ในdefense-studies.blogspot.comบอกสหรัฐเสนอเรือรถเฮลิคอเตอร์ที่เกินความต้องการของสหรัฐให้แก่ไทยในนั้นมีเรือฟริเกตเปอรรีที่คุณJuldasสนใจมีความเป็นไปได้ใหมเพราะกองทัพเรือได้รับงบประมาณฟริเกตใหม่มาแล้วครับหรือเอาทั้งเรือใหม่2เรือมือสอง2ครับ
USA ยังเสนอ F16 5 ลำ new build ด้วย น่าสนๆ
น่าสน น่ะครับแต่ว่าราคา มันเท่าไร อ่านภาษาอังกฤษไม่ออกครับ
ผมใช้ google แปลครับ มือ2 จากสงครามอิรัค รถฮัมวี่ แบล็อกฮอว์ก F16
ถ้าจะซื้อ ผมว่าต้องทําการบ้านอย่างหนักเลย ค่าซ่อม อายุการใช้งาน ราคา
น่าสนใจมาก สำหรับ OHP หรือ FFG class สองลำ เดี๋ยวไปหา reference ก่อน แต่ถ้าจำไม่ผิด สองลำ รวม refurbish จะตกประมาณ 1,200 ล้านบาท
แต่จะต้องมาดูว่า จริงๆแล้ว เป็นราคาเรือเดิมๆ หรือ รวมค่า refurbish แล้ว
ซึ่งขั้นแรกคงเป็น รับเรือที่ refurbish แล้วมาใช้ก่อน ซึ่งคงไ่ม่มีแท่นปล่อย mk13 แล้ว หรือ จะขอให้ใส่กลับเข้าไปอีกรอบ(ได้รึเปล่าก็ไม่แน่ใจ)
แล้วก็คงมีการอัพเกรดตามมาอีกสองเฟส(แบบ sidney class) รวมกับขอ ซื้อมือสามต่อ จาก ออสเตรีย อีก สี่ลำ ที่เขาใกล้จะปลดระวาง
จะได้เรือฟรีเกต สมรรถนะสูงมากในราคา สบายกระเป๋า และ ยกระดับ กำลังทางเรือของไทยแบบก้าวกระโดดอีกครั้ง
ราคา อัพเกรด ของออสเตรียค่อนข้างสูง เนื่องจาก รวม SM2 ไว้ด้วย และเปล่ีียนเรดาห์และ โซนาร์ ระบบอำนวยการรบ เป็นรุ่นล่าสุดเลย (ปี2008)
คงเหลือแค่ไม่มีระบบ อีจีส เท่านั้นเอง แต่รู้สึกว่าจะขาด ASROC ซึ่งน่าจะถอดออกมาจาก เรือพุทธมาใส่ได้
ถ้าขอซื้อเพิ่มเป็นสี่ลำได้ แล้วเอามาใช้ รอ sidney class อีกสี่ลำ น่าจะเหมาะมาก
ฟรีเกตสมรรถนะสูง อีก สองลำก็จัดเต็ม Meko D 500 หรือ D600 ใ่ส่ VLS MK41 32 cell + ปืน 127 แบบ F125 เอาไว้ระดมยิงฝั่ง ก็น่าจะเพียงพอแล้ว
ขาดก็แต่เรือดำน้ำ กับ SAC-220 เท่านั้นเอง
เอาใจช่วย ทหารของเราให้มีอาวุธและอุปกรณ์ดีใช้ครับ ประเทศจะได้มั่นคง เศรษฐกิจกับการเมืองก็ได้รับประโยชน์ ในเวทีระหว่างประเทศด้วยครับ
ถ้าได้ Oliver Hazard Perry class frigates มา 2 ลำใช้เป็นเรือตามความต้องการเดิม 4 ลำ เรือฟริเกตสมรรถนะสูงใหม่ 2 ลำและเอามาแทนเรือพุทธยอดฟ้าฯ 2 ลำครับ
ได้ข่าวเหมือนกัน
รถฮัมวี่ผมไม่อยากได้ นอกจากยังใส่สเป็คเต็มไม่มีการถอดอะไรออก เพราะรุ่นติดเกราะรุ่นท็อปกันระเบิดรักษาชีวิตทหารได้พอตัว แต่ก็ยังตายเป็ฯว่าเล่น เพราะภารกิจออกแบบมาสำหรับใช้ป้องกันระเบิดแสวงเครื่อง (ระดับอิรักหนักกว่าบ้านเรา) ยังไงก็ดีกกว่าวีโก้ล่ะวะ เสียตรงที่หนักโคตรๆสามตันกว่า (ตัวเลกจำไม่เเม่น) ซดน้ำมันเข้าขั้นโรคจิต
แต่ถ้าหากรถชัยเสรีพิสูจน์ตัวได้ว่าเจ๋งจริง และกองทัพบกมีนโยบายจะซื้อมาทดแทนฮัมวี่ที่มีอยู่ให้หมด ก็อย่าซื้อมาเลย เพราะเอาจริงๆฮัมวี่ก็เอาไม่ค่อยอยู่หรอกครับที่อิรักน่ะท้องก็ไม่ใช่ตัววี เป็นการโมดิฟายให้กันระเบิดด้วยการเสริมเกราะ แต่ตัวรถเดิมไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ทำหน้าที่นี้ อเมริกาเองก็เริ่มหาอย่างอื่นใช้แทนแล้ว
ส่วนแบล็คฮอว์คจากข่าวลำละพันสามร้อยล้านสามลำ อันนี้เอา (ถ้ายังไม่เน่านะ)
เรือโอเอชพีก็น่าสน แต่ก็ต้องดูว่ายังเหลืออะไรอยู่บ้างเพราะอเมริกาเล่นถอดซะเกือบหมด ไม่ได้ใช้ทำการรบอะไรจริงๆจังๆช่วงก่อนปลด
เอฟสิบหกนี่รู้สึกจะขายแค่ตัวเครื่องยนต์นะครับ
