หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


กองเรือทุ่นระเบิด กองทัพเรือไทย (Mine Squadron Royal Thai Navy)

โดยคุณ : juldas เมื่อวันที่ : 01/11/2012 23:36:20

ใกล้จะถึง วันครบรอบสถาปนา กองเรือทุ่นระเบิดในเดือน ธันวาคม

จึงขขเสนอมาทำความรู้จักกับ กองเรือทุ่นระเบิด ครับ...

ข่าวเก่า ปี 2554

22ธ.ค.วันกองเรือทุ่นระเบิด

22ธ.ค.วันกองเรือทุ่นระเบิด เปิดวิถีนาวาขวางมรรคาไพรี! : ตะลุยกองทัพ โดยทีมข่าวความมั่นคง

 

แม้ว่าการรุกล้ำอธิปไตยและการใช้ทุ่นระเบิดจะมีโอกาสเกิดขึ้นไม่มากนักก็ตาม แต่ "กองเรือทุ่นระเบิด" ยังคงให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมกำลังรบให้สามารถรับมือกับภัยคุกคามที่หลากหลายทั้งภัยคุกคามรูปแบบเดิม และภัยคุกคามรูปแบบใหม่ เช่น การค้ายาเสพติด การกระทำอันเป็นโจรสลัด การก่อการร้าย และภัยธรรมชาติทางทะเล เป็นต้น

น.อ.เชษฐา ใจเปี่ยม เสนาธิการกองเรือทุ่นระเบิด กองเรือยุทธการ (เสธ.กทบ.กร.) กล่าวถึงประวัติความเป็นมา และความสำคัญของกองเรือทุ่นระเบิดว่า เมื่อปี พ.ศ.2446 ปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมทหารเรือ กำหนดให้มี "กองทุ่นระเบิด" ขึ้น

ต่อมา ปี พ.ศ.2485 ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐอเมริกาได้ส่งเรือดำน้ำเข้ามาวางทุ่นระเบิดบริเวณเกาะริ้น เกาะสีชัง และเกาะคราม เป็นเหตุให้เรือซิดนีย์มารู (Sydney Maru) ของญี่ปุ่นซึ่งเป็นพันธมิตรกับประเทศไทยในเวลานั้นถูกทุ่นระเบิดได้รับความเสียหายอย่างหนักทำให้เรือสินค้าและเรือประมง ไม่กล้าที่จะออกทะเล

ทัพเรือ (หน่วยสนามของราชนาวีในขณะนั้น) จึงได้ลงคำสั่งยุทธการให้ ร.ล.จวง(ลำเก่า) ร่วมกับเรือประมงจำนวนหนึ่งเป็นหมู่เรือกวาดทุ่นระเบิด ออกปฏิบัติการระหว่างวันที่ 22 ธันวาคม 2485-22 มกราคม 2486 นับเป็นการ "ปฏิบัติการกวาดทุ่นระเบิดครั้งแรก" ที่มีการบันทึกเอาไว้เป็นหลักฐาน

หลังจากนั้นไม่ปรากฏว่าเรือของฝ่ายเราโดนทุ่นระเบิดอีกเลย...เพื่อเป็นอนุสรณ์รำลึกถึงภารกิจอันสำคัญในครั้งนั้นจึงได้กำหนดเอาวันที่ 22 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนากองเรือทุ่นระเบิด

ต่อมาประเทศพันธมิตรได้นำเครื่องบินมาวางทุ่นระเบิดในแม่น้ำเจ้าพระยา ทัพเรือจึงได้ลงคำสั่งจัดตั้งกองกวาดทุ่นระเบิดในแม่น้ำขึ้นเมื่อ 25 มกราคม 2487 และในวันที่ 29 มิถุนายน 2494 ชื่อของ "กองเรือทุ่นระเบิด" ได้ปรากฏเป็นครั้งแรกเมื่อมีการย้ายกองเรือจากกรุงเทพฯ ไปรวมอยู่ที่ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ในชื่อใหม่ว่า “กองเรือยุทธการ”

ปัจจุบัน พล.ร.ต.ลือชัย รุดดิษฐ์ เป็นผู้บัญชาการกองเรือทุ่นระเบิด โดยกองเรือทุ่นระเบิดไม่เคยละเลยที่จะฝึกฝน ตลอดจนเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น การจัด "หมู่เรือเฉพาะกิจ" ออกสำรวจและรวบรวมข้อมูลทางยุทธการด้านสงครามทุ่นระเบิดในพื้นที่ปฏิบัติการตามวงรอบถึง 2 ครั้ง

ครั้งแรก ทำการสำรวจและรวบรวมข้อมูลทางยุทธการในพื้นที่ท่าเรือมาบตาพุด และฐานส่งกำลังบำรุงทหารเรือตราด ทัพเรือภาคที่ 1 และ ครั้งที่ 2 ทำการสำรวจและรวบรวมข้อมูลทางยุทธการในพื้นที่ท่าเรือประจวบคีรีขันธ์ ท่าเรือขนอม เกาะสมุย เกาะพงัน และฐานทัพเรือสงขลา ทัพเรือภาคที่ 2 อันเป็นการเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติการสงครามทุ่นระเบิด

ในปีที่ผ่านมาได้มีการฝึกที่สำคัญ คือ การฝึกองค์บุคคลและยุทธวิธี กองเรือทุ่นระเบิด, การฝึกกองทัพเรือ 54 การฝึกร่วมกองทัพไทย 54 การฝึกผสม CARAT 2011 การฝึกภาคปฏิบัติในทะเลของหลักสูตรล่าทำลายทุ่นระเบิดสัญญาบัตร และหลักสูตรวางทุ่นระเบิดสัญญาบัตรของ กฝร.

