นอยู่ว่ามี
พื้นที่สามารถขยายได้ครับ ถมทะเลทำโรงต่อและสลิปเวย์เพิ่มได้อีกสบายๆ ให้อู่กรุงเทพรับงานมาทำที่นี่ก็ได้ เจ้าหน้าที่ทร.ก็ไปทำ OT. หาตังเพิ่มนอกเวลาก็ยังได้ วินวินทั้งทร.และเอกชนไทย
จากรูปที่ 2 ไม่รู้ว่าจะสามารถขยายความยาวของอู่หมายเลข 1 ที่ยาว 236 เมตร กว้าง 40 เมตร ให้ยาวเพิ่มไปจนสุดพื้นที่ว่างได้หรือเปล่า เพราะดูแล้วถ้าทำได้น่าจะได้ความยาวอีกสัก 200 เมตรได้ สามารถแบ่งเพิ่มเซ็กชั่นเป็นสามส่วนได้ และน่าจะมีโรงซ่อมและต่อเรือเป็นอาคารปิดตรงนี้ได้ หรือว่าพื้นที่ว่างตรงนี้ไปทำงานส่วนอื่นครับ
เครนน่าจะเปลี่ยนได้แล้ว ผมว่ามันเล็กไปสำหรับอู่แห้งที่ใหญ่ขนาดนี้(อู่หมายเลข 1) อู่นี้ดูแล้วรองรับเรือพานิชย์ขนาด 30,000 - 35,000 ตันกรอชได้ ถ้าเป็นเรือรบ ก็เรือขนาด 20,000 ตันแบบ DOKDO ก็ยังได้ เพียงแต่เครื่องไม้เครื่องมือยังไม่ได้จัดหามาครบตามแผนงานเดิมเลยครับ ไม่งั้นประเทสเราเทียบเท่าสิงคโปรไปแล้ว คนไทยด้วยกันเองจะได้ภูมิใจ ไม่มาดูถูกกันเอง
ถ้ากองทัพเรือ กับอู่กรุงเทพ ทำการต่อเรือ ไปเลื่อยแบบ นี้ก้ต้องมีการขยายอู่แห้งมั้งแหละครับ เพราะ ทุกวันนี้ มีเรือรบหลายลำต่อคิวทำการซ่อมบำรุงกันยาวเยียดมาก
สักวันแหละครับ มันก็ต้องเกิดการขยายตัว แต่ตอนนี้ยังอาจจะยังไม่พร้อม มากกว่า
อืมมมม.....ผมลืมบอกไป โครงการอู่ราชนาวีมหิดล นี่คนละโครงการกับโครงการสมัยทักกี้ที่จะให้อู่ฮุนไดเข้ามาลงทุนสร้างอู่ขนาด 100,000 ตันเหมือนกัน ยัง งงเหมือนกันว่าทำไมพี่แกไม่สานต่อโครงการของทร.(ทีท่านชวลิตเป็นผู้ริเริ่ม)ที่ค้างมาครึ่งทางเหมือนกัน เห็นยุคของทักกี้วิ่งหาพื้นที่ทำนิคมอุตสาหกรรมต่อเรือ ตอนแรกว่าจะลงที่ภาคตะวันออกพร้อมๆกับอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ ไปๆมาๆก็ไปลงที่ภาคใต้ตอนบนแทน
แต่น่าแปลก พื้นที่ของทร.เหมาะสมด้วยประการทั้งปวงและอยู่ใกล้นิคมอุตสาหกรรมภาคตะวันออก งานก็เดินไปแล้วกว่าครึ่ง ศักยภาพก็เหลือล้น สิบกว่าปีแล้วกลับไม่มีรัฐบาลไหนสานต่ออีกเลย ทั้งๆที่ถ้าทุ่มอีกครึ้่งทางไม่น่าเกิน 10,000 ล้านบาท อู่ราชนาวีมหิดลแห่งนี้ จะเป็นอู่ต่อเรือระดับแนวหน้าของภูมิภาคอาเซี่ยนเลยทีเดียว ส่วนรัฐบาลที่สนใจอุตสาหกรรมนี้ กลับไปขึ้นโปรเจคใหม่ซะงั้น ของเก่าดีจะตายไม่มีใครสานต่อ ไม่งั้นก็ยืดอกได้มา 10 กว่าปีแล้วว่าไทยเราทัดเทียมสิงคโปร์
หน้าใหม่ที่มาแรงเพิ่งเปิดตัวไม่กี่ปีแต่โดดเด่นในภูมิภาคนี้ คือ Vinashin ของเวียตนามครับ เวปไซต์ของบริษัม
http://www.vinashin.com.vn
ความพร้อมของสาธารณูปโภคและบุคลากรของเวียตนามนั้นด้อยกว่าเราอยู่พอสมควร แต่ได้รับการสนับสนุนอย่างมากจากผู้มีอำนาจของประเทศ แม้ว่าดูไม่พร้อมหลายเรื่อง ตอนแรกๆก็ขาดทุนยับเยิน แต่มาตอนนี้เริ่มดูดีขึ้นเรื่อยๆตามข่าวต่อไปนี้ครับข่าวเก่าแล้ว
อุตสาหกรรมต่อเรือเวียดนามไปโลด
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 7 เมษายน 2549 11:34 น.
กรุงเทพฯ- รัฐวิสาหกิจต่อเรือเวียดนาม หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "วีนาชิน" (Vinashin) เพิ่งจะนำเรือสินค้าที่ใหญ่ที่สุด ขนาดระวางขับน้ำกว่า 50,000 ตันลงน้ำได้สำเร็จในสัปดาห์นี้ ซึ่งเป็นเรือสินค้าที่ใหญ่ที่สุดที่เคยสร้างมา และยังจะต้องสร้างเรือขนาดนี้อีก 20 ลำ ขณะเดียวกันก็กำลังเงมือต่อเรือบรรทุกน้ำมันขนาด 100,000 ตัน อีก 1 ลำ ให้กับบริษัทน้ำมันแห่งชาติปิโตรเวียดนาม โดยมีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2549 นี้
ไตรมาสแรกของปี 2549 นี้ รัฐวิสาหกิจต่อเรือเวียดนามได้ลงนามในความตกลงต่อเรือจำนวน 14 สัญญาด้วยกันใน ทำให้มีรายได้กว่า 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นการขยายตัวถึง 58% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และในปีนี้ทั้งปีวีนาชินตั้งเป้าผลประกอบการเอาไว้สูงถึง 1,000 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 44% จากเพียง 493 ล้านดอลลาร์ในปี 2548
ตามรายงานของสื่อทางการเวียดนามนั้น ลูกค้าหลักของวีนาชินก็ยังเป็นบริษัทเดินเรือสินค้าในญี่ปุ่น เดนมาร์ก จีนกับเนเธอร์แลนด์ ขณะที่ได้ลูกค้าจากอังกฤษเป็นลูกค้ารายใหญ่เมื่อปีที่แล้ว
ในบรรดาลูกค้าสำคัญที่สั่งต่อเรือกับวีน่าชินระหว่างเดือน ม.ค.-มี.ค.ปีนี้ รวมทั้ง บริษัทกะเน็นมัต (Kanenmat) ในญี่ปุ่น ซึ่งได้ตกลงให้วีนาชินต่อเรือสินค้าขนาดระวางขับน้ำ 8,700 ตัน จำนวน 3 ลำ กับกลุ่มคลิปเปอร์จากเดนมาร์ก ที่สั่งต่อเรืออเนกประสงค์ขนาด 4,600 ตัน จำนวน 10 ลำด้วยกัน และยังได้ต่อเรือสินค้าขนาด 12,500 ตัน กับ 6,500 ตัน อย่างละ 1 ลำ เรือบรรทุกคอนเทนเนอร์และเรือขนไม้ซุงอีกชนิดละ 1 ลำด้วย
วีนาชินยังเซ็นข้อตกลงกับบริษัทแคมโก้ (CAMCO) ของจีน เพื่อสร้างอู่ต่อเรือมูลค่า 200 ล้านดอลลาร์ในเขตอุตสาหกรรมต่อเรือเญินโฮย (Nhan Hoi) ใน จ.บิ่งดิง (Binh Dinh) ในภาคกลางของประเทศ