อีกประเด็นที่หน้าสนใจคือ เราจะมีสิทธิ์ต่อรองได้แค่ไหน เพราะปกติอเมริกาขายของนี่ไม่ค่อยให้ลูกค้าเลือก ตัวเองจะเลือกให้ ยิ่งประเทศไม่ร่ำรวยอย่างเรา พอไม่ซื้อก็เริ่มเล่นเกมกำลังภายใน
Five new F16 Fighter jet engines น่าจะหมายถึงขายเครื่องยนตร์ F16 ให้จำนวน 5 เครื่อง ผมก็ส่งสัยว่าทำไมต้องซื้อ เป็นรุ่นที่ใช้อยู่แล้วกับ F16A/B ของไทยและสหรัฐมีเก็บสำรองไว้ไม่ได้ใช้แล้วนำมาขายต่อ หรือ เครื่องยนตร์รุ่นล่าสุดเอามาใช้กับ F16MLU ของไทย
3 New Black Hawk a price tag 1.3 billion baht น่าจะลำล่ะ 1300 ล้านบาท จำนวน 3 ลำ
ส่วนเรือ OHP class 2 ลำ ถ้าเราค่าพันล้านนิดๆก็น่าสนเอามาปรับปรุงก็จะได้เรือรบสมรรถนะสูงในราคาประหยัดและได้จำนวนเรือรบตามที่ต้องการ ใจจริงอยากได้ 4 ลำ ตรงนี้สงสัยว่าในส่วนตัวเรือถ้าเราอยากให้ลดการสะท้อนเรดาร์โดยการดัดแปลงตัวเรือภายนอก (เอาเฉพาะเหนือแนวกาบเรือ) เช่น ตรงสะพารเดินเรือ เสาเรดาร์ โรงเก็บ ฮ. ให้รูปร่างแบบลดการสะท้อนเรดาร์จะทำได้หรือไม่
พิมพ์ผิดหลายคำ ต้องขออภัยไว้ก่อนครับ
ตามข่าวเหมือน F-16 นี่หมายถึงขายเครื่องยนต์นะครับ ส่วนเรือเรือฟริเกตมือสองนั้นถ้าหากว่าจะเอาแล้วไปยกเลิกเรือฟริเกตใหม่ที่กำลังมีโครงการไม่เห็นด้วยเพราะเรือมือสองนั้นสมรรถนะดีจริงแต่จะใช้ได้กี่ปีเมื่อเทียบกับเรือใหม่ ประสปการณืจากเรือชุด ร.ล.พระพุทธยอดฟ้า ก็พอจะให้ได้รู้ ยกเว้นว่าจัดหามาเพิ่มเติมคนละโครงการและไม่ไปโยกงบจากโครงการเรือฟริเกตใหม่มาจัดหาอันนั้นยินดีเพราะจะทำให้เรามีเรือรบที่มีขีดความสามารถสุงเพิ่มเติมขึ้นมาอีก แต่ย้ำว่าต้องไม่ไปยุ่งกับงบโครงการเรือฟริเกตใหม่ ส่วนรถฮัมวี่มือสองยิ่งไม่เห็นด้วย เพราะรถมือสองชุดนี้ผ่านการใช้งานมามากแล้วชิ้นส่วนอุปกรณ์หลายอย่างอาจจะชำรุดหรือหมดอายุการใช้งาน ซื้อมาก็ต้องซ่อมใหญ่คืนสภาพ เขาก็ต้องคิดค่าใช้จ่างอยู่แล้วคงไม่ซ่อมให้ฟรี ที่สำคัญบริโภคเชื้อเพลิงขั้นเรียกว่าซด การใช้งานก้ส่วนใหญ่ใช้งานบนท้องถนน สู้เอางบมาสนับสนุนบริษัทผลิตรถในประเทศประกอบให้ต่อไปดีกว่า แล้วก็พัฒนาต่อไปให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นกว่าเดิมในรุ่นหลังๆ ปัจจุบันโรงงานผลิตรถบ้านเราสามารถผลิตรถสมรรถระสูงกว่าเดิมมากแถมอะไหล่สามารถจัดหาได้ในประเทศไม่ต้องรอสั่งนอกด้วย แถมประหยัดเชื้อเพลิงกว่าตั้งเยอะครับ
ความเห็นส่วนตัว ผมสนใจแค่เรือ Oliver Hazard Perry class และ Black Hawk ครับ
ถ้าเค้าจะขายเรือลำนี้จริงเราอเมริกาก็ต้องขาย SM2ให้เราด้วยถูกต้องไหมครับ
ถ้าจัดหา OHP คงต้องดูที่ จำนวน และ การอัพเกรด ประกอบด้วยครับ...ถึงจะน่าสนใจ ครับ...
ที่ผมเชียร์ ก็ตามยกตัวอย่าง นี้ น่ะครับ...
สำหรับ ตัวเรือ ก็คงทำการ Refit ใหม่...และ ก็ควรอัพเกรด และ เปลี่ยนแปลงระบบ ขั้นต่ำ ให้ได้เท่า เรือชั้น นเรศวร...
ซึ่งจะทำให้ เรือ OHP mod RTN จะมีสมรรถนะสูงกว่า เรือชั้น นเรศวร ในเรื่อง การปราบเรือดำน้ำ ครับ...
ในเงื่อนไข เบื้องต้น ถ้าจะจัดหา มือสอง ก็ควรจะได้ ระบบอาวุธ ที่ใช้ในปัจจุบัน มาด้วย ครับ...ซึ่งระบบอาวุธ ที่น่าสนใจ คือ ฟาลังซ์ บล๊อค 1B และ Nulka และ ระบบตรวจจับเรือดำน้ำ ที่เป็นมาตรฐานของ ทร.สหรัฐ
ถ้าแต่ได้มาแต่ ตัวเรือ กับ ปืน 76 ม.ม. เหมือนกับของ ทร.ปากีสถาน คงไม่น่าสนใจ ครับ...
