The vice president for marketing for Gripen International told Aviation Week that Brazil will soon make a decision on its next fighter.
The company also sees Vietnam as a potential customer a couple of years down the road.
กริฟเฟนช่วงนี้เนื้อหอมจัง หนุ่มๆ อาเซียน เหล่กันเพียบ
นักวิเคราะห์ชี้เวียดนามจ้องสอย Su-34, JAS-39 กริพเพน
ASTVผู้จัดการออนไลน์ - เวียดนามกำลังจะต้องมองหาฝูงบินใหม่อีกหลายฝูงในระยะ 5-10 ปีนี้ เพื่อนำเข้าประจำการแทนที่ซู-22 กับ มิก-21 ที่ใช้งานมานาน 30 ปี และเครื่องบินรบที่อยู่ในสายคงจะหนีไม่พ้น Su-34 ที่ผลิตในรัสเซียกับ JAS-39 Gripen แห่งสวีเดนแบบเดียวกับที่ประจำการในกองทัพอากาศไทย ผู้เชี่ยวชาญด้านการป้องกันทางอากาศในยุโรปได้วิเคราะห์เรื่องนี้ ในนิตยสาร Air Force รายเดือนฉบับประจำเดือน พ.ย.2555 ที่ออกวางจำหน่ายในสัปดาห์นี้ บทวิเคราะห์ชี้ว่า เวียดนามมองเห็นภัยข่มขู่ที่ใหญ่หลวงซึ่งจะไปจากทางทะเลมากกว่าทางบก จำเป็นจะต้องมีเครื่องบินรบทันสมัยที่มีขีดความสามารถทั้งในด้านการบินตรวจการณ์ การป้องกัน และโจมตี ซึ่งปัจจุบันมี ซู-30 ที่สามารถปฏิบัติการได้ในระยะไกล และในทุกสภาพภูมิอากาศเป็นเครื่องบินรบทันสมัยที่สุด เวียดนามมีแผนการจัดซื้อ Su-30 จำนวนหลายสิบลำ แต่ก็ยังไม่พอสำหรับป้องกันน่านน้ำที่มีชายฝั่งทะเลยาว 3,000 กิโลเมตร ขณะเดียวกัน ฝูงบิน Su-22 ที่มีอยู่หลายสิบลำก็ใช้งานมานาน และอาวุธที่ติดได้ก็เป็นจรวดนำวิถีอากาศสู่พื้น Kh-27 ที่เก่าแก่ใช้มา 3 ทศวรรษเช่นกัน ขณะที่ Su-30 ติดตั้งทั้ง Kh-29 และ Kh-31 ที่ใหม่ และทันสมัยกว่า มีประสิทธิภาพสูงกว่าในการยิงทำลายเรือรบข้าศึกจากระยะไกล ปัจจุบัน ทั้งกองทัพเรือ และกองทัพอากาศเวียดนามต่างเร่งจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ เพื่อป้องกันน่านน้ำให้ปลอดภัยจากการรุกราน หรือการข่มขู่โดยฝ่ายตรงข้าม และยังต้องการจำนวนมากกว่าที่มีอยู่ เครื่องบินรบรุ่นใหม่ที่เป็นไปได้ที่จะใช้แทน Su22 ก็คือ Su-34 ที่รัสเซียจะส่งออกในปี 2558 เป็นต้นไป อย่างไรก็ตาม บทวิเคราะห์ชี้ว่า จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีข้อมูลว่าเวียดนามได้เจรจาขอซื้อ Su-34 หรือยัง ในขณะที่ต้องการเครื่องบินปฏิบัติการระยะไกลประสิทธิภาพสูงเพื่อใช้แทน Su-22 เวียดนามก็จะต้องมองหาเครื่องบินรบประสิทธิภาพสูงปฏิบัติการระยะใกล้แทนฝูงบินมิก-21 ซึ่งตัวเลือกที่ดีที่สุดในขณะนี้ก็คือ JAS-39 กริพเพน ซึ่งรุ่นใหม่ที่จะออกมาในระยะ 5 ปีข้างหน้า บทวิเคราะห์เดียวกันระบุ ปัจจุบัน เวียดนามมีระบบขีปนาวุธป้องกันชายฝั่งที่ทันสมัยแบบ S-300 PMU1 ข้อมูลการข่าวด้านกลาโหมระบุว่า ปัจจุบันมีประจำการ 2 ชุด และกำลังจัดซื้ออีก 2 ชุด เวียดนามมีระบบเรดาร์ทันสมัย และมีระบบต่อสู้อากาศยานภาคพื้นดินที่ทันสมัยและใหญ่โต ซึ่งรวมทั้งปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานขนาดต่างๆ จรวดนำวิถีต่อสู้อากาศยานหลายพันชุด กับจรวดต่อสู้อากาศยานชนิดประทับไหล่ “อิกลา-เอส” (Igla S) อีกราว 3,200 ลูก รัสเซียจะผลิต Su-34 ออกมาอีกรุ่นหนึ่งเพื่อทำสงครามทางทะเลโดยเฉพาะ เช่นเดียวกับ Su-30MK2V ล็อตใหม่ที่เวียดนามสั่งติดระบบเรดาร์ และระบบอาวุธต่อสู้เรือรบโดยเฉพาะ เครื่องบินรบเพื่อการนี้ในอนาคตอันใกล้จึงไม่น่าจะพ้นไปจาก Su-34 ในขณะที่ JAS-39 เป็นเครื่องบินรบที่เบากว่า คล่องตัวกว่า ประสิทธิภาพสูง และคุ้มค่าคุ้มราคา จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับภารกิจป้องกันระยะใกล้ ภัยข่มขู่ทางทะเลทำให้เวียดนามต้องจัดหาเรือรบรุ่นใหม่ๆ ทันสมัยไว้ใช้งาน รวมทั้งเรือรบ เรือตรวจการณ์ และเครื่องบินตรวจการณ์ชายฝั่ง (กองทัพเรือเวียดนามเพิ่งทำพิธีนำเข้าประจำการเรือตรวจการณ์ใหม่ 2 ลำ ในวันที่ 26 ต.