แต่การลงทุนทั้งหมดนี้ก็ยังเป็นเพียงส่วนประกอบน้อยนิดในแผนการลงทุนขนาด ใหญ่ของบริษัทที่ประกาศในปี 2547 ที่กำลังจะมีการระดมทุนทั้งในรูปเงินกู้และการออกหุ้นกู้ หรือพันธบัตร เป็นมูลค่าราว 1,400 ล้านดอลลาร์ภายในปี 2553 เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเรือให้เป็นอุตสาหกรรมทันสมัยของประเทศ และขยายศักยภาพการต่อเรือที่มีขนาดใหญ่โตขึ้น
ในวันพฤหัสบดีที่ 6 เม.ย.ที่ผ่านมาวีนาชินมีกำหนดปล่อยเรือเดินทะเลขนาดระวางขับน้ำ 53,000 ตัน ที่ต่อโดยอู่ฮาลอง (Halong) ใน จ.กว๋างนิง (Quang Ninh) ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ซึ่งนับเป็นเรือเดินทะเลขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่วีนาชินเคยสร้างในเวียดนาม
เรือที่ใหญ่ที่สุดลำแรกของวีนาชิน ที่ตั้งชื่อว่า "ฟลอเรนซ์" นี้ มีความยาว 190 เมตร มีพื้นที่บรรจุสินค้า 64,000 ลูกบาศก์เมตร เป็นลำแรกในบรรดาเรือสินค้าจำนวน 21 ลำ ที่อู่ฮาลองจะต้องต่อให้กับลูกค้าในอังกฤษ ในสัญญามูลค่า 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐที่เซ็นกันในปี 2548 เรือถูกออกแบบโดยบริษัทคาร์ลบรอสมารีนจำกัด แห่งประเทศเดนมาร์ก ทั้งนี้เป็นรายงานของหนังสือพิมพ์เวียดนามนิวส์
อย่างไรก็ตามสถิตินี้กำลังจะถูกลบในไม่ช้า เพราะวีนาชินกำลังต่อเรือบรรทุกน้ำมันดิบขนาดระวางขับน้ำ 100,000 ตัน ความยาว 245 เมตร กว้าง 20 เมตร 1 ลำ โดยมีกำหนดแล้วเสร็จและนำเข้าใช้การในปี 2549 นี้
วีนาชินเป็นรัฐวิสาหกิจแห่งแรกของรัฐบาลที่ได้ออกไประดมทุนในต่างแดน โดยการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์สามารถนำเงินทุนเข้าไปพัฒนาและ ปรับปรุงกิจการ รวมทั้งการปรับปรุงอู่ต่อเรือฮาลองให้มีขีดความสามารถสูงยิ่งขึ้น อีกทั้งยังมีการก่อสร้างส่วนสำนักงานของบริษัทที่มีมูลค่าถึง 14.5 ล้านดอลลาร์ในปีที่ผ่านมา
ในปี 2548 วีนาชินได้ออกพันธบัตรเป็นมูลค่าหลายพันล้านด่ง โดยจำหน่ายให้กับนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยมีสถาบันการเงินของรัฐบาลเวียดนามเป็นผู้ค้ำประกัน
ในเดือน ม.ค.ปีนี้ บรรษัทดังกล่าวได้ประกาศแผนการลงทุนอีกเกือบ 18.9 ล้านดอลลาร์ สร้างอู่ต่อเรือทันสมัยแห่งใหม่ใน จ.ก่ามาว (Ca Mau) ทางตอนใต้สุดของประเทศ เพื่อต่อเรือขนาดระวางขับน้ำ 5,000-10,000 ตันและกำลังจะมีการจ้างงานอีกราว 4,000 ตำแหน่ง ทั้งนี้เป็นรายงานของสำนักข่าวเวียดนามอีโคโนมี
ในเวียดนามยังมีบริษัทต่อเรือขนาดเล็กอื่นๆ อีกหลายแห่ง และบางแห่งต้องหันมาเป็นผู้รับงานให้ต่อจากวีนาชิน ในขณะที่สัญญาการต่อเรือเริ่มมากขึ้นทุกทีๆ บริษัทนี้ประกาศในเดือน ส.ค.ปีที่แล้วว่า สัญญาต่อเรือที่มีอยู่ในมือในปัจจุบันจนถึงปี 2552 มีมูลค่าถึง 1,500 ล้านดอลลาร์ มีลูกค้าในต่างแดนกว่า 30 ราย.
ผู้จัดการรายวัน-- วินาชิน (Vinashin) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจต่อเรือที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ได้ลงมือต่อเรือบรรทุกน้ำมันขนาด 104,200 ตัน ให้กับกลุ่มบริษัทน้ำมันเวียดนาม (PetroVietnam) เพื่อเตรียมรับการเปิดโรงกลั่นน้ำมันแห่งแรกของประเทศในอีก 2 ปีข้างหน้า
ขณะเดียวกันโอมาน ผู้ผลิตน้ำมันรายสำคัญในองค์การประเทศผู้ผลิตน้ำมัน หรือโอเปก (Organization of Petroleum Production Countries) ได้เซ็นบันทึกช่วยความจำ ความร่วมมือและการลงทุนแขนงก๊าซและน้ำมันกับเวียดนามเป็นครั้งแรก
นายกรัฐมนตรีคูเวต ก็เป็นผู้นำจากตะวันออกกลางอีกคนหนึ่งที่จะไปเยือนเวียดนามอย่างเป็นทางการในสัปดาห์นี้
ตามรายงานของสื่อทางการ เรือบรรทุกน้ำมัน "ยวุ๋งกว๊าต 1" (Dung Quat 1) กำลังจะเป็นลำแรกในชั้น "อะฟราแม็กซ์" (Aframax class) ต่อโดยอู่ต่อเรือของรัฐวิสาหกิจวินาชิน (Vinashin) ที่อ่าวยวุ๋งกว๊าต ในเขตเศรษฐกิจพิเศษชื่อเดียวกันของ จ.กว๋างหงาย (Quang Ngai)
เรือบรรทุกน้ำมันดิบที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนาม จะมีความยาว 245 เมตร (ยาวกว่าสนามฟุตบอลมาตรฐาน 2 สนามเรียงกัน) กว้าง 43 เมตร (กว่าครึ่งหนึ่งของสนามฟุตบอล) และ สูง 20 เมตร มูลค่าราว 56 ล้านดอลลาร์สหรัฐ บรรทุกน้ำมันดิบได้ 120,900 ลูกบาศก์เมตร
เครดิตเวป
http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9490000046666
ถ้าโครงการของเรามีความต่อเนื่องและทร.ร่วมมือกับเอกชนจริงจัง ผมว่าเรารุ่งไปหลายช่วงตัวแล้วนะครับ เพราะสิบกว่าปีแล้ว
ปัจจุบัน Vinashin ได้มีพันธมิตรที่ร่วมมือกันหลายเจ้า และหนึ่งในนั้นที่ทรงพลังและมีส่วนร่วมในการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเรือของเวียตนาม คือ ฮุนได ซึ่งก่อตั้งบริษัทร่วมทุนกับ Vinashin ขึ้นมีชื่อว่า
มีชื่อย่อว่า HVS เป็นอู่ต่อเรือที่มีโรงต่อและสลิปเวย์ใหญ่ที่สุดในอาเซี่ยบ ที่สามารถรองรับเรือขนาด 100,000 ตันกรอชได้ แต่อู่แห้งของราชนาวีเราใหญ่ที่สุดนะครับ แต่ไม่มีโรงต่อ ไม่มีสลิปเวย์ เครื่องมือการต่อเรือก็ไม่ได้พรั่งพร้อมดั่งเขา เพราะเรามาเลิกเอาครึ่งทางซะก่อน ส่วนอีกครึ่งไม่มีผู้มีอำนาจในประเทศให้การเหลียวแลเล้ยยย............................