จำนวน ก็ต้องเป็น 4 ลำ เท่านั้น...ถ้าได้เพียง 2 ลำ ก็ต้องเป็น งบประมาณนอกเหนือจาก เรือฟริเกตสมรรถนะสูง จำนวน 2 ลำ ตามความเห็นท่าน เด็กทะเล ครับ...
ซึ่งถ้าได้ จำนวน 4 ลำ...ก็จะทำให้ โครงการมีความโดดเด่นในเรื่อง ปริมาณ เต็มความต้องการของ กองทัพเรือ...
เรื่องสภาพความเก่า ของเรือ ก็จะถูกลดด้อยด้วย การใช้งาน ที่เป็นระยะเวลาเพียง ครึ่งหนึ่ง ของเรือฟริเกตใหม่...
ในขณะที่ สมมติ เกิดสภาวะสงครามทางเรือในระยะ 30 ปี ข้างหน้า นี้...เรือ OHP mod RTN จำนวน 4 ลำ...
จะสร้างความได้เปรียบมากกว่า เรือฟริเกตใหม่ จำนวน 2 ลำ...
ในขณะที่ OHP mod RTN ดูจะมีสมรรถนะสูงกว่า เรือชั้น นเรศวร (ถ้าสมมติ ทำได้ตามความเห็นข้างต้น นะครับ)
ก็จะเท่ากับ กองทัพเรือ จะมีเรือฟริเกตสมรรถนะสูง จำนวน 8 ลำ คือ OHP mod RTN จำนวน 4 ลำ...เรือชั้น นเรศวร MLU จำนวน 2 ลำ...เรือชั้น กระบุรี จำนวน 2 ลำ...
กองเรือฟริเกตที่ 2
ตามข้อมูลที่เคยได้รับใน เว็ป Thaimsot
ทร.สหรัฐ เคยเสนอขายให้ ทร.ไทย เป็นเรือ OHP รุ่นแรก (ท้ายส้้น) ครับ...
แต่ได้เพียง ตัวเรือ กับ ปืน 76 ม.ม. เท่านั้น...ทร. จึงไม่สนใจ ครับ...
ส่วนใน Lot ของ OHP ในปัจจุบันนี้ เป็นเรือที่ สหรัฐ ได้มีการปรับปรุง และทำการ ลดค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการแล้วครับ...
สหรัฐ เคย เสนอขายให้ ไต้หวัน ราคา ลำละ 20 ล้านเหรียญครับ
ตามlink นี้ครับ http://www.defensenews.com/article/20100805/DEFSECT03/8050304/U-S-To-Sell-Taiwan-Two-Frigates-Report
ขอถามคุณจูดาสว่า ถ้า เรา mod ตามแบบ HMAS sydney หรือ อีกแบบ ใส่ MK41 x2 ระบบ 16 cell จะคุ้มไหมครับ
หรือรับมาแบบเดิมๆ แล้วเพิ่มแค่ MK41 8cell ก็พอแล้ว แบบ FFG-60 USS Rodney
เรือ OHP ของ ทร.สหรัฐ ยังไม่เคยมีการติดตั้ง MK-41 น่ะครับ...มีแต่ของ ทร.ออสเตรเลีย กับ ทร.ตุรกี...
ในเบื้องต้น ก็ต้องตั้งคำถาม ก่อนครับว่า...เราจัดหามาเพื่อ ภาระกิจอะไร...ถ้าตั้งใจเป็น เรือฟริเกตสมรรถนะสูง เน้น การปราบเรือดำน้ำ...
เรือ OHP ที่จะจัดหามา ก็ควรจะมี ระบบตรวจจับ หรือ ระบบปราบเรือดำน้ำ ติดมาด้วยเป็นขั้นต่ำ...ด้วยที่ว่า ปัจจุบัน กองทัพเรือ มีจุดอ่อนกว่าประเทศเพื่อนบ้าน คือ ไม่มี เรือดำน้ำ...เพื่ออุดช่องว่าง...
ถ้ามาแต่ ตัวเรือ กับ ปืน 76 ม.ม. เรือลำนี้ ก็ไม่น่าสนใจ เท่าไหร่ครับ...แม้จะติด MK-41 เข้าไป...มันก็ไม่ได้ตอบโจทก์ คือ อุดช่องว่างในเรื่อง สงครามใต้น้ำ...และในการติดตั้ง MK-41 เพื่อใช้ ESSM...ตัวเรือ ก็ต้องมี เรดาร์ตรวจจับสำหรับการใช้ ESSM ซึ่งก็จะต้องรวมถึงการเปลี่ยน ระบบ command & Combat Management System...ซึ่ง ทั้ง ของ ทร.ตุรกี และ ทร.ออสเตรเลีย ก็ต้องทำเปลี่ยนแปลง CCMS เช่นกัน...ซึ่ง ก็ต้องใช้ งบประมาณจำนวนสูงอีกเช่นกัน...
เรือ OHP นี้ มีจุดเด่นในแง่ที่ว่า เป็นเรือที่ เน้นหนักการปราบเรือดำน้ำ...ถ้าเราไม่ได้ จุดเด่น นี้มา...เรือ OHP ก็ไม่น่าสนใจเท่าไหร่ ครับ...
เรือ OHP มือสองนี้ มีผู้สนใจ ในเบื้องต้น ก็คือ ทร.ไตหวัน กับ ทร.มาเลเซีย...
ซึ่งทั้ง 2 ประเทศ ถ้ามีการจัดหาไป...คงต้องมีการปรับปรุง และพัฒนา จากเดิม...