ค.ที่ผ่านมา ทั้งสองลำต่อจากรัสเซีย และประจำกองเรือภาค 1 นครหายฝ่อง -- บก.) นอกจากนั้น เวียดนามยังจะต้องมีระบบสอดแนม และเตือนภัยทางอากาศล่วงหน้า AWACS หรือ Erieye แบบเดียวกับที่มีใช้ในกองทัพอากาศไทยเช่นกัน โดยเวียดนามกำลังพิจารณาจัดซื้อจำนวน 2 ลำ บทวิเคราะห์กล่าว. . |
||||
|
||||
|
||||
|
อ่านแล้วไม่น่าจะเป็นไปได้นะครับ ยิ่งเป็นสำนักข่าวนี้ด้วยยิ่งไม่ค่อยน่าเชื่อถือ เพราะเวียดนามจะซื้อเครื่องบินต่างค่ายให้เกิดปัญหาซ่อมบำรุงไปทำไม แล้วจะซื้อSU34มายั่วจีนด้วย ถ้าบอกว่าจะซื้อSU30เพื่มยังเป็นไปได้มากกว่าครับ
มีข่าวในเวปต่างประเทศด้วยครับว่า ซาบเองก็เล็งตลาดที่เวียตนามเหมือนกัน
The vice president for marketing for Gripen International told Aviation Week that Brazil will soon make a decision on its next fighter.
The company also sees Vietnam as a potential customer a couple of years down the road.
กระทู้ข้างอ้างอิงข่าวจากเวปนี้ครับ (ผมตั้งเป็นกระทู้ไปแล้ว) แต่คิดว่าเวียตนามน่าจะสนใจระบบ AEW มากกว่า
LINKOPING, Sweden — After years of delay, Gripen International believes Brazil is nearly ready to make a decision in its fighter competition, in which the company’s single-engine fighter is in competition against the Boeing F/A-18E/F and Dassault Rafale.
“We get the feeling it is the endgame,” notes Eddy de La Motte, vice president for marketing for Gripen International, the joint venture of Saab and BAE Systems that markets the Swedish fighter to export customers.
Saab could deliver the first Gripen E/F (also called the NG) fighter four years after contract award, but it is still unclear if that is the schedule Brasilia will insist on or whether it will join the combined Swiss/Swedish Gripen E/F development schedule, which would see the first fighter handed over in 2018.
The first Gripen E/F prototype is due to fly late next year if the Swiss and Swedish governments can agree on the development path forward. The effort would likely require some Saab funding too.
Meanwhile, the Selex Galileo Raven ES-05 active, electronically scanned array radar is to fly on the Gripen NG demonstrator soon, during which time the cockpit displays and sensor will be put through their paces.
The Swedish government has an offer on the table to potential export buyers to accelerate its purchase if another country wants the Gripen E/F early, but does not want to be the lead buyer. That offer remains on the table, de La Motte says.
A win in Brazil could open the door to other fighter deals in South America, adds Frederik Gustafson, regional director for Gripen exports in the Americas. “There is a huge need for new fighters in the region and the economies are growing,” he tells reporters on the sidelines of Aerospace Forum Sweden 2012. There are more than a handful of countries that are looking to buy in the next five years, he adds.