โดยเฉพาะ การฝึกต่อต้านทุ่นระเบิดภาคพื้นแปซิฟิกตะวันตก (Western Pacific Mine Countermeasure Exercise : WP MCMEX) ครั้งที่ 4 ซึ่งกองเรือทุ่นระเบิดได้จัดหมู่เรือ ประกอบด้วย ร.ล.ลาดหญ้า และร.ล.บางระจัน โดยมี น.อ.เอกราช พรหมลัมภัก เสธ.กทบ. (ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง รอง ผบ.กทบ.) เป็น ผบ.หมู่เรือ เข้าร่วมฝึก ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์

ด้านการช่วยเหลือประชาชน กองเรือทุ่นระเบิดยังส่งกำลังช่วยเหลือ "ผู้ประสบอุทกภัย" โดยได้จัดชุดช่วยเหลือที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ประกอบด้วย เรือยาง 4 ลำ กำลังพล 13 นาย พร้อมทั้งจัดหมวดเรือช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ประกอบด้วย เรือ กทต. 6 ลำ เรือยาง 2 ลำ และกำลังพล 47 นาย

กองเรือทุ่นระเบิดยังมีแผนในการเสริมสร้าง และพัฒนาขีดความสามารถของยุทโธปกรณ์ที่มีอยู่ อาทิ โครงการปรับปรุงเรือ ลทฝ. ชุด ร.ล.บางระจัน ที่มีแผนปลดระวางประจำการในปีงบประมาณ 2560-2561, โครงการจัดหายานกวาดทุ่นระเบิดอิทธิพลไร้คนบังคับควบคุมระยะไกล (Remote Unman Mine countermeasure Vehicle : RUMV), โครงการจัดหาทุ่นระเบิดฝึกสำหรับใช้ในการฝึกต่อต้านทุ่นระเบิด, โครงการจัดหาระบบอุปกรณ์ในการรวบรวมข้อมูลทางยุทธการในการสำรวจพื้นท้องทะเลและวัตถุใต้น้ำ รวมทั้งกำลังพิจารณาเสนอโครงการจัดหาเรือวางทุ่นระเบิด ขนาดระวางขับน้ำประมาณ 1,500 ตัน เพื่อรองรับภารกิจในการวางทุ่นระเบิด และทดแทน ร.ล.ถลาง ที่มีแผนปลดระวางประจำการในปีงบประมาณ 2563 เป็นต้น

กองเรือทุ่นระเบิดได้ตระหนักถึงข้อจำกัดทางด้านงบประมาณเป็นอย่างดี จึงได้ดำเนินโครงการวิจัยเกี่ยวกับทุ่นระเบิดในลักษณะของการ "พึ่งพาตนเอง" โดยได้ดำเนินโครงการวิจัย "ทุ่นระเบิดทอดประจำที่ปราบเรือดำน้ำแบบล่องหน" ที่มีประสิทธิภาพสูงในการปราบเรือดำน้ำในราคาไม่แพง ตรวจจับได้ยาก และเหมาะสมกับสภาพท้องทะเลไทย

เสธ.กทบ.กร.กล่าวทิ้งท้ายว่า กองเรือทุ่นระเบิดจะดำรงความพร้อมในด้านสงครามทุ่นระเบิดและจะไม่หยุดที่จะพัฒนาขีดความสามารถของกำลังทางด้านสงครามทุ่นระเบิดให้พร้อมที่จะเผชิญต่อภัยคุกคามที่หลากหลายรูปแบบ สมดังอมตะคำขวัญของกองเรือทุ่นระเบิดที่ว่า “ทำศึกทุ่นระเบิด เปิดวิถีนาวา ขวางมรรคาไพรี”





ความคิดเห็นที่ 1


เรือรบใน กองเรือทุ่นระเบิด ยุค หมายเลขเรือ ตัวเดียว

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 28/10/2012 08:46:13


ความคิดเห็นที่ 2


กองเรือทุ่นระเบิด ในยคุหมายเลขเรือ 3 ตัว

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 28/10/2012 08:47:00


ความคิดเห็นที่ 3


ความเปลี่ยนแปลง เรือประจำการ ในแต่ละช่วงระยะเวลา

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 28/10/2012 08:48:20


ความคิดเห็นที่ 4


บทความจาก หนังสือ สาระคดี ฉบับที่ 152

 





โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 28/10/2012 08:50:02


ความคิดเห็นที่ 5


การทำงานของ ร.ล.บางระจัน




โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 28/10/2012 08:51:10


ความคิดเห็นที่ 6


บทความ 1

 





โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 28/10/2012 08:52:50


ความคิดเห็นที่ 7


บทความ 2

 





โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 28/10/2012 08:54:05


ความคิดเห็นที่ 8


Sea Fox อุปกรณ์ต่อต้านทุ่นระเบิดใหม่ ที่กำลังจะเข้าประจำการ

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 28/10/2012 08:55:15


ความคิดเห็นที่ 9


ซึ่งล่าสุด ชุด ร.ล.บางระจัน จะมีการปรับปรุงใหม่

ส่วน ร.ล.ถลาง เปิดให้ ประชาชน เข้าเยี่ยมชมได้ ที่กองเรือทุ่นระเบิด

ร.ล.ถลางพิทักษ์น่านน้ำไทยครบ32ปี

ร.ล.ถลางตำนานที่ยังหายใจ พิทักษ์น่านน้ำไทยครบ32ปี : ตะลุยกองทัพ ทีมข่าวความมั่นคง

เรือหลวงถลาง ได้จัดงานทำบุญเรือ ณ ท่าเทียบเรือ กองเรือทุ่นระเบิด กองเรือยุทธการ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน ที่ผ่านมา เนื่องในโอกาสครบรอบ 32 ปีที่ประจำการในกองทัพเรือ และถือเป็นฤกษ์เปิดให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ของกองทัพเรืออย่างเป็นทางการ

น.ต.รัฐพล แก้วกระจาย ผู้บังคับการเรือหลวงถลาง เปิดเผยว่า แนวคิดดังกล่าวเป็นการปฏิบัติตามนโยบายของ พล.ร.ต.ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการกองเรือทุ่นระเบิด ที่ต้องการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประชาชน และเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไป รวมทั้งเยาวชนได้เข้ามาศึกษาเรียนรู้ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของกองทัพเรือไทย เพื่อปลูกจิตสำนึกความรักชาติ

น.ต.รัฐพล ยอมรับว่า การเปิดให้เรือหลวงถลางเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้แรงบันดาลใจมาจาก เรือหลวงจักรีนฤเบศร ที่บรรจุประจำการอยู่ที่ฐานทัพเรือสัตหีบ จ.ชลบุรี อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการเดินทางไปเยี่ยมชมเรือหลวงจักรีนฤเบศร มีระยะทางไกลเกือบ 200 กิโลเมตรจากกรุงเทพฯ

เรือหลวงถลาง จึงถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และเยี่ยมชมธรรมชาติของแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณปากอ่าวไทย อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ

"จุดเด่นของเรือลำนี้ คือ เป็นเรือที่ใช้ปฏิบัติราชการจริง มีกำลังพลอยู่บนเรือ มีอาวุธที่ยังใช้งานได้จริง และสามารถเข้าเยี่ยมชมจุดต่างๆ บนเรือได้ ยกเว้นจุดที่เป็นความลับทางราชการ นอกจากนี้ยังสามารถชมความสวยงามของปากอ่าวไทยได้ โดยเฉพาะยามเย็น ที่อากาศและทัศนียภาพบริเวณปากอ่าวกำลังสวยงาม" น.ต.รัฐพล กล่าวเชิญชวน

น.ต.รัฐพล กล่าวว่า เรือหลวงถลาง เพิ่งเปิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเมื่อต้นเดือนกันยายน ที่ผ่านมา โดยเปิดให้ประชาชนเข้า "ชมฟรี" ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ตั้งแต่เวลา 08.00-18.00 น. โดยประมาณ

นอกจากนี้ยังมีแนวคิดจะใช้สถานที่บริเวณ "ดาดฟ้าเรือ" เป็น "สถานที่จัดเลี้ยง" สำหรับผู้ที่ต้องการมาจัดเลี้ยงสังสรรค์ส่วนตัว และมาเป็นหมู่คณะด้วย แต่ต้องแจ้งวัน-เวลา และจำนวนคนล่วงหน้า เพื่อจัดเตรียมอาหาร ส่วนเวลาปิดให้บริการสามารถขยับเลื่อนออกไปได้ตามความเหมาะสม

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเป็นเรือที่ยังบรรจุประจำการที่ต้องออกปฏิบัติราชการ และทำการฝึกตามวงรอบประจำปี ดังนั้นก่อนเดินทางมาเยี่ยมชมสามารถโทรมาสอบถามได้ก่อนที่เบอร์ 0-2475-6117 นอกจากนี้ ภายในบริเวณกองเรือทุ่นระเบิดยังมี "สโมสรกองเรือทุ่นระเบิด" ไว้บริการอาหาร และเครื่องดื่มอีกด้วย

ประวัติของเรือหลวงถลาง สังกัดหมวดเรือที่ 3 กองเรือทุ่นระเบิด ต่อที่บริษัทอู่กรุงเทพ จำกัด ออกแบบโดยบริษัท FERROSTAAL A-G MSSEN ประเทศเยอรมนี วางกระดูกงูเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2522 ทำพิธีปล่อยลงน้ำเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2523 ขึ้นระวางประจำการเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2523