เวปของ HVS
http://www.hyundai-vinashin.com/
เห็นว่าเวียตนามพยายามสนับสนุนอุตสาหกรรมนี้ให้เหนือชั้นกว่าสิงคโปร์ให้ได้ เราก็แค่ลงทุนครึ่งที่เหลือก็ตามทันแล้ว แต่ไม่มีใครสนใจ อู่แรกและสถานที่ทั้งหมดของราชนาวีมิดลใช้เงิน 4000 ล้านบาทเท่านั้น(สิบกว่าปีแล้ว) มาตอนนี้ อีกครึ่งที่เหลือผมคิดว่า 10,000 ล้านบาทก็น่าจะเพียงพอ ถูกกว่า tablet PC เยอะ
อ้างตายแล้วหน้าแหก ทางเวียตนามลงทุนขยายขีดความสามารถเสร็จไปตั้งแต่เมื่อไหร่เนี่ยะ เห็นว่าจะเมื่อไม่กี่ปีก่อน เพิ่งเข้าดูในเวปเขาอีกที คราวนี้อู่แห้งขนาดมหึมาเสร็จแล้ว กลายเป็นอู่ต่อเรือที่มีขนาดและความพร้อมมากที่สุดในอาเซี่ยนไปซะแล้ว
Dock
|
Capacity
|
Dimension (m)
|
Crane
|
No.1 | 80,000DWT | 260 x 45 x 13 | 250 tons x 2 30 tons x 1 |
No.2 | 400,000DWT | 380 x 65 x 13 |
450 tons x 1 |
ได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจังอย่างต่อเนื่องจากผู้มีอำนาจก็จะมีการพัฒนารวดเร็วแบบนี้แหล่ะครับ ตอนนี้เวียตนามกำลังจะเทียบชั้นเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และจีนในด้านอุตสาหกรรมนี้แล้ว แต่เรายังมีสิทธิตามทันและแซงหน้าได้ครับ
เพราะถ้าได้รับการสนับสนุนต่อเนื่องจริงจัง และพัฒนาอุตสาหกรรมถลุงเหล็กต้นน้ำ พร้อมกับทำการขุดเจาะน้ำมันบ่อเจ้าปัญหากับเขมรมาใช้งาน เราก็จะแซงหน้า HVS ของเวียตนามได้อย่างไม่ยากเย็น
ของเราอู่หมายเลข 1 กว้าง 40 เมตร ยาว 236 เมตร ถ้ามีการขยายอู่นี้ให้ยาวขึ้น น่าจะรองรับเรือขนาด 60,000 ตันได้(เห็นพื้นที่ว่างด้านข้างอู่อีกเยอะ และเหมือนมีแนวขนาดอู่ไปด้วย)
ส่วนอู่หมายเลข 2 นี่ น่าจะต้องขนาดไม่น้อยกว่าเขาล่ะครับ เพราะดูจากพื้นที่นั้นมีมากพอ สำหรับอู่ขนาด 60-70 เมตร ยาว 400-500 เมตรได้ ซึ่งผมว่าไม่ใช่แค่ 100,000 ตามที่เวปกรมอู่ทหารเรือบอกซะแล้ว พื้นที่อ่าวที่เหลือก็สามารถถมทะเลเพื่อพัฒนาพื้นที่ได้อีกมากครับ
Item
|
Main Facilities & Equipment |
Capacity
|
Production Facilities |
Cutting shop |
20,700㎡ |
Machinery shop | 5,400㎡ | |
Indoor assembly shop | 9,600㎡ | |
Outdoor assembly shop | 28,800㎡ | |
Substation | 1,400㎡ | |
Warehouse | 12,170㎡ | |
Blasting & Painting shop | 9,340㎡ | |
Machinery |
Plasma Press |
5.2m/1torch x 3sets |
Crane (Gentry crane & O/H crane) | 30 sets | |
Transporter |
510tons x 1set |
|
Plant | Electric facilities |
#1 TR 15,000kw |
Air comp. system | 5,000CFM x 8sets | |
Gas facilities (Oxygen, Co2, Acetylene) | Tank storage : 7ea |
อันข้างบนนี้เป็น workshop ของ HVS ส่วนรูปข้างล่างนี่เป็นเครนและอุปกรณืต่างๆที่อยู่ในพื้นที่และโรงงาน
อ้าว......รูปเครนและเครื่องมือต่างๆไม่มาลองอีกที
ผมนับถือความตั้งใจของเวียตนามในเรื่องนี้มากๆครับ แม้ว่าเริ่มต้นจะทุลักทุเลและมีความไม่แน่นอนในเรื่องความอยู่รอดสูง เพราะเป็นรัฐวิสาหกิจของประเทศคอมมิวนิสต์ที่ใครๆก็ว่าแย่ แถมช่วงต้นขาดทุนจนทำท่าจะไปไม่รอด จุดเปลี่ยนมาจากการที่ได้หุ้นส่วนที่มีความชำนาญสูงมากๆ นั่นคือ ฮุนไดครับ (เสียดายเป็นบ้า เราชวนเขาก่อนด้วย) การพัฒนาจึงก้าวกระโดดทันที
และได้รับการสนับสนุนต่อเนื่องจริงจังจากรัฐบาลทุกสมัยจากผู้มีอำนาจ ต่างจากประเทศเราครับ เริ่มต้นดูดีมาก มีศักยภาพเหลือล้น บุคคลากรพร้อมแบบที่ว่าฝรั่งชื่นชมว่าเราต้องก้าวหน้าไปไกล แต่สุดท้ายเพราะขัดขากันเองและไม่ได้รับการเหลียวแลจากผู้มีอำนาจแม้แต่หางตาด้วยซ้ำ มันจึงต้องเอวังอยู่ด้วยประการฉะนี้
ไม่ใช่ว่าทำไม่ได้ และไม่มีปัญญาทำ แต่ไม่มีใจที่จะทำเลยต่างหากครับ นั่นคือ ปัญหา
แม้แต่เวลานี้ ตอนนี้ถ้าจะตามให้ทันและแซงหน้าเวียตนามประเทศเราก็ยังสามารถทำได้ครับ (ตอนนี้ต้องบอกว่าสำหรับเวียตนามแล้ว อู่และเครื่องไม้เครื่องมือน่าจะพร้อมกว่าสิงคโปรืแล้ว แต่บุคคลากรและประสพการณ์ยังด้อยกว่ามากอยู่เท่านั้น แค่รอชั่วโมงบินให้แข็งพอกว่านี้ก็แซงสิงคโปร์ได้ไม่ยากแล้วสำหรับเวียตนาม)
ถ้าเราเริ่มโครงการเหล็กต้นน้ำและเริ่มการขุดเจาะน้ำมันบ่อเจ้าปัญหากับเขมร ได้เร็ว เมื่อเราลงทุนขยายขีดความสามารถอุตสาหกรรมต่อเรือและพานิชย์นาวีอีกครั้ง (อยากให้อู่ราชนาวีมหิดลเป็นแกนกลางในอุตสาหกรรมนี้ในช่วงต้น) เราก็จะตามทันแล้วแซงได้ไม่ยากครับ เพราะต้นทุนรวมในด้านวัตถุดิบเราจะต่ำกว่ามาก บุคคลากรพร้อมกว่า คุณภาพดีกว่า ขาดแต่ผู้มีอำนาจให้การสนับสนุนเท่านั้นเอง