ถ้าสมมติ ทร.ไทย จะจัดหามา...ก็คงต้องมีแผนการ ปรับปรุง และพัฒนา จากเดิม รองรับเช่นกัน ครับ...
ส่วนในราคา ลำละ 20 ล้านเหรียญ ผมคิดว่าน่าจะเป็น เฉพาะ ตัวเรือ...เพราะ ไตหวัน มีความสามารถตัดแปลง และติดตั้ง ระบบอาวุธ และมีระบบอาวุธนำวิถีต่าง ๆ เป็นของตัวเองอยู่แล้ว...คงจะเป็นในส่วนที่ ทร.ไตหวัน จะดำเนินการเอง...
ในความเห็นผม คือ การจัดหาในวงเงินงบประมาณเดิม ครับ คือ 30,000 ล้านบาท แต่จัดหาเรือฟริเกตมือสอง มาปรับสภาพให้สมรรถนะสูง ได้จำนวน 4 ลำ เป็นการเปรียบเทียบ...
ขนาดแค่วงเงินงบประมาณนี้ ยังเกือบจะมีปัญหาน่ะครับ...
ผมคิดว่า มีโอกาสน้อยมาก ที่จะได้ทั้งวงเงินงบประมาณเดิม 30,000 ล้านบาท สำหรับเรือ 2 ลำ แล้วได้งบประมาณใหม่อีก ไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาท เพื่อจัดหา เรือฟริเกตมือสอง อีก 2 ลำ
ซึ่ง ทร. ยังมีความจำเป็นต้องจัดหา เรือ LPD อีก 1 ลำ วงเงินประมาณ 5,000 ล้านบาท เช่นกัน
เรือป้องกันภัยทางอากาศแบบพื้นที่ ผมว่า ในขณะนี้ ทร.ไทย ยังไม่มีความจำเป็นขนาดนั้น ครับ ในวงเงินจัดหาดังกล่าว นำมาจัดหา เรือดำน้ำ ก่อน จะมีประโยชน์มากกว่าครับ...
ถ้าผมเป็นฝ่ายตรงข้ามที่จะมารุกรานประเทศไทย ผมเห็นว่า ประเทศไทย มีเรือป้องกันภัยทางอากาศสมรรถนะสูง แต่ประเทศไทย ไม่มี เรือดำน้ำ....
ผมก็จะส่ง เรือดำน้ำ มาทำลายเรือฟริเกตสมรรถนะสูง ก่อนครับ...แล้วถึงจะทำการ ครองอากาศในน่านน้ำไทยเป็นลำดับต่อไป ซึ่งจะเป็นการ ดวลกัน กับ กองทัพอากาศไทย...ผมคงไม่ส่ง อากาศยาน มาดวลกับ เรือป้องกันภัยทางอากาศก่อนครับ...
ซึ่งการดวลกันในช่วงแรก จะเป็นการ ดวลกันระหว่าง กองเรือปราบเรือดำน้ำ กับ เรือดำน้ำ...ถ้ายังไม่มีผลชัดเจน หรือ ไม่สามารถควบคุมพื้นที่ เรือดำน้ำ ได้...เรือป้องกันภัยทางอากาศสมรรถนะสูง ผมว่าก็คงไม่กล้าออกจากฐานครับ...เว้นแต่ เรือป้องกันภัยทางอากาศสมรรถนะสูง จะมีความสามารถปราบเรือดำน้ำสมรรถนะสูงด้วย...ซึ่งถ้าเรือทำได้ทั้ง 2 อย่างขนาดนั้น วงเงิน 30,000 ล้านบาท ไม่พอแน่นอนครับ...
คงต้องลองคิดดูนะครับว่า...เราจะมองว่าอากาศยานที่เป็นภัยคุกคาม ต้องบินมาจากที่ไหน ถึงจะมาทำลาย กองเรือผิวน้ำ ของเราได้...ต้องใช้เชื้อเพลิงเท่าไหร่ในการเดินทาง ไป-กลับ...ถ้าไม่มีการข่าว หรือ ชี้พื้นที่ของ เรือรบเราว่าอยู่ตรงไหน...
เรือป้องกันภัยทางอากาศแบบพื้นที่ ผมว่ามันเหมาะกับ ประเทศที่ กองเรือรบต้องไปปฏิบัติการสงครามนอกประเทศ ที่ไม่มีอากาศยานของฝ่ายตน สนับสนุนได้เพียงพอ
อย่างประเทศ ออสเตรเลีย...ก็เพิ่งจะดำเนินการจัดหา เรือป้องกันภัยทางอากาศสมรรถนะสูง หลังจากที่ ประเทศจีน เริ่มจัดหา เรือบรรทุกเครื่องบินประจำการ ซึ่งถ้า ออสเตรเลีย มองประเทศจีน คือ ภัยคุกคามในทะเลจีนใต้....และ ออสเตรเลีย ต้องเข้ามาแทรกแซงในความขัดแย้ง...กองเรือของ ออสเตรเลีย ก็ต้องเดินทางในระยะไกล ออกนอกอาณาเขตออสเตรเลีย ซึ่งไม่อยู่ในระยะที่ อากาศยานของ ออสเตรเลีย จะมาสนับสนุนได้เพียงพอ....เรือป้องกันภัยทางอากาศสมรรถนะสูง จึงมีความจำเป็น เพราะต้องต่อสู้กับ เครื่องบินของกองเรือบรรทุกเครื่องบินของ จีน...
สำหรับประเทศไทย มองภัยคุกคามอยู่ภายในอาณาเขตประเทศไทย และประเทศไทย ไม่มีภัยคุกคามจากเรือบรรทุกเครื่องบินที่จะมาปิดอ่าว....แต่มีโอกาสที่จะมี เรือดำน้ำ มาปิดอ่าวมากกว่า....