เรือหลวงถลาง เป็นเรือพี่เลี้ยงเรือกวาดทุ่นระเบิดน้ำตื้น และสนับสนุนการส่งกำลังบำรุงให้แก่เรือล่าทำลายทุ่นระเบิด ขนาดกว้าง 10 เมตร ยาว 55.7 เมตร กินน้ำลึก 3.1 เมตร ระวางขับน้ำสูงสุด 1,100 ตัน ความเร็วสูงสุด 12 นอต ระยะปฏิบัติการที่ความเร็วมัธยัสถ์ 10 นอต

ระบบอาวุธปืน ปืนกล 40 มิลลิเมตร โบฟอร์ส แท่นเดี่ยว 1 แท่น ปืนกลขนาด .50 นิ้ว จำนวน 4 กระบอก ปืนกลขนาด 20 มิลลิเมตร แท่นเดี่ยว จำนวน 2 แท่น พร้อมอุปกรณ์กวาดทุ่นระเบิดเป็นเครื่องกวาดเสียง A.MK.4v พร้อมสายกวาด จำนวน 4 ชุด รางปล่อยทุ่นระเบิด MK.6/MK.18 จำนวน 4 ลูก เรือยนต์ทำด้วยไฟเบอร์กลาส บรรทุกคนได้ 30 คน จำนวน 2 ลำ และเรือลิฟต์อีก 1 ลำ

มีกำลังพลประจำเรือทั้งสิ้น 75 อัตรา ประกอบด้วย นายทหาร 11 อัตรา พันจ่า 7 อัตรา จ่า 38 อัตรา พลทหาร 19 อัตรา โดยมี น.ต.รัฐพล แก้วกระจาย เป็นผู้บังคับการเรือ มี ร.อ.อัตนันท์ พรหมโยธิน เป็นต้นหนเรือ และร.อ.ธนพล เมืองแมน เป็นนายทหารกิจการพลเรือน กองเรือทุ่นระเบิด

เรือหลวงถลาง เป็น "เรือบังคับการ" ของกองเรือทุ่นระเบิด และให้การสนับสนุนการปฏิบัติการในการสงครามทุ่นระเบิด ทั้งยังมีราชการสำคัญอื่นๆ เช่น ราชการหมู่เรือรักษาการณ์วังไกลกังวล เป็นเรือฝึกนายทหารนักเรียนร่วมกับเรือหลวงจักรีนฤเบศร และยังมีภารกิจให้การช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยด้วย

นอกจากนี้ ภายในกองเรือทุ่นระเบิดยังมีการจัดแสดงพิพิธภัณฑ์ทุ่นระเบิด และเครื่องกวาดทุ่นระเบิด แสดงประวัติความเป็นมาของกองเรือทุ่นระเบิด และการสงครามทุ่นระเบิด รวมทั้งวิวัฒนาการความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของกองเรือทุ่นระเบิด สามารถผลิต "ทุ่นระเบิด" ขึ้นใช้เองภายในประเทศ ลดการพึ่งพาต่างประเทศ และประหยัดงบประมาณของประเทศได้มหาศาล
โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 28/10/2012 08:59:56


ความคิดเห็นที่ 10


ภาพ ภัยคุกคาม ทุ่นระเบิดใน สงครามโลกครั้งที่ 2 ของ ทะเลไทย

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 28/10/2012 12:14:16


ความคิดเห็นที่ 11


MH-60s ของเราก็มีความสามารถในการตรวจการทุ่นระเบิด แล้วส่งชุดดำน้ำไปทำลาย

โดยคุณ sam เมื่อวันที่ 28/10/2012 17:04:51


ความคิดเห็นที่ 12


ดูเหมือนว่า ตอนนี้ ทร.สหรัฐ ยังไม่พอใจในประสิทธิภาพ เท่าไหร่ ครับ...กำลังปรับปรุงพัฒนา ใหม่..

 





โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 28/10/2012 19:29:58


ความคิดเห็นที่ 13


   ขอบคุณมากนะครับป๋าจูลดาสสำหรับข้อมูลที่เต็มอิ่มทีเดียว

 

กองเรือทุ่นระเบิดยังมีแผนในการเสริมสร้าง และพัฒนาขีดความสามารถของยุทโธปกรณ์ที่มีอยู่ อาทิ โครงการปรับปรุงเรือ ลทฝ. ชุด ร.ล.บางระจัน ที่มีแผนปลดระวางประจำการในปีงบประมาณ 2560-2561, โครงการจัดหายานกวาดทุ่นระเบิดอิทธิพลไร้คนบังคับควบคุมระยะไกล (Remote Unman Mine countermeasure Vehicle : RUMV), โครงการจัดหาทุ่นระเบิดฝึกสำหรับใช้ในการฝึกต่อต้านทุ่นระเบิด, โครงการจัดหาระบบอุปกรณ์ในการรวบรวมข้อมูลทางยุทธการในการสำรวจพื้นท้องทะเล และวัตถุใต้น้ำ รวมทั้งกำลังพิจารณาเสนอโครงการจัดหาเรือวางทุ่นระเบิด ขนาดระวางขับน้ำประมาณ 1,500 ตัน เพื่อรองรับภารกิจในการวางทุ่นระเบิด และทดแทน ร.ล.ถลาง ที่มีแผนปลดระวางประจำการในปีงบประมาณ 2563 เป็นต้น