อย่ารอให้เวียตนามลงทุนในอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำขนาดใหญ่ได้ก่อน เราจะลำบากครับ
ส่อเค้าลางไม่ดีสำหรับอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำที่โดนยื้อมา 6-7 ปี
วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 ปีที่ 22 ฉบับที่ 7850 ข่าวสดรายวัน ต่างชาติหนีตั้งรง.เหล็กไปเพื่อนบ้าน นาย วิกรม วัชระคุปต์ ผู้อำนวยการสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงการประชุมคณะกรรมการสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย ว่า สถาบันเหล็กฯ ได้หารือกับบริษัทนิปปอน สตีล และบริษัทเจเอฟอี ผู้ผลิตเหล็กจากญี่ปุ่นเมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา เกี่ยวกับการลงทุนเหล็กขั้นต้นคุณภาพสูงในไทย ซึ่งทั้ง 2 บริษัทชี้แจงว่ายังรอคำตอบจากรัฐบาลไทยเกี่ยวกับนโยบายส่งเสริมการตั้งโรง ถลุงเหล็กและการเตรียมพื้นที่สำหรับการลงทุน โดยสถาบันเหล็กฯ เห็นว่า ผลการศึกษาของสถาบันเหล็กฯ ยังเป็นเหตุเป็นผลที่จะเสนอให้คณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ (กอช.) ที่มีนาย กิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง เป็นประธานพิจารณา ซึ่ง กอช.ไม่มีการประชุมมาประมาณ 2 ปีแล้ว และถ้ามีการประชุมคงมีการพิจารณาเพราะเตรียมวาระไว้แล้ว นายวิกรม กล่าวว่า ขณะนี้บริษัทนิปปอนสตีล เริ่มศึกษาการลงทุนตั้งโรงถลุงเหล็กที่นิคมอุตสาหกรรมทวาย ประเทศพม่า ส่วนบริษัทเจเอฟอีเริ่มศึกษาลงทุนตั้งโรงถลุงเหล็กที่เวียดนาม ซึ่งถ้าลงทุนในไทยไม่ได้ก็อาจเลือกไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน แต่คาดว่าคงไม่ตัดสินใจลงทุนในปี 2555 เพราะปัญหาเศรษฐกิจโลกทำให้บรรยากาศการลงทุนขนาดใหญ่ไม่ดี โดยความต้องการเหล็กในอาเซียนยังสูงขึ้นแต่สถาบันการเงินอาจ ไม่พิจารณาปล่อยกู้ให้กับนักลงทุน เพราะสถาบันการเงินเห็นว่าเศรษฐกิจเช่นนี้เป็นความเสี่ยงที่จะลงทุนขนาดใหญ่ นาย นิกร สุขศิริวัฒนนนท์ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า เมื่อรัฐบาลไทยไม่ตอบสนองเรื่องการลงทุนโรงถลุงเหล็กก็ทำให้บริษัทเหล็ก ญี่ปุ่นไปลงทุนประเทศอื่น โดยเฉพาะอินโดนีเซีย รวมทั้งบริษัทเหล็กญี่ปุ่นศึกษาการลงทุนโรงถลุงเหล็กในอาเซียนหลายประเทศ ซึ่งบริษัทเหล็กญี่ปุ่นอาจจะไม่ลงทุนที่ทวายหรือเวียดนามก็ได้ เนื่องจากนิคมอุตสาหกรรมทวายยังไม่เริ่มต้นและต้องใช้เวลาในการพัฒนาโครง สร้างพื้นฐาน |
เครดิตเวป
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURObFkyOHdOekkzTURVMU5RPT0=§ionid=TURNd05RPT0=&day=TWpBeE1pMHdOUzB5Tnc9PQ==
ส่วนอีกข่าวมาจากไทยรัฐออนไลน์
http://www.thairath.co.th/content/newspaper/286092
ถ้าใน 2-3 ปีจากนี้เราไม่เริ่มอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ (สหวิริยากับบริษัทญี่ปุ่น เราชวดแน่นอน เพราะแม้ว่าอุตสาหกรรมยานยนต์เราน่าสนใจและบริโภคเหล็กดิบมหาศาล (เรานำเข้าเหล็กดิบอันดับสามของโลก แต่ละปีนำเข้ากว่า 400,000 ล้านบาท โดยนำเข้าจากญี่ปุ่นสูงสุด) จึงทำให้เราน่าสนใจที่จะลงทุนโรงงานถลุงเหล็ก และถ้าเรามีอุตสาหกรรมต่อเรือขนาดใหญ่ จะยิ่งทวีความน่าสนใจมากขึ้น แต่ตอนนี้เวียตนามทำได้แล้วในเรื่องอุตสาหกรรมต่อเรือและมีแนวโน้มดีขึ้นดีขึ้นเรื่อยๆจนน่าใจหาย และจะบริโภคเหล็กดิบปริมาณมากขึ้นเรื่อยจนน่ามอง แถมยังมี AEC อีกด้วย ถ้ายังช้าต่อไป หลุดแน่อุตสาหกรรมต้นน้ำ ซึ่งจะส่งผลต่ออุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่จะทำให้เวียตนามกลายเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนเหนือชั้นกว่าเราได้ในอนาคต และอุตสาหกรรมต่อเรือที่เรามาก่อน แต่ขัดขากันเองจนล้มไม่เป็นท่า ถ้าเขาได้อุตาหกรรมถลุงเหล็กต้นน้ำ เวียตนามจะได้เปรียบในเรื่องต้นทุนวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมต่อเรือทันที
อันนี้คือข้อมูลเก่าของอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำครับ
13 กันยายน 2547 |
เครือสหวิริยาตั้งโรงถลุงเหล็กครบวงจร 30 ล้านตัน มุ่งนำประเทศไทยสู่ผู้นำการผลิตเหล็กของโลกภายใน 15 ปี |
|
เห็นว่าที่ตั้งโรงงานจะอยู่ที่ประจวบ และต้องมีท่าเรือน้ำลึกใหม่สนับสนุน แต่โครงการเอวังมา 6-7 ปีแล้วจากพิษการเมืองภายในของเราเอง
เรื่องที่สหวิริยาตั้งโรงถลุงเหล็กไม่ได้นะ ผมว่าไม่น่าจะเกี่ยวกับเรื่องการเมืองภายในหรอกครับคุณ neosiamese2