และถ้ามองกองทัพอากาศประเทศเพื่อนบ้านจะเป็นภัยคุกคาม...กองเรือผิวน้ำ ก็จะมี กองทัพอากาศไทย ที่มีหน้าที่ประจำในการหาข่าวและค้นหาเพื่อให้ทราบความเคลื่อนไหว และมีกองบินทหารเรือ รวมถึง หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง ของกองทัพเรือ ที่ทำการสนับสนุนการข่าว,แจ้งเตือน รวมถึงขึ้นบินสกัดกั้นให้อยู่แล้ว...การป้องกันภัยทางอากาศแบบเฉพาะจุด ผมว่าเพียงพอแล้วครับ...
มุมมอง การจัดหา OHP mod RTN
อยากให้ขาย AAV-7A1 มือสองให้ด้วย มาเสริมกำลังนาวิก
ท่าน juldas ครับ แต่ในความคิดของผมที่อยากได้นะครับ ก็อยากให้อยากกองทัพเรือจัดหาเรือฟริเกตสมรรถนะสูง ในแบบMeko D 500 นะครับจำนวน2ลำแบบเดิม แต่เน้นไปทางต่อต้านภัยทางอากาศ ไปเลย ส่วนOHP นั้นผมว่านำมาแทน ชุด ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ไม่ดีกว่าเหรอครับ ผมว่ามันจะดีกว่านะครับ ให้เจ้าOHPเน้นทำหน้าที่ต่อต้านเรือดำน้ำ ส่วนMeko D 500 เน้นต่อต้านทางอากาศ แล้วจับคู่กันผมว่ามันก็ดูดี เลยนะครับ
ซึ่งในความเห็นผม...ในแง่ ข้อสมมติ ถ้าจัดหา OHP mod RTN ในจำนวน 4 ลำ...
สภาพกองเรือ อาจจะมีการเปลี่ยนไปก็ได้ ครับ...
ผมเข้าใจเรื่อง งบประมาณ ในมุมมองคุณจูดาส นะครับ
แต่ก็แอบหวัง ให้เป็นงบคนละส่วน กับฟรีเกตสมรรถนะสูง และเห็ฯด้วยที่อยากให้เผื่อโครงการ AAV-7A1 ให้นาวิกด้วยครับ
ประเทศ เรามีนาวิกที่มีความโดดเด่นเป็นอันดับต้นๆเลยนะครับ ถ้าได้รับการสนับสนุน เรื่องอุปกรณ์เพิ่มรับรองว่าขึ้นมาอยู่แนวหน้าแน่นอน
กองทัพเรือและนาวิกโยธิน ค่อนข้างจะมีความเป็นสากลและมีความสัมพันธ์ที่ดีกับ สหรัฐเป็นพิเศษ มากกว่าเหล่าทัพอื่นๆครับ
ก็หวังว่าจะมีดีล ดีๆออกมาให้กำลังพลชื่นใจ
ถ้าได้ OHP มาเพิ่มอีกสองลำ ก็จะทำให้มี เรือฟรีเกต รวม สิบลำ ถ้าปลด เรือพุทธ
แต่ถ้าได้ OHP 4 ลำ เรือใหม่สมรถนะสูงอีก 2 ลำ ก็ต้อง ฉีกยิ้มกว้างๆเลย
กำลังพล มีคิวฝึกภาคทะเลยาว ตลอดทั้งปีแน่เลย
ถ้าอ่านข้อมูลจากwiki ตัวเรือของ OHP ยังมีความน่าสนใจอยู่ครับ ขนาดโดน exocet 2 ลูก ยังคลานกลับมาซ่อมได้ ส่วนอีกลำโดนทุ่นระเบิด ก็ยังรอดมาซ่อมได้
แสดงว่าการออกแบบตัวเรือ มีความทนและสเถียรในระดับที่ดีเลย สเปนก็ต่อเองออกมาในแบบเดียวกันแต่ขยายขนาดและใส่stabillise fin เพิ่ม
ตุรกี ก็ใช้เป็นพื้นฐานในการออกแบบ F2000
จริงๆถ้าได้ OHP mod for RTN 4 ลำ แบบของคุณจูดาส + Juan Carlos class มาในงบ 30,000 ล้าน เพื่อนบ้าน คงจุกอกพอสมควร สื่อคงเต้นแร้งเต้นกาอีกแน่นอน
ส่วนเรือดำนำ้ ผมว่าอย่างไรก็ต้องได้มาแน่นอน เพราะรัฐบาลค่อนข้างจะมีสเถียรภาพ กลาโหมคงไม่ยอมให้พม่า มีเรือดำนำ้ก่อนไทย อย่างช้าสุดก็คงจัดหาไปพร้อมๆกัน
แต่ถ้าเกิดจะเป็นอย่างงั้นผมของบคนละส่วนละกันนะครับ และจัดหาพร้อมกันOHP2-4ลำ และก็ฟริเกตใหม่อีก2ลำ ผมกลัวว่า สื่อจะโจมตีเหมือนเรือดำน้ำ U-206A อ่ะดิครับ เรื่องอายุการใช้งานและก็มีกำลังภายในอีกด้วย ซึ่งในเวลาผมว่าสื่อนั้นมีอำนาจมากและสามารถโจมตีได้ทุกเมื่อ ถ้าสมมุติเราจัดหาเรือชั้นOHP 4ลำ ดังที่ท่าน juldas ว่านะครับ ส่วนเรือฟริเกตนั้น ในงบ30,000ล้านนี้ ผมก็ไม่รู้ว่าจะโดนตัดงบไปมากเท่าไหร่ และก็ตอนนี้ก็เหมือนว่ากองทัพเรือก็เริ่มศึกษา ระบบต่างๆ หลายบริษัทอยู่
ส่วนเรื่องเรือดำน้ำนั้น ผมว่า คนที่อยู่เบื้องบน น่าจะเกิดหลังจากกองทัพเรือ จัดเรือ OPV อีก3ลำ LPDอีก1ลำ แล้วถึงจะไปจัดหาเรือดำน้ำต่อ ซึ่งในเวลานั้นก็คงจะมีแบบเรือดำน้ำ ขนาดที่เราจะต้องการอยู่หลาย แบบพอสมควร
เห็นใน TAF คุณPenguin บอกเจ้าOHP2ลำจะมาแทนเรือพุทธทั้ง2ลำ ไม่เกี่ยวกับการจัดหาเรือฟริเกตสมรรถนะสูงใหม่นะครับถ้าเป็นอย่างก็น่าจะดีนะครับ
ถ้าเป็นตามที่ท่าน js ว่าไว้...ก็ดีเลยครับ...