กอง เรือทุ่นระเบิดได้ตระหนักถึงข้อจำกัดทางด้านงบประมาณเป็นอย่างดี จึงได้ดำเนินโครงการวิจัยเกี่ยวกับทุ่นระเบิดในลักษณะของการ "พึ่งพาตนเอง" โดยได้ดำเนินโครงการวิจัย "ทุ่นระเบิดทอดประจำที่ปราบเรือดำน้ำแบบล่องหน" ที่มีประสิทธิภาพสูงในการปราบเรือดำน้ำในราคาไม่แพง ตรวจจับได้ยาก และเหมาะสมกับสภาพท้องทะเลไทย

 

เวลาผ่านไปเร็วจริงๆน่าตกใจนะครับ   ผมยังติดตามข้อมูลเมื่อเรือลำแรกในชั้นนี้เข้าประจำการครั้งแรกเลย   ตอนนั้นภูมิใจมากที่ประเทศเรามีเรือสงครามทุนระเบิดที่ทันสมัยที่สุดในอาเซี่ยนยุคนั้น     มาถึงตอนนี้ใกล้จะต้องปลดประจำการแล้ว   ใจหายจริงๆ(เราแก่ขนาดนี้แล้วหรือ)  ลุ้นว่าเรือที่จะมาทดแทนเรือชุด รล.บางระจันจะเป็นแบบใดและอุปกรณ์ที่ติดตั้งกับยานจะเป็นแบบใดบ้าง   ไม่รู้ว่า seafox จะประจำในเรือที่มาทดแทนหรือเปล่า   แต่มันมีขนาดใหญ่พอดู   แต่คงต้องต่อจากต่างประเทศเพราะเรือพวกนี้ใช้เทคโนโลยีสูงมาก   น่าจะลองนำมาต่อดูเองสัก 1-2 ลำครับ

   ส่วนเรือ รล.ถลางนั้น   น่ายินดีนะครับถ้าเป็นเรือที่ต่อในประเทศ   และดูจากระวางที่เพิ่มขึ้นพอดู   แสดงว่าทร.ขยายแนวการกวาดทุ่นออกไปมากขึ้นจากชายฝั่ง

  

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 29/10/2012 12:46:11


ความคิดเห็นที่ 14


   สงครามทุ่นระเบิดมักจะถูกมองข้ามจากคนทั่วๆไป

  ตั้งแต่เพื่อนบ้านขยายขีดความสามารถในเรื่องกองเรือดำน้ำ   และสงครามทุ่นระเบิด   ทำให้ผมไม่สบายใจมากครับ    เพราะการใช้เรือดำน้ำแอบเข้ามาวางทุ่นระเบิดนั้น   สามารถสร้างความปั่นป่วนแก่ฝ่ายเราได้มหาศาลทีเดียว    การที่จะตรวจจับเรือดำน้ำนั้นยากมากอยู่แล้ว     และถ้าต้องมาเจอทุ่นระเบิดที่เรือดำน้ำแอบนำมาวางไว้   จะยิ่งสร้างความปวดหัวแก่ฝ่ายเราเป็นอย่างมาก

    ผมสนับสนุนให้กองทัพเรือขยายขีดความสามารถในสงครามทุ่นระเบิดเป็นอย่างมาก    เพราะพื้นที่อ่าวไทยเราตื้น   เรือดำน้ำเข้ามาปฎิบัติการได้ไม่ดีนัก    ถ้าเรามีขีดความสามารถในสงครามทุ่นระเบิดสูงมาก    เราจะสามารถวางทุ่นระเบิด(ที่เรากำลังพัฒนาเองด้วย)   ในเส้นทางที่คาดว่าเรือดำน้ำฝ่ายตรงข้ามจะเข้ามาปฎิบัติการได้     ทำให้เรือดำน้ำข้าศึกยากแก่การเข้ามาปฎิบัติการในพื้นที่ของเรามากยิ่งขึ้นไปอีก     ถ้าสงครามทุ่นระเบิดนั้นทำได้ดีมากและสามารถกดดันเรือดำน้ำข้าศึกให้ต้องเลี่ยงบางเส้นทางได้  ก็จะเป็นการจำกัดพื้นที่ที่เรือดำน้ำข้าศึกเข้ามาให้ลดลง    เพราะเรือดำน้ำราคาแพงมหาศาลโดนทุ่นระเบิดตูมเดียวจม   จะสร้างแรงกดดันแก่กองเรือดำน้ำฝ่ายตรงข้ามมากๆ(เพราะเรือดำน้ำก็มองมันไม่เห็นเช่นกัน)    