สาเหตุจริงๆ คือเรื่องไม่ผ่าน EIA นะครับ โรงงานถลุงเหล็กจะอยู่ที่ อ.บางสะพาน จ.ประจวบฯ ซึ่งอยู่ใกล้กับ อ.บ่อนอก
โครงการโดยรวมจะมาเป็นนิคมครบวงจร คือ มีโรงถลุงเหล็ก ท่าเรือน้ำลึก โรงไฟฟ้า
เริ่มแรกจะมีชาวบ้านออกมาต่อต้านเรื่องโรงไฟฟ้าถ่านหินก่อน จากความกังวลเรื่องผลกระทบจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะ
ต่อมาก็ลามไปโรงถลุงเหล็กด้วย คราวนี้ EIA ก็เลยไม่ผ่านยกโครงการ สุดท้ายโรงไฟฟ้าต้องย้ายไปราชบุรี
เปลี่ยนไปใช้ก๊าซแทน โรงถลุงเหล็กเลยไม่ได้เกิดตาม จนกลุ่ม SSI ต้องไป take over โรงถลุงเหล็กที่อังกฤษ
เพื่อให้ทางกลุ่มเป็นธุรกิจเหล็กครบวงจร
เรื่องที่สหวิริยาตั้งโรงถลุงเหล็กไม่ได้นะ ผมว่าไม่น่าจะเกี่ยวกับเรื่องการเมืองภายในหรอกครับคุณ neosiamese2
สาเหตุจริงๆ คือเรื่องไม่ผ่าน EIA นะครับ โรงงานถลุงเหล็กจะอยู่ที่ อ.บางสะพาน จ.ประจวบฯ ซึ่งอยู่ใกล้กับ อ.บ่อนอก
โครงการโดยรวมจะมาเป็นนิคมครบวงจร คือ มีโรงถลุงเหล็ก ท่าเรือน้ำลึก โรงไฟฟ้า
เริ่มแรกจะมีชาวบ้านออกมาต่อต้านเรื่องโรงไฟฟ้าถ่านหินก่อน จากความกังวลเรื่องผลกระทบจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะ
ต่อมาก็ลามไปโรงถลุงเหล็กด้วย คราวนี้ EIA ก็เลยไม่ผ่านยกโครงการ สุดท้ายโรงไฟฟ้าต้องย้ายไปราชบุรี
เปลี่ยนไปใช้ก๊าซแทน โรงถลุงเหล็กเลยไม่ได้เกิดตาม จนกลุ่ม SSI ต้องไป take over โรงถลุงเหล็กที่อังกฤษ
เพื่อให้ทางกลุ่มเป็นธุรกิจเหล็กครบวงจร
เรื่องของโรงถลุงเหล็ก SSI อ่านต่อได้ที่นี่ครับ
อืมมม…… ผมไม่อยากเฉียดการเมืองนักเพราะเป็นข้อห้ามของเวปนี้ครับ ผมคงต้องขอชี้แจงนิดหน่อยแล้ว
สหวิริยาไม่ผ่านมตรฐานสิ่งแวดล้อมจึงไม่ได้สิทธิในการเปิดโรงงานถลุงเหล็ก ผมก็ขอแจงเลยว่ามีบริษัทอีกจ้าวที่เพิ่งเข้ามาใหม่ด้วยการยึดบริษัทผลิตเหล็กในประเทศ โดยเข้ามาหลังเหตุการณ์ทางการเมืองปี 2548 เพื่อขอ BOI เปิดโรงงานถลุงเหล็กต้นน้ำขนาด 3 ล้านตันผ่านมาตรฐานสิ่งแวดล้อมไปแบบไร้กังวลไร้การต่อต้านและเงียบเชียบด้วยระยะเวลาอันสั้นครับ
เกริ่นหน่อยแล้วกัน เผื่อผู้อ่านท่านอื่นที่ไม่ทราบพื้นเพหยาบๆ เดิมประเทศไทยน่ะมีโรงงานผลิตเหล็กหลอมเหล็กมาช้านานแล้ว แต่จะเป็นลักษณะเอาเศษเหล็กจากต่างประเทศเข้ามาหลอมขายใหม่ พูดง่ายๆ ก็คือ recycle เศษเหล็ก เศษเหล็กพวกนี้นะเรียกหรูๆหน่อยก็ billet ใช้เงินลงทุนไม่มากนัก ความเสี่ยงทางธุรกิจต่ำ คุณภาพเหล็กเหมาะสมกับงานก่อสร้างเพราะคุณภาพไม่ดีเหมือนเหล็กที่ได้จากการถลุงโดยแร่เหล็ก ไม่เหมาะสมกับอุตสาหกรรมอื่นๆ
ช่วงหลังปี 40 อุตสาหกรรมผลิตเหล็กทุกโรงในเมืองไทยกระอัก เจ้ง ขาดทุน เป็นที่มาของคำว่า “ไม่มีไม่หนีไม่จ่าย” ซึ่งมาจากเจ้าของโรงเหล็กจ้าวหนึ่ง พอเปลี่ยนเข้าสู่ยุค……ซึ่งจัดการปัญหาคาราคาซังจากปี 40 ได้แล้วก็เกิดความทะเยอทะยาน ต้องการให้ประเทศไทยมีพลังทางอุตสาหกรรมระดับชั้นแนวหน้าของโลก จึงขึ้นโครงการอุตสาหกรรมถลุงเหล็กต้นน้ำ เพื่อทดแทนการนำเข้าเหล็กดิบซึ่งไทยนำเข้าอันดับ 3 ของโลก ใช้เหล็กปีละ 13-14 ล้านตัน ขาดดุลปีละ 240,000 –เกือบ 400,000 ล้านบาทต่อปีขึ้นอยู่กับว่าปีไหนราคาเหล็กแพงเว่อร์ขนาดไหน
ทางสหวิริยาซึ่งมีสายสัมพันธ์ทางการเมืองกลุ่ม…….ดีมาก จึงรับลูกโครงการก่อตั้งอุตสาหกรรมถลุงเหล็ก 30 ล้านตัน อ้าว……………มันเกินการบริโภคเหล็กในประเทศนี่นา คำตอบก็คือ ต้องการยึดตลาดอาเซี่ยน ด้วยกำลังผลิตที่เหลือจากการบริโภคภายใน และไม่มีใครกล้ามาแข่งด้วยแทบผูกขาด ด้วยเหตุผลทางการเมืองที่รู้ๆกันอยู่ พูดมากเดี๋ยวไอ้ที่ชอบซีก......มาด่าผม
ทางญี่ปุ่นนั้นไม่ยอม เพราะเนื่องจากไทยเป็นผู้นำเข้าเหล็กดิบจากญี่ปุ่นมากที่สุดในโลก!....... เพราะอุตสาหกรรมแทบจะทุกชนิดในไทยเป็นบริษัทร่วมทุนญี่ปุ่นทั้งนั้น และชาตินิยมจัด สั่งแต่เหล็กจากญี่ปุ่นอย่างเดียว ถึงขนาดขู่ว่าถ้าเราเปิดโรงงานถลุงเหล็กเองตัดญี่ปุ่น นอกจากจะไม่ซื้อแล้ว ทางญี่ปุ่นจะถอนการลงทุนภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ทั้งหมดออกจากไทยไปเวียตนามด้วยอีกต่างหาก ไอ้ยุ่นทุบโต๊ะดังเปรี้ยง…….!
ฝ่ายไทยบอก ใจเย็นๆพี่เอางี้แล้วกันมาต่อรองกันดีกว่า หาทางออกที่วินวินด้วยกันทั้งคู่ดีไหม และสุดท้ายต่อรองกันได้ โดยพบกันครึ่งทาง ญี่ปุ่นจะให้บริษัทผลิตเหล็กยักษ์ใหญ่ระดับโลกของตนเข้าถือหุ้นในบริษัทถลุงเหล็กขนาดยักษ์ใหญ่ที่สุดในอาเซี่ยนแห่งนี้ 49% ฝ่ายไทย 51% และมีข้อแม้ว่าจะต้องไม่ให้จ้าวใดจากประเทศอื่นเข้ามาเปิดแข่งขันอีก พูดง่ายๆผูกขาด…………………..
ทางไทย OK.