แต๋ก็ขอให้มาพร้อมระบบอาวุธ ด้วยรึกันครับ...ถ้ามาเฉพาะตัวเรือ กับ ปืน 76 ม.ม. ไม่มีระบปราบเรือดำน้ำมาด้วย...ผมว่า เอางบประมาณจัดหา เรือ OPV ให้ครบ อาจจะดีกว่าครับ...
ความเห็นส่วนตัวครับ...
แบบที่ 1 จัดหาได้เฉพาะ เรือฟริเกตสมรรถนะสูง จำนวน 2 ลำ
ความเห็นส่วนตัว
แบบที่ 2 จัดหาเรือฟริเกตสมรรถนะสูง จำนวน 2 ลำ และ เรือ OHP มือสอง ไม่ได้มีการอัพเกรด จำนวน 2 ลำ
ความเห็นส่วนตัว
แบบที่ 3 จัดหาเรือ OHP มือสอง แล้วทำการ Upgrade จำนวน 4 ลำ
ภาพรวม
ขอ เดา ว่า...เรือที่จะจำหน่ายให้ ในราคาถูก...จำนวน 2 ลำ
น่าจะเป็น FFG-12 กับ FFG-14
ซึ่งเรือทั้ง 2 ลำ เดิม ขายให้ ทร.ตุรกี แต่ ตุรกี ยกเลิก และต่อมา ก็มีข่าวว่า จะขายให้ ปากีสถาน แต่ก็เงียบไป...
ถ้าเป็น 2 ลำ นี้...ก็ไม่น่าสนใจครับ...เพราะเป็นเรือรุ่นแรก และมีไม่มีระบบอาวุธอะไรแล้ว...
ซึ่งในความหมายว่า ถ้าซื้อเรือ 2 ลำ นี้มา...คงคิดแค่ ราคาโครงเรือ คงต้องมีค่าใช้จ่ายในการ Refit ใหม่ และน่าจะรวมถึง การ โอเว่อรฮอลล์ เครื่องยนต์ใหม่...การเปลี่ยนใหม่เลย ก็จะกลายเป็นว่า ซื้อแต่ โครงเรือ เท่านั้น...
และคงต้องจัดซื้อระบบอาวุธ ใหม่ด้วย...ราคาคงไม่ถูกแน่..
แต่ถ้า ไม่ใช่ 2 ลำ นี้ แต่เป็น ลำที่ เพิ่งปลดระวาง หรือ กำลังจะปลดระวาง ก็ยังมีความน่าสนใจที่น่าพิจารณาครับ...
27 Oktober 2012
US offers to Thailand : two second-hand Oliver Hazard Perry class frigates, five new F-16 fighter, three new Blackhawk helicopters and a large number of second-hand Humvee military vehicle (all photos : fas, xairforces, keyaero, army recognition)
งานนี้ มี ทบ. ที่น่าสนใจอยู่คนเดียว คือ Black Hawk จำนวน 3 ลำ ในราคาลำละ 1,300 ล้านบาท...
งบประมาณในความเห็นส่วนตัว นะครับ...อ้างถึง การซื้อเรือ OHP มือสอง เฉพาะลำที่ เพิ่งปลดระวาง หรือ กำลังจะปลดระวาง แล้วนำมา Upgrade ในจำนวน 4 ลำ...สำหรับ วงเงิน 30,000 ล้านบาท...อายุประจำการ 30 ปี แต่การใช้จริงจะถัวเฉลี่ย 7.5 ปี ต่อ ลำ ( ของเดิม 30 ปี ทำการ Refit ใหม่ เพื่อใช้งาน 30 ปี รวมระยะเวลาประจำการ 60 ปี เป็นมาตรฐานตัวเรือของ เรือมือสองจาก สหรัฐ ที่ประเทศไทย เคยมีประจำการ )
เรือผิวน้ำ 10 ลำก็ไม่น่ากลัวเท่าเรือดำน้ำ 1 ลำครับ
อยากให้ทัพเรือเก็บงบไว้เล็งเรือดำน้ำซัก 2 ลำ
กองเรือจะน่ากลัวขึ้นมาก เพื่อนบ้านเราจะได้เกรงใจกันมากคลื่น
ท่าน Juldas ครับ Harpoon ไม่น่าจะติดตั้ง บนดาดฟ้ายกหลังสะพานเดินเรือได้นะครับ ถังติดตั้งได้การดูแลรักษา และการ Load อวป. ลำบากครับ ถ้าจะติดน่าจะติดหน้าสะพานเดินเรือ ตรงตำแหน่ง MK-13 เดิมครับ แล้ว เพิ่ม 8-cell Mk41 VLS ข้างหน้าแบบเรือชั้น G class หรือ Adelaide class
ชอบคุณครับ ท่าน FatBoy...ช่วยให้ผม มีความเข้าใจมากขึ้น ครับ...พอดี เห็น ทร.ไตหวัน เขาติดตั้งในตำแหน่งนั้น แต่รูปแบบการ ติดตั้ง ก็ไม่เหมือนกับ Harpoon...