      ส่วนฝ่ายเราคงต้องเพิ่มความสามารถในการล่าทำลายทุนระเบิดกันจริงๆจังๆแล้วครับ    เพราะถ้าสามารถกวาดทุ่นได้หมดเร็ว    แต่วางดักเรือดำน้ำได้ดี   ฝ่ายเราจะเป็นต่อยิ่งขึ้น   

     เมื่อไหร่ที่เรามีเรือดำน้ำเข้าประจำการ     เราเองก็จะมีขีดความสามารถที่จะส่งเรือดำน้ำไปป่วนเขาได้เช่นกัน    ทั้งวางทุ่นระเบิด   ส่งนักประดาน้ำ    ลักลอบไปทำลายแท่นขุดเจาะฝ่ายข้าศึก   ปิดเส้นทางทางทะเล     และพื้นที่ท้องทะเลฝ่ายเขา   เหมาะสมที่จะปฎิบัติการด้วยเรือดำน้ำของเราเป็นอย่างมาก    และการที่เขาจะทำสงครามทุ่นระเบิดดักเรือดำน้ำเราก็ยากกว่าด้วย   แถมยังล่าเรือดำน้ำฝ่ายเราได้ยากกว่าด้วย


   

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 29/10/2012 13:04:47


ความคิดเห็นที่ 15


   อ่านกระทู้นี้ทำให้นึกถึงสงครามระหว่างญี่ปุ่นกับรัสเซียคราวญี่ปุ่นพยายามปิดท่าเรือ  "พอร์ตอาเธอร์"  ที่รัสเซียเช่ามาจากจีน   ในคราวนั้นมีการใช้ทุ่นระเบิดในการปิดอ่าวด้วย   ทั้งสองฝ่ายต่างก็ใช้ทุ่นระเบิดในการสกัดเรือฝ่ายตรงข้าม   และได้ผลในระดับหนึ่ง    มีเรือประจันบาญของญี่ปุ่นที่ทรงพลานุภาพเป็นอย่างมากต้องจมไปลำหนึ่งด้วยทุนระเบิดราคาถูกที่รัสเซียวางดักเอาไว้  

   สงครามทุ่นระเบิดนี่เป็นอะไรที่น่ากลัว  ภัยเงียบที่คนส่วนใหญ่ไม่ตระหนักถึงจริงๆ      ป๋าจูลเอาเรื่องนี้มาเปิดประเด็นให้อ่านกันดีมากๆเลยครับ   และดีใจที่ครั้งหนึ่งเราเคยต้องขับเคี่ยวในเรื่องสงครามทุ่นระเบิดมาโหดพอดู    บุคคลากรของฝ่ายเราน่าจะพร้อมและได้เปรียบกว่าเพื่อนบ้าน    แต่ผมอยากให้ทร.ขยายกองเรือสงครามทุ่นระเบิดและขีดความสามารถในสงครามทุ่นระเบิดแบบมีนัยสำคัญมากๆจนฝ่ายเพื่อนบ้านสะดุ้ง    เพราะลงทุนน้อย  ราคาถูก   แต่น่ากลัวมาก    แม้กับเรือดำน้ำที่ว่าน่ากลัวแล้ว  เรือดำน้ำยังต้องกลัวมันเลย

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 29/10/2012 13:15:20


ความคิดเห็นที่ 16


ชุด ร.ล. บางระจัน ก็มี แผนจะปรับปรุง เพื่อประจำการต่อไปอีกครับ...เท่าที่ลองหาข้อมูล มีการประชุมกับ สำนักงานจัดหายุทโธปกรณ์ ไป 1-2 ครั้งแล้วครับ...คงไม่น่าจะปลดระวางไปง่าย ๆ แล้วครับ...

ผมเคยไปงานวันเด็ก...จำไม่ได้ว่า ร.ล.ลาดหญ้า หรือเปล่า ?

วันนั้น มีการ แสดงภาพ บอร์ด...การวิจัยพัฒนา ใช้ เรือต่อต้านทุ่นระเบิด ทำการ ตรวจจับเรือดำน้ำ ครับ...พอดี หารูปไม่เจอ...แต่แล้ว โครงการ ก็เงียบหายไป...

ในปัจจุบัน เรื่องสงครามใต้น้ำ ถ้า กองเรือทุ่นระเบิด ได้รับการพัฒนาที่ดี ๆ....ให้ความสำคัญ พอ ๆ กับ กองเรือฟริเกต...ไม่แน่ กองเรือนี้ อาจจะต้องมี MH-60S อยู่ในสังกัด กองเรือทุ่นระเบิด ด้วยก็ได้ครับ...

ตามหัวข้อของ ท่าน sam ครับ....

MH-60S Anti Mine Warfare...

เพราะ คนที่จะชำนาญในการ ตรวจจับ และ วิธีการทำลายด้วยความเข้าใจ คงไม่มีใครจะชำนาญเกิน กองเรือทุ่นระเบิด เพียงแต่ เปลี่ยนจากการ ปฏิบัติบนผิวน้ำ เปลี่ยนไป ปฏิบัติการบนอากาศ แทน...หรือ อาจจะต้องใช้ทั้ง 2 วิธี ด้วยการควบคุมโดย กองเรือทุ่นระเบิด....