เมื่อตกลงกันได้ เลือกที่ตั้งกันวุ่นวายวางแผนระบบลอจิสติกกันแบบหน้าดำคร่ำเครียด กำลังจะผ่านการอนุมัติของ BOI อยู่แล้ว ก็เกิดเหตุการณ์ทางการเมืองของปี 2548 ขึ้น เพื่อนๆทุกท่าน เดาได้เลยว่ากลุ่มอุตสาหกรรมเหล็กกลุ่มนี้จะมีชะตาเป็นเช่นไร ก็ตามที่ท่านให้ข้อมูลมาน่ะแหล่ะครับ คนที่เอี่ยวด้วยโดนยกยวง
เพียงไม่นาน จู่ๆก็มีข่าวการเทคโอเว่อร์บริษัทผลิตเหล็กในประเทศไทย มิลิเนี่ยมสตีล…. จากกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็กยักษ์ใหญ่ระดับโลกเช่นกัน แต่มาจากอินเดีย ไม่ต้องบอกชื่อก็รู้นะครับ TT นำหน้า พอยึดกิจการโดยทำ Backdoor listing ในตลาดหลักทรัพย์ได้ ก็ทำเรื่องขอเปิดโรงงานถลุงเหล็กขนาด 3 ล้านตันทันที เฟสแรก 500,000 ตัน เทคโนโลยีการถลุงก็ไม่ได้ต่างไปจากของทางบริษัทร่วมทุนไทยญี่ปุ่นมากเลย แถมผมกล้ารับประกันว่าญี่ปุ่นน่าจะมีเทคโนโลยีดีกว่ามากด้วย แต่เชื่อไหม แป๊บเดียวผ่านมาตรฐานสิ่งแวดล้อมของ BOI และสามารถตั้งโรงงานถลุงได้รวดเร็วปานสายฟ้าแล๊บ โดยไม่มีกลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรวมทั้งชาวบ้านกลุ่มใดออกมาคัดค้านแม้แต่แอ๊ะเดียว
ถ้า TT นี้มีแผนกำลังการผลิตอย่างน้อย 15 ล้านตันขึ้นไป ผมจะหุบปากเงียบและไม่มีคร่ำครวญหรอกครับ เพราะมันเป็นกำลังการผลิตที่ทำให้ประเทศเราไม่ต้องนำเข้าเหล็กราคาแพงจากญี่ปุ่นอีกเลยยยยยย……….ผมจะรัก TT มากมายและเทิดทูนผู้ที่ผ่านโครงการนี้ให้ TT ทุกวี่วันเลย (และด้วยข้อมูลนี้ ผมทำเงินจากหุ้นกลุ่มนี้มาไม่น้อยจากหุ้นของเขา)
แต่ 3 ล้านตัน กับ 30 ล้านตันมันคนละเรื่องเลยนะครับ ผมถึงโวยไง ถ้างั้นทำไม TT ไม่ขอกำลังผลิต 30 ล้านตันแทนไปเลยตั้งแต่แรกล่ะ คำตอบ ก็เพราะอุตสาหกรรมสำคัญแทบทุกประเภทของไทย (แม้แต่ในประเทศสมาชิกอาเซี่ยนแทบทุกชาติด้วย) ที่ใช้เหล็กมากๆ มีญี่ปุ่นถือหุ้นแทบทั้งสิ้น ไม่ซื้อเหล็กจาก TT แน่นอน กำลังผลิต 3 ล้านตันนี่เป็นตลาดเก่าของมิลิเนี่ยมสตีลมีอยู่แล้ว แต่เห็นแววมาว่าอาจจะลองเสี่ยงขยายกำลังการผลิตเป็น 5 ล้านตันถ้าสบช่อง
มีหนทางไหนล่ะครับที่จะให้บริษัทญี่ปุ่นในไทย ยอมใช้เหล็กที่บริษัทอินเดียถลุงให้ล่ะ ถ้าทำได้ และบริษัทอินเดียขยายกำลังการผลิตไปได้อย่างน้อย 15 ล้านตันเพื่อทดแทนการนำเข้าและเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์และอุตสาหกรรมต่อเรือและเดินเรือพานิชย์นาวี แบบนี้ผมสงบปากสงบคำ เพราะบรรลุจุดประสงค์แล้ว
ผมไม่สนใจว่าจะเป็นผลงานของใคร กลุ่มการเมืองไหน ใครอยู่เบื้องหลัง ผมสนใจแค่ว่าประเทศไทยต้องได้สิ่งที่ทำให้ได้เปรียบมาอยู่ในกำมือเพื่อให้การพัฒนาประเทสก้าวหน้าไปไกลทัดเทียมชาติมหาอำนาจเท่านั้นครับ
ตอนนี้ได้ข่าวมาว่า จากเหตุการณ์ทางการเมืองในไทย ทำให้โครงการอุตสาหกรรมสำคัญๆที่ญี่ปุ่นมีส่วนร่วมด้วยสะดุดลงแบบหงายผึ่ง ถึงแม้จะย้ายไปเวียตนามหรืออินโด ก็ไม่มีอะไรการันตีได้ว่ามันจะไม่เกิดแบบนี้อีก เห็นทางญี่ปุ่นมีแนวโน้มกระจายการลงทุนในอุตสาหกรรมหลักๆออกไปในสมาชิกอาเซี่ยนที่เป็นชาติสำคัญๆ แทน ดังนั้นมีแนวโน้มว่าโอกาสการผูกขาดเหล็กดิบที่ไทยจะผูกขาดแทบจะจ้าวเดียวในอาเซี่ยนมันจะหายไปแล้ว แต่ญี่ปุ่นก็ยังให้น้ำหนักมาที่เรามากที่สุด เพราะเรามีปริมาณการบริโภคเหล็กสูงสุดเป็นตลาดใหญ่สุด แม้ว่าอินโดมีทีท่าว่าวันข้างหน้าจะเหนือกว่าเราได้ แต่การที่เราค้นพยบ่อน้ำมันใหม่ ก็ทำให้เรามีภาษีดีกว่ามากอยู่ดี เพราะด้วยอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีของอินโดนีเซีย จะทำให้อีกไม่นาน บ่อน้ำมันที่เขามีอยู่ไม่อาจรองรับการบริโภคต่อไปได้อีก ต้องกลับกลายเป็นผู้นำเข้าน้ำมันแทนซะเอง ซึ่งสวนทางกับเราที่ใกล้จะได้ข้อตกลงกับเขมรเรื่องบ่อน้ำมันเจ้าปัญหานี้ จึงทำให้เราได้เปรียบอยู่ดี
เอาเถอะ มีแนวโน้มว่าโครงการเมกะโปรเจคในอดีต 6-7 ปีก่อน กำลังทยอยกลับมาทีละโครงการ ไม่ว่า นิคมอุตสาหกรรมอากาศยาน เครื่องปฎิกรณืนิวเคลียร์ที่นครนายก โครงการทวายอัดฉีดเต็มสูบ ระบบถนนมอเตอร์เวยระหว่างเมืองใหญ่ ระบบรถไฟความเร็วสูงที่สานต่อจากคู่แข่งทางการเมือง หวยออนไลน์ช่างหัวมันผมไม่สนใจเพราะไม่มีผลกระทบต่อพลังทางอุตสาหกรรมของประเทศ จะล้มก็ช่างมันไม่สน โทรศัพท์ 3-4G เขื่อนกั้นทะเลป้องกันกรุงเทพจมและเชื่อต่อเมืองท่องเที่ยวฝั่งอ่าวไทยตะวันออก-ตะวันตก
ผมเชื่อว่าไม่นานโครงการนี้ก็น่าจะกลับมาอีก เพราะตามข่าวที่ผมลงให้อ่าน ทางบริษัทยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นว่าที่ถือหุ้น 49% น่ะ มาวิ่งจี้เรื่องนี้ยิกๆๆๆๆๆ รับรองว่าคราวนี้ไอ้เรื่องมาตรฐานสิ่งแวดล้อมน่ะ มันจะผ่านง่ายแบบเหลือเชื่อขึ้นมาดื้อๆเอา ยังไงก็ขอให้ชิงตัดหน้าได้ก่อนเวียตนามและอินโดนีเซียล่ะครับ จะทำให้ได้เปรียบ
ผมยังเจ็บใจไม่หายที่ ....... ยกเลิกแผนโครงการคลองกระไป และอู่ราชนาวีมหิดลที่มีความพร้อมรองรับอุตสาหกรรมต่อเรือขนาดใหญ่ถูกเมิน แต่จะไปสร้างใหม่แทน โครงการเก่าสิบกว่าปีก่อนก็ดีมากๆ เพียงแต่ไม่ใช่ผลงานของตน แต่ก็น่าจะสานต่อ เพราะเหลืออีกแค่ครึ่งทางเท่านั้น ทีโครงการรถไฟความเร็วสูงยังไปสานต่อของฝ่ายตรงข้ามได้เลย งง.......