ท่้าน juldas ครับ ผมสงสัยอยู่เรื่อง ทำไมเรือชั้นพุทธ ถงต้องปลดระวางเร็วนัก ผมว่าอายุงานน่าจะน้อยกว่าเรือชั้นมกุฎราชกุมาร หรือชั้นตาปี อาวุธก็น่าจะครบเครื่องมากกว่าชั้นนเรศวรด้วยซ้ำ สงสัยครับ
เท่าที่มีข้อมูล และนำมาประมวลผล ข้อมูล เรือชั้นพุทธฯ นะครับ
อายุเรือแค่ ๔๐ปี ผมว่าตามสภาพของไทยไม่เก่ามาก ระบบอาวูธมีทั้ง ฟาลังค์ asroc harpoon ผมว่ามันสุดยอด อย่าให้เทียบกับเรือชั้นเจ้าพระยาเลยครับ แม้แต่เรือชั้นนเรศวรในปัจุบัน ผมว่าเรือชั้นพุทธฯ ก็ยังเหนือกว่า ผมไม่เข้าใจถึงเหตุผลจริงๆครับ
ช่วงที่กำหนดปลดระวาง ก็อยู่ในช่วงที่จะได้รับ เรือฟริเกตใหม่ เข้าประจำการ...คงจะเป็นเรื่อง งบประมาณ ที่ต้องจัดสรร...ล่ะมั๊งครับ...
เพราะ เรือรบ ต้องใช้ บุคคลากร เป็น 100 คน ต้องใช้เชื้อเพลิง อะไหล่ เสบียง ในการดำเนินการ ทั้ง การฝึก และ สร้างความชำนาญ เพื่อให้พร้อมรบ...ซึ่งก็ล้วนแต่ต้องใช้งบประมาณ จำนวนมาก...ก็คงต้องมีการเลือกใช้ ยุทโธปกรณ์ เกิดขึ้น ครับ..
เหมือนกับ ทร.สหรัฐ ที่ เริ่มประจำการด้วย Oliver hazard Perry ก็ต้อง ทะยอยปลดเรือชั้น Knox ทั้ง ๆ ที่อายุประจำการเพียง 20 ปีเท่านั้น...เรือชั้น Knox จึงกลายเป็น ยุทธโธปกรณ์ ที่เกินความจำเป็นของ ทร.สหรัฐ ไป...
เป็นไปได้ครับ วัตถุประสงค์ของการใช้เรือแต่ละชั้นคงถูกกำหนดไว้แล้ว บังเอิญเรือชั้นพุทธฯ กับ OHP น่าจะมีขอบเขตการใช้งานเดียวกัน ดังนั้นจำนวนของเรือจึงถูกกำหนดด้วยงบประมาณรายจ่ายประจำและบุคลากร
ขอบคุณครับ
ไหนๆจะเล่นมือ 2 ทั้งที ไปเอาตัวนี้ดีกว่าครับ ได้ครบเลย 4 ลำ เพื่อนบ้านเกรงใจแน่ๆ (แซวเล่นน่ะ)
ดูจากข่าวที่เอามาลงแล้ว ทบ.คงมีเฮครับ ส่วนทร.ต้องดูก่อนว่า OHP เป็นลำตัวยาวที่ได้รับการปรับปรุงมาแล้วหรือไม่ ถ้าเป็นรุ่นที่เพิ่งปลด(ลำตัวยาวและผ่านการอับเกรดมาแล้ว) ขะน่าสนใจมากครับ แม้ว่าค่าใช้จ่ายในการปฎิบัติการจะสูงกว่าเรือฟรีเกตทั่วไป แต่ตอนนี้จำเป็นอย่างมากที่จะต้องเสริมขีดความสามารถในด้านการต่อต้านเรือดำน้ำเป็นอย่างยิ่งครับ ค่าใช้จ่ายระยะยาวนั้นเอาไว้เมื่องบประมาณคลายตัวลงไปแล้วจึงจัดหาเรือฟรีเกตต่อต้านเรือดำน้ำใหม่ 4 ลำเป็นการทดแทน
ส่วนเรือฟรีเกตใหม่จากเยอรมัน 2 ลำ ราคา 30,000 ล้านบาทนั้น ควรที่จะต้องดำเนินงานจัดหาต่อไป และควรแยกโครงการกับ OHP มือสอง ถ้ามีการจัดหา OHP มือสอง 4 ลำเพื่อทำหน้าที่ไล่ล่าเรือดำน้ำจริง เรือฟรีเกตใหม่ที่จะจัดหา 2 ลำนี้ควรมีการปรับปรุงขึดความสามารถให้เป็นเรือฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศครับ ซึ่งต้องใช้งบเพิ่มในการปรับปรุงอีกลำละอย่างน้อย 2-3 พันล้าน แต่เราก็จะได้เรือฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศที่มีขีดความสามารถต่อต้านเรือดำน้ำได้สูงด้วยเลย
แบบนี้ทร.ไทยจะได้มีเรือพร้อมรบดังนี้ครับ
OHP 4 ลำ สำหรับต่อต้านเรือดำน้ำ
ฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศ 2 ลำ
เรือชั้นนเรศวร 2 ลำ
เรือชั้นกระบุรีอับเกรดแล้ว 2 ลำ
ถ้าจะเอา OHP ก็ควรจัดหาทีเดียว 4 ลำเพื่อล่ากองเรือดำน้ำ และต้องเป็นรุ่นลำตัวยาวที่ผ่านการอับเกรดมาแล้วถึงจะน่าสนใจครับ โดยไม่ไปแตะต้องโครงการเรือฟรีเกตใหม่ 2 ลำที่คาดว่าจะต่อจากเยอรมัน