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 29/10/2012 15:34:25


ความคิดเห็นที่ 17


   จริงครับป๋าจูล  ในเรื่องการที่กองเรือนี้ควรต้องมีฮ. MH-60 ทำหน้าที่กวาดทุ่นด้วย   จะเป็นการเพิ่มความรวดเร็วเป็นอย่างมากในการกวาดทุ่นระเบิด    แม้จะกวาดไม่ได้ทุกแบบก็ตามที   ที่เหลือก็ต้องเป็นหน้าที่ของเรือล่าทำลายทุนระเบิดที่ต้องเข้ามาจัดการ    หวังว่าเรือขนาด 1500 ตันที่จะมาทดแทน รล.ถลาง  นั้นควรมีขีดความสามารถเก็บฮ. MH-60 ได้ด้วย 

  ระหว่างที่ปรับปรุงขีดความสามารถของเรือชุด บางระจันให้ประจำการนานขึ้น   ทร.น่าจะต้องเพิ่มเรือต่อต้านทุนระเบิดแบบใหม่ๆเข้ามาอีกอย่างน้อย 4-6 ลำครับ   และควรมีขนาดใหญ่ขึ้น    เป็นหลักประกันในการเปิดเส้นทางเดินเรือเมื่อพื้นที่ของเราถูกวางทุนระเบิด

  สำหรับสมาชิกใหม่คงยังมองภาพไม่ออกว่ามันสามารถเล่นงานกองเรือดำน้ำที่เพ่นพ่านเข้ามาในพื้นที่ของเราอย่างไร   ผมจะลองอธิบายให้ดูครับ

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 29/10/2012 23:13:21


ความคิดเห็นที่ 18


   ทุ่นระเบิดสมัยใหม่สามารถตั้งได้ว่าจะทำงานด้วยการใช้อะไรกระตุ้นแบบที่บทความที่ป๋าจูลลงเอาไว้    ดังนั้นมันจึงสามารถเลือกตั้งค่าเพื่อเล่นงานเรือบางแบบได้โดยที่เรือชนิดอื่นไม่โดนเล่นงานได้ด้วยครัย  

   ทุ่นระเบิดดักเรือดำน้ำก็จะใช้หลักการนี้ในการดักเล่นงานเรือดำน้ำที่แอบดอดเข้ามาในพื้นที่ป้องกันของเรา   โดยที่ทุ่นระเบิดพวกนี้จะปล่อยผ่านให้เรือสินค้า  เรือรบผิวน้ำแบบต่างๆของเราเข้าออกได้โดยไม่ติดขัดแต่ปรพการใด   เจ๋งจริงๆแฮะ      ส่วนเรือดำน้ำฝ่านเราจะทราบตำแหน่งของแนวทุ่นระเบิดและหลีกเลี่ยงจุดเหล่านั้น    และวันข้างมันอาจจะได้รับการพัฒนาถึงขั้นขนาดที่จะสามารถพิสูจน์ฝ่ายได้ว่าไอ้เรือดำน้ำที่เข้ามานี้มันฝ่ายไหนกัน (ระบบ AIFF นี่ก้าวหน้ามากๆในอากาศยานรบ  มีแนวโน้มที่จะใช้ในทหารราบมากยิ่งขึ้น  ดังนั้นในเรื่องงครามทุ่นระเบิดจึงมีแนวโน้มสูงมากขึ้นที่ระบบนี้จะถูกนำเอามาใช้) 

    พื้นที่อ่าวไทยมันตื้น   ทหารบางคนถึงบอกว่าเราไม่ต้องมีเรือดำน้ำก็ได้   น่าจะมาจากแบบนี้ครับ  

ลองจินตนาการดูถึงปลาตัวโตๆ  ว่ายเข้าในเขตน้ำตื้นมากๆ  และมีฝูงบินกับเรือคอยไล่ล่าอยู่บนอากาศและผิวน้ำ   โอกาสที่จะถูกตรวจพบนั้นมากกว่าในเขตน้ำลึกหรือเขตไหล่ทวีปที่มีภูเขาใต้น้ำสลับซับซ้อน (อ่าวไทยจะคล้ายๆที่ราบใต้ทะเล)      แต่ยังต้องมาหวาดหวั่นกับทุ่นระเบิดที่ถูกตั้งค่าเพื่อเล่นงานแต่เรือดำน้ำเท่านั้น    ส่วนเรือผิวน้ำ  แล่นฉิวโดยไม่ต้องคิดมาก   ระดับความตื้นของน้ำในอ่าวไทยนั้น   ไม่สามารถดูดซับแรงระเบิดของทุ่นระเบิดได้มากนัก  ผิดกับน้ำลึกมากๆที่แรงดันน้ำจะสามารถดูดซับแรงระเบิดได้มาก    ดังนั้น   ถ้าเรือดำน้ำเกิดไปเฉียดใกล้ทุ่นระเบิดดักเรือดำน้ำแบบยึดติดกับพื้นทะเลด้วยเส้นลวด.......ตูมมม......แม้ไม่ได้โดนตัวทุ่นตรงๆ    แต่แรงอัดที่เกิดจากการระเบิดก็สามารถจะสร้างความเสียหายแก่เรือดำน้ำได้    แถมพวกที่อยู่บนผิวน้ำทั้งโขยงก็จะรู้ได้ทันทีว่าเรือดำน้ำอยู่ใกล้กับจุดระเบิด  