ผมยังเจ็บใจไม่หายที่ ....... ยกเลิกแผนโครงการคลองกระไป และอู่ราชนาวีมหิดลที่มีความพร้อมรองรับอุตสาหกรรมต่อเรือขนาดใหญ่ถูกเมิน แต่จะไปสร้างใหม่แทน โครงการเก่าสิบกว่าปีก่อนก็ดีมากๆ เพียงแต่ไม่ใช่ผลงานของตน แต่ก็น่าจะสานต่อ เพราะเหลืออีกแค่ครึ่งทางเท่านั้น ทีโครงการรถไฟความเร็วสูงยังไปสานต่อของฝ่ายตรงข้ามได้เลย งง.......
ลองไปค้นบทความเก่าๆ มาก็แบบว่า อ่านแล้วยังงงๆ อยู่เลย
ไม่รู้ว่าทำไมถึงตั้งโรงถลุงเหล็กในประเทศไทยไม่ได้ซักที
เบื้องลึก!ยื้อคลอดโรงถลุงเหล็ก รัฐไม่จำกัดวงเงินกิจการท่าเรือหรือไม่มีเงินทุนกัน
http://www.marinerthai.com/forum/index.php?topic=573.0;wap2
สงสัยเกี่ยวกับอนาคตอุตสาหกรรมเหล็กของประเทศไทยครับ
http://www.pantip.com/cafe/wahkor/topic/X12817071/X12817071.html
http://www.thannews.th.com/index.php?option=com_content&view=article&id=57707:-20-&Itemid=440
http://news.sanook.com/scoop/scoop_266171.php
http://news.voicetv.co.th/thailand/48404.html
อันนี้เป็นแนวคิดผมมาหลายปีแล้วตั้งแต่ทราบข่าวว่าบริษัทอินเดีย TT มาก่อตั้งโรงงานถลุงเหล็กต้นน้ำ ในไทย
ประเทศไทยเรามีอู่ราชนาวีมหิดลที่เริ่มมาตั้งแต่สมัยท่านชวลิตก่อสร้างเมาได้แค่ครึ่งทาง มีโรงเหล็กต้นน้ำโดยบริษัทจากอินเดียแล้ว ทุกอย่างพร้อม ผมอยากจะให้ทร.เสนอครม.ทำแผนพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเรือโดยใช้พื้นที่อู่ราชนาวีมหิดลเป็นแกนกลางการพัฒนา โดยขอเงินมาทำการขยายอู่แห้งหมายเลข 2 ให้ใหญ่โตพอๆกับของ HVS เวียตนาม ทำการถมทะเลพื้นที่ส่วนที่เหลือเพื่อก่อสร้างโรงต่อเรือและ สลิปเวย์สำหรับเรือขนาด 2-3 แสนตันหรือใหญ่กว่านั้น อาคารสถานที่เพิ่มเติม และอาจจะมีอู่แห้งหมายเลข 3 ก็ได้ หลังจากนั้นก็จัดตั้งบริษัทร่วมทุนขึ้นเพื่อจัดการอาคารสถานที่ แต่กรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารสถานที่ยังคงเป็นของทร.อยู่เช่นเดิม
บริษัทนี้อาจจะให้ทร.ถือหุ้นส่วนร่วมกับอู่ต่อเรือกรุงเทพ และหาพันธมิตรที่เก่งๆมาร่วมถือหุ้น ซึ่งผมมองว่าไหนๆทร.ก็ชื่นชอบอู่จากเยอรมันแล้ว ก็น่าจะหาพันธมิตรจากเยอรมัน ซะเลย นั่นก็คือ อู่ Bohm + Voss อู่ชั้นแนวหน้าของเยอรมันมาเป็นพันธมิตรที่สำคัญ และอาจจะนำบริษัทร่วมทุนนี้ไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อทำการระดมทุนมาซื้อเครื่องจักรเครื่องมือที่เหลือและเป็น Funflow ของบริษัทเพื่อการบริหารงาน Bohm + Voss ทำการถ่ายทอดเทคโนโลยี และงานด้านการตลาด
หลังจากนั้นก็ทำการติดต่อโรงงานเหล็กต้นน้ำของอินเดีย TT ให้ทางนั้นตั้งโรงงานผลิตเหล็กกล้า mild steel ขึ้นเพื่อป้อนวัตถุดิบให้แก่อู่ต่อเรือ ซึ่งทางโรงงาน TT เองก็อยากจะมีตลาดรองรับอยู่แล้ว เพราะในประเทศไทยนั้น ญี่ปุ่นครองแทบหมด ยากที่ TT จะเจาะตลาดได้ ถ้าอู่ขนาดยักษ์ของทร.กลายเป็นลูกค้าสำคัญ มีหรือ TT จะไม่สนใจ เพราะถ้าอู่นี้ประสบความสำเร็จ ทาง TT ก็จะสามารถขยายกำลังการผลิตเพื่อครองตลาดในส่วนนี้ได้ ซึ่งตอนนี้ญี่ปุ่นยังติดหล่มอยู่
ถ้าทำแบบนี้ได้ ประเทศไทยเราจะมีอุตสาหกรรมต่อเรือระดับเดียวกับเวียตนามลิงคโปร์ทันทีด้วยระยะเวลาอันสั้น
ผมว่าอะไรมันก็พร้อมแล้ว แต่ไม่มีใครสนใจมัน เมื่อก่อนผมแอบเชียร์ให้ฝ่ายค้านขณะนี้เดินเรื่องอุตสาหกรรมต่อเรือขนาดใหญ่ขึ้นโดยใช้แนวคิดข้างบนที่ผมบอก เพราะดูเหมือนพร้อมทุกอย่างแล้ว แต่ก็เงียบไม่มีใครกล่าวถึงมันเลย จนมาถึงตอนนี้ซีกรัฐบาลปัจจุบันแม้จะเคยพยายามก่อตั้งอุตสาหกรรมต่อเรือ แต่ก็ไม่ได้สนใจความพร้อมที่มีตอนนี้ แต่ก็เงียบเข่นเดียวกับฝ่ายค้าน ให้เดาว่าทำไมเงียบนะครับ คือ จะลุ้นโครงการที่ตนเองวางแผนเดิมเอาไว้ทั้งโรงงานถลุงเหล็กต้นน้ำเดิมที่และอุตสาหกรรมเดิมที่วางแผนกับญี่ปุ่นเอาไว้ คราวนี้ผมเดาได้เลยว่าหุ้นส่วนที่จะเข้ามาในอุตสาหกรรมต่อเรือในซีกรัฐบาลต้องเป็นบริษัทจากญี่ปุ่นเช่นกัน เพราะเกาหลีใต้เลือกเวีตนามไปแล้ว และจีนหันกลับไปสนใจบ้านตนเองมากกว่า
ผมมีความรู้สึกว่ากับรัฐบาลนี้ให้ญี่ปุ่นมามีบทบาทมากเกินงามไปแล้ว วันข้างหน้าญี่ปุ่นอาจจะเอาเรื่องอุตสาหกรรมที่สำคัญๆทั้งหมดที่ลงทุนในไทยมาบีบคอเราได้ ในเรื่องอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำและอุตสาหกรรมต่อเรือ แนวคิดที่ผมเสนอน่าจะลดการผูกขาดของญี่ปุ่นลงไปได้ เพราะอู่ต่อเรือหุ้นส่วนสำคัญจะมาจากเยอรมัน ตัวอู่เป็นของทร.ไทย โรงงานเหล็กต้นน้ำมาจากอินเดีย จะเป็นการลดอำนาจที่มีมากจนเกินไปของญี่ปุ่นลงได้