But that is not the only region where the manufacturer is working to meet its target of selling 300 fighters over the next decade. In Thailand, where it has already sold 12 Gripens (six are delivered and six will follow next year), it hopes for additional deals. Malaysia, the Philippines, Indonesia and, “in a couple of years,” Vietnam may be opportunities, de La Motte says.
Efforts also continue to extend the fighter lease deal with the Czech Republic and secure orders in places such as Bulgaria, Romania, Croatia and Slovakia. Gripen also still hopes to convince Denmark and the Netherlands to defect from the F-35A Joint Strike Fighter program to which they are committed.
http://www.aviationweek.com/Article.aspx?id=/article-xml/asd_06_01_2012_p03-01-463804.xml
เวียดนามจะทำMRCA เหมือนอินเดียรึครับ? ของอินเดีย SU-30MKI เป็นหัวหอกครองอากาศ พวกขับไล่/โจมตี เป็นพวกRafal F-18 อะไรพวกนี้ที่กำลังแข็งขันกัน แต่อินเดียนะทำได้เพราะเงินถึง
แต่เวียดนามปกตินี่รัสเซียยกชุดตลอดในเวลาหลายปีที่ผ่านมา
ผมว่า Jas-39 นั้นไม่มีทางที่จะเกิดในเวียดนามแน่นอนครับ เพราะพี่แกใช้แต่ของรัสเซียมา นานๆๆๆ มากแล้วของยุโรปก็ไม่เคยได้ใช้ ได้ใช้แต่F-5 ที่น่าจะเกิดคงจะเป็นSu-34 100%
เท่ากับว่า ไทยเลือกjasนั้นถูกต้อง พวกนี้วุ่นวายกันใหญ่
จำได้ว่าคราวก่อนก็มีข่าวว่า มาเลเซียสนใจกรีเพ่นด้วยนี่ ดูแล้วเต้นแร้งเต้นกากันใหญ่ ถ้าจริงนะ
อะไรๆ ในโลกนี้ก็เป็นไปได้ทั้งนั้นครับ
อย่างมาเลย์ มีทั้ง ซู 30 มิก 29 เอฟ 18 เอฟ 5 เห็นใครมีอะไรดีก็เอากับเขาหมด ก็ไม่เห็นจะแปลกอะไรนี่ครับ
ถึงเขาจะรุ้ว่ามีความเสี่ยงฝนด้านการบำรุงรักษา ก็คงหักห้ามใจตัวเองไม่ได้หรอกครับ ก็นิสัยเขาเป้นอย่างนั้น
แต่ถ้ามองโลกในแง่ดีสักหน่อย ก็อาจมองว่า มีเงินซะอย่าง ซื้อมาเรียนรุ้เทคโนโลยีสักหน่อย ขนหน้าแข้งคงไม่ร่วงหรอก
หรือไม่ก็ถึงคราวเลือดเข้าตาก็ทำอะไรแปลกๆ กันได้ทั้งนั้น
ปล. ใครที่ทำงานด้านการข่าว คงรุ้ดีว่าข่าวสารต่างๆ ต้องฟังหูไว้หูครับ เพราะงานข่าวกรองก็มีไว้เพื่อกรองข่าวสารต่างๆ นั่นเอง
ตามหลักคิดที่ว่า "ในจริงมีลวง ในลวงมีจริง" คงต้องอาศัยข้อมูลหลายๆ ด้าน + ปัญญาพิจารณาให้รอบครอบครับ
หากชอบแต่ติเรือทั้งโกลนแล้ว ก็เท่ากับปิดหูปิดตาตัวเองไปครึ่งหนึ่งแล้วครับ ผมรับราชการมา 20 ปี แล้ว ตามข่าวมาเยอะ
ไอ้ที่ว่าข่าวแปลกๆ ก็เห็นว่าเป้นจริงมาแล้วตั้งหลายเรื่อง หึ หึ เปิดใจกว้างๆ กันหน่อยครับ
ถ้าได้มาจริง เวียดนามคง JAS-39 สกัดกั้น ใช้ SU-30 โจมตีทางลึก
ถ้าข่าวนี้มีมูลความเป็นจริงที่เวียดนามสนใจ กริฟเพ่น จริงก็แสดงว่าเขาก็เริ่มคิดแบบอินเดียแน่นอนเพราะเขาก็มีความร่วมมือทางการทหารกับอินเดียไปแล้ว
การที่ เวียดนาม หรือ มาเลเซีย สนใจจัดหา JAS-39...
คงต้องมองที่ วัตถุประสงค์ของ JAS-39 ที่สร้างขึ้นมา โดย สวีเดน คำนึงถึงการ ต่อต้านภัยคุกคามจาก SU และ MIG ของฝั่งยุโรปตะวันออก...