แล้ว FFX ผมล่ะ.............55555...............................ถ้าจัดหา OHP 4 ลำ แสดงว่าต้องการเอาเรือต่อต้านเรือดำน้ำติดตามกองเรือบรรทุกบ.ออกไปซ่านอกบ้านได้ด้วย แบบนี้ FFX คงหมดความหมาย ยกเว้นขยายแบบ
ถ้า OHP 2 ลำที่อเมริกาเสนอขายนี้เป็นรุ่นลำตัวยาวและผ่านการอับเกรดมาแล้ว ผมว่าทร.อาจจะชะลอโครงการเรือ OPV อีก 3 ลำที่เหลือ(ใช้งบประมาณ 10,000 ล้านบาท) แล้วทุ่มจัดหา OHP 2 ลำนี้ก่อนเลย ทร.จะมีเรือฟรีเกตต่อต้านเรือดำน้ำพร้อมใช้งานในทันทีครับ เรือชั้นนี้ถูกใช้งานในการล่าเรือดำน้ำทุกแบบของโซเวียตเดิมมาก่อน ดังนั้นผมเชื่อว่าระบบต่อต้านเรือดำน้ำของเรือชั้นนี้ยังน่าสนใจอยู่มาก
การปรับปรุงตามป๋าจูลน่าสนใจนะครับ ได้เรือที่ประสิทธิภาพระดับเดียวกับเรือชั้นนเรศวร แต่ขีดความสามารถในด้านการต่อต้านเรือดำน้ำจะสูงมากระดับเรือฟรีเกตที่เราเพิ่งได้งบประมาณมาต่อใหม่ แต่ไหนๆก็ไหนๆผมว่าควรใช้ VLS mk-41 แบบ 16 cell ไปเลยดีกว่าครับเพื่อจะได้อ่อนตัวว่าสามารถติดตั้งได้ทั้ง VL-ASROC 8 ลูก HARPOON 4 ลูก ESSM 16 ลูก ได้อย่างเพียงพอพร้อมกันเลย ราคาที่เพิ่มเข้ามาไม่น่าจะทำให้ราคาโดยรวมของเรือแพงขึ้นมากนัก เพราะไหนๆก็ลงทุนใหม่หมดทั้งระบบอำนวยการรบ ระบบเรด้าร์ ระบบดาต้าร์ลิ้งค์ แล้วจะประหยัด VLS-mk41 ไปแค่ 8 cell ทำไมครับ
เมื่อไหร่ที่ทร.อเมริกาปลดลำที่เหลือต่อมาถึงค่อยจัดหาอีก 2 ลำมาเพิ่ม แล้วเรือฟรีเกตใหม่(ที่คาดว่าต่อจากเยอรมัน) ก็น่าจะถึงเวลาปรับปรุงให้เป็นเรือฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศในภายหลังได้ครับ
OPV กับ LPD ตอนนี้รอได้ครับ เรือฟรีเกตต่อต้านเรือดำน้ำและเรือดำน้ำต้องมาก่อน
ท่าทางผมจะเบลอเพราะง่วงนอนมาก HARPOON ติดตั้งใน MK-41 ไม่ได้นี่นา ....................... ถ้าได้ 16 cell จะอ่อนตัวสามารถติดตั้ง VL_ASROC 12 ลูก ติดตั้ง ESSM 16 ลูกได้ ซึ่งเพียงพอในภาระกิจต่อต้านเรือดำน้ำ และ ป้องกันภัยทางอากาศเฉพาะจุดได้พร้อมกันครับ คุ้มค่าการลงทุนกว่า
ผมว่าต้องรอดูว่าที่เขาเสนอมานั้นมันเป็นลำที่พึ่งปลดหรือเปล่า อย่างที่หลายท่านได้ให้ข้อสังเกตุไว้ถ้าเป็นลำที่พึ่งปลดถ้ามีงปพอน่าจะเอามาทั้ง 4 ลำ เพราะยังไงเรือดำน้ำกับ ทร.อีกนานแน่นอนเมื่อมันเป็นแบบนี้ก็เอาแบบต่อต้านเต็มตัวมากันท่า มองป่องทะเลมันน่าจะดี แต่ขอแบบจัดเต็มไม่ใช่มาแบบครึ่งๆกลางๆ ถอดนั้นถอดนี่ออกสุดท้ายเหลือแต่ระบบที่ใช้งานได้ไม่เต็มที่
ทร. จะจัดหาเรือฟริเกตขาก เยอรมัน หรอครับท่าน นีโอสยาม
ถ้าให้ผมเลือก ในวงเงินที่เท่ากันผมจะเสนอสหรัฐขอเปลี่ยนเป็น AV8B หรือ GR9 หรือ AH1W 8-10 เครื่องดีกว่า หรือจะพ่วงด้วย P3T อีก 3 เครื่องก็ ok ส่วนเรือรบผมจะต่อเรือใหม่ในประเทศขนาดไม่ใหญ่นักราวๆ 2500-3000 ตัน ติดอาวุธครบใต้น้ำ ผิวน้ำ อากาศ สัก 10 ลำ โดยทยอยสร้างไปเรื่อยๆตามงบประมาณ ส่วนเรือฟรีเกตรุ่นเก่าๆถ้าโครงเรือไม่เสียหายมากนักก็ปรับปรุงเล็กๆน้อยๆให้ไปเป็นเรือตรวจการไกลฝั่งน่าจะคุ้มค่ากว่า ครับ
ที่กล่าวมาต้องไม่ไปยุ่งกับเรือฟรีเกตสมรรถนะสูง 2 ลำ 30000 ล้านน่ะครับ
อยากให้ ทร. ซื้อจริงๆครับ เรือสหรัฐมือสองน่าจะมีเยอะ
นายศิรินทร์ คณาวรงค์