เมื่อญี่ปุ่นเริ่มลงทุนในอุตสาหกรรมทั้งสองชนิดนี้ และประเทศเราก็จะกลายเป็นประเทศที่มีภาคอุตสาหกรรมทั้งสองใหญ่และทันสมัยที่สุดในอาเซี่ยนครับ
TT ตอนนี้ ผมว่าเค้าคงเพลาๆ เรื่องเหล็กลงไปแล้วละครับ
โรงถลุงเหล็กที่ Tesside ในอังกฤษของ SSI ที่ไปซื้อมา เดิมก็ของ TT
โรงถลุงอันนั้นเป็นโรงถลุงที่ทันสมัยที่สุดในยุโรป ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของยุโรป
เมื่อก่อนทั้ง TT และมิตทัล ก็แข่งกันเรื่องเหล็กในอินเดีย ต่อมา TT ไปลุยด้านรถยนต์ เลยเพลาเรื่องเหล็กไป
มิตทัล เลยครองเจ้าเหล็กคนเดียวกลายเป็นเบอร์ 1 ของโลกอยู่ ตอนนี้ราคาเหล็กลงอยู่กำลังคางเหลืองได้ที่ทีเดียว
TT ในไทยตอนนี้ก็สถานการณ์ไม่ดีเท่าไหร่ ตัวแดงเต็มบัญชีเลย เจอเหล็กผมฃสมโบรอนของจีนดัมพ์ราคาเข้าไปคางเหลืองเหมือนกัน
โรงถลุงเหล็กขนาดเล็ก(miniblast)ที่ระยอง ก็ปิดไปเป็นปีแล้ว ยังไม่ได้เปิดเตาเลย แล้วเหล็กที่ TT เน้นทำตลาดเป็นเจ้าตลาดตอนนี้คือเหล็กเส้นที่ใช้ก่อสร้าง
ส่วนเหล็กรีดร้อน(hot roll coil) นั้นมี 2 เจ้าใหญ่คือ SSI กับ GSTEEL ซึ่งทั้ง 2 เจ้าก็มีญี่ปุ่นเป็นหุ้นส่วนสำคัญทั้ง 2 เจ้า
เหล็กรีดร้อน(hot roll coil) เป็นตัวเหล็กที่ใช้ทำรถยนต์ ซึ่ง TT ไม่ได้มีส่วนในตรงนี้อยู่แล้ว
ส่วนเหล็กที่ใช้ทำเครื่องยนต์ ต้องเป็นเหล็กเกรดพรีเมี่ยม ตัวนี้ต้องนำเข้าจากญี่ปุ่นทั้งหมด
เหล็กเกรดพรีเมี่ยมถ้าจะทำต้องสร้างโรงถลุงเอง มีสูตรผสมน้ำเหล็กโดยเฉพาะ
ในประเทศไทยตอนนี้ มี 2 เจ้าที่พอมีศักยภาพที่จะทำได้ คือ SSI กับ MILL
SSI ทำได้ เพราะมีโรงถลุงเหล็กเองอยู่แล้ว
MILL โรงงานอยู่ระยอง โครงการ green mill ใช้เศษเหล็กมาหลอมแล้วผ่านไฟฟ้า แยกเอาน้ำเหล็กมาผสมสูตรเอง
ธุรกิจเหล็กในประเทศไทยตอนนี้อยู่ในมือคน 3 ตระกูลเท่านั้น
กลุ่ม SSI วิริยะประไพกิจ
กลุ่ม GSTEEL และ MILL ลีสวัสดิ์ตระกูล
กลุ่ม TT จากอินเดีย (เดิมของตระกูลหอรุ่งเรือง)
พอดีเห็นสมาชิกพูดถึงเรื่องโรงงานถลุงเหล็กของสหวิริยา ผมเองซึ่งเป็นคนในพื้นที่อยู่ห่างจากบริเวณที่มีการสร้างโรงไฟฟ้าไม่เกิน4กม.และห่างจากจุดสร้างโรงถลุงเหล็กไม่เกิน12กม.ครับ เรื่องที่ชาวบ้านคัดค้านกันเพราะว่าเห็นตัวอย่างจากปัญหาหลายๆแห่งของโรงไฟฟ้าและนิคมในประเทศ ซึ่งจะมีผลกระทบกับชีวิตชาวบ้านโดยตรงครับ พื้นเพคนในพื้นที่จะอาศัยการทำประมงกับทำสวนมะพร้าวส่วนใหญ่และยังทานน้ำฝนกันอยู่ ถ้าเกิดอุตสาหกรรมเหล่านี้เกิด มันจะทำให้ความเป็นอยู่ของชาวบ้านลำบากครับ อีกอย่างธรรมชาติแถวบ้านผมยังจัดได้ว่าสมบูรณ์นะครับ ชาวบ้านก็เลยเป็นกังวลมากๆครับ ถ้าเปลี่ยนจากอุตสาหกรรมหนักมาเป็นการท่องเที่ยวอันนี้ชาวบ้านยินดีครับ
เขามีกันไปหมดแล้ว มาทำทีหลังเขา มันจะได้ไม่คุ้มเสียนะครับ ไหนจะผลกระทบต่อชาวบ้านอีก ซื้อเขาเอาน่ะดีแล้วครับ พูดถึงโรงไฟฟ้านิวเคลียส์ ผมก็อยากได้นะ แต่มาสร้างแถวบ้านผมไม่เอานะ
ผมเอาครับ
โรงถลุงเหล็กต้นน้ำ ถ้าตั้งที่ไหนไม่ได้ ไปตั้งที่บ้านผมที่ระยองก็แล้วกันครับ...รับไม่อั้นครับ
เรื่องสภาพแวดล้อม คงมีผลกระทบระดับหนึ่งแน่ โดยเฉพาะอากาศครับ แต่ผมว่าอยู่ในเกณฑ์ ที่ยังรับได้ ครับ
ส่วนผลกระทบด้านเคมีปนเปื่อน(น้ำ) ก็อยู่ในเกณฑ์ ที่ควบคุมได้ ครับ แต่จะต้องอยู่ใต้การดูแลของคณะกรรมการร่วมที่มีชาวบ้านด้วยครับ
ผมอยู่ภาคอุตสาหกรรม ผมมองออกและเข้าใจมันครับ ผมมั่นใจครับว่าไม่กระทบการท่องเที่ยว และประมงมากมายอะไรนักหนา ครับ
คืออยู่ร่วมกันได้ทุกฝ่ายครับ และจะได้ผลประโยชน์ ร่วมกันทุกฝ่ายด้วยครับ
ความจริงแล้วอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำถือเป็นอุตสาหกรรมสะอาดนะครับ ในประเทศที่พัฒนาแล้ว
ที่ญี่ปุ่น โรงถลุงเหล็กที่เมืองอาอิโตะ ตั้งห่างจากเขตศูนย์กลางของเมืองไม่ถึง 2 km.
แถมเมืองนี้เป็นเมืองที่ขึ้นชื่อเรื่องรีสอร์ตและการท่องเที่ยวทางทะเลด้วย ชาวบ้านก็ไม่ได้มีปัญหาอะไร
ถ้าทำให้โปร่งใสและควบคุมให้ดีๆ ก็ไม่มีปัญหา
โรงไฟฟ้าถ่านหินของบริษัทเจพาวเวอร์ ยังสามารถตั้งในเขตอุทยานแห่งชาติของญี่ปุ่นได้เลย
แสดงว่ามาตราฐานสิ่งแวดล้อมพวกนี้ ถ้าจัดการให้ดี ก็เป็นสิ่งที่รับได้
ใจจริงอย่างให้ประชาชนไทยได้เปิดรับข้อมูลพวกนี้บ้าง
แต่ที่สำคัญผู้ประกอบการต้องจริงใจและลงทุนกับเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังด้วยเช่นกัน