  

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 29/10/2012 23:29:45


ความคิดเห็นที่ 19


   ทุ่นระเบิดดักเรือดำน้ำ  ตอนนี้ทร.ไทยก็กำลังพัฒนาอย่างเร่งด่วนและผมคิดว่าเมื่อสร้างออกมาำเร็จ   ทร.คงไม่ขายให้ใครและคงไม่แจ้งข้อมูลทางเทคนิคออกสู่สาธารณะชนแน่นอน   และไม่บอกด้วยว่าผลิตออกมาจำนวนเท่าใด  

   ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว   ประเทศเพื่อนบ้านที่มีกองเรือดำน้ำจะไม่ทราบเลยว่ามันเป็นทุ่นระเบิดที่ใช้หลักการอะไร    ไม่สามารถจะไปหาซื้อจากท้องตลาดมาเพื่อทดสอบประสิทธิภาพและหาจุดด้อยของทุ่นระเบิดเหล่า   แบบที่เพื่อนบ้านเราจะเช่ากริบเป่นมาใช้งานระหว่างรอการประกวดแบบเครื่องบินขับไล่ใหม่   เพื่อเรียนรู้เครื่องบินที่เราประจำการอยู่  

   ถ้าเรามีการพัฒนาด้านสงครามทุ่นระเบิดแบบจริงๆจังเหมือนกองเรือฟรีเกต   กองเรือดำน้ำ   กองเรือบรรทุกบ.    ด้วยพื้นที่ทางทะเลของเรา   เรือดำน้ำข้าศึกจะเจอปัญหาอย่างหนักในการปฎิบัติการในเขตอ่าวไทยครับ

   และถ้าต้องการความแน่นอนในเรื่องการตรวจจับป้องกันเรือดำน้ำ    ควรมีการวางแผนการสร้างและวางโครงข่ายดักฟังใต้น้ำในพื้นที่อ่าวไทยได้แล้วครับ   มีสถานีดักฟัง  มีเครือข่ายไฮโดรโฟนใต้น้ำที่ขึงติดกับพื้นทะเล   และควรมีดาวเทียมติดตามแยกมาสำหรับกองทัพ   ไม่ต้องไปใช้ร่วมกับหน่วยงานอื่นเพื่อติดตามกองเรือดำน้ำ


  

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 29/10/2012 23:41:06


ความคิดเห็นที่ 20


ความเห็นส่วนตัวนะครับว่า....สงครามทุ่นระเบิด ใน ทะเลจีนใต้...มีโอกาสเกิด...ถ้าความขัดแย้งเกิดถึงขั้นการ ปะทะ ด้วยกำลังทางเรือ...สำหรับ หมู่เกาะ สแปชรี่ย์...

และหลังจาก สงครามสงบ...ก็มี โอกาส ของ กองทัพเรือไทย...ต้องทำหน้าที่ รักษาสันติภาพ ช่วยเคลียร์ ทุ่นระเบิด ก็มีโอกาส เหมือนกันครับ..

 

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 29/10/2012 23:53:37


ความคิดเห็นที่ 21


ฝรั่งเศส ก็กำลังพัฒนา ESPADON ยานต่อต้านทุ่นระเบิด ยุคใหม่ โดยยานแม่ จะขน AUV ไปกับเพื่อทำการต่อต้านทุ่นระเบิด มูลค่าโครงการประมาณ 30 ล้านยูโร่ ซึ่งเป็นผลการเดินหน้าโครงการนี้ ก็มาจากวิกฤติการณ์ ลิเบีย ที่มีการใช้ทุ่นระเบิดในวิกฤติการณ์

The Espadon (French Swordfish) Project is composed of an optionally-manned surface vessel named Sterenn Du (black star) and accompanying autonomous underwater vehicles (AUV). Espadon is a demonstration program contracted for Frances DGA (Directorate of armament) by DCNS, Thales, and ECA in 2009. The 25 ton, 17 meter catamaran hulled ship was constructed by Breton PechAlu International under contract from DCNS and is designed to perform autonomous mine-hunting missions. The mother ship was launched in 2010 and carries a towed sonar and autonomous underwater vehicles designed to detect and neutralize mines. Sterenn Du is capable of retrieving AUVs via an unique towed capture device for recharging and data upload.

Espadon is a component of the over-arching Système de Lutte Anti-Mines Futur (SLAMF, future mine countermeasures program).

Le démonstrateur de drone de surface Sterenn Du. crédits : DCNS.

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 01/11/2012 16:30:28


ความคิดเห็นที่ 22


ขอบคุณครับท่าน juldas สำหรับความรู้ดีๆ ชอบอ่ะครับ ถึงจะอยู่คนละกระทรวง ถึงจะเมาเรือกะเหอะ อิอิ
โดยคุณ yutthphichai เมื่อวันที่ 01/11/2012 23:36:20