ซึ่งถ้า เวียดนาม และ มาเลเซีย มองถึงภัยคุกคามจาก J-15 ของ ทร.จีน ที่จะมากับเรือบรรทุกเครื่องบิน...ซึ่งก็มีคุณสมบัติคงไม่ได้แตกต่างจาก SU-27 และ SU-30 มากนัก...
JAS-39 จึงเป็น หนึ่งในตัวเลือก ที่น่าสนใจ สำหรับการ ต่อต้าน J-15 ของ ทร.จีน...เพราะเกิดมา เพื่อสู้กับ SU และ MiG โดยเฉพาะ...
ผมอ่านความเห็นของคุณ seaman แล้วชอบมากครับ ถ้าเดาจากลักษณะการแสดงความเห็นของคุณ seaman แสดงว่าเป็นคนมีประสบการณ์สูง เป็นคนยอมรับความเห็นที่แตกแต่ง แล้วนำมาเป็นข้อมูลหนึ่งในการพิจารณาอย่างรอบด้าน จะทำให้การตัดสินใจใด ๆ มีประสิทธิผลยิ่งขึ้น ทำให้ผมนึกถึงตอนที่ผมเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยหนึ่ง ตอนใกล้จะจบ ผมถามคำถามหนึ่งต่ออาจารย์พิเศษที่มาสอน ท่านตอบผมว่า ผมเสียใจที่คุณเรียนมาได้แค่นี้ แม้ใกล้จะจบมหาวิทยาลัยแล้ว แต่คุณยังขาดขาดทักษะในการคิด ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากผู้ที่เป็นบัณฑิตที่ดี (เน้นยำว่าที่ดี) ขอให้พัฒนาการคิดในมิติต่าง ๆ (เช่น คิดเชิงวิเคราะห์ คิดเชิงวิพากษ์ คิดเชิงสังเคราะห์ คิดเชิงสร้างสรรค์ คิดเชิงกลยุทธ์ ฯลฯ) ให้มากขึ้น อันความรู้ทึ่เรียนในระดับมหาวิทยาลัยนั้น คุณสามารถหาอ่านได้จากหนังสือ ตำรับตำราทั่วไป หรือแม้แต่ในอินเตอร์เน็ต (แต่ต้องกรองให้ดี ๆ) แต่สิ่งที่จะทำให้คุณแตกต่างจากนักศึกษาหรือผู้ที่จบการศึกษาโดยทั่วไป คือ ทักษะในการคิด ท่านอาจารย์ยังพูดต่อว่า คนไทยบางส่วนแม้จะจบการศึกษาแล้ว แต่ยังขาดทักษะความรู้ความเข้าใจในการคิดที่ถูกต้อง ทำให้ประเทศไทยยังไม่สามารถพัฒนาก้าวหน้าไปได้เท่าที่ควร จากคำพูดของท่านอาจารย์ในวันนั้นทำให้ผมได้มีโอกาสทบทวนตัวเอง แล้วก็รู้สึกว่าที่อาจารย์กล่าวเตือน/แนะนำเรานั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ตัวเรายังต้องพัฒนาไปอีกมาก ขอขอบคุณท่านอาจารย์ท่านนั้นที่ทำให้ผมหูตาสว่างขึ้น
ในแง่ความคิดของผม หากเวียดนามต้องการ JAS-39 สำหรับนำไปสกัดกั้นเครื่องบินที่คาดว่าเป้นภับคุกคามทั้งจากตระกูลซูหรือตระกูลเจก็ตาม หากจัดหาเฉพาะแค่เครื่องบินกับอาวุธ ไม่รวมระบบเครือข่ายก็ไม่มีประสอทธิภาพพอที่จะหยุดเครื่องบินเหล่านี้ได้ครับ ถ้ามาเลเซียยังดูใกล้เคียงกว่า แต่ก็มองรูปการณ์อีกที ถ้าจะเเครื่องบินแจ้งเตือนภัยด้วยก็ใช้ประสิทธิภาพอาจจะไม่เต็มที่กับเครื่อบินแบบอื่นที่มาจากรัชเซีย ก็อาจจะทำให้ไม่คุ้มค่าในการจัดซื้อแพ็คเกตและอาวุธที่ไม่มามารถจะหยิบยืมกันได้กับฝูงเดิม ส่วนตัวนั้นน่าจะเป้นการนำเสนอทางการตลาดของ ซ้าบ มากกว่า และท่าทีสนใจนั้นก็เพราะว่าเราจัดหามาจำนวนหนึ่งย่อมทำให้เพื่อนบ้านสนใจแน่นอน เหมือนครั้งหนึ่งที่เราเคยสนใจ ซู-30 ผมจึงมองว่า ดีลนี้ JAS-39 อาจจะเป็นได้แค่ตัวสนใจสำหรับเรียกร้องออฟเซ็ทเจ้าเดิมมากกว่า